การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง ประเมินระบบการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD)ของหน่วยบริการปฐมภูมิเขต 2 พิษณุโลก โดยอาจารย์ภราดร ล้อธรรมมา และคณะ
การสังเคราะห์งานวิจัย??
เรื่อง
ประเมินระบบการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD)ของหน่วยบริการปฐมภูมิเขต 2 พิษณุโลก
??????????????????โดย?
อาจารย์ภราดร ล้อธรรมมา และคณะ
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี อุตรดิตถ์
จากการสังเคราะห์งานวิจัยเรื่อง ?ประเมินระบบการดูแลผู้ป่วยล้างไต
ทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) ของหน่วยบริการปฐมภูมิ เขต 2 พิษณุโลก?
ซึ่งดำเนินการโดยนายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์ และคณะ นับว่าเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากโรคไตเรื้อรัง (Chronic? kidney? disease) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ โดยพบอุบัติการณ์การเกิดและความชุกของโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมทั้งสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันเปลี่ยนไป และเมื่อการดำเนินของโรคเมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้าย การรักษาจะใช้วิธีการบำบัดทดแทนไต (Renal? Replacement Therapy) ประกอบด้วย การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)? การล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (Continuous? ambulatory? peritoneal dialysis) และการปลูกถ่ายไต (Kidney transplantation) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ผู้ป่วยซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นผู้มีรายได้น้อย ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึงได้ริเริ่มที่จะให้มีการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องอยู่ในสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นมา ซึ่งการล้างไตทางหน้าท้องแบบต่อเนื่อง(CAPD) เป็นการขจัดของเสียและน้ำเกินออกจากร่างกายโดยผู้ป่วยจะได้รับการใส่สายยางพิเศษเพื่อใส่น้ำยาล้างไตทางช่องท้อง ของเสียในเลือดจะแพร่กระจายผ่านผนังเยื่อบุช่องท้องเข้าสู่น้ำยาล้างไต และน้ำยาล้างไตที่มีของเสียจะถูกปล่อยออกจากร่างกาย ต่อจากนั้นจะมีการใส่น้ำยาล้างไตที่สะอาดเข้าไปใหม่
เพื่อเริ่มต้นการล้างไตรอบต่อไป ?ซึ่งวิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีการทำที่ง่าย ผู้ป่วยสามารถทำได้เอง โดยไม่ต้องการอุปกรณ์พิเศษใด และไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาโรงพยาบาลสัปดาห์ละ 2?3 ครั้ง ทำให้ประหยัดเวลาในการเดินทางและค่าเสียโอกาสของผู้ป่วย
และญาติในการทำงาน แต่อย่างไรก็ตามการล้างไตทางหน้าท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) อาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยได้ เช่น การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำ CAPD
ได้แก่ การติดเชื้อ ความผิดปกติของการไหลของน้ำยาล้างไต ได้แก่ การรั่วไหล และ
อุดตัน? การเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ อาการทางระบบทางเดินอาหารเช่น ปวดท้อง ท้องผูก ซึ่งเป็นผลมาจากการดูแลแผลผ่าตัดของผู้ป่วยไม่ดีพอ รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย?? ทั้งยังมีโอกาสเกิดภาวะทุพโภชนาการจากการที่ร่างกายมีการสูญเสียโปรตีน
ไปกับน้ำยาล้างไต การดูดซึมของน้ำตาลกูลโคสจากน้ำยาล้างไตอยู่ตลอดเวลา ทำให้ความอยากอาหารลดลง ร่วมกับปัญหาด้านจิตใจ ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ดังนั้นผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์นับตั้งแต่การได้รับการวินิจฉัยโรค การบำบัดรักษา การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วย ญาติและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย การให้คำปรึกษาขณะรับการบำบัด จนกระทั่งการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องจากศูนย์บริการ CAPD ร่วมกับสถานบริการใกล้บ้าน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการประเมินระบบการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพต่อไป
?สำหรับการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยประเมินระบบการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) ประกอบด้วยการประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตในการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) ของหน่วยบริการปฐมภูมิ ในเขต 2 พิษณุโลก ผลการวิจัย พบว่า ผู้รับผิดชอบการดูแลผู้ป่วย
มีความคิดเห็นต่อระบบการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องของหน่วยบริการปฐมภูมิ ในด้านบริบท ?ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก และจากข้อมูลเชิงคุณภาพ
พบว่า ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) จะมีระบบการดำเนินงานที่ชัดเจน? ผู้รับผิดชอบการดูแลผู้ป่วยจะมีการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและญาติก่อนกลับบ้าน โดยมีการให้ความรู้ และแนะนำจนมีความมั่นใจว่าผู้ป่วยจะสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง และหลังจากผู้ป่วยกลับบ้านจะมีการติดตามเยี่ยมผลการดูแลตนเองของผู้ป่วยและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีระบบการประสานงานในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วย และ
มีการดำเนินงานด้านการให้บริการเชิงรุกเพื่อคัดกรองความเสี่ยงจากภาวะทางไต
ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ อีกด้วย
จากการสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้จะเห็นได้ว่า มีข้อมูลที่น่าสนใจหลายประการที่ควรจะนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง แบบต่อเนื่อง (CAPD) ของหน่วยบริการปฐมภูมิ เขต 2 พิษณุโลก ได้แก่ 1.การพัฒนาศักยภาพบุคลากรหน่วยบริการปฐมภูมิ ด้านความรู้ และทักษะการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) โดยการอบรมเฉพาะทาง เพื่อให้บุคลากร
เกิดความเชื่อมั่นในระบบการให้บริการ และได้รับการยอมรับจากผู้ป่วย ?
2. การพัฒนาระบบการรับส่งผู้ป่วยต่อจากโรงพยาบาล ถึง หน่วยบริการ
ปฐมภูมิ เพื่อให้เกิดการดูแลอย่างต่อเนื่องในลักษณะองค์รวม ซึ่งประกอบด้วยการดูแล ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) ในด้านร่างกาย อารมณ์ จิตสังคม และจิตวิญญาณ
??????????? 3. การพัฒนาเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ควรมีนโยบายที่ชัดเจนด้านการพัฒนาบุคลากร การสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ การบริหารจัดการเพื่อรองรับการดูแลผู้ป่วย CAPD ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
??????????? 4. การพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้จากการทำงานในระบบการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง แบบต่อเนื่อง (CAPD) ในรูปแบบการจัดการความรู้ (Knowledge management – KM ) เช่น จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ให้บริการในเรื่อง ประสบการณ์การดูแลด้านจิตใจ สำหรับผู้ป่วย CAPD ?เพื่อให้ผู้ให้บริการเกิด
องค์ความรู้ ใหม่ในการให้บริการ และสามารถให้บริการได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
???????????????????????.
งานวิจัยน้ี สามารถนำไปประยุกต์ ในกระบวนการเยี่ยมบ้าน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้อง แบบต่อเนื่อง (CAPD) ที่ต้องการการเชื่อมต่อระหว่าง รพ.ศูนย์ กับ รพ.สต. ที่รับผู้ป่วยกลับไปดูแลต่อที่บ้าน ตามบริบทของชุมชน
การส่งต่อผู้ป่วย กลับสู่ชุมชนต้องมีการประสานงาน ที่ดีกับหน่วยทุติยภูมิ
งานวิจัยนี้สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาหลัการฯได้ เนื่องจากมีหัวข้อการเรียนการสอนเรื่องกาดูแลผู้ป่วยล้างไต สามารถนำข้อมูลไปชี้ให้นักศึกษาเห็นว่าการป่วยเป็นโรคไตมีผลอย่างไร จากนั้นต้องรับการอย่างไรตามกระบวนการและต้องให้การพยาบาลอย่างไรต่อไป
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านมากทั้งการดูแลผู้ป่วยที่อยู่บนหอผู้ป่วย และอีกทั้งสามารถเอาความรู้นี้ไปแนะนำต่อให้แก่ญาติผู้ดูแลไปดูแลผู้ป่วยต่อที่บ้านได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการดูผู้ป่วยที่ On CAPD นั้นถ้าดูแลไม่ดีนั้นจะก่อให้เกิดติดเชื้อมาก ดังนั้นการแนะนำการทำ CAPD นั้นจะต้องแนะนำให้อยู่ภายใต้ปราศจากเชื้อ เพื่อลดการติดเชื้อในเยื่อบุ่ช่องท้องได้
งานวิจัยนี้ถือว่ามีประโยชน์อย่างมาก สามารถนำงานวิจัยเรื่องนี้ไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีในเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้อง และภาคปฏิบัติซึ่งนักศึกษาสามารถให้การพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมสามารถร่วมวางแผนจำหน่าย (discharge planning) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ถูกต้อง เหมาะสม และต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่บ้านหลังจากจำหน่าย