การจัดการความรู้ด้านการวิจัยปีการศึกษา 2554
รายงานการประชุมการจัดการความรู้ด้านการวิจัย
เอกสารประกอบการประชุมการจัดการความรู้ด้านการวิจัย
การจัดการความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ
วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
เรียบเรียงโดย นิกร?? จันภิลม
โรคพิษสุนัขบ้า [Rabies] เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยมากเกิดจากถูกสัตว์กัด หรือข่วนเชื้อจากน้ำลายของสัตว์เข้าได้ทางผิวหนังที่เป็นแผลเป็น หรือรอยขีดข่วนหรือทางเยื่อเมือกต่างๆโดยมีอัตราการตายสูงมากหากรอจนเกิดอาการจึงต้องป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนไว้ก่อน หากสงสัยว่าสัตว์ที่กัดอาจมีเชื้ออยู่ระยะฟักตัวของหลังการได้รับเชื้อนานประมาณ30-90 วันโดยอาจมีอาการไม่จำเพาะนำมาก่อน10 วันแล้วจึงตามด้วยอาการของระบบประสาท เช่น อาการวุ่นวาย สับสน อาการเกร็งของกล้ามเนื้อคอทำให้กลืนน้ำลำบาก มีไข้ เวลาถูกลมจะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อใบหน้า ชัก และอัมพาตของกล้ามเนื้อต่างๆ และเสียชีวิต ระยะฟักตัวอาจจะสั้นเพียง 10 วันถ้าแผลนั้นอยู่บริเวณใบหน้า คอ แขน หลังถูกกัดเชื้อยังอยู่บริเวณแผลระยะหนึ่งก่อนซึ่งการให้ rabies immune globulin ที่บริเวณแผลอาจช่วยกำจัดเชื้อได้ เชื้อไวรัสจะเดินทางตามเส้นประสาท ควรทำความสะอาดบาดแผลที่ถูกกัดหรือถูกข่วนด้วยน้ำสะอาดและสบู่หรือผงซักฟอกแล้วเช็ดแผลด้วยแอลกอฮอล์ 70%และใส่ยา povidone-iodineขั้นตอนนี้สำคัญมากเพราะเป็นการลดจำนวนเชื้อและควรฉีด
วัคซีนป้องกันบาดทะยัก
การฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า rabies vaccination ในคน
1. การป้องกันแบบล่วงหน้าหรือ pre-exposure ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงหรือสัมผัสสัตว์ เช่นสัตวแพทย์ แพทย์ หรือผู้ดูแลสัตว์ในสวนสัตว์ วิธี ฉีดเข้ากล้ามหรือใต้ผิวหนังในวันที่ 0,7,21
2. การป้องกันเมื่อโดนสุนัขหรือสัตว์กัดไปแล้ว หรือ post-exposure vaccination วิธี ดูตามลักษณะแผลเป็นกลุ่มตาม WHO หรือองค์การอนามัยโลกได้เป็น กลุ่ม I ,II,III
กลุ่ม I แผลข่วนถลอก ไม่มีเลือด ให้วัคซีนในวันที่ 0,3,7,14,28 ทั้งหมด 5 ครั้ง แบบเข้ากล้ามหรือใต้ผิวหนัง
กลุ่ม II แผลมีเลือดออก
กลุ่ม III แผลฉีกขาดชัดเจน
กลุ่มII และกลุ่ม III นอกจากจะได้วัคซีนแบบกลุ่มแรก จำเป็นต้องฉีด RIG หรือ Rabies Immunoglobulin ด้วย ซึงแบ่งเป็นของคน และของม้า (HRIG และ ERIG) ของคนจะแพง แต่แพ้น้อยกว่า แต่ต้องระวังติดโรคอื่นๆจากซีรั่มของคนด้วย ส่วนของม้า ก็ถูก แต่ต้องระวังการแพ้อย่างรุนแรง
วัคซีนในปัจจุบัน ผลิตโดยกรรมวิธี recombinant ได้วัคซีนบริสุทธิ์ที่ไม่ต้องเพาะในสัตว์ทดลองหรือในไข่ ปลอดภัยจากการแพ้โปรตีน มีสองชนิดคือ PCEC และ TRCS ในกรณีที่ไม่มั่นใจ แต่สามารถกักสัตว์ได้ หรือสัตว์มีเจ้าของให้ดูอาการ 7 วันระหว่างนั้นก็ฉีดวัคซีนในวันที่ 0,3,7 ถ้าสัตว์ตาย ฉีดให้ครบ 5 เข็ม ถ้าสัตว์ไม่ตาย ฉีดวันที่ 21 อีกเข็ม ก็จะเป็นแบบ pre-exposure กันได้ 2 ปี ระหว่างนี้ถ้าโดนสัตว์กัด ก็ สามารถฉีดเป็น booster (กระตุ้น)ได้โดยฉีดแค่2 เข็มวันที่ 0,3 ทุก 2 ปี
แนวทางพิจารณาว่าควรฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าหรือไม่
1.หากเป็นสัตว์เลี้ยงและอาการปกติให้สังเกตเป็นเวลา 10วันถ้าเป็นปกติไม่น่าจะมีการติดเชื้อ
2. สัตว์ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าอาจจะแพร่เชื้อได้เหมือนกันถ้าวัคซีนที่ได้รับนั้นไม่มีประสิทธิภาพ โอกาสเสี่ยงที่
สุนัขจะมีการติดเชื้อจะลดลงมากหากสุนัขสุขภาพสมบูรณ ์และมีประวัติแน่ชัดว่าได้รับการฉีดที่มีประสิทธิภาพดีมาแล้วอย่างน้อย 2ครั้งในกรณีที่ถูกสุนัขดังกล่าวกัดให้สังเกตอาการของสุนัขประมาณ10วันโดยยัง ไม่ต้องรักษาถ้าสุนัขแสดงอาการป่วยให้รีบรักษาทันที
3. หากเป็นสัตว์ป่าควรจะฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
อาการข้างเคียง ผู้ที่ได้รับวัคซีนอาจมีอาการปวด บวม แดง และคันบริเวณที่ฉีด
อ้างอิง : ชิษณุ? พันธุ์เจริญ และคณะ. 2553. คู่มือวัคซีน 2010 และประเด็นในการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส
http://www.thaihealth.net/h/content-74.html (วันที่สืบค้นข้อมูล 31 สิงหาคม 2554)
http://www.siamhealth.net/public_html/vaccination/rabies.htm (วันที่สืบค้นข้อมูล 31 สิง
กินเพื่อต้านโรค
กินเพื่อต้านโรค
พรรณพิไล? สุทธนะ
ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
อาหารเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกย่อยเป็นโครงสร้างเล็กๆ เพื่อเข้าสู่กระบวนการเผาผลาญ ทำให้เซลล์เล็กๆ ในร่างกายสามารถนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์และเป็นพลังงาน? แต่วิถีชีวิตและพฤติกรรมของคนปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคที่มีการแข่งขันสูง? ทำให้คนเราดำเนินชีวิตในแต่ละวันด้วยความเร่งรีบ ไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องอาหารการกินมากนัก สะดวก เร็ว อิ่ม เป็นใช้ได้ ?โดยไม่รู้ว่าอาหารที่รับประทานเข้าไปด้วยความเร่งรีบและไม่ใส่ใจนั้น มีคุณค่าทางโภชนาการไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะอาหารจำพวกอาหารขยะ เช่น ขนมขบเคี้ยวรสเค็ม รสหวาน น้ำอัดลม พิซซ่า มันฝรั่งทอด เป็นต้น? ที่มีแต่แป้ง น้ำตาล และไขมันเกินความจำเป็น
เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และไขมันที่มากเกินไป ทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด เมื่อมีปริมาณอินซูลินไม่เพียงพอ จึงทำให้เป็นโรคเบาหวานได้ ?นอกจากนี้แป้งและน้ำตาลที่เหลือใช้จะเปลี่ยนเป็นไขมันและสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดโรคอ้วน ซึ่งเมื่อเกิดการสะสมมากขึ้น ระบบการทำงานของร่างกายจะเริ่มแปรปรวนและทำงานบกพร่องจนนำไปสู่โรคต่างๆ เช่น ไขมันที่ไปเกาะอยู่ตามหลอดเลือดจะทำให้หลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่น ปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด จนอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง และการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มมากก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้? ดังนั้น การกิน จึงไม่ใช่แค่กินอย่างไรให้อร่อย แต่ควรเน้น ?การกินเพื่อต้านโรค? ?โดยเริ่มจากการเลือกกินอาหารที่หลากหลาย ให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นการกินธัญพืช ผัก ผลไม้ เป็นหลัก ?เลือกกินแต่ไขมันชั้นดี? ลดหรือเลี่ยงการกินแป้ง น้ำตาล และอาหาร/ขนมที่มีรสเค็ม? ควบคุมปริมาณพลังงานและสัดส่วนสารอาหารในแต่ละวัน โดยเฉลี่ยพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน 50% ควรมาจาก กลุ่มคาร์โบไฮเดรต ซึ่งควรเน้นอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าว และธัญพืชต่างๆ อาหารกลุ่มโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ (เน้นปลา) ไข่ และถั่วต่างๆ ควรได้รับประมาณ 15% ส่วนที่เหลือ 35% มาจากไขมันชนิดดี หรือไขมันที่ไม่อิ่มตัว ดังนั้น ถ้าไม่อยากไปหาหมอบ่อยก็เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลายประเภทขอให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีนะค่ะ
อ้างอิง
เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และพรทิพย์ เต็มวิเศษ. ยาคืออาหารรักษาโรค ในภูมิปัญญาไทย. ปีที่ 11 ฉบับที่ 4
(มกราคม-กุมภาพันธ์ 2545).
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_200.htm
http://www.oknation.net/blog/diamond/2010/09/28/entry-1
โทรทัศน์มีผลกระทบต่อพัฒนาการลูกจริงหรือ
โทรทัศน์มีผลกระทบต่อพัฒนาการลูกจริงหรือ
ผู้เขียน? นางสุธีรา? งามวาสีนนท์
สื่อโทรทัศน์ที่เผยแพร่อยู่ทุกวันนี้ มีความหลากหลายของรูปแบบการนำเสนอ มีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เหมือนมีเพื่อนอยู่ใกล้ๆ? คลายเหงาได้? สำหรับผู้ปกครองบางคน ใช้โทรทัศน์เป็นเพื่อนให้กับลูกของท่าน ผู้เขียนเคยได้ยินจากคุณแม่ท่านหนึ่งบอกว่าต้องดูแลลูกคนเดียว กิจกรรมในบ้านก็ต้องทำทั้งหมด ลูกก็ตื่นบ่อย? ไม่รู้จะทำอย่างไรก็ให้โทรทัศน์เป็นเพื่อนลูกก็ดีนะคะ เพราะลูกสงบได้ แต่ในอนาตตไม่รู้ว่าจะมีผลต่อลูกหรือเปล่า
สื่อโทรทัศน์มีผลกระทบต่อเด็กในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านพฤติกรรม ทัศนคติ และความเชื่อ ?ผู้ปกครองจึงจำเป็นต้องมีความรู้ และเข้าใจถึงผลกระทบของโทรทัศน์ที่จะมีต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและพฤติกรรมของเด็ก
ผลกระทบต่ออารมณ์และพฤติกรรม
เด็กที่ดูโทรทัศน์ตั้งแต่เล็ก ๆ จะเรียนรู้ สังเกต จดจำ และซึมซับความรุนแรง และใช้ความก้าวร้าวรุนแรงต่อคนอื่นในการแก้ปัญหา แทนที่จะใช้การควบคุมตนเองหรือใช้วิธีการอื่น ???? การรับรู้ความรุนแรงผ่านทางสื่อซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นเวลานานๆ จะทำให้เด็กชาชินไปกับความรุนแรง และขาดความเอื้ออาทรต่อบุคคลอื่นในชีวิตจริง
ผลกระทบต่อพฤติกรรมทางเพศ
เด็กๆ ได้เห็นพฤติกรรมทางเพศของผู้ใหญ่ผ่านสื่อโทรทัศน์ ซึ่งแสดงออกถึงความสนุกสนาน ตื่นเต้น และถือเป็นเรื่องปกติโดยไม่ได้สอดแทรกถึงผลเสียที่จะตามมาจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย ซึ่งเด็กอาจเข้าใจผิด อยากลอง อยากรู้ หรืออยากทำตามเพื่อให้ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ใหญ่
ผลต่อพัฒนาการด้านการมองและการฟัง
ขณะดูโทรทัศน์ ลูกตาจะมีการเคลื่อนไหวน้อยมาก ซึ่งการกลอกตาและให้ลูกตาได้มีการเคลื่อนไหวมองสำรวจ สังเกตสิ่งต่างๆ จำเป็นสำหรับการมองเห็น? ส่วนในเรื่องของทักษะการฟังนั้น การเปิดโทรทัศน์ตลอดเวลาจะรบกวนสมาธิในการฟังของเด็ก? และอาจมีปัญหาเรื่องสมาธิสั้น
ผลทางโภชนาการ
เด็กที่ดูโทรทัศน์มากมักจะอ้วน เพราะเวลาส่วนใหญ่ถูกใช้ไปในการดูโทรทัศน์ จึงไม่มีเวลาเหลือในการออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหว และขณะดูโทรทัศน์เด็กมักกินเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอาหาร เครื่องดื่มหรือขนมขบเคี้ยวที่มีแคลลอรี่สูงที่โฆษณาในโทรทัศน์
ผลกระทบต่อการเสพสื่อต่างๆทำให้เกิดผลกระทบต่อเด็กทั้งแง่บวกและแง่ลบ? ดั้งนั้นผู้ปกครองควรมีความรู้เกี่ยวกับสื่อ? เพื่อให้เข้าใจและรู้ทันสื่อ สามารถเลือกใช้โทรทัศน์ให้เกิดประโยชน์แก่เด็กและหลีกเลี่ยงผลเสียที่จะตามมา? ผู้ปกครองต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการดูโทรทัศน์ สนับสนุนให้เด็กได้ทำกิจกรรมอื่น
เลือกรายการที่มีสาระ สร้างกฎ กติกาในการดูโทรทัศน์กับลูก
ถ้าผู้ปกครองมีความเข้าใจ? ให้เวลากับเด็ก ให้ความสนใจในการใฝ่รู้ของเด็กแล้วก็สามารถเป็นเกาะ
ป้องกันอันตรายที่จะเข้ามาสู่เด็กได้
-? www. Dekdee.com.
การใช้ NSAIDs กับอาการใจสั่น
การใช้ NSAIDs กับอาการใจสั่น
ศศิธร ชิดนายี*
หลายๆคนคงเคยมีประสบการณ์ได้รับการรักษาด้วยยาบรรเทาอาการปวด อักเสบกล้ามเนื้อ ต่อไปนี้เป็นการศึกษาที่ผู้ที่จะรับประทานยาแก้ปวดควรระมัดระวังไว้จากการศึกษาของ Morten Schmidt (Aarhus University Hospital, Denmark) และคณะพบว่า มีการใช้ยากลุ่มลดอาการปวดชนิด Nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs)และ ยากลุ่ม COX-2 inhibitors เช่น rofecoxib (Vioxx, Merck & Co)เพื่อลดอาการอักเสบ ซึ่ง ยากลุ่มCOX-2 inhibitorsในขณะนี้พบว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและไตมากขึ้น? มีอุบัติการณ์ของการเกิดหัวใจสั่นพริ้ว (Atrial fibrillation and flutter)จากการรับประทานยากลุ่มนี้พบ 0.5% ในกลุ่มอายุ ?50 – 59 ปี ถึง 10% ในกลุ่มที่มีอายุ 80 – 89 ปี ซึ่งอาการหัวใจสั่นพริ้ว (Atrial fibrillation and flutter)จะทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต (thromboembolic stroke ) และหัวใจล้มเหลวได้ ซึ่งสาเหตุเกิดจากยามีผลข้างเคียงต่อไตแต่ผลที่พบยังมีอัตราค่อนข้างต่ำแพทย์ที่จะสั่งจายยากลุ่มนี้ควรคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้ป่วยด้วย
ผลการวิจัยนี้ ศึกษาในผู้ป่วยประเทศเดนมาร์กที่ใช้ยากลุ่ม NSAIDs32602 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นatrial fibrillation or flutter ตั้งแต่ปี 1999?2008 เปรียบเทียบกับผู้ป่วยประเภทเดียวกันที่ไม่ใช้ยากลุ่ม NSAIDs จำนวน 325918 คนพบว่ากลุ่มที่ใช้ NSAIDs มีอัตราการเกิด หัวใจสั่นพริ้ว 17 % (incidence rate ratio [IRR] 1.17; 95% CI 1.10?1.24). กลุ่มที่ใช้ COX-2 inhibitorsมีอุบัติการณ์ความเสี่ยงค่อยๆเพิ่มขึ้น(IRR 1.27; 95% CI 1.20?1.34). การศึกษายังพบด้วยว่ากลุ่มคนที่เริ่มใช้ยากลุ่มนี้ใหม่ๆภายใน 2 เดือนมีความเสี่ยงต่อการเกิดเพิ่มขึ้น 46? -71 % เมื่อเปรียบเทียบกับอีกกลุ่ม เป็นที่น่าสนใจในการศึกษานี้พบอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นในผู้ใช้รายใหม่แตกต่างจากการศึกษาในอังกฤษที่พบในผู้ที่ใช้ยามานาน เนื่องจากยังขาดการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลหลายอย่างเช่น ขนาดที่ใช้ การใช้ในกลุ่มที่อ้วน ดังนั้นผู้ที่ใช้ยาควรระมัดระวังอาการนี้ด้วย
เอกสารอ้างอิง
1.Michael O’Riordan. Use of NSAIDs Linked With Risk of Atrial Fibrillation or Flutter. [online] http://www.medscape.org/viewarticle/746044?src=cmemp
2. Schmidt M, Christiansen, Mehnert F, et al. Nonsteroidal anti-inflammatory drug use and risk of atrial fibrillation or flutter: population-based case-control study. BMJ 2011; 343:d3450. DOI: 10.1136/bmj.d3450. Available at: http://www.bmj.com/
2.Gurwitz JH. NSAIDs and atrial fibrillation. BMJ 2011; 343:d2495. DOI: 10.1136/bmj.d2495. Available at: http://www.bmj.com/
*พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ? วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์