การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าวัยสูงอายุและความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกทัศน์ต่อชีวิตผู้สูงอายุ ของประชาชน ???อายุ 59-60 ปี ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

วงค์ชญพจณ์ พรหมศิลา1 พิศิษฐ์ พวงนาค2 พัชรินทร์ เฮียงก่อ1

1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่อนดินแดง ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

2 ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์

mrtoni1445@hotmail.com

ความสำคัญของปัญหา

วัยสูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคทางกายและจิตใจ ดังนั้น หากได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าวัยสูงอายุได้ตรงกับสภาพปัญหาของบุคคล ย่อมส่งผลให้การดำเนินชีวิตช่วงวัยสูงอายุอยู่อย่างมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ?

วัตถุประสงค์การวิจัย

เพื่อศึกษาถึงระดับและความสัมพันธ์ระหว่างการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าวัยสูงอายุกับความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกทัศน์ต่อชีวิตของผู้สูงอายุของประชาชนอายุ 59-60 ปี ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

วิธีดำเนินการวิจัย

เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสัมภาษณ์รายบุคคลเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Simple correlation Pearson?s Coefficient ที่ระดับนัยสำคัญ .05

ผลการวิจัย

ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.4 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 73.4 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 57.9 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 33.5 อาศัยอยู่แบบครอบครัว 3 วัย ร้อยละ 51.1 รายได้เพียงพอต่อรายจ่าย ร้อยละ 66.1 ภาวะโภชนาการเกิน ร้อยละ 36.1 เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังจากภาวะเมตาบอลิค ร้อยละ 37.3 การเตรียมความพร้อม? ก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (m=2.25, s=.46) จำแนกรายด้านพบว่า ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.67-2.33) ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านการใช้เวลาว่าง ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และระดับมาก ได้แก่ ด้านที่อยู่อาศัย (m=2.35, s=.53) ความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกทัศน์ต่อชีวิตผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 55.4 ระดับปานกลาง ร้อยละ 44.2 ระดับความสัมพันธ์ระหว่างการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุกับความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกทัศน์ต่อชีวิตผู้สูงอายุในทางบวกระดับน้อย (r=.291, p =.000)

ข้อเสนอแนะ

ด้านการพยาบาล ควรจัดกิจกรรมการดูแลและส่งเสริมให้ประชาชนเตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพตนเองตามระดับปัญหาของบุคคล เพื่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพ ที่นำไปสู่การดำเนินชีวิตช่วงวัยสูงอายุได้อย่างปกติสุข

คำสำคัญ การเตรียมความพร้อม, โลกทัศน์ต่อชีวิตผู้สูงอายุ, ประชาชนอายุ 59-60 ปี

RELATIONSHIP BETWEEN SELF-PREPARATION AND SELF-ATTITUDE TOWARD AGING IN THE GROUP OF 59 TO 60 YEARS OF AGE IN THAMBOL THA SAO, MUANG DISTRICT, UTTARADIT, THAILAND

Wongchayapote Promsila1, Pisit Phuangnak2, Patcharin Hiangkho1

1Mondindang Tambon Health Promoting Hospital

2Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit

E-mail: mrtoni1445@hotmail.com

Statement of the Problems

In Aging, since the biology of the body cells changes in its functions, the elderly people experience all changes in their physical and mental health. Thus, preparations for getting into aging is important and makes elderly people live their lives wisely.

Objectives

To study the level of self-preparations and attitudes toward ageing among Tha Sao?s residents in Thambol Tha Sao, Muang District, Uttaradit, Thailand.

Methods

The study is a survey using in-depth interviews to collect data in the 59 to 60 years of age of Tha Sao?s residents. Frequency, percentages, mean, standard deviation and simple correlation Pearson’s coefficient were used to analyze.

Findings

The results of the study show that more than a half (58.4%) of the population were female and (73.4%) married. Half (57.9%, 51.1%) of them had primary school education and were extended families and living with their grand children. One third (33.5%) were still working for their income which was enough to live (66.1%). One third (36.1%, 37.3%) was found overweight and chronic metabolic sickness. The preparation for aging was moderate (m=2.25, s=.46) which found that the sample highly prepared themselves in places for living (m=2.35, s=.53) but moderately (the average between 1.67 and 2.33) in their income, free time spending and physical and mental health. More than a half (55.4%) had highly positive attitude toward aging and almost a half (44.2%) of it had moderate of those. Finally, the research found that the relationship between the self-preparation and the attitude toward aging in positive aspect is low (r =.291, p =.000).

Suggestion

The findings suggested that the preparation for aging in adulthood should be added in the health promotion and disease prevention aspects which must be appropriate to the individual.

Keywords aging, preparation for aging, attitude towards ageing, elderly people, Uttaradit.