การจัดการองค์ความรู้เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติปีการศึกษา ๒๕๕๕
การเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM )
ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ
ณ ห้องประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
ครั้งที่ ๒ วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๕
ผู้เข้าร่วมประชุม
๑. นางสาวสิตานันท์ ????? ศรีใจวงศ์ ????????????????? ประธาน
๒. นางสาววรรณวดี?????? เนียมสกุล
๓. นางสาวศศมน ???????? ศรีสุทธิศักดิ์
๔. นางภิญญารัช ???????? บรรเจิดพงศ์ชัย
๕. นางสาวอรทัย ???????? แซ่ตั้ง
๖. นางสาวดาราวรรณ ?? ดีพร้อม
๗. นางสาวพัชชา????????? สุวรรณรอด
๘. นางสาวชลธิชา???????? จับคล้าย
๙. นางสาวจิราพร ??????? วิศิษฐ์โกศล ??????????????? เลขานุการ
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.
วาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ
๑.?? คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยฯ ได้แจ้งนโยบายเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ซึ่งอ.ศศิธรได้แจกเอกสารให้กับอาจารย์ทุกคนได้รับทราบแล้ว
๒.????? ผลการจัดการความรู้ในภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์เรื่อง มีประเด็นดังนี้
- ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประชุมกลุ่มย่อยระหว่างอาจารย์ผู้ร่วมสอนและร่วมนิเทศเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง
- อาจารย์ผู้นิเทศควรดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด และหากติดภารกิจอื่นๆ ควรติดตามผลการเรียนรู้ของนักศึกษาเพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียนและจะได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- ในการฝึกภาคปฏิบัติ กลุ่มงานวิชาการได้จัดกลุ่มนักศึกษาตาม GPA โดยคละนักศึกษาที่เรียนดี ปานกลาง และอ่อน แต่อาจารย์นิเทศควรให้โอกาสนักศึกษาที่เรียนอ่อนในการทำกิจกรรมหรือร่วมแสดงความคิดเห็นก่อน เพื่อเป็นการกระตุ้นความคิดของผู้เรียน
- ควรตรวจชิ้นงานและส่งกลับให้กับนักศึกษาตรงเวลา และจะต้องสะท้อนกลับให้กับนักศึกษาเพื่อพัฒนาการฝึกปฏิบัติงานต่อไป
- ควรกระตุ้นให้นักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำได้แสดงความคิดเห็น
- ควรพิจารณาถึงพัฒนาการของผู้เรียนเป็นหลักในการนิเทศ และหากนักศึกษารายใดที่มีปัญหาควรมีการส่งต่อให้กับอาจารย์นิเทศแผนกต่อไป
- ควรมีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติ ได้แก่
- มอบหมายให้ศึกษา VCD และคู่มือในเรื่องการตรวจรก ทำคลอดกับหุ่นไฟฟ้า การตรวจร่างกายทารก และการอาบน้ำทารกแรกเกิด
- ควรมีการจัดให้สังเกตการณ์คลอดก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติจริง
- ควรมีการ check out lab การทำคลอด การตรวจรก การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด
- ควรติดตามประเมินผลการฝึกปฏิบัติทุกสัปดาห์และวางแผนการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับนักศึกษา
- ควรให้นักศึกษาบันทึก reflextive ทุกวัน เพื่อพัฒนาและสะท้อนถึงกระบวนการคิดของนักศึกษา
- ควรสอดแทรกการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์แก่นักศึกษาทุกแผนกเนื่องจากเป็นอัตลักษณ์ของบัณฑิตของ สบช.
- ควรจัดการเรียนการสอนเน้นบูรณาการกับการบริการวิชาการ การวิจัยและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต
วาระที่ ๒ ?การสังเคราะห์ความรู้
จากความคิดเห็นใน web blog พบว่ามีจำนวน ๗ ความคิดเห็นดังนี้
๑.????????????????? ความเห็นของอ.อรทัย แซ่ตั้ง ? มีนาคม 13, 2012 at 9:01 am อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่าจาก การพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์วรรณพร ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วพบ.พุทธชินราช ซึ่งที่ผ่านมานศ.วพบ. พุทธชินราชสอบเครือข่ายภาคเหนือรายวิชาผดุงครรภ์และมารดาทารกอยู่ระดับต้น ของเครือข่าย จึงได้พูดคุยสอบถาม พบว่า ที่วพบ.พูทธชินราชนั้นมีการเตรียมนักศึกษาด้านความรู้ไปพร้อมๆกับการฝึก ปฏิบัติ ซึ่งในการวางแผนสำหรับการฝึกภาคปฏิบัติของนศ. จะมีการจัดให้กลุ่มนศ. ร่วมกับการจัดอาจารย์นิเทศในการติดตามประเมินผลการฝึกของกลุ่มนศ. โดยหนึ่งกล่มมีอาจารย์หนึ่งคนที่ตามนศ.ฝึกทั้งแผนกห้องคลอด ฝากครรภ์และหลังคลอด ซึ่งการจัดการฝึกแบบนี้ในช่วงแรกก็มีปัญหาและอุปสรรค์อยู่บ้างแต่พบว่าได้ผล ที่ดีต่อนศ. ซี่งมีส่วนทำให้การสอบเครือข่ายภาคเหนือได้ผลดี ซึ่งเป็นอีกแนวหนึ่งที่อาจนำมาพิจารณาให้เหมาะสมกับบริบทของวพบ. อุตรดิตถ์ได้ เพิ่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติต่อไป
๒.????????????????? ความเห็นของอาจารย์ศศมน ? มีนาคม 16, 2012 at 5:17 pm อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่าที่ อ.อรทัย Post แนวคิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอ.วรรณพร ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ที่ทางภาควิชาต้องนำมาพูดคุย แลกเปลี่ยน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติตอไป
แต่อาจารย์และอ.วรรณวดี เคยพูดคุยกันว่า การที่อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญใน field เช่น ANC LR หรือ PP อาจารย์มีความเป็น specialist สูง จะสามารถถ่ายทอด ให้ความรู้ให้แก่นศ. ได้มาก เนื่องจากอาจารย์เป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ในด้านนั้น ๆ ค่อนข้างสูล อาจทำให้นศ. ได้เรียนรู้เนื้อหาใน field นั้น ๆ ได้อย่างลึกซึ้ง มีความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้ดี เป็นประเด็นระหว่าง special area training VS non-specific training
๓.????????????????? ความเห็นของอาจารย์สิตานันท์ ? มีนาคม 17, 2012 at 10:50 am อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่าจากการที่เคยได้เข้าร่วมการประชุมการจัดการองค์ความรู้ของเครือข่ายภาค เหนือ ทางวิทยาลัยพยาบาลพะเยา จะแบ่งการฝึกตามพัฒนาการของผู้เรียน โดยช่วงภาคการศึกษาที่ ๑ ของปี ๓ นักศึกษาจะเรียนทฤษฎีเกี่ยวกับการพยาบาลในแผนกฝากครรภ์อย่างเดียว และจัดการฝึกแบบ study day และฝึกภาคปฏิบัติแผนก ANC ก่อน และภาคการศึกษาที่ ๒ จะเรียนภาคทฤษฎีของแผนกห้องคลอดและหลังคลอด ซึ่งอาจารย์เชื่อว่าความรู้ที่แผนกฝากครรภ์เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้แผนก ต่างๆ
๔.????? ความเห็นของอาจารย์อ.วิมล ? มีนาคม 18, 2012 at 9:46 pm อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่า
เห็น ด้วยกับอ.อรทัย? และสิ่งที่จะช่วยเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้จากภาคปฏิบัติหรือจากประสบการณ์ ตรงได้ดีขึ้น ครูหรือพยาบาลพี่เลี้ยงที่สอนข้างเตียงมีบทบาทสำคัญยิ่งที่จะช่วยเชื่อมโยง ความรู้จากทฤษฎีในตำรากับสิ่งที่พบในผู้ป่วย
๕.????????????????? ความเห็นของอาจารย์อ.จิราพร ? มีนาคม 19, 2012 at 9:49 am อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่าเห็น ด้วยกับความคิดเห็นของอาจารย์ทุกท่านนะคะ ที่มีแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่หลากหลายแนวทาง แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ การมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ประโยชน์มากที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นดิฉันคิดว่าการพัฒนาการเรียนการสอนภาคปฏิบัติควรจะพัฒนา ควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี เพื่อให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติได้ และการพัฒนาด้านการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือการฝึกให้ นักศึกษาคิดวิเคราะห์กรณีศึกษาให้มากขึ้น และภาคทฤษฎีนักศึกษาสามารถฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ได้จากการทำแบบฝึกหัด และทำข้อสอบค่ะ
๖.????????????????? ความเห็นของอาจารย์อ.สุธีรา ? มีนาคม 19, 2012 at 1:50 pm อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่าไม่ว่าจะเป็นการจัดกลุ่มนศ. ร่วมกับการจัดอาจารย์นิเทศในการติดตามประเมินผลการฝึกของกลุ่มนศ. โดยหนึ่งกล่มมีอาจารย์หนึ่งคนที่ตามนศ.ฝึกทั้งแผนกห้องคลอด ฝากครรภ์และหลังคลอด ซึ่งพบว่าได้ผลที่ดีต่อนศ.?หรือการใช้อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญใน field เช่น ANC LR หรือ PP ซึ่งอาจารย์มีความเป็น specialist สูง จะสามารถถ่ายทอด ให้ความรู้ให้แก่นศ. ได้มากนั้นขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้สอน และการบริหารจัดการเนื่องจากการนิเทศนักศึกษาอาจารย์จำเป็นต้องบันทึกการ เรียนรู้และพฤติกรรมของนักศึกษาแต่ละคนอยู่แล้ว เมื่อนักศึกษาย้าย ward อาจารย์นิเทศward ต่อไปก็สามารถทราบความก้าวหน้าของนักศึกษาได้เช่นกัน
๗.????????????????? ความเห็นของอาจารย์อ.อิทธิพล ? มีนาคม 19, 2012 at 10:42 pm อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่า สำหรับการที่อาจารย์มีความเชี่ยวชาญ แล้วได้มีการติวหรือถ่ายทอดความรู้ให้กับ นศ. โดยเฉพาะขณะฝึกจะทำให้นักศึกษาเห็นภาพชัดขึ้นและจะจำเนื้อหาได้ดี
ระเบียบวาระที่ ๓ สรุปประเด็นความรู้ที่ได้
จากผลของการสังเคราะห์ความคิดเห็นจากการประชุมและจากความคิดเห็นใน web blog ??????ทำให้สรุปแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ดังนี้
๑.??????? ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประชุมกลุ่มย่อยระหว่างอาจารย์ผู้ร่วมสอนและร่วมนิเทศเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง (ทุกรายวิชา)
๒.??????? อาจารย์ผู้นิเทศควรดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด และหากติดภารกิจอื่นๆ ควรติดตามผลการเรียนรู้ของนักศึกษาเพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียนและจะได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง (ทุกรายวิชา)
๓.??????? ในการฝึกภาคปฏิบัติ กลุ่มงานวิชาการได้จัดกลุ่มนักศึกษาตาม GPA โดยคละนักศึกษาที่เรียนดี ปานกลาง และอ่อน แต่อาจารย์นิเทศควรให้โอกาสนักศึกษาที่เรียนอ่อนในการทำกิจกรรมหรือร่วมแสดงความคิดเห็นก่อน เพื่อเป็นการกระตุ้นความคิดของผู้เรียน ( ป. มารดา ๑ และ ๒)
๔.??????? ควรตรวจชิ้นงานและส่งกลับให้กับนักศึกษาตรงเวลา และจะต้องสะท้อนกลับให้กับนักศึกษาเพื่อพัฒนาการฝึกปฏิบัติงานต่อไป (ทุกรายวิชา)
๕.??????? ควรกระตุ้นให้นักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำได้แสดงความคิดเห็น (ทุกรายวิชา)
๖.??????? ควรพิจารณาถึงพัฒนาการของผู้เรียนเป็นหลักในการนิเทศ และหากนักศึกษารายใดที่มีปัญหาควรมีการส่งต่อให้กับอาจารย์นิเทศแผนกต่อไป (ทุกรายวิชา)
๗.??????? ควรมีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติ ได้แก่
- มอบหมายให้ศึกษา VCD และคู่มือในเรื่องการตรวจรก ทำคลอดกับหุ่นไฟฟ้า การตรวจร่างกายทารก และการอาบน้ำทารกแรกเกิด ( ป. มารดา ๑)
- ควรมีการจัดให้สังเกตการณ์คลอดก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติจริง (มารดา ๑)
- ควรมีการ check out lab การทำคลอด การตรวจรก การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ( ป. มารดา ๑)
๘.??????? ควรติดตามประเมินผลการฝึกปฏิบัติทุกสัปดาห์และวางแผนการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับนักศึกษา (ทุกรายวิชา)
๙.??????? ควรให้นักศึกษาบันทึก reflextive ทุกวัน เพื่อพัฒนาและสะท้อนถึงกระบวนการคิดของนักศึกษา ( ป. มารดา ๑ และ ๒)
๑๐.??? ควรสอดแทรกการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์แก่นักศึกษาทุกแผนกเนื่องจากเป็นอัตลักษณ์ของบัณฑิตของ สบช.(ทุกรายวิชา)
๑๑.??? ควรจัดการเรียนการสอนเน้นบูรณาการกับการบริการวิชาการ การวิจัยและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต (มารดา ๑ , ป. มารดา ๑)
๑๒.??? อาจารย์ควรบันทึกการ เรียนรู้และพฤติกรรมของนักศึกษาแต่ละคนในขณะฝึกและส่งต่อให้กับอาจารย์นิเทศคนต่อไป (ทุกรายวิชา)
๑๓.??? หากเป็นไปได้ควรจัดให้อาจารย์หนึ่งคนตามนิเทศนศ.ทั้งแผนกห้องคลอด ฝากครรภ์และหลังคลอด ( ป. มารดา ๑ และ ๒)
ปิดประชุมเวลา? ๑๖.๓๐ น.
สิตานันท์ ศรีใจวงศ์
หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
การจัดการความรู้ของภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕ เรื่องการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ได้พัฒนามาจากความคิดเห็นของอาจารย์หลายๆ ท่าน และพบว่าการฝึกภาคปฏิบัติตอ้งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และควรเน้นการมีส่วนร่วมขององค์กรภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ควรจัดประชุมเสวนาอาจารย์พี่เลี้ยงและบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
จากประสบการณ์การ การเชื่อมโยงกรณีศึกษาขณะที่นักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติงานนั้นเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิด และเห็นความสำคัญของการดูแลผู้ป่วย จึงทำให้เมื่อเวลานักศึกเจอข้อสอบที่มีสถานการณ์เดียวกับกรณีศึกษาบนหอผู้ป่วย จะทำให้นักศึกษามองภาพออก และทำข้อสอบได้
จากการพูดคุยกับอาจารย์ในภาคและอาจารย์ภาคอื่นๆพบว่าการเขียนบันทึกเหตุการณ์ในรายวิชาภาคปฏิบัติเช่นปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์1-2พบว่านักศึกษาได้เขียนบันทึกถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาในการฝึกไว้ และนำข้อมูลมาพูดคุยสะท้อนคิด รวมถึงบางปัญหาที่สามารถหาทางออกอื่นๆได้เพิ่มอีกหลายทาง การพูดคุยปรึกษากันระหว่างกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์ประจำกลุ่มพบว่ามีประสิทธิภาพที่ดีทั้งการพูดคุยกันเป็นกลุ่มหรือรายเดี่ยวซึ่งควรมีการสะท้อนคิดทุกวันหรือมากเท่าที่ทำได้ รวมถึงสามารถติดตามพัฒนาการของนักศึกษารายบุคคลได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ทางภาคเห็นด้วยว่าควรมีการส่งต่อนักศึกษาในกรณ๊ที่เปลี่ยนแผนกและเปลี่ยนอาจารย์นิเทศ หากนักศึกษารายใดที่มีปัญหาจะได้ร่วมกันแก้ไขและมีการส่งต่อให้กับอาจารย์นิเทศแผนกต่อไปได้เหมาะสม
การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ควรพัฒนาควบคู่ไปกับการทบทวนความรู้ ซึ่งการร่วมมือกันระหว่างอาจารย์ที่นิเทศนักศึกษารวมทั้งอาจารย์ในภาควิชากับอาจารย์พี่เลี้ยงจากโรงพยาบาล มีความสําคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปพร้อมๆกับการสอดแทรกความรู้ที่เห็นจริงจากผู้ป่วย เป็นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง และควรทําอย่างต่อเนื่องสมํ่าเสมอค่ะ
วันนี้ได้พูดคุยกับนักศึกษาถึงลักษณะการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่นักศึกษาคิดว่าจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ นักศึกษาบอกว่าบรรยากาศที่ค่อนข้างเป็นกันเอง ไม่ตึงเครียดมากนัก จะทำให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็น้ พยายามค้นหาความรู้มาพูดคุยกับอาจารย์ เมื่อนักศึกาาทำผิดพลาดหรือยังไม่ถูกต้องนัก อยากให้อาจารย์บอกว่าควรทำอย่างไร เพราะบางทีการพูดอ้อมๆอาจทำให้นักศึกษาคับข้องใจเนื่องจากไม่แน่ใจว่าตนเข้าใจถูกหรือไม่ นอกจากนี้พี่เลี้ยงแหล่งฝึกหรือพี่พยาบาลก็มีส่วนสำคัญในบรรยากาศที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ภาคปฏิบัติได้เช่นกัน จึงคิดว่าอาจารย์และแหล่งฝึกมีส่วนสำคัญในการฝึกภาคปฏิบัติเป็นอย่างมาก นอกเหนือไปจากตัวนักศึกษาเอง
สำหรับการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัตินั้น จากประสบการณ์ที่เป็นผู้รับผิดชอบรายวิชาปฏิบัติ ซึ่งมีโอกาสในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือการจัดกลุ่มนักศึกษาในการฝึกภาคปฏิบัติ ควรมีการคละกลุ่มนักศึกษาที่มีผลการเรียนสูง ตำไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ควรมีการประชุมกลุ่มอาจารย์ที่เป็นผู้สอนภาคปฏิบัติ เพื่อหาแนวทางในการปฏิบัติในการประเมินนักศึกษาให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
เห็นด้วยอย่างยิ่งกับประเด็นที่ ๗.ซึ่งเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติ เพราะวิชาปฏิบัติของสูติฯ ต้องอาศัยความรู้และทักษะที่ค่อนข้างเฉพาะทาง ความไม่รู้และไม่พร้อมจะทำให้นักศึกษาไม่กล้า (จากประสบการณ์ส่วนตัว) การจัดให้สังเกตการณ์คลอดก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติจริง (หลายๆครั้ง) และการ check out lab การทำคลอด การตรวจรก การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับนักศึกษาได้มากค่ะ และยิ่งถ้ามีรุ่นพี่(ที่เก่งๆ)เป็นพี่เลี้ยงได้ก็น่าจะยิ่งดีค่ะเพราะนักศึกษาพี่กับน้องจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้
วิมล อ่อนเส็ง
เห็นด้วยกับประเด็นการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนขึ้นปฏิบัติจริง เพราะกิจกรรมนี้น่าช่วยให้เกิดความเช่ื่อมั่นในตนเองมากขึ้น และตนเองก็เชื่อว่าครูผู้สอน พยาบาลพี่เลี้ยง เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ได้เป็นอย่างดี โดยมีครูผู้สอน หรือพยาบาลพี่เลี้ยง อยู่เคียงข้าง ชื่นชมคะ่
การเริ่มต้นสร้างทัศนะคติในการขึ้นฝึกปฏิบัติงานครั้งแรก ผมคิดว่าก็เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนที่จะส่งผลให้นักศึกษามีความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงาน และเป็นประสบการณ์ที่ดีกับรายวิชาได้เช่นกัน เนื่องจากนักศึกษาขึ้นครั้งแรกยังไม่เคยปฏิบัติงานจริงกับ case การที่ อาจารย์ และพี่เลี้ยงแหล่งฝึกได้ให้ความเชื่อมั่น สร้างแรงจูงใจทางบวก ลดช่องว่างให้พอดีซึ่งกันและกัน คอยให้กำลังใจและสนับสนุน จะทำให้นักศึกษากล้าที่จะคิดและแสดงความคิดเห็นที่แท้จริงออกมา เมื่อไม่เข้าใจนักศึกษาจะกล้าถามพี่เลี้ยงแหล่งฝึกมากขึ้น และจะเกิดการเรียนรู้ของตัวบุคคล จาการที่ได้ถามเมื่อเกิดข้อสงสัย และจะเกิดเป็นแรงผลักดันให้นักศึกษามีทัศนคติต่อวิชาดีขึ้น ส่งผลให้เกิดความตั้งใจที่อยากจะทำมาจากภายในคือตัวบุคคลเอง การเริ่มต้นของก้าวแรกของนักศึกษา กับประสบการณ์ที่ได้รับครั้งแรก จึงน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลต่อการเรียนของนักศึกษาได้ไม่มากก็น้อยเช่นกันครับ….
สำหรับแผนกฝากครรภ์ ขณะนี้ได้พัฒนาสื่อการสอนเรื่อง การฝึกทักษะการตรวจครรภ์กับหุ่นจำลองและจัดทำเป็นวีซีดี ให้นักศึกษาได้ศึกษาและฝึกปฏิบัติ เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ดังน้ันจึงขอเพิ่มการเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาที่จะขึ้นฝึกปฏิบัติที่แผนกฝากครรภ์ด้วยการมอบหมายให้ศึกษา วีซีดี ก่อนขึ้นฝึกที่แผนกฝากครรภ์ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความมั่นใจและสามารถนำความรู้ไปใช้ประกอบการตรวจครรภ์และวางแผนให้การพยาบาลอย่างถูกต้องเหมาะสม
เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการจัดนศ. ออกเป็นเก่ง ปานกลางและอ่อนคละกันทุกกลุ่ม นอกจากนี้ในการจัดตารางเวรหรือการมอบหมายงานควรจัดให้เด็กเก่งกับเดิกออ่นอยู่ด้วยกันเพื่อจะได้เสริมในเรื่องของเพื่อนสอนเพื่อนไปในตัวจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และความสามัคคีของกลุ่ม
ขณะฝึกภาคปกิบัติครูควรที่จะฝึกให้นักศึกษา ได้คิดวิเคราะห์ ตีความเกี่ยวกับสถานการณืที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากสภาพจริงและนำไปสู่การใช้ในอนาคตได้รวมไปถึงชี้แนะแนวข้อสอบที่สอดคล้องกับสถานการณืที่พบเห็นเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นครับ
การฝึกภาคปฏิบัติเป๋นสิ่งที่สร้างความเครียดให้กับนักศึกษาค่อนข้างมาก ยิ่งในชั้นปีที่สูงขึ้นเนื่องจากการพยาบาลจะยิ่งซับซ้อนมากขี้น ดังน้ันการเตรียมความพร้อมในการขี้นฝึกภาคปฏิบ้ติเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ควรเตรียมความพร้อมนักศึกษาทั้งด้านความรู้ จิตใจและทัศนคติที่ดีในการฝึกภาคปฏิบัติด้วย
เห็นด้วยกับการจัดกลุ่มคละเด็กเก่ง-อ่อน แต่อยากให้เปลี่ยนนักศึกษาบ้างเพราะต้องฝึกไปด้วยกันตลอด 6-7 เดือน ก็อาจทำให้เด็กกลุ่มที่ไม่ขยัน ไม่ตั้งใจ อาจมีผลต่อการฝึกงานของนักศึกษาได้ค่ะ
อีกแนวทางหนึ่งที่ได้ใช้ในการจัดการเรียนรู้ภาคปฏิบัติให้กับผู้เรียนที่ได้ทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีและผู้เรียนมีทักษะในการปฏิบัติงานการพยาบาลดี ผู้สอนมีความสุขกับการเป็นผู้นิเทศและจัดประสบการณืการเรียนรู้ด้วย ก็คือ การให้โอกาสผู้เรียนและพร้อมที่จะเข้าใจผู้เรียน โดยมีการเปิดใจกันและกันว่าการฝึกครั้งนั้นเขาคือผู้เรียนรู้ครูคือผู้สอนและให้คำปรึกษาและชี้แนะ ไม่ต้องกังวลเรื่องไม่เป็นและไม่รู้ ให้เตรียมตัวมาให้มากที่สุด เราจะเรียนรู้ไปด้วยกัน ไม่ต้องกังวลเรื่องคะแนน ไม่รู้เป็นธรรมดาของผู้เป็นนักเรียน เราจะมาเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน ขอให้เปิดใจและใฝ่รู้ ขยัน ทำตามกติกาการเรียนรู้ การเกิดการเรียนรู้อย่างความเข้าใจและเกิดทักษะและมีความสุขสนุกกับการฝึกและค้นคว้าจนเกิดผลตามวัตถุประสงค์การฝึกนั้นคือเป้าหมายของเราครูและศิษย์
การคละนักศึกษาเรื่องผลการเรียนเป็นสิ่งที่ดี นอกจากนี้การพัฒนาสื่อการสอนต่าง ๆ เช่น DVD เรื่องการทำคลอด การตรวจรก การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด การอาบนำ้ทารก การตรวจร่างกายมารดาหลังคลอด สามารถช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้และค้นคว้า เป็นการกระตุ้นให้นักศึกษามีการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึก
ที่สำคัยคือควรจัดให้มีวัน Pre-clinic ในแต่ละแผนกของสูติฯ เนื่องจากการปฏิบัติงานนั้นมีความแตกต่างในรายละเอียด เพื่อเป็นการเตรียมคาวมพร้อมของนักศึกษาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงาน
วิธีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยวิธีการ Check out lab หรือการสร้างสถานกาณ์จำลอง แล้วนำผลการทดสอบการปฏิบัติมาอภิปรายโดยอาจารย์และกลุ่มเพื่อนนักศึกษา ถึงขั้นตอนการพยาบาลที่ผิดพลาดหรือการกิจกรรมพยาบาลที่ควรเพิ่มเติม เป็นวิธีการที่วิทยากรหลายท่านแนะนำและได้ผลดี เพราะเป็นการเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาให้กับนักศึกษาก่อนที่นักศึกษาพบกับสถานการณ์จริงในการฝึกปฏิบัติ
เห็นด้วยครับกับการที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประชุมกลุ่มย่อยระหว่างอาจารย์ ผู้ร่วมสอนและร่วมนิเทศเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ได้แนวทางในการทำงานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งมีการติดตามงานนักศึกษาอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ผลการศึกษาที่ออกมาดีครับ