วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

เรียบเรียงโดย นิกร?? จันภิลม

โรคพิษสุนัขบ้า [Rabies] เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยมากเกิดจากถูกสัตว์กัด หรือข่วนเชื้อจากน้ำลายของสัตว์เข้าได้ทางผิวหนังที่เป็นแผลเป็น หรือรอยขีดข่วนหรือทางเยื่อเมือกต่างๆโดยมีอัตราการตายสูงมากหากรอจนเกิดอาการจึงต้องป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนไว้ก่อน หากสงสัยว่าสัตว์ที่กัดอาจมีเชื้ออยู่ระยะฟักตัวของหลังการได้รับเชื้อนานประมาณ30-90 วันโดยอาจมีอาการไม่จำเพาะนำมาก่อน10 วันแล้วจึงตามด้วยอาการของระบบประสาท เช่น อาการวุ่นวาย สับสน อาการเกร็งของกล้ามเนื้อคอทำให้กลืนน้ำลำบาก มีไข้ เวลาถูกลมจะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อใบหน้า ชัก และอัมพาตของกล้ามเนื้อต่างๆ และเสียชีวิต ระยะฟักตัวอาจจะสั้นเพียง 10 วันถ้าแผลนั้นอยู่บริเวณใบหน้า คอ แขน หลังถูกกัดเชื้อยังอยู่บริเวณแผลระยะหนึ่งก่อนซึ่งการให้ rabies immune globulin ที่บริเวณแผลอาจช่วยกำจัดเชื้อได้ เชื้อไวรัสจะเดินทางตามเส้นประสาท ควรทำความสะอาดบาดแผลที่ถูกกัดหรือถูกข่วนด้วยน้ำสะอาดและสบู่หรือผงซักฟอกแล้วเช็ดแผลด้วยแอลกอฮอล์ 70%และใส่ยา povidone-iodineขั้นตอนนี้สำคัญมากเพราะเป็นการลดจำนวนเชื้อและควรฉีด

วัคซีนป้องกันบาดทะยัก

การฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า rabies vaccination ในคน

1. การป้องกันแบบล่วงหน้าหรือ pre-exposure ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงหรือสัมผัสสัตว์ เช่นสัตวแพทย์ แพทย์ หรือผู้ดูแลสัตว์ในสวนสัตว์ วิธี ฉีดเข้ากล้ามหรือใต้ผิวหนังในวันที่ 0,7,21

2. การป้องกันเมื่อโดนสุนัขหรือสัตว์กัดไปแล้ว หรือ post-exposure vaccination วิธี ดูตามลักษณะแผลเป็นกลุ่มตาม WHO หรือองค์การอนามัยโลกได้เป็น กลุ่ม I ,II,III

กลุ่ม I แผลข่วนถลอก ไม่มีเลือด ให้วัคซีนในวันที่ 0,3,7,14,28 ทั้งหมด 5 ครั้ง แบบเข้ากล้ามหรือใต้ผิวหนัง

กลุ่ม II แผลมีเลือดออก

กลุ่ม III แผลฉีกขาดชัดเจน

กลุ่มII และกลุ่ม III นอกจากจะได้วัคซีนแบบกลุ่มแรก จำเป็นต้องฉีด RIG หรือ Rabies Immunoglobulin ด้วย ซึงแบ่งเป็นของคน และของม้า (HRIG และ ERIG) ของคนจะแพง แต่แพ้น้อยกว่า แต่ต้องระวังติดโรคอื่นๆจากซีรั่มของคนด้วย ส่วนของม้า ก็ถูก แต่ต้องระวังการแพ้อย่างรุนแรง

วัคซีนในปัจจุบัน ผลิตโดยกรรมวิธี recombinant ได้วัคซีนบริสุทธิ์ที่ไม่ต้องเพาะในสัตว์ทดลองหรือในไข่ ปลอดภัยจากการแพ้โปรตีน มีสองชนิดคือ PCEC และ TRCS ในกรณีที่ไม่มั่นใจ แต่สามารถกักสัตว์ได้ หรือสัตว์มีเจ้าของให้ดูอาการ 7 วันระหว่างนั้นก็ฉีดวัคซีนในวันที่ 0,3,7 ถ้าสัตว์ตาย ฉีดให้ครบ 5 เข็ม ถ้าสัตว์ไม่ตาย ฉีดวันที่ 21 อีกเข็ม ก็จะเป็นแบบ pre-exposure กันได้ 2 ปี ระหว่างนี้ถ้าโดนสัตว์กัด ก็ สามารถฉีดเป็น booster (กระตุ้น)ได้โดยฉีดแค่2 เข็มวันที่ 0,3 ทุก 2 ปี

แนวทางพิจารณาว่าควรฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าหรือไม่

1.หากเป็นสัตว์เลี้ยงและอาการปกติให้สังเกตเป็นเวลา 10วันถ้าเป็นปกติไม่น่าจะมีการติดเชื้อ

2. สัตว์ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าอาจจะแพร่เชื้อได้เหมือนกันถ้าวัคซีนที่ได้รับนั้นไม่มีประสิทธิภาพ โอกาสเสี่ยงที่

สุนัขจะมีการติดเชื้อจะลดลงมากหากสุนัขสุขภาพสมบูรณ ์และมีประวัติแน่ชัดว่าได้รับการฉีดที่มีประสิทธิภาพดีมาแล้วอย่างน้อย 2ครั้งในกรณีที่ถูกสุนัขดังกล่าวกัดให้สังเกตอาการของสุนัขประมาณ10วันโดยยัง ไม่ต้องรักษาถ้าสุนัขแสดงอาการป่วยให้รีบรักษาทันที

3. หากเป็นสัตว์ป่าควรจะฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

อาการข้างเคียง ผู้ที่ได้รับวัคซีนอาจมีอาการปวด บวม แดง และคันบริเวณที่ฉีด

อ้างอิง : ชิษณุ? พันธุ์เจริญ และคณะ. 2553. คู่มือวัคซีน 2010 และประเด็นในการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส

http://www.thaihealth.net/h/content-74.html (วันที่สืบค้นข้อมูล 31 สิงหาคม 2554)

http://www.siamhealth.net/public_html/vaccination/rabies.htm (วันที่สืบค้นข้อมูล 31 สิง