การเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM ) ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช เรื่อง การบูรณาการแนวคิด การให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
การเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM )
ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
เรื่อง การบูรณาการแนวคิด การให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
ในการจัดการเรียนการสอน
ของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
ณ ห้องประชุม ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖
เวลา ๐๙.๐๐ ? ๑๒.๐๐ น.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
ผู้เข้าร่วมประชุม
๑.อาจารย์วิไลวรรณ ????? บุญเรือง ?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๒.อาจารย์วิมล ??????????? อ่อนเส็ง ?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓.อาจารย์ ดร.ประภาพร มโนรัตน์ ?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๔.อาจารย์อดุลย์ ????????? วุฒิจูรีพันธุ์ ??????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๕.อาจารย์อัญชรี ????????? รัตนเสถียร ??????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖.อาจารย์บุญฤทธิ์ ??????? ประสิทธินราพันธุ์ ???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๗.อาจารย์พรรณพิไล ???? สุทธนะ ??????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๘.อาจารย์นิกร ??????????? จันภิลม ???????????????????????????? วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ
๙. อาจารย์อิทธิพล??????? แก้วฟอง ????????????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๐. อาจารย์จิระภา ????? สุมาลี ????????????????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๑. อาจารย์กันตวิชญ์ ?? จูเปรมปรี ???????????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๒. อาจารย์ชลธิชา ????? จับคล้าย ????????????????? พยาบาลวิชาชีพ
รายนามผู้ไม่เข้าร่วมประชุม
อาจารย์ดุจเดือน ?????????????????? เขียวเหลือง ?????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ? ( ไปราชการ )
ผู้เข้าร่วมการประชุม? ร้อยละ? ๙๒.๓๑
เปิดประชุมเวลา ๐๙.๐๐ น.
ประธานการประชุม อาจารย์วิไลวรรณ? ? บุญเรือง? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน
เรื่องแจ้งให้ทราบ
- ทบทวนขั้นตอนการดำเนินการและความก้าวหน้าของการจัดทำ KM ของภาควิชา ซึ่งได้ดำเนินการประชุมมาแล้ว ๒ ครั้ง โดยครั้งแรกในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ และครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
เรื่องเพื่อพิจารณา
๑. แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับความสำคัญของการจัดทำ KM? เนื่องจากการจัดทำครั้งนี้เป็นการจัดทำในหัวข้อเรื่องการบูรณาการแนวคิด การให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในการจัดการเรียนการสอน ให้เกิดประสิทธิภาพ อีกทั้งการส่งเสริมสุขภาพยังสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยฯ จึงจัดทำ KM? ในครั้งนี้ขึ้น
๒. ขั้นตอนการดำเนินการมีดังนี้
ขั้นที่ ๑ การแสวงหาความรู้
สร้างความเข้าใจ/ความกระจ่างในประเด็นสำคัญ โดยทบทวน
- แนวคิดการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ให้สอดคล้องกับแนวคิดของสบช.
คือการแสดงออกอย่างจริงใจขณะอยู่กับผู้รับบริการ (authentic presence) ของพยาบาลผู้ซึ่งรู้จักกับผู้รับบริการดี และคำนึงถึงความต้องการทางสุขภาพของผู้รับบริการเพื่อที่จะลดหรือเพิ่มภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ หรือช่วยผู้รับบริการเผชิญกับความตาย (คณะผู้เข้าอบรมรุ่นที่ ๑ วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสบช., ๒๕๕๔)
- แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ
จากการประกาศกฎบัตรออตตาวาที่ประเทศแคนนาดา ปี ๑๙๘๖ ได้บัญญัติว่า “การส่งเสริมสุขภาพ” หรือ “HEALTH PROMOTION” หมายถึง “ขบวนการส่งเสริมให้ประชาชน เพิ่มสมรรถนะในการควบคุม และปรับปรุงสุขภาพของตนเอง ในการบรรลุซึ่งสุขภาวะอันสมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม” บุคคล และกลุ่มบุคคลจะต้องสามารถบ่งบอก และตระหนักถึงความมุ่งมาดปรารถนาของตนเอง สามารถตอบสนองต่อปัญหาของตนเอง และสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม หรือปรับตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ อีกทั้งยังสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพ เช่น ลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็ง การขาดการออกกำลังกาย การขาดจิตสำนึกในเรื่องของความปลอดภัย ทำให้เกิดอุบัติเหตุ หลีกเลี่ยงจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่เป็นสาเหตุที่ทำลายสุขภาพ ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญ หรือเน้นการให้เพิ่มปัจจัยส่งเสริมสุขภาพ เช่น การออกกำลังกายมากขึ้น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี (องค์การอนามัยโลก , ๒๕๒๙)
การส่งเสริมสุขภาพ ส่วนใหญ่จะหมายถึง งานบริการของบุคลากรสาธารณสุข เพื่อทำให้คนมีสุขภาพดี ได้แก่ การดูแลอนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัว การดูแลหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอด ระหว่างคลอด และหลังคลอด การดูแลทารก และเด็ก การให้วัคซีน การโภชนาการ การให้สุขศึกษา การให้คำปรึกษาแนะนำ การอนามัยโรงเรียน เป็นอาทิ ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งบริการที่บุคคล (Individual care) โดยบางเรื่องเลยไปถึงครอบครัว และชุมชนด้วย? ที่เป็นการส่งเสริมสุขภาพในมิติที่ครอบคลุมไปถึงชุมชน และสังคมโดยตรง จะสอดแทรกอยู่ในงานสาธารณสุข (public health activities) ไม่ได้เรียกว่า เป็นการส่งเสริมสุขภาพ เช่น การพัฒนาสุขาภิบาลอาหาร และอนามัยสิ่งแวดล้อม การจัดหาน้ำสะอาด การกำจัดขยะ และสิ่งปฏิกูล เป็นต้น? การส่งเสริมสุขภาพในความหมายที่เป็น ๑ ใน ๔ ปฏิบัติการ เพื่อให้ผู้คนมีสุขภาพอนามัยดี แฝงนัยของการที่ ต้องมีบุคลากรสาธารณสุข ที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะ เป็นผู้จัดบริการให้กับประชาชน เป็นหลัก โดยฝ่ายประชาชนก็ต้องดูแล และปฏิบัติพร้อมกันด้วย (อำพล จินดาวัฒนะ อ้างในhttp://advisor.anamai.moph.go.th/262/26201.html สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๓ พ.ย. ๕๕)
องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของการสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อ ปี ๒๕๔๑ ว่าเป็น ?กระบวนการที่ทำให้ประชาชนมีศักยภาพมีอำนาจมากขึ้นในการตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพของตนเองและในการทำให้สุขภาพของตนเองดียิ่งขึ้น ? the? process? of? enabling? people? to? increase? control? over? , and? to? improve? their? health ? (WHO , ๑๙๙๘)
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ นิยามการสร้างเสริมสุขภาพว่า
? การใดๆ ที่มุ่งกระทำโดยส่งเสริม สนับสนุน พฤติกรรมบุคคล สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างเสริม ให้บุคคลและชุมชนมีสุขภาวะ บุคคลมีอายุยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี?
พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ นิยามการสร้างเสริมสุขภาพว่า
? การใดๆที่มุ่งกระทำเพื่อสร้างเสริมให้บุคคลมีสุขภาวะทางกาย จิต และ สังคม โดยสนับสนุนพฤติกรรมของบุคคล สภาพสังคม และ สิ่งแวดล้อมที่จะนำไปสู่การมีร่างกายที่แข็งแรง สภาพจิตที่สมบูรณ์ อายุยืนยาว และคุณภาพชีวิตที่ดี ?
- ผลการวิจัย Routine to Research ด้านการจัดการเรียนการสอนการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนที่บูรณาการแนวคิดการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช ซึ่งในปีการศึกษา2556ได้มีการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการวิจัยและการบริการวิชาการในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย ในนักศึกษาชั้นปีที่ ๒ ซึ่งอาจารย์ในภาควิชาฯผู้รับผิดชอบวิชาและนักวิจัยในภาคฯและผู้เกี่ยวข้อง ได้ทำวิจัยหารูปแบบในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในชุมชนด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย ซึ่งได้มีการออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในรายวิชานี้ด้วย และการวิจัยได้เสร็จสิ้นแล้ว มีรายงานวิจัยสรุปผลการศึกษาที่เชื่อมโยงสู่ประเด็นการบูรณาการแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในการจัดการเรียนการสอนในขั้นแสวงหาความรู้ในครั้งนี้ ดังนี้
ศรีสมพร? ทรวงแก้ว ประภาพร มโนรัตน์ กัญญารัตน์ ผึ่งบรรหาร และพรรณพิไล? สุทธนะ (๒๕๕๖) ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชนด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตระหว่างวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์กับศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลอุตรดิตถ์๒? ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ความสำเร็จของการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในรายวิชานี้คือนักศึกษามีความรู้และทักษะในการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ผ่านเกณฑ์และส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากกว่าร้อยละ๘๐ขึ้นไป ปัจจัยความสำเร็จคือ
๑. วิทยาลัยและแหล่งฝึกมีนโยบายสอดคล้องกัน ?ร่วมสร้างนักสร้างเสริมสุขภาพจากชุมชนเพื่อชุมชน?ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับนักศึกษาเริ่มตั้งแต่การออกแบบรายวิชาและนำไปใช้ปฏิบัติจริงในชุมชน
๒. ชุมชน และเครือข่ายได้แก่ วัด โรงเรียน สมาคมนักข่าว ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมคนรักสุขภาพ องค์กรเครือข่ายวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น? วิถีไทย ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพดีวิถีไทยวัดท้ายตลาด (ศูนย์เรียนรู้ชุมชน) ให้ความร่วมมือในการร่วมจัดประสบการณ์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพให้กับนักศึกษาโดยให้ความสำคัญและร่วมมือกับกิจกรรมทุกกิจกรรมที่นักศึกษาฝึกปฏิบัติในชุมชนเช่น การต้อนรับเข้าสู่ชุมชน การเข้าเยี่ยมดูแลสร้างเสริมสุขภาพที่บ้าน จัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพในวัดและในละแวกบ้าน เป็นต้น รวมถึงกิจกรรมอำลาชุมชน(คืนข้อมูลชุมชน ถอดบทเรียน และบายศรีสู่ขวัญให้นักศึกษาคณาจารย์)
๓. นักศึกษาได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนฝึกภาคปฏิบัติ เรื่องการบูรณาการแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ๒ วัน วันแรกเป็นการปฐมนิเทศรายวิชาและกิจกรรมสะท้อนการแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ วันที่สองฝึกการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยวิถีไทย การนวด ประคบ การสอนฤาษีดัดตนให้กับประชาชนที่มารับบริการโดยมีวิทยากรช่วยสอนและชี้แนะเพิ่มเติม และมีชมรมแพทย์แผนไทยและวิถีไทยเข้าร่วมให้บริการและเป็นพี่เลี้ยงให้นักศึกษา และครูผู้นิเทศและนักศึกษาได้สร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการเป้าหมายที่มาร่วมกิจกรรมและนัดหมายเข้าเยี่ยม อย่างต่อเนื่อง
๔. นักศึกษามีครูผู้นิเทศเป็นต้นแบบของพยาบาลที่ให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ทั้งต่อผู้รับบริการ คนรอบข้างและลูกศิษย์ และมีความรู้และทักษะในการสะท้อนคิดสรุปสู่ประเด็นการเรียนรู้ตามรายวิชาและบริบทของชีวิตของคนและสิ่งแวดล้อม
๕. นักศึกษาได้เห็นและเรียนรู้สภาพจริงของวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละวัยอย่างต่อเนื่องเกิดความเข้าใจในการแสดงออกถึงการดูแลสุขภาพของแต่ละคนแต่ละวัย และเห็นว่าการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์คือวิถีไทย วัฒนธรรมไทยซึ่งตนเองก็ได้ถูกบ่มเพาะมาจากครอบครัว ดังนั้นแม้มีสภาพปัญหาอุปสรรคขณะเข้าเยี่ยมนักศึกษาไม่ท้อและเข้าใจผู้รับบริการและบริบทของผู้รับบริการ
๖. นักศึกษาได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้แนวคิดและหลักการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มาก่อนฝึกวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพฯจึงส่งผลให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ได้อย่างดี
การส่งเสริมสุขภาพด้วยการนวดไทย
- การนำแนวคิด Humanistic care สู่การเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรมในรายวิชามนุษย์และพฤติกรรมสุขภาพ
- สรุปผลการประชุมเสวนาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการให้การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
การวิเคราะห์การชี้ประเด็น การตีความในขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลของผู้รับบริการ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพของกรณีศึกษา
สรุปแนวคิดของภาควิชาเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ คือ การบูรณาการแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ขั้นที่ ๒ การวิเคราะห์ความรู้ โดยจัดเสวนาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการให้การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๖) และได้สรุปผลการประชุม คือ ภาควิชามีความคิดเห็นร่วมกันว่าควรนำแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากผลการวิเคราะห์พบว่าแนวคิดนี้มีความสอดคล้องกันกับอัตลักษณ์บัณฑิตของสบช. ว่าด้วยบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ อีกทั้งสอดคล้องกับแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ ในยุทธศาสตร์ที่ ๓ มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน ควบคุมโรค และคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ฯลฯ และวิสัยทัศน์ของวิทยาลัย ที่กล่าวว่า เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพชุมชน และวัตถุประสงค์ของรายวิชา การชี้ประเด็น การตีความในขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลของผู้รับบริการ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพของกรณีศึกษา และได้แนวปฏิบัติในการนำแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในการจัดการเรียนการสอนของภาควิชา ดังนี้
ด้านการเตรียมผู้สอน
ผู้สอนควรได้มีแนวคิดและแนวทางการดำเนินการดังนี้
๑. ผู้สอนควรทำความเข้าใจในแนวคิด เนื้อหาสาระ ขอบเขต แนวปฏิบัติในการนำแนวคิดHumanistic Nursing Care มาใช้ในรายวิชามนุษย์และพฤติกรรมสุขภาพ และรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย โดยการทบทวนด้วยตนเอง เวทีชี้แจงแนวปฏิบัติรายวิชา และหรือร่วมเข้าเรียนรู้ประสบการณ์การจัดประสบการณ์การเรียนรู้กับผู้สอนที่มีประสบการณ์ก่อน เช่น แนวคิดในการชี้ประเด็น สะท้อนคิดให้กับนักศึกษา การช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ผู้สอนที่มีประสบการณ์ควรได้แบ่งประสบการณ์ให้ผู้สอนใหม่ทั้งรูปแบบไม่เป็นทางการและเชิญเสวนาประจำปีอย่างเป็นทางการ และผู้สอนเก่าใหม่ควรได้ร่วมเสวนากับผู้สอนท่านอื่นและวิทยากรในเวทีเสวนาที่จัดขึ้นของวิทยาลัยที่จัดเป็นประจำทุกปีและมีการนำกรณีศึกษามาเป็นตัวอย่างในการคิดวิเคราะห์ทิศทางหรือความเป็นจริงต่างๆที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน และมองถึงความคิด ทัศนคติมุมมองของนักศึกษาและผู้ให้ข้อมูลและครูผู้สอนจากบันทึกข้อมูลการเยี่ยมกรณีศึกษา
๒. สิ่งต้องนำไปเชื่อมโยงในส่วนของวิชาการหรือทฤษฎีต่างๆ ในส่วนของอาจารย์ต้องมีการพัฒนาทักษะการกระตุ้น หรือการให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างไร ข้อมูลที่ได้ก็จะเป็นข้อมูลที่เป็นสภาพจริงมากขึ้น และสามารถวัดพัฒนาการคิดของนักศึกษา ทำให้นักศึกษาเข้าใจถึงผู้รับบริการมากขึ้น
๓. เรียนรู้จากตำรา นำมาประยุกต์ใช้และพัฒนาเป็นแนวทางของตนเอง
๔. ควรมีการพูดคุย ซักซ้อมในระดับทีมผู้สอนก่อนการลงนิเทศจริง
๕. เตรียมแบบบันทึก (Filed note)ของครูเพื่อบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียนและประเด็นที่คิดขึ้นได้ระหว่างลงภาคสนามหรือการประชุมกลุ่มย่อย)
ด้านการเตรียมผู้เรียน
๑. มีการชี้แจงรายวิชาที่จัดกิจกรรมการสะท้อนการคิดวิเคราะห์และเปิดโอกาสให้ซักถามสู่แนวคิดในการเรียนรู้พอสังเขปก่อนปฏิบัติจริง
๒. ให้นักศึกษารุ่นน้องได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับรุ่นพี่หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกันและหาข้อสรุปกับรุ่นพี่หรืออาจารย์
๓. เน้นมองคนแบบองค์รวม ไม่ยึดติดกรอบ? เน้นตั้งคำถามปลายเปิด การฟังอย่างมีประสิทธิภาพ การเคารพให้เกียรติ และคุณค่าของมนุษย์ และจริยธรรม สิทธิมนุษยชน
๔. ฝึกทักษะที่ต้องใช้ในรายวิชาก่อนด้วยกิจกรรมเสริมทักษะเช่น การสังเกต? การฟังเป็นต้น
๕. เน้นเตรียมแบบบันทึก (Filed note)ของตนเองเพื่อจดบันทึกการเรียนรู้ของตนและประเด็นที่คิดขึ้นได้ระหว่างลงภาคสนามหรือการประชุมกลุ่มย่อย และบันทึกทันทีภายหลังเรียนรู้หรือบันทึกเป็นระยะ
ด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน
๑. ไม่ยึดผู้สอนเป็นตัวตั้ง มองตัวผู้เรียนให้มากขึ้น
๒. ผู้เรียนสะท้อนกับผู้เรียนด้วยกันเอง
๓. ผู้สอนผสมผสานองค์ความรู้กับชีวิตจริงแล้วถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน
๔. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เก็บข้อมูลเพิ่มเติมจนกว่าจะหมดเวลาที่กำหนดไว้
๕. ให้นักศึกษามีอิสระ มองคนแบบองค์รวม เพราะคิดว่าน่าจะเป็นข้อมูลจากสภาพจริง เน้นให้นักศึกษาใช้คำถามปลายเปิดเพื่อเปิดประเด็น จากนั้นรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ว่าจุดใดน่าสนใจ และสิ่งที่ได้น่าจะมาจากการคิดและให้คุณค่านั้นอย่างไร ไม่ควรยึดกรอบทฤษฎีนำการสรุปความ
๖. ในการลงปฏิบัติจริงสิ่งต้องนำไปเชื่อมโยงในส่วนของวิชาการหรือทฤษฎีต่างๆ ในส่วนของอาจารย์ต้องมีการพัฒนาทักษะการกระตุ้น หรือการให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างไร ข้อมูลที่ได้ก็จะเป็นข้อมูลที่เป็นสภาพจริงมากขึ้น และสามารถวัดพัฒนาการคิดของนักศึกษา ทำให้นักศึกษาเข้าใจถึงผู้รับบริการมากขึ้น นอกจากนี้สามารถใช้การสังเกตซึ่งเป็นทักษะหนึ่งในการเก็บข้อมูล สังเกตสภาพแวดล้อม สังเกตการณ์แสดงพฤติกรรมต่างๆของเคส ส่วนในเรื่องของภูมิปัญญา ต้องไม่ใส่อคติของเราลงไปเป็นตัวอย่างให้กับนักศึกษา และยังต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า เพราะอะไรเขาจึงทำแบบนี้ เขามีความเชื่ออย่างไร
๗. เน้นกัลยาณมิตร ให้เกียรติ ยอมรับตัวตน ให้คุณค่า เรียนรู้กับกรณีศึกษาถึงแนวคิด ทัศนคติต่อสุขภาพ
๘. บันทึกการสอนของตนทุกครั้ง และร่วมสร้างคลังการเก็บประสบการณ์และผลจากการปรับการเรียนการสอนร่วมกัน
๙. เน้นให้นักศึกษาใช้แบบบันทึก (Filed note)ของตนเองเพื่อจดบันทึกการเรียนรู้ของตนและประเด็นที่คิดขึ้นได้ระหว่างลงภาคสนามหรือการประชุมกลุ่มย่อย และบันทึกทันทีภายหลังเรียนรู้หรือบันทึกเป็นระยะอย่างเหมาะสม
๑๐. ครูมีการตรวจสอบความก้าวหน้าการเรียนรู้ของนักศึกษาเป็นระยะจากการสังเกต การซักถาม การตรวจงานและควรมีการกระตุ้นให้มีการพัฒนาการคิดให้ทันกลุ่มและบทเรียนด้วยวิธีหลายแบบเช่นคำถามชี้ประเด็น สะท้อนคิด หรือการสนทนากับเพื่อนหรือกลุ่มใหญ่สะท้อนสู่ประเด็นที่นักศึกษาไม่เข้าใจ
ด้านการประเมินผล
๑. ผู้เรียนลดอคติลง
๒. ผู้เรียนมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการเข้าใจความเป็นมนุษย์ในทางบวกมากขึ้น
๓. นักศึกษามีความสุข ดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ไม่คุกคามเคส ได้ข้อมูลแค่ไหนเอามาแค่นั้น
๔. นักศึกษามีการพัฒนาการคิดและทักษะการบันทึกและการเข้าเยี่ยมกรณีศึกษาได้ดีขึ้นและในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพสามารถทำได้ดีอย่างเป็นธรรมชาติและเข้าใจกรณีศึกษาและมีความสุขในการดูแลคนในชุมชนและทำกิจกรรม? อาจารย์ลดการสอนเรื่องการบันทึกตามสภาพจริง ทำให้มีเวลามากพอในการจัดการเรียนรู้เนื้อหาการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย ผสมผสานกับHumanistic Nursing Careได้อย่างดี
๕. สำหรับแนวทางการประเมินการเรียนรู้ผู้เรียนได้มีการออกแบบแนวทางประเมินไว้ แต่ใช้ได้ดีระดับหนึ่งยังต้องมีการปรับให้ครอบคลุมทั้งรายวิชาให้มากขึ้นในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย? การออกแบบประเมินผลในแต่ละหัวข้อที่ต้องการประเมินนั้นสำคัญผู้สอนหรือผู้รับผิดชอบวิชาจะต้องจัดทำแบบประเมินให้ครบถ้วนและซักซ้อมการใช้แบบประเมินให้เข้าใจ? รวมถึงการออกข้อสอบวัดความรู้ ตลอดจนทักษะการบันทึกตามสภาพจริงนับเป็นสิ่งสำคัญ ครูผู้สอนควรได้มีโอกาสอภิปรายวิพากษ์ข้อสอบร่วมกันก่อน นอกจากจะช่วยให้วัดเด็กได้ตรงตามที่ต้องการวัดแล้วยังช่วยให้ผู้สอนทุกคนได้เรียนรู้และเข้าใจประเด็นการวัดซึ่งเป็นประเด็นวัตถุประสงค์การสอนนั้นเอง จะส่งผลให้ชี้ประเด็นขณะจัดการเรียนรู้ได้ดีอีกด้วย ควรได้มีการวิพากษ์ข้อสอบกันก่อนเปิดรายวิชาจะดีมาก
ขั้นที่ ๓ การสังเคราะห์ความรู้ ภาควิชาได้มีการสังเคราะห์ความรู้ เรื่อง การบูรณาการแนวคิด การให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในการจัดการเรียนการสอน สรุปได้แนวทางการปฏิบัติของภาควิชา ซึ่งจะนำไปใช้ในการฝึกภาคปฏิบัติต่อไป ดังนี้
1.ทบทวน เรื่อง การให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
2.เสริมสร้างพลังอำนาจ
3.กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ จากการเรียนการสอน :การเรียนนวด กิจกรรมภูมิปัญญา
4.การจัดการเรียนการสอน
5.สรุป ประเมินผล ถอดบทเรียน
6.ปรับประยุกต์ใช้ ทบทวนครั้งต่อไป
๔. การสังเคราะห์ความรู้ ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะจากผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge)
(อยู่ในขั้นดำเนินการ)
๕. การสรุปประเด็นสาระที่ได้เพื่อนำมาเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (ที่ได้จากการสังเคราะห์จากการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้และจากผู้มีประสบการณ์ตรง)
(อยู่ในขั้นดำเนินการ)
๖. การดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ดำเนินการ
(อยู่ในขั้นดำเนินการ)
มติที่ประชุม
๑.จัดพิมพ์
๒.ส่งให้อาจารย์ตรวจ
๓.ขึ้น Web
๔.เตรียมเผยแพร่ต่อไป
ปิดประชุมเวลา ๑๒.๐๐ น.
ลงชื่อ ?????????????????.
(นายกันตวิชญ์? จูเปรมปรี)
ผู้บันทึกรายงานการประชุม
ลงชื่อ ?????????????????.
(นางสาววิไลวรรณ บุญเรือง)
ผู้ตรวจรายงานการประชุม
การจัดการเรียนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่ดีว่านักศึกษาสามารถให้การดูแลผู้ป่วยด้วยใจและให้บริการอย่างมีความสุขภายใต้ความสุขที่ผู้รับบริการได้รับ แต่ตรงกันข้ามต้องประเมินสถานการณ์และความพร้อมของชุมชนด้วยว่า การทำกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพนั้น ผู้รับบริการให้ความสำคัญและชุมชนมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน ถือเป็นวิธีการเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ดีได้อีกทางหนึ่งเพื่อให้ให้เกิดผลกระทบในระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรมใจชุมชนนั้น ๆ ด้วย……………อ.นิกร
การบูรณาการแนวคิด การให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอน / นักศึกษา เปิดมุมองใหม่ในการมอง ประชาชนไม่ใช้ภาชนะที่ว่างเปล่า แต่ให้มองประชาชนมี ทุนทางสังคมอะไร ที่ดีอยู่แล้วนำมาพัฒนา ต่อยอดได้ เช่น ภูมิปัญญาในชุมชน เราจะสามารถมาดัดแปลง/ประยุกต์ อย่างไร ให้เข้ากับการส่งเสริมสุขภาพ
การเรียนรู้ถึงการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เป็นวิธีการที่สำคัญเพราะถือว่าเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในทุกรายวิชา ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้และสามารถเก็บข้อมูลจากสภาพจริง ทำให้เข้าใจในกรณีศึกษามากขึ้น ผู้สอนจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของ “การให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์”และเป็นแบบอย่างในการให้บริการกับนักศึกษา
จริงๆแล้วการออกแบบการจัดการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชานั้น มักจะมีการบูรณาการแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ แต่ขึ้นอยู่กับแหล่ง หรือสถานที่ที่จะให้บริการ เช่น การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือการดูแลผู้ป่วยในชุมชน หรือสถานที่อื่นๆ เนื่องจาแก่นแท้ของการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ก็คือ ทำอย่างไรให้ผู้รับบริการมีสุขภาพที่ดี และมีความผาสุขในชีวิตต่อไปในอนาคต แม้กระทั่งผู้ป่วยที่เจ็บป่วยก็อยู่กับโรคที่เป็นอยู่ได้ยาวนานขึ้น
การจัดการความรู้นั้นเป็นเรื่องที่ดีมากเพราะทุกคนที่จัดทำจะต้องมีความรู้และประสบการณ์ที่มีมาบูรณาการร่วมกัน และนำความรู้มาถ่ายทอดให้นักศึกษา ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับก็ได้ทั้งตัวนักศึกษาและชุมชนที่รับบริการ ชุมชนจะได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้และพัฒนาชุมชนให้มีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้นต่อไป
การบูรณาการแนวคิด การให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เป็นแนวคิดที่ดีอย่างมากในการปลูกฝังให้นักศึกษาได้องค์ความรู้ทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพร่วมกับการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งในวิชาชีพพยาบาลจำเป็นในการนำมาใช้เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการทำให้มีความสอดคล้องกันทั้งสองส่วนเพื่อประโยชน์สูงสุดในการจัดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ
แนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ถือเป็นรากฐานของทุกๆ รายวิชา โดยไม่เลือกสถานที่ หรือไม่เลือกกลุ่มบุคคล แต่ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการว่าได้เข้าถึงความต้องการทางด้านสุขภาพของบุคคลได้หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นบนหอผู้ป่วย หรือการปฏิบัติในชุมชน ก็ต้องมีการตอบสนองความต้องการของบุคคลในแต่ละสถานที่ โดยให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เป็นอยู่
การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ง่ายสุดน่าจะเริ่มจากการ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” มีความเมตตา ใส่ใจ ในปัญหาและความต้องการของผุ้รับบริการ
การบูรณาการแนวคิด การให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เป็นการพัฒนาการเรียนการสอนที่ดีมากเนื่องจากเป็นการสร้างกระบวนการคิดที่ครอบคลุม ไม่ด่วนตัดสิน มองภาพความเป็นบุคคลซึ่งมีบริบทหลายส่วนเกี่ยวข้องกัน ทำให้นักศึกษาเข้าใจความเป็นมนุษย์ มากยิ่งขึ้น
การให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในการจัดการเรียนการสอน เป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้นักศึกษาเข้าใจบริบทของการให้บริการแก่ผู้รับบริการ ในส่วนของผู้รับบริการสามารถแสดงความต้องการของตนเองในการดูแลสุภาพและยังทำให้ผู้รับบริการได้รับการเอาใจใส่จากผู้ให้บริการ
จากหัวเรื่องการเสวนาที่ยาวๆ ตามมุมมองของตนเองน่าจะสรุปสั้นๆ คือ “การส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์” ซึ่งเป็นกระบวนการเพิ่มสมรรถนะของคน/ผู้รับบริการ/ประชาชนให้สามารถควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น ทั้งนี้ กระบวนการดังกล่าว จะต้องยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง โดยผลลัพธ์ที่คาดหวัง คือ ผู้รับบริการมีการปรับเปลี่ยนหรือแสดงพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ ด้วยความเต็มใจและพึงพอใจ
อย่างไรก็ตาม การบูรณา “การส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์” กับการเรียนการสอน อันดับแรกที่ต้องดำเนินการ คือ สร้างความเข้าใจ/ความกระจ่างชัดในคำสำคัญ โดยทั่วในทีมผู้สอน และเร่งรัดการวางแผนอย่างสอดคล้องเป็นรูปธรรม ซึ่งตัวเองเห็นว่า สิ่งที่น่าทำและเป็นประโยชน์มากที่สุด คือ การพัฒนา “มคอ” เพราะสามารถตอบโจทย์อะไรหลายๆ สิ่ง ทีเดียว
การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เป็นแนวคิดแนวมนุษยนิยม (humanistic) ที่ทำให้มองเห็นว่ามนุษย์ทุกคนมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี มีความเป็นปัจเจกบุคคล ดังนั้นควรได้รับการดูแลอย่างมีเกียรติ และเหมาะสมเฉพาะแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน ดังนันในการส่งเสริมสุขภาพก็ควรให้การดูแลหรือคำแนะนำที่แตกต่างกันไปโดยให้เหมาะสมในแต่ละรายบุคคล
การบูณาการแนวคิด การให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ นั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ
“การสร้างนิสัยการบริการสุขภาพด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์”
คือ การฟังเรื่องราวต่างๆ ของผู้ป่วยอย่างตั้งใจ ซึ่งเป็นการเเสดงถึงการเคารพ ประสบการณ์ชีวิตและความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย มีการสะท้อนคิดจาก เรื่องราวต่างๆของผู้ป่วย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรียนรู้ซึ่งกันและกัน จะช่วยให้พยาบาาลให้บริการด้วยความเห็นใจ เข้าใจ และไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน การเสริมพลังอำนาจผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันกับเจ้าหน้าที่สุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถมีอำนาจมากขึ้นในการตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง
การให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เริ่มต้นจากการพัฒนาตนเองด้านสภาวะภายในด้วยการฝึกมองอะไรอย่างเป็นกลาง มีสติในการพิจารณาไตร่ตรองก่อนตัดสินอะไรมากกว่าด้วยความรู้สึกส่วนตัวหรือตามประสบการณ์เดิมๆของตนเอง ซึ่งมีผลทำให้ท่าทีการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล หรือการดูแลแก่ผู้ป่วย/ผู้รับบริการมีความโอนโยนขึ้น ใส่ใจในรายละเอียดในการให้บริการมากขึ้น คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล หากงานบริการใดๆนำแนวคิดนี้ไปใช้ในองค์กรจะทำให้ผู้มารับบริการพึงพอใจ อีกทั้งช่วยลดช่องว่างของสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ปัญหาเรื่องร้องเรียนต่อพฤติกรรมการให้บริการของเจ้าหน้าที่ก็ลดลง จึงเป็นสิ่งที่ควรพัฒนาให้เกิดขึ้นในทุกองค์กร
การบูรณาการแนวคิด การให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์กับการจัดการเรียนการสอนนั้น นักศึกษาควรฝึกทักษะการฟังอย่างตั้งใจ ฝึกการสังเกต เพื่อให้เห็นและเข้าใจความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง วิธีการฝึกอย่างง่ายก็คือการฝึกฟังเพื่อนในการใช้ชีวิตอยู่ในหอพักแล้วเราก็จะเข้าใจเพื่อน และเข้าใจตนเองมากขึ้น
การให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ถ้ากล่าวง่ายๆ ก็จะหมายถึง การปฏิบัติที่เชื่อว่ามนุษย์เป็นองค์รวม การให้การพยาบาลด้วยความเอื้อาทร เอาใจใส่ไม่เพียงปฏิบัติเพียงเพราะเป็นหน้าที่เท่านั้น ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม เป็นกัลยานิมิตรที่ดี ถ้าหากอาจารย์ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี สอดแทรกแทรกสิ่งเหล่านี้ในการเรียนการสอนทุกรายวิชาจะช่วยให้การบูรณาการสำเร็จยิ่งขึ้น
ขณะนี้กำลังสรุปผลการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการให้การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของ นศ.พยาบาลศาสตร์ ปี 3 ตามความคิดเห็นของผู้รับบริการ เจ้าหน้าที่แหล่งฝึก และตนเอง คาดว่าผลจะออกมาในเร็วๆนี้ น่าจะพอเป้นประโยชน์สำหรับอาจารย์ในการใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานักศึกษาเพื่อให้มีอุปนิสัยในการให้การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ตามอัตลักษณ์ สบช.ค่ะ
การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์..เป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการให้บริการกับประชาชนซึ่งผู้รับบริการเองจะต้องดูแลผู้รับบริการด้วยความเข้าใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา จะทำให้การแก้ไขปัญหาในระบบสุขภาพเป็นไปด้วยดี ยั่งยืน เพราะเกิดจากความเข้าใจ มองคนด้วยความเข้าใจ ทำให้ข้อมูลที่ได้ ได้มาจากความเป็นจริงมากที่สุด
บางครั้งการสอนทฤษฎีหรือบรรยายว่าการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์นั้นเป็นอย่างไร จะได้ผลในระดับหนึ่งที่ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกภาคปฏิบัติ สิ่งที่ผู้สอนควรตระหนักคือถ้าผู้สอนเป็นตัวอย่างที่ดีในการดูแลผู้เรียนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในการเรียนทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติหรืออื่น ๆ และผู้เรียนสัมผัสได้ถึงสิ่งนี้ก็จะทำให้การถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ผ่านไปยังผู้เรียนได้อย่างแท้จริงและสามารถนำไปใช้กับการปฏิบัติงานทั้งต่อเพื่อน ผู้ป่วย ญาติ และทุก ๆ คนที่รายล้อมพวกเขา
การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและผู้สอนมากเลยค่ะ สามารถนำไปใช้ได้จริงในการฝึกปฏิบัติ เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ ๑ ซึ่งสามารถนำความรู้รวมทั้งประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้เมื่อขึ้นชั้นปีสูงๆต่อไป ส่วนผู้สอนก็ได้ฝึกฝนการชี้ประเด็นเพื่อจุดประกายให้นักศึกษาได้คิดอย่างมีวิจารณญาณมากขึ้น
การให้บริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ ก่อนที่จะนำไปบูรณาการไม่ว่าจะกับสิ่งใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่คิดว่าจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้ที่จะนำไปใช้นั้นควรมีความเข้าใจที่ตรงกัน และการนำไปใช้ในการบริการด้านสุขภาพจะช่วยให้ผู้รับบริการรู้สึกในคุณค่าของตนเองมากขึ้น และขอเสริมว่าควรดูแลคนทุกคนไม่ว่าจะผู้รับบริการ เพื่อนร่วมงาน และคนในครอบครัว ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
คิดว่าควรมีการเพิ่มการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษญ์ในองค์กรด้วยเพราะนักศึกษาเรียนรุ้ได้จากการเห็น มากกว่าการบอก
การจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความเข้าใจความเป็นมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่ยากเพราะ เป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิดการแยกตัวตนกับผู้รับบริการ ฉะนั้นการจัดการเรียนการสอนควรจัดให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงสัมผัสกับสภาพจริง จึงจะทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้นครับ
การนำแนวคิดการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มาใช้ในการดูแลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพหรือนำมาใช้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเป็นสิ่งที่ดีและควรปลูกฝังให้เกิดกับนักศึกษาพยาบาล ควรเริมต้นที่ในตัวตนของแต่ละบุคคล ผสมผสานกับการมีต้นแบบจากครูบาอาจารย์ทั้งหลายเพราะเป็นบุคคลที่มากล้นด้วยประสบการณ์ย่อมคิดอ่านและมองเหตุการณ์ต่างๆ ได้ดีกว่าผู้ด้อยประสบการณ์ค่ะ
Humanistic Care,Humanistic Nursing Care การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ การให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความหมายในภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ตาม ก็มิได้ต่างกัน และไม่ใช่ของใหม่หรือวิธีการใหม่แต่ประการใด หากลองพิจารณาดูดีดีแล้วการดูแลกันด้วยความรู้สึกที่ดีงามจากก้นบึ้งของหัวใจนั้นเป็นสิ่งที่งดงามของคนไทยมาตั้งแต่โบราณกาล จนไทยได้ชื่อเลื่องลือนามว่า”สยามเมืองยิ้ม”ไปทั่งโลก”Land of Smile” หากแต่คนในยุคศิวิไลซ์นี้ลดการสื่อสารด้วย”ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ”ลง พึ่งพากันน้อยลง มีเทคโนโลยีหลากหลายเข้ามาแทนที่สื่อสารกันด้วยสัญลักษณ์ เสียงที่สร้างขึ้นมาได้หรือผ่านสื่อต่างๆ ที่ซึ่งมิอาจสรุปได้ว่า แท้จริงออกมาจากใจหรือเปล่า..โลกของเราจึงกลายเป็นเรื่องจอมปลอมขึ้นมาทุกวัน ..ที่เรียกว่าผลประโยชน์..โลกทั้งโลกจึงเหงาและสัมผัสได้ถึงความว่างเปล่าและมิตรภาพระหว่างกันและกันมันเหือดหายไปจนน่าใจหาย …คนไทยเองควรน่าใจหายยิ่งกว่าใครเพราะ มิตรภาพ ความมีน้ำใจหรือHumanistic Care คือตัวตนของคนไทยอันเป็นมรดกมาแต่โบราณ..นั่นเอง สำหรับการสร้างเสริมสุขภาพนั้น ก็มิได้เป็นเรื่องไกลตัวอีกเช่นกัน แท้จริงแทบจะขาดกันและกันไม่ได้ เหมือนดังคู่แฝดกัน เพราะการสร้างเสริมสุขภาพคือกระบวนการเพิ่มพลังอำนาจให้กับคนอื่น ให้สามารถควบคุมผลลัพธ์ทางสุขภาพของตนเองได้ ดังนั้นการดูแลและให้ความรักและปรารถนาดีจากก้นบึ้งของหัวใจกับใครสักคน ก็เท่ากับว่าช่วยเพิ่มพูนกำลังใจให้ใครคนนั้นสามารถมีพลังนำทางชีวิตตนเองได้นั่นเอง …..
การให้บริการด้วยหัวใจที่มีความเป็นมนุษย์ จะเกิดขึ้นได้นั้น สิ่งสำคัญคือการพัฒนาศักยภาพพยาบาล เพราะการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์นั้นเป็นสิ่งเกิดจากบุคคล ไม่มีผู้ใดสามารถกำหนดให้ใครปฏิบัติได้ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลจำเป็นต้องมีการพัฒนาผู้เรียนให้มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ การฝึกฝนทักษะการฟังที่ลึกซึ้ง การเรียนรู้แนวคิดการพยาบาลองค์รวม เรียนรู้ปรัชญาองค์รวม สามารถเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อน