การดำเนินการ?? บูรณาการการเรียนการสอนรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑

?????????????????? กับการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน

ภาควิชา ?????? การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

????????? การถอดบทเรียนจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของผู้ที่มีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องในการดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนในวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑ กับการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ซึ่งประกอบด้วย อาสาสมัครสารธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) พยาบาลวิชาชีพ และนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ สรุปได้ ดังนี้

????????? ๑. สร้างประโยชน์และคุณค่าต่อชุมชน โดยผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ตรง ???????????ระบุว่า การบูรณาการการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพประชาชนที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนก่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าต่อชุมชนหลายด้าน คือ

?????????????????? ๑.๑ ด้านผู้ป่วย ญาติ และ อสม.

???????????????????????????? ๑) ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน การที่นักศึกษาประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนในภาคทฤษฎีลงสู่การปฏิบัติจริง ในประเด็นการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยในชุมชน ก็เสมือนว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน

???????????????????????????? ๒) ผู้ป่วยและญาติลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางโรงพยาบาล เพราะการลงพื้นฐานของนักศึกษา จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรด้านสุขภาพในพื้นที่ โดยเฉพาะพยาบาลวิชาชีพ ทั้งการเลือกสรรผู้ป่วยกรณีศึกษา การติดตามไปกับนักศึกษา ได้รับรู้ข้อมูลเชิงลึกหรือสภาพปัญหาสุขภาพผู้ป่วยตามสภาพจริง จึงก่อให้เกิดการเหนี่ยวนำทีมสหสาขาวิชาชีพเข้าไปรักษาดูแลหรือแก้ไขปัญหาสุขภาพผู้ป่วยถึงที่บ้าน

???????????????????????????? ๓) ผู้ป่วยเกิดความสุขใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยในกลุ่มที่ติดเตียง มีภาวะทุพพลภาพ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จำกัดอยู่เพียงห้องนอน ไปไหนไม่ได้ ดังนั้น การที่นักศึกษาลงพื้นที่และปฏิบัติการกับผู้ป่วยจริง กระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะเกิดขึ้นทันที หลังจากยุติมานาน???????? ด้วยภาวะเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะทำให้ผู้ป่วยได้สื่อสาร พูดคุย รู้สึกมีว่ายังเพื่อน คลายเหงา เกิดความแช่มชื่นในจิตใจ

???????????????????????????? ๔) ผู้ป่วย ญาติ และ อสม. ได้รับความรู้ในการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เสมือนโค้ชผู้สอนการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน อีกทั้งยังเป็นการสร้างความใส่ใจในความรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้ป่วยและญาติ ขณะที่ อสม. เกิดความตระหนัก ใส่ในใจสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

?????????????????? ๑.๒ ด้านพยาบาลวิชาชีพ

???????????????????????????? ๑) เกิดการพัฒนาและความตื่นตัวเชิงวิชาการ การบริหารจัดการ เพราะ???????? การที่นักศึกษาลงพื้นที่และปฏิบัติการกับผู้ป่วยจริง พยาบาลจะมีบทบาทในการดำเนินงาน ทั้งการเลือกสรรผู้ป่วยกรณีศึกษา การติดตามไปกับนักศึกษา ติดต่อประสานงานเครือข่าย อสม. ตลอดจนให้ข้อมูลย้อนกลับกับนักศึกษา อาจารย์พยาบาล จึงส่งผลให้พยาบาลผู้เกี่ยวข้องต้องเตรียมตัวเพื่อการดำเนินการ การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ คุณภาพ

???????????????????????????? ๒) ได้เห็นสภาพปัญหาของผู้ป่วยชุมชนในพื้นที่เป็นรายบุคคล ข้อมูลมีความละเอียด เชิงลึก ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการลงปฏิบัติการของนักศึกษา

????????? ?????????????????? ๓) สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือ โดยเฉพาะ แกนนำ อสม.ในการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน เพราะการลงพื้นที่ปฏิบัติการของนักศึกษา ภายใต้ความร่วมมือของแกนนำ อสม. จะเกิดประสบการณ์ตรงจากความร่วมมือ (learning by doing) สั่งสมเป็นความรู้ เกิดความเข้มแข็งในเชิงปฏิบัติการในที่สุด

????????? ๒. สร้างประโยชน์และคุณค่าต่อสถาบัน

?????????????????? ๒.๑ ด้านนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ที่กระจ่างชัดขึ้น และมีสมรรถนะที่พึงประสงค์

???????????????????????????? ๑) ช่วยขยายภาพความเข้าใจในองค์ความรู้จากประสบการณ์ตรง (learning by doing) อย่างเป็นระบบ ด้วยการเรียนรู้ทฤษฎีในห้องเรียน นำเชื่อมโยงสู่การปฏิบัติจริง

???????????????????????????? ๒) เกิดสมรรถนะบัณฑิตที่พึงประสงค์

????????????????????????????????????? – การบริหารจัดการ การเรียนรู้ตามสภาพจริง จะช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะหรือสมรรถนะด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ การศึกษาและข้อมูลสภาพปัญหา????? ???????????การวางแผน การดำเนินการตามแผน การประเมินผล และการปรับปรุงหรือการพัฒนาต่อเนื่อง

????????????????????????????????????? – การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล

????????????????????????????????????? – การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า จากสถานการณ์ที่ไม่ได้เป็นดังที่

????????????????????????????????????? ? คาดหวังไว้

????????????????????????????????????? – การสร้างเสริมความร่วมมืออันดี กับ อสม. ผู้ป่วย ญาติ และ

????????????????????????????????????? ? พยาบาล

????????????????????????????????????? – การคิดสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อพัฒนา

????????????????????????????????????? ? แผนงาน กิจกรรม นวัตกรรมการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพ

????????????????????????????????????? ? ผู้ป่วยกรณีศึกษาตามสภาพจริง

?????????????????? ๒.๒ มีเครือข่ายความร่วมมือ ด้านสุขภาพ ทั้ง แกนนำ อสม. พยาบาล ผู้นำชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันในเกิดการดำเนินงานที่คล่องตัว เข้าถึงพื้นที่ อันจะนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

????????? ๓. ปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ และข้อเสนอแนะของการพัฒนา

?????????????????? ๓.๑ ระยะทางไกล อาจพิจารณาแหล่งที่ใกล้ๆ

?????????????????? ๓.๒ พยาบาลผู้รับผิดชอบในพื้นที่ ได้รับข้อมูลแผนงาน/โครงการบูรณาการล่าช้า กระชั้นชิด ทำมีเวลาน้อย สำหรับการเตรียมพื้นที่ การพิจารณาเลือกและเตรียมข้อมูลผู้ป่วยกรณีศึกษา อาจไม่มีคุณภาพ เป็นต้น ดังนั้น ควรส่งแผนงาน/โครงการล่วงหน้าอย่างเหมาะสม

?????????????????? ๓.๓ ระยะเวลาการลงพื้นของนักศึกษาเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาผู้ป่วยน้อยไป ควรพิจารณาแบ่งการพบปะผู้ป่วยกรณีศึกษา ๓ ครั้งเป็นอย่างน้อย

????????????????????????????????????????????????????????? คณาจารย์ประจำภาควิชา

?การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ผู้ถอดบทเรียน