รายงานการประชุมการจัดการความรู้เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอน
แบบ ACTIVE LEARNING
วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๕.๐๐ น.
ณ ห้อง ๑๑๓ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม
๑. นางนิศารัตน์ นาคทั่ง หัวหน้าภาควิชาฯ
๒. นางศศิธร ชิดนายี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. นางอนัญญา คูอาริยะกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๔. นางมณฑา อุดมเลิศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
๕. นางสาววราภรณ์ ยศทวี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นางสาวเสาวลักษณ์ เนตรชัง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๗. นางสาวนัยนา อินธิโชติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๘. นายไพทูรย์ มาผิว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๙. นางวาสนา ครุฑเมือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๑๐. นางสาวนัยนา แก้วคง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๑๑. นางสาวศิริกาญจน์ จินาวิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
๑๒. นายสืบตระกูล ตันตลานุกุล พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๓. นายเสน่ห์ ขุนแก้ว พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๔. นางอรุณรัตน์ พรมมา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๕. นายภราดร ล้อธรรมมา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๖. นางสาวอลิษา ทรัพย์สังข์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๗. นายวีระยุทธ อินพะเนา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๘. นางจิราพร ศรีพลากิจ พยาบาลวิชาชีพ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นายไพทูรย์ มาผิว
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๑๕ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
ประธานแจ้งว่า จาการประชุมของคณะกรรมการบริหาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ได้กำหนดหัวข้อในการจัดการความรู้(KM)ของวิทยาลัยฯในหัวข้อการจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING และเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ในการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี ACTIVE LEARNING และขอความร่วมมือให้อาจารย์แต่ล่ะท่านช่วยเล่าประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING เพื่อรวบรวมวิธีการสอน กระบวนการสอน ผลการสอน ข้อดี และข้อจำกัดในการสอนแต่ล่ะวิธี และเพื่อให้เกิดการจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING ที่มีประสิทธิภาพ แก่นักศึกษา
จึงแจ้งที่ประชุมทราบ
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม
ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา
จากประธานแจ้งเรื่องหัวข้อการจัดการความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING และให้อาจารย์ในภาควิชาฯ เล่าประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING เพื่อรวบรวมวิธีการสอน กระบวนการสอน ผลการสอน ข้อดี และข้อจำกัดในการสอนแต่ล่ะวิธี และเพื่อให้เกิดการจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING ที่มีประสิทธิภาพ แก่นักศึกษา
๑. อาจารย์นิศารัตน์ นาคทั่ง สอนโดยวิธีการบรรยายจบแล้ว ๑ หัวข้อ ก็ตัวแทนให้เล่าประสบการณ์ที่นักศึกษาเคยเจอมาเกี่ยวกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับตา คอ หู จมูก ว่ามีลักษณะอย่างไรบ้าง หลังจากนั้น อาจารย์จะยกตัวอย่างกรณีศึกษา โดยอาจารย์จะสมมติว่าตัวเองเป็นผู้ป่วย และให้นักศึกษา ช่วยกันซักประวัติ และช่วยกันวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคอะไร และให้ช่วยกันให้การรักษา และจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไปในผู้ป่วยรายนี้ ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในทุกหัวข้อที่สอน หลังจากเสร็จสิ้นทุกหัวข้อจะเหลือเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง จะให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดทุกหัวข้อ จำนวน ๑๐ ข้อ โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่ม และส่งตัวแทนกลุ่มออกมาตอบคำถามชิงรางวัล โดยกลุ่มไหนที่ได้คะแนนสูงสุด จะได้รับรางวัล ผลของการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการนี้พบว่า นักศึกษาบอกว่าดี ทำให้สามารถซักประวัติ และวินิจฉัยแยกโรค ของผู้ป่วยได้ และนักศึกษามีความสนใจมากขึ้น และมีผลการสอบปลายภาคผ่านมากขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา
๒. อาจารย์มณฑา อุดมเลิศ สอนโดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม และใช้สถานการณ์สมมติ ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์สถานการณ์ และนำเสนอหน้าชั้นเรียน ขณะจัดการการเรียนการสอนนักศึกษาให้ความสนใจมาก ไม่ง่วง ผลการสอนด้วยวิธีนี้พบว่านักศึกษา สอบผ่านมากขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา และวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบนี้อาจารย์ผู้สอนต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวค่อนข้างมาก และมีความกังวลเรื่องของเนื้อหาการเรียนอาจไม่ครอบคลุม
ประธานสรุปจากท่านอาจารย์ทั้ง ๒ ท่านที่ได้เล่าประสอบการณ์การจัดการเรียนการจัดการเรียนการสอนที่เป็นแบบ ACTIVE LEARNING ได้แก่ การเล่าประสบการณ์ การเล่นเกมส์ แบบฝึกหัด การใช้สถานการณ์สมมติ จะทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ไม่อยู่นิ่ง ไม่ง่วง ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้และการคิดที่ต่อเนื่องเชื่อมโยง จากกิกรรมที่อาจารย์จัดให้ ส่งผลให้นักศึกษามีความสนใจมากขึ้น และมีผลการสอบปลายภาคผ่านมากขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา แต่มีข้อกำกัดคืออาจารย์ผู้สอนต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวค่อนข้างมาก และมีความกังวลเรื่องของเนื้อหาการเรียนอาจไม่ครอบคลุม
๓. อาจารย์ไพทูรย์ มาผิว สอนโดยการใช้สถานการณ์ ๖ สถานการณ์ แต่แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็นหลายกลุ่ม และกำหนดโจทย์ให้นักศึกษาค้นหาคำตอบ จากเอกสารประกอบการสอน หรือการค้นทางด้วยอินเตอร์เน็ต หลังจากนั้นให้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ผลพบว่านักศึกษาสามารถหาคำตอบได้ตรงประเด็นและสนใจการเรียนมากเนื่องจากได้รับผิดชอบ และต้องค้นหาคำตอบ แต่ใช้เวลาค่อนข้างเยอะ ในการอ่าน การค้นหาคำตอบ และต้องเตรียมตัวออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งการนำเสนอหน้าขั้นเรียนจะเป็นตัวที่จะสะท้อนในเห็นว่านักศึกษาเข้าใจถูกต้องหรือไม่ และจะทำให้นักศึกษาทราบว่าที่ตนเองคนหาคำตอบมานั้นผิดประเด็นอย่างไร โดยอาจารย์จะเป็นผู้ให้คำชี้แนะเพิ่มเติม
๔. อาจารย์วาสนา ครุฑเมือง สอนโดยการใช้สถานการณ์ไปพร้อมๆกับการบรรยาย ร่วมการให้ทำกิจกรรม แบบฝึกหัด ในแต่ละหัวข้อการสอน นักศึกษาจะมีส่วนร่วมในการเรียนค่อนข้างมาก ซึ่งกิจกรรมคล้ายกับอาจารย์มณฑาและอาจารย์ไพทูรย์ และเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนแบบนี้อาจารย์ผู้สอนจะเหนื่อยและใช้เวลามากในการเตรียมการสอนเพื่อให้รัดกุมกับเนื้อหาที่จะสอน
๕. อาจารย์เสน่ห์ ขุนแก้ว ยกตัวอย่างการสอนเรื่องการต่อท่อระบายทรวงอก(ICD) โดยการใช้สถานการณ์ และให้นักศึกษาบอกบทบาทของพยาบาล ในการช่วยเหลือผู้ป่วย โดยให้ตัวแทนนักศึกษาออกมาต่อท่อระบายทรวงอก ชนิด ๓ ขวด โดยต่อกับขวด ICD ที่ใช้จริงกับผู้ป่วย ในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ข้อดีของการจัดการสอนแบบนี้คือ นักศึกษามีความมั่นใจในการใช้ ICD มากขึ้น และเข้าใจบทบาทของพยาบาลในการช่วยเหลือ ดูแลผู้ป่วยที่ใส่ ICD ข้อจำกัดคือ นักศึกษามีจำนวนมากจึงไม่สามารถจัดให้นักศึกษาทุกคนได้ต่อ ICD
๖. อาจารย์จิราพร ศรีพลากิจ การสอนขณะฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย ขณะประชุมปรึกษาทางการพยาบาล(nursing conference)รู้สึกว่านักศึกษาเกิดความเบื่อหน่าย จึงให้นักศึกษา ๑ คน แจ้งข้อมูลผู้ป่วย และให้สมาชิกภายในกลุ่ม อธิบายว่าคนที่ ๑ แจ้งข้อมูลว่าอย่างไร ประเด็นสำคัญคืออะไร เพื่อให้เกิดความตื่นตัว อยู่ตลอดเวลา หลังจากที่ conference เรียบร้อยแล้ว อาจารย์จะนำข้อการรวบยอดมาให้นักศึกษาทำเป็นตัวอย่าง และชี้ว่านี่คือประเด็นสำคัญ ที่ต้องรู้ และต้องปฏิบัติ การจัดกานสอนแบบนี้จะเป็นการสะท้อนเนื้อหา จากเพื่อน จากอาจารย์ และจากข้อสอบ
๗. อาจารย์นัยนา แก้วคง สอนโดยการบรรยายกว้างๆก่อน แล้วให้สถานการณ์ ๗ สถานการณ์ และให้นักศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ว่าผู้ป่วยที่ตนเองรับผิดชอบป่วยด้วยโรคอะไร โดยมีอาจารย์คอยให้คำชี้แนะ และชี้ประเด็น เมื่อนักศึกษาทุกกลุ่มวิเคราะห์ได้แล้ว ให้นักศึกษาเตรียมข้อมูลและเตรียมนำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยส่งตัวแทนออกมานำเสนอ และอาจารย์จะมีคำถามหลังจากที่แต่ละกลุ่มนำเสนอเสร็จเรียบร้อย โดยให้ยกมือตอบตามความสมัครใจ ซึ่งคำถามจะมาจากเนื้อหาที่กลุ่มนำเสนอเสนอเสร็จถามเลย นักศึกษาสนใจมาก และสรุปเนื้อหาทั้งหมดให้นักศึกษาอีกครั้ง ข้อจำกัด คือไม่เห็นกระบวนการกลุ่ม ซึ่งจะปรับโดยการให้ทำกระบวนการกลุ่มในชั้นเรียน และอาจารย์อยู่ภายในห้องด้วย
๘. อาจารย์อลิษา ทรัพย์สังข์ จากการสอนแบบบรรยาย เกี่ยวกับทารกคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อยพบว่าสอนไม่ทันเวลา เนื่องจากเนื้อหาเยอะมาก จึงเปลี่ยนวิธีการสอนโดยการสรุปเนื้อหาทั้งหมด และดึงเอาเนื้อหาที่สำคัญโดยกำหนดโรคให้ และมอบหมายงานกลุ่มให้นักศึกษาคิดสถานการณ์เอง และออกมาแสดงบทบาทสมมติว่าเด็กที่มีปัญหาโรคนั้นๆ จะมาด้วยสถานการณ์แบบไหน หลังจากที่นำเสนอเสร็จเรียบร้อยอาจารย์จะจับฉลากให้มีกลุ่มตัวแทนถามคำถาม กลุ่มที่นำเสนอก็จะทำให้นักศึกษามีความสนใจและตื่นตัวมากเพราะต้องคอยฟังสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ ผลคือนักศึกษาสอบผ่านมากขึ้น ข้อจำกัดคือใช้เวลามาก ห้องเรียนเป็นอุปสรรคในการเข้ากลุ่มเนื่องจากเป็นห้อง SLOPE จึงทำให้เข้ากลุ่มค่อนข้างยาก การจัดกลุ่มมีปัญหามาก
๙. อาจารย์วีระยุทธ อินพะเนา ใช้วิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ โดยแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็นกลุ่มและให้ส่งตัวแทนในกลุ่มไปเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อโดยสมาชิก ๑ คน จะมีความรู้ ๑ หัวข้อ และกลับเข้ากลุ่มใหญ่ เพื่อนำความรู้ที่ตนเองได้รับมาไปอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มฟัง เพื่อให้สมาชิกทั้งหมดมีความรู้ในทุกหัวข้อที่สมาชิกทุกคนได้รับถ่ายทอดมา หลังจากนั้นอาจารย์จะมีแบบฝึกหัดให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาตอบคำถามแข่งขันกัน และอีกวิธีก็คือการให้สถานการณ์สมมติกับนักศึกษา และให้นักศึกษาวิเคราะห์ สาเหตุ การติดต่อ อาการและอาการแสดง พยาธิสภาพ การพยาบาล และนำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยไม่จำกัดวิธีการนำเสนอ ผลคือนักศึกษาตื่นตัวมาก และวิธีการที่นำเสนอหลากหลายวิธีเป็นการเปิดโอกาสทางความคิด การคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างต่อเนื่อง
การสอนขณะฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย ปัญหาของการ pre-conference พบว่านักศึกษาไม่สนใจฟังเพื่อนขณะที่เพื่อนนำเสนอ จึงใช้วิธีการให้เพื่อนเล่าอาการปัจจุบันของผู้ป่วยที่ได้รับผิดชอบแล้วให้เพื่อนช่วยกันซักข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อหาปัญหาที่สำคัญที่สุด และกิจกรรมที่สำคัญที่สุด พบว่านักศึกษาตื่นตัวมากขึ้น สนใจฟังมากขึ้น และร่วมให้การพยาบาลผู้ป่วยที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของตนเองได้ด้วย ข้อจำกัด ใช้เวลาในค่อนข้างมาก
๑๐. อาจารย์นัยนา อินธิโชติ จัดการสอนแบบจิ๊กซอร์คล้ายกับอาจารย์วีระยุทธ และใช้ข้อสอบมาใช้ประเมินผล การจัดการสอนแบบนี้ทำให้นักศึกษามีความรับผิดชอบมากเพื่อที่จะนำความรู้จากกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่งให้ได้ ทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นเพิ่มมากขึ้น ข้อจำกัดคือใช้เวลามากในการเตรียมตัว ในกิจกรรมการสอน การออกข้อสอบ และการเตรียมเอกสาร และการฝึกภาคปฏิบัติ การใช้ Nursing Round ได้ผลดี เพราะทำให้นักศึกษาเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น อย่างองค์รวม ควรปรับใช้ตั้งแต่ การฝึกปฏิบัติการปัญหาสุขภาพ ๑ จะทำให้นักศึกษาเข้าใจผู้ป่วยอย่างครบถ้วน
๑๑. อาจารย์อรุณรัตน์ พรมมา สอนโดยการบรรยายเนื้อหา และแจกสถานการณ์ให้นักศึกษาศึกษาด้วยตนเอง ว่าผู้ป่วยมีปัญหาอะไรบ้าง และนำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยให้เวลา ๑ สัปดาห์ ปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา ค้นคว้าจากห้องสมุด เพื่อเตรียมตัวในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน อาจารย์สรุปเนื้อหาสาระสำคัญให้กับนักศึกษาอีกรอบ
๑๒. อาจารย์ ดร. อนัญญา คูอาริยะกุล ให้นักศึกษาอ่านรายงานวิจัย และอภิปรายในกลุ่มและมานำเสนอตามประเด็นหัวข้อที่กำหนด และสอดแทรกเนื้อหาให้กับนักศึกษา การสุ่มโดยการจับสลากให้ตอบคำถามและให้เพื่อนตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่ ผลคือนักศึกษาสอบผ่านมากขึ้น
๑๓. อาจารย์ภาราดร ล้อธรรมมา ใช้วิธีการสอนแบบ Team base learning ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำข้อสอบประมาณ ๒๐ ข้อ และให้นักศึกษาแข่งกันตอบภายในห้อง และมาสรุปเนื้อหาและเฉลยข้อสอบโดยละเอียด ข้อจำกัดคือใช้เวลาค่อนข้างมาก
นัดประชุมครั้งต่อไป วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๖ โดยให้อาจารย์แต่ละท่านเล่ากระบวนการการจัดการเรียนการสอน ลำดับการสอน ตั่งแต่เริ่มต้นการสอน จนขั้นสรุปผล ใช้เวลาไม่เกิน ๕ นาที เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ของภาควิชาต่อไป

ลงชื่อ………………………………………………..
(นายวีระยุทธ อินพะเนา)
ผู้บันทึก

ลงชื่อ………………………………………………..
(นายไพทูรย์ มาผิว)
ผู้ตรวจสอบ

ลงชื่อ………………………………………………..
(นางนิศารัตน์ นาคทั่ง)
หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลเด็กผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ