การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับครูก่อนเกษียณโดย ดร.อนัญญา? คูอาริยะกุล และคณะ?

จากการสังเคราะห์รายงานการวิจัยเรื่อง ?การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับครูก่อนเกษียณ? ซึ่งดำเนินการโดย ดร.ประภาพร มโนรัตน์ นับว่า
เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจและมีประโยชน์อย่างมากต่อข้าราชการครูก่อนที่จะเกษียณอายุราชการ ในการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพของตนเอง? เนื่องจากข้าราชการครู เปรียบเสมือนบัญชีทางทรัพย์สินของประเทศชาติ เนื่องจากเป็นผู้ที่มีประสบการณ์
ที่สังคมจะได้รับประโยชน์เมื่อเกษียณอายุราชการ อีกทั้งเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมาก มีการกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย และเป็นที่ยอมรับว่า ครูคือผู้นำการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นข้าราชการครูจึงน่าจะมีบทบาทสำคัญให้สังคมผู้สูงอายุเป็นสังคมแห่งคุณภาพ ซึ่งการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพก่อนที่ครู
จะเกษียณอายุราชการจึงเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ผลการวิจัย ยังทำให้ทีมสุขภาพสามารถนำรูปแบบนี้เป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรอื่นๆ ได้อีกด้วย?

????????????? ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา? ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของครูก่อนเกษียณ โดยศึกษาถึงสภาพพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครูก่อนเกษียณ (ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ การมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย โภชนาการ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การพัฒนาทางจิตวิญญาณและการจัดการกับความเครียด)? การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพครูก่อนเกษียณ (ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ? ทัศนคติต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม และความต้องการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อการเกษียณอายุ) ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ครูก่อนเกษียณมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ

โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง?? มีความรู้? ทัศนคติ แรงสนับสนุนทางสังคมและความต้องการการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพก่อนเกษียณอายุในระดับสูง? แต่การปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในลักษณะขาดความต่อเนื่อง เนื่องจากครูให้ความสำคัญน้อยและคิดว่าทำได้ยาก? ขาดทักษะการบูรณาการพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวัน

ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพสำหรับครูก่อนเกษียณประกอบด้วย การวิเคราะห์สุขภาพตนเองจากผลกระทบของการสูงอายุและการเกษียณอายุราชการ? (การเรียนรู้เกี่ยวกับผลกระทบของการสูงอายุและการเกษียณอายุราชการต่อสุขภาพ ?การทบทวนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเดิม และ??????????? การวิเคราะห์อันตรายที่จะเกิดกับสุขภาพ)? การประเมินความสามารถตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมผสานพฤติกรรมสุขภาพ (การฝึกประสบการณ์ด้านพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และการตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ)? การทดลองปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพเข้ากับวิถีชีวิตปกติ (การปฎิบัติตามทางเลือก และการปรับช่องโหว่)????????

ระยะที่ 3 การทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบ โดยประเมินจากพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ)? ภาวะสุขภาพของ

ครูก่อนเกษียณ (ระดับความดันโลหิต อัตราการเต้นของชีพจร ดัชนีมวลกาย) และ

ความพึงพอใจต่อรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของครูก่อนเกษียณ (ความเหมาะสมของรูปแบบและกิจกรรม? ผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ และการนำไปประยุกต์ใช้

ในการดำเนินชีวิตประจำวัน)

จากผลการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับครูก่อนเกษียณครั้งนี้ ในส่วนของผลการประเมินรูปแบบ พบว่า เป็นรูปแบบ
ที่เหมาะสมมีประสิทธิผลดีคือ สามารถส่งเสริมให้ครูก่อนเกษียณมีพลังอำนาจในการควบคุมชีวิต ส่งผลให้มีผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดี ได้แก่ ระดับความดันโลหิต? ค่าดัชนีมวลกาย โดยใช้มโนภาพในตัวบุคคลและระบบสนับสนุนทางสังคมเป็นพลังการขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในตัวบุคคล?? ในการพัฒนาความรู้? ทัศนคติและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครูก่อนเกษียณอายุ

?