ที่อ.อรทัย Post แนวคิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอ.วรรณพร ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ที่ทางภาควิชาต้องนำมาพูดคุย แลกเปลี่ยน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติตอไป
แต่ดิฉัน และอ.วรรณวดี เคยพูดคุยกันว่า การที่อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญใน field เช่น ANC LR หรือ PP อาจารย?มีความเป็น specialist สูง จะสามารถถ่ายทอด ให้ความรู้ให้แก่นศ. ได้มาก เนื่องจากอาจารย์เป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ในด้านนั้น ๆ ค่อนข้างสูล อาจทำให้นศ. ได้เรียนรู้เนื้อหาใน field นั้น ๆ ได้อย่างลึกซึ้ง มีความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้ดี…เป็นประเด็นระหว่าง special area training VS non-specific training
จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์วรรณพร ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วพบ.พุทธชินราช ซึ่งที่ผ่านมานศ.วพบ. พุทธชินราชสอบเครือข่ายภาคเหนือรายวิชาผดุงครรภ์และมารดาทารกอยู่ระดับต้นของเครือข่าย จึงได้พูดคุยสอบถาม พบว่า ที่วพบ.พูทธชินราชนั้นมีการเตรียมนักศึกษาด้านความรู้ไปพร้อมๆกับการฝึกปฏิบัติ ซึ่งในการวางแผนสำหรับการฝึกภาคปฏิบัติของนศ. จะมีการจัดให้กลุ่มนศ. ร่วมกับการจัดอาจารย์นิเทศในการติดตามประเมินผลการฝึกของกลุ่มนศ. โดยหนึ่งกล่มมีอาจารย์หนึ่งคนที่ตามนศ.ฝึกทั้งแผนกห้องคลอด ฝากครรภ์และหลังคลอด ซึ่งการจัดการฝึกแบบนี้ในช่วงแรกก็มีปัญหาและอุปสรรค์อยู่บ้างแต่พบว่าได้ผลที่ดีต่อนศ. ซี่งมีส่วนทำให้การสอบเครือข่ายภาคเหนือได้ผลดี ซึ่งเป็นอีกแนวหนึ่งที่อาจนำมาพิจารณาให้เหมาะสมกับบริบทของวพบ. อุตรดิตถ์ได้ เพิ่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติต่อไป
ที่อ.อรทัย Post แนวคิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอ.วรรณพร ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ที่ทางภาควิชาต้องนำมาพูดคุย แลกเปลี่ยน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติตอไป
แต่ดิฉัน และอ.วรรณวดี เคยพูดคุยกันว่า การที่อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญใน field เช่น ANC LR หรือ PP อาจารย?มีความเป็น specialist สูง จะสามารถถ่ายทอด ให้ความรู้ให้แก่นศ. ได้มาก เนื่องจากอาจารย์เป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ในด้านนั้น ๆ ค่อนข้างสูล อาจทำให้นศ. ได้เรียนรู้เนื้อหาใน field นั้น ๆ ได้อย่างลึกซึ้ง มีความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้ดี…เป็นประเด็นระหว่าง special area training VS non-specific training
ศศมน
ขอบคุณค่ะ และจากการที่เคยได้เข้าร่วมการประชุมการจัดการองค์ความรู้ของเครือข่ายภาคเหนือ ทางวิทยาลัยพยาบาลพะเยา จะแบ่งการฝึกตามพัฒนาการของผู้เรียน โดยช่วงภาคการศึกษาที่ ๑ ของปี ๓ นักศึกษาจะเรียนทฤษฎีเกี่ยวกับการพยาบาลในแผนกฝากครรภ์อย่างเดียว และจัดการฝึกแบบ study day และฝึกภาคปฏิบัติแผนก ANC ก่อน และภาคการศึกษาที่ ๒ จะเรียนภาคทฤษฎีของแผนกห้องคลอดและหลังคลอด ซึ่งอาจารย์เชื่อว่าความรู้ที่แผนกฝากครรภ์เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้แผนกต่างๆ
เห็นด้วยกับอ.อรทัย? และสิ่งที่จะช่วยเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้จากภาคปฏิบัติหรือจากประสบการณ์ตรงได้ดีขึ้น ครูหรือพยาบาลพี่เลี้ยงที่สอนข้างเตียงมีบทบาทสำคัญยิ่งที่จะช่วยเชื่อมโยงความรู้จากทฤษฎีในตำรากับสิ่งที่พบในผู้ป่วยคะ
เห็นด้วยกับความคิดเห็นของอาจารย์ทุกท่านนะคะ ที่มีแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่หลากหลายแนวทาง แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ การมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ประโยชน์มากที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นดิฉันคิดว่าการพัฒนาการเรียนการสอนภาคปฏิบัติควรจะพัฒนาควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี เพื่อให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติได้ และการพัฒนาด้านการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาส่ิงที่สำคัญอีกอย่างคือการฝึกให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์กรณีศึกษาให้มากขึ้น และภาคทฤษฎีนักศึกษาสามารถฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ได่้จากการทำแบบฝึกหัด และทำข้อสอบค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นการจัดกลุ่มนศ. ร่วมกับการจัดอาจารย์นิเทศในการติดตามประเมินผลการฝึกของกลุ่มนศ. โดยหนึ่งกล่มมีอาจารย์หนึ่งคนที่ตามนศ.ฝึกทั้งแผนกห้องคลอด ฝากครรภ์และหลังคลอด ซึ่งพบว่าได้ผลที่ดีต่อนศ.?หรือการใช้อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญใน field เช่น ANC LR หรือ PP ซึ่งอาจารยมีความเป็น specialist สูง จะสามารถถ่ายทอด ให้ความรู้ให้แก่นศ. ได้มากนั้นขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้สอน และการบริหารจัดการเนื่องจากการนิเทศนักศึกษาอาจารย์จำเป็นต้องบันทึกการเรียนรู้และพฤติกรรมของนักศึกษาแต่ละคนอยู่แล้ว เมื่อนักศึกษาย้าย ward อาจารย์นิเทศward ต่อไปก็สามารถทราบความก้าวหน้าของนักศึกษาได้เช่นกัน
ผมเห็นด้วยนะครับ สำหรับการที่อาจารย์มีความเชี่ยวชาญ แล้วได้มีการติวหรือถ่ายทอดความรู้ให้กับ นศ. โดยเฉพาะขณะฝึกจะทำใหนักศึกษาเห็นภาพชัดขึ้นและจะจำเนื้อหาได้ดีครับ….