การใช้หลักธรรมะในการสร้างเสริมสุขภาพ

การสร้างเสริมสุขภาพ คือ กระบวนการเกื้อหนุนและสนับสนุนส่งเสริมให้บุคคลและกลุ่มคนมีความสามารถในการควบคุมดูแลสุขภาพของตัวเองและพัฒนาสุขภาพของตัวเอง จะเห็นได้ว่าการสร้างเสริมสุขภาพที่จะได้ผลดี บุคคลและกลุ่มคนต้องเป็นผู้กระทำเอง โดยการสร้างเสริมสุขภาพเป็นแนวคิดที่ชาญฉลาดเพราะเป็นการจัดการให้สุขภาพแข็งแรง มีโอกาสเจ็บป่วยน้อยลง???????? ผลที่ตามมายังส่งผลให้สังคมนั้นเจริญ เศรษฐกิจดี ไม่เป็นภาระ ไม่เป็นที่กังวลใจของบุคคลที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเป็นตัวอย่าง เป็นพลังของครอบครัว กลุ่มและชุมชนอีกด้วย ผู้เขียนได้มีโอกาส อ่านหนังสือธรรมะ ได้พบหัวข้อหลักธรรมะ ทางพุทธศาสนาที่น่าจะนำมา ประยุกต์ใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพได้ คือ พละ 5 ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา โดย การมีศรัทธา ต้องมีปัญญาเป็นตัวกำกับ เพราะศรัทธาคือความเชื่อ ซึ่งมีข้อดีคือทำให้จิตมีพลัง ทำอะไรก็มีกำลังในการปฏิบัติ ?เช่นเชื่อว่าการออกกำลังกายจะทำให้ตนมีโอกาสห่างไกลจากการเจ็บป่วย แต่ถ้าหมดศรัทธาก็หมดแรง ไม่สามารถปฏิบัติได้ เช่น การออกกำลังกายเป็นเรื่องที่เสียเวลาหรือทำไม่ได้ ?แต่ถ้าศรัทธาแรงกล้า ไม่มีปัญญามากำกับ จะเกิดปัญหางมงาย หลงใหลได้ เช่น การรับประทานอาหารเสริมบางชนิดที่ไม่เหมาะสมกับสุขภาพของตนเองอาจเกิดโทษกับร่างกายมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ เมื่อมีปัญญามากำกับก็จะกระทำอย่างมีเหตุผล พอเหมาะพอดี ถ้ามีปัญญา คือ รู้ เข้าใจ รู้ประโยชน์ รู้ความจำเป็น แต่ไม่เอาจริง จะจับจดกับสิ่งที่รู้เรื่องนั้นเรื่องนี้จึงไม่เกิดการปฏิบัติให้เป็นผล เพราะขาดพลังศรัทธา ทั้งสองต้องเกื้อกูลกัน

ดังนั้นเมื่อเราศรัทธาต่อการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เราจะมีกำลังในการปฏิบัติพฤติกรรม ร่วมกับการหนุนด้วยปัญญาคือ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติ พิจารณารู้ถึงปัจจัยความเสี่ยงต่อการเกิดความเจ็บป่วย? เราก็จะเกิดแนวทางปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสมอย่างมีพลังได้

ในส่วนของ วิริยะต้องใช้คู่กับสมาธิ เพราะวิริยะคือความเพียร โดยมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติ ไม่พลัดวันประกันพุ่ง สมาธิคือความแน่วแน่ สงบอย่างมั่นคง ไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งเร้ารอบข้าง ?ดังนั้นเมื่อเพียรปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพจะกระทำได้ก้าวหน้า เพราะเห็นว่าการปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งท้าทาย มีประโยชน์ มีพลังที่จะเอาชนะแต่ต้องคุมด้วยสมาธิ คือ ต้องเป็นไปอย่างสงบมั่นคง ไม่ใช่ท้าทายเอาชนะด้วยความเพียรแบบกระวนกระวาย ในทางตรงข้ามถ้ามีเฉพาะสมาธิไม่มีวิริยะก็จะทำให้นิ่งเฉื่อยชา ไม่เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ จึงจำเป็นต้องมีทั้งวิริยะและสมาธิอย่างสมดุลกัน

การปรับสมดุลการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้วยการใช้หลักธรรม พละ 5 ต้องใช้ควบคู่กัน คือ ศรัทธาคู่กับปัญญา วิริยะคู่กับสมาธิ และต้องมีสติคอยตรวจสอบว่าหลักธรรมข้อใดที่หย่อนหรือตึงไม่เสมอกัน เมื่อรับรู้แล้วให้รู้ปรับให้สมดุล ก็จะช่วยส่งผลให้การปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพสำเร็จได้โดยก่อประโยชน์ที่อย่างแท้จริง

บรรณานุกรม

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). สมาธิแบบพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่) 8 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิกจำกัด.

วัลลา? ตันตโย.(2543).ทฤษฎีที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. ในสมจิตร หนุเจริญกุล

วัลลา ตันตโย และนวมพร คงกำเนิด(บรรณาธิการ).การส่งเสริมสุขภาพ: แนวคิดทฤษฎีและ

การปฏิบัติการพยาบาล.นครศรีธรรมราช:มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

สกุณา? บุญนรากร.(2552).การสร้างเสริมสุขภาพ แบบองค์รวมทุกช่วงวัย.(พิมพ์ครั้งที่2).สงขลา:

เทมการพิมพ์.

นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์?? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ