การบูรณาการการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพ
สรุปแนวทางการปฏิบัติ?? ?การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ?
จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามกระบวนการจัดการความรู้ (KM) ของภาควิชา? การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ ?
????????? ๑. อันดับแรกต้องสร้างความเข้าใจ/ความกระจ่างในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ ความหมาย และพฤติกรรมที่แสดงถึงการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
?????????????????? ๑.๑ การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก (world health organization [WHO]) คือ ?กระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลในการควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น??
?????????????????? ๑.๒ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (health-promoting behavior) ตามกรอบแนวคิด Health Promotion Model ของ Pender อันประกอบด้วย ๖ พฤติกรรม ดังนี้
???????????????????????????? ๑) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (health responsibility)
???????????????????????????? ๒) กิจกรรมทางกาย (physical activity)
???????????????????????????? ๓) โภชนาการ (nutrition)
???????????????????????????? ๔) สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (interpersonal relations)
???????????????????????????? ๕) การเจริญทางจิตวิญญาณ (spiritual growth)
???????????????????????????? ๖) การจัดการกับความเครียด (stress management)
????????? ๒. ทบทวนวัตถุประสงค์/สมรรถนะของรายวิชาภาคปฏิบัติ โดยให้พิจารณาวัตถุประสงค์/สมรรถนะที่มีประเด็นสอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ
????????? ?? กรณี ๑ วัตถุประสงค์/สมรรถนะของรายวิชาภาคปฏิบัติ อาจสะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ แต่ไม่ชัดเจน ให้พิจารณาปรับปรุงหรือเพื่อข้อความของวัตถุประสงค์นั้นๆ บอกหรือสะท้อนแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพ
????????? ?? กรณี ๒ วัตถุประสงค์/สมรรถนะของรายวิชาภาคปฏิบัติ ไม่สะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ให้พิจารณาเพิ่มวัตถุประสงค์/สมรรถนะของรายวิชาภาคปฏิบัติให้สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ โดยคำนึงถึงคำสำคัญ (key word) คือ ความหมาย และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ (บุคคลวัยสูงอายุ) เมื่อสิ้นสุดการฝึกภาคปฏิบัติ นักศึกษาสามารถ
?????????????????? ๑. ใช้กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม
?????????????????? ๒. ให้การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้
?????????????????? ๓. ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้
?????????????????? ๔. แสดงความก้าว หน้าในทักษะทางการพยาบาลในการวิเคราะห์ปัญหา อภิปรายทางการพยาบาลและอื่นๆ ที่เกี่ยว ข้องกับการพยาบาลได้
?????????????????? ๕. คิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้ โดยอาศัยหลักวิชาการอย่างมีเหตุผล
?????????????????? ๖. ร่วมปฏิบัติงานกับทีมสุขภาพและบุคลากรอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม
?????????????????? เมื่อพิจารณาแล้ว ไม่มีวัตถุประสงค์ข้อใด สะท้อนหรือสอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ อาจพิจารณาเพิ่มเติม คือ ?วางแผนและจัดกิจกรรมสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพหรือญาติในการควบคุมและดูแลปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุได้? เป็นต้น
????????? ๓. วางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ/สรรถนะที่สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ ตามบริบทหรือสถานการณ์จริงในคลินิกและชุมชน ?????????????ซึ่งสามารถยกตัวอย่างให้เห็นชัดระหว่างการปฏิบัติการเพื่อการดูแลและการสร้างเสริมสุขภาพ ดังตารางต่อไปนี้
ปัญหาสุขภาพ | กิจกรรมการดูแล? | กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ? |
การฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล?ผู้ป่วยมีแผล Colostomy | การทำแผล Colostomy แบบ wet dressing ให้กับผู้ป่วย | การเตรียมผู้ป่วยก่อนจำหน่าย????? จากโรงพยาบาล ดังนี้๑. การสอนและสาธิตผู้ป่วย/ญาติในการทำแผล Colostomy แบบ wet dressing
๒. การเป็นโค้ช (coach) ให้ผู้ป่วย/ญาติในการทำแผล Colostomy ?กิจกรรมทั้ง ๒ ล้วนเป็นการเพิ่มศักยภาพของผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเอง เมื่อกลับไปอยู่บ้าน????????? ซึ่งสอดรับกับความหมายการสร้างเสริมสุขภาพ |
การติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยสูงอายุในชุมชนผู้ป่วยสูงอายุแขนขาซีกซ้ายอ่อนแรง และติดเกร็ง มีแผลกดทับ | ๑. การช่วยผู้ป่วยออกกำลังกาย แบบ Passive exercise๒. การทำแผล แบบ wet dressing | ๑. การสอนและสาธิตญาติผู้ป่วยสูงอายุในการทำแผลและ Passive exercise แบบ Coaching (เป็นโค้ชสอน)๒. ร่วมกับญาติในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการดูแล ป้องกันหรือแก้ปัญหาสุขภาพ โดยกระตุ้นให้พิจารณาถึงภูมิปัญญา/วัสดุท้องถิ่นที่มีอยู่ มาดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาสุขภาพ |
?????????? ๔. ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลที่บูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพ ที่มีการออกแบบอย่างเป็นรูปธรรมตามแผนที่วางไว้
????????? ๕. การวัดและประเมินผล นอกจากประเมินผู้เรียนตามวัตถุประสงค์และสมรรถนะรายวิชาแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของผู้รับบริการ โดยประเมินเป็นระยะๆ ดังนี้
?????????????????? ระยะแรก ให้ระบุการวัดความรู้เกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือการวัดความตระหนักในความรับผิดต่อสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หรือวัดทักษะการจัดการปัญหาสุขภาพ ภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น
?????????????????? ระยะหลัง ให้ระบุการวัดเพิ่มในประเด็นการแสดงพฤติกรรมหรือการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการวัดดังกล่าว อาจวัดเป็นระยะๆ เช่น ทุก ๑ สัปดาห์ หรือ ๒ สัปดาห์ หรือ ๑ เดือน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
?หมายเหตุ : การถอดบทเรียนจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกระบวนการจัดการความรู้ (KM)? ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
จะเห็นได้ว่าการส่งเสริมสุขภาพนั้นไม่เช่นเป็นเพียงแค่ ส่งเสริมเพาะผู้ป่วยหรือประชาชน ผู้ดูแลและญาติก็มีความจำเป็นด้วยเช่นกัน เช่น ผู้ดูแลที่มาเฝ้าไข้บนหอผู้ป่วยซึ่งเค้าเหล่านั้นเฝ้านาน แล้วบางครั้งอดหลับอดนอน และยังขาดงานจากงานที่ทำประจำอีกด้วย จึงทำให้เกิดความเครียดและโรคประจำตัวของเขาเองก็อาจจะกำเริบขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นผู้ดูแลจึงมีความสำครัญมากในการให้ข้อมูล และแนะนำวิธีการผ่อนคลายความเครียด และการดูแลตัวเองของเขาด้วยเช่นกัน
จากการประชุมกลุ่มผู้ที่มีประสบการณืเกี่ยวกับการทำวิจัยด้านการส่งเสริมสุขภาพมีข้อเสนอว่าปัญหาของอาจารย์ที่พบคือ การไม่เข้าใจความหมายของคำว่า การส่งเสริมสุขภาพ หลายๆคนคิดได้เพียงการออกกำลังกาย ซึ่งจากความหมายของการส่งเสริมสุขภาพ Health promotion has been defined by the World Health Organization’s (WHO) 2005 Bangkok Charter for Health Promotion in a Globalized World as “the process of enabling people to increase control over their health and its determinants, and thereby improve their health”
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ (2541, หน้า 135) ได้สรุปว่า การส่งเสริมสุขภาพเป็นกระบวนการส่งเสริมให้ประชาชนเพิ่มสมรรถนะในการควบคุมและพัฒนาสุขภาพของตนเอง สุขภาพในที่นี้ หมายถึงความสุขสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจและทางสังคม ซึ่งนอกจากจะมีตัวกำหนดจากปัจจัยด้านปัจเจกบุคคลแล้ว ยังได้รับผลกระทบอย่างสำคัญจากปัจจัยพื้นฐานทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ในสังคม อาหาร รายได้ การเสริมสร้างอำนาจแก่สตรี ระบบนิเวศน์ที่มั่นคง การใช้ทรัพยากรแบบยั่งยืน ความยุติธรรมทางสังคม การเคารพสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาค จะเห็นว่าในบทบาทของพยาบาลสามารถดำเนินการด้านการส่งเสริมสุขภาพที่สามารถบูรณาการกับการเรียนการสอนได้ในทุกหน่วยการเรียน ทุกวัย
ฝ่ายการจัดการความรู้ของวิทยาลัยได้สรุปเป็นลายลักษณ์อักษรและประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ทุกท่านรับทราบแล้ว หากอาจารย์ได้ดำเนินการพบประเด็นใดจะขอให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกที
เห็นด้วยอย่างมากกับ อ.ศศิธร ว่าหลายคนยังเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ไม่ชัดเจน ดังนั้นจึงมีปัญหาในการที่จะบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร่้างเสริมสุขภาพว่า จะทำอย่างไร และเวลาเขียนแผนการสอนออกมาจะเขียนอย่างไรให้ชัดเจน
การจะเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ และสามารถนำไปใฃ้ในการดูแลตนเอง บุคคล ครอบครัวและชุมชนได้ มีความจำเป็นต้องเข้าใจความหมายของคำว่า “การสร้างเสริมสุขภาพ” ซึ่ง พิสมัย จันทวิมล (2541, หน้า 57) ได้สรุปความหมาย การสร้างเสริมสุขภาพตามที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization–WHO) ได้จัดประชุมนานาชาติเรื่องการส่งเสริมสุขภาพที่กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา เมื่อปี พ.ศ. 2529 ได้ให้ความหมายของการส่งเสริมสุขภาพในกฎบัตรออตตาวาเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ (Ottawa Charter for Health Promotion) การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการส่งเสริมให้ประชาชนเพิ่มความสามารถในการควบคุมและพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น เพื่อให้บรรลุการมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลต้องมีความสามารถในการบ่งบอกและตระหนักถึงความปรารถนาของตนเอง สามารถที่จะปฏิบัติพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของตนเองได้ สามารถเปลี่ยนแปลงหรือปรับตนเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยที่สุขภาพมีความหมายในทางบวกหรือเป็นวิถีชีวิต เน้นที่ความสำคัญของบุคคล สมรรถภาพของร่างกาย และสังคม การส่งเสริมสุขภาพมิใช่เป็นความรับผิดชอบขององค์กรในภาคสุขภาพเท่านั้น หากรวมไปถึงความรับผิดชอบของบุคคลที่จะต้องดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายเพื่อความมีสุขภาพที่ดี อันจะนำไปสู่ความผาสุกโดยรวม จะเห็นว่าการสร้างเสริมสุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน และควรจะเริ่มต้นได้ง่ายกับการสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง
อันดับแรก ต้องเริ่มจากสิ่งแวดล้อมในการทำงานก่อนเพื่อให้อาจารย์ทุกคนที่ต้องใช้สมองไปคิดเรื่อง “การเรียนการสอนที่บูรณาการกับการส่งเสริมสุขภาพ” ก็คือ อาจารย์/นักศึกษาใช้ชีวิตขณะที่ตื่นอยู่ในที่ทำงานมากที่สุด ในแต่ละวัน ประมาณ 8-9 ชั่วโมง ต้องรับประทาอาหารในที่ทำงาน หรือบริเวณใกล้เคียงวันละ 1-2 มื้อ ใช้ห้องน้ำ สิ่งอำนวยความสะดวกภายในวิทยาลัย ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อร่วมงาน ลูกน้อง หัวหน้า สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม เครื่องมือ คอมพิวเตอร์ สารเคมี เสียง ฝุ่น และความร้อน โดยเฉพาะอาจารย์ที่นิเทศทั้ง ward และชุมชน จะเห็นได้ว่า ที่ทำงานมีอิทธิพลต่อชีวิต และสุขภาพอย่างมาก ดังนั้นต้องช่วยกันเริ่มสะสางที่ทำงานให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพก่อน แต่ว่าพูดง่าย ทำยากนะคะ
ประเด็นความหมายการสร้างเสริมสุขภาพในบ้านเรา(ประเทศไทย) นั้น มีนักวิชาการด้านสร้างเสริมสุขภาพได้ให้ความหมายไว้และมีความหลากหลาย พอรวบรวมได้ ดังนี้
1.เป็นกระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลในการลดปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ และพัฒนาสุขภาพของตนให้ดีขึ้น
2.เป็นการให้อำนาจด้านสุขภาพกับประชาชนเป็นกระบวนการให้ประชาชนมีอำนาจมากขึ้นในการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของตนเอง
3.เป็นการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นไปสู่ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่มีต่อสุขภาพของสาธารณชนและบุคคล
4.เป็นการจัดระบบเพื่อนำแหล่งประโยชน์ต่างๆ ทั้งทางด้านการศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อมมาใช้เพื่อเกื้อกูลให้บุคคลมีสุขภาพดี ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคและเพิ่มสุขภาพ
จากสิ่งที่รวบรวมมาข้างต้น พอสรุปโดยรวมได้ว่า “การสร้างเสริมสุขภาพ” ในมุมมองบ้านเรา ก็คือ “กระบวนการใดๆ กระทำเพื่อเป็นการป้องกัน กำจัด และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มนุษย์ต้องตายก่อนถึงเวลาอันควร?
การนำแนวทางการส่งเสริมสุขภาพมาบูรณการกับการเรียนการสอน อันดับแรกก็ต้องเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและพฤติกรรมที่แสดงถึงการส่งเสริมสุขภาพก่อน แต่สิ่งสำคัญ คือการวางแผนและปฏิบัติจริงตามกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลเพื่อประโยชน์ของผู้รับบริการ
การสร้างเสริมสุขภาพ หากมีการเข้าใจอย่างแท้จริง ก็จะเกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนมากคะ
การบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพ ในความคิดเห็นส่วนตัวยังมองว่าเป็นเรื่องที่ยากแก่การนำไปปฏิบัติ เนื่องจากความไม่ชัดเจนในคำนิยาม แนวทาง และกระบวนการในการส่งเสริมสุขภาพ ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพมาแล้วหลายๆครั้ง แต่แนวทางในการบูรณาการด้านการส่งเสริมสุขภาพกับการจัดการเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรมชัดเจนและยั่งยืนยังไม่สามารถทำได้ แต่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของอาจารย์ดุจเดือนว่าในการส่งเสริมสุขภาพต้องเริ่มที่ตัวเองและสิ่งแวดล้อมในการทำงานก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสามารถนำไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพแก่บุคคลอื่นได้ รวมทั้งสามารถนำการส่งเสริมสุขภาพมาบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอน เพื่อความชัดเจนและยั่งยืน
การจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการส่งเสริมสุขภาพ เป็นสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์การส่งเสริมให้บุคลากรเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพ แต่จะให้มีความชัดเจนมากขึ้นต้องเริ่มต้นจากพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของตนเองก่อนรวมทั้งสิ่งแวดล้อมการทำงาน เพื่อให้เราสามารถนำการส่งเสริมสุขภาพมาบูรณาการกับการเรียนการสอนได้จริงค่ะ
การบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพ ในความคิดเห็นส่วนตัวยังมองว่าเป็นเรื่องที่ยากแก่การนำไปปฏิบัติ เนื่องจากความไม่ชัดเจนในคำนิยาม แนวทาง และกระบวนการในการส่งเสริมสุขภาพ ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพมาแล้วหลายๆครั้ง แต่แนวทางในการบูรณาการด้านการส่งเสริมสุขภาพกับการจัดการเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรมชัดเจนและยั่งยืนยังไม่สามารถทำได้ แต่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของอาจารย์ดุจเดือนว่าในการส่งเสริมสุขภาพต้องเริ่มที่ตัวเองและสิ่งแวดล้อมในการทำงานก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสามารถนำไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพแก่บุคคลอื่นได้ รวมทั้งสามารถนำการส่งเสริมสุขภาพมาบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอน เพื่อความชัดเจนและยั่งยืน
การเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพสามารถนำไปใฃ้ในการดูแลตนเอง ทั้งกาย จิต และสังคมได้ รวมถึงสามารถนำไปใช้บุคคล ครอบครัวและชุมชนได้การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสุขภาพกายแข็งแรง เจริญเติบโตปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยเป็นกระบวนการที่มีลักษณะ เน้นกิจกรรมหลายลักษณะที่มุงสร้างสมรรถนะของการสร้างสุขภาพดี ควบคุมปัจจัยเสี่ยง และเป็นกระบวนการที่มุ่งดำเนินการกันทั้งบุคคลและสังคม นอกจากนี้ยังเน้นกระบวนการส่งเสริมให้ประชาชนเพิ่มสมรรถนะในการควบคุมดูแลและพัฒนาสุขภาพของตนเอง
หลักการส่งเสริมสุขภาพ ยกตัวอย่าง เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่ายึดติดกับความสะดวกสบายมากเกินไป พักผ่อนให้เพียงพอและฝึกการปฏิบัติทางจิตเพื่อลดความตึงเครียด เป็นต้น
ซึ่งถ้าทุกคนปฏิบัติได้ดังนี้ คนไทยทุกคนก็จะมีสุขภาพกาย จิตใจ แข็งแรง
การที่จะนำการแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพมาใช้ในการบูรณาการกับการเรียนการสอนเห็นด้วยว่าทางวิทยาลัยควรนำ concept เรื่องนี้มาพูดคุยหารือกันในวงกว้าง เพื่อความชัดเจนในการนำไปปฏิบัติเพราะไม่เช่นนั้นต่างคนต่างทำกันไปไร้ทิศทาง หรือมีทิศทางแต่อาจไม่ถูกต้องหรือนำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้ แต่ ณ ขณะนี้ที่ทางภาควิชาดำเนินการไปคือทำแบบลูกทุ่งคือนำการสร้างเสริมสุขภาพไปใช้กับบุคคลที่เจ็บป่วยด้วยโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุเพราะดูในความหมายที่องค์การอนามัยโลกระบุว่า การสร้างเสริมสุขภาพ คือ กระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลในการควบคุม ดูแลและพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น
อ.วาสนา
การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสุขภาพกายแข็งแรง เจริญเติบโตปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข การส่งเสริมสุขภาพเป็นกระบวนการที่มีลักษณะ เน้นกิจกรรมหลายลักษณะที่มุงสร้างสมรรถนะของการสร้างสุขภาพดีควบคุมปัจจัยเสี่ยง และเป็นกระบวนการที่มุ่งดำเนินการกันทั้งบุคคลและสังคม นอกจากนี้ยัง เน้นกระบวนการส่งเสริมให้ประชาชนเพิ่มสมรรถนะในการควบคุมดูแลและพัฒนาสุขภาพของตนเอง โดยมีหลักการส่งเสริมสุขภาพ โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่ายึดติดกับความสะดวกสบายมากเกินไป พักผ่อนให้เพียงพอและฝึกการปฏิบัติทางจิตเพื่อลดความตึงเครียด
วิธีการสร้างเสริมสุขภาพของตนเองสามารถปฏิบัติได้โดย รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการหลากหลายไม่ซ้ำซาก โดยเฉพาะผักผลไม้ควรมีทุกมื้อ
การออกกำลังสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้เบิกบาน จะช่วยคลายความเครียดและป้องกันภาวะเสี่ยงเกิดโรคเกี่ยวกับข้อต่อกระดูก และโรคหัวใจ รวมทั้งระบบการไหลเวียนของโลหิต การทำสมาธิ เล่นโยคะ หรือการนวดเพื่อสุขภาพเพื่อผ่อนคลายความเครียด การละเว้นสารเสพติดทุกชนิดที่จะบั่นทอนสุขภาพ การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และการตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งเป็นการดูแลและส่งเสริมสุขภาพที่ดีมาก
ซึ่งการบูรณาการการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพสามารถทำได้ทุกช่วงวัย
การสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อมองในความหมายที่ว่าเป็นกระบวนการเกื้อหนุนและสนับสนุนส่งเสริมให้บุคคลและกลุ่มคนมีความสามารถในการควบคุมดูแลสุขภาพของตัวเองและพัฒนาสุขภาพของตัวเอง ทำให้เราเห็นได้ว่าการสร้างเสริมสุขภาพที่จะได้ผลดี บุคคลและกลุ่มคนต้องเป็นผู้กระทำเอง ไม่ใช่รอหรือหวังพึ่งบริการจากบุคลากรสาธารณสุขเท่านั้น และที่สำคัญควรเริ่มต้นจากบุคลากรขององค์กรที่ควรพัฒนาตนเองในด้านการสร้างเสริมสุขภาพและเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้รับบริการ
การบูรณาการการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพ ที่มีประสิทธิภาพเป็นเรื่องสำคัญในยุคปัจจุบัน เนื่องจากการส่งเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยขับเคลื่อนภาวะสุขภาพของประชาชนให้มีสุขภาพดี ลดปัญหาในก้านการบริหารงานด้านสุขภาพซึ่งเป็นงานที่ใหญ่ การปฏิบัติตามแนวทางทีีมีประสิทธิภาพจึงต้องอาศัยเวลาในการเรียนรู้สำหรับผู้ปฏิบัติทุกๆฝ่าย เพื่อแก้ไขปัญหาจนบรรลุวัตถุประสงค์การบูรณาการวิชาการและการส่งเสริมสุขภาพ
เห็นด้วยอย่างมากกับ อาจารย์ศศิธร และอาจารย์ ดร.อนัญญา ว่าหลายคนยังเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ไม่ชัดเจน ดังนั้นจึงมีปัญหาในการที่จะบูรณาการการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร ทำไปแล้วจะถูกต้องไหม ส่งผลต่อการเขียนแผนการสอนทำให้ไม่สามารถเขียนและออกแบบกิจกรรมได้อย่างชัดเจน
เห็นด้วยกับอาจารย์ดุจเดือนที่่ว่าควรเริ่มจากสิ่งใกล้ตัว เพราะ กระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลในการควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยแวดล้อมหลายอย่างซึ่งสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ควรเริ่มต้นจากตัวบุคคล ที่ตระหนักและเห็นความสำคัญในสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่เว้นแม้แต่การสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อเริ่มจากตัวเองและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ตัวได้แล้วอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอื่นๆได้
ส่วนการบูรณาการกับการเรียนการสอนนั้น เราอาจต้องเพิ่มประเด็นในส่วนของการจัดระบบเพื่อนำแหล่งประโยชน์ต่างๆ ทั้งทางด้านการศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อมมาใช้เพื่อเกื้อกูลให้บุคคลมีสุขภาพดี ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษา
จากการที่ได้เข้าร่วม Coference ในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๕ ในเรื่อง Implementing early mobilization interventions in mechanically ventilated patients in the ICU ของ William D. และคณะ ได้กล่าวถึงการกระตุ้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายบนเตียง ส่งผลทำให้ผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจได้เร็วขึ้น ซึ่งในบทความนี้ส่วนตัวคิดว่า ถ้าเราได้นำการออกกำลังกาย โดยบนเตียงหรือการใช้ยางยืดออกกำลังกายเพื่อให้ผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยกายใจได้เร็วขึ้น ดังนั้นวิธีนี้เป็นการสร้างเสริมสุขภาพในผู้่ป่วย ICU ได้เช่นกัน
อยากให้มีการสอนเรื่องการส่งเสริมสุขภาพในทุกช่วงวัยในการเรียนการสอนและกำหนดเป็นประสบการณ์ให้นักศึกษาต้องปฏิบัติเพื่อให้นักศึกษาตระหนักเห็นว่าการป้องกันดีกว่าการรักษา และควรเริ่มต้นท่ีตัวเองก่อนและค่อยขยายออกไปสู่ส่วนอื่น ๆ ต่อไป
การบูรณาการการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมากที่จะต้องส่งเสริมให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นการมีแนวทางที่ดีก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยผลักดันแนวคิในเรื่องของการสร้างเสริมสุขภาพให้เป็นไปได้อย่างชัดเจน โดยเริ่มจากการเน้นให้นักศึกษาได้เห็นความสำคัญและตระหนัก มองเห็นประเด็นในการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งในภาวะปกติและในภาวะที่เจ็บป่วย
เห็นรด้วยกับความคิดเห็นที่ ๑๙ ที่บอกว่าการสร้างเสริมสุขภาพน้่นย่อมดีกว่าการรักษาเมื่อมีความเจ็บป่วยแล้ว และควรส่งเสริมสุขภาพในทุกช่วงวัยให้มีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งการวางแนวทางทีดีในการสร้างเสริมสุขภาพ
จริงๆแล้วการบูรณาการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพนั้นสามารถทำได้ทุกรายวิชา ซึ่งสิ่งสำคัญอยู่ที่ครูผู้สอนว่าจะสามารถชี้ประเด็นให้นักศึกษาได้เห็นและเข้าใจในบริบทของผู้รับบริการหรือไม่ ซึ่งการส่งเสริมสุขภาพนั้นมิได้หมายถึงสิ่งซึ่งผู้รับบริการบกพร่องเพียงอย่างเดียว เราต้องมององค์รวมของผู้รับบริการทั้งกาย ใจ จิตวิญญาณ รวมถึงผู้ที่อยู่แวดล้อมผู้รับบริการด้วย ถ้าครูสามารถชี้ให้นักศึกษาเห็นถึงความสอดคล้อง ความเกี่ยวเนื่องในตัวของผู้รับบริการก็จะสามารถมองเห็นถึงกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพที่มีความเหมาะสมเฉพาะบุคคลนั้นๆและรวมไปถึงครอบครัวของผู้รับบริการได้ด้วย
การบูรณาการการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพเป็นสิ่งที่ดี จากประสบการณ์ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา คิดว่าก่อนอื่นที่เราจะนำการส่งเสริมสุขภาพไปบูรณาการกับการเรียนการสอนได้นั้น เราทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันตั้งแต่ความหมาย รวมทั้ง concept ของการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจเรื่องการส่งเสริมสุขภาพอย่างแท้จริง สามารถทำงานไปในแนวทางเดียวกันได้ ให้การส่งเสริมสุขภาพเกิดได้จริงในวิทยาลัยและไม่รู้สึกว่าเป็นการเพิ่มภาระงาน
ภายใต้การดูแลบุคคลหรือการปฏิบัติการพยาบาลเราได้มีการส่งเสริมสุขภาพกันอยู่แล้วอย่างไม่เป็นทางการ โดยการให้คำแนะนำเกี่ยวการการปฏิบัติตัวต่างๆตลอดจนการสนับสนุนการปฏิบัติเมื่อผู้รับบริการปฏิบัติอยู่แล้วเพียงแต่เราไม่ได้หยิบยกประเด็นให้ชัดเจนแต่เราทำเป็นเนื้องานประจำแต่ถ้ามีการทำให้ชัดเจนจัดระบบให้ดีก็ดี
มีความคิดเห็นว่าการฝึกปฏิบัติงานในคลินิคของนักศึกษา อาจารย์นิเทศก็สามารถจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยได้ ตัวอย่างกิจกรรม เช่น การให้คำแนะนำก่อนกลับบ้านแก่ผู้ป่วยและญาติ ในเรื่องการปฏิบัติตน การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ฯลฯ ทั้งนี้อาจารย์นิเทศมีบทบาทสำคัญในการเน้นย้ำให้นศ.ได้แสดงบทบาทนี้จนเป้ฯภาวะปกติของการดูแลผู้ป่วยทุกราย ไม่เฉพาะรายที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น เพื่อรปะสิทธิภาพของการดูแลอย่างสมบูรณ์ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป