การจัดการความรู้ด้านการวิจัยปีการศึกษา 2554
รายงานการประชุมการจัดการความรู้ด้านการวิจัย
เอกสารประกอบการประชุมการจัดการความรู้ด้านการวิจัย
รายงานการประชุมการจัดการความรู้ด้านการวิจัย
เอกสารประกอบการประชุมการจัดการความรู้ด้านการวิจัย
RSS feed สำหรับความเห็นต่อเรื่องนี้ TrackBack URI
งานจัดการความรู้ได้จัดประชุมคณาจารย์ที่มีผลงานวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกัน และหาแนวทางในการทำวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพ หากอาจารย์ที่มีผลงานการทำวิจัยมีข้อเสนอต่างๆขอให้ช่วยเสนอแนะด้วยค่ะ
ทำวิจัยเรื่องภาวะสุขภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์ชุมชนนาโปร่ง ซึ่งเป็นชุมชนที่ทำ MOU กับวิทยาลัยพบว่าการเก็บข้อมูลกล่มประชากรในชุมชนควรคำนึงถึงความสะดวกของประชากรที่เราจะเข้าไปเก็บข้อมูล รวมถึงควรมีการทำความเข้าใจในเรื่องที่เราจะไปเก็บข้อมูลด้วย ปัญหาทนึ่งที่พบคือปัญหาเรื่องเวลาที่เราเข้าไปเก็บข้อมูลเนื่องจากบางช่วงเวลาประชากรที่จะเก็บข้อมูลไม่อยู่? อีกอย่างคือการสับสนของประชากรเนื่องจากมีหลายกล่มงาน หลายภาควิชาที่เข้ามาทำกิจกรรมกับชุมชน หรือเก็บข้อมูลกับชุมชน ซึ่งอาจสร้างความสับสนได้ รวมถึงอาจสร้างความลำบากให้ประชากรได้เนื่องจากมีการเข้าไปขอข้อมูลหลายๆครั้ง ดังนั้นการทำวิจัยสร้างเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะในกล่มตัวอย่างเดียวกัน ควรมีการพูดคุยกันในการวางแผนในการเก็บข้อมูลร่วมกัน เพื่อป้องกันความสับสน และไม่สร้างความเบื่อหน่ายของกล่มตัวอย่างที่ต้องตอบแบบสอบถามบ่อยครั้ง?
ควรเน้นงานวิจัยจากงานประจำ และอยากให้เน้นพัฒนาการเรียนการสอนด้วยค่ะ
การส่งเสริมการทำวิจัยด้านการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อตอบวิสัยทัศน์ของวิทยาลัย ภายใต้ความมากล้นของภาระงานอาจารย์ด้านการสอน เชื่อว่า สามารถกระทำได้ โดยบูรณาการการวิจัยกับการจัดการเรียนการสอน ซึ่ง setting การทำวิจัยนั้น สามารถทำได้ในทุก setting ถ้าเข้าใจคำจำกัดความของการส่งเสริม/สร้างเสริมสุขภาพที่ WHO ได้ระบุว่าว่า การส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion) คือ กระบวนการเพิ่มความสามารถของประชาชนในการควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพให้ดีขึ้น
การได้พูดคุยเกี่ยวกับการจัดการความรุ้ด้านการวิจัยที่ส่งเสริมสุขภาพ ทำให้ได้ข้อคิดเห็นจากคณาจรย์ที่หลากหลายได้กรอบการทำวิจัยที่ชัดเจน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้่กับงานวิจัยในอนาคตได้เป็นอย่างดี
ในการทำวิจัย เรื่องการส่งเสริมสุขภาพนั้น ถ้าเป็นไปได้ อาจทำเป็นตามช่วงวัย ซึ่งเราจะได้เห็นพัฒนาการในการส่งเสริมสุขภาพ แต่ละช่วงวัย? โดยอาจจัดเวที การประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ ภายในวิทยาลัย? เมื่อได้ความรู้? เราสามารถมาบูราณาการความรู้ ในงานการเรียรการสอน หรือบริการวิชาการต่อ
เห็นด้วยกับ อ.บุญฤทธิ์ว่าควรทำแต่ละช่วงวัยโดยการบูรณาการกับการเรียนการสอนและการทำเป็นทีมก็อาจช่วยให้เกิดชิ้นงานได้
ปีการศึกษา 2554 ได้ทำวิจัยเรื่องภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่นาโปร่งแล้วค่ะ โดยได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลขณะนักศึกษาฝึกในรายวิชา ป.ป.3 แล้ว ซึ่งตรงนี้ก็น่าจะได้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของบุคคลวัยนี้และจะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุต่อไป และถ้าประสานงานและรายงานผลต่อรพ.สต ม่อนดินแดง และเทศบาลตำบลท่าเสา คาดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เพื่อพัฒนางานต่อไป
เห็นด้วยกับอาจารย์อรทัย การเก็บรวบรวมข้อมูลควรคำนึงถึงความสะดวกของประชากรที่เราจะเข้าไปเก็บข้อมูล รวมถึงควรมีการทำความเข้าใจในเรื่องที่เราจะไปเก็บข้อมูลด้วย เพราะปัญหาที่พบคือ ช่วงเวลาที่เราสะดวกเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างไม่อยู่ และเกิดความสับสน ซึ่งถ้าเป็นงานวิจัยที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกันควรมีการพูดคุยตกลงกันก่อนที่จะเริ่มทำงานวิจัย
การทำวิจัย ควรเน้นการบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนโดยนำนักศึกษาให้ได้เรียนรู้และเป็นผู้ช่วยวิจัยของอาจารย์ในแต่ละขั้นตอนของการวิจัย รวมทั้งนำการวิจัยลงสู่งานประจำโดยบูรณาการกับภารกิจของอาจารย์ เช่น การบริการวิชาการแก่สังคม การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การสร้างเสริมสุขภาพ การพัฒนานักศึกษา เป็นต้น ซึ่งการทำวิจัยโดยการบูรณาการกับพันธกิจต่างๆ จะทำให้ได้องค์ความรู้มาใช้ในการพัฒนางานประจำของอาจารย์ด้วย