แนวทางการการทำวิจัยด้านการส่งเสริมสุขภาพทุกช่วงวัย
แนวทางการการทำวิจัยด้านการส่งเสริมสุขภาพทุกช่วงวัย
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
จากการดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการทำวิจัยด้านการส่งเสริมสุขภาพสามารถสรุปออกมาเป็นแนวปฏิบัติของวิทยาลัยได้ดังนี้
๑.ควรดำเนินการวิจัยให้ครบทุกกลุ่มได้แก่
๑) ในสถานพยาบาล? หมายถึง? โรงพยาบาล
และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล
๒) กลุ่มเป้าหมาย? คือ ผู้ป่วย? ญาติ? และ? care giver
๓) การสร้างเสริมสุขภาพควรคำนึงถึง? บริบทต่าง ๆ
๒.?? บูรณาการกับการเรียนการสอน? การพัฒนาบุคลากร? เช่น? การตรวจสุขภาพ
๓. การสร้างเสริมสุขภาพสามารถให้ทั้งความรู้? การปรับทศนคติ?? และการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ
๔. รายวิชาวิจัยควรให้นักศึกษาทำวิจัยเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ
จากการสรุปเป็นแนวทางเพื่อปฏิบัตินี้หากอาจารย์แต่ละสาขาวิชานำไปปฏิบัติแล้วค้นพบสิ่งที่เห็นว่าควรปรับปรุงหรือพัฒนาแนวทาง ขอให้แสดงความคิดเห็นร่วมด้วย หากมีเอกสารอ้างอิงด้วยจะทำให้สามารถพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ศศิธร ชิดนายี
หัวหน้างานวิจัย การจัดการความรู้และวิเทศสัมพันธ์
การวางพื้นฐานการทําวิจัยด้านการส่งเสริมสุขภาพ ให้กับนักศึกษา ควรเริ่มตั้งแต่ปี 1 โดยให้แนวทาง และสอดแทรกความสําคัญของการส่งเสริมสุขภาพ ในวิชาต่างๆ นั่นคือบูรณาการไปกับการเรียนการสอนโดยเป็นไปตามบริบทต่างๆของรายวิชานั้นๆ
จากที่ภาควิชาได้ทำวิจัยเรื่องการส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยเจริญพันธุ์ โดยกลุ่มเป้าหมายคือสตรีวัยเจริญพันธุ์ชุมชนบ้านนาโปร่ง ซึ่งเป็นชุมชนที่ร่วมทำ MOU กับวิทยาลัย พบปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญคือการเก็บข้อมูลในชุมชน สิ่งที่สำคัญคือการประสานงานติดต่อกับผู้นำชุมชนและอสม.ในชุมชนในการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบก่อนการลงชุมชนจริง ซึ่งในการทำวิจัยครั้งนี้มีการประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง มีความเข้าใจคาดเคลื่อนกันระหว่างอสม.และผู้นำชุมชน ทำให้การเก็บข้อมูลวิจัยล่าช้า มีปัญหาอุปสรรค รวมถึงกลุ่มประชากรบางรายไม่เข้าใจถึงการทำวิจัยครั้งนี้จึงไม่ให้ความร่วมมือในการทำวิจัย ซึ่งทำให้งานวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลจากประชากร 120 คน มีผู้ที่ไม่ยินยอมเข้าร่วมถึง 20 คน ดังนั้นจากประสบการณ์การเก็บข้อมูลในชุมชนจึงมีความเห็นว่าการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง รวมถึงการติดต่อประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นการเตรียมชุมชนและกลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง
By อ.อรทัย แซ่ตั้ง ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
จากการที่วิทยาลัยเรา เน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ปีที่ผ่านมา จึงได้ให้นักศึกษาทำวิจัยเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล วพบ.อุตรดิตถ์ ผลพบว่า นักศึกษาพยาบาล มีคะแนนพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านการเจริญทางจิตวิญญาณอยู่ในระดับดี ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านการจัดการความเครียดและด้านการบริโภคอาหาร อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านกิจกรรมทางกาย อยู่ในระดับพอใช้ ดังนั้นเราควรช่วยกันสร้างเสริมสุขภาพให้กับนักศึกษาเรา โดยเฉพาะจะทำอย่างไรที่จะทำให้นักศึกษาเราได้มีพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับดีขึ้นกว่าเดิม ส่วนพฤตืิกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากร กำลังอยู่ในช่วงเก็บข้อมูลค่ะ ผลเป็นอย่างไร จะนำเสนอต่อไปนะคะ
การสร้างเสริมสุขภาพ ต้องให้นักศึกษาเริ่มจากตนเอง ก่อน _ถ้าทำแล้วไม่ประสบผล ก็ควรมีระบบให้คำปรึกษา แก่นักศึกษา ซึ่งการเริ่มจากตนเองก่อน จะทำให้ตนเองเห็นปัญหาอุปสรรค และแก่ไขจากสภาพจริงก่อนนำไปถ่ายทอด ผู้อื่น
?แนวทางการทำวิจัยด้านส่งเสริมสุขภาพทุกช่วงวัย?
น่าจะมีจะพิจารณาในประเด็นต่อไปนี้
๑.อันดับแรกต้องสร้างความตระหนักในการส่งเสริมสุขภาพแก่ตนเองก่อน
๒.สิ่งสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ ควรคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ ดังนี้ คือ กิจกรรมที่คำนึงถึงความเหมาะสม และความแตกต่างของ เพศ วัย ความชอบของแต่ละบุคคล สิ่งแวดล้อมของบุคคล เช่น ระยะทางในการเดินทางเข้าร่วมกิจกรรม สิ่งสนับสนุนจากภายนอก เช่น คนในครอบครัว ชุมชน บุคลากรด้านสุขภาพ ผู้นำชุมชน เป็นต้น
๓.การพัฒนาศักยภาพการส่งเสริมสุขภาพ นอกจากเน้นตัวบุคคลเองแล้ว ยังต้องมีผู้นำทางจิตวิญญาณของกลุ่ม ซึ่งต้องเป็นบุคคลมีศักยภาพทั้งความรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพที่ดี
๔.การส่งเสริมสุขภาพที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องได้รับความร่วมมือที่ดีจากคนในองค์กรเดียวกันในการคิดวิถีส่งเสริมสุขภาพร่วมกัน รวมถึงการสนับสนุนของคนนอกองค์กรด้วยเช่นกัน
๕.การจัดสิ่งแวดล้อมในองค์กรให้น่าอยู่และส่งเสริมสุขภาพ โดยเน้นการจัดองค์กรที่มีการนำผลวิจัยมาปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม Healthy work place
๖.กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพตามช่วงวัย ควรให้ความสำคัญกับประเด็นแต่ละช่วงวัย ดังนี้
๖.๑ วัยผู้สูงอายุ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ จะได้ผลดี เมื่อมีผู้นำกลุ่มที่ดีที่ได้มาจากกลุ่มผู้สูงอายุเอง การทำกิจกรรมควรทำเป็นกลุ่ม การได้รับความช่วยเหลือที่ดี และแรงสนับสนุนจากคนในครอบครัว และจากสังคม การทำกิจกรรมกลุ่มควรคำนึงความเหมาะสมด้วย เช่น กิจกรรมที่ไม่โลดโผน เพราะส่วนใหญ่วัยนี้ จะมีปัญหาเรื่องของข้อเข่าเสื่อม และกิจกรรมที่เหมาะสมกับเพศทั้งชายและหญิง
๖.๒ วัยผู้ใหญ่ กิจกรรมควรคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล ข้อจำกัดเรื่องของช่วงเวลาในการทำกิจกรรม ตลอดจน ภาระหน้าที่อื่นๆ
๖.๓ วัยเรียน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ควรมีผู้นำของกลุ่มเด็กเอง เช่น อสม.น้อยในโรงเรียนเพื่อให้เด็กมีส่วนร่วม รวมถึงกิจกรรมควรเป็นกิจกรรมที่ชักจูงให้เด็กเข้าร่วมได้ ไม่น่าเบื่อ เช่นแสดงละครส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น
ที่มา: การถอดบทเรียน จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการ KM การทำวิจัยด้านส่งเสริมสุขภาพทุกช่วงวัย ปีงบประมาณ ๒๕๕๔
การวิจัยในชุมชนต้องใช้เวลาดำเนินการไม่น้อยกวา 1 ปี เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง รวมทั้งการวิจัยคุณภาพ จากประสบการณ์ที่เข้าไปจัดเก็บข้อมูลในชุมชนนาโปร่ง ในวันทีีี่ ๖ เมษายน ๒๕๕๕ ร่วมกับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีทีี่ ๒ เกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพชุมชน ประชากรส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และเห็นด้วยข้อเสนอแนะของอาจารย์ศศิธร ชิดนายี ที่รายวิชาวิจัยทางการพยาบาล ควรศึกษาวิจัยด้านการสร้างสุขภาพ แต่อาจมีข้อจำกัดเกี่ยวกับเวลา
เห็นด้วยกับการบูรณาการการส่งเสริมสุขภาพกับการตรวจสุขภาพประจำปีของอาจารย์และบุคลากรเพราะต้องเริ่จากตัวเอง และองค์กรของเราก่อน การปฏิบัติด้วยตนเองย่อมทำให้เรารับรู้ (percept) ได้ดี และสามารถนำไปใช้ได้
แนวทางการทำวิจัยด้านการส่งเสริมสุขภาพทุกช่วงวัย
มีมุมมองว่าการที่จะส่งเสริมสุขภายผู้อื่นควรเริ่มที่ตัวเรา อาทิ ทำในกลุ่มนักศึกษาในสถาบันจนได้แนวทางที่เป็นเชิงประจักษ์ นักศึกษาเป็นแบบอย่างที่ดีทางด้านสุขภาพ รวมถึงบุคลากรในหน่วยงาน แล้วจึงนำแนวทางไปใช้ในชุมชนกับช่วงวัยต่างๆ น่าจะส่งผลให้เกิดความยั่งยืนและเป็นประโยชน์ต่อสังคม
เห็นด้วยกับความคิดเห็นของอาจารย์หลายๆท่านว่ากับการส่งเสริมสุขภาพควรจะเริ่มที่ตัวเราเอง และสิ่งแวดล้อมในการทำงานก่อน เพื่อสร้างความตระหนักในการส่งเสริมสุขภาพและเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการนำไปเป็นแนวทางการส่งเสริมสุขภาพต่อไป
อีกอย่างหนึ่งที่จะเสนอให้มีการจัดใไห้มีการสร้างเสริมสุขภาพ คือ บุคลากรสุขภาพ (staff) : ซึ่งหมายถึง แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทัตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ ฯ จะเห็นได้ว่าบุคลากรเหล่านี้เจ็บเจ็ยด้วยโรคเรื้อรังจำนวนมาก ซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรมเอง และจากการทำงาน ที่มีการทำงานเป็นกะ เช้า-บ่าย-ดึก ซึ่งนอนไม่ไเป็นเวลา ทำให้ฮอรโมนในร่างกายหลั่งไม่เป็นปกติ เกิดความเครียด ฉะนั้นบุคลากรเหล่านี้ควรได้รับการส่งเสริมสุขภาพเช่นเดียวกัน
เห็นด้วยกับการวางพื้นฐานการทําวิจัยด้านการส่งเสริมสุขภาพ ให้กับนักศึกษา ควรเริ่มตั้งแต่ปี 1 โดยให้แนวทาง และสอดแทรกความสําคัญของการส่งเสริมสุขภาพ ในวิชาต่างๆ นั่นคือบูรณาการไปกับการเรียนการสอนโดยเป็นไปตามบริบทต่างๆของรายวิชานั้นๆ
การส่งเสริมสุขภาพเป็นสิ่งควรปลูกฝังให้กับทุกคนทุกช่วงวัย จากการออกบริการวิชาการกับจังหวัดเคลื่อนท่ี พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ท่ีมาทดสอบสมรรถภาพทางกายกับวิทยาลัย ฯ ทุกคนสนใจในการประเมินภาวะสุขภาพของตนเองเป็นอย่างมาก แสดงให้เห็นว่าประชาชนส่วนมากสนใจสุขภาพของตนเองมาก ดังนั้นการวิจัยในประเด็นนี้จึงเป็นสิ่งท่ีควรสนับสนุนให้เกิดขี้น
เห็นด้วยกับ อ.หลายท่านมีมองว่า การส่งเสริมสุขภาพ จำเป็นต้องเริ่มต้นที่ตนเองก่อน ดังนั้นการที่จะเริ่มต้นและดำเนินไปได้นั้น สิ่งสำคัญคือ ความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ จะเห็นจากงานวิจัยในหลายๆเรื่องที่ศึกษาในเรื่องของความรู้กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ เห็นได้ว่า มีความรู้แต่พฤติกรรมยังการส่งสริมสุขภาพยังไม่เหมาะสม จึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นก่อน
การสร้างเสริมสุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรสร้างเสริมทุกช่วงวัยที่ควรตระหนักเป็นอย่างยิ่ง และเห็นด้วยกับหลาย ๆ ความคิดเห็นที่ว่า ควรเริ่มส่งเสริมสุขภาพที่ตัวเองก่อน