KM การเขียนโครงร่าง ทำอย่างไรให้ได้ทุน
รายงานการประชุมการจัดการความรู้ด้านการวิจัย
วันที่? ๖? มีนาคม? ๒๕๕๕ เวลา? ๑๓.๐๐ ? ๑๔๐๐น.
ณ? ห้องประชุมพวงชมพู
************************************************
ประธาน | นาง | ศศิธร | ชิดนายี | พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ |
วิทยากร | ดร. | ประภาพร | มโนรัตน์ | พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ |
น.ส. | พรรณพิไล | สุทธนะ | พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ | |
ผู้เข้าร่วมประชุม | นาง | วิมล | อ่อนเส็ง | พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ |
ดร. | อนัญญา | คูอาริยะกุล | พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ | |
นาง | มณฑา | อุดมเลิศ | พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ | |
นาง | ภิญญารัช | บรรเจิดพงศ์ชัย | พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ | |
นาย | อดุลย์ | วุฒิจูรีย์พันธ์ | พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ | |
นาง | อัญชรี | รัตนเสถียร | พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ | |
น.ส. | วราภรณ์ | ยศทวี | พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ | |
นาย | บุญฤทธิ์ | ประสิทนราพันธุ์ | พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ | |
นาย | ไพฑูรย์ | มาผิว | พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ | |
นาง | วาสนา | ครุฑเมือง | พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ | |
น.ส. | จิราพร | วิศิษฐ์โกศล | พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ | |
น.ส. | อรทัย | แซ่ตั้ง | พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ | |
นาย | สืบตระกูล | ตันตลานุกุล | พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ | |
นาย | เสน่ห์ | ขุนแก้ว | พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ | |
นาย | ภราดร | ล้อธรรมมา | พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ | |
น.ส. | จิระภา | สุมาลี | พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ | |
น.ส. | วิภาวรรณ | นวลทอง | พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ | |
น.ส. | ดาราวรรณ | ดีพร้อม | พยาบาลวิชาชีพ | |
นาย | กัญตวิชญ์ | จูเปรมปรี | พยาบาลวิชาชีพ | |
น.ส. | พัชชา | สุวรรณรอด | พยาบาลวิชาชีพ | |
น.ส. | ชลธิชา | จับคล้าย | พยาบาลวิชาชีพ | |
นาย | อรรถพล | ยิ้มยรรยง | พยาบาลวิชาชีพ | |
น.ส. | สายฝน | ชมคำ | พยาบาลวิชาชีพ | |
น.ส. | วัชราภรณ์ | คำฟองเครือ | พยาบาลวิชาชีพ | |
น.ส. | จิราพร | ศรีพลากิจ | พยาบาลวิชาชีพ |
วาระที่ ๑ | ประเด็นของการทำการจัดการความรู้ | ||
ประธานแจ้งเรื่องการทำ KM ของวิทยาลัยด้านการวิจัย(บันทึกของปีการศึกษา ๒๕๕๕) คือ การเขียนโครงร่างวิจัยอย่างไรให้ได้ทุน ซึ่งได้เชิญวิทยากร จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ??????????อ.ดร.ประภาพร? มโนรัตน์และ อ.พรรณพิไล? สุทธนะ ที่มีผลงานจากการได้รับทุนจากหน่วยงานภายนอก | |||
วาระที่ ๒ | การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
วิทยากรทั้ง ๒ ท่านดังนี้
อ.ดร.ประภาพร? มโนรัตน์ เขียนโครงการวิจัยอย่างไรจึงได้รับทุน ๑.? ทบทวนตนเอง ๑.๑? ต้นทุนในตัวเอง - ความรู้ความสามารถเฉพาะทาง - ความฝันที่อยากก้าวเป็นเชี่ยวชาญ - ความรู้ความสามารถเฉพาะทาง - ความฝันที่อยากเป็นผู้เชี่ยวชาญ - เครือข่าย KM หรือพี่เลี้ยง ๑.๒? แนวโน้มสถานการณ์ทางสุขภาพและระบบสุขภาพ และการรับมือกับปัญหาในอนาคต แหล่งทุนสนับสนุน ๑.๓? ความสอดคล้องและเป็นไปได้ของความฝันสู่การกำหนดประเด็นการวิจัย ๒.? กำหนดประเด็นการศึกษาวิจัยและแนวการทำงานวิจัยให้สำเร็จโดยบูรณาการกับชีวิต Routine to Research - เลือกหัวข้อ/ประเด็นการทำวิจัยที่อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น งานสอนในชุมชน/ward - หาประเด็นปัญหาจากสภาพปัญหา - ?Research design ๓.? ปรึกษาพี่เลี้ยง/ที่ปรึกษา? เป็นสิ่งสำคัญเราพะจะเป็นผู้ที่ช่วยมองภาพและสะท้อน ดังนั้นควรเลือกเรื่องหรือที่ปรึกษาที่เราชอบและอยากได้ข้อเสนอแนะ อ.พรรณพิไล? สุทธนะ เสนอแนวทางการเขียนโครงร่างงานวิจัยอย่างไรจึงได้รับทุนจากภายนอกดังนี้ ๑.? ศึกษารายละเอียดของแหล่งทุน ว่ามีประเด็น Theme อะไรบ้าง ให้นำ Keywords ที่สำคัญเหล่านั้นมาใส่ในหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ ๒.? ในการเขียนโครงร่างควรมีความชัดเจน หาจุดเด่น และบอกว่าหลังจากทำเสร็จแล้วจะได้นวัตกรรมหรือเกิดผลกระทบในวงกว้างอย่างไร ๓.? สร้างสัมพันธภาพกับเจ้าของแหล่งทุน เช่น สปสช. สามรถโทรศัพท์สอบถามประเด็นที่ สปสช. สนใจก่อนเขียน ๔.? ดูตัวอย่างที่คนอื่นเขียน โดยเฉพาะงานที่ได้รับทุน |
|||
อ.ดร.อนัญญา? คูอาริยะกุล แลกเปลี่ยนประเด็นเกี่ยวกับการได้รับทุนจาก สบช. และของวิทยาลัยว่า การเขียนโครงร่างขอทุน ควรดูที่ Theme ของแหล่งทุนก่อนว่าเน้นไปทางใด ซึ่งถ้าตรง Theme ก็จะได้รับการพิจารณาก่อน และในการเขียนโครงร่างขอทุนควรเขียนให้ชัดเจนทั้งความเป็นมาของปัญหา และ Methodology และงานวิจัยที่ทำควรมีผลกระทบในวงกว้าง |
|||
อ.สืบตระกูล? ตันตลานุกุล แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับทุนวิจัยจากหน่วยงานภายในและภายนอก สิ่งสำคัญ คือ ระยะเวลาที่จะทำทั้งการเขียนโครงร่างงานวิจัยเนื่องจากระยะเวลาที่แหล่งทุนพิจารณา มักกระชั้นชิด และการทำวิจัย อยากให้วิทยาลัยจัดทีม ระบบที่ปรึกษาให้ | |||
อ.ไพทูรย์? มาผิว แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการส่งโครงร่างวิจัยแล้วไม่ได้รับทุนเนื่องจากปัญหาคือการเขียนหลักการและเหตุผลไม่สอดคล้องกับแหล่งทุน | |||
อ.ศศิธร? ชิดนายี เสนอว่าปัจจุบันทุนภายนอกรวมเป็นแหล่งทุนเดียวกัน? มีระยะเวลารับที่แน่นอน ตามที่ได้ประชาสัมพันธ์ไปทั้งนี้เจ้าหน้าที่ของ วช.ได้เคยให้ข้อเสนอคือ สิ่งแรกที่ดูคือ Format หากไม่ถูกต้องจะถูกคัดออก และสิ่งสำคัญคือสามารถ วางแผนได้ที่จะทำชุดโครงการวิจัยที่เป็นร่มใหญ่ ทั้งนี้สิ่งที่ต้องการคือ การทำในลักษณะภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดความยังยืนต่อไป | |||
อ.ดร.ประภาพร? มโนรัตน์ เพิ่มเติมเรื่องการไปฝึกหัดกับรุ่นพี่ที่ได้รับทุนมาก่อนจะได้รับประสบการณ์และพัฒนาการทำวิจัย สิ่งสำคัญคือ หลังได้รับทุนวิจัยแล้วต้องบริหารจัดการให้สำเร็จได้ตามระยะเวลาที่กำหนดของแหล่งทุนและค้นหาแหล่งทุน | |||
วาระที่ ๓ | การสังเคราะห์ความรู้ | ||
สรุปประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การเขียนโครงร่างอย่างไรให้ได้รับทุน ๑.? ทบทวนตนเองว่ามีความถนัด/สนใจ/ต้องการเชี่ยวชาญในเรื่องใด ๒.? ศึกษารายละเอียดของแหล่งทุนทั้งในแง่ Format ประเด็นที่แหล่งทุนให้ความสนใจ ระยะเวลาที่ส่งโครงร่าง ๓.? การเขียนโครงร่างควรมี Keywords ที่แหล่งทุนต้องการมีจุดเด่น นวัตกรรมและผลกระทบในวงกว้าง ๔.? ดูตัวอย่างการเขียนจากผู้ที่มีประสบการณ์ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนเพื่อนำปรับใช้ ๕.? มีที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงเพื่อช่วยให้คำแนะนำปรึกษา ๖.? ควรมีเครือข่ายเพื่อที่จะสามารถทำงานได้สำเร็จ
๗.? ค้นหาแหล่งทุนแบบเชิงรุก๘.? ฝึกหัดทำวิจัยกับรุ่นพี่ |
จากการเข้ารับการประชุม “การเขียนโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้รับทุน” เมื่อเข้ารับฟังได้รับแนวคิดใหม่ๆมากมาย ซึ่งช่วยเสริมแรงบันดาลใจในการเริ่มสร้างผลงานด้านนี้ ซึ่งดิฉันก็เป็นนักวิจัยมือใหม่เพราะยังไม่เคยสร้างผลงานมาก่อน จึงเป็นการเปิดโลกทัศน์ทำให้กล้าคิด กล้าทำ และเชื่อว่าสามารถทำงานนี้ได้ หากได้ทำตามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ โดยครั้งแรกๆของชิ้นงานอาจต้องร่วมทำกับทีมนักวิจัยมืออาชีพ และหาที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงเพื่อให้คำแนะนำในการสร้างผลงานวิจัย
จากการเข้ารับการประชุม ?การเขียนโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้รับทุน?ทำให้เข้าใจ conceptในการเขียนว่า ควร Focus แบบไหน ตรงกับความต้องการของแหล่งทุนของเราหรือไม่ หรือFormat ที่แหล่งทุนกำหนดเป็นอย่างไร ควรศึกษาให้ละเอียด เพื่อให้มีโอกาสได้รับพิจารณาทุนมากขึ้น ซึ่งทำให้มีหลักการในการเขียนโครงร่างในครั้งต่อไปมากยิ่งขึ้น
จากประสบการณ์ของการทบทวนวรรณกรรมพบว่าเหตุผลสำคัญที่ทำให้ข้อเสนอการวิจัยไม่ได้รับการคัดเลือก คือ
1.กลุ่มเรื่องงานวิจัยไม่เหมาะสมกับกรอบทุนที่ให้กลุ่มเรื่องงานวิจัยที่เหมาะสม เกิดจากความชัดเจนในใจความสำคัญและที่มาของปัญหา รวมถึงวัตถุประสงค์หลักของแผนงานวิจัย
2.ชื่อเรื่องงานวิจัยไม่สื่อความ ชื่อเรื่องต้องสื่อความให้ชัดเจน ว่าเป็นการสร้าง&พัฒนา หรือ สร้างใหม่&ปรับปรุง
3.ที่มาของความสำคัญของปัญหาไม่ชัดเจนกว่า 90% ของข้อเสนองานวิจัยพบว่ามีที่มาและความสำคัญของปัญหาจากงานประจำที่ทำอยู่
4.วัตถุประสงค์ไม่สมบูรณ์ เสนอหากมีวัตถุประสงค์หลายข้อควรแยกออกเป็นข้อๆ ให้ชัดเจน
5.การทบทวนวรรณกรรมขาดความถูกต้องของการอ้างอิง
6.ระเบียบวิธีวิจัยขาดกำหนดกรอบแนวคิด
7.ผลผลิตหรือผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยคืออะไรกันแน่
8.การอ้างอิงไม่ตรงตามต้นฉบับและไม่มีการเรียบเรียงด้วยภาษาใหม่
อาจสรุปได้ว่าข้อเสนอการวิจัยขาดความสมบูรณ์ เช่น วัตถุประสงค์ เนื้อหารายละเอียด แผนการดำเนินงาน ระเบียบวิธีวิจัยไม่ถูกต้องและไม่ชัดเจน เป้าหมาย ผลผลิตหรือตัวชี้วัดไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และชื่อเรื่อง
จากประสบการณ์การได้รับทุนพบว่า ถ้าโครงการที่เราขอทุนตรงกับThemeของแหล่งทุนและงานของเราเขียนได้ชัดเจน เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องทำวิจัย รวมถึงงานวิจัยเราถ้ามีภาคีเครือข่าย จะได้รับการตอบรับทุนได้มากกว่าค่ะ
จากการเข้าร่วมประชุม ?การเขียนโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้รับทุน? ทำให้ได้แนวคิดว่าเราต้องศึกษาข้อมูลที่ต้องการทำวิจัยอย่างละเอียด และต้องทำงานวิจัยให้ตรงกับความต้องการของแหล่งทุน รวมถึงการทำ format ให้ชัดเจน จะทำให้มีโอกาสได้รับการพิจารณาทุนวิจัยเพิ่มมากขึ้น
ในการขอทุนวิจัยส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งคือประวัตินักวิจัยและผลงานงานวิชาการและผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงถึงประวัติที่เจ้าของทุนจะพิจารณา
เห็นด้วยกับความคิดเห็นของอาจารย์ทุกท่านว่า การเขียนโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้รับทุนนั้น ควรเริ่มต้นที่ตัวเรา ต้องทบทวนความเชี่ยวชาญของตนเอง แล้วในขณะนั้นมีประเด็นหรือแนวโน้มเรื่องใดที่น่าสนใจ ควรหาพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์ในการเขียนเป็นพี่เลี้ยงให้สำหรับนักวิจัยหน้าใหม่ การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาต้องสอดคล้องกับ theme หรือ keywords การเขียน methodology ที่ใช้ต้องชัดเจน และสิ่งที่จะขาดไม่ได้เลย คือ รูปแบบการเขียนต้องถูกต้องตามที่กำหนดไว้
จากการเข้าประชุม ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ทำให้ทราบแนวทางการปฏิบัติการทำวิจัยให้ตรงเรื่องกับที่ตนเองสนใจ เป็นการเสริมสร้างความมั่นใจในการทำวิจัยสำหรับผู้ทำวิจัยมือใหม่ได้เป็นอย่างดี
เห็นด้วยกับดร.ประภาพรที่แนะนําว่าควรไปฝึกหัดกับรุ่นพี่ที่ได้รับทุนมาก่อนเพราะมีประสบการณ์ และหลังได้รับทุนวิจัยแล้วต้องบริหารจัดการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กําหนด
จากแหล่งทุน
การเรียนรู้ประสบการณ์และพัฒนาการเขียนโครงร่างวิจัย จากอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ ในระบบพี่เลี้ยงนักวิจัยเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้นักวิจัยรุ่นใหม่ ได้เรียนรู้ระเบียบวิธีวิจัย เทคนิคต่างๆในการทำวิจัยในทุกขั้นตอนซึ่งมีรายละเอียดลึกซึ้ง จากการผึกปฏิบัติและสั่งสมประสบการณ์จนเกิดความเข้าใจ
การเขียนเสนอโครงร่างอย่างไร ให้ได้รับทุน ตนเองคิดว่า ต้องมองคุณภาพของส่วนประกอบต่างๆ ของโครงร่าง ดังนี้
1.ชื่อเรื่อง น่าสนใจ มีความชัดเจน ไม่ยาว ไม่เวอร์ ไม่เบลอ
2.ที่มาและความสำคัญของปัญหา ไม่ยากเกินไป-ไม่ง่ายเกินไป ไม่มากไป-ไม่น้อยไป มีที่มา-มีที่ไป นำไปสู่ความสำคัญของงาน
3.วัตถุประสงค์ มีความชัดเจน วัดได้ สอดคล้องกับชื่อเรื่อง
4.ระเบียบวิธีวิจัย เข้าใจง่าย ติดตามสะดวก ครบถ้วน แต่ไม่รก-รุงรัง
เป็นความรู้ใหม่ที่อาจารย์น้องใหม่อย่างดิฉัน ต้องเรียนรู้และจดจำแนวทางที่ได้รับ นำมาปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลงานที่พัฒนา ซึ่งความรู้ที่อาจารย์ผู้มีประสบการณืได้ถ่ายทอดมานั้นทำให้รู้จักว่าวิจัยนั้นจำเป็นต้องมีพี่เลี้ยงที่จะช่วยนักวิจัยรุ่นใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลงานที่สำเร็จตามเป้าหมายและความคาดหวังตามที่ต้องการ
มีความคิดเห็นว่าก่อนอื่นจะต้องมีแรงจูงใจ จากนั้นสานต่อด้วยการวางแผนที่ดี โดยศึกษาตั้งแต่แนวหรือทิศทางหรือ Theme ที่ทางแหล่งทุนต้องการ ผสมผสานกับการที่จะต้องมีพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษา และเมื่อลงมือเขียนโครงร่างเห็นด้วยว่าจะต้องมีความชัดเจนตั้งแต่ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ ตลอดจนระเบียบวิธีวิจัย
วาสนา ครุฑเมือง
นักวิจัยรายใหม่อาจเริ่มต้นจากการเขียนโครงร่างเพื่อขอทุนวิจัยจากวิทยาลัย ฯก่อน แล้วค่อยๆขยับไปขอทุนจากหน่วยงานภายนอก เพื่อสะสมประสบการณ์การเขียนโครงร่างและการทำวิจัย
จากการประชุมเรื่อง การเขียนโครงร่างอย่างไร ให้ได้ทุน ทำให้มองเห็นแนวทางในการทำวิจัย สำหรับนักวิจัยมือใหม่ และเป็นประโยชน์มากคะ เนื่องจากในยุคปัจจุบันงานวิจัยมีความสำคัญมาก หากไม่รู้แนวทางการจัดทำงานวิจัยก็จะทำให้ขาดโอกาศดีๆในการทำวิจัยเช่นกัน