• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

การบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การวิจัย และการส่งเสริมสุขภาพ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ถอดบทเรียนการเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM )

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

เรื่อง การบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การวิจัย และการส่งเสริมสุขภาพ

ณ ห้องประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ?วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๖

ผู้เข้าร่วมประชุม
๑. นางสาวสิตานันท์ ????? ศรีใจวงศ์ ????????????????? ประธาน
๒. นางสาววรรณวดี?????? เนียมสกุล
๓. นางสาวศศมน ???????? ศรีสุทธิศักดิ์
๔. นางภิญญารัช ???????? บรรเจิดพงศ์ชัย
๕. นางสาวอรทัย ???????? แซ่ตั้ง

๖. นางสาวดาราวรรณ ?? ดีพร้อม
๗. นางสาวจิราพร ??????? วิศิษฐ์โกศล ??????????????? เลขานุการ

๘. นางสาวพัชชา ????????? สุวรรณรอด??????????????? ผู้ช่วยเลขานุการ

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ

๑.?? คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยฯ ได้กำหนดประเด็นในการจัดการความรู้ให้สอดคล้องกับพันธกิจของวิทยาลัยฯ ด้านวิชาการ ๒ เรื่อง ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ และการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน

๒.?? แนวทางในการดำเนินงานเพื่อการจัดการความรู้เรื่อง? การบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการและการส่งเสริมสุขภาพและการวิจัย ภาควิชาควรมีการทบทวนประสบการณ์เดิมเพื่อเสริมการบริหารจัดการใหม่ ตามขั้นตอนดังนี้

๒.๑ การแสวงหาความรู้
๒.๒ การวิเคราะห์ความรู้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา
๒.๓ การสังเคราะห์ความรู้
๒.๔ นำข้อมูลลง web blog ของวิทยาลัยฯและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
๒.๕ สรุปและจัดระเบียบความรู้

๒.๖ การแสดงผลงาน
๒.๗ การประยุกต์ใช้ความรู้

?

?

วาระที่ ๒ ?รับรองรายงานการประชุม และเรื่องสืบเนื่อง

?????????????????? ไม่มี

วาระที่ ๓ เรื่องพิจารณา

๓.๑ การแสวงหาข้อมูล

ในขั้นตอนนี้ได้ให้อาจารย์ทุกท่านเสนอประสบการณ์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการส่งเสริมสุขภาพ การวิจัย และการบริการวิชาการ สรุปได้ดังนี้

การบูรณาการ หมายถึง การนำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ? ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกันให้กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน จนมีความสมบูรณ์ครบถ้วนในตัวเอง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน

การวิจัย หมายถึง? กระบวนการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่ต้องการศึกษา? มีการเก็บรวบรวมข้อมูล? การจัดระเบียบ ข้อมูล? การวิเคราะห์และการตีความหมายผลที่ได้จากการวิเคราะห์? ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบอันถูกต้อง

???????????????????????????? การบริการวิชาการ หมายถึง การให้บริการทางวิชาการแก่ทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน อันก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการแก่สังคม โดยอาศัยความรู้และความสามารถทางวิชาการตลอดจนการสร้างหรือเสริมประสบการณ์ในการประยุกต์วิชาการให้เหมาะสมกับสังคมไทยและการเรียนการสอนในวิทยาลัย

การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการซึ่งทำให้ประชาชน สามารถเพิ่มการควบคุมสุขภาพ และทำให้สุขภาพดีขึ้น การจะบรรลุถึงสภาวะสุขสบาย ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคมได้ ปัจเจกชน หรือกลุ่มบุคคลจะต้องสามารถที่จะพอใจในสิ่งที่ตนปรารถนา และที่จะปรับเปลี่ยน ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม

การประเมินผลในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ?? การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการนั้นเป็นการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการได้คิดและปฏิบัติจริงตามความสนใจ ความถนัดของตนเอง เรียนรู้ทั้งแบบเรียนคนเดียวและเรียนเป็นกลุ่มจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ของตนเองและเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม (บูรณาการ) ดังนั้นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ดังกล่าวจึงต้องสอดคล้องกับสภาพจริง นั่นคือการที่จะต้องนำลักษณะที่สำคัญของการประเมินผลตามสภาพจริงมาใช้จึงจะเหมาะสมกับการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งน่าจะมีการประเมินความสามารถในด้านต่างๆ ดังนี้ การประเมินด้านกระบวนการคิด กระบวนการวางแผน กระบวนการทำงาน กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ (การวิจัยอย่างง่าย) กระบวนการกลุ่ม กระบวนการประเมินผล คุณธรรมจริยธรรม ความตั้งใจ ความใส่ใจ คุณภาพของผลงานโดยใช้วิธีการ เครื่องมือประเมินที่หลากหลาย ต่อเนื่องตลอดเวลาตามกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีการสังเกตใช้แบบตรวจสอบรายการ ใช้แบบประมาณค่า การบันทึกการปฏิบัติงาน การประเมินคุณภาพชิ้นงานและอาจมีการประเมินด้านความรู้ควบคู่กันไปด้วย โดยการประเมินจะกระทำร่วมกันทั้งผู้สอนและผู้เรียน ซึ่งผลการประเมินเหล่านี้ควรจะเป็นส่วนหนึ่งของการนำมาปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วย

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

?๑) เพื่อพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนของการอาชีวศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยจัดทำ? คู่มือและแนวทางในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับสถานศึกษา ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและปรับวิธีการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ????????????????????????????????????????????????????

๒) เพื่อพัฒนาให้ครู อาจารย์ในสถานศึกษา ให้สามารถจัดแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการและพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการเนื้อหา? วิชาต่าง ๆ? มาเพิ่มประสิทธิภาพการนำไปประกอบอาชีพตามต้องการ?????? ?????????????? ?????????????????????????????????????????????????????????????????

๓) เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาวิชาชีพแบบองค์รวม มีความสามารถทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการต่าง ๆ? ทักษะในประกอบอาชีพได้ครบวงจรในแต่ละชั้นปีรวมทั้งมีคุณธรรมจริยธรรม???

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ? ?หมายถึง? การจัดการเรียนรู้โดยการเชื่อมโยงเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องจากศาสตร์ต่าง ๆ? ของรายวิชาเดียวกันหรือรายวิชาต่าง ๆ? มาใช้ในการ จัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่าง ๆ ?มาใช้ในชีวิตจริงได้? สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management) หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่าง ๆ? ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม? สามารถนำความรู้? ทักษะ? และเจตคติไป?? สร้างงาน? แก้ปัญหา? และใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง??????????????????????????????????????????????? ????????

เหตุผลในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ??????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ๑) สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั้นจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ? ผสมผสานกันทำให้ผู้เรียนที่เรียนรู้ศาสตร์เดี่ยว ๆ? มาไม่สามารถนำความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาได้ ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะช่วยให้สามารถนำความรู้? ทักษะจากหลาย ๆ? ศาสตร์?? มาแก้ปัญหาได้กับชีวิตจริง???????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ?????????????????? ๒) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการทำให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่าง ๆ? เข้าด้วยกันทำให้เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้? (Transfer? of? learning)? ของศาสตร์ต่าง ๆ???? เข้าด้วยกันทำให้ผู้เรียนมองเห็นประโยชน์ของสิ่งที่เรียนและนำไปใช้จริงได้????????????????????? ??????????????????????????????????????

๓) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรจึงทำให้ลดเวลาในการเรียนรู้เนื้อหาบางอย่างลงได้ แล้วไปเพิ่มเวลาให้เนื้อหาใหม่ ๆ? เพิ่มขึ้น??????????????????????????????

๔) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะตอบสนองต่อความสามารถในหลาย ๆ? ด้านของผู้เรียนช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติ ?แบบพหุปัญญา? (Multiple intelligence)????????????? ?????????? ??????????????????

๕) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน(Constructivism) ที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน

อาจารย์ในภาควิชาแสดงความคิดเห็นว่า หากมีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการจะต้องมีเวลาในการบริหารจัดการและจะต้องมีรูปแบบการวัดละประเมินผลที่ชัดเจน ภาพวิชามีแผนในการบูรณาการการเรียนการสอนกับในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก ๑ และการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ แต่ช่วงเวลาที่สอน กับจังหวะบางช่วงไม่เอื้อหนุน??? อีกทั้งลักษณะรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ นั้นค่อนข้างยาก? และการบูรณาการควรจัดทำในรายวิชาภาคปฏิบัติของนศ.ปีที่ ๓ ได้แก่รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก ๑ เนื่องจากมีการฝึกที่แผนกฝากครรภ์ ๒ สัปดาห์ แผนกหลังคลอด ๒ สัปดาห์ และแผนกห้องคลอด ๔ สัปดาห์ ในรายวิชานี้มีเวลาพอที่นักศึกษาจะสามารถเข้าไปบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพได้

?????????????????? ชุมชนที่ภาควิชาเลือกในการบริการวิชาการเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพได้แก่ ชุมชนนาโปร่ง เพราะเป็นชุมชนต้นแบบของวิทยาลัยฯ

?????????????????? ในการจัดทำโครงการบริการวิชาการกับการส่งเสริมสุขภาพและการจัดการเรียนการสอน ควรมีการจัดทำงานวิจัยเพื่อเป็นการประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรมและจะได้นำผลงานวิจัยนั้นมาพัฒนารูปแบบในปีการศึกษาต่อไป

???? ???? ๓.๒การวิเคราะห์ความรู้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา และการสังเคราะห์ความรู้
? ???????????????? แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การวิจัยและการส่งเสริมสุขภาพ

???????????????????????????? ๑) ?การต่อยอดงานที่มีความสนใจและชำนาญ จะทำให้เกิดงานบริการที่มีคุณภาพและจะเป็นการสร้างเครือข่าย โดยในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ได้มีการสำรวจพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของสตรีวัยเจริญพันธ์ในชุมชนนาโปร่งพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการตรวจเต้านมด้วยตนเองยังมีจำนวนน้อย ดังนั้นควรมีการจัดทำโปรแกรมการอบรมความรู้และทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธ์

๒) การบริการวิชาการเน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน/องค์กร ?โดยทางภาควิชาได้เปิดโอกาสให้นักศึกษา ผู้นำชุมชน? อสม. อาจารย์ และผู้มีประสบการณ์ แสดงความคิดเห็นในการพัฒนารูปแบบโปรแกรมของการส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

?๓) การบูรณาการการบริการวิชาการเข้ากับการเรียนการสอน ต้องมีหลักฐานประกอบด้วย ประมวลการสอน และการสรุปผลว่าได้อะไรจากการบริการวิชาการเพื่อมาพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

๔) การบูรณาการการบริการวิชาการกับงานวิจัยต้องมีหลักฐานเป็นงานวิจัย การประเมินผล และการสร้างความยั่งยืนได้

๕) การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนนั้นการดำเนินงานบริการวิชาการต้องอยู่ในรูปแบบของการมีส่วนร่วม และผลลัพธ์ที่ได้ต้องสร้างให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ (ความเข้มแข็ง) ซึ่งในการจัดทำโปรแกรมนี้เน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย เน้นการสอนแบบ coaching และสาธิตย้อนกลับ หลังจากนั้นควรแจกคู่มือการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และจะต้องมีการติดตามประเมินความรู้และทักษะอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินถึงความยั่งยืนขององค์ความรู้

๖) จัดทำโปรแกรมการอบรมความรู้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ เนื่องจากมีระยะเวลาในการฝึก 8 สัปดาห์ ควรจัดให้บริการวิชาการเพื่อการส่งเสริมสุขภาพในขณะที่ฝึกแผนกฝากครรภ์ และควรจัดในวันพฤหัสบดีเนื่องจากไม่มีการฝึกปฏิบัติบนคลินิก

๗) มีการจัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างอาจารย์ และนักศึกษา และผู้นำชุมชน?

๘) การเลือกวิชาที่นำมาบูรณาการกับการวิจัยควรเป็นวิชาที่มีการปฏิบัติจริง นักศึกษาจะเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และเรียนรู้ระเบียบวิธีการวิจัยควบคู่ไปพร้อม ๆ กัน

๙) การบูรณาการควรบูรณาการทั้งเนื้อหาและกระบวนการ คือ การวิจัยและวิธีการสอนจะใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนการสอน และการเดินเนื้อเรื่องจะใช้องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพเข้ามา

๑๐) การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการทางวิชาการแก่สังคมสามารถทำได้โดย

การนำผลงานจากการเรียนการสอนมาพัฒนาต่อยอดและนำไปเป็นองค์ความรู้ในการบริการทางวิชาการแก่สังคม และใช้การวิจัยควบคู่ในการพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง

๓.๓ นำข้อมูลลง web blog ของวิทยาลัยฯและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
????????? มติที่ประชุมมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบรายวิชาออกแบบรายวิชาให้สอดคลอดพันธกิจอื่นๆ และมอบหมายให้หัวหน้าโครงการวิจัยดำเนินการเขียนโครงร่างการวิจัยเสนอเพื่อขอรับทุนการวิจัยจากวิทยาลัยฯ

ปิดการประชุม เวลา ๑๖.๐๐ น.

…………………………………………

(นางสาวสิตานันท์ ศรีใจวงศ์)

??? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

การเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM ) ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช เรื่อง การบูรณาการแนวคิด การให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

Blogged under KM ของ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช by admin on วันจันทร์ 11 มีนาคม 2013 at 9:02 am

การเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM )

ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

เรื่อง การบูรณาการแนวคิด การให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

ในการจัดการเรียนการสอน

ของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

ณ ห้องประชุม ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖

เวลา ๐๙.๐๐ ? ๑๒.๐๐ น.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ผู้เข้าร่วมประชุม

๑.อาจารย์วิไลวรรณ ????? บุญเรือง ?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒.อาจารย์วิมล ??????????? อ่อนเส็ง ?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓.อาจารย์ ดร.ประภาพร มโนรัตน์ ?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔.อาจารย์อดุลย์ ????????? วุฒิจูรีพันธุ์ ??????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๕.อาจารย์อัญชรี ????????? รัตนเสถียร ??????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๖.อาจารย์บุญฤทธิ์ ??????? ประสิทธินราพันธุ์ ???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗.อาจารย์พรรณพิไล ???? สุทธนะ ??????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘.อาจารย์นิกร ??????????? จันภิลม ???????????????????????????? วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ

๙. อาจารย์อิทธิพล??????? แก้วฟอง ????????????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๐. อาจารย์จิระภา ????? สุมาลี ????????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๑. อาจารย์กันตวิชญ์ ?? จูเปรมปรี ???????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๒. อาจารย์ชลธิชา ????? จับคล้าย ????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

รายนามผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

อาจารย์ดุจเดือน ?????????????????? เขียวเหลือง ?????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ? ( ไปราชการ )

ผู้เข้าร่วมการประชุม? ร้อยละ? ๙๒.๓๑

เปิดประชุมเวลา ๐๙.๐๐ น.

ประธานการประชุม อาจารย์วิไลวรรณ? ? บุญเรือง? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน

เรื่องแจ้งให้ทราบ

- ทบทวนขั้นตอนการดำเนินการและความก้าวหน้าของการจัดทำ KM ของภาควิชา ซึ่งได้ดำเนินการประชุมมาแล้ว ๒ ครั้ง โดยครั้งแรกในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ และครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

เรื่องเพื่อพิจารณา

๑. แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับความสำคัญของการจัดทำ KM? เนื่องจากการจัดทำครั้งนี้เป็นการจัดทำในหัวข้อเรื่องการบูรณาการแนวคิด การให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในการจัดการเรียนการสอน ให้เกิดประสิทธิภาพ อีกทั้งการส่งเสริมสุขภาพยังสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยฯ จึงจัดทำ KM? ในครั้งนี้ขึ้น

๒. ขั้นตอนการดำเนินการมีดังนี้

ขั้นที่ ๑ การแสวงหาความรู้

สร้างความเข้าใจ/ความกระจ่างในประเด็นสำคัญ โดยทบทวน

- แนวคิดการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ให้สอดคล้องกับแนวคิดของสบช.

คือการแสดงออกอย่างจริงใจขณะอยู่กับผู้รับบริการ (authentic presence) ของพยาบาลผู้ซึ่งรู้จักกับผู้รับบริการดี และคำนึงถึงความต้องการทางสุขภาพของผู้รับบริการเพื่อที่จะลดหรือเพิ่มภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ หรือช่วยผู้รับบริการเผชิญกับความตาย (คณะผู้เข้าอบรมรุ่นที่ ๑ วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสบช., ๒๕๕๔)

- แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ

จากการประกาศกฎบัตรออตตาวาที่ประเทศแคนนาดา ปี ๑๙๘๖ ได้บัญญัติว่า “การส่งเสริมสุขภาพ” หรือ “HEALTH PROMOTION” หมายถึง “ขบวนการส่งเสริมให้ประชาชน เพิ่มสมรรถนะในการควบคุม และปรับปรุงสุขภาพของตนเอง ในการบรรลุซึ่งสุขภาวะอันสมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม” บุคคล และกลุ่มบุคคลจะต้องสามารถบ่งบอก และตระหนักถึงความมุ่งมาดปรารถนาของตนเอง สามารถตอบสนองต่อปัญหาของตนเอง และสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม หรือปรับตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ อีกทั้งยังสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพ เช่น ลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็ง การขาดการออกกำลังกาย การขาดจิตสำนึกในเรื่องของความปลอดภัย ทำให้เกิดอุบัติเหตุ หลีกเลี่ยงจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่เป็นสาเหตุที่ทำลายสุขภาพ ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญ หรือเน้นการให้เพิ่มปัจจัยส่งเสริมสุขภาพ เช่น การออกกำลังกายมากขึ้น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี (องค์การอนามัยโลก , ๒๕๒๙)

การส่งเสริมสุขภาพ ส่วนใหญ่จะหมายถึง งานบริการของบุคลากรสาธารณสุข เพื่อทำให้คนมีสุขภาพดี ได้แก่ การดูแลอนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัว การดูแลหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอด ระหว่างคลอด และหลังคลอด การดูแลทารก และเด็ก การให้วัคซีน การโภชนาการ การให้สุขศึกษา การให้คำปรึกษาแนะนำ การอนามัยโรงเรียน เป็นอาทิ ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งบริการที่บุคคล (Individual care) โดยบางเรื่องเลยไปถึงครอบครัว และชุมชนด้วย? ที่เป็นการส่งเสริมสุขภาพในมิติที่ครอบคลุมไปถึงชุมชน และสังคมโดยตรง จะสอดแทรกอยู่ในงานสาธารณสุข (public health activities) ไม่ได้เรียกว่า เป็นการส่งเสริมสุขภาพ เช่น การพัฒนาสุขาภิบาลอาหาร และอนามัยสิ่งแวดล้อม การจัดหาน้ำสะอาด การกำจัดขยะ และสิ่งปฏิกูล เป็นต้น? การส่งเสริมสุขภาพในความหมายที่เป็น ๑ ใน ๔ ปฏิบัติการ เพื่อให้ผู้คนมีสุขภาพอนามัยดี แฝงนัยของการที่ ต้องมีบุคลากรสาธารณสุข ที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะ เป็นผู้จัดบริการให้กับประชาชน เป็นหลัก โดยฝ่ายประชาชนก็ต้องดูแล และปฏิบัติพร้อมกันด้วย (อำพล จินดาวัฒนะ อ้างในhttp://advisor.anamai.moph.go.th/262/26201.html สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๓ พ.ย. ๕๕)

องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของการสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อ ปี ๒๕๔๑ ว่าเป็น ?กระบวนการที่ทำให้ประชาชนมีศักยภาพมีอำนาจมากขึ้นในการตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพของตนเองและในการทำให้สุขภาพของตนเองดียิ่งขึ้น ? the? process? of? enabling? people? to? increase? control? over? , and? to? improve? their? health ? (WHO , ๑๙๙๘)

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ นิยามการสร้างเสริมสุขภาพว่า

? การใดๆ ที่มุ่งกระทำโดยส่งเสริม สนับสนุน พฤติกรรมบุคคล สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างเสริม ให้บุคคลและชุมชนมีสุขภาวะ บุคคลมีอายุยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี?

พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ นิยามการสร้างเสริมสุขภาพว่า

? การใดๆที่มุ่งกระทำเพื่อสร้างเสริมให้บุคคลมีสุขภาวะทางกาย จิต และ สังคม โดยสนับสนุนพฤติกรรมของบุคคล สภาพสังคม และ สิ่งแวดล้อมที่จะนำไปสู่การมีร่างกายที่แข็งแรง สภาพจิตที่สมบูรณ์ อายุยืนยาว และคุณภาพชีวิตที่ดี ?

- ผลการวิจัย Routine to Research ด้านการจัดการเรียนการสอนการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนที่บูรณาการแนวคิดการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช ซึ่งในปีการศึกษา2556ได้มีการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการวิจัยและการบริการวิชาการในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย ในนักศึกษาชั้นปีที่ ๒ ซึ่งอาจารย์ในภาควิชาฯผู้รับผิดชอบวิชาและนักวิจัยในภาคฯและผู้เกี่ยวข้อง ได้ทำวิจัยหารูปแบบในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในชุมชนด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย ซึ่งได้มีการออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในรายวิชานี้ด้วย และการวิจัยได้เสร็จสิ้นแล้ว มีรายงานวิจัยสรุปผลการศึกษาที่เชื่อมโยงสู่ประเด็นการบูรณาการแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในการจัดการเรียนการสอนในขั้นแสวงหาความรู้ในครั้งนี้ ดังนี้

ศรีสมพร? ทรวงแก้ว ประภาพร มโนรัตน์ กัญญารัตน์ ผึ่งบรรหาร และพรรณพิไล? สุทธนะ (๒๕๕๖) ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชนด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตระหว่างวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์กับศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลอุตรดิตถ์๒? ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ความสำเร็จของการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในรายวิชานี้คือนักศึกษามีความรู้และทักษะในการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ผ่านเกณฑ์และส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากกว่าร้อยละ๘๐ขึ้นไป ปัจจัยความสำเร็จคือ

๑. วิทยาลัยและแหล่งฝึกมีนโยบายสอดคล้องกัน ?ร่วมสร้างนักสร้างเสริมสุขภาพจากชุมชนเพื่อชุมชน?ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับนักศึกษาเริ่มตั้งแต่การออกแบบรายวิชาและนำไปใช้ปฏิบัติจริงในชุมชน

๒. ชุมชน และเครือข่ายได้แก่ วัด โรงเรียน สมาคมนักข่าว ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมคนรักสุขภาพ องค์กรเครือข่ายวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น? วิถีไทย ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพดีวิถีไทยวัดท้ายตลาด (ศูนย์เรียนรู้ชุมชน) ให้ความร่วมมือในการร่วมจัดประสบการณ์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพให้กับนักศึกษาโดยให้ความสำคัญและร่วมมือกับกิจกรรมทุกกิจกรรมที่นักศึกษาฝึกปฏิบัติในชุมชนเช่น การต้อนรับเข้าสู่ชุมชน การเข้าเยี่ยมดูแลสร้างเสริมสุขภาพที่บ้าน จัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพในวัดและในละแวกบ้าน เป็นต้น รวมถึงกิจกรรมอำลาชุมชน(คืนข้อมูลชุมชน ถอดบทเรียน และบายศรีสู่ขวัญให้นักศึกษาคณาจารย์)

๓. นักศึกษาได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนฝึกภาคปฏิบัติ เรื่องการบูรณาการแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ๒ วัน วันแรกเป็นการปฐมนิเทศรายวิชาและกิจกรรมสะท้อนการแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ วันที่สองฝึกการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยวิถีไทย การนวด ประคบ การสอนฤาษีดัดตนให้กับประชาชนที่มารับบริการโดยมีวิทยากรช่วยสอนและชี้แนะเพิ่มเติม และมีชมรมแพทย์แผนไทยและวิถีไทยเข้าร่วมให้บริการและเป็นพี่เลี้ยงให้นักศึกษา และครูผู้นิเทศและนักศึกษาได้สร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการเป้าหมายที่มาร่วมกิจกรรมและนัดหมายเข้าเยี่ยม อย่างต่อเนื่อง

๔. นักศึกษามีครูผู้นิเทศเป็นต้นแบบของพยาบาลที่ให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ทั้งต่อผู้รับบริการ คนรอบข้างและลูกศิษย์ และมีความรู้และทักษะในการสะท้อนคิดสรุปสู่ประเด็นการเรียนรู้ตามรายวิชาและบริบทของชีวิตของคนและสิ่งแวดล้อม

๕. นักศึกษาได้เห็นและเรียนรู้สภาพจริงของวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละวัยอย่างต่อเนื่องเกิดความเข้าใจในการแสดงออกถึงการดูแลสุขภาพของแต่ละคนแต่ละวัย และเห็นว่าการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์คือวิถีไทย วัฒนธรรมไทยซึ่งตนเองก็ได้ถูกบ่มเพาะมาจากครอบครัว ดังนั้นแม้มีสภาพปัญหาอุปสรรคขณะเข้าเยี่ยมนักศึกษาไม่ท้อและเข้าใจผู้รับบริการและบริบทของผู้รับบริการ

๖. นักศึกษาได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้แนวคิดและหลักการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มาก่อนฝึกวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพฯจึงส่งผลให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ได้อย่างดี

การส่งเสริมสุขภาพด้วยการนวดไทย

- การนำแนวคิด Humanistic care สู่การเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรมในรายวิชามนุษย์และพฤติกรรมสุขภาพ

- สรุปผลการประชุมเสวนาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการให้การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

การวิเคราะห์การชี้ประเด็น การตีความในขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลของผู้รับบริการ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพของกรณีศึกษา

สรุปแนวคิดของภาควิชาเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ คือ การบูรณาการแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

ขั้นที่ ๒ การวิเคราะห์ความรู้ โดยจัดเสวนาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการให้การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๖) และได้สรุปผลการประชุม คือ ภาควิชามีความคิดเห็นร่วมกันว่าควรนำแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากผลการวิเคราะห์พบว่าแนวคิดนี้มีความสอดคล้องกันกับอัตลักษณ์บัณฑิตของสบช. ว่าด้วยบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ อีกทั้งสอดคล้องกับแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ ในยุทธศาสตร์ที่ ๓ มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน ควบคุมโรค และคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ฯลฯ และวิสัยทัศน์ของวิทยาลัย ที่กล่าวว่า เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพชุมชน และวัตถุประสงค์ของรายวิชา การชี้ประเด็น การตีความในขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลของผู้รับบริการ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพของกรณีศึกษา และได้แนวปฏิบัติในการนำแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในการจัดการเรียนการสอนของภาควิชา ดังนี้

ด้านการเตรียมผู้สอน

ผู้สอนควรได้มีแนวคิดและแนวทางการดำเนินการดังนี้

๑. ผู้สอนควรทำความเข้าใจในแนวคิด เนื้อหาสาระ ขอบเขต แนวปฏิบัติในการนำแนวคิดHumanistic Nursing Care มาใช้ในรายวิชามนุษย์และพฤติกรรมสุขภาพ และรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย โดยการทบทวนด้วยตนเอง เวทีชี้แจงแนวปฏิบัติรายวิชา และหรือร่วมเข้าเรียนรู้ประสบการณ์การจัดประสบการณ์การเรียนรู้กับผู้สอนที่มีประสบการณ์ก่อน เช่น แนวคิดในการชี้ประเด็น สะท้อนคิดให้กับนักศึกษา การช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ผู้สอนที่มีประสบการณ์ควรได้แบ่งประสบการณ์ให้ผู้สอนใหม่ทั้งรูปแบบไม่เป็นทางการและเชิญเสวนาประจำปีอย่างเป็นทางการ และผู้สอนเก่าใหม่ควรได้ร่วมเสวนากับผู้สอนท่านอื่นและวิทยากรในเวทีเสวนาที่จัดขึ้นของวิทยาลัยที่จัดเป็นประจำทุกปีและมีการนำกรณีศึกษามาเป็นตัวอย่างในการคิดวิเคราะห์ทิศทางหรือความเป็นจริงต่างๆที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน และมองถึงความคิด ทัศนคติมุมมองของนักศึกษาและผู้ให้ข้อมูลและครูผู้สอนจากบันทึกข้อมูลการเยี่ยมกรณีศึกษา

๒. สิ่งต้องนำไปเชื่อมโยงในส่วนของวิชาการหรือทฤษฎีต่างๆ ในส่วนของอาจารย์ต้องมีการพัฒนาทักษะการกระตุ้น หรือการให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างไร ข้อมูลที่ได้ก็จะเป็นข้อมูลที่เป็นสภาพจริงมากขึ้น และสามารถวัดพัฒนาการคิดของนักศึกษา ทำให้นักศึกษาเข้าใจถึงผู้รับบริการมากขึ้น

๓. เรียนรู้จากตำรา นำมาประยุกต์ใช้และพัฒนาเป็นแนวทางของตนเอง

๔. ควรมีการพูดคุย ซักซ้อมในระดับทีมผู้สอนก่อนการลงนิเทศจริง

๕. เตรียมแบบบันทึก (Filed note)ของครูเพื่อบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียนและประเด็นที่คิดขึ้นได้ระหว่างลงภาคสนามหรือการประชุมกลุ่มย่อย)

ด้านการเตรียมผู้เรียน

๑. มีการชี้แจงรายวิชาที่จัดกิจกรรมการสะท้อนการคิดวิเคราะห์และเปิดโอกาสให้ซักถามสู่แนวคิดในการเรียนรู้พอสังเขปก่อนปฏิบัติจริง

๒. ให้นักศึกษารุ่นน้องได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับรุ่นพี่หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกันและหาข้อสรุปกับรุ่นพี่หรืออาจารย์

๓. เน้นมองคนแบบองค์รวม ไม่ยึดติดกรอบ? เน้นตั้งคำถามปลายเปิด การฟังอย่างมีประสิทธิภาพ การเคารพให้เกียรติ และคุณค่าของมนุษย์ และจริยธรรม สิทธิมนุษยชน

๔. ฝึกทักษะที่ต้องใช้ในรายวิชาก่อนด้วยกิจกรรมเสริมทักษะเช่น การสังเกต? การฟังเป็นต้น

๕. เน้นเตรียมแบบบันทึก (Filed note)ของตนเองเพื่อจดบันทึกการเรียนรู้ของตนและประเด็นที่คิดขึ้นได้ระหว่างลงภาคสนามหรือการประชุมกลุ่มย่อย และบันทึกทันทีภายหลังเรียนรู้หรือบันทึกเป็นระยะ

ด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน

๑. ไม่ยึดผู้สอนเป็นตัวตั้ง มองตัวผู้เรียนให้มากขึ้น

๒. ผู้เรียนสะท้อนกับผู้เรียนด้วยกันเอง

๓. ผู้สอนผสมผสานองค์ความรู้กับชีวิตจริงแล้วถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน

๔. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เก็บข้อมูลเพิ่มเติมจนกว่าจะหมดเวลาที่กำหนดไว้

๕. ให้นักศึกษามีอิสระ มองคนแบบองค์รวม เพราะคิดว่าน่าจะเป็นข้อมูลจากสภาพจริง เน้นให้นักศึกษาใช้คำถามปลายเปิดเพื่อเปิดประเด็น จากนั้นรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ว่าจุดใดน่าสนใจ และสิ่งที่ได้น่าจะมาจากการคิดและให้คุณค่านั้นอย่างไร ไม่ควรยึดกรอบทฤษฎีนำการสรุปความ

๖. ในการลงปฏิบัติจริงสิ่งต้องนำไปเชื่อมโยงในส่วนของวิชาการหรือทฤษฎีต่างๆ ในส่วนของอาจารย์ต้องมีการพัฒนาทักษะการกระตุ้น หรือการให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างไร ข้อมูลที่ได้ก็จะเป็นข้อมูลที่เป็นสภาพจริงมากขึ้น และสามารถวัดพัฒนาการคิดของนักศึกษา ทำให้นักศึกษาเข้าใจถึงผู้รับบริการมากขึ้น นอกจากนี้สามารถใช้การสังเกตซึ่งเป็นทักษะหนึ่งในการเก็บข้อมูล สังเกตสภาพแวดล้อม สังเกตการณ์แสดงพฤติกรรมต่างๆของเคส ส่วนในเรื่องของภูมิปัญญา ต้องไม่ใส่อคติของเราลงไปเป็นตัวอย่างให้กับนักศึกษา และยังต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า เพราะอะไรเขาจึงทำแบบนี้ เขามีความเชื่ออย่างไร

๗. เน้นกัลยาณมิตร ให้เกียรติ ยอมรับตัวตน ให้คุณค่า เรียนรู้กับกรณีศึกษาถึงแนวคิด ทัศนคติต่อสุขภาพ

๘. บันทึกการสอนของตนทุกครั้ง และร่วมสร้างคลังการเก็บประสบการณ์และผลจากการปรับการเรียนการสอนร่วมกัน

๙. เน้นให้นักศึกษาใช้แบบบันทึก (Filed note)ของตนเองเพื่อจดบันทึกการเรียนรู้ของตนและประเด็นที่คิดขึ้นได้ระหว่างลงภาคสนามหรือการประชุมกลุ่มย่อย และบันทึกทันทีภายหลังเรียนรู้หรือบันทึกเป็นระยะอย่างเหมาะสม

๑๐. ครูมีการตรวจสอบความก้าวหน้าการเรียนรู้ของนักศึกษาเป็นระยะจากการสังเกต การซักถาม การตรวจงานและควรมีการกระตุ้นให้มีการพัฒนาการคิดให้ทันกลุ่มและบทเรียนด้วยวิธีหลายแบบเช่นคำถามชี้ประเด็น สะท้อนคิด หรือการสนทนากับเพื่อนหรือกลุ่มใหญ่สะท้อนสู่ประเด็นที่นักศึกษาไม่เข้าใจ

ด้านการประเมินผล

๑. ผู้เรียนลดอคติลง

๒. ผู้เรียนมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการเข้าใจความเป็นมนุษย์ในทางบวกมากขึ้น

๓. นักศึกษามีความสุข ดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ไม่คุกคามเคส ได้ข้อมูลแค่ไหนเอามาแค่นั้น

๔. นักศึกษามีการพัฒนาการคิดและทักษะการบันทึกและการเข้าเยี่ยมกรณีศึกษาได้ดีขึ้นและในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพสามารถทำได้ดีอย่างเป็นธรรมชาติและเข้าใจกรณีศึกษาและมีความสุขในการดูแลคนในชุมชนและทำกิจกรรม? อาจารย์ลดการสอนเรื่องการบันทึกตามสภาพจริง ทำให้มีเวลามากพอในการจัดการเรียนรู้เนื้อหาการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย ผสมผสานกับHumanistic Nursing Careได้อย่างดี

๕. สำหรับแนวทางการประเมินการเรียนรู้ผู้เรียนได้มีการออกแบบแนวทางประเมินไว้ แต่ใช้ได้ดีระดับหนึ่งยังต้องมีการปรับให้ครอบคลุมทั้งรายวิชาให้มากขึ้นในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย? การออกแบบประเมินผลในแต่ละหัวข้อที่ต้องการประเมินนั้นสำคัญผู้สอนหรือผู้รับผิดชอบวิชาจะต้องจัดทำแบบประเมินให้ครบถ้วนและซักซ้อมการใช้แบบประเมินให้เข้าใจ? รวมถึงการออกข้อสอบวัดความรู้ ตลอดจนทักษะการบันทึกตามสภาพจริงนับเป็นสิ่งสำคัญ ครูผู้สอนควรได้มีโอกาสอภิปรายวิพากษ์ข้อสอบร่วมกันก่อน นอกจากจะช่วยให้วัดเด็กได้ตรงตามที่ต้องการวัดแล้วยังช่วยให้ผู้สอนทุกคนได้เรียนรู้และเข้าใจประเด็นการวัดซึ่งเป็นประเด็นวัตถุประสงค์การสอนนั้นเอง จะส่งผลให้ชี้ประเด็นขณะจัดการเรียนรู้ได้ดีอีกด้วย ควรได้มีการวิพากษ์ข้อสอบกันก่อนเปิดรายวิชาจะดีมาก

ขั้นที่ ๓ การสังเคราะห์ความรู้ ภาควิชาได้มีการสังเคราะห์ความรู้ เรื่อง การบูรณาการแนวคิด การให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในการจัดการเรียนการสอน สรุปได้แนวทางการปฏิบัติของภาควิชา ซึ่งจะนำไปใช้ในการฝึกภาคปฏิบัติต่อไป ดังนี้

1.ทบทวน เรื่อง การให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

2.เสริมสร้างพลังอำนาจ

3.กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ จากการเรียนการสอน :การเรียนนวด กิจกรรมภูมิปัญญา

4.การจัดการเรียนการสอน

5.สรุป ประเมินผล ถอดบทเรียน

6.ปรับประยุกต์ใช้ ทบทวนครั้งต่อไป

๔. การสังเคราะห์ความรู้ ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะจากผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge)

(อยู่ในขั้นดำเนินการ)

๕. การสรุปประเด็นสาระที่ได้เพื่อนำมาเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (ที่ได้จากการสังเคราะห์จากการแลกเปลี่ยน

เรียนรู้และจากผู้มีประสบการณ์ตรง)

(อยู่ในขั้นดำเนินการ)

๖. การดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ดำเนินการ

(อยู่ในขั้นดำเนินการ)

มติที่ประชุม

๑.จัดพิมพ์

๒.ส่งให้อาจารย์ตรวจ

๓.ขึ้น Web

๔.เตรียมเผยแพร่ต่อไป

ปิดประชุมเวลา ๑๒.๐๐ น.

ลงชื่อ ?????????????????.

(นายกันตวิชญ์? จูเปรมปรี)

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

ลงชื่อ ?????????????????.

(นางสาววิไลวรรณ บุญเรือง)

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

แนวทางปฎิบัติที่ดี การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเด็น “การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติกับการสร้างเสริมสุขภาพ” ของคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 วันที่ 22 สิงหาคม 2555 และครั้งที่ 2 วันที่ 8 ?มีนาคม 2556 ?ทางภาควิชาได้ถอดบทเรียนและสรุปเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดี ดังนี้

แนวทางปฏิบัติที่ดี การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติกับการสร้างเสริมสุขภาพ ?มีขั้นตอนการดำเนินการ 5 ขั้นตอน คือ

ขั้นที่ ๑ ? สร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน

ขั้นที่ ๒ ? การพิจาณารายวิชาที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ขั้นที่ ๓ ? การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ขั้นที่ ๔ ? การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ขั้นที่ ๕ ? การวัดและประเมินผล


โดยแต่ละขั้นตอน มีรายละเอียด ดังนี้

ขั้นที่ ๑ สร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพ

การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพให้มีประสิทธิภาพนั้น การสร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะช่วยลดช่องว่างของความไม่เข้าใจหรือความไม่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างมีเป้าหมายและทิศทางเดียวกัน โดยคำสำคัญที่เกี่ยวข้องและควรสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจน ได้แก่ ความหมาย และพฤติกรรมที่แสดงถึงการสร้างเสริมสุขภาพ ดังนี้

๑. การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก (world health organization [WHO]) คือ ?กระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลในการควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น?

๒. พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (health-promoting behavior) ตามกรอบแนวคิด Health Promotion Model ของ Pender อันประกอบด้วย ๖ พฤติกรรม ดังนี้

๑) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (health responsibility)

๒) กิจกรรมทางกาย (physical activity)

๓) โภชนาการ (nutrition)

๔) สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (interpersonal relations)

๕) การเจริญทางจิตวิญญาณ (spiritual growth)

๖) การจัดการกับความเครียด (stress management)

ขั้นที่ ๒ การพิจาณารายวิชาที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

การพิจารณาความสอดคล้องของรายวิชาในการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะความสอดคล้องด้านเป้าประสงค์ที่ต้องการ จะมีส่วนช่วยให้มองเห็นความเป็นไปได้ของการดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้หรือไม่ อย่างไร ความคล่องตัวเป็นอย่างไร เกิดความคุ้มค่าในการดำเนินการหรือไม่อย่างไร

ขั้นที่ ๓ การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

การวางแผนการการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติทางการพยาบาลกับ การสร้างเสริมสุขภาพ ควรเริ่มต้นด้วยการออกแบบหรือระบุการวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมการวัดและประเมินผลของการบูรณาการดังกล่าวไว้ใน ?รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.๔)? ดังนี้

๓.๑ ทบทวนวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติ โดยพิจารณาความสอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติ ๒ กรณี คือ

กรณี ๑ วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติ อาจสะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ แต่ไม่ชัดเจน ให้พิจารณาปรับปรุงหรือเพิ่มเติมข้อความของวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้นั้นๆ ให้สะท้อน การสร้างเสริมสุขภาพ

กรณี ๒ วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติ ไม่สะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ให้พิจารณาเพิ่มวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติให้สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ โดยคำนึงถึงคำสำคัญ (key word) คือ ความหมาย และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ (บุคคลวัยสูงอายุ) เมื่อสิ้นสุดการฝึกภาคปฏิบัติ นักศึกษาสามารถ

๑. ใช้กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม

๒. ให้การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้

๓. ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้

๔. แสดงความก้าว หน้าในทักษะทางการพยาบาลในการวิเคราะห์ปัญหา อภิปรายทางการพยาบาลและอื่นๆ ที่เกี่ยว ข้องกับการพยาบาลได้

๕. คิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้ โดยอาศัยหลักวิชาการอย่างมีเหตุผล

๖.? ร่วมปฏิบัติงานกับทีมสุขภาพและบุคลากรอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม

เมื่อพิจารณาแล้ว ไม่มีวัตถุประสงค์ข้อใด สะท้อนหรือสอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ อาจพิจารณาเพิ่มเติม คือ ?วางแผนและจัดกิจกรรมสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพหรือญาติในการควบคุมและดูแลปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุได้? เป็นต้น

๓.๒ วางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ/ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพตามบริบทหรือสถานการณ์จริงในคลินิกและชุมชน ซึ่งสามารถยกตัวอย่างให้เห็นชัดระหว่างการปฏิบัติการเพื่อการดูแลและการสร้างเสริมสุขภาพ

ขั้นที่ ๔ การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ๓.๓ วางแผนการพัฒนาผลการเรียนรู้ (Learning Outcome [LO]) ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (domain) ควรมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกันระหว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการสอน และกิจกรรมการวัดประเมินผล โดยยึดหลักตามกรอบแนวคิด ?OLE Alignment? (Outcome-Learning activity-Evaluation activity Alignment)

การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่มีการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพตามแผนที่วางไว้นั้น ควรมีการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมแบบภาคีเครือข่าย ระดับท้องถิ่นหรือประชาชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดการดำเนินการแบบคล่องตัว ยังทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งด้านกระบวนการและผลลัพธ์การดำเนินการเรียนการสอนและการสร้างเสริมสุขภาพ

เครือข่ายความร่วมมือในส่วนของชุมชน ควรพิจารณา ดังนี้

๑) เครือข่ายความร่วมมือหลักที่สำคัญ ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เป็นต้น

๒) เครือข่ายความร่วมมือ ส่วนองค์กรในชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น โรงเรียน สถานบริการสุขภาพในท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันและเสริมความเข้มแข็งของดำเนินงานและผลลัพธ์ยั่งยืน

ขั้นที่ ๕ การวัดและประเมินผล

การวัดและประเมินผล นอกจากประเมินผู้เรียนตามวัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ ของรายวิชาแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของผู้รับบริการ/ประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน โดยประเมินเป็นระยะๆ ดังนี้

ระยะแรก ให้ระบุการวัดความรู้เกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือการวัดความตระหนักในความรับผิดต่อสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หรือวัดทักษะการจัดการปัญหาสุขภาพ ภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น

ระยะหลัง ให้ระบุการวัดเพิ่มในประเด็นการแสดงพฤติกรรมหรือการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการวัดดังกล่าว อาจวัดเป็นระยะๆ เช่น ทุก ๑ สัปดาห์ หรือ ๒ สัปดาห์ หรือ ๑ เดือน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

คณาจารย์ประจำภาควิชา

การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ผู้ถอดบทเรียน

การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน

ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล

การจัดการความรู้

ประเด็น การบูรณาการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนด้านการส่งเสริมสุขภาพ

สรุปการจัดการความรู้กับการบูรณาการการเรียนการสอน

การจัดการความรู้ เรื่องการบูรณาการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลและบริการวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพ สิ่งที่ได้รับแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้

  1. ด้านนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2
  2. ด้านอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติ
  3. ด้านผู้รับบริการ(กลุ่มเป้าหมาย)

ประเด็นที่ 1 ด้านนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2

1.1 การเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล

สำหรับกิจกรรมทั้งหมดของโครงการนี้ได้มีความสอดคล้องกับลักษณะของรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลคือ การพัฒนาให้นักศึกษานำความรู้และประสบการณ์ทั้งหมดที่เกิดจากสภาพการณ์จริงบนหอผู้ป่วย โดยใช้กระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวม โดยคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้รับบริการ ไปใช้ในการบริการวิชาการแก่สังคมภายนอก โดยเป็นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะทางวิชาชีพพยาบาลมากขึ้น สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์และนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองและบุคคลรอบข้างในการให้การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

1.2 การเสริมสร้างอัตลักษณ์บัณฑิต

สำหรับรูปแบบของการจัดทำโครงการบูรณาการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลและบริการวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพภายใต้การเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 สิ่งที่นักศึกษาได้รับจากการดำเนินโครงการนั้นจะเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพพยาบาล โดยกระบวนการของแต่ละกิจกรรมของโครงการทั้งหมดสามารถประมวลสู่องค์ความรู้ตรงตามอัตลักษณ์บัณฑิตของวิทยาลัยฯ และอัตลักษณ์บัณฑิตของสถาบันพระบรมราชชนกที่มีความต้องการให้สถาบันผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติและมีสมรรถนะคือ บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งก็หมายถึงการให้บริการที่เป็นมิตร มีความรัก ความเมตตา ใส่ในใจปัญหาและความทุกข์ของผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้บริการตามปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการที่เป็นจริง โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้รับบริการ ซึ่งมีความสอดคล้องกับลักษณะรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล โดยเป็นการปฏิบัติการพยาบาลและการดูแลบุคคลทุกช่วงวัยของชีวิตที่มีภาวะสุขภาพปกติและเบี่ยงเบน โดยใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมบนพื้นฐานของการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ดังนั้นความคาดหวังของนักศึกษาจากการฝึกปฏิบัติครั้งนี้คือการสร้างองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งสร้างความมั่นใจแก่นักศึกษาในการให้บริการสุขภาพของบุคคลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยสรุปจะเห็นได้ว่า การให้ความสำคัญกับการให้บริการนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งส่วนหนึ่งจะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้รับบริการ และผู้ให้บริการต้องเป็นบุคคลที่มีใจในการให้บริการ(Service Mind) เป็นสำคัญ ซึ่งการบริการสามารถแสดงออกเป็น 2 แบบ คือ

1. ขั้นตอนการให้บริการ เป็นการปฏิบัติการตามขั้นตอนและเทคนิคของวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ผู้รับบริการได้ประโยชน์ ตรงตามความต้องการมากที่สุด

2. พฤติกรรมการบริการ เป็นการแสดงออกด้านการแต่งกาย สีหน้า แววตา กิริยา ท่าทาง และการพูดจา ซึ่งพฤติกรรมที่ดีย่อมสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับผู้บริการได้เป็นอย่างดี ได้แก่ การแต่งกายที่สุขภาพ สะอาด เรียบร้อย สีหน้าและแววตาที่ยิ้มแย้ม แจ่มใส อ่อนโยน กิริยาท่าทางที่ สุภาพ อ่อนน้อม การพูดจาด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล สุภาพ ชัดเจน ให้เกียรติ มีหางเสียง

1.3 การพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และสมรรถนะของนักศึกษา

กิจกรรมของการให้บริการวิชาการในครั้งนี้เป็นการนำความรู้และทักษะการพยาบาลที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลไปบริการวิชาการแก่บุคคลภายนอก โดยเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งตรงกับลักษณะรายวิชาที่นักศึกษาได้ผ่านการฝึกปฏิบัติมาแล้ว ดังนั้นสิ่งที่นักศึกษาได้พัฒนาตนเองตามสมรรถนะนั้น คือ การสอนและให้คำปรึกษาทางสุขภาพแก่บุคคลภายนอก ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างจากสถานการณ์จริงที่นักศึกษาได้เคยปฏิบัติมาก่อน โดยนักศึกษาจะต้องมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ที่ได้จากการฝึกปฏิบัติไปสู่สถานการณ์จริงภายนอก นอกจากนี้การที่นักศึกษาจะสามารถเชื่อมโยงความรู้ได้นั้นนักศึกษาจะต้องมีการคิดเชิงวิเคราะห์ก่อนว่ากลุ่มเป้าหมายนั้นมีความต้องการการดูแลสุขภาพอย่างไร เพื่อให้นักศึกษาสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้นักศึกษายังต้องมีการพัฒนาตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในด้านทักษะในการติดต่อสื่อสาร และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้รับบริการ เพื่อให้การบริการวิชาการเป็นไปอย่างราบรื่น รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายมีความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อนักศึกษาต่อไป

ประเด็นที่ 2 ด้านอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติ

สำหรับการนำความรู้และประสบการณ์จากการเรียนการสอนที่ได้ถ่ายทอดแก่นักศึกษานั้น ถือเป็นการวางรากฐานทางความคิดให้แก่นักศึกษาเพื่อนำไปใช้การให้การดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์นั้น ถือว่าเป็นการพัฒนาความเชี่ยวชาญอาจารย์ผู้สอนด้านการส่งเสริมสุขภาพเป็นอย่างดี เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองในการปลูกฝังให้นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพการพยาบาล สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนเองและให้ประโยชน์ต่อบุคคลอื่นต่อไป นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติยังสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการให้บริการวิชาการมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ประเด็นที่ 3 ด้านผู้รับบริการ(กลุ่มเป้าหมาย)

ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ เป็นภาควิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการดูแลสุขภาพมนุษย์นับตั้งแต่การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลตลอดจนการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต โดยมีความเชื่อและตระหนักในการให้คุณค่าของการวางรากฐานในการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดีนั้นต้องเริ่มต้นที่เด็กวัยเรียน เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต มีความกระตือรือร้นในการที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากประสบการณ์ของตนเอง บุคคลและสื่อต่างๆ ช่างซักถาม และชอบลองทำสิ่งที่ท้าทายความสามารถ ต้องการแสดงออกในรูปแบบต่างๆ ต้องการให้ผู้อื่นสนใจ ชอบการยกย่อง ชมเชย รวมทั้งการยอมรับจากบุคคลรอบข้าง ดังนั้นการส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนได้เรียนรู้และได้รับการดูแลขั้นพื้นฐาน ซึ่งหมายรวมถึงการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจและสติปัญญา เพราะการสิ่งเสริมสุขภาพเด็กในวันนี้จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีต่อไปในอนาคต

สรุปประเด็นความรู้ที่ได้รับจากการบูรณาการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลและบริการวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพในครั้งนี้ ได้แก่

  1. การเชื่อมโยงความรู้จากการเรียนการสอนภาคปฏิบัติไปสู่การบริการวิชาการแก่ชุมชน
  2. การวางรากฐานความคิดให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์แม้อยู่ในสถานการณ์จริงที่มีความแตกต่างกัน
  3. การนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการให้บริการวิชาการไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่อื่นต่อไป เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีแนวคิดและเป้าหมายเดียวกันในการปฏิบัติการพยาบาลบนพื้นฐานการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

สรุปองค์ความรู้

การพยาบาล เป็นการใช้ศิลปะและวิทยาศาสตร์ในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยการให้ความปลอดภัยและการส่งเสริมสุขภาพที่ดีต่อประชาชนและสังคม การพยาบาลไม่ได้มีความหมายเฉพาะการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเจ็บป่วยแต่การพยาบาลเป็นบริการที่ให้กับบุคคล ครอบครัวและสังคม โดยใช้ศิลปะและวิทยาศาสตร์ในการหล่อหลอมทัศนคติ สติปัญญา และทักษะทางการพยาบาลแก่นักศึกษาพยาบาล เพื่อให้สามารถช่วยบุคคลที่ป่วยหรือสุขภาพดี มีสุขภาพดี ซึ่งการช่วยเหลือจะครอบคลุมถึงการป้องกันโรค การส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพและการดูแลรักษาพยาบาล และการดำรงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีที่บุคคลนั้นสามารถจะพึงมีได้

ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล เป็นภาควิชาที่รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์หลักของรายวิชาคือ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ หลักการและเทคนิคปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมในการดูแลบุคคลทุกช่วงวัยของชีวิตที่มีภาวะสุขภาพปกติและเบี่ยงเบนบนพื้นฐานการดูแลด้วยความเอื้ออาทร ดังนั้นการพยาบาลที่ต้องเกี่ยวข้องกับการดูแลในความหมายของคณาจารย์ในภาควิชาจึงเป็นการสร้างทัศนคติ ความคิดและการปลูกฝังให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่กำลังจะฝึกภาคปฏิบัติให้เข้าใจว่า การดูแลจะเริ่มต้นที่ความรู้สึกสนใจ ห่วงใย และเข้าใจความต้องการของบุคคลทุกช่วงวัยว่ามีความละเอียดอ่อน และลักษณะเฉพาะของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

เด็กวัยเรียน เป็นกลุ่มที่คณาจารย์ในภาควิชาให้ความสนใจ ในการนำนักศึกษาที่กำลังฝึกภาคปฏิบัติการพยาบาล ในรายวิชา ปฏิบัติการหลักการและเทคนิคการพยาบาล ไปให้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านสุขวิทยาส่วนบุคคล การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและความรู้ทั่วไปเรื่องโรคตามฤดูกาล นักศึกษาจะประยุกต์ความรู้ที่ได้ให้การพยาบาลผู้ป่วยบนหอผู้ป่วย มาใช้กับนักเรียน เช่น ความรู้เรื่องสุขวิทยาส่วนบุคคล การอาบน้ำ แปรงฟัน และการทำความสะอาดร่างกาย การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นไข้หวัด เป็นต้น รูปแบบการบูรณาการ ทำให้เกิดประโยชน์แก่ เด็กวัยเรียน ครูผู้สอนในโรงเรียน นักศึกษาพยาบาล และอาจารย์พยาบาล และหากเด็กวัยเรียนเกิดแนวคิด สามารถจำในสิ่งที่นักศึกษาพยาบาลสอน และสามารถนำไปใช้ได้ ผู้ปกครองของนักเรียนจะได้รับประโยชน์จากการบริการวิชาการในครั้งนี้ด้วย

ในด้านประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับอาจารย์พยาบาลในภาควิชาคือ ความเข้าใจและการมองเห็นนักศึกษาประยุกต์ความรู้ทางการพยาบาลมาใช้ ว่านักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหาหรือตัวองค์ความรู้พื้นฐานมากน้อยเพียงใด การสร้างสรรค์ในการนำมาประยุกต์ใช้กับกลุ่มผู้รับบริการที่มีความแตกต่างกันทั้งในช่วงวัย และภาวะสุขภาพที่ปกติและเจ็บป่วย ความเอื้ออาทร ความสนใจ ความห่วงใยที่มีภาวะพัฒนาการของแต่วัยที่มีความแตกต่าง? ซึ่งโดยทั่วไปการจัดการเรียนการสอนเฉพาะในชั้นเรียนหรือในคลินิกนั้นเป็นการให้บริการแต่ละบุคคล เช่น การดูแลผู้ป่วยแต่ละรายในโรงพยาบาล แต่ความเป็นจริงแล้วการพยาบาลสามารถเกิดได้ในทุกที่ และเป็นกลุ่มคน ชุมชน หรือครอบครัว เช่น สถานที่ที่ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลจัดให้แก่นักเรียนโรงเรียนเทศบาลหัวดง ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ สิ่งสำคัญที่เป็นความรู้ที่ได้รับจากการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนและการจัดการความรู้คือ (explicit knowledge) การพยาบาลที่ดีจะต้องเป็นการบริการที่ต่อเนื่อง ไม่ได้เริ่มต้นและสิ้นสุดที่จุดใดจุดหนึ่ง แต่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผลลัพธ์หรือพัฒนาการ การบ่มเพาะความคิดที่ดีในการดูแลสุขภาพตนเองผ่านสื่อที่น่าสนใจสำหรับเด็กอาจส่งผลต่อพัฒนาการในการดูแลตนเองของเด็กเมื่อเจริญวัยต่อไปได้ และคณาจารย์ภาควิชาฯ เห็นว่า การบูรณาการรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวควรกระทำต่อเนื่องในสถานที่แห่งเดิมเพื่อติดตามผลการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลหัวดง ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ และอาจสร้างเครือข่ายในการดูแลสุขภาพนักเรียน กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ และทางโรงเรียนเทศบาลหัวดงฯ เพื่อร่วมกันดูแลสุขภาพเด็กอย่างต่อเนื่อง

ความรู้ในสิ่งที่อาจารย์พยาบาลได้รับจากการเสริมสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาจะทำให้อาจารย์นำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนทั้งในภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติและการจัดประสบการณ์นอกชั้นเรียนให้แก่นักศึกษาต่อไป

คณาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล

มกราคม 2556

รายงานการประชุมการจัดความรู้ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ ห้อง conference ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by paitoon on วันอาทิตย์ 9 กันยายน 2012 at 3:47 pm

รายงานการประชุมการจัดความรู้

ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

ณ ห้อง conference ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

รายชื่อผู้เข้าประชุม

๑. นางนิศารัตน์?????????? นาคทั่ง?????????? หัวหน้าภาควิชาฯ และประธานการประชุม

๒. นางศศิธร?????????????? ชิดนายี

๓. นางสาววราภรณ์?????? ยศทวี

๔. นางสาวนัยนา????????? อินธิโชติ

๕. นางมณฑา????????????? อุดมเลิศ

๖. นางสุธีรา?????????????? งามวาสีนนท์

๗. นางอนัญญา??????????? คูอาริยะกุล

๘. นางสาวเสาวลักษณ์??? เนตรชัง

๙. นางวาสนา???????????? ครุฑเมือง

๑๐. นางสาวนัยนา??????? แก้วคง

๑๑. นางอรุณรัตน์???????? พรมมา

๑๒. นายเสน่ห์???????????? ขุนแก้ว

๑๓. นายสืบตระกูล??????? ตันตลานุกุล

๑๔. นางภราดร??????????? ล้อธรรมมา

๑๕.นายวีระยุทธ?????????? อินพะเนา

๑๖. นายไพทูรย์?????????? มาผิว???????????? เลขานุการ

เริ่มการประชุม ๑๓.๓๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ โดยประธานที่ประชุม

อ.นิศารัตน์ นาคทั่ง ประธานการประชุมแจ้งให้ทราบว่า มีมติจากที่ประชุมประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ว่าประเด็นการจัดการความรู้ของวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕ ยังคงเป็นประเด็นหลักๆ ที่สำคัญ ๒ ประเด็นเช่นเดิม คือ ประเด็นที่ ๑ การจัดการเรียนการสอน เรื่องการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ และประเด็นที่ ๒ การวิจัย เรื่อง เทคนิคการเขียนผลงานวิชาการ โดยประเด็นที่ภาควิชาต้องดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ ประเด็นที่ ๑ ซึ่งจะให้อาจารย์ศศิธร ชิดนายี เป็นผู้นำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวาระถัดไป

ระเบียบวาระที่ ๒ การแสวงหาความรู้ ?โดยอาจารย์ศศิธร ชิดนายี

สืบเนื่องจากวิทยาลัยได้มีมติกำหนดประเด็นการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕ ใน ๒ ประเด็นหลักตามที่ประธานได้แจ้งให้ทราบแล้วนั้น โดยประเด็นที่ทุกภาควิชาต้องดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมถอดบทเรียน สรุปเป็นองค์ความรู้ คือ การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อให้ได้องค์ความรู้ในประเด็นดังกล่าว จากการดำเนินการจัดการศึกษาของภาควิชาที่ผ่านมามีการปฏิบัติอย่างไร

อาจารย์วาสนา ครุฑเมือง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า การฝึกปฏิบัติรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ (บุคคลวัยผู้สูงอายุ) ได้บูรณาการการบริการวิชาการ เรื่อง???????????? การดูแลผู้ป่วยสูงอายุในชุมชน โดยสร้างและใช้นวัตกรรมในการดูแลสุขภาพ ซึ่งการกระทำดังกล่าว ได้ฝึกให้นักศึกษาได้ใช้กระบวนการพยาบาลอย่างเข้มข้น ภายใต้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลักดันให้นักศึกษานำญาติหรือผู้ดูแลเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดูแลสุขภาพผู้ป่วยสูงอายุให้มากที่สุด โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นการเสริมความรู้ สร้างทักษะญาติในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ตลอดจนการสาธิตย้อนกลับของญาติเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมที่นักศึกษาพัฒนาขึ้น เมื่อพิจารณาสิ่งที่ทำมา ตนเองคิดว่าเป็นการตอบโจทย์กาสร้างเสริมสุขภาพได้ดีทีเดียว

อาจารย์ไพทูรย์ มาผิว ได้แสดงความเห็นด้วยและเสริมความต่อจากอาจารย์วาสนา ว่า ตนเองก็เป็นหนึ่งในอาจารย์ที่นิเทศการฝึกปฏิบัติรายวิชาดังกล่าวเช่นเดียวกับอาจารย์วาสนา???????????? ซึ่งการเสริมความรู้ ส่งเสริมความตระหนัก สร้างทักษะญาติในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ตลอดจนการสาธิตย้อนกลับของญาติเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมที่นักศึกษาพัฒนาขึ้นนั้น มีความสอดคล้องกับความหมายของการสร้างเสริมสุขภาพ ตามที่ WHO ว่าไว้ คือ ?กระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลในการควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น?

อาจารย์ภราดร ล้อธรรมมา ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า การฝึกที่ผ่านนักศึกษาสะท้อนว่าการสร้างเสริมสุขภาพนั้น ทำเฉพาะในกลุ่มคนที่สุขภาพดี ซึ่งคิดตามความหมายที่ WHO ได้ให้ไว้ ตามที่อาจารย์ไพทูรย์อ้างไว้ ตนเองคิดว่านักศึกษาอาจมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ?????????? ที่คาดเคลื่อนไป ดังนั้น คงต้องทำความเข้าใจให้กระจ่างชัดในประเด็นนี้ ทั้งนักศึกษาและครู โดยเฉพาะครู ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้สู่นักศึกษา จึงจะทำให้การสร้างเสริมสุขภาพมีความก้าวหน้า

อาจารย์เสน่ห์ ขุนแก้ว จากการนิเทศนักศึกษาเช่นเดียวกับอาจารย์ไพทูรย์และอาจารย์วาสนาที่ผ่านมา พบว่า นวัตกรรมที่นักศึกษาพัฒนาขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยสูงอายุได้มีการออกกำลังกาย ก็คิดว่าตอบโจทย์การบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพ

อาจารย์ไพทูรย์ มาผิว เห็นด้วยกับอาจารย์เสน่ห์ เพราะพิจารณานวัตกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่นักศึกษาพัฒนาขึ้น จะอยู่ในกรอบพัฒนาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยตามกรอบแนวคิดของเพนเดอร์ (Pender) ที่มีอยู่ ๖ ประเภท คือ ๑) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ? ?????????๒) กิจกรรมทางกาย (ออกกำลังกาย) ๓) โภชนาการ ๔) สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ๕) การเจริญทางจิตวิญญาณ และ ๖) การจัดการกับความเครียด

อาจารย์สืบตระกูล ตันลานุกุล เห็นด้วยกับทุกคน อย่างไรก็ตาม ก็อย่างให้พิจารณาหรือเสริมการกระทำที่ตอบความหมายของการสร้างเสริมสุขภาพ ด้วยว่า ต้องกระทำเพื่อเพิ่มสมรรถนะของคน ทั้งผู้ป่วยและญาติให้มาขึ้น เพื่อที่เขาจะได้ดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน?????????? มิใช้การพิจารณาหรือกระทำ โดยเราฝ่ายเดียว

อาจารย์ศศิธร สรุปประเด็นว่าจากที่แลกเปลี่ยนรู้กันมาพบว่า ส่วนใหญ่เป็น field ในชุมชนทั้งหมด ส่วนใน field โรงพยาบาลหรือคลินิก จะมีการบูรณาการกับการส่งเสริมสุขภาพอย่างไร

อาจารย์นิศารัตน์ นาคทั่ง แสดงความคิดเห็นว่า ถ้าพิจารณาตามความหมายแล้ว คิดเห็นการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย โดยให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วย ทั้งตัวผู้ป่วยเองหรือญาติ? ???????เมื่อกลับไปอยู่บ้าน ก็ถือว่าเป็นการส่งเสริมสุขภาพเช่นกัน

อาจารย์เสาวลักษณ์ เนตรชัง เห็นด้วยกับอาจารย์นิศารัตน์ ดังนั้นเวลาวางแผนหรือเขียนแผนการสอนต้องเขียนให้เห็นว่ากิจกรรมใดคือการดูแล กิจกรรมใดคือการส่งเสริมสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยมีแผล พยาบาลทำแผลให้ถือว่าเป็นกิจกรรมดูแล ส่วนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ก็น่าจะเป็นในลักษณะการสอนให้ญาติดูแลแผล เป็นโค้ชสอนญาติทำแผล แนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้าน เป็นต้น

อาจารย์วราภรณ์ ยศทวี กล่าวว่า ตามความหมายของการสร้างเสริมสุขภาพของ WHO สิ่งที่กล่าวมา ก็น่าจะใช่กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพทั้งหมด แต่ทีนี้เราจะเขียนกิจกรรมในแผนการอย่างไรให้ชัดเจน สะท้อนการสร้างเสรมสุขภาพ คงต้องมามองหรือพิจารณาวัตถุประสงค์หรือสมรรถนะรายวิชาให้ครอบคลุมจากที่มีและสะท้อนแนวทางการจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาไปเพิ่มศักยภาพของผู้ป่วยและญาติในการดูแลสุขภาพตนเองให้ชัดขึ้น มีแล้วก็ดีไป ถ้าไม่มีก็คงต้องเพิ่มให้มี ถ้ามีแต่ไม่ชัดหรือกว้างไป ก็อาจเพิ่มข้อความให้เข้าไป

อาจารย์ไพทูรย์ มาผิว ให้ข้อมูลการวัดและประเมินผลว่า นอกจากประเมินผู้เรียนตามวัตถุประสงค์และสมรรถนะรายวิชาแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของผู้รับบริการ ???????????????????โดยประเมินเป็นระยะๆ ดังนี้

ระยะแรก ให้ระบุการวัดความรู้เกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือการวัดความตระหนักในความรับผิดต่อสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หรือวัดทักษะการจัดการปัญหาสุขภาพ ภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น

ระยะหลัง ให้ระบุการวัดเพิ่มในประเด็นการแสดงพฤติกรรมหรือการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการวัดดังกล่าว อาจวัดเป็นระยะๆ เช่น ทุก ๑ สัปดาห์ หรือ ๒ สัปดาห์ หรือ ๑ เดือน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

ระเบียบวาระที่ ๓ สรุปประเด็นความรู้ที่ได้จากการแสวงหาร่วมกัน

๓.๑ สรุปแนวทางการปฏิบัติ สำหรับ ?การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ? มีขั้นตอนการดำเนินการนี้

๑. อันดับแรกต้องสร้างความเข้าใจ/ความกระจ่างในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ ความหมาย และพฤติกรรมที่แสดงถึงการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

๑.๑ การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก (world health organization [WHO]) คือ ?กระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลในการควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น?

๑.๒ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (health-promoting behavior) ตามกรอบแนวคิด Health Promotion Model ของ Pender อันประกอบด้วย ๖ พฤติกรรม ดังนี้

๑) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (health responsibility)

๒) กิจกรรมทางกาย (physical activity)

๓) โภชนาการ (nutrition)

๔) สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (interpersonal relations)

๕) การเจริญทางจิตวิญญาณ (spiritual growth)

๖) การจัดการกับความเครียด (stress management)

๒. ทบทวนวัตถุประสงค์/สมรรถนะของรายวิชาภาคปฏิบัติ โดยให้พิจารณาวัตถุประสงค์/สมรรถนะที่มีประเด็นสอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ

กรณี ๑ วัตถุประสงค์/สมรรถนะของรายวิชาภาคปฏิบัติ อาจสะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ แต่ไม่ชัดเจน ให้พิจารณาปรับปรุงหรือเพื่อข้อความของวัตถุประสงค์นั้นๆ บอกหรือสะท้อนแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพ

กรณี ๒ วัตถุประสงค์/สมรรถนะของรายวิชาภาคปฏิบัติ ไม่สะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ให้พิจารณาเพิ่มวัตถุประสงค์/สมรรถนะของรายวิชาภาคปฏิบัติให้สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ โดยคำนึงถึงคำสำคัญ (key word) คือ ความหมาย และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ (บุคคลวัยสูงอายุ) เมื่อสิ้นสุดการฝึกภาคปฏิบัติ นักศึกษาสามารถ

๑. ใช้กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม

๒. ให้การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้

๓. ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้

๔. แสดงความก้าว หน้าในทักษะทางการพยาบาลในการวิเคราะห์ปัญหา อภิปรายทางการพยาบาลและอื่นๆ ที่เกี่ยว ข้องกับการพยาบาลได้

๕. คิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้ โดยอาศัยหลักวิชาการอย่างมีเหตุผล

๖. ร่วมปฏิบัติงานกับทีมสุขภาพและบุคลากรอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม

เมื่อพิจารณาแล้ว ไม่มีวัตถุประสงค์ข้อใด สะท้อนหรือสอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ อาจพิจารณาเพิ่มเติม คือ ?วางแผนและจัดกิจกรรมสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพหรือญาติในการควบคุมและดูแลปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุได้? เป็นต้น

๓. วางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ/สรรถนะที่สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ ตามบริบทหรือสถานการณ์จริงในคลินิกและชุมชน ซึ่งสามารถยกตัวอย่างให้เห็นชัดระหว่างการปฏิบัติการเพื่อการดูแลและการสร้างเสริมสุขภาพ ดังตารางต่อไปนี้

ปัญหาสุขภาพ กิจกรรมการดูแล กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ
การฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล

ผู้ป่วยมีแผล Colostomy

การทำแผล Colostomy ??????????แบบ wet dressing ให้กับผู้ป่วย การเตรียมผู้ป่วยก่อนจำหน่าย จากโรงพยาบาล ดังนี้

๑. การสอนและสาธิตผู้ป่วย/ญาติในการทำแผล Colostomy แบบ wet dressing

๒. การเป็นโค้ช (coach) ให้ผู้ป่วย/ญาติในการทำแผล Colostomy

การติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยสูงอายุในชุมชน

ผู้ป่วยสูงอายุแขนขาซีกซ้ายอ่อนแรง และติดเกร็ง มีแผลกดทับ

๑. การช่วยผู้ป่วยออกกำลังกาย แบบ Passive exercise

๒. การทำแผล แบบ wet dressing

๑. การสอนและสาธิตญาติผู้ป่วยสูงอายุในการทำแผลและ Passive exercise แบบ Coaching (เป็นโค้ชสอน)

๒. ร่วมกับญาติในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการดูแล ป้องกันหรือแก้ปัญหาสุขภาพ โดยกระตุ้นให้พิจารณาถึงภูมิปัญญา/วัสดุท้องถิ่นที่มีอยู่ มาดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาสุขภาพ

กิจกรรมตัวอย่างข้างต้น ล้วนเป็นการเพิ่มศักยภาพของผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเอง ?????????????เมื่อกลับไปอยู่บ้าน ซึ่งสอดรับกับความหมายการสร้างเสริมสุขภาพ

๔. ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลที่บูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพ ที่มีการออกแบบอย่างเป็นรูปธรรมตามแผนที่วางไว้

๕. การวัดและประเมินผล นอกจากประเมินผู้เรียนตามวัตถุประสงค์และสมรรถนะรายวิชาแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของผู้รับบริการ โดยประเมินเป็นระยะๆ ดังนี้

ระยะแรก ให้ระบุการวัดความรู้เกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือการวัดความตระหนักในความรับผิดต่อสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หรือวัดทักษะการจัดการปัญหาสุขภาพ ภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น

ระยะหลัง ให้ระบุการวัดเพิ่มในประเด็นการแสดงพฤติกรรมหรือการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการวัดดังกล่าว อาจวัดเป็นระยะๆ เช่น ทุก ๑ สัปดาห์ หรือ ๒ สัปดาห์ หรือ ๑ เดือน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

๓.๒ กิจกรรมต่อไป คือ เผยแพร่คามรู้ที่ได้ผ่าน web blog , website ของวิทยาลัยและแผ่นพับประชาสัมพันธ์

ปิดประชุมเวลา ๑๕.๐๐ น.

ไพทูรย์ ?มาผิว

(นายไพทูรย์? มาผิว)

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

นิศารัตน์ ?นาคทั่ง

(นางนิศารัตน์ นาคทั่ง)

ผู้ตรวจสอบรายงานการประชุม

การเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM ) ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช เรื่อง การสังเคราะห์ความรู้สู่ผลการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ ของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันศุกร์ 7 กันยายน 2012 at 1:17 am

การเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM )

ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

เรื่อง การสังเคราะห์ความรู้สู่ผลการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ

ของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

ณ? ห้องประชุม ๓๒๔ ?วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่? ๑๖? สิงหาคม? พ.ศ.๒๕๕๕

เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ผู้เข้าร่วมประชุม

๑.อาจารย์วิไลวรรณ???????? บุญเรือง??????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒.อาจารย์วิมล?????????????? อ่อนเส็ง??????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓.อาจารย์ ดร.ประภาพร? มโนรัตน์??????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔.อาจารย์ดุจเดือน เขียวเหลือง??????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๕.อาจารย์อดุลย์???? ??????? ?วุฒิจูรีพันธุ์??????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๖.อาจารย์อัญชรี?? รัตนเสถียร???????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗.อาจารย์บุญฤทธิ์ ประสิทธินราพันธุ์????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘.อาจารย์พรรณพิไล???????? สุทธนะ ?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๙.อาจารย์นิกร?????????????? จันภิลม??????????????????? วิทยาจารย์ชำนาญการ

๑๐.??????? อาจารย์อิทธิพล?????? แก้วฟอง??????????????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๑.??????? อาจารย์จิระภา?????? สุมาลี?????????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๒.??????? อาจารย์กันตวิชญ์???? จูเปรมปรี????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๓.??????? อาจารย์ชลธิชา?????? จับคล้าย?????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.

วาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ

๑. คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยฯ ได้แจ้งนโยบายเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ และ? การสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาซึ่ง อ.ศศิธร? ได้ชี้แจงให้อาจารย์ทุกคนได้รับทราบแล้ว

๒.? ขั้นตอนการดำเนินการมีดังนี้

๒.๑? สร้างความเข้าใจ/ความกระจ่างในประเด็นสำคัญ? โดยทบทวนมติการจัดการความรู้ที่ได้มีมติร่วมกันคือแนวทางในการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี? อุตรดิตถ์ ที่สอดคล้องกับพันธกิจของวิทยาลัยในด้านการจัดการเรียนการสอน คือ เรื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติเพื่อการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ

๒.๒? ทบทวนวัตถุประสงค์รายวิชา/ วิธีการจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติเพื่อปรับเพิ่มให้สอดคล้องกับการสอบขึ้นทะเบียนของสภาการพยาบาล

๓. ผลการจัดการความรู้ในภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช มีประเด็น เรื่องการสังเคราะห์ความรู้สู่ผลการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล ฯ? ของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช? มีแนวปฏิบัติดังนี้

๓.๓.๑ รายวิชาการพยาบาลอนามัยชุมน โดยการสังเคราะห์ความรู้ร่วมกันโดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประเด็นปัจจัยที่มีผลต่อการสอบทะเบียนใบประกอบวิชาชีพของนักศึกษาดังนี้

-? การสร้างแรงจูงใจ หรือการสร้างเสริมพลังอำนาจให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการสอบขึ้นทะเบียน? โดยมีการชี้แจงให้นักศึกษาได้เห็นถึงข้อเสียขอเสียของการสอบไม่ผ่าน หรือผลดีของการสอบผ่าน

-? การจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการสภาพจริงสู่การเชื่อมโยงต่อทฤษฎีที่ใช้ในการสอนขึ้นทะเบียน? เช่น? การติวนักศึกษาขณะฝึกในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมมน ๒ ?เนื่องจากรายวิชานี้ ลักษณะรายวิชาเป็นการรวมองค์ความรู้ของรายวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน ซึ่งสามารถทำให้นักศึกษาได้เห็นสภาพจริงและเกิดการเชื่อมโยงที่ชัดเจนขึ้นกว่าการเรียนทฤษฎี ที่นักศึกษามองว่าเป็นนามธรรม

- จัดให้มีการติวนักศึกษาโดยใช้แนวข้อสอบที่หลากหลายและส่งเสริมให้มีการวิเคราะห์ข้อสอบร่วมกัน

-? สร้างบรรยากาศในการติวรายกลุ่มย่อยที่เป็นกันเองเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการสะท้อนคิดมากขึ้น

- มีการแยกนักศึกษาในรายที่มีปัญหาในการสอบวัดความรู้ในรอบต่างๆเพื่อดำเนินการสอนหรือสอบซ่อมเสริมเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจในประเด็นที่ตนเองไม่เข้าใจให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

- ครูผู้สอนหรือผู้นิเทศนักศึกษาควรมีความรู้ที่เฉพาะทางและสามารถประเมินนักศึกษาภายในกลุ่มเพื่อจำแนก หรือ ติดตามนักศึกษาเกี่ยวกับประเด็นด้านวิชาการได้

๓.๓.๒. รายวิชาการพยาบาลจิตเวช โดยการสังเคราะห์ความรู้ร่วมกันโดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประเด็นปัจจัยที่มีผลต่อการสอบทะเบียนใบประกอบวิชาชีพของนักศึกษาดังนี้

-? การบูรณาการสภาพจริงขณะฝึกปฏิบัติสู่การวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีความสอดคล้องทฤษฎีในห้องเรียนเพื่อให้นักศึกษาได้มองเห็นภาพชัดยิ่งขึ้น

-? การติวนักศึกษาขณะฝึกภาคปฏิบัติโดยเชื่อโยงสถานการณ์ตามจริงสู่การวิเคราะห์ข้อสอบ

-? การใช้ข้อสอบที่หลากหลายในการติวนักศึกษา

-? การเชิญอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญจากต่างสถาบันมาติวนักศึกษา

-? มีการเตรียมความพร้อมนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการสอบขึ้นทะเบียน

-? มีการวิเคราะห์ข้อสอบโดยเทียบเคียงกับ แนวข้อสอบของสภาการพยาบาล

๓.๒ สรุปประเด็นองค์ความรู้และแนวทางการปฏิบัติ

๓.๒.๑. ประเด็นองค์ความรู้ที่ได้คือ? การบูรณาการสถานการณ์จริง เชื่อมโยงสู่การทำข้อสอบขึ้นทะเบียน

๓.๒.๒.แนวทางปฏิบัติ

- การเตรียมความพร้อมนักศึกษาในประเด็น การสร้างแรงจูงใจ หรือการสร้างเสริมพลังอำนาจให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการสอบขึ้นทะเบียน? โดยมีการชี้แจงให้นักศึกษาได้เห็นถึงข้อเสียขอเสียของการสอบไม่ผ่าน หรือผลดีของการสอบผ่าน โดยเชิญผู้ที่มีประสบการณ์ในการสอบสภาการพยาบาลในปีที่ผ่านมา มาร่วมบรรยาย? เป็นต้น

-? นักศึกษาได้รับการอบรมในโครงการ เตรียมความพร้อมสู่การสอบขึ้นทะเบียน

-? ในระหว่างที่มีการฝึกภาคปฏิบัติครูผู้นิทศควรจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการสภาพจริงสู่การเชื่อมโยงต่อทฤษฎีที่ใช้ในการสอนขึ้นทะเบียน โดยการยกสถานการณ์ที่จัดเจนหรือการนำตัวข้อสอบที่มีสภานการณ์คล้ายคลึงกับสถานการณ์จริงที่นักศึกษาพบเห็นในระหว่างการฝึก? เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเชื่อมโยงกระบวนการคิดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

-?? มีการใช้แนวข้อสอบที่หลากหลายในการติวนักศึกษา ที่สอดคล้องกับ Test Blue Print ของสภาการพยาบาล

-? จัดบรรยากาศในการติวรายกลุ่มย่อยที่เป็นกันเองเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการสะท้อนคิดมากขึ้น

-?? ครูผู้สอนหรือผู้นิเทศนักศึกษาควรมีความรู้ที่เฉพาะทางและสามารถประเมินนักศึกษาภายในกลุ่มเพื่อจำแนก หรือ ติดตามนักศึกษาเกี่ยวกับประเด็นด้านวิชาการ

๔.? การสังเคราะห์ความรู้? ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้? ทักษะจากผู้มีประสบการณ์ตรง? (tacit? knowledge)? จำนวน ๑๕? ความคิดเห็น? ได้แก่

-? ความเห็น by อ.บุญฤทธิ์ ? มีนาคม 12, 2012 at 7:00 amอาจารย์ต้อง ดูแลนักศึกษา ที่GPA น้อยเป็นพิเศษ เพราะจากการติดตามนักศึกษา ที่สอบไม่ผ่าน มักจะเป็นคนที่ GPA น้อยๆ และต้องกระตุ็นให้เด็ก เห็นความสำคัญทุก รายวิชา เพราะมีบางคนเลือกที่ขอผ่านเป็นบางวิชา วิชาในไม่แน่ใจ นํกศึกษา อาจไม่ทบทวนเรืองนั้น

-? ความเห็น by jojo ? มีนาคม 12, 2012 at 7:07 am เห็นด้วยกับอาจารย์บุญฤทธิ์ค่ะ และมีข้อเสนอแนะจากนักศึกษาว่าเมื่อสอบแล้วอยากให้อาจารย์อธิบายแนวคิดในข้อสอบเพื่อให้นักศึกษาได้มีความเข้าใจใน concept มากขึ้นด้วย

-? ความเห็น by khwankhao ? มีนาคม 12, 2012 at 7:35 am เห็นด้วยกับ P. Jojo ครับ การที่อธิบาย concept เป็นการทำให้ นักศึกษาเกิดกระบวนการคิดและวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และปรับมุมมองในเรื่องของกระบวนการคิดที่ทำให้นักศึกษาสนใจ ในการทบทวนเนื้อหามากขึ้น

-? ความเห็น by อ.ดุจเดือน ? มีนาคม 17, 2012 at 10:45 am เห็นด้วยกับ JOJO และ ขวัญข้าว และควรเพิ่มการให้นักศึกษาได้เขียน concept mapping ในสาระ/เนื้อหานั้นๆเพราะจะทำให้นักศึกษาได้เกิดการตกผลึกด้วยตนเอง ทั้งการวิเคราะห์และการคิดเชิงเหตุผล เชื่อมโยงความรู้ได้ เมื่อเจอสถานการณืหรือโจทย์อื่นๆ ก็สามารถหาคำตอบได้โดยใช้หลักการคิดเชื่อมโยง

-? ความเห็น by อ.สิตานันท์ ? มีนาคม 17, 2012 at 10:56 am ก่อนที่จะเริ่มการติว ควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจให้นักศึกษาเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการสอบขึ้นทะเบียน และจัดกิจกรรมต่างๆร่วมกันทั้งนักศึกษาและอาจารย์ และขอให้ทุกภาควิชามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ ก่อนที่จะมีการติว และหากเป็นไปได้ความจัดนอกสถานที่ค่ะ

-? ความเห็น by kookan ? มีนาคม 17, 2012 at 3:56 pm อยากให้มีการเตรียมความพร้อมเรื่องการสอบให้กับนักศึกษาหลังเรียนทฤษฎีจบช่วง summer ปี 3 เพื่อให้นักศึกษาได้ประเมินตนเองว่ามีความรู้ระดับใด และในช่วงฝึกภาคปฏิบัติ ปี 4 จะได้วางแผนการทบทวนความรู้ในแต่ละวิชาได้ ซึ่งคะแนนสอบสามารถแยกได้ว่านักศึกษาไม่ผ่านวัตถุประสงค์ใด อาจารย์ผู้นิเทศก็จะได้วางแผนการติวให้กับนักศึกษากลุ่มที่ตนเองนิเทศได้

-? ความเห็น by สุปราณี หมื่นยา ? มีนาคม 18, 2012 at 2:14 pm เห็นด้วยกับการ Empowerment นักศึกษาก่อนการสอบขึ้นทะเบียน แต่การที่จะทำให้นักศึกษาเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองนั้น ควรกระทำตั้งแต่ ปี 2,3 และ 4 ซึ่งเชื่อว่าถ้านักศึกษามีความเชื่อมั่นในความสามารถตั้งแต่แรกๆ จะเป็นส่วนช่วยให้นักศึกษาตื่นตัวและเป็นการกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการสอบผ่านได้มากค่ะ

-? ความเห็น by อาจารย์สืบตระกูล ? มีนาคม 19, 2012 at 9:22 am การจัดทบทวนโดยอาจารย์ภายใน ช่วยได้มากในการติวกลุ่มเล็กได้แชร์ความรู้ร่วมกันได้คำตอบชัดเจนมากขึ้น แนะนำนักศึกษาได้ตรงประเด็นกับนักศึกษาแต่ละคนการจับคู่ Buddy แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มเก่ง-อ่อน การติวซ้ำๆ ทำให้จำได้มากขึ้น อาจารย์สอนคนเดียว แนวคิดตรงกัน ทำให้มีเทคนิคการจำมากกว่าอาจารย์ภายนอก สามารถนัดนักศึกษานอกเวลาได้ เข้มงวด เอาใจใส่ เวลานักศึกษาไม่เข้าใจสามารถถามได้เลย

-? ความเห็น by อาจารย์ภราดร ? มีนาคม 19, 2012 at 9:24 am อาจารย์ควรเปิดประเด็นให้นักศึกษามีส่วนร่วม เชื่อมโยงเนื้อหาการสอน เจาะประเด็นและแม่นในเนื้อหา การทำข้อสอบเสมือน ช่วยให้นักศึกษาได้วิเคราะห์ รู้จุดอ่อนของตน ส่วนที่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติม ทำให้มีกระบวนการคิดมากขึ้น ได้ประเด็นในการคิดมากขึ้น และรู้แนวในการถามและการตอบมากขึ้น เป็นการฝึกทำของนักศึกษา

-? ความเห็น by อาจารย์สืบตระกูล ? มีนาคม 19, 2012 at 9:26 am การจัดทบทวนโดยอาจารย์ภายใน ช่วยได้มากในการติวกลุ่มเล็กได้แชร์ความรู้ร่วมกันได้คำตอบชัดเจนมากขึ้น แนะนำนักศึกษาได้ตรงประเด็นกับนักศึกษาแต่ละคนการจับคู่ Buddy แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มเก่ง-อ่อน การติวซ้ำๆ ทำให้จำได้มากขึ้น อาจารย์สอนคนเดียว แนวคิดตรงกัน ทำให้มีเทคนิคการจำมากกว่าอาจารย์ภายนอก สามารถนัดนักศึกษานอกเวลาได้ เข้มงวด เอาใจใส่ เวลานักศึกษาไม่เข้าใจสามารถถามได้เลย

-? ความเห็น by อ.อัญชรี ? มีนาคม 19, 2012 at 1:40 pm การเชิญบุคคลภายนอกร่วมสอนแช่นผู้เชี่ยวชาญในงานการให้คำปรึกษา คนไข้ ญาติ น่าจะลองจัดให้นักศึกษาได้รับประการณ์ตรงอย่างนี้บ้าง บางหัวข้อก็น่าจะดี

-? ความเห็น by prapaporn manorath ? มีนาคม 19, 2012 at 3:43 pm การจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ ตีความ สรุปลงสู่แนวคิดและหลักการในแต่ละประเด็นของการเรียนรู้ทั้งประเด็นหลักของรายวิชาและประเด็นย่อยในแต่ละหัวข้อย่อยเป็นวิธีการที่ผู้สอนควรได้ตระหนักและออกแบบการจัดการเรียนรู้ของตนให้เกิดผลดังกล่าว

-? ความเห็น by อ.กันตวิชญ์ ? มีนาคม 19, 2012 at 3:59 pm ในฐานะของอาจารย์น้องใหม่ ที่เพิ่งผ่านประสบการณ์ในเรื่องของการสอบใบประกอบวิชาชีพ และผ่านการจัดการเรียนการสอนมานะครับ มีความคิดเห็นว่าการทบทวนต้องสรุปเป็น Concept ที่สำคัญๆ และทำควบคู่กับตัวอย่างข้อสอบ เป็นหัวข้อในแต่ล่ะเนื้อหาคับ และการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักศึกษาก็สำคัญมากๆคับ เพราะการให้กำลังใจกับนักศึกษาจะทำให้มีกำลังใจขึ้นมากๆคับ เช่น นักศึกษาทำข้อสอบได้คะแนนมาก ก็น่าจะชมว่านักศึกษาเก่งบ้างก็ได้ แทนที่จะบอกว่า ข้อสอบง่ายอย่างเดียวคับ เล่าจากประสบการณ์ตนเองและเพื่อนๆในห้องรุ่น 25 เป็นเสียงสะท้อนมาครับ

-? ความเห็น by อ.อิทธิพล ? มีนาคม 19, 2012 at 10:38 pm การสร้าง Empowerment ให้กับนักศึกษาเป็นแนวทางที่ดีครับ เห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะจะทำให้ตัวนักศึกษามีความตั้งใจใร้ และมีเป้าหมายในการสอบให้ผ่าน ต่อไป

-? ความเห็น by bum ? มีนาคม 20, 2012 at 10:03 am การติวภายในถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากค่ะ และหากมีวิทยากรด้านนอกมาร่วมด้วยยิ่งทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์มากยิ่งขึ้นคะ อาจารย์ควรเสริมความมั่นใจให้นักศึกษาเพิ่มมากขึ้น และควรมีการทำ KM.ของแต่ละภาควิชามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทั้งวิทยาลัยคะ น่าจะทำให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้นคะ

๕.? การสรุปประเด็นสาระที่ได้เพื่อนำมาเป็นแนวปฏิบัติที่ดี? (ที่ได้จากการสังเคราะห์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจากผู้มีประสบการณ์ตรง)? ได้แก่? การบูรณาการสถานการณ์จริง เชื่อมโยงสู่การทำข้อสอบขึ้นทะเบียน โดยแนวปฏิบัติเป็น? ๒? ส่วนคือ? การจัดการเรียนการสอน? การสร้างแรงจูงใจและการเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียน? โดยมีแนวทางดังนี้

๑. ?การจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการสภาพจริงสู่การเชื่อมโยงต่อทฤษฎีที่ใช้ในการสอนขึ้นทะเบียน

-? ?การจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาสามารถเห็นสภาพจริงและเกิดการเชื่อมโยงที่ชัดเจนขึ้นกว่าการเรียนทฤษฎี ที่นักศึกษามองว่าเป็นนามธรรม? ได้คิดวิเคราะห์ ตีความ สรุปลงสู่แนวคิดและหลักการในแต่ละประเด็นของการเรียนรู้ทั้งประเด็นหลักของรายวิชาและประเด็นย่อยของรายวิชา

-?? ?มีการแยกนักศึกษาในรายที่มีปัญหาในการสอบวัดความรู้ในรอบต่างๆเพื่อดำเนินการสอนหรือสอบซ่อมเสริมเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจในประเด็นที่ตนเองไม่เข้าใจให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

- ?ครูผู้สอนหรือผู้นิเทศนักศึกษาควรมีความรู้ที่เฉพาะทางและสามารถประเมินนักศึกษาภายในกลุ่มเพื่อจำแนก หรือ ติดตามนักศึกษาเกี่ยวกับประเด็นด้านวิชาการได้

-? การบูรณาการสภาพจริงขณะฝึกปฏิบัติสู่การวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีความสอดคล้องทฤษฎีในห้องเรียนเพื่อให้นักศึกษาได้มองเห็นภาพชัดยิ่งขึ้น

-? การติวนักศึกษาขณะฝึกภาคปฏิบัติโดยเชื่อโยงสถานการณ์ตามจริงสู่การวิเคราะห์ข้อสอบ

๒.? การสร้างแรงจูงใจ หรือการสร้างเสริมพลังอำนาจให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการสอบขึ้นทะเบียน? เป็นระยะ ๆ? โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการหาแนวทางร่วมกัน ซึ่งความต้องการของนักศึกษา ควรจะมีการตกลงวางแผนร่วมกัน โดยมีตัวแทนของนักศึกษาร่วมประชุมด้วย ว่าเขาต้องการติวแบบไหน ต้องการสิ่งสนับสนุนอะไรจากวิทยาลัย เพราะต้นทุนของนักศึกษาแต่ละคนไม่เท่ากันค่ะ การเรียนรู้ที่เกิดจากความเต็มใจ

๓.? การจัดการติวเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบสภา

- ?จัดให้มีการติวนักศึกษาโดยใช้แนวข้อสอบที่หลากหลายและส่งเสริมให้มีการวิเคราะห์ข้อสอบร่วมกัน

-? สร้างบรรยากาศในการติวรายกลุ่มย่อยที่เป็นกันเองเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการสะท้อนคิดมากขึ้น

-? การใช้ข้อสอบที่หลากหลายในการติวนักศึกษา? และสรุป เขียน concept mapping ในสาระ/เนื้อหานั้นๆเพราะจะทำให้นักศึกษาได้เกิดการตกผลึกด้วยตนเอง ทั้งการวิเคราะห์และการคิดเชิงเหตุผล เชื่อมโยงความรู้ได้

-? การเชิญอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญจากต่างสถาบันมาติวนักศึกษา

-? มีการวิเคราะห์ข้อสอบโดยเทียบเคียงกับ แนวข้อสอบของสภาการพยาบาล

๖.? การดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ดำเนินการคือ

-? การวางแผนการจัดการเรียนการสอน???? ? ตามแนวทางที่กำหนดไว้ใน? มคอ.? ๓? และ? ๔? และดำเนินการเรียนการสอนโดยเน้นการจัดสถานการณ์จริง? และคำนึงถึงความแตกต่างของนักศึกษาแต่ละคน

-? จัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยเน้นการนิเทศโดยอาจารย์ที่มีความเชียวชาญในสาขาที่สอน? (ระบุไว้ในคู่มือการฝึกภาคปฏิบัติ)

-? ร่วมเสนอความคิดเห็นวางแผนการการจัดทำโครงการเตรียมความพร้อมก่อนสอบขึ้นทะเบียนร่วมกับกลุ่มงานวิชาการโดยบรรจุไว้ในการแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ? ๒๕๕๖

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.

ลงชื่อ? …………………………………………….

(นายอิทธิพล? แก้วฟอง)

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

ลงชื่อ? …………………………………………….

(นางสาววิไลวรรณ? บุญเรือง)

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

การสอนทบทวน วิชา กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาล

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by dao on วันพฤหัส 6 กันยายน 2012 at 1:08 pm

บันทึกรายงานการประชุม๒.๕๔BCPN K.M

แนวปฏิบัติที่ดีในการเตรียมนักศึกษาเพื่อเป็นพยาบาลวิชาชีพ

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by sasidhornunc on วันพฤหัส 6 กันยายน 2012 at 8:10 am

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

แนวปฏิบัติที่ดีในการเตรียมนักศึกษาเพื่อเป็นพยาบาลวิชาชีพ

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการค้นหาความรู้เพิ่มเติมในด้านการเตรียมนักศึกษาเพื่อเป็นพยาบาลที่ดี งานจัดการความรู้ได้สรุปออกมาเป็นแนวปฏิบัติดังนี้

ขั้นตอนการดำเนินงาน

๑.ปฐมนิเทศให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ ๑ ทราบเส้นทางการเรียนการสอนและการก้าวเข้าสู่วิชาชีพพยาบาลตั้งแต่เริ่มต้นเรียน จนสอบประมวลความรู้ความสามารถทางการพยาบาล และการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

๒.การจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎีใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการกระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ สรุปเป็นความรู้ของตนเอง เช่น การทำแผนผังความคิด และการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติควรให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (ใช้สรุปแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best Practiceการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในคลินิก สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต)

๓. ในระหว่างที่ฝึกปฏิบัติ อาจารย์ที่นิเทศภาคปฏิบัติควรสามารถชี้ประเด็นที่สำคัญๆของการฝึกปฏิบัติที่เชื่อมโยงกับทฤษฎี และมีการเน้นย้ำให้นักศึกษามีกระบวนการจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ เช่น ทำแผนผังความคิดแต่ละโรค หรือการบันทึกย่อสิ่งที่สำคัญ สำหรับการฝึกในชั้นปี ๔ ควรมีการจัดให้มีการ Conference โดยเน้นการดูตาม Test Blue Print ของสภาการพยาบาลเพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ครบถ้วน

๔. สร้างขวัญและกำลังใจให้นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพในแต่ละชั้นปี และบอกถึงเส้นทางความก้าวหน้าของการประกอบวิชาชีพพยาบาลโดยให้รุ่นพี่หรือศิษย์เก่ามีส่วนร่วม

๕.กระตุ้นให้นักศึกษามีความตั้งใจเรียนตั้งแต่ต้น คือ ชั้นปีที่ ๑ เพราะทุกรายวิชาสามารถนำมาเป็นพื้นฐานสำหรับวิชาในชั้นปีสูงๆ และให้แจกTest Blue Print ของสภาการพยาบาลให้กับนักศึกษา

๖. ในตอนปลายของชั้นปีที่ ๓ ควรมีการจัดสอบเพื่อประเมินความรู้ความสามารถทางการพยาบาลของนักศึกษา เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดกลุ่มนักศึกษาเพื่อเตรียมตัวในชั้นปีที่ ๔ การแบ่งกลุ่มเพื่อเตรียมทบทวนความรู้ควรแบ่งตามความรู้ที่มีอยู่ ทั้งนี้ฝ่ายวิชาการควรมีการอธิบายให้กับนักศึกษาทราบวัตถุประสงค์ของการแบ่งกลุ่ม ในขั้นนี้การตรวจข้อสอบแบ่งตามหัวข้อเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนักศึกษาและอาจารย์ทราบว่าเด็กแต่ละคนมีจุดบกพร่องด้านใด

๗. ในชั้นปีที่ ๔ การทบทวนความรู้ควรเริ่มจากให้นักศึกษามีการทบทวน Concept สำคัญก่อน โดยนักศึกษาสามารถทบทวนได้โดยการชี้ประเด็นโดยผู้สอนผ่านการประชุมปรึกษาทางการพยาบาล

๘. ในชั้นปีที่ ๔ นักศึกษาจะมีความเครียดมากขึ้นตามลำดับโดยเฉพาะช่วงที่ใกล้สอบ วิทยาลัยควรจัดกิจกรรมในการเสริมสร้างพลังใจให้กับนักศึกษาเป็นระยะพร้อมกับให้นักศึกฯวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของตนเองรวมทั้งหาแนวทางในการกำจัดจุดอ่อน เช่น การจัดให้ออกนอกสถานที่ การจัดกิจกรรมเสริมสร้างพลังใจ

๙. ในช่วงสุดท้ายการทบทวนความรู้ที่จัดให้ควรมีการแนะแนวเกี่ยวกับเทคนิควิธีการทำข้อสอบแต่ละรายวิชา เนื่องจากพบว่าศิษย์เก่าบอกว่าปัญหาที่สำคัญคือไม่รู้ว่าควรจะจัดการกับการทำข้อสอบแต่ละรายวิชาอย่างไร

๑๐.ในการทบทวนความรู้ควรให้นักศึกษามีส่วนร่วมโดยสอบถามความคิดเห็นถึงความต้องการการช่วยเหลือต่างๆ

๑๑. ผู้บริหารทุกระดับโดยเฉพาะระดับสูงของวิทยาลัยควรมีบทบาทในการสร้างขวัญและกำลังใจแก่นักศึกษา

๑๒. ใช้มาตรการหรือแนวทางการช่วยเหลือนักศึกษาที่มีปัญหาเรื่องการเรียนอย่างเคร่งครัด หากนักศึกษามีผลการเรียนในรายวิชาไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ควรดำเนินการตามมาตรการเพื่อเสริมสร้างความรู้ของนักศึกษาอย่างเคร่งครัด จนกว่าผลที่ออกมาจะเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

ซึ่งการจัดทำแนวปฏิบัติดังกล่าวต้องการการยืนยันถึงประสิทธิภาพของการนำแนวปฏิบัติไปใช้และต้องการเพิ่มเติมรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนหากภาควิชาใดนำไปปฏิบัติแล้วและมีข้อเสนอแนะ ช่วยเสนอให้ทราบ เพื่อเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์

ศศิธร ชิดนายี

หัวหน้างานวิจัย การจัดการความรู้และวิเทศสัมพันธ์

แนวทางการการทำวิจัยด้านการส่งเสริมสุขภาพทุกช่วงวัย

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by sasidhornunc on วันพฤหัส 6 กันยายน 2012 at 7:56 am

แนวทางการการทำวิจัยด้านการส่งเสริมสุขภาพทุกช่วงวัย

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

จากการดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการทำวิจัยด้านการส่งเสริมสุขภาพสามารถสรุปออกมาเป็นแนวปฏิบัติของวิทยาลัยได้ดังนี้

๑.ควรดำเนินการวิจัยให้ครบทุกกลุ่มได้แก่

๑) ในสถานพยาบาล? หมายถึง? โรงพยาบาล

และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล

๒) กลุ่มเป้าหมาย? คือ ผู้ป่วย? ญาติ? และ? care giver

๓) การสร้างเสริมสุขภาพควรคำนึงถึง? บริบทต่าง ๆ

๒.?? บูรณาการกับการเรียนการสอน? การพัฒนาบุคลากร? เช่น? การตรวจสุขภาพ

๓. การสร้างเสริมสุขภาพสามารถให้ทั้งความรู้? การปรับทศนคติ?? และการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ

๔. รายวิชาวิจัยควรให้นักศึกษาทำวิจัยเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ

จากการสรุปเป็นแนวทางเพื่อปฏิบัตินี้หากอาจารย์แต่ละสาขาวิชานำไปปฏิบัติแล้วค้นพบสิ่งที่เห็นว่าควรปรับปรุงหรือพัฒนาแนวทาง ขอให้แสดงความคิดเห็นร่วมด้วย หากมีเอกสารอ้างอิงด้วยจะทำให้สามารถพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ศศิธร ชิดนายี

หัวหน้างานวิจัย การจัดการความรู้และวิเทศสัมพันธ์

การจัดการองค์ความรู้เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติปีการศึกษา ๒๕๕๕

การเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM )

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ

ณ ห้องประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ครั้งที่ ๒ วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๕

ผู้เข้าร่วมประชุม
๑. นางสาวสิตานันท์ ????? ศรีใจวงศ์ ????????????????? ประธาน
๒. นางสาววรรณวดี?????? เนียมสกุล
๓. นางสาวศศมน ???????? ศรีสุทธิศักดิ์
๔. นางภิญญารัช ???????? บรรเจิดพงศ์ชัย
๕. นางสาวอรทัย ???????? แซ่ตั้ง

๖. นางสาวดาราวรรณ ?? ดีพร้อม

๗. นางสาวพัชชา????????? สุวรรณรอด

๘. นางสาวชลธิชา???????? จับคล้าย
๙. นางสาวจิราพร ??????? วิศิษฐ์โกศล ??????????????? เลขานุการ

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.

วาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ

๑.?? คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยฯ ได้แจ้งนโยบายเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ซึ่งอ.ศศิธรได้แจกเอกสารให้กับอาจารย์ทุกคนได้รับทราบแล้ว

๒.????? ผลการจัดการความรู้ในภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์เรื่อง มีประเด็นดังนี้

  1. ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประชุมกลุ่มย่อยระหว่างอาจารย์ผู้ร่วมสอนและร่วมนิเทศเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง
  2. อาจารย์ผู้นิเทศควรดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด และหากติดภารกิจอื่นๆ ควรติดตามผลการเรียนรู้ของนักศึกษาเพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียนและจะได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  3. ในการฝึกภาคปฏิบัติ กลุ่มงานวิชาการได้จัดกลุ่มนักศึกษาตาม GPA โดยคละนักศึกษาที่เรียนดี ปานกลาง และอ่อน แต่อาจารย์นิเทศควรให้โอกาสนักศึกษาที่เรียนอ่อนในการทำกิจกรรมหรือร่วมแสดงความคิดเห็นก่อน เพื่อเป็นการกระตุ้นความคิดของผู้เรียน
  4. ควรตรวจชิ้นงานและส่งกลับให้กับนักศึกษาตรงเวลา และจะต้องสะท้อนกลับให้กับนักศึกษาเพื่อพัฒนาการฝึกปฏิบัติงานต่อไป
  5. ควรกระตุ้นให้นักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำได้แสดงความคิดเห็น
  6. ควรพิจารณาถึงพัฒนาการของผู้เรียนเป็นหลักในการนิเทศ และหากนักศึกษารายใดที่มีปัญหาควรมีการส่งต่อให้กับอาจารย์นิเทศแผนกต่อไป
  7. ควรมีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติ ได้แก่
  • มอบหมายให้ศึกษา VCD และคู่มือในเรื่องการตรวจรก ทำคลอดกับหุ่นไฟฟ้า การตรวจร่างกายทารก และการอาบน้ำทารกแรกเกิด
  • ควรมีการจัดให้สังเกตการณ์คลอดก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติจริง
  • ควรมีการ check out lab การทำคลอด การตรวจรก การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด
  1. ควรติดตามประเมินผลการฝึกปฏิบัติทุกสัปดาห์และวางแผนการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับนักศึกษา
  2. ควรให้นักศึกษาบันทึก reflextive ทุกวัน เพื่อพัฒนาและสะท้อนถึงกระบวนการคิดของนักศึกษา
  3. ควรสอดแทรกการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์แก่นักศึกษาทุกแผนกเนื่องจากเป็นอัตลักษณ์ของบัณฑิตของ สบช.
  4. ควรจัดการเรียนการสอนเน้นบูรณาการกับการบริการวิชาการ การวิจัยและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต

วาระที่ ๒ ?การสังเคราะห์ความรู้

จากความคิดเห็นใน web blog พบว่ามีจำนวน ๗ ความคิดเห็นดังนี้

๑.????????????????? ความเห็นของอ.อรทัย แซ่ตั้ง ? มีนาคม 13, 2012 at 9:01 am อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่าจาก การพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์วรรณพร ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วพบ.พุทธชินราช ซึ่งที่ผ่านมานศ.วพบ. พุทธชินราชสอบเครือข่ายภาคเหนือรายวิชาผดุงครรภ์และมารดาทารกอยู่ระดับต้น ของเครือข่าย จึงได้พูดคุยสอบถาม พบว่า ที่วพบ.พูทธชินราชนั้นมีการเตรียมนักศึกษาด้านความรู้ไปพร้อมๆกับการฝึก ปฏิบัติ ซึ่งในการวางแผนสำหรับการฝึกภาคปฏิบัติของนศ. จะมีการจัดให้กลุ่มนศ. ร่วมกับการจัดอาจารย์นิเทศในการติดตามประเมินผลการฝึกของกลุ่มนศ. โดยหนึ่งกล่มมีอาจารย์หนึ่งคนที่ตามนศ.ฝึกทั้งแผนกห้องคลอด ฝากครรภ์และหลังคลอด ซึ่งการจัดการฝึกแบบนี้ในช่วงแรกก็มีปัญหาและอุปสรรค์อยู่บ้างแต่พบว่าได้ผล ที่ดีต่อนศ. ซี่งมีส่วนทำให้การสอบเครือข่ายภาคเหนือได้ผลดี ซึ่งเป็นอีกแนวหนึ่งที่อาจนำมาพิจารณาให้เหมาะสมกับบริบทของวพบ. อุตรดิตถ์ได้ เพิ่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติต่อไป

๒.????????????????? ความเห็นของอาจารย์ศศมน ? มีนาคม 16, 2012 at 5:17 pm อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่าที่ อ.อรทัย Post แนวคิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอ.วรรณพร ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ที่ทางภาควิชาต้องนำมาพูดคุย แลกเปลี่ยน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติตอไป

แต่อาจารย์และอ.วรรณวดี เคยพูดคุยกันว่า การที่อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญใน field เช่น ANC LR หรือ PP อาจารย์มีความเป็น specialist สูง จะสามารถถ่ายทอด ให้ความรู้ให้แก่นศ. ได้มาก เนื่องจากอาจารย์เป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ในด้านนั้น ๆ ค่อนข้างสูล อาจทำให้นศ. ได้เรียนรู้เนื้อหาใน field นั้น ๆ ได้อย่างลึกซึ้ง มีความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้ดี เป็นประเด็นระหว่าง special area training VS non-specific training

๓.????????????????? ความเห็นของอาจารย์สิตานันท์ ? มีนาคม 17, 2012 at 10:50 am อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่าจากการที่เคยได้เข้าร่วมการประชุมการจัดการองค์ความรู้ของเครือข่ายภาค เหนือ ทางวิทยาลัยพยาบาลพะเยา จะแบ่งการฝึกตามพัฒนาการของผู้เรียน โดยช่วงภาคการศึกษาที่ ๑ ของปี ๓ นักศึกษาจะเรียนทฤษฎีเกี่ยวกับการพยาบาลในแผนกฝากครรภ์อย่างเดียว และจัดการฝึกแบบ study day และฝึกภาคปฏิบัติแผนก ANC ก่อน และภาคการศึกษาที่ ๒ จะเรียนภาคทฤษฎีของแผนกห้องคลอดและหลังคลอด ซึ่งอาจารย์เชื่อว่าความรู้ที่แผนกฝากครรภ์เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้แผนก ต่างๆ

๔.????? ความเห็นของอาจารย์อ.วิมล ? มีนาคม 18, 2012 at 9:46 pm อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่า

เห็น ด้วยกับอ.อรทัย? และสิ่งที่จะช่วยเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้จากภาคปฏิบัติหรือจากประสบการณ์ ตรงได้ดีขึ้น ครูหรือพยาบาลพี่เลี้ยงที่สอนข้างเตียงมีบทบาทสำคัญยิ่งที่จะช่วยเชื่อมโยง ความรู้จากทฤษฎีในตำรากับสิ่งที่พบในผู้ป่วย

๕.????????????????? ความเห็นของอาจารย์อ.จิราพร ? มีนาคม 19, 2012 at 9:49 am อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่าเห็น ด้วยกับความคิดเห็นของอาจารย์ทุกท่านนะคะ ที่มีแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่หลากหลายแนวทาง แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ การมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ประโยชน์มากที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นดิฉันคิดว่าการพัฒนาการเรียนการสอนภาคปฏิบัติควรจะพัฒนา ควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี เพื่อให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติได้ และการพัฒนาด้านการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือการฝึกให้ นักศึกษาคิดวิเคราะห์กรณีศึกษาให้มากขึ้น และภาคทฤษฎีนักศึกษาสามารถฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ได้จากการทำแบบฝึกหัด และทำข้อสอบค่ะ

๖.????????????????? ความเห็นของอาจารย์อ.สุธีรา ? มีนาคม 19, 2012 at 1:50 pm อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่าไม่ว่าจะเป็นการจัดกลุ่มนศ. ร่วมกับการจัดอาจารย์นิเทศในการติดตามประเมินผลการฝึกของกลุ่มนศ. โดยหนึ่งกล่มมีอาจารย์หนึ่งคนที่ตามนศ.ฝึกทั้งแผนกห้องคลอด ฝากครรภ์และหลังคลอด ซึ่งพบว่าได้ผลที่ดีต่อนศ.?หรือการใช้อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญใน field เช่น ANC LR หรือ PP ซึ่งอาจารย์มีความเป็น specialist สูง จะสามารถถ่ายทอด ให้ความรู้ให้แก่นศ. ได้มากนั้นขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้สอน และการบริหารจัดการเนื่องจากการนิเทศนักศึกษาอาจารย์จำเป็นต้องบันทึกการ เรียนรู้และพฤติกรรมของนักศึกษาแต่ละคนอยู่แล้ว เมื่อนักศึกษาย้าย ward อาจารย์นิเทศward ต่อไปก็สามารถทราบความก้าวหน้าของนักศึกษาได้เช่นกัน

๗.????????????????? ความเห็นของอาจารย์อ.อิทธิพล ? มีนาคม 19, 2012 at 10:42 pm อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่า สำหรับการที่อาจารย์มีความเชี่ยวชาญ แล้วได้มีการติวหรือถ่ายทอดความรู้ให้กับ นศ. โดยเฉพาะขณะฝึกจะทำให้นักศึกษาเห็นภาพชัดขึ้นและจะจำเนื้อหาได้ดี

ระเบียบวาระที่ ๓ สรุปประเด็นความรู้ที่ได้

จากผลของการสังเคราะห์ความคิดเห็นจากการประชุมและจากความคิดเห็นใน web blog ??????ทำให้สรุปแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ดังนี้

๑.??????? ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประชุมกลุ่มย่อยระหว่างอาจารย์ผู้ร่วมสอนและร่วมนิเทศเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง (ทุกรายวิชา)

๒.??????? อาจารย์ผู้นิเทศควรดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด และหากติดภารกิจอื่นๆ ควรติดตามผลการเรียนรู้ของนักศึกษาเพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียนและจะได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง (ทุกรายวิชา)

๓.??????? ในการฝึกภาคปฏิบัติ กลุ่มงานวิชาการได้จัดกลุ่มนักศึกษาตาม GPA โดยคละนักศึกษาที่เรียนดี ปานกลาง และอ่อน แต่อาจารย์นิเทศควรให้โอกาสนักศึกษาที่เรียนอ่อนในการทำกิจกรรมหรือร่วมแสดงความคิดเห็นก่อน เพื่อเป็นการกระตุ้นความคิดของผู้เรียน ( ป. มารดา ๑ และ ๒)

๔.??????? ควรตรวจชิ้นงานและส่งกลับให้กับนักศึกษาตรงเวลา และจะต้องสะท้อนกลับให้กับนักศึกษาเพื่อพัฒนาการฝึกปฏิบัติงานต่อไป (ทุกรายวิชา)

๕.??????? ควรกระตุ้นให้นักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำได้แสดงความคิดเห็น (ทุกรายวิชา)

๖.??????? ควรพิจารณาถึงพัฒนาการของผู้เรียนเป็นหลักในการนิเทศ และหากนักศึกษารายใดที่มีปัญหาควรมีการส่งต่อให้กับอาจารย์นิเทศแผนกต่อไป (ทุกรายวิชา)

๗.??????? ควรมีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติ ได้แก่

  • มอบหมายให้ศึกษา VCD และคู่มือในเรื่องการตรวจรก ทำคลอดกับหุ่นไฟฟ้า การตรวจร่างกายทารก และการอาบน้ำทารกแรกเกิด ( ป. มารดา ๑)
  • ควรมีการจัดให้สังเกตการณ์คลอดก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติจริง (มารดา ๑)
  • ควรมีการ check out lab การทำคลอด การตรวจรก การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ( ป. มารดา ๑)

๘.??????? ควรติดตามประเมินผลการฝึกปฏิบัติทุกสัปดาห์และวางแผนการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับนักศึกษา (ทุกรายวิชา)

๙.??????? ควรให้นักศึกษาบันทึก reflextive ทุกวัน เพื่อพัฒนาและสะท้อนถึงกระบวนการคิดของนักศึกษา ( ป. มารดา ๑ และ ๒)

๑๐.??? ควรสอดแทรกการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์แก่นักศึกษาทุกแผนกเนื่องจากเป็นอัตลักษณ์ของบัณฑิตของ สบช.(ทุกรายวิชา)

๑๑.??? ควรจัดการเรียนการสอนเน้นบูรณาการกับการบริการวิชาการ การวิจัยและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต (มารดา ๑ , ป. มารดา ๑)

๑๒.??? อาจารย์ควรบันทึกการ เรียนรู้และพฤติกรรมของนักศึกษาแต่ละคนในขณะฝึกและส่งต่อให้กับอาจารย์นิเทศคนต่อไป (ทุกรายวิชา)

๑๓.??? หากเป็นไปได้ควรจัดให้อาจารย์หนึ่งคนตามนิเทศนศ.ทั้งแผนกห้องคลอด ฝากครรภ์และหลังคลอด ( ป. มารดา ๑ และ ๒)

ปิดประชุมเวลา? ๑๖.๓๐ น.

สิตานันท์ ศรีใจวงศ์

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

หน้าก่อนหน้าหน้าต่อไป
Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro