การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning
ประสบการณ์การจัดการเรียนการแบบ
Active
Learning ในรายวิชากายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยา
นภดล
เลือดนักรบ
การเรียนแบบ
active
learning (AL) เป็น กระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย
โดยการร่วมมือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ในการนี้ ครูต้องลดบทบาทในการสอนและการให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงลง
แต่ไปเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการ จะทำกิจกรรมต่างๆ
มากขึ้น และอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการพูด การเขียน
การอภิปรายกับเพื่อนๆ” ซึ่งโดยหลักการนี้ก็จะไปสอดคล้องกับหลักการใหญ่ที่ว่า ถ้าเราให้ผู้เรียนรู้จากการอ่านอย่างเดียวผู้เรียนก็จะเรียนรู้ได้เพียง
20% ถ้าจากการฟังก็จะเพิ่มเป็น 30% แต่ถ้าได้มีโอกาสได้พบเห็นก็จะเพิ่มเป็น
40% ถ้าจากการพูดก็จะเป็น 50% และได้ลงมือปฏิบัติเองก็จะถึง
60% และถ้าได้เรียนรู้จากกิจกรรมหลายๆ อย่างที่หลากหลายก็จะเพิ่มโอกาสที่จะเรียนรู้ถึง
90% การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์
โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ ๑
เป็นการปรับตัวของนักศึกษาต้องปรับตัวจากการเรียนในระดับมัธยมศึกษา
มาเรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเนื้อหาจะเป็นแบบเฉพาะหลักสูตร
และมีความลึกซึ้งของเนื้อหาเพิ่มขึ้น
ทั้งยังมีกิจกรรมระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องเข้ามามีส่วนในการจัดสรรเวลาในการเรียนและการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น
การจัดการเรียนที่เพิ่มกระบวนการและกิจกรรมของนักศึกษาที่นอกเหนือเวลาเรียนของนักศึกษา
จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ รอบด้าน
ไม่เป็นการผลักภาระการเรียนให้นักศึกษา ในทางกลับกันครูเองยิ่งต้องหมั่นสำรวจ
ตรวจสอบปฏิกิริยาผู้เรียน และความก้าวหน้าในการเรียน
และการทำกิจกรรมให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นด้วย
ในภาคเรียนที่
๒ ของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชากายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยา ๒
ได้มีการจัดการเรียนการสอนที่มีความพยายามให้ผู้เรียน
มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นโดยภายหลังจากการเรียนทฤษฏีเนื้อหาทั้งหมดของระบบต่อมไร้ท่อ
ได้จัดแบ่งนักศึกษาออกเป็นทั้งหมด ๑๐ กลุ่ม ๆ ละ ๙ คน
โดยมอบหัวข้อที่นักศึกษาจะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมทั้งหมด ๑๐ หัวข้อ เช่น
สมุนไพรที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน การใช้ฮอร์โมนในเวชสำอาง
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในวัยผู้สูงอายุเป็นต้น และให้นักศึกษานำเสนอ
โดยไม่จำกัดรูปแบบของการนำเสนอ และไม่จำกัดของเขตของเนื้อหาที่จะนำมาเสนอ
แต่มีการให้คะแนนโดยมีเกณฑ์การให้คะแนนคือ ความถูกต้อง และความทันสมัยของเนื้อหา
ความคิดสร้างสรรค์ และความน่าสนใจในการนำเสนอ เป็นต้น จากการนำเสนอของนักศึกษา
พบว่านักศึกษาสามารถนำเนื้อหาที่นักศึกษาเรียน มาบูรณาการกับความรู้ใหม่
และสร้างสรรค์การนำเสนออย่างน่าสนใจ และไม่ซ้ำแบบกันในการนำเสนอ
นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่ม และให้ความเห็นต่อกลุ่มอื่นๆได้อย่างน่าสนใจ
ทั้งเนื้อหาที่นักศึกษาค้นคว้ามานำเสนอนั้นเหมาะสมกับภูมิรู้เดิมของนักศึกษา
เมื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาค้นคว้าได้อย่างอิสระ และไม่จำกัดกรอบความคิด
เปิดโอกาสให้นักศึกษาสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอิสระ
ผลจากการจัดกิจกรรมรูปแบการเรียนรู้แบบ
AL
ในระดับอุดมศึกษา พบว่า AL จะกินความไปถึงความรับผิดชอบต่อการเรียนของนักศึกษาด้วย
นั่นคือการที่ต้องพัฒนาลักษณะนิสัยทั้งด้านจิตใจและร่างกายให้มีความมุ่ง มั่นไปสู่เป้าหมายทางการศึกษาของตนเองด้วย
โดยควรเริ่มปูพื้นฐานจากการสร้างนิสัยใน การไปเข้าชั้นเรียนโดยสร้างนิสัยอย่างสม่ำเสมอ
ค้นคว้าเพิ่มเติมในส่วนที่ผู้สอนมอบหมายให้อย่างดี และเมื่อทราบผลสำเร็จของ
“รายงาน” ก็พร้อมที่จะปรับปรุงและแก้ไขทำให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ แบบ AL ในนักศึกษาพยาบาล
คือ ถ้ามุ่งหวังให้ผู้เรียนมีสภาพการเรียนรู้ที่ Active สภาพการสอนของครูก็จะต้อง
Active ด้วย นั่นคือจะเกิด Active Learning ได้ก็ต้องมี Active Teaching ดังนั้น ทั้งผู้เรียนและผู้สอนก็คงต้อง
“เตรียมตัว” ทั้งสองฝ่ายจึงจะเกิดสภาพที่ Active ขึ้นมาได้
ผู้สอนควรศึกษาภูมิหลังทางการเรียน สภาวะแวดล้อมขณะเรียน อันจะส่งผลถึงการว่างแผน
และออกแบบการสอนอย่างเหมาะสมสำหรับนักศึกษา ผู้เรียน ควรมีความกระตือรือร้น
พูดคุยความก้าวหน้าในการค้นคว้ากับผู้สอน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสรรค์
และการตกผลึกความรู้ที่ Active
เห็นด้วยการการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning แต่สิ่งสำคัญในการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ ควรมีการวางเป้าหมายร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการจัดการเรียนการสอนให้มากที่สุด
active learning เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ทั้งผู้เรียนและผู้สอน ส่วนของผู้เรียนคือมีความสนใจที่จะเรียนรู้มากขึ้นสำหรับผู้สอนคือการพัฒนาและการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน (didactic learning)ให้ผู้เรียนคิดเป็นทำเป็นและเกิดความเข้าใจในการเรียนจากสิ่งยากเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นการจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่ดีมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่นักศึกษามีความสนใจเนื่องจากได้มีการโต้ตอบระหว่างอาจารย์และนักศึกษา ต้องมีการเตรียมตัวเพื่อความพร้อมของตนเอง ทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนการสอนและมีความเข้าใจในการเรียนเพิ่มขึ้น
Active learning เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ดีมาก ทำให้ผู้เรียนตื่นตัวและสนใจการเรียนมากขึ้น ทั้งนี้ผู้สอนต้องเตรียมการสอนเป็นอย่างดี ทั้งวิธีการ เอกสาร สถานที่ และสื่อต่างๆก็มีส่วนสำคัญมาก เพื่อให้การสอนเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ส่วนจะใช้วิธรการใดนั้น ขึ้นอยู่กับบริบทต่างๆ เช่น เนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรัยนได้รับ เวลาที่ใช้ เป็นต้น
การจัดการเรียนการสอนแบบActive learning เป็นวิธีการที่ดี เป็นความท้าทายของผู้สอนในการที่จะไม่เป็นผู้ป้อนความรู้ แต่จะต้องเป็นผู้ช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแต่ละรายวิชาอย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ ผู้สอนในรายวิชาเดียวกันควรต้องมีการวางแผนร่วมกันเพื่อให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมเพียงพอไม่มากหรือน้อยเกินไป
บทบาทของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางของ Active Learning ควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทาย และให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลาย มีการวางแผนเกี่ยวกับเวลาในจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของเนื้อหา และกิจกรรม และที่สำคัญผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับในความสามารถในการแสดงออก และความคิดของที่ผู้เรียน จึงจะทำให้การจัดกิจกรรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
บทบาทของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางของ Active Learning ควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทาย และให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลาย มีการวางแผนเกี่ยวกับเวลาในจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของเนื้อหา และกิจกรรม และที่สำคัญผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับในความสามารถในการแสดงออก และความคิดของที่ผู้เรียน จึงจะทำให้การจัดกิจกรรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ Active Learning :AL เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้ในระดับทักษะการคิดขั้นสูง (Higher Order Learning Level) สมรรถนะในด้านต่างๆ ที่สำคัญของครูผู้สอนที่จะช่วยให้เกิดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ AL ได้เป็นอย่างดี เช่น มีความรู้ความเข้าใจด้านเนื้อหา หรือหลักสูตร มีความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนา มีความรู้ความเข้าใจด้านความแตกต่าง ออกแบบยุทธศาสตร์การเรียนการสอนได้ สามารถจัดการและจูงใจได้ มีทักษะการติดต่อสื่อสารที่ดี มีความสามารถในการวางแผนและบูรณาการได้ และมีการประเมินผลและสะท้อนการปฏิบัติได้ของผู้เรียนได้ ซึ่งการพํฒนาผู้สอนให้มีสมรรถนะดังกล่าวจะช่วยให้จัดกากรเรียนรู้แบบ AL ได้ดี
Active learning เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ดีและควรนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากกระตุ้นให้เกิดการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าชั้นเรียนและทำให้นักศึกษาเกิดการตื่นตัวในการเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔ ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และเทคโนโลยีการสื่อสาร มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่ส่งผลต่อการพัฒนาความรู้และประสบการณ์ให้กับนักศึกษาและผู้สอน
การเรียนการสอนแบบ Active learning เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่อาจารย์ผู้สอนควรนำมาปรับใช้กับผู้เรียนเพราะถือว่าเป็นแนวทางที่จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งผู้สอนไม่จำเป็นที่จะต้องกำหนดกฎเกณฑ์ในกระบวนการเรียนการสอน อาจเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมและใช้ความคิดของตนเองซึ่งอยู่นอกกรอบ (โดยอยู่ภายใต้ข้อเสนอแนะและคำแนะนำของผู้สอน)เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ความคิด วิเคราะห์ และกล้าคิด กล้าทำ ซึ่งเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆให้กับผู้เรียนได้เรียนรู้ นอกเหนือจากการเรียนโดยนั่งฟังการบรรยายจากผู้สอนเพียงอย่างเดียว
ในการเรียนแบบ Active Learning ขั้นตอนที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่ง คือขั้นเตรียมผู้เรียน ในการศึกษาของต่างประเทศโดยเฉพาะที่ อเมริกา ได้ประยุกต์ใช้ การทำสมาธิก่อนเข้าเรียน ที่เรียกว่า Mindfulness โดยให้นักศึกษาหลับตา เรียกสติกลับมาอยู่ที่ห้องเรียน เพราะตอนนี้นักศึกษา เริ่มมีการติด Smartphone จิตของนักศึกษาเหล่านี้ จะคอยกังวลกับเสียงที่ดัง หรือคนรอบข้างที่ติดต่อกับตนเองตลอดเวลา
Active learning teaching เป็น การจัดการเรียนรู้ที่กล่าวได้ว่า student center แต่หลายคนอาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าเป็นteacher center ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการแปลความค่ะ เป็นได้แน่นอนหากมองว่าครูเป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียน ครูต้องทำงานหนักพอสมควรในการคิดวิเคราะห์กลุ่มผู้เรียนอย่างรอบด้านแล้วก็ศึกษาค้นคว้ากระวนยุทธในการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกลุ่มผู้เรียนนั้นอย่างเหมาะเจาะ ซึ่งจะส่งให้ผู้เรียนมีช่วงเวลาของการเรียนรู้ที่มีความสุขและสนุกกับการเรียนและจำได้นาน อุปมาว่า สิ่งใดก็ตามหากเราชอบและประทับใจ ก็จะตราตรึงอยู่ในความทรงจำนานแสนนานฉันนั้น