การสังเคราะห์งานวิจัย ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 โดยดร.อนัญญา คูอาริยะกุล และคณะ
การสังเคราะห์งานวิจัย?เรื่อง?
?ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ?
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์?
โดย
?ดร.อนัญญา? คูอาริยะกุล และคณะ
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี อุตรดิตถ์
จากการสังเคราะห์งานวิจัยเรื่อง ?ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์?? ซึ่งดำเนินการโดยนางสาวพรรณพิไล สุทธนะ นับว่าเป็นงานวิจัยที่น่าสนใจและมีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันปัญหา
ที่เกิดขึ้นจากการใช้และบริโภคอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ นับวันจะมีความซับซ้อนรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการโฆษณาสรรพคุณที่เกินจริง
ผู้โฆษณาไม่มีความรู้ว่าสินค้าดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้จำหน่าย หรือ
มีสารอันตรายต่อสุขภาพปนอยู่ ?รวมถึงผู้ประกอบการและผู้จำหน่ายขาดจิตสำนึกความรับผิดชอบ ?ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้มีความพยายามที่จะกระตุ้น ปลุกจิตสำนึกผู้บริโภค หรือประชาชนให้หันมาสนใจต่อปัญหาสินค้าสุขภาพ มุ่งเน้น
ให้ความรู้ถึงโทษภัยที่เกิดจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ และใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วยความปลอดภัย และโดยเฉพาะนักศึกษาพยาบาล นอกจากจะเป็นทรัพยากรบุคคลด้านสุขภาพที่จะต้องออกไปปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลประชาชนทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค? การรักษา และการฟื้นฟูสภาพแล้ว ยังอยู่ในฐานะของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพอีกด้วย ดังนั้นความรู้และพฤติกรรมการบริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้นักศึกษาพยาบาลเป็นบุคลากรต้นแบบที่มีคุณภาพทางด้านสุขภาพอนามัยที่ดีแก่ประชาชนต่อไป ?ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการสำรวจความรู้และพฤติกรรมการบริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
อุตรดิตถ์ จำนวน 75 คน ที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ผลการวิจัย พบว่า ด้านความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ สิทธิผู้บริโภคและช่องทางการร้องเรียน : ในภาพรวมนักศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้ อยู่ในระดับมาก โดยข้อที่นักศึกษาตอบถูกมากที่สุด ได้แก่ 1) มีความรู้เกี่ยวกับข้อความบนฉลากถูกต้อง 2) การรับประทานอาหารทอด ที่ทอดด้วยน้ำมันซ้ำซาก อาจทำให้เกิดมะเร็ง 3) ผลิตภัณฑ์ยาทุกชนิดต้องระบุวันที่ผลิตและวันหมดอายุ 4) ท่านมีสิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัยร้อยละ 100 ?ความรู้เกี่ยวกับช่องทางการร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรม น้อยที่สุด ร้อยละ 32.00 ด้านพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ : ในภาพรวมนักศึกษามีพฤติกรรมอยู่ในระดับดี โดยมีพฤติกรรมอ่านสาระสำคัญบนฉลากก่อนซื้อหรือก่อนบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพมากที่สุด รองลงมาคือเลือกซื้อยาจากร้านที่มีเภสัชกรอยู่ประจำร้าน และพฤติกรรมที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง โดยเชื่อถือตามโฆษณาและสรรพคุณอวดอ้าง ?ด้านพฤติกรรมการปกป้องสิทธิผู้บริโภค : มีนักศึกษาเคยได้รับอันตรายหรือความเสียหายจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ ร้อยละ 12 และทุกคนไม่เคยร้องเรียนไปยังหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค เพราะกลัวความยุ่งยาก ไม่อยากมีเรื่องราวกับผู้ประกอบการ ไม่ทราบว่าจะร้องเรียนที่ไหน อย่างไร และไม่มีเวลา นอกจากนี้จากผลการวิจัย ยังพบว่า ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและสิทธิผู้บริโภคไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ
จากการสังเคราะห์งานวิจัยเรื่องนี้ พบว่าความรู้และพฤติกรรมการบริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะนักศึกษาพยาบาล
ที่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทางด้านสุขภาพ ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า นักศึกษา
มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพอยู่ในระดับมาก แต่ยังมีบางส่วนกลับเชื่อตามโฆษณาและสรรพคุณอวดอ้างของผลิตภัณฑ์ และเคยได้รับอันตรายหรือความเสียหายจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ แต่ไม่มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคทราบ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ควรมีการเน้นย้ำให้นักศึกษาเห็นความสำคัญ โทษภัยที่เกิดจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ และได้ใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วยความปลอดภัย เนื่องจากนักศึกษาจะต้องเป็นบุคลากรทางด้านสุขภาพและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประชาชนต่อไป
สำหรับประชาชน : หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรเน้นย้ำและกระตุ้นให้ประชาชนหันมาสนใจต่อปัญหาสินค้าสุขภาพ มุ่งเน้นให้ความรู้ถึงโทษภัยที่เกิดจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ และใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วยความปลอดภัย โดยอาจดำเนินการในรูปของการจัดนิทรรศการหรือจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ได้? ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความรู้และเห็นช่องทางในการร้องเรียนมากขึ้น เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพตนเอง
?????????????????
เรื่องพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะนักศึกษาพยาบาลที่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี แต่ยังพบว่ายังมีบางส่วนกลับเชื่อตามโฆษณาและสรรพคุณอวดอ้างของผลิตภัณฑ์ และเคยได้รับอันตรายหรือความเสียหายจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ แต่ไม่มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคทราบ เราจะช่วยกันอย่างไรดีคะ
งานวิจัยเรื่อง ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ เป็นงานวิจัยที่นักศึกษาสามารถใช้ในการฝึกงานภาคปฏิบัติในชุมชนได้ ตอบคำถาม ดร.อนัญญา นะคะ เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการให้นักศึกษานำไปให้คำแนะนำกับประชาชนที่นักศึกษาไปเยี่ยมบ้าน และต้องเน้นย้ำให้ประชาชนใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากจาก อย. หรือถ้าพบเห็นการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ให้บอกประชาชนเลยว่า โทรไปที่ hot line คุ้มครองผู้บริโภค 1166 แค่นี้ก็น่าจะช่วยให้คนไทยบางส่วน (ย้ำ บางส่วน)ที่เห็นคุณค่าของการดูแลใจใส่สุขภาพของตนเองและคนใกล้ชิด
เห็นด้วยกับ อ.อนัญญา นะคะ ในเรื่องของการบริโภคตามคำอวดอ้าง และสื่อโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ ดังนั้นการให้ความสำคัญกับการพิจารณาในการเลือกบริโภค ต้นอกจากการอ่านฉลาก การดูรายละเอียดต่างๆให้ครบถ้วนแล้ว ควรเน้นให้เห็นถึงความสำคัญต่อการใช้วิจารณญาณต่อการอวดสรรพคุณ การโฆษณาต่างๆด้วย ว่าต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ พิจารณาถึงสิ่งที่เห็นจากการโฆษณา และควรเพิ่ในเรื่องของการหาข้อมูลเพิ่มเติมของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกบริโภค
งานวิจัยเรื่อง ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และน่าสนใจเนื่องจากการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในปัจจุบันมีจำนวนมากการควบคุมมาตรฐานจึงลดลง สำหรับนักศึกษาพยาบาล นอกจากจะมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ดีแล้ว ควรพัฒนาทักษะในการพิจารณา และเลือกใช้รวมทั้งการให้คำแนะนำการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นแบบอย่างทางสุขภาพที่ดีในฐานะบุคลากรด้านสุขภาพ
พฤจิกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักศึกษาพยาบาล แม้ว่าถือว่าเป็นบุคคลตัวแทนด้านสุขภาพ แต่อย่ภายใต้อิทธิพลของกระแสบริโภคนิยม จึงทำให้มีพฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยขาดการพิจารณาข้อมูลไตร่ตรองก่อนใช้ บทบาทของอาจารย์พยาบาลจึงควรเน้นการสอนแบบมีวิจารญาณ เพื่อให้นักศึกษานำไปใช้ในปฏิบัติการพยาบาล รวมถึงการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง
ผลิตภัณฑ์สุขภาพสำหรับนักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่เป็นเครื่องสำอางและเพื่อความงาม เห็นด้วยกับการนำองค์ความรู้ไปประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาพยาบาลนำไปส่งเสริมความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติบนหอผู้ป่วยและในชุมชน