การเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM )

ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

เรื่อง การสังเคราะห์ความรู้สู่ผลการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ

ของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

ณ? ห้องประชุม ๓๒๔ ?วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่? ๑๖? สิงหาคม? พ.ศ.๒๕๕๕

เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ผู้เข้าร่วมประชุม

๑.อาจารย์วิไลวรรณ???????? บุญเรือง??????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒.อาจารย์วิมล?????????????? อ่อนเส็ง??????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓.อาจารย์ ดร.ประภาพร? มโนรัตน์??????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔.อาจารย์ดุจเดือน เขียวเหลือง??????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๕.อาจารย์อดุลย์???? ??????? ?วุฒิจูรีพันธุ์??????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๖.อาจารย์อัญชรี?? รัตนเสถียร???????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗.อาจารย์บุญฤทธิ์ ประสิทธินราพันธุ์????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘.อาจารย์พรรณพิไล???????? สุทธนะ ?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๙.อาจารย์นิกร?????????????? จันภิลม??????????????????? วิทยาจารย์ชำนาญการ

๑๐.??????? อาจารย์อิทธิพล?????? แก้วฟอง??????????????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๑.??????? อาจารย์จิระภา?????? สุมาลี?????????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๒.??????? อาจารย์กันตวิชญ์???? จูเปรมปรี????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๓.??????? อาจารย์ชลธิชา?????? จับคล้าย?????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.

วาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ

๑. คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยฯ ได้แจ้งนโยบายเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ และ? การสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาซึ่ง อ.ศศิธร? ได้ชี้แจงให้อาจารย์ทุกคนได้รับทราบแล้ว

๒.? ขั้นตอนการดำเนินการมีดังนี้

๒.๑? สร้างความเข้าใจ/ความกระจ่างในประเด็นสำคัญ? โดยทบทวนมติการจัดการความรู้ที่ได้มีมติร่วมกันคือแนวทางในการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี? อุตรดิตถ์ ที่สอดคล้องกับพันธกิจของวิทยาลัยในด้านการจัดการเรียนการสอน คือ เรื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติเพื่อการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ

๒.๒? ทบทวนวัตถุประสงค์รายวิชา/ วิธีการจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติเพื่อปรับเพิ่มให้สอดคล้องกับการสอบขึ้นทะเบียนของสภาการพยาบาล

๓. ผลการจัดการความรู้ในภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช มีประเด็น เรื่องการสังเคราะห์ความรู้สู่ผลการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล ฯ? ของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช? มีแนวปฏิบัติดังนี้

๓.๓.๑ รายวิชาการพยาบาลอนามัยชุมน โดยการสังเคราะห์ความรู้ร่วมกันโดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประเด็นปัจจัยที่มีผลต่อการสอบทะเบียนใบประกอบวิชาชีพของนักศึกษาดังนี้

-? การสร้างแรงจูงใจ หรือการสร้างเสริมพลังอำนาจให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการสอบขึ้นทะเบียน? โดยมีการชี้แจงให้นักศึกษาได้เห็นถึงข้อเสียขอเสียของการสอบไม่ผ่าน หรือผลดีของการสอบผ่าน

-? การจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการสภาพจริงสู่การเชื่อมโยงต่อทฤษฎีที่ใช้ในการสอนขึ้นทะเบียน? เช่น? การติวนักศึกษาขณะฝึกในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมมน ๒ ?เนื่องจากรายวิชานี้ ลักษณะรายวิชาเป็นการรวมองค์ความรู้ของรายวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน ซึ่งสามารถทำให้นักศึกษาได้เห็นสภาพจริงและเกิดการเชื่อมโยงที่ชัดเจนขึ้นกว่าการเรียนทฤษฎี ที่นักศึกษามองว่าเป็นนามธรรม

- จัดให้มีการติวนักศึกษาโดยใช้แนวข้อสอบที่หลากหลายและส่งเสริมให้มีการวิเคราะห์ข้อสอบร่วมกัน

-? สร้างบรรยากาศในการติวรายกลุ่มย่อยที่เป็นกันเองเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการสะท้อนคิดมากขึ้น

- มีการแยกนักศึกษาในรายที่มีปัญหาในการสอบวัดความรู้ในรอบต่างๆเพื่อดำเนินการสอนหรือสอบซ่อมเสริมเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจในประเด็นที่ตนเองไม่เข้าใจให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

- ครูผู้สอนหรือผู้นิเทศนักศึกษาควรมีความรู้ที่เฉพาะทางและสามารถประเมินนักศึกษาภายในกลุ่มเพื่อจำแนก หรือ ติดตามนักศึกษาเกี่ยวกับประเด็นด้านวิชาการได้

๓.๓.๒. รายวิชาการพยาบาลจิตเวช โดยการสังเคราะห์ความรู้ร่วมกันโดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประเด็นปัจจัยที่มีผลต่อการสอบทะเบียนใบประกอบวิชาชีพของนักศึกษาดังนี้

-? การบูรณาการสภาพจริงขณะฝึกปฏิบัติสู่การวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีความสอดคล้องทฤษฎีในห้องเรียนเพื่อให้นักศึกษาได้มองเห็นภาพชัดยิ่งขึ้น

-? การติวนักศึกษาขณะฝึกภาคปฏิบัติโดยเชื่อโยงสถานการณ์ตามจริงสู่การวิเคราะห์ข้อสอบ

-? การใช้ข้อสอบที่หลากหลายในการติวนักศึกษา

-? การเชิญอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญจากต่างสถาบันมาติวนักศึกษา

-? มีการเตรียมความพร้อมนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการสอบขึ้นทะเบียน

-? มีการวิเคราะห์ข้อสอบโดยเทียบเคียงกับ แนวข้อสอบของสภาการพยาบาล

๓.๒ สรุปประเด็นองค์ความรู้และแนวทางการปฏิบัติ

๓.๒.๑. ประเด็นองค์ความรู้ที่ได้คือ? การบูรณาการสถานการณ์จริง เชื่อมโยงสู่การทำข้อสอบขึ้นทะเบียน

๓.๒.๒.แนวทางปฏิบัติ

- การเตรียมความพร้อมนักศึกษาในประเด็น การสร้างแรงจูงใจ หรือการสร้างเสริมพลังอำนาจให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการสอบขึ้นทะเบียน? โดยมีการชี้แจงให้นักศึกษาได้เห็นถึงข้อเสียขอเสียของการสอบไม่ผ่าน หรือผลดีของการสอบผ่าน โดยเชิญผู้ที่มีประสบการณ์ในการสอบสภาการพยาบาลในปีที่ผ่านมา มาร่วมบรรยาย? เป็นต้น

-? นักศึกษาได้รับการอบรมในโครงการ เตรียมความพร้อมสู่การสอบขึ้นทะเบียน

-? ในระหว่างที่มีการฝึกภาคปฏิบัติครูผู้นิทศควรจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการสภาพจริงสู่การเชื่อมโยงต่อทฤษฎีที่ใช้ในการสอนขึ้นทะเบียน โดยการยกสถานการณ์ที่จัดเจนหรือการนำตัวข้อสอบที่มีสภานการณ์คล้ายคลึงกับสถานการณ์จริงที่นักศึกษาพบเห็นในระหว่างการฝึก? เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเชื่อมโยงกระบวนการคิดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

-?? มีการใช้แนวข้อสอบที่หลากหลายในการติวนักศึกษา ที่สอดคล้องกับ Test Blue Print ของสภาการพยาบาล

-? จัดบรรยากาศในการติวรายกลุ่มย่อยที่เป็นกันเองเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการสะท้อนคิดมากขึ้น

-?? ครูผู้สอนหรือผู้นิเทศนักศึกษาควรมีความรู้ที่เฉพาะทางและสามารถประเมินนักศึกษาภายในกลุ่มเพื่อจำแนก หรือ ติดตามนักศึกษาเกี่ยวกับประเด็นด้านวิชาการ

๔.? การสังเคราะห์ความรู้? ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้? ทักษะจากผู้มีประสบการณ์ตรง? (tacit? knowledge)? จำนวน ๑๕? ความคิดเห็น? ได้แก่

-? ความเห็น by อ.บุญฤทธิ์ ? มีนาคม 12, 2012 at 7:00 amอาจารย์ต้อง ดูแลนักศึกษา ที่GPA น้อยเป็นพิเศษ เพราะจากการติดตามนักศึกษา ที่สอบไม่ผ่าน มักจะเป็นคนที่ GPA น้อยๆ และต้องกระตุ็นให้เด็ก เห็นความสำคัญทุก รายวิชา เพราะมีบางคนเลือกที่ขอผ่านเป็นบางวิชา วิชาในไม่แน่ใจ นํกศึกษา อาจไม่ทบทวนเรืองนั้น

-? ความเห็น by jojo ? มีนาคม 12, 2012 at 7:07 am เห็นด้วยกับอาจารย์บุญฤทธิ์ค่ะ และมีข้อเสนอแนะจากนักศึกษาว่าเมื่อสอบแล้วอยากให้อาจารย์อธิบายแนวคิดในข้อสอบเพื่อให้นักศึกษาได้มีความเข้าใจใน concept มากขึ้นด้วย

-? ความเห็น by khwankhao ? มีนาคม 12, 2012 at 7:35 am เห็นด้วยกับ P. Jojo ครับ การที่อธิบาย concept เป็นการทำให้ นักศึกษาเกิดกระบวนการคิดและวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และปรับมุมมองในเรื่องของกระบวนการคิดที่ทำให้นักศึกษาสนใจ ในการทบทวนเนื้อหามากขึ้น

-? ความเห็น by อ.ดุจเดือน ? มีนาคม 17, 2012 at 10:45 am เห็นด้วยกับ JOJO และ ขวัญข้าว และควรเพิ่มการให้นักศึกษาได้เขียน concept mapping ในสาระ/เนื้อหานั้นๆเพราะจะทำให้นักศึกษาได้เกิดการตกผลึกด้วยตนเอง ทั้งการวิเคราะห์และการคิดเชิงเหตุผล เชื่อมโยงความรู้ได้ เมื่อเจอสถานการณืหรือโจทย์อื่นๆ ก็สามารถหาคำตอบได้โดยใช้หลักการคิดเชื่อมโยง

-? ความเห็น by อ.สิตานันท์ ? มีนาคม 17, 2012 at 10:56 am ก่อนที่จะเริ่มการติว ควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจให้นักศึกษาเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการสอบขึ้นทะเบียน และจัดกิจกรรมต่างๆร่วมกันทั้งนักศึกษาและอาจารย์ และขอให้ทุกภาควิชามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ ก่อนที่จะมีการติว และหากเป็นไปได้ความจัดนอกสถานที่ค่ะ

-? ความเห็น by kookan ? มีนาคม 17, 2012 at 3:56 pm อยากให้มีการเตรียมความพร้อมเรื่องการสอบให้กับนักศึกษาหลังเรียนทฤษฎีจบช่วง summer ปี 3 เพื่อให้นักศึกษาได้ประเมินตนเองว่ามีความรู้ระดับใด และในช่วงฝึกภาคปฏิบัติ ปี 4 จะได้วางแผนการทบทวนความรู้ในแต่ละวิชาได้ ซึ่งคะแนนสอบสามารถแยกได้ว่านักศึกษาไม่ผ่านวัตถุประสงค์ใด อาจารย์ผู้นิเทศก็จะได้วางแผนการติวให้กับนักศึกษากลุ่มที่ตนเองนิเทศได้

-? ความเห็น by สุปราณี หมื่นยา ? มีนาคม 18, 2012 at 2:14 pm เห็นด้วยกับการ Empowerment นักศึกษาก่อนการสอบขึ้นทะเบียน แต่การที่จะทำให้นักศึกษาเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองนั้น ควรกระทำตั้งแต่ ปี 2,3 และ 4 ซึ่งเชื่อว่าถ้านักศึกษามีความเชื่อมั่นในความสามารถตั้งแต่แรกๆ จะเป็นส่วนช่วยให้นักศึกษาตื่นตัวและเป็นการกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการสอบผ่านได้มากค่ะ

-? ความเห็น by อาจารย์สืบตระกูล ? มีนาคม 19, 2012 at 9:22 am การจัดทบทวนโดยอาจารย์ภายใน ช่วยได้มากในการติวกลุ่มเล็กได้แชร์ความรู้ร่วมกันได้คำตอบชัดเจนมากขึ้น แนะนำนักศึกษาได้ตรงประเด็นกับนักศึกษาแต่ละคนการจับคู่ Buddy แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มเก่ง-อ่อน การติวซ้ำๆ ทำให้จำได้มากขึ้น อาจารย์สอนคนเดียว แนวคิดตรงกัน ทำให้มีเทคนิคการจำมากกว่าอาจารย์ภายนอก สามารถนัดนักศึกษานอกเวลาได้ เข้มงวด เอาใจใส่ เวลานักศึกษาไม่เข้าใจสามารถถามได้เลย

-? ความเห็น by อาจารย์ภราดร ? มีนาคม 19, 2012 at 9:24 am อาจารย์ควรเปิดประเด็นให้นักศึกษามีส่วนร่วม เชื่อมโยงเนื้อหาการสอน เจาะประเด็นและแม่นในเนื้อหา การทำข้อสอบเสมือน ช่วยให้นักศึกษาได้วิเคราะห์ รู้จุดอ่อนของตน ส่วนที่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติม ทำให้มีกระบวนการคิดมากขึ้น ได้ประเด็นในการคิดมากขึ้น และรู้แนวในการถามและการตอบมากขึ้น เป็นการฝึกทำของนักศึกษา

-? ความเห็น by อาจารย์สืบตระกูล ? มีนาคม 19, 2012 at 9:26 am การจัดทบทวนโดยอาจารย์ภายใน ช่วยได้มากในการติวกลุ่มเล็กได้แชร์ความรู้ร่วมกันได้คำตอบชัดเจนมากขึ้น แนะนำนักศึกษาได้ตรงประเด็นกับนักศึกษาแต่ละคนการจับคู่ Buddy แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มเก่ง-อ่อน การติวซ้ำๆ ทำให้จำได้มากขึ้น อาจารย์สอนคนเดียว แนวคิดตรงกัน ทำให้มีเทคนิคการจำมากกว่าอาจารย์ภายนอก สามารถนัดนักศึกษานอกเวลาได้ เข้มงวด เอาใจใส่ เวลานักศึกษาไม่เข้าใจสามารถถามได้เลย

-? ความเห็น by อ.อัญชรี ? มีนาคม 19, 2012 at 1:40 pm การเชิญบุคคลภายนอกร่วมสอนแช่นผู้เชี่ยวชาญในงานการให้คำปรึกษา คนไข้ ญาติ น่าจะลองจัดให้นักศึกษาได้รับประการณ์ตรงอย่างนี้บ้าง บางหัวข้อก็น่าจะดี

-? ความเห็น by prapaporn manorath ? มีนาคม 19, 2012 at 3:43 pm การจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ ตีความ สรุปลงสู่แนวคิดและหลักการในแต่ละประเด็นของการเรียนรู้ทั้งประเด็นหลักของรายวิชาและประเด็นย่อยในแต่ละหัวข้อย่อยเป็นวิธีการที่ผู้สอนควรได้ตระหนักและออกแบบการจัดการเรียนรู้ของตนให้เกิดผลดังกล่าว

-? ความเห็น by อ.กันตวิชญ์ ? มีนาคม 19, 2012 at 3:59 pm ในฐานะของอาจารย์น้องใหม่ ที่เพิ่งผ่านประสบการณ์ในเรื่องของการสอบใบประกอบวิชาชีพ และผ่านการจัดการเรียนการสอนมานะครับ มีความคิดเห็นว่าการทบทวนต้องสรุปเป็น Concept ที่สำคัญๆ และทำควบคู่กับตัวอย่างข้อสอบ เป็นหัวข้อในแต่ล่ะเนื้อหาคับ และการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักศึกษาก็สำคัญมากๆคับ เพราะการให้กำลังใจกับนักศึกษาจะทำให้มีกำลังใจขึ้นมากๆคับ เช่น นักศึกษาทำข้อสอบได้คะแนนมาก ก็น่าจะชมว่านักศึกษาเก่งบ้างก็ได้ แทนที่จะบอกว่า ข้อสอบง่ายอย่างเดียวคับ เล่าจากประสบการณ์ตนเองและเพื่อนๆในห้องรุ่น 25 เป็นเสียงสะท้อนมาครับ

-? ความเห็น by อ.อิทธิพล ? มีนาคม 19, 2012 at 10:38 pm การสร้าง Empowerment ให้กับนักศึกษาเป็นแนวทางที่ดีครับ เห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะจะทำให้ตัวนักศึกษามีความตั้งใจใร้ และมีเป้าหมายในการสอบให้ผ่าน ต่อไป

-? ความเห็น by bum ? มีนาคม 20, 2012 at 10:03 am การติวภายในถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากค่ะ และหากมีวิทยากรด้านนอกมาร่วมด้วยยิ่งทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์มากยิ่งขึ้นคะ อาจารย์ควรเสริมความมั่นใจให้นักศึกษาเพิ่มมากขึ้น และควรมีการทำ KM.ของแต่ละภาควิชามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทั้งวิทยาลัยคะ น่าจะทำให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้นคะ

๕.? การสรุปประเด็นสาระที่ได้เพื่อนำมาเป็นแนวปฏิบัติที่ดี? (ที่ได้จากการสังเคราะห์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจากผู้มีประสบการณ์ตรง)? ได้แก่? การบูรณาการสถานการณ์จริง เชื่อมโยงสู่การทำข้อสอบขึ้นทะเบียน โดยแนวปฏิบัติเป็น? ๒? ส่วนคือ? การจัดการเรียนการสอน? การสร้างแรงจูงใจและการเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียน? โดยมีแนวทางดังนี้

๑. ?การจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการสภาพจริงสู่การเชื่อมโยงต่อทฤษฎีที่ใช้ในการสอนขึ้นทะเบียน

-? ?การจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาสามารถเห็นสภาพจริงและเกิดการเชื่อมโยงที่ชัดเจนขึ้นกว่าการเรียนทฤษฎี ที่นักศึกษามองว่าเป็นนามธรรม? ได้คิดวิเคราะห์ ตีความ สรุปลงสู่แนวคิดและหลักการในแต่ละประเด็นของการเรียนรู้ทั้งประเด็นหลักของรายวิชาและประเด็นย่อยของรายวิชา

-?? ?มีการแยกนักศึกษาในรายที่มีปัญหาในการสอบวัดความรู้ในรอบต่างๆเพื่อดำเนินการสอนหรือสอบซ่อมเสริมเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจในประเด็นที่ตนเองไม่เข้าใจให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

- ?ครูผู้สอนหรือผู้นิเทศนักศึกษาควรมีความรู้ที่เฉพาะทางและสามารถประเมินนักศึกษาภายในกลุ่มเพื่อจำแนก หรือ ติดตามนักศึกษาเกี่ยวกับประเด็นด้านวิชาการได้

-? การบูรณาการสภาพจริงขณะฝึกปฏิบัติสู่การวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีความสอดคล้องทฤษฎีในห้องเรียนเพื่อให้นักศึกษาได้มองเห็นภาพชัดยิ่งขึ้น

-? การติวนักศึกษาขณะฝึกภาคปฏิบัติโดยเชื่อโยงสถานการณ์ตามจริงสู่การวิเคราะห์ข้อสอบ

๒.? การสร้างแรงจูงใจ หรือการสร้างเสริมพลังอำนาจให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการสอบขึ้นทะเบียน? เป็นระยะ ๆ? โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการหาแนวทางร่วมกัน ซึ่งความต้องการของนักศึกษา ควรจะมีการตกลงวางแผนร่วมกัน โดยมีตัวแทนของนักศึกษาร่วมประชุมด้วย ว่าเขาต้องการติวแบบไหน ต้องการสิ่งสนับสนุนอะไรจากวิทยาลัย เพราะต้นทุนของนักศึกษาแต่ละคนไม่เท่ากันค่ะ การเรียนรู้ที่เกิดจากความเต็มใจ

๓.? การจัดการติวเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบสภา

- ?จัดให้มีการติวนักศึกษาโดยใช้แนวข้อสอบที่หลากหลายและส่งเสริมให้มีการวิเคราะห์ข้อสอบร่วมกัน

-? สร้างบรรยากาศในการติวรายกลุ่มย่อยที่เป็นกันเองเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการสะท้อนคิดมากขึ้น

-? การใช้ข้อสอบที่หลากหลายในการติวนักศึกษา? และสรุป เขียน concept mapping ในสาระ/เนื้อหานั้นๆเพราะจะทำให้นักศึกษาได้เกิดการตกผลึกด้วยตนเอง ทั้งการวิเคราะห์และการคิดเชิงเหตุผล เชื่อมโยงความรู้ได้

-? การเชิญอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญจากต่างสถาบันมาติวนักศึกษา

-? มีการวิเคราะห์ข้อสอบโดยเทียบเคียงกับ แนวข้อสอบของสภาการพยาบาล

๖.? การดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ดำเนินการคือ

-? การวางแผนการจัดการเรียนการสอน???? ? ตามแนวทางที่กำหนดไว้ใน? มคอ.? ๓? และ? ๔? และดำเนินการเรียนการสอนโดยเน้นการจัดสถานการณ์จริง? และคำนึงถึงความแตกต่างของนักศึกษาแต่ละคน

-? จัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยเน้นการนิเทศโดยอาจารย์ที่มีความเชียวชาญในสาขาที่สอน? (ระบุไว้ในคู่มือการฝึกภาคปฏิบัติ)

-? ร่วมเสนอความคิดเห็นวางแผนการการจัดทำโครงการเตรียมความพร้อมก่อนสอบขึ้นทะเบียนร่วมกับกลุ่มงานวิชาการโดยบรรจุไว้ในการแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ? ๒๕๕๖

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.

ลงชื่อ? …………………………………………….

(นายอิทธิพล? แก้วฟอง)

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

ลงชื่อ? …………………………………………….

(นางสาววิไลวรรณ? บุญเรือง)

ผู้ตรวจรายงานการประชุม