การบูรณาการการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพ
สรุปแนวทางการปฏิบัติ?? ?การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ?
จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามกระบวนการจัดการความรู้ (KM) ของภาควิชา? การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ ?
????????? ๑. อันดับแรกต้องสร้างความเข้าใจ/ความกระจ่างในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ ความหมาย และพฤติกรรมที่แสดงถึงการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
?????????????????? ๑.๑ การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก (world health organization [WHO]) คือ ?กระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลในการควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น??
?????????????????? ๑.๒ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (health-promoting behavior) ตามกรอบแนวคิด Health Promotion Model ของ Pender อันประกอบด้วย ๖ พฤติกรรม ดังนี้
???????????????????????????? ๑) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (health responsibility)
???????????????????????????? ๒) กิจกรรมทางกาย (physical activity)
???????????????????????????? ๓) โภชนาการ (nutrition)
???????????????????????????? ๔) สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (interpersonal relations)
???????????????????????????? ๕) การเจริญทางจิตวิญญาณ (spiritual growth)
???????????????????????????? ๖) การจัดการกับความเครียด (stress management)
????????? ๒. ทบทวนวัตถุประสงค์/สมรรถนะของรายวิชาภาคปฏิบัติ โดยให้พิจารณาวัตถุประสงค์/สมรรถนะที่มีประเด็นสอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ
????????? ?? กรณี ๑ วัตถุประสงค์/สมรรถนะของรายวิชาภาคปฏิบัติ อาจสะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ แต่ไม่ชัดเจน ให้พิจารณาปรับปรุงหรือเพื่อข้อความของวัตถุประสงค์นั้นๆ บอกหรือสะท้อนแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพ
????????? ?? กรณี ๒ วัตถุประสงค์/สมรรถนะของรายวิชาภาคปฏิบัติ ไม่สะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ให้พิจารณาเพิ่มวัตถุประสงค์/สมรรถนะของรายวิชาภาคปฏิบัติให้สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ โดยคำนึงถึงคำสำคัญ (key word) คือ ความหมาย และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ (บุคคลวัยสูงอายุ) เมื่อสิ้นสุดการฝึกภาคปฏิบัติ นักศึกษาสามารถ
?????????????????? ๑. ใช้กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม
?????????????????? ๒. ให้การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้
?????????????????? ๓. ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้
?????????????????? ๔. แสดงความก้าว หน้าในทักษะทางการพยาบาลในการวิเคราะห์ปัญหา อภิปรายทางการพยาบาลและอื่นๆ ที่เกี่ยว ข้องกับการพยาบาลได้
?????????????????? ๕. คิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้ โดยอาศัยหลักวิชาการอย่างมีเหตุผล
?????????????????? ๖. ร่วมปฏิบัติงานกับทีมสุขภาพและบุคลากรอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม
?????????????????? เมื่อพิจารณาแล้ว ไม่มีวัตถุประสงค์ข้อใด สะท้อนหรือสอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ อาจพิจารณาเพิ่มเติม คือ ?วางแผนและจัดกิจกรรมสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพหรือญาติในการควบคุมและดูแลปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุได้? เป็นต้น
????????? ๓. วางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ/สรรถนะที่สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ ตามบริบทหรือสถานการณ์จริงในคลินิกและชุมชน ?????????????ซึ่งสามารถยกตัวอย่างให้เห็นชัดระหว่างการปฏิบัติการเพื่อการดูแลและการสร้างเสริมสุขภาพ ดังตารางต่อไปนี้
ปัญหาสุขภาพ | กิจกรรมการดูแล? | กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ? |
การฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล?ผู้ป่วยมีแผล Colostomy | การทำแผล Colostomy แบบ wet dressing ให้กับผู้ป่วย | การเตรียมผู้ป่วยก่อนจำหน่าย????? จากโรงพยาบาล ดังนี้๑. การสอนและสาธิตผู้ป่วย/ญาติในการทำแผล Colostomy แบบ wet dressing
๒. การเป็นโค้ช (coach) ให้ผู้ป่วย/ญาติในการทำแผล Colostomy ?กิจกรรมทั้ง ๒ ล้วนเป็นการเพิ่มศักยภาพของผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเอง เมื่อกลับไปอยู่บ้าน????????? ซึ่งสอดรับกับความหมายการสร้างเสริมสุขภาพ |
การติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยสูงอายุในชุมชนผู้ป่วยสูงอายุแขนขาซีกซ้ายอ่อนแรง และติดเกร็ง มีแผลกดทับ | ๑. การช่วยผู้ป่วยออกกำลังกาย แบบ Passive exercise๒. การทำแผล แบบ wet dressing | ๑. การสอนและสาธิตญาติผู้ป่วยสูงอายุในการทำแผลและ Passive exercise แบบ Coaching (เป็นโค้ชสอน)๒. ร่วมกับญาติในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการดูแล ป้องกันหรือแก้ปัญหาสุขภาพ โดยกระตุ้นให้พิจารณาถึงภูมิปัญญา/วัสดุท้องถิ่นที่มีอยู่ มาดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาสุขภาพ |
?????????? ๔. ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลที่บูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพ ที่มีการออกแบบอย่างเป็นรูปธรรมตามแผนที่วางไว้
????????? ๕. การวัดและประเมินผล นอกจากประเมินผู้เรียนตามวัตถุประสงค์และสมรรถนะรายวิชาแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของผู้รับบริการ โดยประเมินเป็นระยะๆ ดังนี้
?????????????????? ระยะแรก ให้ระบุการวัดความรู้เกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือการวัดความตระหนักในความรับผิดต่อสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หรือวัดทักษะการจัดการปัญหาสุขภาพ ภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น
?????????????????? ระยะหลัง ให้ระบุการวัดเพิ่มในประเด็นการแสดงพฤติกรรมหรือการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการวัดดังกล่าว อาจวัดเป็นระยะๆ เช่น ทุก ๑ สัปดาห์ หรือ ๒ สัปดาห์ หรือ ๑ เดือน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
?หมายเหตุ : การถอดบทเรียนจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกระบวนการจัดการความรู้ (KM)? ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕