นวัตกรรม ?เก้าอี้โยกย้ายผ่อนคลายปวดเมื่อย?
?
นาถลดา หัสโน ๑?? ?ธนิดา? มาอยู่ ๑
น้ำฝน เภาแก้ว ๑ พิศิษฐ์ พวงนาค ๒
บทคัดย่อ
?
บทนำและวัตถุประสงค์
??????????? อาการปวดเมื่อยบริเวณหลัง คอ เอว น่องและข้อต่างๆเกิดจากความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่เกิดกับคนนั่งทำงานนานหรือทำงานประเภทตั้งโต๊ะ เช่น นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งวัตถุประสงค์ของนวัตกรรม ?เก้าอี้โยกย้าย ผ่อนคลายปวดเมื่อย?เพื่อนวดผ่อนคลายความปวดเมื่อของกล้ามเนื้อบริเวณแผ่นหลัง แขน ฝ่ามือ สะโพกและเท้า
ระเบียบวิธีการศึกษา
นวัตกรรม ?เก้าอี้โยกย้าย ผ่อนคลายปวดเมื่อย? สร้างจากวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เช่น โครงเก้าอี้ที่ไม่ใช้แล้ว ลูกปัด และนำไปทดลองใช้กับผู้ที่มีอาการปวดเมื่อกล้ามเนื้อ ในกลุ่มอายุ ๑๘ ? ๓๐ ปี และ ๓๑ ปี ขึ้นไป ใช้แบบวัดความปวด Paint scale และสอบถามความเหมาะสมของนวัตกรรม ?เก้าอี้โยกย้าย ผ่อนคลายปวดเมื่อย?
ผลการศึกษา
๑. ความเจ็บปวดก่อนทดลองใช้นวัตกรรม ?เก้าอี้โยกย้ายผ่อนคลายปวดเมื่อย? กลุ่มอายุ ๑๘ ? ๓๐ ปี พบว่า ส่วนใหญ่ ขยับปวดเล็กน้อย (๒-๔) รองลงมา คือ ขยับไม่ปวด (๐-๑) และขยับปวดมาก (๕-๗) หลังทดลองใช้นวัตกรรม ?เก้าอี้โยกย้ายผ่อนคลายปวดเมื่อย? กลุ่มอายุ ๑๘ ? ๓๐ ปี พบว่า ส่วนใหญ่ ขยับไม่ปวด (๐-๑) รองลงมา คือ ขยับปวดเล็กน้อย(๒-๔) และขยับปวดมาก (๕-๗) โดยเห็นว่าความเหมาะสมของนวัตกรรม ?เก้าอี้โยกย้ายผ่อนคลายปวดเมื่อย?อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ มากที่สุด โดยเมื่อจำแนกรายข้อพบว่า ระดับมากที่สุด ๓ อันดับแรก ได้แก่ มีความมั่นใจและปลอดภัยในการในนวัตกรรมและนวัตกรรมมีความสะอาดน่าใช้บริการ รองลงมา คือ นวัตกรรมสามารถรองรับน้ำหนักของผู้ใช้บริการได้ ระดับมาก ๓ อันดับแรก ได้แก่ ความคุ้มค่าในการเลือกใช้นวัตกรรม รองลงมา คือ ความสะดวกในใช้นวัตกรรม และประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในการทำนวัตกรรมได้เหมาะสมคุ้มค่า
??????????? ๒. ความเจ็บปวดก่อนทดลองใช้นวัตกรรม ?เก้าอี้โยกย้ายผ่อนคลายปวดเมื่อยกลุ่มอายุ ๓๑ ปี ขึ้นไป ส่วนใหญ่ ขยับปวดเล็กน้อย (๒-๔) รองลงมา คือ ขยับปวดมาก (๕-๗) และขยับไม่ปวด (๐-๑) ตามลำดับ????? หลังทดลองใช้นวัตกรรม ?เก้าอี้โยกย้ายผ่อนคลายปวดเมื่อยกลุ่มอายุ ๓๑ ปี ขึ้นไป พบว่า ส่วนใหญ่ ขยับไม่ปวด (๐-๑) รองลงมา คือ ขยับปวดเล็กน้อย (๒-๔) โดยเห็นว่าความเหมาะสมของนวัตกรรม ?เก้าอี้โยกย้ายผ่อนคลายปวดเมื่อย?อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกรายข้อพบว่า ระดับมากที่สุด ๓ อันดับแรก ได้แก่ นวัตกรรมสามารถรองรับน้ำหนักของผู้ใช้บริการได้ รองลงมา คือ นวัตกรรมมีความประณีต สวยงาม และนวัตกรรมสามารถรองรับน้ำหนักของผู้ใช้บริการได้
ข้อเสนอแนะในการพัฒนานวัตกรรม ได้แก่ การใช้นวัตกรรม ควรติดตามผลการใช้ระยะยาว พนักพิงหลังควรปรับเอนได้เพื่อความสุขสบายขึ้น ที่วางเท้าควรขยายขนาดให้สามารถยึดขาและเท้าอีกเล็กน้อย? ?เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณเท้าและหลังได้เป็นอย่างดี แต่ควรเพิ่มขนาดความยาวของที่รองรับเท้า เพื่อรับกับสรีระ และขนาดลูกปัดด้านหลังควรมีขนาดใหญ่ตรงตามแนวกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยนวดแผ่นหลัง??ถ้าลูกปัดมีขนาดใหญ่ขึ้น จะได้ผลดีกว่านี้? ?ปรับที่รองแขนให้ต่ำลง เพราะสูงเกินไปจะเกิดอาการเมื่อแขนและหัวไหล่? ?ปรับที่รองรับฝ่าเท้าให้กว้างและยื่นออกมา เพราะขาอยู่ในลักษณะงอเข้าไปด้านในเก้าอี้และพื้นที่ในการขยับเลื่อนขึ้น-ลง มีน้อยเกินไป
๑ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ ๒? วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
๒ วิทยาจารย์ชำนาญการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์
?
?
?
?
Abstract
Muscle strain is common injuries that causes from poor sitting posture for a long time. This ?Massage Chair? aimed to relax the muscle strain by massage on back, arms, palms, hip and feet. The innovation was made from recycle materials such old chairs and beads. The participants of this study were divided in to two groups.? The former group was persons whose aged between 18-30 years old who experiences a muscle strain. The rest was whose aged above 31 years old who experiences a muscle strain. The pain scale was used to measure the level of pain and compared the level of pain before and after the chair was used.
The results showed that:
- Before using the chair, majority group of the participants whose aged between 18-30 years old presented that they had mild levels of pain during movement (2-4), followed by having a high level of pain during movement (5-7), and no pain during movement (0-1).? After the trial, most of the participants showed that they had no pain during movement (0-1), followed by mild levels of pain during movement (2-4), and high level of pain during movement (5-7), respectively.
- The majority group of the participants whose aged above 31 years old presented that , previous experience the chair,? they had high levels of pain during movement (5-7), followed by having a mild level of pain during movement (2-4). Following using of the chair, most of the participants asserted that they had no pain during movement (0-1), followed by mild levels of pain during movement (2-4).
- The satisfaction level toward the Massage chair presented in high level. The highest scores were indicated that the innovation can resist the participant?s weight and neat.
The results of this study, the Massage chair could relieve the pain from muscle strain on back, arms, palms, hip and feet. The recommendations for next study were enlarging the bead?s size and increasing the amount of bead at feet massage area.?นวัตกรรม ?เก้าอี้โยกย้ายผ่อนคลายปวดเมื่อย?