• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

สรุปการจัดการความรู้ ประเด็น “การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ” กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันอาทิตย์ 5 มีนาคม 2017 at 9:12 pm

สรุปการจัดการความรู้

ประเด็น “การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ”

กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์  ๒๕๖๐ เวลา  ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น

………………………………………………………………………………………………………………..

๑. รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม

๑. ดร.ศศิธร ชิดนายี                   รองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิจัยฯ ประธาน

๒. ดร.ประภาพร มโนรัตน์            ผู้รับผิดชอบการจัดการความรู้ของกลุ่มงานวิจัยฯ และเลขานุการ

๓. ดร.ปฐพร  แสงเขียว

๔. นายนภดล  เลือดนักรบ

๕. นางภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย

๖. นางสายฝน วรรณขาว

๗. นางสาวอัญชรี เข็มเพชร

๘. นางวิมล  อ่อนเส็ง

๙.นางวาสนา ครุฑเมือง

๒. วาระเรื่องแจ้ง

ประธานแจ้งว่า จากการได้แนวปฏิบัติในการดำเนินงานการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติในการประชุมจัดการความรู้ที่ผ่านมาในวันที่27 ธันวาคมนั้นรวม ๙ แนวปฏิบัติเป็นบันไดสู่ความสำเร็จ ได้นำขึ้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายผลในWeb Blog ของKM สู่ทั้งองค์กร แล้ว เกิดการนำไปประยุกต์ใช้มนวงกว้าง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนการการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้คณาจารย์เกิดการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติจากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติ9ประการ

๒.เพื่อให้คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติจากการประยุกต์ใช้ตามแนวปฏิบัติ9ประการ

๓. เพื่อสร้างข้อสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีจากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติ9ประการ สู่การนำไปประยุกต์ใช้ในไตรมาสที่3-4ปีงบประมาณ๒๕๖๐

๔.สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้มีดังนี้

๑. ดร.ศศิธร ชิดนายี ได้ให้ความเห็นว่า ได้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติแล้วได้ผล ทำให้เกิดการดำเนินงานที่ชัดเจนและมีทิศทาง สามารถได้รับการตอบรับการตีพิมพ์ผลงานได้เร็วขึ้น

๒. ดร.ปฐพร แสงเขียว ได้ให้ความเห็นว่าทำให้เกิดการเริ่มต้นงานตีพิมพ์เผยแพร่ได้ง่ายขึ้นและกำลังดำเนินการระหว่างกระบวนการเขียนเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่

๓. ดร.ประภาพร เห็นด้วยและสามารถใช้แนวปฏิบัติดังกล่าวจนได้รับตอบรับไปนำเสนอผลงานที่ประเทศญี่ปุ่นในวันที่21-26 มีนาคม 2560นี้

๔ .อาจารย์นภดล เลือดนักรบ ได้ให้ความเห็นว่า ได้ใช้แนวปฏิบัติดังกล่าวเป็นแนวทางในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและขยายผลสู่เพื่อนๆ แล้วสามารถขับเคลื่อนงานได้ดี มั่นใจ

ทุกคนเห็นด้วยกับการใช้แนวปฏิบัติที่สรุปไว้ในการKM ครั้งที่1 ดังนั้นจึงเสนอแนวปฏิบัตินี้เผยแพร่ต่อไป

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับและนำมาสรุปเป็นแนวปฏิบัติในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ ได้ดังนี้

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติและนานาชาติ

๑.วางแผนการตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ได้รับทุนวิจัย โดยคาดการณ์ว่าจะตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติหรือนานาชาติในวารสารใด หรือเมื่อต้องการตีพิมพ์ผลงานวิจัยให้เลือกลงวาสารที่ต้องการงานวิจัยประเภทเดียวกับของเรา

๒. ศึกษารูปแบบการเขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการตามที่วารสารนั้นๆกำหนด (บทนิพนธ์ต้นฉบับ)

๓. ให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆอ่าน วิพากษ์ให้ก่อนเป็นการส่วนตัว (หากมีผู้ยินดีอ่านให้ฟรีและเป็นผู้ใกล้ชิดหรือเครือข่ายงาน) จะได้มุมมองในการปรับเขียนงานให้ดียิ่งขึ้นก่อนส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับไปให้บรรณาธิการของวารสารที่ต้องการตีพิมพ์

๔. ให้มีการตรวจสอบหรือปรับการเขียนบทคัดย่อและบทความวิจัยที่เป็นภาษาอังกฤษโดยผู้เชียวชาญก่อน เพื่อให้มีความชัดเจนด้านภาษาอังกฤษถูกต้อง

๕. ทำการส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับตามหลักเกณฑ์ ระเบียบของวารสารนั้นๆอย่างเคร่งครัด เช่น ต้องเป็นสมาชิกวารสารก่อน หรือ ส่งต้นฉบับให้ครบทุกชุดและตามเงื่อนไขที่ระบุ

๖. กรณีส่งแล้วและให้ปรับปรุงแก้ไขนั้น ให้รีบดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามที่เสนอแนะ และส่งกลับคืนภายในเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด  และแสดงให้เห็นว่ามีการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะโดยการขีดเส้นใต้หรือใส่แถบสี  ให้ทางวารสารเห็นได้ชัดว่าได้ดำเนินการแล้ว   สำหรับในประเด็นที่ไม่สามารถแก้ได้ให้เขียนชี้แจงไปว่าทำไม่ไม่แก้ไข ติดขัดในประเด็นใด นักวิจัยสามารถอธิบายแนวคิดของตนเองได้

๗. ส่งผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ครั้งละ1วารสารเท่านั้น หากไม่ได้รับการตอบรับในวารสารฉบับนั้นแล้ว จึงจะสามารถส่งวารสารไปลงยังวารสารอื่นต่อไปได้

๘. นักวิจัยต้องถือปฏิบัติในจริยธรรมของนักวิจัยอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และไม่ไม่ส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับไปหลายๆวารสารในเวลาเดียวกัน

๙. หาแหล่งตีพิมพ์ผลงานในวารสารได้โดยเข้าร่วมประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติที่มีการคัดเลือกผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารด้วย

คณาจารย์กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์

ดร.ประภาพร มโนรัตน์  ผู้รับผิดชอบการจัดการความรู้กลุ่มงานวิจัยฯ

๑๗ กุมภาพันธ์  ๒๕๖๐

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๔ / ๒๕๕๙ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันพุธ 1 มีนาคม 2017 at 1:31 pm

รายงานการประชุมการจัดการความรู้  ครั้งที่ ๔ / ๒๕๕๙

กลุ่มงานกิจการนักศึกษา  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.

ณ ห้องรองผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจการนักศึกษา

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาวนัยนา        อินธิโชติ            รองฯ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา    (ประธาน)

๒.นางสาววราภรณ์     ยศทวี                หัวหน้าฝ่ายพัฒนานักศึกษา        (เลขานุการ)

๓.นางนิศารัตน์           นาคทั่ง              งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

๔.นางผ่องศรี             พุทธรักษ์            งานพัฒนานักศึกษา

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม ไม่มี

เริ่มประชุม ๑๕. ๐๐ น.

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

ประธานแจ้งเรื่อง ทบทวนแนวทางการจัดการความรู้เรื่อง  “การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา”    จากการประชุมที่ผ่านมา  ขั้นตอนที่ ๑. ได้ดำเนินการการบ่งชี้ความรู้ และขั้นตอนที่ ๒.การสร้างและแสวงหาความรู้  เกี่ยวกับ “จิตอาสา”   และได้แนวทางในการพัฒนาเกี่ยวกับพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเอง  และพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม โดยพัฒนานักศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารที่ดี   คิดดี   คิดทางบวก : (Positive thinking)  มีการพูดที่ดี  ฝึกขอบคุณ  ฝึกแสดงความยินดี   ฝึกให้กําลังใจ   ฝึกชื่นชมผู้ที่มีจิตอาสาหรือจิตสาธารณะ

มติที่ประชุม รับทราบ

วาระที่ ๒. เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา

มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๙ ลงวันที่  ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๙

วาระที่ ๓. เรื่องสืบเนื่อง

ไม่มี

วาระที่ ๔. เรื่องเพื่อพิจารณา

๑. ประธานเสนอ ให้ดำเนินการการจัดการความรู้เรื่อง  “การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา”  ตามขั้นตอนที่ ๓. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ ในฐานะที่เป็นอาจารย์ สามารถจัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีจิตอาสาได้อย่างไร

อ. วราภรณ์ เสนอว่า การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตอาสาสามารถทําได้ทุกช่วงวัย  ผู้สอน เป็นหัวใจสําคัญในการปลูกฝังคุณลักษณะจิตอาสาที่สามารถพัฒนาพร้อมกัน สําหรับแนวทางการเรียนรู้จําเป็นนําองค์ความรู้เชิงทฤษฎีมาปรับประยุกต์ให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียนในปัจจุบัน  เริ่มจากตัวผู้สอนเองที่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและค่อยๆ ขยายไปสู่การพัฒนาผู้เรียน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องพัฒนาไปให้ถึงระบบคิดของผู้เรียนมากกว่าการให้ทํากิจกรรมโดยปราศจาก

ความคิด  ควรมุ่งเน้นการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมอง  (Transformation of learning) ของผู้เรียน ทําให้เห็นว่าผู้เรียนแต่ละคนมีศักยภาพที่จะช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมส่วนรวมได้ ไม่สําคัญว่าจะเรียนเก่งสอบได้คะแนนดีหรือไม่ การปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมอง  จะทําให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาจิตอาสาอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง

อ. นัยนา เสนอว่า การพัฒนาจิตอาสาสามารถสอดแทรกได้ในทุกกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น การช่วยเหลือเพื่อนที่เรียนไม่เข้าใจ ก็เป็ นจิตอาสาชนิดหนึ่ง   หรือการประหยัดน้ำ ไฟฟ้ า  การจัดทําโครงการจิตอาสาที่ออกไปนอกวิทยาลัย เป็นรูปแบบหนึ่งของการพัฒนาและการพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องเชื่อมโยงเข้าวิถีชีวิตของผู้เรียนในแต่ละชุมชนท้องถิ่น  รวมทั้ง ผู้สอนต้องสร้างความเข้าใจให้ชัดเจนว่าการมีจิตอาสานั้นจะต้องไม่เป็นการเบียดเบียนตนเองหรือบุคคลรอบข้างด้วย มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา สิ่งใดที่เกินกําลังที่เราจะทําได้เพียงคนเดียวต้องรู้จักสร้างแนวร่วมหรือเครือข่ายมาช่วยให้สําเร็จ

อ. นิศารัตน์ เสนอว่า  การเป็ นตัวแบบที่ดีทางด้านจิตอาสาอย่างสม่ำเสมอ  เมื่อผู้สอนแสดงพฤติกรรมใดๆ ออกมาอย่างสม่าเสมอ แม้ไม่ต้องสอนโดยวาจา แต่เป็นการสอนโดยการกระทํา ผู้เรียนจะมีแนวโน้มแสดงพฤติกรรมนั้นด้วย การพัฒนาลักษณะนี้เป็นการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยกระบวนการซึมซับ การสังเกต การเลียนแบบพฤติกรรม และควรใช้ควบคู่กับการสะท้อนคิด(reflection)ของผู้เรียน  นอกจากนี้ การสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นการเรียนรู้จิตอาสา โดยทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกร่วม(Empathy) ความเห็นอกเห็นใจ  เอาใจผู้อื่นมาใส่ใจตนเอง  เพื่อรับรู้ความรู้สึก และตอบสนองโดยการแสดงพฤติกรรมจิตอาสาอย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งภาษาพูดและภาษากาย

อ. ผ่องศรี เสนอว่า การจัดการเรียนรู้ต้องผ่านกระบวนการการปฏิบัติ (action learning) โดยการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมจิตอาสาตามความเหมาะสมด้วยตนเอง โดยไม่จําเป็นต้องจัดทําเป็นโครงการเฉพาะกิจขึ้น แต่ควรบูรณาการไปในทุกกิจกรรมการเรียนรู้และที่สําคัญจะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการปฏิบัติต่อเพื่อนและผู้สอน   การจัดการเรียนรู้ต้องเปิ ดโอกาสให้ผู้เรียนสะท้อนตนเอง (self – reflection) มุ่งให้เห็นความคิดและความรู้สึกของตนเอง เมื่อได้ช่วยเหลือผู้อื่นหรือทําประโยชน์ต่อส่วนรวม รวมทั้งการกําหนดแนวทางสําหรับพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่มีจิตอาสาต่อไป

สรุปแนวปฎิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา  มีดังนี้

๑. การเป็นตัวแบบที่ทางด้านจิตอาสา

๒. การจัดการเรียนรู้ต้องผ่านกระบวนการการปฏิบัติ (action  learning)

๓. การสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นการเรียนรู้จิตอาสา โดยทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกร่วม(Empathy)

๔. มุ่งเน้นการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมอง(Transformation of learning) ของผู้เรียน

๕.การจัดการเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสะท้อนตนเอง (self – reflection) มุ่งให้เห็นความคิดและความรู้สึกของตนเอง

๖.ผู้สอนต้องสร้างความเข้าใจให้ชัดเจนว่าการมีจิตอาสานั้นจะต้องไม่เป็นการเบียดเบียนตนเองหรือบุคคลรอบข้าง

ประธานขอให้เสนอแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสา ควรทำอย่างไร

อ. นิศารัตน์ เสนอว่า  กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์เป็นกิจกรรมที่ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เน้นให้ความสําคัญทั้งความรู้ และคุณธรรมจริยธรรม จัดกิจกรรมโดยให้นักศึกษาได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ออกแบบกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างหลากหลายรูปแบบ

อ. นัยนา เสนอว่า ต้องจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสํานึกให้แก่นักศึกษาในการบําเพ็ญตนให้เป็ นประโยชน์ต่อครอบครัว   สถาบันการศึกษา ชุมชน สังคมและประเทศชาติ  รวมทั้งจัดกิจกรรมให้นักศึกษามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ตามความถนัดและความสนใจ

อ. วราภรณ์ ให้ความเห็นว่า กิจกรรมในลักษณะกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมอาสาพัฒนาหรือกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม โดยนักศึกษาดําเนินการด้วยตนเองในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม ความเสียสละต่อสังคม และมีจิตสาธารณะ   เป็นกิจกรรมที่ผู้ปฏิบัติกิจกรรม ปฏิบัติด้วยความสมัครใจทำเพื่อผู้อื่นและสังคม  โดยการจัดกิจกรรมต้องเน้นให้นักสศึกษาร่วมกันวิเคราะห์กิจกรรม ร่วมกันสํารวจสภาพและปัญหา ร่วมวางแผนการจัดกิจกรรม ร่วมปฏิบัติกิจกรรม ร่วมสรุปและประเมินผลการจัดกิจกรรม และร่วมรายงานผล พร้อมทั้งเผยแพร่ผลการจัดกิจกรรม

สรุปแนวปฎิบัติการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา  มีดังนี้

๑. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองตามความถนัดและความสนใจเ ต็มตามศักยภาพ

๒. จัดกิจกรรมโดยให้นักศึกษาได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ออกแบบกิจกรรมอย่างหลากหลายรูปแบบ

๓. จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสํานึกให้แก่นักศึกษาในการบําเพ็ญตนให้เป็ นประโยชน์ต่อครอบครัว   สถาบันการศึกษา ชุมชน สังคม

๔. จัดกิจกรรมในลักษณะกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมอาสาพัฒนาหรือกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม

๕. รูปแบบกิจกรรมต้องเน้นให้นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์  สํารวจสภาพและปัญหา  วางแผนการจัดกิจกรรม ร่วมปฏิบัติกิจกรรม ร่วมสรุปและประเมินผลการจัดกิจกรรม

ประธานสรุปว่า การดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับ “การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา”  ในขั้นตอนที่๓ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ และขั้นตอนที่ ๔ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ทำให้ได้แนวปฏิบัติ 2 เรื่อง  คือ ๑) แนวปฎิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา  และ ๒)  แนวปฎิบัติการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา   ซึ่งจะได้ดำเนินการขั้นตอนที่ ๕.การเข้าถึงความรู้ และขั้นตอนที่ ๖ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้   โดยจะนำไปประชาสัมพันธ์เผยแพร่ไว้ใน Web board KM ของวิทยาลัย เพื่อให้อาจารย์จากกลุ่มงานอื่นและผู้สนใจได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ต่อไป

มติที่ประชุม รับทราบ

วาระที่ ๕. เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา

ไม่มี

วาระที่ ๖. เรื่องอื่น ๆ

ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.

ลงชื่อ …………………………………………….ผู้บันทึกการประชุม

(นางสาววราภรณ์   ยศทวี)

ลงชื่อ ……………………………………………….ประธานการประชุม

(นางสาวนัยนา  อินธิโชติ)

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๓ / ๒๕๕๙ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันพุธ 1 มีนาคม 2017 at 1:30 pm

รายงานการประชุมการจัดการความรู้  ครั้งที่ ๓ / ๒๕๕๙

กลุ่มงานกิจการนักศึกษา  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

ณ ห้องรองผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจการนักศึกษา

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาวนัยนา        อินธิโชติ            รองฯ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา    (ประธาน)

๒.นางสาววราภรณ์     ยศทวี                หัวหน้าฝ่ายพัฒนานักศึกษา        (เลขานุการ)

๓.นางนิศารัตน์           นาคทั่ง              งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

๔.นางผ่องศรี             พุทธรักษ์            งานพัฒนานักศึกษา

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม ไม่มี

เริ่มประชุม ๑๕. ๓๐ น.

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

ประธานแจ้งเรื่อง   สืบเนื่องจากงานการประกันคุณภาพการศึกษา ในการดำเนินงานปีการศึกษา ๒๕๕๙ นั้น  แต่ละกลุ่มงานต้องมีการการจัดการความรู้เกี่ยวกับงานของแต่ละกลุ่มงาน  ซึ่งในปีการศึกษาที่ผ่านมา กลุ่มงานกิจการนักศึกษาได้ดำเนินการจัดการความรู้เรื่อง ”การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาอย่างเป็นระบบ”   ซึ่งได้จัดทำเป็นแนวปฏิบัติและนำมาใช้ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ ต่อไป และจากการดำเนินงานของการพัฒนานักศึกษา ทางกลุ่มงานพบว่า ได้พัฒนานักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา โดยการส่งเสริมให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี นำความรู้ด้านการประกันคุณภาพไปใช้ในการจัดกิจกรรมที่ดำเนินการโดยนักศึกษา จากกิจกรรมต่อไปนี้  1) กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์  2) กิจกรรมกีฬาหรือการส่งเสริมสุขภาพ  3 ) กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม  4)กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม  5 ) กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งการพัฒนานักศึกษาในแต่ละปีที่ผ่านมาได้พัฒนาครบทุกด้านทั้ง ๕ กิจกรรมโดยส่วนใหญ่มุ่งเน้น)กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมและกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม   ซึ่งจะส่งผลให้บัณฑิตเป็นคนดี มีคามสุข  ดังนั้น ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ กลุ่มงานกิจการนักศึกษาจึงวางแผนดำเนินการการจัดการความรู้ เรื่อง “การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา”

ดังนั้นจึงขอให้ทุกคนช่วยกันกำหนดประเด็นที่กลุ่มงานน่าจะนำมาสู่การจัดการความรู้ของกลุ่มงานเพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนานักศึกษา

ประธานทบทวนความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ เพื่อใช้ในการดำเนินงานพัฒนานักศึกษา กลุ่มงานกิจการนักศึกษา ใช้กระบวนการจัดการความรู้ ๗ ขั้นตอน มาประกอบใช้การจัดทำ KM ดังนี้

๑.การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่ากลุ่มงาน มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้ความรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้างอยู่ในรูปแบบใดและอยู่ที่ใคร

๒.การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นการรวบรวม/สกัดความรู้ ทั้งความรู้ชัดแจ้ง (Explicit  Knowledge) จากเอกสาร หรือความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในตัวบุคคลจากภายในและ/หรือภายนอก โดยอาศัยเครื่องมือ/วิธีการต่างๆ ในการสร้างและแสวงหาความรู้ที่เหมาะสม เช่น การรวบรวมกฎระเบียบ คู่มือ มาตรฐานการปฏิบัติงาน การถอดความรู้จากตัวบุคคล เช่น การประชุมระดมสมอง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน เป็นต้น

๓.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต

๔.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ปรับปรุง เนื้อหาให้สมบูรณ์ จากการประชุมพิจารณาร่วมกัน หรือตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญในองค์ความรู้นั้น

๕.การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

๖.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ มีเครื่องมือหลากหลาย ประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้

๗.การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อแก้ปัญหา ปรับปรุง หรือพัฒนางาน เพื่อให้ดีขึ้นกว่าเดิม เมื่อปฏิบัติตามแล้วมีปัญหาตรงไหน มีจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ผู้ปฏิบัติก็แจ้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อให้กลุ่มงานนำไปพิจารณา ปรับปรุงงาน เกิดระบบการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ นำความรู้ไปใช้ เกิดการเรียนรู้มีประสบการณ์ใหม่ๆ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

มติที่ประชุม รับทราบ

ประธานให้ที่ประชุมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับ “การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา”    ระบบการ

วาระที่ ๒. เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา

มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ ลงวันที่  ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙

วาระที่ ๓. เรื่องสืบเนื่อง

ไม่มี

วาระที่ ๔. เรื่องเพื่อพิจารณา

๑. ประธานเสนอ ให้ดำเนินการตาม ขั้นตอนที่ ๑. การบ่งชี้ความรู้  และ ขั้นตอนที่ ๒.การสร้างและแสวงหาความรู้  ขอให้ช่วยกันกำหนดว่า เราจำเป็นต้องใช้ความรู้ เกี่ยวกับเรื่ง ความหมายของจิตอาสา / จิตสาธารณะ และแนวทางการพัฒนานักศึกษาให้มรจิตอาสา/จิตสาธารณะ  ขอให้อาจารย์เสนอ ความหมายของจิตอาสา / จิตสาธารณะ

อ. วราภรณ์ เสนอว่า เราต้องทบทวนความรู้เกี่ยวกับ “จิตอาสา”   ” เป็นงานที่เกิดจากผู้ที่มีความเอื้อเฟื้อ เสียสละเวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น หรือสังคมให้เกิดประโยชน์และความสุขมากขึ้น

อ. นิศารัตน์ เสนอว่า เป็นงานใดๆ ก็แล้วแต่ที่ทําให้เกิดประโยชน์ในทางบวก ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เราควรทําทังสิ้น

คนที่จะเป็ นอาสาสมัครหรือเป็นคนมีจิตอาสาได้นั้น ไม่ได้จํากัดวัย  การศึกษา  เพศ อาชีพ ฐานะ หรือ ข้อจํากัด ใดๆ หากแต่ต้องมีจิตใจ เป็ น “จิตอาสา” ที่อยากจะช่วยเหลือผู้อี่น หรือสังคมเท่านั้น

อ. นัยนา เสนอว่า เป็นจิตสํานึกเพื่อส่วนรวม ความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของในสิ่งทีเป็นสาธารณะ ในสิทธิและหน้าที่ทีจะดูแลและบํารุงรักษาร่วมกัน เช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำการดูแลรักษา สาธารณะสมบัติ ที่เป็นของส่วนรวม โดยให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าตลอดจนช่วยดูแลรักษาให้ความช่วยเหลือผู้ทุกข์ได้ยาก หรือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือเท่าที่จะทําได้  ตลอดจนร่วมมือกระทําเพื่อช่วยกันแก้ปัญหา

แนวทางการสร้างจิตอาสา/จิตสาธารณะ

อ. นิศารัตน์ เสนอว่า  ต้องสร้างวินัยในตนเองของนักศึกษา และสร้างสำนึกในการให้ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม

อ. นัยนา เสนอว่า ต้องสร้างให้นักศึกษาตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม และต้องยึดหลักธรรมในการดําเนินชีวิต

อ. วราภรณ์ เสนอว่า   ต้องมีความรับผิดชอบการกระทําของตนเอง   ไม่ให้เกิดผลกระทบและเกิดความเสียหายต่อส่วนรวม  รวมทั้งต้อง มีบทบาทช่วยสังคมในการรักษาประโยชน์ของส่วนรวม เพื่อแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สังคม ซึ่งถือว่า     เป็นความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

แนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเอง

๑. ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนหาความรู้

๒. รู้จักการออกกําลังกายเพือสุขภาพให้แข็งแรงสมบรูณ์

๓. มีความประหยัดรู้จักความพอดี

๔. ประพฤติตัวให้เหมาะสม ละเว้นการกระทําที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย

๕. ทํางานที่ได้รับมอบหมายให้สําเร็จ

๖. มีความรับผิดชอบ ตรงเวลา สามารถพึ่งพาตนเองได้

แนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม

๑. มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว เช่น เชื่อฟังพ่อแม่ ช่วยเหลืองานบ้าน   ไม่ทําให้พ่อแม่เสียใจ

๒. มีความรับผิดชอบต่อสถาบันการศึกษา  ครูอาจารย์ เช่น ตั้งใจเล่าเรียน เชื่อฟังคําสั่งสอนของครูอาจารย์  ปฏิบัติตามกฎระเบียบวินัยของสถาบัน  ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของสถาบัน

๓. มีความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่น  เช่น  ให้ความช่วยเหลือ   ให้คําแนะนํา   ไม่เอาเปรียบ  เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

๔. มีความรับผิดชอบในฐานะพลเมือง เช่น ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม ปฏิบัติตามกฎหมาย รักษาสมบัติของส่วนรวม ให้ความร่วมมือต่อสังคมในฐานะพลเมืองดี

สิ่งสำตัญ . ผู้มีจิตอาสา ควรจะต้องมีการสื่อสารที่ดี   คิดดี   คิดทางบวก : (Positive thinking)  มีวจีกรรมที่ดี ฝึกขอบคุณ  ฝ กแสดงความยินดี   ฝึกให้กําลังใจ   ฝึกชื่นชมผู้ที่มีจิตอาสาหรือจิตสาธารณะ

ประธานสรุป ในวันนี้ขั้นตอนที่ ๑. ได้ดำเนินการการบ่งชี้ความรู้ และขั้นตอนที่ ๒.การสร้างและแสวงหาความรู้  เกี่ยวกับ “จิตอาสา”   ซี่งในการประชุมครั้งต่อไปจะดำเนินการจัดการความรู้ในขั้นตอนต่อไป

วาระที่ ๕. เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา

ไม่มี

วาระที่ ๖. เรื่องอื่น ๆ

ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.

ลงชื่อ …………………………………………….ผู้บันทึกการประชุม

(นางสาววราภรณ์   ยศทวี)

ลงชื่อ ……………………………………………….ประธานการประชุม

(นางสาวนัยนา  อินธิโชติ)

รายงานการประชุมกลุ่มงานบริหาร ครั้งที่ 2 / 2559

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันอังคาร 28 กุมภาพันธ์ 2017 at 9:40 am

รายงานการประชุมกลุ่มงานบริหาร

ครั้งที่ 2 / 2559

เมื่อวันที่    9   พฤศจิกายน  59

ณ ห้องประชุมกาสะลอง  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

——————————

ผู้เข้าร่วมประชุม

1. นางสาวดุจเดือน  เขียวเหลือง    ตำแหน่ง รองผู้อำนายการกลุ่มงานบริหาร          ประธาน

2. นายไพทูรย์  มาผิว                ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ

3. นางสาววิไลวรรณ  บุญเรือง      ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาบุคลากรและความเสี่ยง

4. นางสาวนัยนา  แก้วคง           ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยบริการ

5. นางสาวนัดดา  กอบแก้ว         ตำแหน่ง  หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป

6. นางสาวสุดารัตน์  ไชยประสิทธิ์   ตำแหน่ง  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

7. นายนพณัฐ    รุจิเรืองอนันต์       ตำแหน่ง  เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

8. นางอรุณรัตน์  พรมมา             ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

9. นายสืบตระกูล  ตันตลานุกูล      ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

10. นายภราดร  ล้อธรรมมา          ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

11. นางสาวจิราพร  วิศิษฎ์โกศล     ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

12. นางนงคราญ  เยาวรัตน์         ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน

13. นางสุกัญญา  อุมรินทร์           ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่การเงิน

14. นางสุพัตรา  มากำเหนิด        ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บัญชี

15. นางพิชญ์ชาภรณ์  มูลประโคนชัย ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัสดุ

16. นางสาวจุฑามาศ  ประเสริฐ    ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชี                   เลขานุการ

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม

อาจารย์                    จำนวน    9  คน   คิดเป็นร้อยละ  100

เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง       จำนวน   7  คน   คิดเป็นร้อยละ  100

ผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

ไม่มี

เริ่มประชุมเวลา 15.00 น.

วาระที่ 1. เรื่องที่ประธานแจ้งเพื่อทราบ

-                    ประธานแจ้งในที่ประชุมให้ทราบในเรื่องของการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณในไตรมาสที่ 1

-                    ความก้าวหน้าในการจัดทำการจัดการความรู้ของกลุ่มงานบริหาร  โดยดำเนินการถึงขั้นตอนการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับระเบียบ,  แนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด

มติที่ประชุม รับทราบ

วาระที่ 2. เรื่องรับรองรายงานการประชุม

รับรองรายงานการประชุมครั้งที่  1/ 2559  เมื่อวันที่   5  ตุลาคม  2559

มติที่ประชุม รับทราบ

วาระที่ 3. เรื่องสืบเนื่อง

งานการเงินได้นำประเด็นปัญหาที่ทำให้การเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามกำหนดไปหารือเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหากันภายในกลุ่มงานนั้นเรียบร้อยแล้ว

มติของกลุ่มงาน รับทราบตามที่งานการเงินเสนอ

วาระที่ 4. เรื่องเพื่อพิจารณา

การสร้างและแสวงหาความรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มงานบริหาร

  1. ประธานทบทวนประเด็นปัญหาและขอให้แสดงความคิดเห็น  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องการเร่งรัดการเบิกจ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบ

มติที่ประชุม จากการทบทวนประเด็นปัญหาในการแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกันในการประชุมครั้งที่ผ่านมา พบว่า  ประเด็นปัญหาที่ทำให้การเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามกำหนด มีดังนี้

  1. การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
  2. เอกสารหลักฐานในการเบิกจ่ายไม่ครบถ้วน   ทำให้การเบิกจ่ายล่าช้า
  3. ส่งหลักฐานยืมเงินราชการไม่เป็นไปตามกำหนด
  4. เอกสารประกอบการยืมเงินไม่ครบถ้วน
  5. ส่งใช้เงินยืมไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลา และหลักฐานการส่งใช้ไม่ครบตามจำนวนเงินที่ยืม
  6. ผู้ยืมเงินไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ คำสั่ง และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทำให้ปฏิบัติไม่ถูกต้อง
  7. ผู้ยืมเงินไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ/งานที่ขออนุมัติดำเนินการ
  8. ผู้ยืมเงินขออนุมัติยืมเงิน เมื่อใกล้ระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ ทำให้ได้รับเงินยืมไม่ทันวันที่ต้องดำเนินการตามแผน/โครงการ
  9. ผู้ยืมเงินประมาณการค่าใช้จ่ายและยืมเงินเกินความจำเป็น โดยนำเงินสดมาส่งคืนภายหลังเป็นจำนวนมาก หากปฏิบัติบ่อยครั้งแสดงถึงเจตนาจงใจนำเงินราชการไปใช้ก่อน
  10. การขออนุมัติเดินทางอย่างกระชั้นชิดผู้มีอำนาจอนุมัติไม่สามารถอนุมัติก่อนการเดินทางได้
  11. การเบิกค่าเช่าที่พักเกินสิทธิของตนเอง
  12. ใบเสร็จรับเงิน กากบัตรโดยสารเครื่องบิน หรือใบรับเงิน (Itinerary Receipt) สูญหายระหว่างการเดินทางไปราชการ
  13. บุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจ/ความชำนาญ/ความเชี่ยวชาญ ในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ

และมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาตามระเบียบต่างๆที่ค้นคว้ามาประกอบ ซี่งในแต่ท่านต่างมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกับการศึกษาค้นคว้าตามระเบียบต่างๆ

-          นางนงคราญ  เยาวรัตน์  เจ้าพนังานการเงินและบัญชีชำนาญงาน  ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานที่พบเห็นเป็นประจำเกี่ยวกับการแนวทางในการแก้ไขปัญหาการเบิกจ่ายเงินไม่เป็นไปตามกำหนด  เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  ถูกต้อง  และมีประสิทธิภาพตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินนั้น  ควรปฏิบัติตามรายละเอียดที่กำหนดในระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม  การจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555,  พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเรื่องค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526, ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 ส่วนที 4 เรื่องการจ่ายเงินยืม  ดังนี้

ลำดับ ประเด็นปัญหา แนวทางการแก้ไข
1 การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด มีการติดตามเร่งรัดกเบิกจ่ายให้เป็นไปตามไตรมาสที่กำหนดและแผนการใช้จ่ายงบประมาณดังนี้

ไตรมาสที่ 1  ร้อยละ  30

ไตรมาสที่ 2  ร้อยละ 22

ไตรมาสที่ 3  ร้อยละ 21

ไตรมาสที่ 4  ร้อยละ 23

2 เอกสารหลักฐานในการเบิกจ่ายไม่ครบถ้วน      ทำให้การเบิกจ่ายล่าช้า การจัดเตรียมเอกสารหลักฐานในการจัดซื้อ/จัดจ้าง  ดังนี้

1. เอกสารในการสร้างหลักผู้ขาย (กรณีรายใหม่) จัดส่งอย่างละ 2 ชุด

1.1  บุคคลธรรมดา

- สำเนาบัตรประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน,

สำเนาสมุดหน้าบัญชีธนาคาร

1.2 ร้านค้า

- สำเนาบัตรประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน,

สำเนาหน้าบัญชีธนาคาร,สำเนาทะเบียนการค้า/พาณิชย์

1.3 นิติบุคคล

- หลักฐานผู้มีอำนาจ,ผู้รับมอบอำนาจ(สำเนาบัตรประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน) สำเนาหนังสือรับรองจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล, สำเนาภาษีมูลค่าเพิ่ม,สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร

**ควรส่งก่อนจัดซื้อ/จัดจ้างอย่างน้อย 7 วันทำการ

2.เอกสารที่จัดส่งในการจัดซื้อ/จัดจ้าง

1) บันทึกขออนุมัติดำเนินการตามโครงการ

2) บันทึกรายงานขอความเห็นชอบจัดซื้อ/จัดจ้าง

3) สำเนาโครงการ

4) สำเนาหนังสือการโอนจัดสรรเงินประจำงวด              5) ใบเสนอราคา

ลำดับ ประเด็นปัญหา แนวทางการแก้ไข
6) ใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง

7) ใบส่งมอบงาน/ใบส่งของ

8) ใบตรวจรับ

9) หนังสือขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน

10) กรณีวงเงินเกิน 5,000 บาท สำเนา

หลักฐานจากระบบ e-GP

11) รูปภาพผลผลิตการจัดจ้าง/จัดซื้อ

การดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้าง

- ในแต่ละครั้งหากมีวงเงินตั้งแต่  5,000  บาทขึ้นไป ขอให้ดำเนินการจัดซื้อ/ จัดจ้างในระบบอิเล็กทรอนิกส์(ระบบe-GP)

- การจัดจ้าง จะต้องติดอากรแสตมป์ (1,000 บาท ต่ออากรแสตมป์  1 บาท)

- การจัดจ้าง ขอให้แจงรายละเอียดให้ครบถ้วนด้วย  โดยกำหนดขอบเขตงานจ้างและปริมาณงานประกอบ

- การจัดซื้อ ควรดำเนินการจัดซื้อก่อนดำเนินการ อย่างน้อย 3 วันทำการ

3. เอกสารที่ต้องส่งเบิกจ่ายในโครงการฝึกอบรม/สัมมนา

1. บันทึกขออนุมัติดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรมฉบับจริง

2. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้และการตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม,ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิด-ปิด การฝึกอบรม, ค่าวัสดุ เครื่องเขียนและอุปกรณ์, ค่าประกาศนียบัตร, ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์, ค่าหนังสือสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม, ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร เช่น อินเตอร์โรงแรม, ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆในการฝึกอบรม     เอกสารฉบับจริงดำเนินการตามระเบียบพัสดุ

3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม     ใบสำคัญรับเงินพร้อมสำเนาบัตรประชาชน หรือใบเสร็จรับเงิน, ลายเซ็นผู้เข้าร่วมอบรม

4. ค่ากระเป๋าหรือสิ่งที่ใช้บรรจุเอกสารสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม***เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินใบละ 300  บาท     เอกสารฉบับจริงดำเนินตาม

ลำดับ ประเด็นปัญหา แนวทางการแก้ไข
ระเบียบพัสดุ

5. ค่าของสมนาคุณในการดูงาน***เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินแห่งละ 1,500  บาท     เอกสารฉบับจริงดำเนินตามระเบียบพัสดุ

6. ค่าตอบแทนวิทยากร     ใบสำคัญรับเงินสำหรับวิทยากร, หนังสือเชิญ} หนังสือตอบรับกรณีหน่วยงานตอบกลับในนามหน่วยงาน (ยกเว้นเอกชน), สำเนาบัตรประชาชน(ถ้ามี)

7. ค่าอาหาร    ใบสำคัญรับเงินพร้อมสำเนาบัตรประชาชน  หรือใบเสร็จรับเงิน, ลายเซ็นผู้เข้าร่วมอบรม

8. ค่าเช่าที่พัก   ใบเสร็จรับเงิน, Folio

9.ค่ายานพาหนะ กรณีใช้รถยนต์ราชการ ใบขออนุมัติใช้รถยนต์ราชการ, ใบเสร็จค่าน้ำมัน, หนังสือขออนุญาตเดินทางไปราชการและออกนอกเขตจังหวัด/หนังสือขออนุมัติเดินทางไปราชการ, ใบเสร็จค่าทางด่วน

10. กรณีเดินทางโดยเครื่องบิน ใบเสร็จ, กากบัตรโดยสาร(บอดิ้งพาส)

11. กรณีเช่ายานพาหนะ เอกสารฉบับจริงดำเนินการตามระเบียบพัสดุ

12. กรณีเดินทางโดยรถส่วนตัว

ค่าชดเชยการใช้พาหนะส่วนตัวกม.ละ 4 บาท (สำหรับวิทยากร)     หนังสือขออนุมัติเดินทางไปราชการโดยรถยนต์ส่วนตัวจากต้นสังกัด (กรณีส่วนราชการ), แนบระยะทางตามการคำนวณของกรมทางหลวง

13. กรณีเดินทางค่าพาหนะรับจ้าง/รถไฟ/รถประจำทาง ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน(บก.111)

3

4

ส่งหลักฐานยืมเงินราชการไม่เป็นไปตามกำหนด

เอกสารประกอบการยืมเงินไม่ครบถ้วน

-  ส่งหลักฐานการยืมเงินก่อนดำเนินการ อย่างช้า   5 วันทำการ

- ส่งหลักฐานประกอบการยืมเงินให้ครบถ้วน ได้แก่ สำเนาขออนุมัติดำเนินการ, สัญญายืมเงิน 3 ฉบับ, สำเนาโครงการ, กำหนดการประชุม/ตารางฝึกอบรม

-  หลักฐานเอกสารถูกต้อง ครบถ้วน จะเบิกจ่ายเงินยืมให้ ภายใน 3 วันทำการ

ลำดับ ประเด็นปัญหา แนวทางการแก้ไข
5 ส่งใช้เงินยืมไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลา และ

หลักฐานการส่งใช้ไม่ครบตามจำนวนเงินที่ยืม

- งบโครงการ/กิจกรรมส่งหลักฐานใช้เงินยืมภายใน 30 วันหลังจากที่ได้รับงิน , งบค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการภายใน 15 วัน หลังจากที่กลับมาถึงที่พัก

- จัดส่งหลักฐานใช้เงินยืมตามรายละเอียดที่ขอยืม

- หากไม่สามารถส่งใช้ได้ตรงตามกำหนด ให้จัดทำบักทึกชี้แจงเหตุผล

- หากไม่สามารถใช้จ่ายเงินยืมตามระยะเวลาที่กำหนดได้ ให้ส่งเงินยืมคืนพร้อมชี้แจงเหตุผล

- กรณีเลยกำหนดระยะเวลาการส่งใช้เงินยืมคืน จะทำหนังสือแจ้งเตือน หรือหักเงินเดือน หรือคิดดอกเบี้ยผู้ที่ส่งเงินยืมล่าช้า และรายงานผู้บริหารเป็นระยะๆ

6 ผู้ยืมเงินไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ คำสั่ง และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทำให้ปฏิบัติไม่ถูกต้อง - ควรจัดอบรมหรือให้ความรู้ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขออนุมัติยืมเงิน,  การส่งใช้เงิน, บทลงโทษ และระเบียบที่เกี่ยวข้องให้แก่บุคลากรของวิทยาลัยหรือผู้ยืม

- การยืมเงิน ให้ผู้ยืมผ่านเรื่องขออนุมัติยืม

เงินให้หัวหน้ากลุ่มงานเพื่อตรวจสอบรายละเอียดให้ถูกต้องก่อนเสนอ

วิทยาลัยควรจัดทำคู่มือและแจกคู่มือการปฏิบัติงานเผยแพร่ กฎ ระเบียบ และขั้นตอนการปฏิบัติงานให้ผู้ยืมได้รับทราบ หรือเผยแพร่ทางเว็บไซด์

7 ผู้ยืมเงินไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ/งานที่ขออนุมัติดำเนินการ - เจ้าหน้าที่การเงินควรชี้แจงให้บุคลากรของวิทยาลัยหรือผู้ยืมได้รับทราบว่าผู้มีสิทธิ์ยืมเงินต้องเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาระงานที่ต้องยืม เช่นผู้เดินทางไปราชการ ฯลฯ
8 ผู้ยืมเงินขออนุมัติยืมเงิน เมื่อใกล้ระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ ทำให้ได้รับเงินยืมไม่ทันวันที่ต้องดำเนินการตามแผน/โครงการ - ผู้ยืมเงินควรวางแผนการใช้เงินตั้งแต่ต้นปีงบประมาณและเสนอขออนุมัติดำเนินการ เมื่อได้รับอนุมัติแล้วให้รีบขออนุมัติยืมเงินไว้ล่วงหน้าก่อนเพื่อจัดซื้อจัดจ้างและดำเนินการได้ทันงานตามแผน
ลำดับ ประเด็นปัญหา แนวทางการแก้ไข
9 ผู้ยืมเงินประมาณการค่าใช้จ่ายและยืมเงินเกินความจำเป็น โดยนำเงินสดมาส่งคืนภายหลังเป็นจำนวนมาก หากปฏิบัติบ่อยครั้งแสดงถึงเจตนาจงใจนำเงินราชการไปใช้ก่อน -  เมื่อผู้ยืมขออนุมัติยืมเงินเสนอโครงการ/กิจกรรมแล้วเจ้าหน้าที่การเงินหรือหัวหน้ากลุ่มควรตรวจสอบและเสนอตัดวงเงินให้ยืมเท่าที่จำเป็นและควรตั้งข้อสังเกตว่าผู้ยืมเงินรายใดที่เสนอเกินความจำเป็นบ่อยครั้ง  เพื่อเพิ่มความระมัดระวังและหาแนวทางป้องกันและดำเนินการต่อไป
10 การขออนุมัติเดินทางอย่างกระชั้นชิดผู้มีอำนาจอนุมัติไม่สามารถอนุมัติก่อนการเดินทางได้ -  หากการเดินทางเร่งด่วนเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ จะโทรศัพท์ไปยังผู้มีอำนาจอนุมัติ เพื่อให้ความอนุเคราะห์ตรวจสอบ พิจารณาเรื่องดังกล่าวก่อน

-  ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินแจ้งขอความร่วมมือจากผู้เดินทางในการเสนอขออนุมัติเดินทางก่อนการเดินทางทุกครั้ง  เนื่องจากหากกระชั้นชิดจะไม่สามารถยืมเงินได้ทัน

11 การเบิกค่าเช่าที่พักเกินสิทธิของตนเอง - เจ้าหน้าที่การเงิน ควรให้คำแนะนำสิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการแก่บุคลากร/เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน โดยมีการจัดประชุมพร้อมสอบถามปัญหาต่างๆ

- หากมีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยๆควรจัดทำหนังสือเวียนให้บุคลากรและ เจ้าหน้าที่ทุกคนทราบ เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง

-  ควรมีการจัดทำคู่มือการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ เพื่อใช้อ้างอิงในการทำงาน

12 ใบเสร็จรับเงิน กากบัตรโดยสารเครื่องบิน หรือใบรับเงิน (Itinerary Receipt) สูญหายระหว่างการเดินทางไปราชการ -  หากเอกสารสูญหายระหว่างการเดินทางไปราชการควรประสานกับบริษัทสายการบินหรือบริษัทตัวแทนจำหน่าย เพื่อขอสำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว รับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมคำรับรองจากผู้เดินทางไปราชการว่า “ยังไม่เคยนำฉบับจริงมาเบิกเงินจากทางราชการ แม้หากค้นพบในภายหลังก็จะไม่นำมาเบิกเงินจากทางราชการอีก” เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงิน หรือในกรณีที่ไม่สามารถขอสำเนา

หรือภาพถ่ายใบเสร็จรับเงิน บัตรโดยสารเครื่องบินหรือใบรับเงิน (Itinerary Receipt) ได้ให้ผู้เดินทางทำหนังสือรับรองการจ่ายเงิน โดยชี้แจงสาเหตุที่ใบเสร็จรับเงิน กากบัตรโดยสารเครื่องบิน  หรือใบรับเงินนั้นสูญหาย และไม่อาจขอสำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารนั้นได้พร้อมทั้งให้ผู้เดินทางทำคำรับรองว่า “ยังไม่เคยนำฉบับจริงมาเบิกเงินจากทางราชการ แม้หากค้นพบในภายหลังก็จะไม่

ลำดับ ประเด็นปัญหา แนวทางการแก้ไข
นำมาเบิกเงินจากทางราชการอีก” เสนอต่อผู้อำนวยการเพื่อพิจารณาอนุมัติ และเมื่อได้รับอนุมัติจากผุ้อำนวยการแล้ว สามารถใช้เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงินได้
13 บุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจ/ความชำนาญ/ความเชี่ยวชาญ ในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ -ควรจัดให้มีการอบรมผู้ปฏิบัติ งานด้านการเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อ ให้เกิดความชำนาญ และสามารถแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานได้

- นางสาวนัยนา  แก้วคง  หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยบริการ  เสนอว่า ควรมีการรวบรวมปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มงานหรือบุคลากรของหน่วยงาน และนำมาลงในเว็บเช่น บอร์ด หรือถาม-ตอบ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติงาน ทำให้สามารถทราบถึงปัญหาของแต่ละคน

- นางสาววิไลวรรณ  บุญเรือง  หัวหน้าฝ่ายพัฒนาบุคลากรและความเสี่ยง  เสนอว่า เห็นควรให้มีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินกับบุคลากรในหน่วยงาน  เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีและลดปัญหาความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน โดยกำหนดไว้ในปฏิทินการปฏิบัติงาน อย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินด้วย เช่น เสวนาระเบียบการเงินการคลัง / KM แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน

- นายภราดร  ล้อธรรมมา  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  เสนอว่า ควรจัดบริการให้คำแนะนำ หรือบริการเป็นที่ปรึกษา หารือ ให้เจ้าหน้าที่ บุคลากร ที่ต้องการสอบถามวิธีการเบิกจ่ายเงิน พร้อมวิธีการเขียนเอกสารต่างๆทางด้านการเงินทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเบิกจ่ายเงิน และตอบข้อซักถามปัญหาการเบิกจ่ายเงินในกรณีที่ผู้เบิกสงสัย ไม่เข้าใจ เพื่อจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

-นายสืบตระกูล  ตันตลานุกูล  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  เสนอว่า ควรจัดทำแบบฟอร์มตัวอย่างเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของกระบวนการเบิกจ่ายเงิน พร้อมกับคำอธิบายประกอบ โดยจัดทำเป็นคู่มือ โดยแสดงวิธีการเขียนให้ถูกต้อง เพื่อให้ผู้เบิกจ่ายได้ศึกษาเป็นตัวอย่าง เพื่อจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

- นางสาวนัดดา  กอบแก้ว  หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป  เสนอว่า  ควรจัดประชุม หรืออบรมเกี่ยวกับการเขียนเอกสารที่จะต้องใช้ประกอบการเบิกจ่ายเงิน  โดยให้บุคลากรของหน่วยงานที่สนใจเข้ารับฟัง หรือเข้ารับการอบรม เพื่อรับทราบหลักเกณฑ์หรือระเบียบของการเขียนเอกสาร วิธีการในข้อนี้จะช่วยให้บุคลากรทุกท่านที่จะเป็นผู้เบิกจ่ายเงิน สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ

- นางสาวจุฑามาศ  ประเสริฐ  ได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและจากการเข้าประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนงานการเงินและบัญชี  งานพัสดุ  งานควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงวิทยาลัยในเครือข่ายภาคเหนือ  ระหว่างวันที่ 18/20 มกราคม 2560  ณ  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์  นครสวรรค์นั้น ผู้ตรวจสอบภายในได้ชี้แจงถึงรายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม  การจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 หมวด ๒ ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม  ส่วนที่ ๑  ค่าใช้จ่ายของส่วนราชการที่จัดการฝึกอบรม มีใจความดังนี้

ข้อ ๘ โครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรมที่ส่วนราชการจัดหรือจัดร่วมกับหน่วยงานอื่น

ต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายตามระเบียบนี้  ให้ส่วนราชการที่จัดการฝึกอบรมเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมได้ ดังต่อไปนี้

(๑) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้และการตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม

(๒) ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิด – ปิด การฝึกอบรม

(๓) ค่าวัสดุ เครื่องเขียนและอุปกรณ์

(๔) ค่าประกาศนียบัตร

(๕) ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์

(๖) ค่าหนังสือสําหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม

(๗) คาใช่ ้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร

(๘) ค่าเช่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการฝึกอบรม

(๙) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม

(๑๐) ค่ากระเป๋าหรือสิ่งที่ใช้บรรจุเอกสารสําหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม

(๑๑) ค่าของสมนาคุณในการดูงาน

(๑๒) ค่าสมนาคุณวิทยากร

(๑๓) ค่าอาหาร

(๑๔) ค่าเช่าที่พัก

(๑๕) ค่ายานพาหนะ

ค่าใช้จ่ายตาม (๑) ถึง (๙) ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ตามความจําเป็น เหมาะสมและประหยัด

ค่าใช้จ่ายตาม (๑๐) ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินอัตราใบละ ๓๐๐ บาท

ค่าใช้จ่ายตาม (๑๑) ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง แห่งละไม่เกิน ๑,๕๐๐ บาท

ค่าใช้จ่ายตาม (๑๒) ถึง (๑๕) ให้เบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์และอัตราตามที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้

ข้อ ๙ การฝึกอบรมบุคคลภายนอกให้จัดได้เฉพาะการฝึกอบรมในประเทศเท่านั้น

ข้อ ๑๐ บุคคลที่จะเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมตามระเบียบนี้ ได้แก่

(๑) ประธานในพิธีเปิดหรือพิธีปิดการฝึกอบรม แขกผู้มีเกียรติ และผู้ติดตาม

(๒) เจ้าหน้าที่

(๓) วิทยากร

(๔) ผู้เข้ารับการฝึกอบรม

(๕) ผู้สังเกตการณ์

รายละเอียดดังกล่าวเป็นเพียงเนื้อหาบางส่วนที่ได้จากการค้นคว้าและการประชุม  หากต้องการรายละเอียดมากกว่านี้ค้นหาได้จากเว็บไซด์ www.thaidental.net/web/data/userfiles/files/57-59_22555.pdf

การจัดการความรู้ เรื่องการเร่งรัดการเบิกจ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบ

มติที่ประชุม รับทราบและกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่าย คือ

  1. จัดประชุมหรืออบรมเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินให้บุคลากรในหน่วยงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  2. จัดทำแบบฟอร์มตัวอย่างเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายและทำ Work Flow ในแต่ละเรื่อง
  3. ให้บริการ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเบิกจ่ายที่ถูกต้องแก่บุคลากรในหน่วยงาน
  4. งานการเงินทำการตรวจสอบเอกสารให้เป็นไปตามระเบียบก่อนส่งอีกครั้ง
  5. เมื่อไม่สามารถปฏิบัติงานได้  ให้งานการเงินทำบันทึกรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นเสนอต่อผู้บริหาร

และได้นำไปเผยแพร่ในเว็บบอร์ดของวิทยาลัย  เพื่อให้บุคลากรได้ศึกษาและนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติในการเบิกจ่ายเพื่อให้เกิดความถูกต้องตามระเบียบและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

วาระที่ 5. เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา

ไม่มี

วาระที่ 6. เรื่องอื่น ๆ

ไม่มี

เลิกประชุมเวลา  16.30 น.

(นางสาวจุฑามาศ  ประเสริฐ)

ผู้จดรายงานการประชุม

(นางสาวดุจเดือน  เขียวเหลือง)

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

รายงานการประชุมกลุ่มงานบริหาร ครั้งที่ 1 / 2559

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันศุกร์ 24 กุมภาพันธ์ 2017 at 11:26 am

รายงานการประชุมกลุ่มงานบริหาร

ครั้งที่ 1 / 2559

เมื่อวันที่   5   ตุลาคม  2559

ณ ห้องประชุมกาสะลอง  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

——————————

ผู้เข้าร่วมประชุม

1. นางสาวดุจเดือน  เขียวเหลือง    ตำแหน่ง รองผู้อำนายการกลุ่มงานบริหาร          ประธาน

2. นายไพทูรย์  มาผิว                ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ

3. นางสาววิไลวรรณ  บุญเรือง      ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาบุคลากรและความเสี่ยง

4. นางสาวนัยนา  แก้วคง           ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยบริการ

5. นางสาวนัดดา  กอบแก้ว         ตำแหน่ง  หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป

6. นายนพณัฐ  รุจิเรืองอนันต์        ตำแหน่ง  เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

7. นางสาวสุดารัตน์  ไชยประสิทธิ์   ตำแหน่ง  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

8. นางอรุณรัตน์  พรมมา            ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

9. นายสืบตระกูล  ตันตลานุกูล      ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

10. นายภราดร  ล้อธรรมมา         ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

11. นางจิราพร  วิศิษฎ์โกศล         ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

12. นางนงคราญ  เยาวรัตน์         ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน

13. นางสุกัญญา  อุมรินทร์          ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่การเงิน

14. นางสุพัตรา  มากำเหนิด        ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บัญชี

15. นางพิชญ์ชาภรณ์  มูลประโคนชัย ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัสดุ

16. นางสาวจุฑามาศ  ประเสริฐ   ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชี                    เลขานุการ

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม

อาจารย์                    จำนวน    9  คน   คิดเป็นร้อยละ  100

เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง       จำนวน   7  คน   คิดเป็นร้อยละ  100

ผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

ไม่มี

เริ่มประชุมเวลา 15.00 น.

วาระที่ 1. เรื่องที่ประธานแจ้งเพื่อทราบ

- ประธานแจ้งให้ทราบถึงสิ่งที่กลุ่มงานบริหารต้องให้ความสำคัญมาก  โดยเฉพาะงานการเงินนั้นให้เน้นในเรื่องดังนี้

เรื่องที่ 1 บริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และใส่ใจบริการ

1.1  ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

- ประสิทธิภาพ คือ มีการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐานมารองรับ

- โปร่งใส รวมถึง ด้านคุณธรรมจริยธรรมมาใช้ในการปฏิบัติงาน

- ใส่ใจบริการ คือ มีความกระตือรือร้นในการให้บริการ  รวมถึงกิริยาท่าทาง , น้ำเสียง คำพูดต่าง ๆ

1.2  จัดทำฐานข้อมูลทางการเงินให้มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

เรื่องที่ 2 การบริหารทรัพยากรและลดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

2.1  ควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการทำข้อมูลสถิติเปรียบเทียบการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรทุกคนเกิดความตระหนักในเรื่องการประหยัดการใช้พลังงาน

2.2  จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ประหยัดทรัพยากรและพลังงาน  โดยทางแผนกการเงินจะออกคำสั่งโรงเรียน ในเรื่องการบริหารทรัพยากร ซึ่งจะต้องประสานงานกับแผนกต่าง ๆ เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการในการร่วมมือกันจัดกิจกรรมลดการใช้กระดาษ และกิจกรรมสำนักงานสีเขียว

2.3  ปรับลดงบประมาณรายจ่ายตามแผนงาน/โครงการ ปีการศึกษา 2560 ซึ่งจะต้องประสานงานกับผู้รับผิดชอบแผนงาน/โครงการ ให้มีความเข้าใจในการการปรับลดงบประมาณรายจ่าย

3.  ทบทวนกระบวนการจัดการความรู้ เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ภายในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการระบุเกี่ยวกับความรู้ที่องค์กรจำเป็นต้องมีต้องใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร ได้แก่ ความรู้อะไรบ้าง ความรู้อะไรที่มีอยู่แล้วอยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร

2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เดิม แยกความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้วออกไป มีหลายแนวทาง เช่น ใช้ SECI model นำบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ต่างกันมาประชุม/ทำงานร่วมกัน จ้างคนที่มีความรู้มาทำงานในองค์กร จ้างที่ปรึกษา

3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ แบ่งชนิด ประเภท เช่น กฎระเบียบ ขั้นตอนการทำงาน ฯลฯ กำหนดวิธีการจัดเก็บและค้นคืน เพื่อให้สืบค้น เรียกคืนและนำไปใช้ได้สะดวก

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เป็นการกลั่นกรองความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย ใช้งานได้ของความรู้ ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานมาแลกเปลี่ยนเคล็ดลับ เทคนิคการทำงาน เทคนิคการแก้ปัญหา หรือปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน สำหรับความรู้ที่ชัดแจ้ง Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศส่วนความรู้ที่ฝังในตัวคน Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนนักปฏิบัติ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว(ผู้เชี่ยวชาญจากที่หนึ่งไปปฏิบัติงานในอีกที่หนึ่ง) เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

7. การเรียนรู้ เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการแบ่งปันแลกเปลี่ยนหรือสืบค้นไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน แล้วเกิดความรู้ใหม่นำมาเข้าระบบจัดเก็บหรือแบ่งปันแลกเปลี่ยน ก็จะได้องค์ความรู้ใหม่ให้ใช้ประโยชน์ต่อไปได้เรื่อยๆ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากวงจร “สร้างองค์ความรู้>นำความรู้ไปใช้>เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่” และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

มติที่ประชุม รับทราบ

วาระที่ 2. เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา

ไม่มี

วาระที่ 3. เรื่องสืบเนื่อง

ไม่มี

วาระที่ 4. เรื่องเพื่อพิจารณา

การกำหนดเป้าหมาย ( Desired  State)

1. ประธานในที่ประชุมได้หารือเรื่อง แนวทางการจัดการความรู้ของกลุ่มงานบริหารว่าควรมีประเด็นใดบ้าง  ซึ่งจากการประชุมร่วมกัน พบว่ามีผู้เสนอประเด็นการจัดการความรู้ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การเบิกพัสดุ,  การยืมเงินไปราชการ,  การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม,  การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ,  การกำกับติดตามงบประมาณรายไตรมาส

มติที่ปประชุม มีความเห็นพ้องต้องกันว่าควรกำหนดเป้าหมายในเรื่องการเร่งรัดการเบิกจ่ายและการเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบ

2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการเร่งรัดการเบิกจ่ายและการเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบ

- นางนงคราญ  เยาวรัตน์  เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน  ได้เสนอว่าในการเบิกจ่ายที่เกี่ยวข้องกับทางการเงินควรเน้นให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม  การจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555,  พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเรื่องค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526, ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 ส่วนที 4 เรื่องการจ่ายเงินยืม เพื่อให้เกิดความถูกต้อง บรรลุเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ

- งานการเงินเสนอประเด็นที่สำคัญที่พบว่ามีการปฏิบัติไม่ค่อยเป็นไปตามระเบียบ  กลุ่มงานบริหารจึงมีความเห็นร่วมกันว่าควรจัดการความรู้ในประเด็นของการเร่งรัดการเบิกจ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบ  ซึ่งจากการวิเคราะห์ของกลุ่มงานพบว่าปะเด็นปัญหาที่ทำให้การเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามกำหนด มีดังนี้

  1. การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
  2. เอกสารหลักฐานในการเบิกจ่ายไม่ครบถ้วน   ทำให้การเบิกจ่ายล่าช้า
  3. ส่งหลักฐานยืมเงินราชการไม่เป็นไปตามกำหนด
  4. เอกสารประกอบการยืมเงินไม่ครบถ้วน
  5. ส่งใช้เงินยืมไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลา และหลักฐานการส่งใช้ไม่ครบตามจำนวนเงินที่ยืม
  6. ผู้ยืมเงินไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ คำสั่ง และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทำให้ปฏิบัติไม่ถูกต้อง
  7. ผู้ยืมเงินไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ/งานที่ขออนุมัติดำเนินการ
  8. ผู้ยืมเงินขออนุมัติยืมเงิน เมื่อใกล้ระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ ทำให้ได้รับเงินยืมไม่ทันวันที่ต้องดำเนินการตามแผน/โครงการ
  9. ผู้ยืมเงินประมาณการค่าใช้จ่ายและยืมเงินเกินความจำเป็น โดยนำเงินสดมาส่งคืนภายหลังเป็นจำนวนมาก หากปฏิบัติบ่อยครั้งแสดงถึงเจตนาจงใจนำเงินราชการไปใช้ก่อน
  10. การขออนุมัติเดินทางอย่างกระชั้นชิดผู้มีอำนาจอนุมัติไม่สามารถอนุมัติก่อนการเดินทางได้
  11. การเบิกค่าเช่าที่พักเกินสิทธิของตนเอง
  12. ใบเสร็จรับเงิน กากบัตรโดยสารเครื่องบิน หรือใบรับเงิน (Itinerary Receipt) สูญหายระหว่างการเดินทางไปราชการ
  13. บุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจ/ความชำนาญ/ความเชี่ยวชาญ ในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ

มติที่ประชุม เห็นชอบในการเลือกประเด็น เรื่อง การเร่งรัดการเบิกจ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายให้ถูกต้อง ตามระเบียบและในการประชุมครั้งต่อไปจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหา

วาระที่ 5. เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา

ไม่มี

วาระที่ 6. เรื่องอื่น ๆ

ไม่มี

เลิกประชุมเวลา  16.30 น.

(นางสาวจุฑามาศ  ประเสริฐ)

ผู้จดรายงานการประชุม

(นางสาวดุจเดือน  เขียวเหลือง)

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

สรุปการจัดการความรู้ ประเด็น “การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ” กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by Naiyana Kaewkhong on วันพฤหัส 16 กุมภาพันธ์ 2017 at 3:44 pm

สรุปการจัดการความรู้

ประเด็น “การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ”

กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๒๗ ธันวาคม  ๒๕๕๙ เวลา  ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น

………………………………………………………………………………………………………………..

๑. รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม

๑. ดร.ศศิธร ชิดนายี                   รองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิจัยฯ ประธาน

๒. ดร.ประภาพร มโนรัตน์            ผู้รับผิดชอบการจัดการความรู้ของกลุ่มงานวิจัยฯ และเลขานุการ

๓. ดร.ปฐพร  แสงเขียว

๔. นายนภดล  เลือดนักรบ

๕. นางมณฑา อุดมเลิศ

๖. นางสาวนัยนา อินธิโชติ

๗. นางภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย

๘. นางสายฝน วรรณขาว

๙. นางสาวอัญชรี เข็มเพชร

๑๐. นางวิมล  อ่อนเส็ง

๒. วาระเรื่องแจ้ง

ประธานแจ้งว่า จากการกำหนดประเด็นการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อน กลุ่มงานและวิทยาลัยให้เป็นองค์กรการจัดการเรียนรู้นั้น สำหรับกลุ่มงานวิจัยฯ ได้กำหนดประเด็น เรื่อง การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ  ทั้งนี้เนื่องจากการวิเคราะห์พบว่าอาจารย์ยังมีการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ระดับปานกลางและผลงานการตีพิมพ์ ระดับนานาชาติ น้อย (จนเกือบไม่มี)  ซึ่งวิทยาลัยมีผู้ที่มีประสบการณ์การเผยแพร่ผลงานระดับชาติและนานาชาติมาบ้างแล้ว จึงดำเนินการตามขั้นตอนของการจัดการความรู้  ดังนี้

๑.การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือ สำคัญ คือ การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ

๒. การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ  กลุ่มงานวิจัยฯ ได้ประชาสัมพันธ์และกำหนดวันที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กัน จึงให้ผู้ที่มีประสบการณ์ มีองค์ความรู้ (Tacit knowledge)  แลกเปลี่ยนความรู้ให้กับคณาจารย์ภายในกลุ่มงาน และให้ค้นหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ

๓. การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วนให้เหมาะกับการใช้งานของตน ในส่วนนี้อาจารย์ที่มีประสบการณ์ได้นำความรู้ที่มาปรับปรุงและสร้างความรู้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้คณาจารย์เกิดการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ

๒.เพื่อให้คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ

๓. เพื่อสร้างข้อสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในระยะที่1 สู่การนำไปประยุกต์ใช้ในปีงบประมาณ๒๕๖๐

๔.สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้มีดังนี้

๑. อาจารย์นภดล เลือดนักรบ ได้ให้ความเห็นว่า การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการระดับชาติหรือนานาชาตินั้น จะต้องเลือกวารสารที่เขาตรงหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเราและศึกษารูปแบบการเขียนก่อนSubmitบทความ  และได้กล่าวว่า การเลือกไปนำเสนอผลงานควรเลือกการประชุมวิชาการที่มีการคัดเลือกผลงานตีพิมพ์ในวารสารด้วย จะได้ประโยชน์  และให้ผู้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษeditภาษาอังกฤษให้ถูกต้องที่สุด ป้องกันการปฏิเสธการตีพิมพ์จากภาษาไม่ดี

๒. ดร.ปฐพร แสงเขียว ได้ให้ความเห็นว่าการจะเขียนให้ได้รับการตอบรับ ต้องอ่านบทความจากวาสารให้มากโดยเฉพาะวาสารที่จะลงตีพิมพ์ เพื่อให้รู้สไตล์การเขียนและเขียนได้ตรงกับรูปแบบและสไตล์ของวารสารนั้นๆจะทำให้ได้รับการตอบรับมากขึ้นเป็นไปได้สูง และเรื่องการคัดลอกผลงานผู้อื่นให้ฝึกกับInternetได้มีการสอนเขียนแบบเทียบเคียงกันเป็นคู่ขนานแต่ไม่ได้คัดลอกเลียนแบบ

๓. ดร.ประภาพร มโนรัตน์ ได้ให้ความเห็นว่าเห็นด้วยกับทุกท่านที่แบ่งปันความรู้ เพิ่มเติมในแง่ของการวางแผนเป็นระบบตั้งแต่การได้รับทุนวิจัยคิดยาวถึงวารสารที่จะตีพิมพ์ ศึกษาแนวการเขียนบทความของวาสารนั้นๆ  และเคร่งครัดในระเบียบของวาสารและทำตามขั้นตอนของวาสารหรือการประชุมนั้นๆ

๔. ดร.ศศิธร ชิดนายี ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การตีพิมพ์ระดับนานาชาติ เราควรร่วมกันเขียนกับ๔นักวิจัยที่มีประสบการณ์การตีพิมพ์อยู่แล้วเช่น ดร.อัสนี  ที่ วพบ.พุทธชินราช มีผลงานตีพิมพ์หลายฉบับ โดยทำงานร่วมกับอาจารย์ในอเมริกา ในประเด็น เรื่อง มะเร็งเต้านม และ การตีพิมพ์ ในประเด็นหลัก เพื่อให้แสดงถึงความเชียวชาญนอกจากนี้การตีพิมพ์ในวารสารระดับ SJR ISI  Scopus  การตีพิมพ์ประเภท  Systematic revicw  จะได้รับการ  accept  เร็วกว่า และ อาจารย์ศศิธร นำเสนอการตีพิมพ์เผยแพร่จากเอกสารของ วช. ที่สามารถ Download  ได้

๕.อาจารย์วาสนา ครุฑเมือง ได้ให้ความเห็นว่า การได้อ่านงานบทความวิจัยของนักวิจัยที่ตีพิมพ์บ่อยจะช่วยทำให้เขียนได้ดีขึ้น

๖.อาจารย์มณฑา อุดมเลิศ ได้ให้ความเห็นว่า การคัดลอกเลียนแบบผลงาน หรือการที่จะเขียนให้ไม่ไปทับซ้อนที่เรียกว่าคัดลอกนั้นก็ยาก ต้องอ่านมากและฝึกฝน

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับและนำมาสรุปเป็นแนวปฏิบัติในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ ได้ดังนี้

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติและนานาชาติ

๑.วางแผนการตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ได้รับทุนวิจัย โดยคาดการณ์ว่าจะตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติหรือนานาชาติในวารสารใด หรือเมื่อต้องการตีพิมพ์ผลงานวิจัยให้เลือกลงวาสารที่ต้องการงานวิจัยประเภทเดียวกับของเรา

๒. ศึกษารูปแบบการเขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการตามที่วารสารนั้นๆกำหนด (บทนิพนธ์ต้นฉบับ)

๓. ให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆอ่าน วิพากษ์ให้ก่อนเป็นการส่วนตัว (หากมีผู้ยินดีอ่านให้ฟรีและเป็นผู้ใกล้ชิดหรือเครือข่ายงาน) จะได้มุมมองในการปรับเขียนงานให้ดียิ่งขึ้นก่อนส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับไปให้บรรณาธิการของวารสารที่ต้องการตีพิมพ์

๔. ให้มีการตรวจสอบหรือปรับการเขียนบทคัดย่อและบทความวิจัยที่เป็นภาษาอังกฤษโดยผู้เชียวชาญก่อน เพื่อให้มีความชัดเจนด้านภาษาอังกฤษถูกต้อง

๕. ทำการส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับตามหลักเกณฑ์ ระเบียบของวารสารนั้นๆอย่างเคร่งครัด เช่น ต้องเป็นสมาชิกวารสารก่อน หรือ ส่งต้นฉบับให้ครบทุกชุดและตามเงื่อนไขที่ระบุ

๖. กรณีส่งแล้วและให้ปรับปรุงแก้ไขนั้น ให้รีบดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามที่เสนอแนะ และส่งกลับคืนภายในเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด  และแสดงให้เห็นว่ามีการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะโดยการขีดเส้นใต้หรือใส่แถบสี  ให้ทางวารสารเห็นได้ชัดว่าได้ดำเนินการแล้ว   สำหรับในประเด็นที่ไม่สามารถแก้ได้ให้เขียนชี้แจงไปว่าทำไม่ไม่แก้ไข ติดขัดในประเด็นใด นักวิจัยสามารถอธิบายแนวคิดของตนเองได้

๗. ส่งผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ครั้งละ1วารสารเท่านั้น หากไม่ได้รับการตอบรับในวารสารฉบับนั้นแล้ว จึงจะสามารถส่งวารสารไปลงยังวารสารอื่นต่อไปได้

๘. นักวิจัยต้องถือปฏิบัติในจริยธรรมของนักวิจัยอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และไม่ไม่ส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับไปหลายๆวารสารในเวลาเดียวกัน

๙. หาแหล่งตีพิมพ์ผลงานในวารสารได้โดยเข้าร่วมประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติที่มีการคัดเลือกผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารด้วย

คณาจารย์กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์

ดร.ประภาพร มโนรัตน์  ผู้รับผิดชอบการจัดการความรู้กลุ่มงานวิจัยฯ

๒๗ ธันวาคม  ๒๕๕๙

การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันจันทร์ 6 กุมภาพันธ์ 2017 at 10:50 am

หัวข้อ ประเด็น: การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

หัวข้อย่อย: บทบาทและลักษณะครู/ผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21

ชื่อวิทยากร: อาจารย์อภิรดี เจริญนุกูล

วัน/เวลา/สถานที่: วันที่ 25 ธันวาคม 2559 (13.30 – 16.00 น.) ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ชื่อผู้บันทึก: อาจารย์สุปราณี หมื่นยา                 ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้: อาจารย์ วพบ.อุตรดิตถ์ จำนวน 20 คน

Cue Column

Keywords

- Creative

- Coaching

- Formative Assessment

- Versaltitis

- Metacognitive Skills

Key questions

บทบาทและลักษณะของครูและผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ควรเป็นอย่างไร?

Note-taking Column

Content:


Environment surroundings:(รูปแบบการบรรยายของวิทยากร / บรรยากาศ / การมีส่วนร่วม)

- Think/ Pair/ Share : Brief overviews (PPT/ Clip VDO/ Activity)

- ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับชมวีดีโอคลิป แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอเพิ่มเติมในการต่อยอดพัฒนา

- สุทรียสนทนา

เนื้อหาภาพรวมโดยสรุป (Summary)

  • Ø ลักษณะของครูใน 21st : เป็นผู้เรียนรู้/ นักคิด/ นักออกแบบ/ นักสร้างแรงบันดาลใจ
  • Ø บทบาทของครูใน 21st : เป็นผู้สนับสนุน/อำนวย (Facilitator and Coaching)
  • Ø ลักษณะ/บทบาทของผู้เรียนใน 21st : Active Learner/ Metacognitive skills/ Varsaltitis/ Entrustable professional Activities

การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง ประสบการณ์การทำคลอดครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3

Blogged under KM ของ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ by admin on วันอังคาร 23 สิงหาคม 2016 at 9:01 am

การสังเคราะห์งานวิจัย

เรื่อง

ประสบการณ์การทำคลอดครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3

โดย

อ.ดร.วรรณวดี เนียมสกุล

จากการสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง ?ประสบการณ์การทำคลอดครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3? ซึ่งดำเนินการโดย นางสาว วรรณวดี? เนียมสกุล นับว่าเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสิ่งท้าทายสำหรับอาจารย์พยาบาลที่จะต้องหาแนวทางที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะเชิงวิชาชีพ ?มีความมั่นใจและนำทักษะการดูแลมารดาและทารกในรยะคลอดไปใช้อย่างเต็มภาคภูมิ รู้สึกเป็นสุขเมื่อได้เรียนรู้และฝึกทักษะ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ กระบวนการจัดการเรียนการสอน จึงต้องเปลี่ยนมาสู่การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่ผู้สอนจะต้องเป็นทั้งนักวิชาการ นักปฏิบัติ และนักจัดการที่จะบูรณาการความรู้และกระบวนการเรียนรู้ใช้กลยุทธ์ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น ความเข้าใจต่อประสบการณ์ของผู้เรียนในการทำคลอดซึ่งเป็นทักษะที่ยากสำหรับนักศึกษาผู้ฝึกปฏิบัติเพราะต้องรับผิดชอบชีวิตทั้งมารดาและทารกจะสามารถสร้างนำมาเป็นข้อมูลในการสร้างบรรยากาศการเรียนที่เอื้อให้ผู้เรียนมีความสุข ผ่อนคลายความตึงเครียด ?เกิดการกระตุ้นวิธีการคิด การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ?ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของบัณฑิตไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

การทำคลอดครั้งแรกเป็นทักษะที่ต้องอาศัยทั้งความรู้ความชำนาญและเป็นเหตุการณ์ที่จะสร้างความรู้สึกได้ทั้งในแง่บวกและลบแก่นักศึกษาพยาบาล หากนักศึกษาพยาบาลผ่านกระบวนการทำคลอดไปอย่างราบรื่นก็จะเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง แต่หากประสบกับเหตุการณ์ทางลบเช่น ขณะช่วยทำคลอดทารกมีภาวะขาดออกซิเจน มารดาต้องได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องฉุกเฉิน ก็จะทำให้นักศึกษาเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อประสบการณ์ในการทำคลอดครั้งแรกได้และส่งผลต่อความรู้สึกมีคุณค่าและความภาคภูมิใจในตนเองตลอดจนทัศนคติต่อวิชาชีพ การศึกษาประสบการณ์ในการทำคลอดครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่สาม จะสามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพและผลิตบัณฑิตพยาบาลที่สามารถทำงานด้านอนามัยแม่และเด็กได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

สำหรับการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) แบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological study) ?มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อทำความเข้าใจต่อประสบการณ์ในการทำคลอดครั้งแรกในขณะฝึกปฏิบัติที่แผนกห้องคลอดของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ประชากรในการศึกษาได้แก่ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 16 สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการเรียน 3 เดือน ระหว่างเดือนสิงหาคม? 2558 ถึงเดือนตุลาคม 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 98 คน โดยคัดเลือกนักศึกษาผู้ให้ข้อมูลจำนวน 26 คนแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกคือ นักศึกษาตัวแทนแต่ละกลุ่มจำนวน 13 กลุ่ม ๆ ละ 2-3 คน โดยในแต่ละกลุ่มคัดเลือกผู้ที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม 1 คน และสมาชิก 1 คน ผู้ให้ข้อมูลเต็มใจที่จะเข้าร่วมการวิจัยทุกคน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) บันทึกความรู้สึกในการทำคลอดครั้งแรก โดยให้นักศึกษาได้เขียนบอกเล่าความรู้สึกในการทำคลอดครั้งแรกด้วยความจริงใจ เช่น การเตรียมความพร้อมของตนเอง ความรู้สึกต่าง ๆ ความต้องการการได้รับการนิเทศกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เป็นต้น ซึ่งการบันทึกให้เขียนทันทีภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากการทำคลอดครั้งแรก 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ที่มีแนวคำถามสำหรับการทำอภิปรายกลุ่มจำนวน 6 ข้อ ผู้วิจัยนำเครื่องมือที่ได้เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านและปรับแก้ตามข้อเสนอแนะ จากนั้นนำไปทดลองใช้กับนักศึกษาที่ไม่ซ้ำกับกลุ่มที่เก็บข้อมูลจำนวน 5 คน เพื่อทดลองใช้คำถามกับนักศึกษาและนำมาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อทำให้ได้แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ละเอียดยิ่งขึ้น

ซึ่งผลจากการวิจัยสามารถตอบวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้นักศึกษาพยาบาลมีประสบการณ์ในการทำคลอดครั้งแรกแบ่งเป็นแก่นเนื้อหาหลัก (major themes) 3 ประการ ได้แก่ 1) ความรู้สึกหลากหลายต่อประสบการณ์ในการทำคลอดครั้งแรก 2) สิ่งที่คาดหวังในการทำคลอดอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริงเสมอไป และ 3) ความตระหนักถึงความสำเร็จและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการทำคลอดครั้งแรก

ประสบการณ์ของนักศึกษาในการทำคลอดครั้งแรกมีหลากหลายตั้งแต่ก่อนการทำคลอดซึ่งเป็นความรู้สึกด้านลบได้แก่ ความรู้สึกเครียด วิตกกังวล กลัว ตื่นเต้น ประหม่า งุนงง ลนลาน สับสน ตกใจ ทำอะไรไม่ค่อยถูกลืมทุกอย่างแม้ว่าจะเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี แต่การได้เตรียมตัวทำคลอดกับหุ่นจำลองช่วงก่อนฝึกจริงหนึ่งสัปดาห์ หรือการได้เข้าช่วยทำคลอดกับพยาบาลวิชาชีพหรือแพทย์ ทำให้อาการดังกล่าวลดลง

การทำคลอดครั้งแรกทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ว่าสิ่งที่ตนเองคาดหวังในการทำคลอดนั้นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริงเสมอไป โดยนักศึกษาได้บอกเล่าสิ่งที่คาดหวังออกเป็น 3 ประการได้แก่ ด้านตนเอง ด้านมารดา และด้านอาจารย์นิเทศ (ทั้งนี้อาจารย์นิเทศในที่นี้จะหมายถึงอาจารย์นิเทศจากวิทยาลัย และ/หรืออาจารย์พี่เลี้ยงในแหล่งฝึก)

การทำคลอดครั้งแรกทำให้เกิดประสบการณ์ที่ทำให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความสำเร็จและอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นหลายประการ โดยความสำเร็จในการทำคลอดครั้งแรกประกอบไปด้วยความสำเร็จจากตนเอง มารดา และอาจารย์นิเทศ สำหรับอุปสรรคที่เกิดขึ้น ได้แก่ อุปสรรคที่มาจากตนเอง เพื่อน และการสนทนาในขณะคลอด

จากผลการสังเคราะห์การวิจัยครั้งนี้ ทำให้เกิดแนวคิดสำหรับการพัฒนาอาจารย์นิเทศจากวิทยาลัยและอาจารย์พยาบาลพี่เลี้ยงในแหล่งฝึกในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติร่วมกันโดยมีจุดมุ่งเน้นการจัดประสบการณ์ที่ประทับใจแก่นักศึกษาพยาบาลเพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพพยาบาล และการจัดหาทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลายเช่น ห้องปฏิบัติการพยาบาลที่ทันสมัย ประกอบด้วยหุ่นจำลองสำหรับฝึกทักษะปฏิบัติการพยาบาลทำคลอด หนังสือตำราเกี่ยวกับการพยาบาลสูติศาสตร์ วารสารงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนฐานข้อมูลสำหรับการสืบค้นที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้เป็นแหล่งความรู้และฝึกฝนทักษะจนชำนาญก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติจริงเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ

******************************************************

การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑

Blogged under KM ของ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ by admin on วันอังคาร 23 สิงหาคม 2016 at 9:00 am

การสังเคราะห์งานวิจัย

เรื่อง

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑

โดย

อ.ดร.วรรณวดี เนียมสกุล

จากการสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง ?การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑? ซึ่งดำเนินการโดย นางสาว วรรณวดี? เนียมสกุลและคณะ นับว่าเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสิ่งท้าทายสำหรับอาจารย์พยาบาลที่จะต้องหาแนวทางที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีความมั่นใจและนำทฤษฎีการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ไปใช้อย่างเต็มภาคภูมิ รู้สึกเป็นสุขเมื่อได้เรียนรู้ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ กระบวนการจัดการเรียนการสอน จึงต้องเปลี่ยนมาสู่การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่ผู้สอนจะต้องเป็นทั้งนักวิชาการ นักปฏิบัติ และนักจัดการที่จะบูรณาการความรู้และกระบวนการเรียนรู้ใช้กลยุทธ์ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น วิธีที่ได้ผลวิธีหนึ่งได้แก่ วิธีการเรียนรู้แบบ VARK โดยผู้สอนจะมีบทบาทเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอนที่ดี เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง คือส่งผลให้มีพื้นฐานการคิดดี ภูมิแน่น เรียนรู้อย่างมีความสุขอันเป็นปิติสุขในความสำเร็จของการเรียนรู้ มีผลการศึกษาที่รายงานถึงประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนแบบ VARK ที่สามารถกระตุ้นให้ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นและสามารถสร้างบรรยากาศการเรียนที่เอื้อให้ผู้เรียนมีความสนุกสนาน เกิดการกระตุ้นวิธีการคิด การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ?ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของบัณฑิตไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

ดังนั้นแนวคิดเกี่ยวกับการนำกลยุทธ์ VARK มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน? จึงเป็นเสมือนหนึ่งแนวทางให้ผู้สอนได้นำมาออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับศตวรรษที่ 21 โดยวิธีการสอนแบบ VARK เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความกระฉับกระเฉงในการสอน (active teacher) และออกแบบการเรียนการสอนที่สร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน ทำให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความกระปรี้กระเปร่า (active learner) เกิดความคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) และเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning)

VARK Learning style หรือรูปแบบการเรียนแบบ VARK เป็น sensory Model ที่ประกอบด้วย V หรือ Visual เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการเห็นข้อมูล การสังเกตผู้อื่นปฏิบัติ และ/หรือ การเห็นภาพ กราฟ ที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้? A: Aural or Auditory เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการฟังเช่น ฟังจากเทป จากเรื่องเล่าของผู้อื่น จากการพูดคุย การฟังกลุ่มอภิปราย? R: Read or Write เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการอ่านหรือเขียน โดยการอ่านจากหนังสือ ตำรา อินเทอร์เน็ตในรูปอักษร การเขียนรายงาน การทำแบบฝึกหัดต่าง ๆ และ K: Kinesthetic เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการลงมือปฏิบัติ ชอบฝึกหัด สนุกที่จะลงมือทำ อาจเป็นในรูปสถานการณ์จำลองเสมือนจริง หรือสถานการณ์จริง

รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนแตกต่างกันไป ผู้เรียนแต่ละคนจะชอบวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปในการรับข้อมูลหรือความรู้ใหม่ ๆ เรียกว่า VARK learning preference อาทิเช่น บางคนเรียนรู้ได้ดีจากการดู บางคนจากการฟัง บางคนจากการอ่านหรือเขียน หรือบางคนเรียนรู้ได้ดีจากการลงมือปฏิบัติ อย่างไรก็ตามพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ชอบรูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้เช่น เห็นและทำ? ฟัง อ่านและเขียน เป็นต้น เรียกว่า Multimodals

สำหรับการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยการวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ตอนดังนี้ ตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบรูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ตอนที่ 2 ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อรูปแบบรูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1

ประชากรในการศึกษาได้แก่ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือ จำนวน 16 สัปดาห์ ระหว่างเดือนธันวาคม 2558 ถึงเดือนมิถุนายน 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 124 คน โดยคัดเลือกนักศึกษาทุกคนเป็นผู้ให้ข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเครื่องมือที่ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลต่อรูปแบบรูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 การสร้างเครื่องมือและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยศึกษาแนวคิดทฤษฎี ทบทวนเอกสาร ตำราที่เกี่ยวข้อง แนวคิดความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้แบบ VARK ร่างข้อคำถามให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์การวิจัยและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านเนื้อหา (Content validity) โดยนำเครื่องมือที่ได้เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านและปรับแก้ตามข้อเสนอแนะในรายละเอียดและ/หรือรายข้อที่ยังไม่ชัดเจน จากนั้นนำแบบสอบถามความคิดเห็นด้านการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่แผนกฝากครรภ์ไปทดลองใช้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่เคยฝึกทักษะที่แผนกฝากครรภ์มาก่อนจำนวน 30 คน นำแบบสอบถามที่ได้มาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.87 การรวบรวมข้อมูลในการวิจัยจะดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยแจกแบบสอบถามความคิดเห็นแก่นักศึกษาภายหลังสิ้นสุดการฝึกที่แผนกฝากครรภ์แล้วนำมาตรวจสอบความสมบูรณ์ในการตอบแบบสอบถามที่ครบถ้วน จากนั้นนำผลมาประเมินวิเคราะห์ทางสถิติเชิงบรรยาย (Descriptive statistics)

ซึ่งผลจากการวิจัยสามารถตอบวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ กิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติแผนกฝากครรภ์ รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ที่ครอบคลุม VARK learning style มีทั้งหมด 26 กิจกรรม แบ่งเป็นกิจกรรมด้านการดู (visual) 4 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 15.39 การฟัง (Aural) 5 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 19.23 การอ่าน/การเขียน 7 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 26.92 และการลงมือปฏิบัติ (kinesthetic) 10 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 38.46 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติเน้นการลงมือปฏิบัติมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การอ่านและการเขียน การฟัง และการดู ตามลำดับ รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบผสมผสานหรือMultimodal learning preference เพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสของนักศึกษาอย่างครบถ้วน

สื่อการเรียนการสอน ได้แก่ ใบงานแสดงบทบาทสมมติหญิงตั้งครรภ์ และ พยาบาลวิชาชีพ บทความวิจัยที่เกี่ยวข้องในระยะตั้งครรภ์ จำนวน 1 เรื่อง แบบฝึกหัดการคิดอายุครรภ์ การคาดคะเนกำหนดวันคลอด การคัดกรองภาวะเสี่ยง การเขียนบันทึกรายงานในบัตรอนามัยมารดา การอ่านผลการตรวจครรภ์ บทความภาษาอังกฤษการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตามไตรมาส แบบฝึกหัดการอ่านตำราภาษาอังกฤษเกี่ยวกับกระบวนการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ตามไตรมาสและแผนการสอนในคลินิก 2 เรื่อง ได้แก่ แนวทางการคัดกรองภาวะธาลัส? ซีเมียและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในหญิงตั้งครรภ์ และ มาตรฐานการดูแลในระยะตั้งครรภ์ตามองค์การอนามัยโลก

นักศึกษามีความคิดเห็นต่อกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติแผนกฝากครรภ์ รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ที่ครอบคลุม VARK learning style โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (mean= 4.53, S.D.= 0.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าความคิดเห็นด้านการลงมือปฏิบัติและด้านการดูมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (mean= 4.61, S.D.= 0.54, mean= 4.58, S.D.= 0.55 ตามลำดับ)? ?โดยด้านการอ่าน/การเขียนและการฟังมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (mean= 4.50, S.D.= 0.59, mean= 4.36, S.D.= 0.63 ตามลำดับ) โดยด้านการฟังมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นน้อยที่สุด อยู่ในระดับมาก (mean= 4.36, S.D.= 0.63)

จากผลการสังเคราะห์การวิจัยครั้งนี้ จะพบว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ VARK ทำให้นักศึกษารู้สึกสนุกกับบทเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้เมื่อฝึกภาคปฏิบัติและมีผลสัมฤทธิ์การเรียนที่ดี คณาจารย์สามารถนำข้อมูลที่ได้จากผลการวิจัยดังกล่าวมาออกแบบการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่ใช้ประสาทสัมผัสทั้งการอ่าน ฟัง ดูและลงมือทำเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจต่อบทเรียนได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาพยาบาลสามารถที่จะนำผลการสังเคราะห์งานวิจัยนี้ไปออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องการผู้เรียนที่เรียนรู้และคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตลอดจนการเรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นคุณสมบัติของบัณฑิตต่อไป

*********************************************

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

Blogged under KM ของ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช by admin on วันจันทร์ 22 สิงหาคม 2016 at 8:48 pm

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๓๐ ? ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

**************************************************

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางวิมล??????????????? อ่อนเส็ง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒. ดร.ดุจเดือน??????????? เขียวเหลือง?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. ดร.ประภาพร????????? มโนรัตน์????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔. ดร.ปฐพร?????????????? แสงเขียว???????? วิทยาจารย์ชำนาญการ
๕. นายอดุลย์????????????? วุฒิจูรีพันธุ์??????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นายบุญฤทธิ์??????????? ประสิทธิ์นราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗.นางอัญชรี?????????????? เข็มเพชร????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘.น.ส.วิไลวรรณ? ?????????บุญเรือง?????????พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๙. นายอิทธิพล??????????? แก้วฟอง????????? พยาบาลวิชาปฏิบัติการ

๑๐.นางสายฝน??????????? วรรณขาว???????????? พยาบาลวิชาชีพ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์
เปิดประชุมเวลา ๑๕.๓๐ น.

ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย???? การจัดการความรู้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinkingเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ โดยใช้ Reflective thinking ซึ่งภาควิชาฯได้มีการจัดอบรมเตรียมความพร้อมมาเป็นระยะเวลา ๑ ปี และมีการนำไปใช้ในระยะ ๑ เทอมการศึกษา และจากการนำไปใช้เห็นว่าควรมีการทบทวนเพื่อพัฒนาปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงานการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ

การจัดการความรู้ของภาควิชาฯได้ดังนี้

ขั้นที่ ๑ การแสวงหาความรู้

สร้างความเข้าใจ/ความกระจ่างในประเด็นสำคัญ โดยทบทวนความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน โดยมอบหมายให้อาจารย์ในภาควิชาฯ ที่มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน(อาจารย์ที่ผ่านการอบรมระยะสั้นตามหลักสูตร Reflective thinking) และมอบหมายให้อาจารย์ทุกคนในภาควิชาฯ ไปศึกษาเพิ่มเติม และนำเสนอในที่ประชุมภาควิชา

ขั้นที่ ๒ การวิเคราะห์ความรู้ โดยจัดเสวนาคณาจารย์ในภาควิชาเพื่อวิเคราะห์ความรู้ เช่น ความสอดคล้องตามการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑? ความสอดคล้องตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ? ความเป็นไปได้ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน

ขั้นที่ ๓ การสังเคราะห์ความรู้ ภาควิชาได้มีการสังเคราะห์ความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทางการพยาบาล? บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน? ปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน

ขั้นตอนที่ ๔ การสังเคราะห์ความรู้ ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะจากผู้มีประสบการณ์ตรง(tacit knowledge) ภาควิชาได้เชิญวิทยากรผู้มีประสบการณ์ตรงในการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์แก่คณาจารย์ในภาควิชา

ขั้นตอนที่ ๕ การสรุปประเด็นสาระที่ได้เพื่อนำมาเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (ที่ได้จากการสังเคราะห์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจากผู้มีประสบการณ์ตรง) ภาควิชาได้จัดเสวนาคณาจารย์เพื่อจัดทำแนวปฏิบัติที่ในการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน ดังนี้

๑.ทบทวน Learning?? Outcome ในรายวิชาที่รับผิดชอบ ที่สามารถใช้การสอนแบบ Reflective และจะสามารถตอบ LO ใน Domain ใดบ้าง

๒.จัดประชุมชี้แจงอาจารย์ผู้ร่วมสอนในรายวิชา ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking เพื่อทำความเข้าใจ โดยใช้แนวคิดของ Gibbs ประกอบด้วย

การคิดทบทวนประสบการณ์ ( Description)

การทบทวนความคิดความรู้สึก( Feelings)

การประเมินผลกระทบของเหตุการณ์( Evaluation )

การวิเคราะห์เหตุการณ์( Analysis)

การสร้างความเข้าใจใหม่( Conclusion )

การวางแผนการนำความรู้ใหม่ไปใช้ในอนาคต( Action plan)

๓.อาจารย์ฝึกสะท้อนคิด เพื่อทำความเข้าใจการเรียนการสอน? แบบ Reflective thinking

ได้แก่ ฝึกการกำหนดประเด็น / ตั้งคำถาม?? , ฝึกเขียนบันทึกการสะท้อนคิด , ฝึกการชี้ประเด็นการสะท้อนคิด

๔.อาจารย์ฝึกตรวจชิ้นงานการสะท้อนคิด และให้คะแนน เพื่อทำความเข้าใจก่อน การประเมินชิ้นงาน(Reflective writing)ของนักศึกษา

๕.กรณีนักศึกษาไม่สามารถตั้งคำถาม ตามระดับ(Bloom Taxanomy) อาจารย์อาจต้องมีเวลา ในการเตรียมนักศึกษาในการฝึกตั้งคำถาม อย่างน้อย ๒ ชั่วโมง ก่อนทำ Reflective thinking

๖.อาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาต้องมีการชี้แจงการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking กับนักศึกษา รวมทั้งแบบประเมินการเขียนสะท้อนคิด (Reflective writing)

๗.การทำ Reflective writingของนักศึกษา จากประสบการณ์ของ ดร.เชษฐา แก้วพรม พบว่านักศึกษาพยาบาลใช้เวลาในการเขียน ทั้ง ๖ ขั้นตอนของ Gibbs? ใช้เวลา ๔ ชั่วโมง?? อาจารย์ต้องออกแบบงานให้เหมาะสมกับเวลาที่สอน เช่น ในการฝึก ๔ สัปดาห์ อาจให้นักศึกษาทำ Reflective writing สัปดาห์ละ๑ ครั้ง

๘.ในการให้ข้อมูลย้อยกลับไม่ควรรอเป็นสัปดาห์ เพราะจะทำให้นักศึกษาลืมเหตุการณ์ที่ผ่านมา ไม่สามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ได้

๙.หลังจาก นักศึกษาทำ Reflective writing อาจารย์ต้องมีการให้ข้อมูลย้อนกลับนักศึกษาทุกครั้ง เพื่อพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดในระดับที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันอาจารย์ต้องให้กำลังใจนักศึกษาในการทำงานเพื่อเป็นการเสริมแรงในการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ ๖ การดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ดำเนินการ ภาควิชาได้ดำเนินการคัดเลือกรายวิชาที่จะใช้วิธีการสอนแบบสะท้อนคิด เพื่อนำไปทดลองใช้จำนวน ๓ รายวิชา

ผลที่ได้จากการเรียนรู้

ผลการประเมินจากอาจารย์ผู้สอน

๑.นักศึกษาคิดว่ามีประโยชน์ทำให้ทบทวนการทำงานในแต่ละวัน และทำอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาในครั้งต่อไป

๒. นักศึกษาได้ความรู้เพิ่มขึ้นจากคำถามที่ตนเองตั้ง และหาคำตอบด้วยตนเองเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่เข้าใจ

๓. นักศึกษาได้ฝึกตนเองในการจัดความคิดให้เป็นระบบ

ผลการประเมินจากนักศึกษา

๑.อาจารย์กำหนดประเด็นให้นักศึกษาเขียนช่วยให้นักศึกษามีขอบเขตในการเขียนบันทึกสะท้อนคิด

๒.ทำให้นักศึกษาได้กลับมามองตนเอง(Self awareness)ว่ามีจุดอ่อนในการทำงานในเรื่องใดและจะต้องพัฒนาตนเองในด้านใด

๓.นักศึกษาคิดว่าตัวเองคิดเป็นระบบ เป็นขั้นตอน เพิ่มมากขึ้น ไม่เหมือนกับการเขียนบันทึกในวิชาอื่นๆที่สะท้อนแค่ความรู้สึก

๔.ฝึกให้นักศึกษาต้องค้นคว้าความรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา ไม่เหมือนในห้องเรียนที่อาจารย์จะมีคำตอบให้ในห้องเรียน

๕.การเขียนบันทึกสะท้อนคิดช่วยให้อาจารย์ได้เข้าใจความรู้สึกของนักศึกษาและรู้ว่านักศึกษายังไม่รู้หรือไม่เข้าใจความรู้ในประเด็นอะไร

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

๑. จำนวนผู้เรียนไม่มากเกินไป ไม่ควรเกิน ๘ คน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทุกคนในกลุ่ม

๒. ผู้สอนควรมีความชัดเจนในวิธีการเขียนสะท้อนคิดตามระดับ?Bloom?s Taxonomy

๓. ผู้สอนควรแนะนำแหล่งค้นคว้าหลักแก่ผู้เรียน เช่น ตำราในห้องสมุด

ข้อเสนอแนะ

- ควรใช้การเรียนการสอนแบบ Reflective Thinking ในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ เพราะสัดส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษาจะมีความเหมาะสม และจัดการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสอนได้ดีกว่า

- หากต้องการใช้ในการเรียนการสอนภาคทฤษฎีที่มีนักศึกษาเป็นจำนวนมาก ควรอาสาสมัครอาจารย์ที่มีประสงค์จะจัดการเรียนการสอนเพื่อสะท้อนคิด (ควรใช้ผู้สอนเป็นกลุ่ม โดยคำนวณสัดส่วนผู้สอนต่อนักศึกษาให้เหมาะสม) เพื่อให้สามารถประเมินผลและสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ภายในระยะเวลา และเกิดความท้าทายต่อการทดลองวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดจนเสร็จสิ้นภาคการศึกษา (โดยที่ไม่ burn out ก่อนสิ้นภาคการศึกษา)

มติที่ประชุม รับทราบ และขอให้นำไปปรับใช้ในรายปฏิบัติการพยาบาลวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน ๑ และ ๒ วิชาปฏิบัติการพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพ ?วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีต่อไป

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

หน้าก่อนหน้าหน้าต่อไป
Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro