รายงานการประชุมการจัดความรู้ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ ห้อง conference ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
รายงานการประชุมการจัดความรู้
ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ณ ห้อง conference ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
รายชื่อผู้เข้าประชุม
๑. นางนิศารัตน์?????????? นาคทั่ง?????????? หัวหน้าภาควิชาฯ และประธานการประชุม
๒. นางศศิธร?????????????? ชิดนายี
๓. นางสาววราภรณ์?????? ยศทวี
๔. นางสาวนัยนา????????? อินธิโชติ
๕. นางมณฑา????????????? อุดมเลิศ
๖. นางสุธีรา?????????????? งามวาสีนนท์
๗. นางอนัญญา??????????? คูอาริยะกุล
๘. นางสาวเสาวลักษณ์??? เนตรชัง
๙. นางวาสนา???????????? ครุฑเมือง
๑๐. นางสาวนัยนา??????? แก้วคง
๑๑. นางอรุณรัตน์???????? พรมมา
๑๒. นายเสน่ห์???????????? ขุนแก้ว
๑๓. นายสืบตระกูล??????? ตันตลานุกุล
๑๔. นางภราดร??????????? ล้อธรรมมา
๑๕.นายวีระยุทธ?????????? อินพะเนา
๑๖. นายไพทูรย์?????????? มาผิว???????????? เลขานุการ
เริ่มการประชุม ๑๓.๓๐ น.
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ โดยประธานที่ประชุม
อ.นิศารัตน์ นาคทั่ง ประธานการประชุมแจ้งให้ทราบว่า มีมติจากที่ประชุมประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ว่าประเด็นการจัดการความรู้ของวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕ ยังคงเป็นประเด็นหลักๆ ที่สำคัญ ๒ ประเด็นเช่นเดิม คือ ประเด็นที่ ๑ การจัดการเรียนการสอน เรื่องการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ และประเด็นที่ ๒ การวิจัย เรื่อง เทคนิคการเขียนผลงานวิชาการ โดยประเด็นที่ภาควิชาต้องดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ ประเด็นที่ ๑ ซึ่งจะให้อาจารย์ศศิธร ชิดนายี เป็นผู้นำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวาระถัดไป
ระเบียบวาระที่ ๒ การแสวงหาความรู้ ?โดยอาจารย์ศศิธร ชิดนายี
สืบเนื่องจากวิทยาลัยได้มีมติกำหนดประเด็นการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕ ใน ๒ ประเด็นหลักตามที่ประธานได้แจ้งให้ทราบแล้วนั้น โดยประเด็นที่ทุกภาควิชาต้องดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมถอดบทเรียน สรุปเป็นองค์ความรู้ คือ การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อให้ได้องค์ความรู้ในประเด็นดังกล่าว จากการดำเนินการจัดการศึกษาของภาควิชาที่ผ่านมามีการปฏิบัติอย่างไร
อาจารย์วาสนา ครุฑเมือง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า การฝึกปฏิบัติรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ (บุคคลวัยผู้สูงอายุ) ได้บูรณาการการบริการวิชาการ เรื่อง???????????? การดูแลผู้ป่วยสูงอายุในชุมชน โดยสร้างและใช้นวัตกรรมในการดูแลสุขภาพ ซึ่งการกระทำดังกล่าว ได้ฝึกให้นักศึกษาได้ใช้กระบวนการพยาบาลอย่างเข้มข้น ภายใต้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลักดันให้นักศึกษานำญาติหรือผู้ดูแลเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดูแลสุขภาพผู้ป่วยสูงอายุให้มากที่สุด โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นการเสริมความรู้ สร้างทักษะญาติในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ตลอดจนการสาธิตย้อนกลับของญาติเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมที่นักศึกษาพัฒนาขึ้น เมื่อพิจารณาสิ่งที่ทำมา ตนเองคิดว่าเป็นการตอบโจทย์กาสร้างเสริมสุขภาพได้ดีทีเดียว
อาจารย์ไพทูรย์ มาผิว ได้แสดงความเห็นด้วยและเสริมความต่อจากอาจารย์วาสนา ว่า ตนเองก็เป็นหนึ่งในอาจารย์ที่นิเทศการฝึกปฏิบัติรายวิชาดังกล่าวเช่นเดียวกับอาจารย์วาสนา???????????? ซึ่งการเสริมความรู้ ส่งเสริมความตระหนัก สร้างทักษะญาติในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ตลอดจนการสาธิตย้อนกลับของญาติเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมที่นักศึกษาพัฒนาขึ้นนั้น มีความสอดคล้องกับความหมายของการสร้างเสริมสุขภาพ ตามที่ WHO ว่าไว้ คือ ?กระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลในการควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น?
อาจารย์ภราดร ล้อธรรมมา ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า การฝึกที่ผ่านนักศึกษาสะท้อนว่าการสร้างเสริมสุขภาพนั้น ทำเฉพาะในกลุ่มคนที่สุขภาพดี ซึ่งคิดตามความหมายที่ WHO ได้ให้ไว้ ตามที่อาจารย์ไพทูรย์อ้างไว้ ตนเองคิดว่านักศึกษาอาจมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ?????????? ที่คาดเคลื่อนไป ดังนั้น คงต้องทำความเข้าใจให้กระจ่างชัดในประเด็นนี้ ทั้งนักศึกษาและครู โดยเฉพาะครู ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้สู่นักศึกษา จึงจะทำให้การสร้างเสริมสุขภาพมีความก้าวหน้า
อาจารย์เสน่ห์ ขุนแก้ว จากการนิเทศนักศึกษาเช่นเดียวกับอาจารย์ไพทูรย์และอาจารย์วาสนาที่ผ่านมา พบว่า นวัตกรรมที่นักศึกษาพัฒนาขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยสูงอายุได้มีการออกกำลังกาย ก็คิดว่าตอบโจทย์การบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพ
อาจารย์ไพทูรย์ มาผิว เห็นด้วยกับอาจารย์เสน่ห์ เพราะพิจารณานวัตกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่นักศึกษาพัฒนาขึ้น จะอยู่ในกรอบพัฒนาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยตามกรอบแนวคิดของเพนเดอร์ (Pender) ที่มีอยู่ ๖ ประเภท คือ ๑) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ? ?????????๒) กิจกรรมทางกาย (ออกกำลังกาย) ๓) โภชนาการ ๔) สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ๕) การเจริญทางจิตวิญญาณ และ ๖) การจัดการกับความเครียด
อาจารย์สืบตระกูล ตันลานุกุล เห็นด้วยกับทุกคน อย่างไรก็ตาม ก็อย่างให้พิจารณาหรือเสริมการกระทำที่ตอบความหมายของการสร้างเสริมสุขภาพ ด้วยว่า ต้องกระทำเพื่อเพิ่มสมรรถนะของคน ทั้งผู้ป่วยและญาติให้มาขึ้น เพื่อที่เขาจะได้ดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน?????????? มิใช้การพิจารณาหรือกระทำ โดยเราฝ่ายเดียว
อาจารย์ศศิธร สรุปประเด็นว่าจากที่แลกเปลี่ยนรู้กันมาพบว่า ส่วนใหญ่เป็น field ในชุมชนทั้งหมด ส่วนใน field โรงพยาบาลหรือคลินิก จะมีการบูรณาการกับการส่งเสริมสุขภาพอย่างไร
อาจารย์นิศารัตน์ นาคทั่ง แสดงความคิดเห็นว่า ถ้าพิจารณาตามความหมายแล้ว คิดเห็นการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย โดยให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วย ทั้งตัวผู้ป่วยเองหรือญาติ? ???????เมื่อกลับไปอยู่บ้าน ก็ถือว่าเป็นการส่งเสริมสุขภาพเช่นกัน
อาจารย์เสาวลักษณ์ เนตรชัง เห็นด้วยกับอาจารย์นิศารัตน์ ดังนั้นเวลาวางแผนหรือเขียนแผนการสอนต้องเขียนให้เห็นว่ากิจกรรมใดคือการดูแล กิจกรรมใดคือการส่งเสริมสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยมีแผล พยาบาลทำแผลให้ถือว่าเป็นกิจกรรมดูแล ส่วนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ก็น่าจะเป็นในลักษณะการสอนให้ญาติดูแลแผล เป็นโค้ชสอนญาติทำแผล แนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้าน เป็นต้น
อาจารย์วราภรณ์ ยศทวี กล่าวว่า ตามความหมายของการสร้างเสริมสุขภาพของ WHO สิ่งที่กล่าวมา ก็น่าจะใช่กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพทั้งหมด แต่ทีนี้เราจะเขียนกิจกรรมในแผนการอย่างไรให้ชัดเจน สะท้อนการสร้างเสรมสุขภาพ คงต้องมามองหรือพิจารณาวัตถุประสงค์หรือสมรรถนะรายวิชาให้ครอบคลุมจากที่มีและสะท้อนแนวทางการจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาไปเพิ่มศักยภาพของผู้ป่วยและญาติในการดูแลสุขภาพตนเองให้ชัดขึ้น มีแล้วก็ดีไป ถ้าไม่มีก็คงต้องเพิ่มให้มี ถ้ามีแต่ไม่ชัดหรือกว้างไป ก็อาจเพิ่มข้อความให้เข้าไป
อาจารย์ไพทูรย์ มาผิว ให้ข้อมูลการวัดและประเมินผลว่า นอกจากประเมินผู้เรียนตามวัตถุประสงค์และสมรรถนะรายวิชาแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของผู้รับบริการ ???????????????????โดยประเมินเป็นระยะๆ ดังนี้
ระยะแรก ให้ระบุการวัดความรู้เกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือการวัดความตระหนักในความรับผิดต่อสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หรือวัดทักษะการจัดการปัญหาสุขภาพ ภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น
ระยะหลัง ให้ระบุการวัดเพิ่มในประเด็นการแสดงพฤติกรรมหรือการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการวัดดังกล่าว อาจวัดเป็นระยะๆ เช่น ทุก ๑ สัปดาห์ หรือ ๒ สัปดาห์ หรือ ๑ เดือน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
ระเบียบวาระที่ ๓ สรุปประเด็นความรู้ที่ได้จากการแสวงหาร่วมกัน
๓.๑ สรุปแนวทางการปฏิบัติ สำหรับ ?การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ? มีขั้นตอนการดำเนินการนี้
๑. อันดับแรกต้องสร้างความเข้าใจ/ความกระจ่างในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ ความหมาย และพฤติกรรมที่แสดงถึงการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
๑.๑ การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก (world health organization [WHO]) คือ ?กระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลในการควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น?
๑.๒ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (health-promoting behavior) ตามกรอบแนวคิด Health Promotion Model ของ Pender อันประกอบด้วย ๖ พฤติกรรม ดังนี้
๑) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (health responsibility)
๒) กิจกรรมทางกาย (physical activity)
๓) โภชนาการ (nutrition)
๔) สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (interpersonal relations)
๕) การเจริญทางจิตวิญญาณ (spiritual growth)
๖) การจัดการกับความเครียด (stress management)
๒. ทบทวนวัตถุประสงค์/สมรรถนะของรายวิชาภาคปฏิบัติ โดยให้พิจารณาวัตถุประสงค์/สมรรถนะที่มีประเด็นสอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ
กรณี ๑ วัตถุประสงค์/สมรรถนะของรายวิชาภาคปฏิบัติ อาจสะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ แต่ไม่ชัดเจน ให้พิจารณาปรับปรุงหรือเพื่อข้อความของวัตถุประสงค์นั้นๆ บอกหรือสะท้อนแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพ
กรณี ๒ วัตถุประสงค์/สมรรถนะของรายวิชาภาคปฏิบัติ ไม่สะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ให้พิจารณาเพิ่มวัตถุประสงค์/สมรรถนะของรายวิชาภาคปฏิบัติให้สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ โดยคำนึงถึงคำสำคัญ (key word) คือ ความหมาย และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ (บุคคลวัยสูงอายุ) เมื่อสิ้นสุดการฝึกภาคปฏิบัติ นักศึกษาสามารถ
๑. ใช้กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม
๒. ให้การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้
๓. ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้
๔. แสดงความก้าว หน้าในทักษะทางการพยาบาลในการวิเคราะห์ปัญหา อภิปรายทางการพยาบาลและอื่นๆ ที่เกี่ยว ข้องกับการพยาบาลได้
๕. คิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้ โดยอาศัยหลักวิชาการอย่างมีเหตุผล
๖. ร่วมปฏิบัติงานกับทีมสุขภาพและบุคลากรอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม
เมื่อพิจารณาแล้ว ไม่มีวัตถุประสงค์ข้อใด สะท้อนหรือสอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ อาจพิจารณาเพิ่มเติม คือ ?วางแผนและจัดกิจกรรมสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพหรือญาติในการควบคุมและดูแลปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุได้? เป็นต้น
๓. วางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ/สรรถนะที่สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ ตามบริบทหรือสถานการณ์จริงในคลินิกและชุมชน ซึ่งสามารถยกตัวอย่างให้เห็นชัดระหว่างการปฏิบัติการเพื่อการดูแลและการสร้างเสริมสุขภาพ ดังตารางต่อไปนี้
ปัญหาสุขภาพ | กิจกรรมการดูแล | กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ |
การฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล
ผู้ป่วยมีแผล Colostomy |
การทำแผล Colostomy ??????????แบบ wet dressing ให้กับผู้ป่วย | การเตรียมผู้ป่วยก่อนจำหน่าย จากโรงพยาบาล ดังนี้
๑. การสอนและสาธิตผู้ป่วย/ญาติในการทำแผล Colostomy แบบ wet dressing ๒. การเป็นโค้ช (coach) ให้ผู้ป่วย/ญาติในการทำแผล Colostomy |
การติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยสูงอายุในชุมชน
ผู้ป่วยสูงอายุแขนขาซีกซ้ายอ่อนแรง และติดเกร็ง มีแผลกดทับ |
๑. การช่วยผู้ป่วยออกกำลังกาย แบบ Passive exercise
๒. การทำแผล แบบ wet dressing |
๑. การสอนและสาธิตญาติผู้ป่วยสูงอายุในการทำแผลและ Passive exercise แบบ Coaching (เป็นโค้ชสอน)
๒. ร่วมกับญาติในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการดูแล ป้องกันหรือแก้ปัญหาสุขภาพ โดยกระตุ้นให้พิจารณาถึงภูมิปัญญา/วัสดุท้องถิ่นที่มีอยู่ มาดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาสุขภาพ กิจกรรมตัวอย่างข้างต้น ล้วนเป็นการเพิ่มศักยภาพของผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเอง ?????????????เมื่อกลับไปอยู่บ้าน ซึ่งสอดรับกับความหมายการสร้างเสริมสุขภาพ |
๔. ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลที่บูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพ ที่มีการออกแบบอย่างเป็นรูปธรรมตามแผนที่วางไว้
๕. การวัดและประเมินผล นอกจากประเมินผู้เรียนตามวัตถุประสงค์และสมรรถนะรายวิชาแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของผู้รับบริการ โดยประเมินเป็นระยะๆ ดังนี้
ระยะแรก ให้ระบุการวัดความรู้เกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือการวัดความตระหนักในความรับผิดต่อสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หรือวัดทักษะการจัดการปัญหาสุขภาพ ภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น
ระยะหลัง ให้ระบุการวัดเพิ่มในประเด็นการแสดงพฤติกรรมหรือการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการวัดดังกล่าว อาจวัดเป็นระยะๆ เช่น ทุก ๑ สัปดาห์ หรือ ๒ สัปดาห์ หรือ ๑ เดือน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
๓.๒ กิจกรรมต่อไป คือ เผยแพร่คามรู้ที่ได้ผ่าน web blog , website ของวิทยาลัยและแผ่นพับประชาสัมพันธ์
ปิดประชุมเวลา ๑๕.๐๐ น.
ไพทูรย์ ?มาผิว
(นายไพทูรย์? มาผิว)
ผู้บันทึกรายงานการประชุม
นิศารัตน์ ?นาคทั่ง
(นางนิศารัตน์ นาคทั่ง)
ผู้ตรวจสอบรายงานการประชุม
การสร้างความเข้าใจ/ความกระจ่างในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญ นำไปสู่ความสำเร็จของการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ
มีความคิดเห็นว่าการฝึกปฏิบัติงานในคลินิคของนักศึกษา อาจารย์นิเทศก็สามารถจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยได้ ตัวอย่างกิจกรรม เช่น การให้คำแนะนำก่อนกลับบ้านแก่ผู้ป่วยและญาติ ในเรื่องการปฏิบัติตน การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ฯลฯ ทั้งนี้อาจารย์นิเทศมีบทบาทสำคัญในการเน้นย้ำให้นศ.ได้แสดงบทบาทนี้จนเป้ฯภาวะปกติของการดูแลผู้ป่วยทุกราย ไม่เฉพาะรายที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น เพื่อรปะสิทธิภาพของการดูแลอย่างสมบูรณ์ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป
ในการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพกับการเรียนการสอน ลงสู่การปฏิบัติจริงทั้งในรายวิชาทฤษฎีและปฏิบัตินั้น คิดว่าใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (health-promoting behavior) ตามกรอบแนวคิด Health Promotion Model ของ Pender จะสามารถนำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น ในเรื่องของความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (health responsibility)สามารถให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์กิจกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน และให้แสดงให้เห็นว่า เป็นกิจกรรมที่เป็นความรับผิดชอบต่อสุขภาพอย่างไร ซึ่งสามารถใช้ได้กับบุคคลที่มีสุขภาพดี และบุคคลที่มีภาวะเจ็บป่วยได้
การที่จะดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่มีการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพได้ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์นั้น ควรมีการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมแบบภาคีเครือข่าย ระดับท้องถิ่นหรือประชาชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดการดำเนินการแบบคล่องตัว ยังทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งด้านกระบวนการและผลลัพธ์การดำเนินการเรียนการสอนและการสร้างเสริมสุขภาพอีกด้วย