การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดอุตรดิตถ์ โดย ดร.อนัญญา คูอาริยะกุล และคณะ
การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดอุตรดิตถ์ โดย? ดร.อนัญญา? คูอาริยะกุล และคณะ
จากการสังเคราะห์งานวิจัยเรื่อง ?การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดอุตรดิตถ์?? ซึ่งดำเนินการโดยนางณัทกวี ศิริรัตน์ และนายอิทธิพล แก้วฟอง นับว่าเป็นงานวิจัยที่น่าสนใจและมีประโยชน์อย่างมาก เพราะปัจจุบัน ประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีต่างๆ และการแพทย์ ซึ่งจากผลการสำรวจภาวะสุขอนามัยของประชากรไทยในปี 2548 พบว่า มีผู้สูงอายุ จำนวน 6,617,000 คน แยกเป็นเพศชาย จำนวน 3,022,000 คน และเพศหญิงจำนวน 3,595,000 คน และคาดว่าในปี 2553 จะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทั้งเพศชายและเพศหญิง รวมเป็นจำนวน 7,639,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด ผู้สูงอายุเหล่านี้ถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่าของสังคมไทย เพราะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์สูงที่ควรให้ความเคารพ แต่เมื่อสูงวัยขึ้น ร่างกายก็เริ่มมีการเสื่อมถอย สรีระทางร่างกายและสมรรถภาพทางกายภาพต่างๆ ย่อมลดลง และเกิดปัญหาสุขภาพตามมา โดยปรากฏออกมาในรูปของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งทางด้านร่างกายจิตใจ และสังคม ประกอบกับการดูแลตัวเองลดน้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุเกิดโรคติดต่อ และโรคเรื้อรังได้ง่าย ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลด้านปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง และโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคเบาหวาน ทำให้เป็นปัญหาแก่ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การที่จะช่วยให้
ปัญหาการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคม การแก้ปัญหาจึงต้องใช้กระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ โดยต้องค้นหาเหตุและผลของปัญหาที่แท้จริง ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุต่อไป ?ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนาสุขภาพ (Participatory Learning for Health Development: PLD) โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย กลุ่มเยาวชน กลุ่มวัยแรงงาน ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชม อ.ส.ม. และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ โดยมีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาชุมชน??
ขั้นตอนที่ 2 การวาดภาพที่พึงปรารถนาในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ การวิเคราะห์ภาพชุมชนที่พึงปรารถนา และวิสัยทัศน์ในการดูแลผู้สูงอายุ?
ขั้นตอนที่ 3 การระบุตัวชี้วัดของวิสัยทัศน์การดูแลผู้สูงอายุ?
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินสถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเปรียบเทียบกับภาพที่พึงปรารถนาเพื่อระบุปัญหาในการดูแลผู้สูงอายุ?
ขั้นตอนที่ 5 การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและจัดทำแผนแก้ไขปัญหา ขั้นตอนที่ 6 การทำประชาพิจารณ์?
ซึ่งผลจากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า การเรียนรู้ร่วมกันของภาคีเครือข่ายและผู้สูงอายุ ทำให้เกิดกระบวนการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งและการกำหนดอนาคตโดยสังเคราะห์ได้วิสัยทัศน์ของผู้อายุ คือ ?ผู้สูงอายุที่เป็นยา มีสุขภาพกายและจิตดี ด้วยไมตรีจากทุกคน? และจากการวิเคราะห์ปัญหาของผู้สูงอายุ พบว่าปัญหาส่วนใหญ่ คือ การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง รับประทานอาหารและยาไม่ถูกต้อง ขาดรายได้มีเงินไม่เพียงพอ? ขาดการรวมกลุ่มผู้สูงอายุ ขาดการตรวจร่างกายประจำปี ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลูกหลานไม่ให้ความเคารพนับถือ? และคนในชุมชนไม่ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ? ขาดการจัดตั้งกองทุนฌาปนกิจผู้สูงอายุ? โครงการแก้ปัญหาการดูแลผู้สูงอายุมี 6 โครงการ คือ โครงการจัดตั้งกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ผู้สูงอายุ? โครงการส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ? โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี? โครงการสวัสดิการผู้สูงอายุ? โครงการผู้ดูแลผู้สูงอายุ? และโครงการจัดตั้งคณะกรรมการชุมชนเพื่อดูแลและประสานงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ?
จากการสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้ พบว่ารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ จะเน้นที่การประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และในรูปแบบจะประกอบด้วย การศึกษาชุมชน การประเมินสถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุ การวิเคราะห์สาเหตุและปัญหา รวมถึงการจัดทำแผนแก้ไขปัญหา ซึ่งการที่พัฒนารูปแบบให้ประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนทุกระดับในการสร้างพลังให้ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพตนเองบนพื้นฐานของบริบทและรากเหง้าของวัฒนธรรมชุมชน
ประการสำคัญ ผู้วิจัยต้องศึกษาบริบทและวัฒนธรรมของชุมชนที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ เพราะมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เนื่องจาก ทั้ง ๙ อำเภอของจังหวัดอุตรดิตถมีความแตกต่างของบริบทชุมชนและวัฒนธรรม นอกจากนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบผู้สูงอายุโดยตรงในชุมชนให้การสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในระดับหนึ่งเท่านั้น
รูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ที่เน้นการประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และในรูปแบบจะประกอบด้วย การศึกษาชุมชน การประเมินสถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุ การวิเคราะห์สาเหตุและปัญหา รวมถึงการจัดทำแผนแก้ไขปัญหา ซึ่งการที่พัฒนารูปแบบให้ประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนทุกระดับในการสร้างพลังให้ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพตนเองบนพื้นฐานของบริบทและรากเหง้าของวัฒนธรรมชุมชน มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการนำความรู้ไปขยาย และเป็นแนวคิดในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา
นภดล เลือดนักรบ