การใช้ NSAIDs กับอาการใจสั่น

ศศิธร ชิดนายี*

หลายๆคนคงเคยมีประสบการณ์ได้รับการรักษาด้วยยาบรรเทาอาการปวด อักเสบกล้ามเนื้อ ต่อไปนี้เป็นการศึกษาที่ผู้ที่จะรับประทานยาแก้ปวดควรระมัดระวังไว้จากการศึกษาของ Morten Schmidt (Aarhus University Hospital, Denmark) และคณะพบว่า มีการใช้ยากลุ่มลดอาการปวดชนิด Nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs)และ ยากลุ่ม COX-2 inhibitors เช่น rofecoxib (Vioxx, Merck & Co)เพื่อลดอาการอักเสบ ซึ่ง ยากลุ่มCOX-2 inhibitorsในขณะนี้พบว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและไตมากขึ้น? มีอุบัติการณ์ของการเกิดหัวใจสั่นพริ้ว (Atrial fibrillation and flutter)จากการรับประทานยากลุ่มนี้พบ 0.5% ในกลุ่มอายุ ?50 – 59 ปี ถึง 10% ในกลุ่มที่มีอายุ 80 – 89 ปี ซึ่งอาการหัวใจสั่นพริ้ว (Atrial fibrillation and flutter)จะทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต (thromboembolic stroke ) และหัวใจล้มเหลวได้ ซึ่งสาเหตุเกิดจากยามีผลข้างเคียงต่อไตแต่ผลที่พบยังมีอัตราค่อนข้างต่ำแพทย์ที่จะสั่งจายยากลุ่มนี้ควรคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้ป่วยด้วย

ผลการวิจัยนี้ ศึกษาในผู้ป่วยประเทศเดนมาร์กที่ใช้ยากลุ่ม NSAIDs32602 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นatrial fibrillation or flutter ตั้งแต่ปี 1999?2008 เปรียบเทียบกับผู้ป่วยประเภทเดียวกันที่ไม่ใช้ยากลุ่ม NSAIDs จำนวน 325918 คนพบว่ากลุ่มที่ใช้ NSAIDs มีอัตราการเกิด หัวใจสั่นพริ้ว 17 % (incidence rate ratio [IRR] 1.17; 95% CI 1.10?1.24). กลุ่มที่ใช้ COX-2 inhibitorsมีอุบัติการณ์ความเสี่ยงค่อยๆเพิ่มขึ้น(IRR 1.27; 95% CI 1.20?1.34). การศึกษายังพบด้วยว่ากลุ่มคนที่เริ่มใช้ยากลุ่มนี้ใหม่ๆภายใน 2 เดือนมีความเสี่ยงต่อการเกิดเพิ่มขึ้น 46? -71 % เมื่อเปรียบเทียบกับอีกกลุ่ม เป็นที่น่าสนใจในการศึกษานี้พบอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นในผู้ใช้รายใหม่แตกต่างจากการศึกษาในอังกฤษที่พบในผู้ที่ใช้ยามานาน เนื่องจากยังขาดการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลหลายอย่างเช่น ขนาดที่ใช้ การใช้ในกลุ่มที่อ้วน ดังนั้นผู้ที่ใช้ยาควรระมัดระวังอาการนี้ด้วย

เอกสารอ้างอิง

1.Michael O’Riordan. Use of NSAIDs Linked With Risk of Atrial Fibrillation or Flutter. [online] http://www.medscape.org/viewarticle/746044?src=cmemp

2. Schmidt M, Christiansen, Mehnert F, et al. Nonsteroidal anti-inflammatory drug use and risk of atrial fibrillation or flutter: population-based case-control study. BMJ 2011; 343:d3450. DOI: 10.1136/bmj.d3450. Available at: http://www.bmj.com/

2.Gurwitz JH. NSAIDs and atrial fibrillation. BMJ 2011; 343:d2495. DOI: 10.1136/bmj.d2495. Available at: http://www.bmj.com/

*พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ? วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์