การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนกับการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
การจัดการความรู้ เรื่อง การบูรณาการด้านการส่งเสริมสุขภาพมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
การส่งเสริมและดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลเด็กวัยเรียน
????????? การดูสุขวิทยาเด็กและการจัดบริการทางสุขภาพให้แก่เด็กในวัยเรียน โดยมากจะเน้นการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการในทุกๆด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคม สติปัญญา ศีลธรรมและจิตวิญญาณ ดังนั้น การให้บริการดูแลสุขภาพเด็กในช่วงอายุต่างๆจึงควรพิจารณาถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กเป็นสำคัญ แนวทางให้บริการดูแลสุขภาพเด็ก โรเบอร์ตา (Roberta K. O? Shea, 2009 : 39-44) กล่าวถึงการให้บริการดูแลสุขภาพเด็กจำเป็นต้องมีบุคลากรหลายสาขาวิชาชีพและมีแนวทางให้บริการสุขภาพแก่เด็ก ซึ่งในยุคแรกๆมีรูปแบบการให้บริการภายในหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขในประเทศทางตะวันตกได้บุกเบิกและทดลองให้บริการวิชาการในรูปแบบต่างๆกันไปตามบริบทและการจัดการ อาทิ ทีมแพทย์ จะมีแพทย์เป็นผู้ดำเนินการโดยรูปแบบการให้บริการวิชาการจะอิงตามแนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วย เรียกว่ารูปแบบการให้บริการทางการแพทย์ (Medical Model) มีกิจกรรมการให้บริการที่จัดทำเป็นระบบมีคู่มือปฏิบัติงาน (The Guide to Physical Therapy Practice) ทีมสุขภาพประกอบด้วยทีมแพทย์ เภสัชกร นักโภชนาการ พยาบาล นักอาชีวะบำบัดและผู้ให้บริการเป็นนักปฏิบัติการวิชาชีพแต่ละสาขามาร่วมกันให้กิจกรรมบริการ ต่อมามีการจัดกิจกรรมและมีรูปแบบเชิงรุกมายิ่งขึ้น ขยายงานออกไปสู่การจัดกิจกรรมบริการสุขภาพเด็กไปตามโรงเรียน เรียกว่า โครงการสุขภาพในโรงเรียน (School Model) เพื่อให้การบริการเข้าถึงเด็กวัยเรียน มีนักวิชาชีพทำงานร่วมกับครูในโรงเรียน จากนั้นเริ่มให้บริการเชิงรุกเข้าไปสู่ชุมชน ครัวเรือนและศูนย์เลี้ยงเด็กในชุมชน เพื่อให้บริการแบบเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและมีประสิทธิภาพสูงสุด
แนวทางให้บริการดูแลสุขภาพเด็กจะขอแบ่ง ดังนี้
๑.?ระยะก่อนเกิด (Prenatal Visit)
๒.?ระยะแรกเกิด (ในโรงพยาบาล)
๓.?วัยทารกระยะต้น (๒ สัปดาห์ ถึง ๖ เดือน)
๔.?วัยทารกระยะท้าย (๖ เดือน ถึง ๒๔ เดือน)
๕.?วัยก่อนเข้าเรียน วัยเดกระยะต้น (อายุ ๒-๕ ปี)
๖.?วัยเรียนหรือวัยเด็กระยะสุดท้าย (อายุ ๕-๑๒ ปี)
การดูแลสุขวิทยานั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สุขวิทยาส่วนบุคคล (Personal Hygiene) บุคคลนั้นจะขาดความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ขาดความกระตือรือร้นหรือละเลยที่จะดูแลตนเองให้มีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดีจึงเป็นเหตุเกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น การส่งเสริมความสุขสบายให้กับบุคคลในเรื่องสุขวิทยาส่วนบุคคลเพื่อให้บุคคลที่มีภาวะเจ็บป่วยได้รับความสุขสบาย ทั้งทางร่างกายและจิตใจซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้หายเจ็บป่วยเร็วขึ้น
สุขวิทยาส่วนบุคคล หมายถึง การที่บุคคลมีร่างกายที่สะอาดตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า แต่งกายเรียบร้อย ซึ่งโดยทั่วไปในภาวะปกติแต่ละบุคคลจะสามารถดูแลรักษาความสะอาดร่างกายได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้เอง เช่น อยู่ในภาวะเจ็บป่วย มีอายุมากขึ้น อาจต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือจากบุคคลเพื่อช่วยทำให้สุขวิทยาส่วนบุคคลของบุคคลนั้นๆอยู่ในสภาวะที่ดี ได้แก่ การดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น ผม ความสะอาดในช่องปาก ฟัน ผิวหนังทั่วร่างกาย อวัยวะสืบพันธุ์ เล็บมือ และเท้าให้สะอาดปราศจากสิ่งที่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย
การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่เริ่มต้นเรียนรูปจริงจัง มีพัฒนาความคิดเชิงวิเคราะห์และเปรียบเทียบได้โดยมีหลักการและเหตุผล พัฒนาการของเด็กวัยเรียนจะมีลักษณะอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง อยากเก่ง อยากให้ความร่วมมือ ต้องการทราบเหตุผลในเรื่องต่างๆว่าเกิดขึ้นอย่างไร นักวิชาการด้านการศึกษามีความเชื่อว่า วัยนี้เป็นวัยที่อยู่ในช่วงวิกฤตช่วงหนึ่งในการเรียนรู้เพราะเด็กจะเริ่มมีพัฒนาการความต้องการใฝ่สัมฤทธิ์ สร้างความสามารถในการเป็นผู้ประสบความสำเร็จมากกว่าการล้มเหลว (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข,2553)
ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพได้ทำการศึกษาการส่งเสริมและการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนโดยให้การบริการการส่งเสริมการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนหรือวัยเด็กระยะสุดท้าย (อายุ ๕-๑๒ ปี) โดยร่วมกับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ ในการร่วมกันให้บริการวิชาการทั้ง ๓ หัวข้อ คือ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น โรคติดต่อทั่วไปที่ควรรู้และสุขวิทยาส่วนบุคคลซึ่งทุกหัวข้อมีความสำคัญ ในกระบวนการจัดกิจกรรมอาจารย์ได้ดำเนินการสำรวจความต้องการของครูประจำโรงเรียนเพื่อสอบถามความต้องการที่ตรงตามเป้า หมายในการให้บริการวิชาการแก่สังคม จากนั้นนำมาวางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อให้ได้ตรงกับประเด็นที่ต้องการและนำไปบริการวิชาการ หัวข้อในการจัดกิจกรรมมีความสำคัญต่อครู ผู้ดูแลนักเรียนและตัวนักเรียนเป็นอย่างมากซึ่งจะสามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริง นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้จากประสบการณ์จริง จากนั้นนำความรู้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับทฤษฎีที่จัดการเรียนการสอนไปแล้วและเพื่อการเชื่อมโยงในอนาคตต่อไป มีความคาดหวังว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ประสบการณ์จริงจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อเด็กวัยเรียนและนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ได้มากที่สุด
ผลกระทบเมื้อสิ้นสุดการดำเนินงาน
๑.??กลุ่มเป้าหมาย (เด็กวัยเรียนและครู)
-?พึงพอใจในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการเกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนโดยกิจกรรมมีการดำเนินการแบบต่อเนื่องเป็นเวลา ๓ ปี
-?นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลของตนเองมากยิ่งขึ้น
-?ครูมีความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขวิทยาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยเรียน
-?รู้สึกมีคุณค่าในตนเองที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนให้ดีขึ้น
-?ครูได้รับแนวทางความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน
-?การจัดกิจกรรมของวิทยาลัยฯส่งผลให้โรงเรียนเทศบาลหัวดงได้รับรางวัลเด็กสุขภาพฟันดีระดับอำเภอจากการประกวดสุขภาพดี สร้างความภาคภูมิใจให้กับบุคลากรภายในโรงเรียน
๒.?กลุ่มนักศึกษาพยาบาลศาสตร์
-?พึงพอใจในกิจกรรมบริการวิชาการและเกิดทักษะในกระบวนการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน
-?มีความมั่นใจในการดูแลและส่งเสริมสุขวิทยาส่วนบุคคลให้แก่ผู้อื่นมากยิ่งขึ้น จากการได้รับประสบการณ์จริง
-??มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานในการให้บริการแก่ชุมชนและสามารถร่วมงานกับเครือข่ายภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-?ได้รับประสบการณ์จริงในการให้บริการวิชาการทำให้นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ มีการพัฒนาทางด้านความคิด การทำงานเป็นทีมและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
๓.???? กลุ่มอาจารย์
-????????? พึงพอใจในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการที่ได้จัดและเกิดทักษะในกระบวนการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้กับนักศึกษา
-?มีเครือข่ายในการดูแลและส่งเสริมสุขวิทยาส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น
-?เกิดการพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญการทำงานจากประสบการณ์ที่ได้รับจริงของการบริการวิชาการร่วมกับภาคีเครือข่ายมากยิ่งขึ้น
-?ได้ประเด็นความรู้ในการบริการวิชาการการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้กับนักศึกษาและยังเป็นแนวทางการพัฒนาการจัดการบริการวิชาการในครั้งต่อไป
แนวทางการปฏิบัติที่ดี
๑.?การให้บริการวิชาการสามารถทำได้กับบุคคลทุกช่วงวัย ทุกเวลาและทุกสถานที่
๒.?การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนควรมีการจัดกิจกรรมที่ดึงความสนใจเด็กวัยนี้เนื่องจากเด็กวัยนี้มีความสนใจใฝ่รู้มาก
๓.?ควรนำผลการจัดกิจกรรมไปเผยแพร่ที่อื่นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติเช่นกัน
๔.?นำประสบการณ์ที่ได้รับไปเผยแพร่เพื่อให้ผู้อื่นรับทราบและปฏิบัติตามจนเกิดเป็นความเคยชิน
๕.?ปฏิบัติทุกครั้งตามความเหมาะสมเพื่อให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อไป
๖.?การนำไปใช้กับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลและรายวิชาอื่นๆที่ในภาคสอนและรับผิดชอบ จะทำให้นักศึกษาได้รับฟังความรู้ที่ได้จากการจัดประสบการณ์จริงของอาจารย์ทำให้ภาพของการเรียนมีชีวิตคือสามารถทำให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจารย์ควรนำแนวคิดดังกล่าวมาพัฒนาในการสอนให้มีคุณภาพต่อไป
วิภาวรรณ นวลทองและคณาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล? (๒ กันยายน ๒๕๕๖)
การนำความรู้ที่ได้จากการส่งเสริมสุขภาพในเด็กวัยเรียนไปใช้ในการสอนนักศึกษาให้เห็นความสำคัญของสุขวิทยาส่วนบุคคล และนำแนวคิดไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยและการดูแลตนเองได้ด้วย
การนำความรู้เรื่องสุขวิทยามาประสานรวมกับการฝึกปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากทำให้นักศึกษาได้นำความรู้และได้รับประสบการณ์จริงจากการฝึก จากนั้นยังสามารถนำแนวทางปฏิบัติไปเป็นตัวอย่างในการปฏิบัตต่อไปได้ด้วย
การส่งเสริมสุขภาพเป็นสิ่ึ้งที่สามารถกระทำได้ทุกวัย ขึ้นอยู่กับรูปแบบในการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม สิ่งสำคัญหากการส่งเสริมสุขภาพได้กระทำตั้งแต่เด็กวัยเรียนซึ่งจะเติบโตเป็นอนาคตของชาติต่อไปนั้นเป็นสิ่งดี เพราะจะทำให้บุคคลเหล่านั้นมีสุขภาพที่ดีในวัยที่สูงขึ้น
การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งที่ดีเพราะเด็กวัยนี้เป็นวัยเริ่มต้นของการเรียนรู้ เมื่อเ็ด็กได้เห็นความสำคัญของสุขภาพตนเองและรับข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมจะสามารถเป็นแนวทางปฏิบัติให้เด็กต่อไปในอนาคตได้
เห็นด้วยกับอ.สุปราณีว่าควรปลูกฝังการส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ในวัยเด็กเป็นการเริ่มต้นที่ดี มุ่งหวังผลในพฤติกรรมสุขภาพที่ดีในวัยผู้ใหญ่ต่อไป รวมทั้งกิจกรรมยังสร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำงานในการให้บริการแก่ชุมชนแก่นักศึกษา และทำให้มีประสบการณ์ตรงในการร่วมงานกับเครือข่ายภายนอกได้อย่างดีอีกด้วย
การนำความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยการนำมาบูรณาการกับการบริการวิชาการสู่สังคม จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอรที่เน้น Active learning ซึ่งโดยกระบวนการให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลของเด็กวัยเรียน จะทำให้นักศึกษาได้นำความรู้ภาคทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งอาจารย์ผู้สอนควรจัดให้มีการสะท้อนคิดหลังการจัดกิจกรรม และอาจารย์ควรมช้คำถามกระตุ้นความคิดฝึกให้นักศึกษาได้เชื่อมโยงความรู้ที่มีไปสู่การสร้างความรู้ใหม่
การนำความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนมาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน ช่วยให้เนื้อหารายวิชามีชีวิต นักศึกษาได้สัมผัสกับประสบการณ์จริงด้วยตนเอง ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ การเข้าใจความเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความแตกต่างในแต่ละช่วงวัยมากยิ่งขึ้น
เห็นด้วยกับการจัดการเรียนการสอนโดยมีการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่ให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง ทำให้เข้าใจสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องสุขวิทยาเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและสามารถนำไปปฏิบัติได้ และเห็นด้วยอย่างยิ่งที่การบริการวิชานี้มีการทำต่อเนื่อง 3 ปี ซึ่งทำให้โครงการมีความต่อเนื่องและเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนมากขึ้น
การสร้างเสริมสุขภาพ(สุขวิทยาส่วนบุคคล)เด็กวัยเรียนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดีจะช่วยทำให้เด็กๆเหล่านี้ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เป็นกำลังที่ดีของประเทศชาติต่อไปในอนาคตค่ะ
เป็นวิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ดี เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ learning by doing ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์กับผู้เรียน และเป็นสิ่งที่ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่หลากหลายได้มากขึ้น
เด็กในวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่ที่สนใจ และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอย่างสนุกสนาน การบริการวิชาการในวันนี้ผู้สอนจะต้องศึกษา ธรรมชาติ และความสนใจของเด็กในวัยดังกล่าว และออกแบบการสอนให้เหมาะสม สุขวิทยาส่วนบุคคล เป็นหัวข้อที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ของเด็กในช่วงวัยดังกล่าว เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากที่สุด การนำนักศึกษาพยาบาลออกไปบริการวิชาการควรมีการออกแบบวิธีการสอน และวางแผนเวลาให้เหมาะสม จะทำให้การสอนประสบความสำเร็จ
การเตรียมความพร้อมของเด็กก่อนประถมศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านสุขภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งที่เด็กก่อนวัยเรียนต้องได้รับทั้งในโรงเรียนและที่บ้าน ซึ่งการบริการวิชาการของภาคพื้นฐานการพยาบาลร่วมกับโรงเรียนอนุบาลหัวดง เป็นบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
พยาบาล เป็นบุคลากรทางสุขภาพที่สำคัญ และมีบทบาทอย่างมากในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้รับบริการให้มีความเหมาะสม เนื่องจากโดยลักษณะงานการบริการทางสุขภาพที่ใกล้ชิดกับผู้รับบริการโดยตรง ในยุคที่เน้นการบริการ แบบส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก พยาบาลจึงต้องทำบทบาทต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้บุคคล ครอบครัว กลุ่ม หรือ ชุมชน ปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งการนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนที่ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีบทบาทในการปฏิบัติการพยาบาลในสภาพจริง จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ได้เข้าใจถึงบทบาทของพยาบาลในอีกลักษณะหนึ่งมากขึ้น และการใช้กลุ่มเป้าหมายไปยังเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นวัยที่กำลังอยากเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการปลูกฝังให้ประชาชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพและสามารถนำไปแนะนำต่อผู้อื่นได้ซึ่งเป็นบทบาในการพยาบาลเชิงรุกอย่างแท้จริง
การบูรณาการด้านการส่งเสริมสุขภาพมาใช้กับการเรียนการสอน เป็นหลักของการจัดการเรียนรู้ที่ดี อย่างมีความสุข เป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนสนใจ เกิดการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติ การทำกิจกรรม ทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น อยากที่จะเรียน และจดใจในสิ่งที่ปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังเกิดประโยชน์ต่อผู้รับบริการ คือ การรู้จักดูแลสุขภาพของผู้รับข้อมูลด้วย
การบูรณาการการส่งเสริมสุขภาพกับการจัดการเรียนการสอนนั้น เป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข สสส และสปสช ที่เน้นด้านการส่งเสริมสุขภาพ แม้ว่าจะได้งบปนระมาณค่อนข้างน้อยเมือเปรียบเทียบกับงบประมาณด้านการรักษาพยาบาล
การจัดการเรียนการสอนพยาบาลจำเป็นต้องมีการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในสิ่งเหล่านี้ เนื่องจากเมือจบการศึกษาแล้วต้องไปปฏิบัติงานในชุมชน จะได้เป็นการเตรียมความพร้อมของผู้เรียนในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพได้เป็นอย่างดี
ควรมีการขยายกลุ่มเป้าหมายของการส่งเสริมสุขภาพด้วย รายงานการประชุมจาก IUHPE เมื่อวันที่ 25 – 29 สค. 56 ที่พัทยา ผู้ทรงคุณวุฒิจาก Unicef ได้ให้ข้อเสนอว่า การลงทุนด้านการส่งเสริมสุขภาพที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์คุ้มค่านั้น ควรลงทุนในด้านที่เกี่ยวข้องกับสตรีและเด็ก เน้นตั้งแต่ก่อนสมรส ระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด รวมถึงวัยทารก และวัยเด็ก เนื่องจากบุคคล/วัยเหล่านี้มีเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาชีวิตคน…..