แนวทางปฎิบัติที่ดี การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ
จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเด็น “การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติกับการสร้างเสริมสุขภาพ” ของคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 วันที่ 22 สิงหาคม 2555 และครั้งที่ 2 วันที่ 8 ?มีนาคม 2556 ?ทางภาควิชาได้ถอดบทเรียนและสรุปเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดี ดังนี้
แนวทางปฏิบัติที่ดี การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติกับการสร้างเสริมสุขภาพ ?มีขั้นตอนการดำเนินการ 5 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ ๑ ? สร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน
ขั้นที่ ๒ ? การพิจาณารายวิชาที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ
ขั้นที่ ๓ ? การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ
ขั้นที่ ๔ ? การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ
ขั้นที่ ๕ ? การวัดและประเมินผล
โดยแต่ละขั้นตอน มีรายละเอียด ดังนี้
ขั้นที่ ๑ สร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพ
การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพให้มีประสิทธิภาพนั้น การสร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะช่วยลดช่องว่างของความไม่เข้าใจหรือความไม่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างมีเป้าหมายและทิศทางเดียวกัน โดยคำสำคัญที่เกี่ยวข้องและควรสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจน ได้แก่ ความหมาย และพฤติกรรมที่แสดงถึงการสร้างเสริมสุขภาพ ดังนี้
๑. การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก (world health organization [WHO]) คือ ?กระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลในการควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น?
๒. พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (health-promoting behavior) ตามกรอบแนวคิด Health Promotion Model ของ Pender อันประกอบด้วย ๖ พฤติกรรม ดังนี้
๑) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (health responsibility)
๒) กิจกรรมทางกาย (physical activity)
๓) โภชนาการ (nutrition)
๔) สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (interpersonal relations)
๕) การเจริญทางจิตวิญญาณ (spiritual growth)
๖) การจัดการกับความเครียด (stress management)
ขั้นที่ ๒ การพิจาณารายวิชาที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ
การพิจารณาความสอดคล้องของรายวิชาในการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะความสอดคล้องด้านเป้าประสงค์ที่ต้องการ จะมีส่วนช่วยให้มองเห็นความเป็นไปได้ของการดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้หรือไม่ อย่างไร ความคล่องตัวเป็นอย่างไร เกิดความคุ้มค่าในการดำเนินการหรือไม่อย่างไร
ขั้นที่ ๓ การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ
การวางแผนการการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติทางการพยาบาลกับ การสร้างเสริมสุขภาพ ควรเริ่มต้นด้วยการออกแบบหรือระบุการวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมการวัดและประเมินผลของการบูรณาการดังกล่าวไว้ใน ?รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.๔)? ดังนี้
๓.๑ ทบทวนวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติ โดยพิจารณาความสอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติ ๒ กรณี คือ
กรณี ๑ วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติ อาจสะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ แต่ไม่ชัดเจน ให้พิจารณาปรับปรุงหรือเพิ่มเติมข้อความของวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้นั้นๆ ให้สะท้อน การสร้างเสริมสุขภาพ
กรณี ๒ วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติ ไม่สะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ให้พิจารณาเพิ่มวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติให้สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ โดยคำนึงถึงคำสำคัญ (key word) คือ ความหมาย และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ (บุคคลวัยสูงอายุ) เมื่อสิ้นสุดการฝึกภาคปฏิบัติ นักศึกษาสามารถ
๑. ใช้กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม
๒. ให้การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้
๓. ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้
๔. แสดงความก้าว หน้าในทักษะทางการพยาบาลในการวิเคราะห์ปัญหา อภิปรายทางการพยาบาลและอื่นๆ ที่เกี่ยว ข้องกับการพยาบาลได้
๕. คิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้ โดยอาศัยหลักวิชาการอย่างมีเหตุผล
๖.? ร่วมปฏิบัติงานกับทีมสุขภาพและบุคลากรอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม
เมื่อพิจารณาแล้ว ไม่มีวัตถุประสงค์ข้อใด สะท้อนหรือสอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ อาจพิจารณาเพิ่มเติม คือ ?วางแผนและจัดกิจกรรมสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพหรือญาติในการควบคุมและดูแลปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุได้? เป็นต้น
๓.๒ วางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ/ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพตามบริบทหรือสถานการณ์จริงในคลินิกและชุมชน ซึ่งสามารถยกตัวอย่างให้เห็นชัดระหว่างการปฏิบัติการเพื่อการดูแลและการสร้างเสริมสุขภาพ
ขั้นที่ ๔ การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ๓.๓ วางแผนการพัฒนาผลการเรียนรู้ (Learning Outcome [LO]) ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (domain) ควรมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกันระหว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการสอน และกิจกรรมการวัดประเมินผล โดยยึดหลักตามกรอบแนวคิด ?OLE Alignment? (Outcome-Learning activity-Evaluation activity Alignment)
การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่มีการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพตามแผนที่วางไว้นั้น ควรมีการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมแบบภาคีเครือข่าย ระดับท้องถิ่นหรือประชาชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดการดำเนินการแบบคล่องตัว ยังทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งด้านกระบวนการและผลลัพธ์การดำเนินการเรียนการสอนและการสร้างเสริมสุขภาพ
เครือข่ายความร่วมมือในส่วนของชุมชน ควรพิจารณา ดังนี้
๑) เครือข่ายความร่วมมือหลักที่สำคัญ ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เป็นต้น
๒) เครือข่ายความร่วมมือ ส่วนองค์กรในชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น โรงเรียน สถานบริการสุขภาพในท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันและเสริมความเข้มแข็งของดำเนินงานและผลลัพธ์ยั่งยืน
ขั้นที่ ๕ การวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผล นอกจากประเมินผู้เรียนตามวัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ ของรายวิชาแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของผู้รับบริการ/ประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน โดยประเมินเป็นระยะๆ ดังนี้
ระยะแรก ให้ระบุการวัดความรู้เกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือการวัดความตระหนักในความรับผิดต่อสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หรือวัดทักษะการจัดการปัญหาสุขภาพ ภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น
ระยะหลัง ให้ระบุการวัดเพิ่มในประเด็นการแสดงพฤติกรรมหรือการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการวัดดังกล่าว อาจวัดเป็นระยะๆ เช่น ทุก ๑ สัปดาห์ หรือ ๒ สัปดาห์ หรือ ๑ เดือน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
คณาจารย์ประจำภาควิชา
การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
ผู้ถอดบทเรียน
เห็นด้วยอย่างยิ่งว่า การที่จะดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่มีการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพให้ประสบความสำเร็จ บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดที่ตั้งไว้นั้น จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการในลักษณะเครือข่ายความร่วมมืือในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ประชาชน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพราะจะทำให้การบูรณาการของเรามีความคล่องตัว โดยเฉพาะอยางยิ่ง ในภาคส่วนของ อบต. ควรที่ผลักดันให้เข้ามามีส่วร่วมให้มากขึ้น เพราะจะช่วยเสริมความเข้มแข็งในภาคประชาชนให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งด้านกระบวนการและผลลัพธ์การดำเนินการเรียนการสอนและการสร้างเสริมสุขภาพอีกด้วย
เห็นด้วยกับการดำเนินงานการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพกับรายวิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนที่ 3 การวางแผนที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่งก็คือต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ระบุแนวทางการวางแผนไว้ในมคอ.3 และ 4 ที่ชัดเจน และที่สำคัญอาจารย์ทุกท่านควรจะรับรู้และนำมาเป็นแนวปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน
จากประสบการณ์ พบว่า หลักการจัดแหล่งเรียนรู้เพื่อให้การเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนมีความเข้มข้นคงทน ประการที่สำคัญคือต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและมีความหลากหลายโดยคำนึงถึงความสำเร็จของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งพบว่า ผู้เรียนจะบรรลุเป้าหมายได้ดีถ้าลงมือปฏิบัติจริง และมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ และวิธีการหลากหลายจำเป็นต้องอาศัยแหล่งเรียนรู้ประกอบกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสาระที่ต้องการ และได้เรียนรู้ตามสภาพจริงเป็นสำคัญ
การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ มีความสำคัญมากก่อนที่จะมีการบูรณาการเรียนการสอนภาคปฏิบัติกับการสร้างเสริมสุขภาพ เพราะถ้าไม่เข้าใจ เราจะวางแผนการเรียนการสอนไม่ได้ว่าจะทำอย่างไรจึงจะเกิดผลลัพธ์ในสิ่งที่ต้องการได้ ซึ่งคำว่าการสร้างเสริมสุขภาพนั้น นอกจากความหมายตาม WHO แล้ว Esther A. Hellman (อ้างถึงในสมคิด โพธิ์ชนะพันธุ์,2551) ยังกล่าวว่า การสร้างเสริมสุขภาพเป็นกระบวนการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้ ซึ่งมีอิทธิพลต่อเจตคติและการตัดสินใจในสิ่งที่เป็นทางเลือกเพื่อให้ได้รับผลในการมีสุขภาพกาย,จิตในระดับสูงสุด ดังนั้นอาจารย์ควรต้องตระหนักและมีการกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความตระหนักในตนเองด้วย อันจะทำให้การบูรณาการของอาจารย์ประสบผลสำเร็จ
การบูรณาการ การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในชุมชนนั้น การจัดแหล่งเรียนรู้ควรให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ตามทฤษฎีการเรียนรู้จากชุมชน มีแนวคิดว่าความรู้ต้องบูรณาการกับชีวิตในชุมชน ความรู้ที่แท้จริงต้องมีการบูรณาการทั้งการปฏิบัติ ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสังคมและรอบรู้ในชุมชน
สำหรับการดำเนินการบูรการการเรียนการสอนตามกรอบแนวคิด ?OLE Alignment? นั่นคืออาจารย์ผู้สอนจะต้องการออกแบบการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ โดยต้องระบุ วิธีการสอน วิธีการประเมินผล ที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่เกิดกับผู้เรียน เช่น ผลการเรียนรู้ต้องการให้นักศึกษาเป็นนักจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การกำหนดวิธีการสอน ก็ต้องหากิจกรรมที่จะสร้างหรือส่งเสริมการเป็นนักส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษา เช่น ให้ความรู้ ให้นักศึกษาปฏิบัติด้วยตนเอง ฯลฯ และจะต้องกำหนดวิธีการประเมินผลให้สอดคล้องกับสิ่งที่ให้นักศึกษาทำและสิ่งที่ต้องการให้นักศึกษาเป็นในวัตถุประสงค์หรือผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
จากประสบการณ์จากการปฏิบัติ และการทบทวนวรรณกรรม พบว่า หลักการจัดแหล่งเรียนรู้เพื่อให้การเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนมีความเข้มข้นคงทน ประการที่สำคัญคือต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพและมีความหลากหลายโดยคำนึงถึงความสำเร็จของผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า ผู้เรียนจะบรรลุเป้าหมายได้ดีถ้าลงมือปฏิบัติจริง และมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ และวิธีการหลากหลายจำเป็นต้องอาศัยแหล่งเรียนรู้ประกอบกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้อง
กับสาระที่ต้องการ และได้เรียนรู้ตามสภาพจริงเป็นสำคัญ
การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ภาคปฏิบัติที่มีการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน เห็นด้วยกับควรมีการประสานงานการแกนนำชุมชนทั้งภาคของประชาชนและภาคของทีมสุขภาพที่รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ เพื่อวางแผนการในจัดการเรียนการสอนร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์กับตัวนักศึกษาและผู้รับบริการในชุมชนตามความต้องการของชุมชน
จากการศึกษาเพิ่มเติม พบว่า การบูรณาการ การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในชุมชนนั้น การจัดแหล่งเรียนรู้ควรให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ตามทฤษฎีการเรียนรู้จากชุมชน มีแนวคิดว่าความรู้ต้องบูรณาการกับชีวิตในชุมชน ความรู้ที่แท้จริงต้องมีการบูรณาการทั้งการปฏิบัติ ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสังคมและรอบรู้ในชุมชน
แนวปฏิบัติในด้านการพิจารณาความสอดคล้องของรายวิชาในการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพ และด้านการวางแผนการการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติทางการพยาบาลกับ การสร้างเสริมสุขภาพ มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการกำหนดแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน เพื่อให้สามารถบูรณาการได้อย่างตรงตามวัตถุประสงค์ และสอดคล้องกันระหว่างเนื้อหาการเรียนการสอนและสภาพจริงของการส่งเสริมสุขภาพ
จากคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก (world health organization [WHO])และ ของ Pender นั้น ทำให้อาจารย์ผู้สอนได้เห็นแนวทางการจัดกระเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้เห็นแนวทาง และวิธีการส่งเสริมสุขภาพ เมื่อเรานำเอาการบริการวิชาการมาบรูณาการกับการเรียนการสอนแล้วนั้นทำให้ นักศึกษาเห็นภาพและเมื่อจบการศึกษาแล้วสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ปฏิบัติไปประยุกต์ใช้กับงานได้จริง และอีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่เข้ามารับบริการอีกด้วย
อาจารย์พยาบาล อาจนำบันทึกการสะท้อนคิดประจำวันมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาได้มีการเชื่อมโยงความรู้จากห้องเรียนสู่การปฏิบัติในการแก้ปัญหาทางการพยาบาล จากการส่งเสริม
กระตุ้นและช่วยเหลือจากผู้สอนจะช่วยให้นักศึกษาสามารถเขียนสะท้อนความคิดอย่างไตร่ตรอง ความรู้สึก และประสบการณ์ที่ได้รับ
ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้(พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, 2551)
1. ประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติ
2. ความรู้สึกที่มีต่อการปฏิบัติการพยาบาล
3. ความรู้สึกต่ออาจารย์นิเทศก์
4. อุปสรรคในการฝึกการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ
ซึ่งผลการศึกษาพบว่า
ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่านักศึกษามีการเชื่อมโยงหลักทางวิชาการที่ได้เรียนรู้ที่ผ่านมาสู่การปฏิบัติ เกิดการพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาในการปฏิบัติ นักศึกษามีทักษะในการประเมินสุขภาพมากขึ้น
ดังนั้นบันทึกการสะท้อนคิดประจำวันสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการเรียนการสอนทางการ
ศึกษาพยาบาล ได้ครับ
การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอน โดยเฉพาะภาคปฏิบัติในชุมชนกับการสร้างเสริมสุขภาพนั้น เห็นด้วยอย่างยิ่งว่า การดำเนินการจำเป็นต้องอาศัยรูปแบบในลักษณะภาคเครือข่ายในชุมชนในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคประชาชน องค์กรในท้องถิ่น
เห็นด้วยกับอาจารย์วราภรณ์เรื่องการออกแบบการจัดการเรียนการสอนตามกรอบ OLE Alignmentเพราะจะทำให้ผู้สอนสามารถกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตรงกับผลการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนและยังสามารถประเมินผลได้ตามจริง แต่ก่อนหน้านั้นผู้สอนจะต้องทบทวนและระบุวัตถุประสงค์ตาม Domain และ Intended subdomain ให้ครบถ้วนมากที่สุดดังที่แสดงใน Curriculum Mapping ของรายวิชานั้นๆด้วย
เมื่อวัตถุประสงค์ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เราต้องการบูรณาการอาจพิจารณาเพิ่มวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติให้สอดรับกับประเด็นการบูรณาการโดยคำนึงถึงคำสำคัญดังกล่าวข้างต้น
อาจารย์ผู้สอนมีส่วนสำคัญในขั้นตอนการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพมาก แต่ก่อนที่จะมีการบูรณาการเรียนการสอนภาคปฏิบัติกับการสร้างเสริมสุขภาพ ทีมผู้สอนควรมีการปรับแนวความคิดและทัศนคติที่ดีต่อการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับความรู้ความเข้าใจเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้มีเจตคติด้านบวกและด้านลบ ส่วนเจตคตินั้นมีผลต่อการแสดงพฤติกรรมนั้นๆ ดังที่ คอริน (Collins, 1970)กล่าวว่า เจตคติ เป็นพื้นฐานเบื้องต้น หรือการแสดงออกที่เรียกว่า พฤติกรรม ซึ่งผู้สอนที่มีพฤติกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้นแบบในการสอนที่แสดงให้เห็นจริงได้ดีกว่า
ดังนั้นการปรับเจตคติที่ดีมีองค์ประกอบ ที่สำคัญ ๓ ประการ คือ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550)
1. การรู้ (Cognition) ประกอบด้วยความเชื่อของบุคคลที่มีต่อเป้าหมาย เจตคติ เช่น ทัศนคติต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ สิ่งสำคัญขององค์ประกอบนี้ก็คือ จะประกอบด้วยความเชื่อที่ได้ประเมินค่าแล้วว่าน่าเชื่อถือหรือไม่น่าเชื่อถือ ดีหรือไม่ดี และยังรวมไปถึง ความเชื่อในใจว่าควรจะมีปฏิกิริยาตอบโต้อย่างไรต่อเป้าหมายทัศนคตินั้นจึงจะเหมาะสมที่สุด ดังนั้น การรู้และแนวโน้มพฤติกรรมจึงมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด
2. ความรู้สึก (Feeling) หมายถึง อารมณ์ที่มีต่อเป้าหมาย เจตคติ นั้น เป้าหมายจะถูกมองด้วยอารมณ์ชอบหรือไม่ชอบ ถูกใจหรือไม่ถูกใจ ส่วนประกอบด้านอารมณ์ ความรู้สึกนี้เองที่ทำให้บุคคลเกิดความดื้อดึงยึดมั่น ซึ่งอาจกระตุ้นให้มีปฏิกิริยาตอบโต้ได้ หากมีสิ่งที่ขัดกับความรู้สึกมากระทบ
3. แนวโน้มพฤติกรรม (Action tendency ) หมายถึง ความพร้อมที่จะมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับเจตคติ ถ้าบุคคลมีเจตคติที่ดีต่อเป้าหมาย เขาจะมีความพร้อมที่จะมีพฤติกรรมช่วยเหลือหรือสนับสนุนเป้าหมายนั้น ถ้าบุคคลมีเจตคติในทางลบต่อเป้าหมาย เขาก็จะมีความพร้อมที่จะมีพฤติกรรมทำลาย หรือทำร้าย เป้าหมายนั้นเช่นกัน
ผู้เรียนก็เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาด้านการบูรณาการการเรียนการสอน ซึ่งน่าจะมีการจัดเวทีเสวนาแบบเวทีสาธารณะร่วมกับผู้สอนและภาคีเครือข่ายก่อนที่จะมีการดำเนินการด้านหลักสูตร เพื่อค้นหาความต้องการของทุกภาคส่วน น่าจะได้กิจกรรมการสอน และการประเมินผลที่น่าพอใจสำหรับทุกฝ่าย ขอเพิ่มเติมความหมายของการสร้างเสริมสุขภาพนะคะ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ นิยามการสร้างเสริมสุขภาพว่า
? การใดๆ ที่มุ่งกระทำโดยส่งเสริม สนับสนุน พฤติกรรมบุคคล สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างเสริม ให้บุคคลและชุมชนมีสุขภาวะ บุคคลมีอายุยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี?
พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ นิยามการสร้างเสริมสุขภาพว่า
? การใดๆที่มุ่งกระทำเพื่อสร้างเสริมให้บุคคลมีสุขภาวะทางกาย จิต และ สังคม โดยสนับสนุนพฤติกรรมของบุคคล สภาพสังคม และ สิ่งแวดล้อมที่จะนำไปสู่การมีร่างกายที่แข็งแรง สภาพจิตที่สมบูรณ์ อายุยืนยาว และคุณภาพชีวิตที่ดี ?
แนวปฏิบัติทุกขั้นตอนมีความสําคัญ โดยเฉพาะขั้นตอนที่ ๓ เพราะการวางแผนบูรณาการการเรียนการสอน จะทําให้เรามองภาพได้อย่างครอบคลุมร่วมกัน
การบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพสามารถทําได้ในทุกรายวิชา โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชามีบทบาทสําคัญในการอธิบายให้น.ศตระหนักถึงความสําคัญ ของการส่งเสริมสุขภาพ จะเป็นพื้นฐานที่แน่นหนาในการสร้างความร่วมมือต่อไป
การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ โดยการสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาได้ฝึกการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับประชาชนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ซี่งสอดคล้องกับการจัดการประชุมของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 6 ? 8 พฤษภาคม 2541 ในประชุมใหญ่เรื่องการส่งเสริมสุขภาพซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายวิชาชีพ สาระสำคัญของการประชุม คือ “สุขภาพไม่ได้สร้างในโรงพยาบาล? เห็นด้วยกับการฝึกประสบการณ์ส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
สำหรับการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัตินั้น สิ่งสำคัญคือผู้ให้ความรู้ต้องมีกระบวนการในการสั่งสมความรู้ให้มาก เพื่อสามารถที่จะนำความรู้นั้นไปส่งเสริมสุขภาพให้บุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีการเจ็บป่วยหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระบวนการในการสั่งสมความรู้ของนักศึกษาต้องขึ้นอยู่กับการเรียนการสอนของอาจารย์ที่จะถ่ายทอดไปยังนักศึกษาได้อย่างเหมาะสม นอกจากนั้นการส่งเสริมสุขภาพจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้ามีการส่งเสริมสุขภาพได้ตรงตามความต้องการของบุคคล หรือตรงกับวิถีชีวิตของบุคคลที่เป็นอยู่
แนวปฏิบัติต่างๆ ตามขั้นตอนในการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติกับการสร้างเสริมสุขภาพนั้น เมื่อได้นำลงไปใช้แล้ว พบว่าเกิดประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการจากเราจริงๆ และนักศึกษาก็เกิดความภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยให้ผู้รับบริการมีการดูแลสุขภาพตนเองด้วย
การบูรราการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพนั้นเริ่มต้นที่การออกแบบการจัดการเรียนการสอนตามกรอบ OLE Alignment สิ่งสำคัญจะต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ ทั้งผู้เรียนคือต้องมี KAP เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพหรือการสร้างนักสร้างเสริมสุขภาพและผู้รับบริการที่ต้องมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ในการประเมินผลต้องคำนึงถึงเสมอ
แนวปฏิบัติที่ดีทำให้นักศึกษาได้รับการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ คุณภาพของนักศึกษาที่จะสำเร็จเป็นพยาบาลวิชาชีพต่อไป ตลอดจนอาจารย์ก็ได้มีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่ดีด้วยค่ะ
ดวงดาว
แนวปฏิบัติที่ดีของการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่จะประสบความสำเร็จส่วนหนึ่งมาจากความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชน
แนวปฏิบัติการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ เริ่มต้นอาจารย์ผู้สอนกำหนดไว้ใน มคอ.,แผนการสอน , กิจกรรมการสอนในชั้นเรียนและคลีนิค , การติดตามประเมินผล ซึ่งสิ่งสำคัญควรมีการประเมินผลพฤติกรรมสุขภาพของผู้เรียน ว่าผู้เรียนมีความตระหนัก และลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเพียงใด เพราะอาจมีปัจจัยอื่นๆนอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมสุขภาพ
การบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพสิ่งที่ควรเน้นย้ำนอกจากการทำมคอ.3,4ให้มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน จัดกิจกรรมให้สอดคล้อง สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือการประเมินผลที่สามารถวัดสมรรถนะของนักศึกษาในการสร้างเสริมสุขภาพ จากการประชุมกฎบัตรกรุงเทพได้กำหนดสมรรถนะของภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้
สมรรถนะหลักและเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงาน
1. ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ
? นำเสนอความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพ หลักการส่งเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพและปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ
? ประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนและชุมชน
? เผยแพร่ความรู้และวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
2. การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ? แสดงสมรรถนะด้านวัฒนธรรม (cultural competency)
? สร้างเสริมพลังให้ชุมชน
? สร้างความเชื่อมั่นในผลการพัฒนาที่ยั่งยืน
3. การเสริมสร้างความร่วมมือ
? สร้างพันธมิตรในและนอกสาขาสุขภาพ
? สร้างสัมพันธ์กับภาคประชาสังคมและเอกชน
? ส่งเสริมความร่วมมือและการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน
4. การปฏิบัติงานโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์
? จัดลำดับความสำคัญของปัญหาสาธารณสุข
? รวบรวมหลักฐานข้อมูลสารสนเทศด้วยวิธีการที่เหมาะสม
? ใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพให้ดีขึ้น
5. การบริหารโครงการ
? ประเมินความต้องการบนฐานความเข้าใจในปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ
? วางแผนและดำเนินงานโครงการให้เหมาะสม
? ติดตามและประเมินผล
6. การตลาดเพื่อสังคม
? เข้าใจแนวคิดและยุทธศาสตร์การตลาดเพื่อสังคม
? กระตุ้นสังคมให้เกิดอุปสงค์ด้านส่งเสริมสุขภาพ
? ใช้กลวิธี ช่องทาง และวิธีการต่างๆ เพื่อสร้างการเข้าถึงตลาดสุขภาพ
? ส่งเสริมเครือข่ายการตลาดเพื่อสังคม
7. การนำเสนอและสนับสนุน
? ระบุประเด็นที่จะนำเสนอต่อสาธารณะ
? สร้างพันธมิตรระดับต่างๆ องค์กรที่เกี่ยวข้อง
? รณรงค์เพื่อการรับรู้ของสาธารณชน
? เจรจากับผู้กำหนดนโยบายเพื่อขอรับการสนับสนุน
8. การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
? ระบุเหตุผลความสำคัญของนโยบายสาธารณะ กฎระเบียบต่างๆ ที่มีส่วนส่งเสริมและคุ้มครอง สุขภาพประชาชน
? ประเมินอย่างเป็นระบบในแง่ความเป็นไปได้และการนำนโยบายไปปฏิบัติ
? ใช้กลไกภายในองค์กรและต่างองค์กรเพื่อกระตุ้นสังคมให้ยอมรับและสนับสนุน นโยบายเพื่อสุขภาพ หรือสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง เพื่อการส่งเสริมสุขภาพทั้งในด้านการบริหารองค์กร โครงสร้าง หรือสิ่งแวดล้อม
9. การบริหารความเปลี่ยนแปลง
? ระบุเหตุปัจจัยที่สำคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ประชากร สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม
? สนับสนุนภาคสาธารณสุขในการพัฒนาศักยภาพและสร้างเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพ
? เสริมสร้างสมรรถนะภาคสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในสถานที่ต่างๆ
10. การบริหารทุน
? ระบุแหล่งที่มาของทุน
? พัฒนากระบวนการการประเมินความคุ้มค่าและกลไกการส่งเสริมสุขภาพ
? ? สร้างระบบบริหารจัดการด้านการเงิน ความรับผิดชอบ และความโปร่งใส
11. การสื่อสาร
? สื่อสารกับภาคส่วนต่างๆด้วยวิธีการและช่องทางที่เหมาะสม
? ใช้ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ เช่น การเจรจา การจูงใจ การทำงานเป็นทีม การแก้ปัญหาความขัดแย้ง และทักษะในการฟัง
? สื่อสารให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน ด้านวัฒนธรรม เพศ วัย ฯลฯ
12. การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
? เข้าใจความแตกต่างหลากหลายของเทคโนโลยีที่มีอยู่
? สามารถเลือกใช้ได้เหมาะสมกับสถานการณ์
13. การวางแผนและการบริหารจัดการ
? ส่งเสริมการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม
? ประยุกต์ใช้เครื่องมือบริหารจัดการประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
? ระบุกลไกเพื่อการเจรจาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและจำทำแผนการเจรจาหารือ
14. ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม
? แสดงภาวะผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์
? พัฒนาศักยภาพการทำงานเป็นทีม
? สร้างและรักษาไว้ซึ่งความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชน
15. มีจริยธรรมและปฏิบัติงานด้วยความเชี่ยวชาญ
? รวบรวม บริหารจัดการ เผยแพร่ และใช้ข้อมูลสารสนเทศโดยยึดหลักจริยธรรม
? แสวงหาและยึดหลักจริยธรรมที่ได้รับการรับรองจากองค์กรที่เชื่อถือได้
? รักษาความลับของข้อมูล ไม่เลือกปฏิบัติ และให้ความเสมอภาคในการให้บริการ
แหล่งข้อมูล : Developing Health Promotion Competencies and Standards for Countries in WHO South-East Asia Region, Report of a Meeting of expert, WHO/SEARO, New Delhi, 18-20 June 2008
(ข้อมูลจาก http://www.gotoknow.org/posts/377819 )
การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่มีการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพ สิ่งสำคัญคือ อาจารย์ผู้สอนต้องทำให้นักศึกษาตระหนักถึงผลลัพธ์ที่ดีของการสร้างเสริมสุขภาพ เข้าใจว่าการสร้างเสริมสุขภาพนั้นทำได้ทุกช่วงวัย ทำได้ทุกที่ทั้งในชุมชนและในคลินิค เมื่อมีการตระหนักและเข้าใจที่ดีแล้วจะทำให้การเรียนการสอนง่ายขึ้น ในส่วนขั้นตอนการวางแผนควรยึดหลัก”OLE Alignment” เน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนทั้งในชุมชนและคลินิคเพื่อให้การดำเนินการคล่องตัวและมีความยั่งยืน
เห็นด้วยกับแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อนำไปใช้ภาคปฏิบัติ นักศึกษาจะได้เป็นนักส่งเริมสุขภาพที่ดี ซึ่งเป้าหมาย คือ ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี ถ้าทุกรายวิชาการเรียนการสอน ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ทุกรายวิชาจะดีมาก
แนวทางปฏิบัติที่ดีที่ภาควิชาได้สังเคราะห์ร่วมกันจากการระดมสมองและจากประสบการณ์ในครั้งนี้ เป็นการจัดทำครั้งแรก ซึ่งต้องมีการประเมินผลต่อไป และคงจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาไปเรื่อยๆ เพื่อความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างไรก็ตามหากมีความยั่งยืนของการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพเช่นนี้ จะเป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ
เห็นด้วยกับแนวปฏิบัติ สิ่งที่เราควรให้ความสำคัญคือ การวางแผนโดยต้องระบุบวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เป็นสิ่งที่วัดและประเมินผลได้ สิ่งที่ได้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรง นอกจากนี้ถ้าอาจารย์ทุกท่านได้นำมาใช้ในการเรียนการสอนทุกท่านจะดีมาก
การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพอาจารย์อาจศึกษา วิเคราะห์ ผู้เรียนร่วมกับผู้รับบริการเป็นรายบุคคล เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่มีภูมิหลัง สติปัญญา ความสามารถ ความถนัด รูปแบบการเรียนรู้ ความสนใจ และความต้องการที่แตกต่างกันและจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพื้นฐานของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี มีพัฒนาการที่เป็นไปตามความสามารถและเต็มตามศักยภาพของแต่ละคนกับการสร้างเสริมสุขภาพ
เห็นด้วยกับแนวปฏิบัติในการสร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพโดยการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพให้มีประสิทธิภาพนั้น การสร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างมีเป้าหมายและทิศทางเดียวกันค่ะ
การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพให้มีประสิทธิภาพนั้น ควรต้องทบทวนและศึกษาสุขภาพประชาชนของชุมชนแล้วจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาดูว่ามีความสอดคล้องกับเนื้อหาของหลักสูตรอย่างไรแล้วจึงวางแผนในการให้นักศึกษาได้เรียนรู้โดยให้นักศึกษาได้ลงพื้นที่ก่อนแล้วจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาจัดการแยกแยะเป็นหมวดหมู่แล้วนำสิ่งที่จัดการแล้วไปสู่ชุมชน หลังจากนั้นต้องมีการประเมินผลในสิ่งที่นักศึกษาได้ลงไปปฏิบัติ ซึ่งการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพนั้นจะก่อให้เกิดคุณค่ากับผู้เรียนดังนี้คือ (1) ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียน
รู้ทั้งเนื้อหาสาระ และมโนทัศน์ต่าง ๆ รวมทั้งได้ฝึกปฏิบัติทักษะต่าง ๆ จนสามารถทำได้ดีและประสบความสำเร็จได้ในเวลาที่จำกัด (2) ช่วยพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติของผู้เรียนในเรื่องที่เรียน รวมทั้งทักษะกระบวนการต่าง ๆ เช่น ทักษะการคิด ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการสื่อสาร เป็นต้น (3)ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้สมองทุกส่วน (Whole Brain) ทั้งซีกซ้ายและขวา ในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง (4) ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ ด้วยตนเองและด้วยความร่วมมือและความช่วยเหลือ
ศิริพร ขัมภลิขิตและคณะได้ศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลบัณฑิตตามการรับรู้ของนักศึกษาและอาจารย์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2549 ใน 10 สถาบันจำนวน 508 คน และอาจารย์หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตที่สอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจำนวน 257 คนโดยวัดสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ครอบคลุม สมรรถนะ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลในการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านการปฏิบัติกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ด้านการบริหารจัดการในการสร้างเสริมสุขภาพด้านการพัฒนาภาคีเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ และด้านการวิจัยและการจัดการความรู้ พบว่านักศึกษาและอาจารย์ประเมินสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยรวมมีค่าเฉลี่ย 3.50 และ 3.38 ผู้วิจัยเสนอแนะให้สถาบันการศึกษาควรกำหนดสมรรถนะให้เหมาะสมกับระดับกากรศึกษา และความต้องการของผู้ใช้บัณทิต รวมทั้งควรให้นักศึกษารับทราบความคาดหวังของหลักสูตร เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีสมรรถนะที่ตรงความต้องการมากที่สุด ซึ่งวิทยาลัยควรกำหนดสมรรถนะที่จะวัดในนักศึกษาให้ชัดเจนด้วยเพื่อที่จะสามารถตอบตนเองได้ว่านักศึกษาที่ผลิตออกมามีอัตลักษณ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
ถือว่าเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีมากๆ สามารถไปปรับใช้เพื่อบูรณาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบ เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่หลากหลายและสอดคล้องตามมาตรฐานการศึกษา
การสร้างเสริมสุขภาพสิ่งสำคัญควรช่วยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด “หมอเขียว” ใจเพชร กล้าจน ถึงเทคนิค 9 ข้อของการพึ่งตนเองในการดูแลสุขภาพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งคนจะสุขภาพดีได้ต้องเริ่มจากตัวเอง…
การมีแนวทางปฏิบัติการสอนภาคปฏิบัติกับการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี เป็นการส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้จากการจัดการเรียนการสอนไปสู่การให้บริการแก่ชุมชน โดยการให้บริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างคุณลักษณะและสมรรถนะด้านวิชาชีพโดยจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ เน้นประสบการณ์ในสถานการณ์จริง