กายวิภาคศาสตร์ของเต้านมสู่ความเข้าใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เรียบเรียงโดย? อ.ภิญญารัช? บรรเจิดพงศ์ชัย*

ภาวะวิกฤตของการปรับตัวในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในเพศหญิงคงไม่มีสิ่งใดมากไปกว่าการตั้งครรภ์ การคลอดและการปรับตัวในภาวะหลังคลอด? การปรับเปลี่ยนบทบาทเข้าสู่บทบาทความเป็นแม่ อาจทำให้มารดาหลังคลอดส่วนใหญ่โดยเฉพาะมารดาครรภ์แรก มีความวิตกกังวลจากความไม่เข้าใจในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงการทำงานของอวัยวะต่างๆในภาวะหลังคลอด? โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของเต้านม และกลไลการสร้างและหลั่งน้ำนมจึงมีความจำเป็นเพื่อทำให้มารดาคลายความวิตกกังวล? และสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างถูกต้องและมีความสุข

เต้านมประกอบด้วย หัวนม (Nipple) , ลานหัวนม (Areola) ?โดยหัวนมเป็นส่วนที่เป็นศูนย์กลางที่ท่อน้ำนมจะเปิดเข้ามา ส่วนลานหัวนมคือส่วนที่เป็นวงกลมที่มสีเข้มรอบหัวนม? ส่วนประกอบภายในของเต้านมประกอบด้วย Lactiniferous sinus เป็นส่วนที่จะระบายน้ำนมออกทางหัวนม? ส่วนของน้ำนมจะสร้างจาก Alveolus วึ่งประกอบด้วยเซลล์ของต่อมน้ำนม (Gland cells) อยู่รอบท่อ รอบๆ Gland cells เป็น Myoepithelial cells ซึ่งเมื่อบีบตัวจะทำให้น้ะนมไหลผ่านไปยังท่อน้ำนมที่อยู่ตรงกลาง? หลังจากนั้นน้ำนมก็จะไหลไปตาม Lactiferous ducts เข้าสู่ Lactiniferous sinus กลไกการบีบเก็บน้ำนมหรือการดูดนมของลูก ลิ้นของทารกจะนวดไปยังบริเวณ Areola ซึ่งด้านล่างก็คือ Lactiniferous sinus นั่นเอง กลไกการสร้างและหลั่งน้ำนมจากการที่ทารกดูดนม (Sucking reflex) คือ เมื่อทารกดูดนมโดยใช้ลิ้นและเพดานบนกดส่วนของลานหัวนมจะเกิดการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน Oxytocin ฮอร์โมนนี้จะทำเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อน้ำนมกว้างขึ้น ทำให้เกิดการหลั่งของน้ำนมส่วนฮอร์โมนอีกตัวหนึ่งคือ Prolactin ซึ่งสร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะช่วยให้เกิดการผลิตน้ำนมและยังช่วยยับยั้งการตกไข่ด้วย

จะเห็นว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างรู้และเข้าใจ จะทำให้มารดาหลังคลอดคลายความวิตกกังวลโดยรู้และเข้าใจโครงสร้างส่วนประกอบและการทำงานของเต้านม ประกอบกับหลัก 3 ด คือ ดูดเร็ว? ดูดบ่อย? ถูกวิธี นั่นเอง

http://www.breastfeedingbasics.org

http://th.wikipedia.org

http://www.moongpattana.com/webboard/answer_view.php?postid=159

*พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี? อุตรดิตถ์