รายงานการประชุมการจัดการความรู้ด้านการวิจัย

วันที่? ๖? มีนาคม? ๒๕๕๕ เวลา? ๑๓.๐๐ ? ๑๔๐๐น.

ณ? ห้องประชุมพวงชมพู

************************************************

ประธาน นาง ศศิธร ชิดนายี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
วิทยากร ดร. ประภาพร มโนรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
น.ส. พรรณพิไล สุทธนะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ผู้เข้าร่วมประชุม นาง วิมล อ่อนเส็ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ดร. อนัญญา คูอาริยะกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาง มณฑา อุดมเลิศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นาง ภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาย อดุลย์ วุฒิจูรีย์พันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาง อัญชรี รัตนเสถียร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
น.ส. วราภรณ์ ยศทวี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาย บุญฤทธิ์ ประสิทนราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาย ไพฑูรย์ มาผิว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาง วาสนา ครุฑเมือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
น.ส. จิราพร วิศิษฐ์โกศล พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
น.ส. อรทัย แซ่ตั้ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
นาย สืบตระกูล ตันตลานุกุล พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
นาย เสน่ห์ ขุนแก้ว พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
นาย ภราดร ล้อธรรมมา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
น.ส. จิระภา สุมาลี พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
น.ส. วิภาวรรณ นวลทอง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
น.ส. ดาราวรรณ ดีพร้อม พยาบาลวิชาชีพ
นาย กัญตวิชญ์ จูเปรมปรี พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. พัชชา สุวรรณรอด พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. ชลธิชา จับคล้าย พยาบาลวิชาชีพ
นาย อรรถพล ยิ้มยรรยง พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. สายฝน ชมคำ พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. วัชราภรณ์ คำฟองเครือ พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. จิราพร ศรีพลากิจ พยาบาลวิชาชีพ
วาระที่ ๑ ประเด็นของการทำการจัดการความรู้
ประธานแจ้งเรื่องการทำ KM ของวิทยาลัยด้านการวิจัย(บันทึกของปีการศึกษา ๒๕๕๕) คือ การเขียนโครงร่างวิจัยอย่างไรให้ได้ทุน ซึ่งได้เชิญวิทยากร จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ??????????อ.ดร.ประภาพร? มโนรัตน์และ อ.พรรณพิไล? สุทธนะ ที่มีผลงานจากการได้รับทุนจากหน่วยงานภายนอก
วาระที่ ๒ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
วิทยากรทั้ง ๒ ท่านดังนี้

อ.ดร.ประภาพร? มโนรัตน์ เขียนโครงการวิจัยอย่างไรจึงได้รับทุน

๑.? ทบทวนตนเอง

๑.๑? ต้นทุนในตัวเอง

- ความรู้ความสามารถเฉพาะทาง

- ความฝันที่อยากก้าวเป็นเชี่ยวชาญ

- ความรู้ความสามารถเฉพาะทาง

- ความฝันที่อยากเป็นผู้เชี่ยวชาญ

- เครือข่าย KM หรือพี่เลี้ยง

๑.๒? แนวโน้มสถานการณ์ทางสุขภาพและระบบสุขภาพ และการรับมือกับปัญหาในอนาคต แหล่งทุนสนับสนุน

๑.๓? ความสอดคล้องและเป็นไปได้ของความฝันสู่การกำหนดประเด็นการวิจัย

๒.? กำหนดประเด็นการศึกษาวิจัยและแนวการทำงานวิจัยให้สำเร็จโดยบูรณาการกับชีวิต Routine to Research

- เลือกหัวข้อ/ประเด็นการทำวิจัยที่อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น งานสอนในชุมชน/ward

- หาประเด็นปัญหาจากสภาพปัญหา

- ?Research design

๓.? ปรึกษาพี่เลี้ยง/ที่ปรึกษา? เป็นสิ่งสำคัญเราพะจะเป็นผู้ที่ช่วยมองภาพและสะท้อน ดังนั้นควรเลือกเรื่องหรือที่ปรึกษาที่เราชอบและอยากได้ข้อเสนอแนะ

อ.พรรณพิไล? สุทธนะ เสนอแนวทางการเขียนโครงร่างงานวิจัยอย่างไรจึงได้รับทุนจากภายนอกดังนี้

๑.? ศึกษารายละเอียดของแหล่งทุน ว่ามีประเด็น Theme อะไรบ้าง ให้นำ Keywords ที่สำคัญเหล่านั้นมาใส่ในหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์

๒.? ในการเขียนโครงร่างควรมีความชัดเจน หาจุดเด่น และบอกว่าหลังจากทำเสร็จแล้วจะได้นวัตกรรมหรือเกิดผลกระทบในวงกว้างอย่างไร

๓.? สร้างสัมพันธภาพกับเจ้าของแหล่งทุน เช่น สปสช. สามรถโทรศัพท์สอบถามประเด็นที่ สปสช. สนใจก่อนเขียน

๔.? ดูตัวอย่างที่คนอื่นเขียน โดยเฉพาะงานที่ได้รับทุน

อ.ดร.อนัญญา? คูอาริยะกุล แลกเปลี่ยนประเด็นเกี่ยวกับการได้รับทุนจาก สบช. และของวิทยาลัยว่า การเขียนโครงร่างขอทุน ควรดูที่ Theme ของแหล่งทุนก่อนว่าเน้นไปทางใด ซึ่งถ้าตรง Theme ก็จะได้รับการพิจารณาก่อน และในการเขียนโครงร่างขอทุนควรเขียนให้ชัดเจนทั้งความเป็นมาของปัญหา และ Methodology และงานวิจัยที่ทำควรมีผลกระทบในวงกว้าง

อ.สืบตระกูล? ตันตลานุกุล แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับทุนวิจัยจากหน่วยงานภายในและภายนอก สิ่งสำคัญ คือ ระยะเวลาที่จะทำทั้งการเขียนโครงร่างงานวิจัยเนื่องจากระยะเวลาที่แหล่งทุนพิจารณา มักกระชั้นชิด และการทำวิจัย อยากให้วิทยาลัยจัดทีม ระบบที่ปรึกษาให้
อ.ไพทูรย์? มาผิว แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการส่งโครงร่างวิจัยแล้วไม่ได้รับทุนเนื่องจากปัญหาคือการเขียนหลักการและเหตุผลไม่สอดคล้องกับแหล่งทุน
อ.ศศิธร? ชิดนายี เสนอว่าปัจจุบันทุนภายนอกรวมเป็นแหล่งทุนเดียวกัน? มีระยะเวลารับที่แน่นอน ตามที่ได้ประชาสัมพันธ์ไปทั้งนี้เจ้าหน้าที่ของ วช.ได้เคยให้ข้อเสนอคือ สิ่งแรกที่ดูคือ Format หากไม่ถูกต้องจะถูกคัดออก และสิ่งสำคัญคือสามารถ วางแผนได้ที่จะทำชุดโครงการวิจัยที่เป็นร่มใหญ่ ทั้งนี้สิ่งที่ต้องการคือ การทำในลักษณะภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดความยังยืนต่อไป
อ.ดร.ประภาพร? มโนรัตน์ เพิ่มเติมเรื่องการไปฝึกหัดกับรุ่นพี่ที่ได้รับทุนมาก่อนจะได้รับประสบการณ์และพัฒนาการทำวิจัย สิ่งสำคัญคือ หลังได้รับทุนวิจัยแล้วต้องบริหารจัดการให้สำเร็จได้ตามระยะเวลาที่กำหนดของแหล่งทุนและค้นหาแหล่งทุน
วาระที่ ๓ การสังเคราะห์ความรู้
สรุปประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การเขียนโครงร่างอย่างไรให้ได้รับทุน

๑.? ทบทวนตนเองว่ามีความถนัด/สนใจ/ต้องการเชี่ยวชาญในเรื่องใด

๒.? ศึกษารายละเอียดของแหล่งทุนทั้งในแง่ Format ประเด็นที่แหล่งทุนให้ความสนใจ ระยะเวลาที่ส่งโครงร่าง

๓.? การเขียนโครงร่างควรมี Keywords ที่แหล่งทุนต้องการมีจุดเด่น นวัตกรรมและผลกระทบในวงกว้าง

๔.? ดูตัวอย่างการเขียนจากผู้ที่มีประสบการณ์ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนเพื่อนำปรับใช้

๕.? มีที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงเพื่อช่วยให้คำแนะนำปรึกษา

๖.? ควรมีเครือข่ายเพื่อที่จะสามารถทำงานได้สำเร็จ

…………………………………….

(นายอรรถพล? ยิ้มยรรยง)

ผู้บันทึกการประชุม

………………………………………….

(นางศศิธร ชิดนายี)

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

๗.? ค้นหาแหล่งทุนแบบเชิงรุก๘.? ฝึกหัดทำวิจัยกับรุ่นพี่