การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การเรียนแบบทีม: ผลสัมฤทธิ์ การคิดวิจารณญาณ และทักษะการแก้ปัญหาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ดร.อนัญญา? คูอาริยะกุล และคณะ

จากการสังเคราะห์งานวิจัยเรื่อง ?การเรียนแบบทีม: ผลสัมฤทธิ์ การคิดวิจารณญาณและทักษะการแก้ปัญหาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ?? ซึ่งดำเนินการโดย นางศศิธร ชิดนายี และนายภราดร ล้อธรรมมา นับว่าเป็นงานวิจัย
ที่ประโยชน์อย่างมากต่อการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล เนื่องจากในวิชาชีพการพยาบาล เนื้อหาที่นักศึกษาจำเป็นต้องรู้ในแต่ละรายวิชามีจำนวนมาก ในขณะที่เวลามีจำกัด ครูต้องการถ่ายทอดให้ครอบคลุม เพราะต้องเกี่ยวข้องกับการสอบ
ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของผู้สำเร็จการศึกษาและบุคคลเหล่านี้จะต้องออกไปให้การดูแลสุขภาพประชาชนต่อไป? ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาการพยาบาลโดยทั่วไปส่วนใหญ่จะยังคงเน้นใช้การบรรยายเป็นหลักถึงแม้ว่าจะมีความพยายามในการนำวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการอื่นๆ มาใช้
แต่ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญคือ จำนวนอัตราส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษามีมาก
ทำให้การเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่มเล็กทำได้ยาก ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมของผู้วิจัย พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบทีมสามารถช่วยลดปัญหาจำนวนผู้สอนที่มีจำนวนน้อยได้ ?โดยมีการแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยประมาณ 5-7 คนต่อกลุ่ม ?สมาชิกกลุ่มจะมีความรับผิดชอบร่วมกันในงานของตนเองและงานกลุ่ม ผู้เรียนจะมีการอ่านเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนเรียน และในขณะที่มีการทำกลุ่มทุกคน
จะแสดงความคิดเห็นตามที่อ่านทบทวนมาเพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ตนเองอ่านมานั้นมีความเข้าใจอย่างไร การที่ผู้เรียนมีความรับผิดชอบอ่านมาล่วงหน้าจะช่วยให้กลุ่มหรือทีมสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างราบรื่น สมาชิกแต่ละคนในทีมจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ซึ่งกันและกัน มีการประเมินและให้กำลังใจจากสมาชิกทีม ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์
ที่เหนียวแน่นและยั่งยืนและเกิดสมรรถนะในการทำงานเป็นทีม นอกจากนี้การเรียน

การสอนแบบทีมยังช่วยส่งเสริมทำให้เกิดคุณภาพของผู้เรียน ดังนี้ 1) พัฒนาทักษะการแก้ปัญหา 2) ลดเวลาในการบรรยาย 3) ทำให้เกิดความมั่นใจว่าผู้เรียนมีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน 4) ทำให้เกิดการเรียนการสอนที่มีความกระตือรือร้น 5) ส่งเสริมการทำงานแบบทีม 6) สนับสนุนพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลและทักษะการแก้ไขความขัดแย้ง 7) พัฒนาทักษะการรู้คิดของผู้เรียนในห้องเรียนขนาดใหญ่ให้มีระดับระดับสูงขึ้น 8) เป็นการช่วยเหลือทางสังคมสำหรับผู้เรียนที่มีความเสี่ยง และ 9) เป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมความคิดอย่างมีวิจารณญาณ? รวมถึงผลด้านบวกของการเรียนแบบทีม คือ การทำงานแบบทีมช่วยทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน การทำงานเป็นทีมทำให้ได้คำตอบที่ถูกต้องมากกว่าการทำงานโดยคนเดียว เกิดความรู้ความเข้าใจในปัญหาและเห็นความแตกต่าง คุณค่าของการอภิปรายกันคือ การที่มีการรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน ตรวจสอบเหตุผลของตนเองให้มีน้ำหนักมากขึ้น และช่วยทำให้มีความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนมากขึ้น และการให้เหตุผลระหว่างกลุ่มทำให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับเหตุผลมากขึ้น ?

??????????? สำหรับการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทดลองใช้การเรียนแบบทีมกับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1? ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 83 ราย และดำเนินการขณะเรียนในบทการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่และสูงอายุที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

??????????? 1. ในชั่วโมงแรกของการเปิดการเรียนวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ผู้สอนจะชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเรียนแบบทีม เป้าหมายของการเรียน เกณฑ์การจัดตั้งกลุ่มการเรียน ระบบการให้คะแนน และแจกคู่มือการเรียนแบบทีม พร้อมกับให้นักศึกษาประเมินการคิดแบบมีวิจารณญาณตามแบบของสถาบันพระบรมราชชนก โดยใช้เวลา 1 ชั่วโมง

2. จัดกลุ่มนักศึกษาโดยแบ่งจากเกรดเฉลี่ยสะสมของชั้นปีที่ 1 ให้นักศึกษาที่มีผลการเรียนสูงสุดเรียงลำดับลงมาจัดจำนวน 5 คนต่อกลุ่ม จะได้จำนวนกลุ่ม 16 กลุ่ม ดังนั้นในแต่ละกลุ่มจะมีนักศึกษาที่มีผลการเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อนอย่างละเท่าๆกัน??

3. ก่อนการเรียน 2 สัปดาห์ผู้สอนได้แจกเอกสารประกอบการสอนในหน่วยการเรียน พร้อมกับเน้นย้ำให้นักศึกษาค้นคว้าตามรายหัวข้อมาล่วงหน้าก่อนเข้าชั้นเรียน

??????????????????????? 4. กิจกรรมแรกในห้องเรียนของการสอน คือ การสอบรายบุคคลเพื่อเป็นการวัดความรับผิดชอบในการค้นคว้าและความพร้อมในการเรียน โดยใช้แบบทดสอบปรนัย จำนวน 4 ตัวเลือก จำนวน? 15 ข้อ กำหนดให้ระยะเวลาในการทำแบบทดสอบ 1 ข้อต่อ 1 นาที รวม 20 นาที

??????????????????????? 5. ภายหลังนักศึกษาทำแบบทดสอบปรนัยรายบุคคลเสร็จ และส่งคำตอบแล้ว? ให้นักศึกษาเข้ากลุ่มย่อยเพื่อร่วมกันทำแบบทดสอบฉบับเดิมซ้ำโดยทำเป็นกลุ่ม ?สมาชิกจะมีการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ตนเตรียมมาก่อนเข้าเรียน การทำแบบทดสอบจะต้องมีการวิเคราะห์และอธิบายเหตุผลของการเลือกและไม่เลือกแต่ละตัวเลือก สมาชิกทุกคนต้องเห็นชอบกับคำตอบของแต่ละคำถาม ใช้เวลาร้อยละ 50 ของจำนวนชั่วโมงในแต่ละหัวข้อ? ประมาณ 3 ชั่วโมง

6. กลุ่มทำแบบทดสอบเสร็จและส่งคำตอบอาจารย์ตรวจให้คะแนนทันที แต่ละทีมจะทราบคำตอบที่ทีมตอบมาว่าถูกหรือผิด และประกาศให้ทราบ และประกาศคะแนนรายบุคคลให้ทราบ

??????????????????????? 7. นักศึกษาจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีมโดยมีการอภิปรายเกี่ยวกับ
ข้อคำถามและคำตอบของแบบทดสอบในแต่ละข้อ โดยเฉพาะข้อที่มีความแตกต่างกัน
หากพบว่าไม่สามารถสรุปความถูกต้องหรือเหตุผลที่มีไม่ครบถ้วนผู้สอนจะมีอธิบายและขยายความเพิ่มเติม ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง

??????????????????????? 8. ภายหลังการอภิปรายระหว่างทีม ผู้สอนให้แบบทดสอบเป็นสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนเพื่อนักศึกษาประยุกต์ใช้แนวคิดกับสถานการณ์เน้นการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ จำนวน 18 ข้อ และมีการแลกเปลี่ยนภายในกลุ่มและระหว่างทีม ใช้เวลา
ในการอภิปรายภายในทีม 60 นาที และระหว่างทีม? 2 ชั่วโมง

??????????? ??????????? 9. ภายหลังสิ้นสุดแต่ละหน่วยการเรียน มีการสรุปบทเรียนเพื่อนำไปปรับใช้กับหน่วยการเรียนต่อไป

10. ชั่วโมงสุดท้ายของการเรียนรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ให้นักศึกษาตอบแบบสอบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนแบบทีม และให้ประเมินการคิดแบบมีวิจารณญาณโดยใช้เวลา 1 ชั่วโมง

??????????????????????? 11. เมื่อได้รับแบบสอบถามคืน ผู้สอนได้นำแบบสอบถามตรวจสอบความสมบูรณ์ของการตอบแบบสอบถาม ก่อนนำไปวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป

ซึ่งผลจากการวิจัยสามารถตอบวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้

1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพระบบทางเดินอาหาร วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ก่อนและหลังใช้การเรียนแบบทีม พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบทีม ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p<.05)

2. เปรียบเทียบความคิดวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ก่อนและหลังการเรียนการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพระบบทางเดินอาหารศึกษา พบว่าคะแนนเฉลี่ยความความคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังการเรียนแบบทีมโดยรวม ไม่มีความแตกต่างกัน แต่ด้านที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ได้แก่ การลงข้อสรุป ด้านที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ได้แก่ การระบุประเด็นปัญหา

3. ทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ภายหลังการเรียนโดยใช้การเรียนแบบทีม พบว่า นักศึกษามีทักษะการแก้ปัญหาภายหลังการเรียนแบบทีมอยู่ในระดับปานกลางมีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 63.86

จากผลการสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้ จะพบว่า การเรียนแบบทีมสามารถช่วยให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น นักศึกษามีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการลงข้อสรุป และการระบุประเด็นปัญหา นอกจากนี้ยังพบว่า

การเรียนแบบทีมยังทำให้เกิดคุณภาพทางการเรียนกับผู้เรียนอีกด้วย? ซึ่งนักศึกษา
ส่วนใหญ่ประเมินการเรียนแบบทีมว่า การเรียนในขั้นตอนการประยุกต์ใช้มีประโยชน์ต่อนักศึกษามาก เพราะทำให้มีการคิดวิเคราะห์ที่กว้างขวางมากขึ้น ทำให้สามารถเชื่อมโยงประเด็นต่างๆ ได้ และมีความเข้าใจต่อการเรียนมากขึ้น และช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการเรียนวิชาชีพพยาบาล เพราะเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความปลอดภัยของมนุษย์ ดังนั้นจึงควรมีการนำการเรียนแบบทีม

ไปใช้ในระยะเวลาที่เหมาะสม เช่น จัดการเรียนการสอนทั้งภาคการศึกษา ทั้งรายวิชา โดยปรับกระบวนการสอนแบบทีมในการให้ความรู้หัวข้อที่สอน อาจสรุปภาพรวมทั้งหมดอีกครั้ง หรือมีการสร้างสื่อการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษานอกเวลาเรียนร่วมด้วย

?