รายงานการประชุมกลุ่มงานบริหาร ครั้งที่ 2 / 2559
รายงานการประชุมกลุ่มงานบริหาร
ครั้งที่ 2 / 2559
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 59
ณ ห้องประชุมกาสะลอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
——————————
ผู้เข้าร่วมประชุม
1. นางสาวดุจเดือน เขียวเหลือง ตำแหน่ง รองผู้อำนายการกลุ่มงานบริหาร ประธาน
2. นายไพทูรย์ มาผิว ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ
3. นางสาววิไลวรรณ บุญเรือง ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาบุคลากรและความเสี่ยง
4. นางสาวนัยนา แก้วคง ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยบริการ
5. นางสาวนัดดา กอบแก้ว ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป
6. นางสาวสุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
7. นายนพณัฐ รุจิเรืองอนันต์ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
8. นางอรุณรัตน์ พรมมา ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
9. นายสืบตระกูล ตันตลานุกูล ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
10. นายภราดร ล้อธรรมมา ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
11. นางสาวจิราพร วิศิษฎ์โกศล ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
12. นางนงคราญ เยาวรัตน์ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน
13. นางสุกัญญา อุมรินทร์ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่การเงิน
14. นางสุพัตรา มากำเหนิด ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บัญชี
15. นางพิชญ์ชาภรณ์ มูลประโคนชัย ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัสดุ
16. นางสาวจุฑามาศ ประเสริฐ ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชี เลขานุการ
จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม
อาจารย์ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 100
เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 100
ผู้ไม่เข้าร่วมประชุม
ไม่มี
เริ่มประชุมเวลา 15.00 น.
วาระที่ 1. เรื่องที่ประธานแจ้งเพื่อทราบ
- ประธานแจ้งในที่ประชุมให้ทราบในเรื่องของการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณในไตรมาสที่ 1
- ความก้าวหน้าในการจัดทำการจัดการความรู้ของกลุ่มงานบริหาร โดยดำเนินการถึงขั้นตอนการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับระเบียบ, แนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด
มติที่ประชุม รับทราบ
วาระที่ 2. เรื่องรับรองรายงานการประชุม
รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 1/ 2559 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2559
มติที่ประชุม รับทราบ
วาระที่ 3. เรื่องสืบเนื่อง
งานการเงินได้นำประเด็นปัญหาที่ทำให้การเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามกำหนดไปหารือเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหากันภายในกลุ่มงานนั้นเรียบร้อยแล้ว
มติของกลุ่มงาน รับทราบตามที่งานการเงินเสนอ
วาระที่ 4. เรื่องเพื่อพิจารณา
การสร้างและแสวงหาความรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มงานบริหาร
- ประธานทบทวนประเด็นปัญหาและขอให้แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องการเร่งรัดการเบิกจ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบ
มติที่ประชุม จากการทบทวนประเด็นปัญหาในการแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกันในการประชุมครั้งที่ผ่านมา พบว่า ประเด็นปัญหาที่ทำให้การเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามกำหนด มีดังนี้
- การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
- เอกสารหลักฐานในการเบิกจ่ายไม่ครบถ้วน ทำให้การเบิกจ่ายล่าช้า
- ส่งหลักฐานยืมเงินราชการไม่เป็นไปตามกำหนด
- เอกสารประกอบการยืมเงินไม่ครบถ้วน
- ส่งใช้เงินยืมไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลา และหลักฐานการส่งใช้ไม่ครบตามจำนวนเงินที่ยืม
- ผู้ยืมเงินไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ คำสั่ง และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทำให้ปฏิบัติไม่ถูกต้อง
- ผู้ยืมเงินไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ/งานที่ขออนุมัติดำเนินการ
- ผู้ยืมเงินขออนุมัติยืมเงิน เมื่อใกล้ระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ ทำให้ได้รับเงินยืมไม่ทันวันที่ต้องดำเนินการตามแผน/โครงการ
- ผู้ยืมเงินประมาณการค่าใช้จ่ายและยืมเงินเกินความจำเป็น โดยนำเงินสดมาส่งคืนภายหลังเป็นจำนวนมาก หากปฏิบัติบ่อยครั้งแสดงถึงเจตนาจงใจนำเงินราชการไปใช้ก่อน
- การขออนุมัติเดินทางอย่างกระชั้นชิดผู้มีอำนาจอนุมัติไม่สามารถอนุมัติก่อนการเดินทางได้
- การเบิกค่าเช่าที่พักเกินสิทธิของตนเอง
- ใบเสร็จรับเงิน กากบัตรโดยสารเครื่องบิน หรือใบรับเงิน (Itinerary Receipt) สูญหายระหว่างการเดินทางไปราชการ
- บุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจ/ความชำนาญ/ความเชี่ยวชาญ ในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
และมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาตามระเบียบต่างๆที่ค้นคว้ามาประกอบ ซี่งในแต่ท่านต่างมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกับการศึกษาค้นคว้าตามระเบียบต่างๆ
- นางนงคราญ เยาวรัตน์ เจ้าพนังานการเงินและบัญชีชำนาญงาน ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานที่พบเห็นเป็นประจำเกี่ยวกับการแนวทางในการแก้ไขปัญหาการเบิกจ่ายเงินไม่เป็นไปตามกำหนด เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินนั้น ควรปฏิบัติตามรายละเอียดที่กำหนดในระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555, พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเรื่องค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526, ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 ส่วนที 4 เรื่องการจ่ายเงินยืม ดังนี้
ลำดับ | ประเด็นปัญหา | แนวทางการแก้ไข |
1 | การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด | มีการติดตามเร่งรัดกเบิกจ่ายให้เป็นไปตามไตรมาสที่กำหนดและแผนการใช้จ่ายงบประมาณดังนี้
ไตรมาสที่ 1 ร้อยละ 30 ไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 22 ไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 21 ไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 23 |
2 | เอกสารหลักฐานในการเบิกจ่ายไม่ครบถ้วน ทำให้การเบิกจ่ายล่าช้า | การจัดเตรียมเอกสารหลักฐานในการจัดซื้อ/จัดจ้าง ดังนี้
1. เอกสารในการสร้างหลักผู้ขาย (กรณีรายใหม่) จัดส่งอย่างละ 2 ชุด 1.1 บุคคลธรรมดา - สำเนาบัตรประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาสมุดหน้าบัญชีธนาคาร |
1.2 ร้านค้า
- สำเนาบัตรประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาหน้าบัญชีธนาคาร,สำเนาทะเบียนการค้า/พาณิชย์ |
||
1.3 นิติบุคคล
- หลักฐานผู้มีอำนาจ,ผู้รับมอบอำนาจ(สำเนาบัตรประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน) สำเนาหนังสือรับรองจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล, สำเนาภาษีมูลค่าเพิ่ม,สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร **ควรส่งก่อนจัดซื้อ/จัดจ้างอย่างน้อย 7 วันทำการ 2.เอกสารที่จัดส่งในการจัดซื้อ/จัดจ้าง 1) บันทึกขออนุมัติดำเนินการตามโครงการ 2) บันทึกรายงานขอความเห็นชอบจัดซื้อ/จัดจ้าง 3) สำเนาโครงการ 4) สำเนาหนังสือการโอนจัดสรรเงินประจำงวด 5) ใบเสนอราคา |
ลำดับ | ประเด็นปัญหา | แนวทางการแก้ไข |
6) ใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง
7) ใบส่งมอบงาน/ใบส่งของ ใบตรวจรับ 9) หนังสือขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน 10) กรณีวงเงินเกิน 5,000 บาท สำเนา หลักฐานจากระบบ e-GP 11) รูปภาพผลผลิตการจัดจ้าง/จัดซื้อ การดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้าง - ในแต่ละครั้งหากมีวงเงินตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป ขอให้ดำเนินการจัดซื้อ/ จัดจ้างในระบบอิเล็กทรอนิกส์(ระบบe-GP) - การจัดจ้าง จะต้องติดอากรแสตมป์ (1,000 บาท ต่ออากรแสตมป์ 1 บาท) - การจัดจ้าง ขอให้แจงรายละเอียดให้ครบถ้วนด้วย โดยกำหนดขอบเขตงานจ้างและปริมาณงานประกอบ - การจัดซื้อ ควรดำเนินการจัดซื้อก่อนดำเนินการ อย่างน้อย 3 วันทำการ
3. เอกสารที่ต้องส่งเบิกจ่ายในโครงการฝึกอบรม/สัมมนา 1. บันทึกขออนุมัติดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรมฉบับจริง 2. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้และการตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม,ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิด-ปิด การฝึกอบรม, ค่าวัสดุ เครื่องเขียนและอุปกรณ์, ค่าประกาศนียบัตร, ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์, ค่าหนังสือสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม, ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร เช่น อินเตอร์โรงแรม, ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆในการฝึกอบรม เอกสารฉบับจริงดำเนินการตามระเบียบพัสดุ 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ใบสำคัญรับเงินพร้อมสำเนาบัตรประชาชน หรือใบเสร็จรับเงิน, ลายเซ็นผู้เข้าร่วมอบรม 4. ค่ากระเป๋าหรือสิ่งที่ใช้บรรจุเอกสารสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม***เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินใบละ 300 บาท เอกสารฉบับจริงดำเนินตาม |
||
ลำดับ | ประเด็นปัญหา | แนวทางการแก้ไข |
ระเบียบพัสดุ
5. ค่าของสมนาคุณในการดูงาน***เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินแห่งละ 1,500 บาท เอกสารฉบับจริงดำเนินตามระเบียบพัสดุ 6. ค่าตอบแทนวิทยากร ใบสำคัญรับเงินสำหรับวิทยากร, หนังสือเชิญ} หนังสือตอบรับกรณีหน่วยงานตอบกลับในนามหน่วยงาน (ยกเว้นเอกชน), สำเนาบัตรประชาชน(ถ้ามี) 7. ค่าอาหาร ใบสำคัญรับเงินพร้อมสำเนาบัตรประชาชน หรือใบเสร็จรับเงิน, ลายเซ็นผู้เข้าร่วมอบรม 8. ค่าเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงิน, Folio 9.ค่ายานพาหนะ กรณีใช้รถยนต์ราชการ ใบขออนุมัติใช้รถยนต์ราชการ, ใบเสร็จค่าน้ำมัน, หนังสือขออนุญาตเดินทางไปราชการและออกนอกเขตจังหวัด/หนังสือขออนุมัติเดินทางไปราชการ, ใบเสร็จค่าทางด่วน 10. กรณีเดินทางโดยเครื่องบิน ใบเสร็จ, กากบัตรโดยสาร(บอดิ้งพาส) 11. กรณีเช่ายานพาหนะ เอกสารฉบับจริงดำเนินการตามระเบียบพัสดุ 12. กรณีเดินทางโดยรถส่วนตัว ค่าชดเชยการใช้พาหนะส่วนตัวกม.ละ 4 บาท (สำหรับวิทยากร) หนังสือขออนุมัติเดินทางไปราชการโดยรถยนต์ส่วนตัวจากต้นสังกัด (กรณีส่วนราชการ), แนบระยะทางตามการคำนวณของกรมทางหลวง 13. กรณีเดินทางค่าพาหนะรับจ้าง/รถไฟ/รถประจำทาง ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน(บก.111) |
||
3
4 |
ส่งหลักฐานยืมเงินราชการไม่เป็นไปตามกำหนด
เอกสารประกอบการยืมเงินไม่ครบถ้วน |
- ส่งหลักฐานการยืมเงินก่อนดำเนินการ อย่างช้า 5 วันทำการ
- ส่งหลักฐานประกอบการยืมเงินให้ครบถ้วน ได้แก่ สำเนาขออนุมัติดำเนินการ, สัญญายืมเงิน 3 ฉบับ, สำเนาโครงการ, กำหนดการประชุม/ตารางฝึกอบรม - หลักฐานเอกสารถูกต้อง ครบถ้วน จะเบิกจ่ายเงินยืมให้ ภายใน 3 วันทำการ |
ลำดับ | ประเด็นปัญหา | แนวทางการแก้ไข |
5 | ส่งใช้เงินยืมไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลา และ
หลักฐานการส่งใช้ไม่ครบตามจำนวนเงินที่ยืม |
- งบโครงการ/กิจกรรมส่งหลักฐานใช้เงินยืมภายใน 30 วันหลังจากที่ได้รับงิน , งบค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการภายใน 15 วัน หลังจากที่กลับมาถึงที่พัก
- จัดส่งหลักฐานใช้เงินยืมตามรายละเอียดที่ขอยืม - หากไม่สามารถส่งใช้ได้ตรงตามกำหนด ให้จัดทำบักทึกชี้แจงเหตุผล - หากไม่สามารถใช้จ่ายเงินยืมตามระยะเวลาที่กำหนดได้ ให้ส่งเงินยืมคืนพร้อมชี้แจงเหตุผล - กรณีเลยกำหนดระยะเวลาการส่งใช้เงินยืมคืน จะทำหนังสือแจ้งเตือน หรือหักเงินเดือน หรือคิดดอกเบี้ยผู้ที่ส่งเงินยืมล่าช้า และรายงานผู้บริหารเป็นระยะๆ |
6 | ผู้ยืมเงินไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ คำสั่ง และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทำให้ปฏิบัติไม่ถูกต้อง | - ควรจัดอบรมหรือให้ความรู้ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขออนุมัติยืมเงิน, การส่งใช้เงิน, บทลงโทษ และระเบียบที่เกี่ยวข้องให้แก่บุคลากรของวิทยาลัยหรือผู้ยืม
- การยืมเงิน ให้ผู้ยืมผ่านเรื่องขออนุมัติยืม เงินให้หัวหน้ากลุ่มงานเพื่อตรวจสอบรายละเอียดให้ถูกต้องก่อนเสนอ วิทยาลัยควรจัดทำคู่มือและแจกคู่มือการปฏิบัติงานเผยแพร่ กฎ ระเบียบ และขั้นตอนการปฏิบัติงานให้ผู้ยืมได้รับทราบ หรือเผยแพร่ทางเว็บไซด์ |
7 | ผู้ยืมเงินไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ/งานที่ขออนุมัติดำเนินการ | - เจ้าหน้าที่การเงินควรชี้แจงให้บุคลากรของวิทยาลัยหรือผู้ยืมได้รับทราบว่าผู้มีสิทธิ์ยืมเงินต้องเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาระงานที่ต้องยืม เช่นผู้เดินทางไปราชการ ฯลฯ |
8 | ผู้ยืมเงินขออนุมัติยืมเงิน เมื่อใกล้ระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ ทำให้ได้รับเงินยืมไม่ทันวันที่ต้องดำเนินการตามแผน/โครงการ | - ผู้ยืมเงินควรวางแผนการใช้เงินตั้งแต่ต้นปีงบประมาณและเสนอขออนุมัติดำเนินการ เมื่อได้รับอนุมัติแล้วให้รีบขออนุมัติยืมเงินไว้ล่วงหน้าก่อนเพื่อจัดซื้อจัดจ้างและดำเนินการได้ทันงานตามแผน |
ลำดับ | ประเด็นปัญหา | แนวทางการแก้ไข |
9 | ผู้ยืมเงินประมาณการค่าใช้จ่ายและยืมเงินเกินความจำเป็น โดยนำเงินสดมาส่งคืนภายหลังเป็นจำนวนมาก หากปฏิบัติบ่อยครั้งแสดงถึงเจตนาจงใจนำเงินราชการไปใช้ก่อน | - เมื่อผู้ยืมขออนุมัติยืมเงินเสนอโครงการ/กิจกรรมแล้วเจ้าหน้าที่การเงินหรือหัวหน้ากลุ่มควรตรวจสอบและเสนอตัดวงเงินให้ยืมเท่าที่จำเป็นและควรตั้งข้อสังเกตว่าผู้ยืมเงินรายใดที่เสนอเกินความจำเป็นบ่อยครั้ง เพื่อเพิ่มความระมัดระวังและหาแนวทางป้องกันและดำเนินการต่อไป |
10 | การขออนุมัติเดินทางอย่างกระชั้นชิดผู้มีอำนาจอนุมัติไม่สามารถอนุมัติก่อนการเดินทางได้ | - หากการเดินทางเร่งด่วนเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ จะโทรศัพท์ไปยังผู้มีอำนาจอนุมัติ เพื่อให้ความอนุเคราะห์ตรวจสอบ พิจารณาเรื่องดังกล่าวก่อน
- ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินแจ้งขอความร่วมมือจากผู้เดินทางในการเสนอขออนุมัติเดินทางก่อนการเดินทางทุกครั้ง เนื่องจากหากกระชั้นชิดจะไม่สามารถยืมเงินได้ทัน |
11 | การเบิกค่าเช่าที่พักเกินสิทธิของตนเอง | - เจ้าหน้าที่การเงิน ควรให้คำแนะนำสิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการแก่บุคลากร/เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน โดยมีการจัดประชุมพร้อมสอบถามปัญหาต่างๆ
- หากมีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยๆควรจัดทำหนังสือเวียนให้บุคลากรและ เจ้าหน้าที่ทุกคนทราบ เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง - ควรมีการจัดทำคู่มือการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ เพื่อใช้อ้างอิงในการทำงาน |
12 | ใบเสร็จรับเงิน กากบัตรโดยสารเครื่องบิน หรือใบรับเงิน (Itinerary Receipt) สูญหายระหว่างการเดินทางไปราชการ | - หากเอกสารสูญหายระหว่างการเดินทางไปราชการควรประสานกับบริษัทสายการบินหรือบริษัทตัวแทนจำหน่าย เพื่อขอสำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว รับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมคำรับรองจากผู้เดินทางไปราชการว่า “ยังไม่เคยนำฉบับจริงมาเบิกเงินจากทางราชการ แม้หากค้นพบในภายหลังก็จะไม่นำมาเบิกเงินจากทางราชการอีก” เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงิน หรือในกรณีที่ไม่สามารถขอสำเนา
หรือภาพถ่ายใบเสร็จรับเงิน บัตรโดยสารเครื่องบินหรือใบรับเงิน (Itinerary Receipt) ได้ให้ผู้เดินทางทำหนังสือรับรองการจ่ายเงิน โดยชี้แจงสาเหตุที่ใบเสร็จรับเงิน กากบัตรโดยสารเครื่องบิน หรือใบรับเงินนั้นสูญหาย และไม่อาจขอสำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารนั้นได้พร้อมทั้งให้ผู้เดินทางทำคำรับรองว่า “ยังไม่เคยนำฉบับจริงมาเบิกเงินจากทางราชการ แม้หากค้นพบในภายหลังก็จะไม่ |
ลำดับ | ประเด็นปัญหา | แนวทางการแก้ไข |
นำมาเบิกเงินจากทางราชการอีก” เสนอต่อผู้อำนวยการเพื่อพิจารณาอนุมัติ และเมื่อได้รับอนุมัติจากผุ้อำนวยการแล้ว สามารถใช้เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงินได้ | ||
13 | บุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจ/ความชำนาญ/ความเชี่ยวชาญ ในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ | -ควรจัดให้มีการอบรมผู้ปฏิบัติ งานด้านการเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อ ให้เกิดความชำนาญ และสามารถแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานได้ |
- นางสาวนัยนา แก้วคง หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยบริการ เสนอว่า ควรมีการรวบรวมปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มงานหรือบุคลากรของหน่วยงาน และนำมาลงในเว็บเช่น บอร์ด หรือถาม-ตอบ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติงาน ทำให้สามารถทราบถึงปัญหาของแต่ละคน
- นางสาววิไลวรรณ บุญเรือง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาบุคลากรและความเสี่ยง เสนอว่า เห็นควรให้มีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินกับบุคลากรในหน่วยงาน เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีและลดปัญหาความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน โดยกำหนดไว้ในปฏิทินการปฏิบัติงาน อย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินด้วย เช่น เสวนาระเบียบการเงินการคลัง / KM แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน
- นายภราดร ล้อธรรมมา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เสนอว่า ควรจัดบริการให้คำแนะนำ หรือบริการเป็นที่ปรึกษา หารือ ให้เจ้าหน้าที่ บุคลากร ที่ต้องการสอบถามวิธีการเบิกจ่ายเงิน พร้อมวิธีการเขียนเอกสารต่างๆทางด้านการเงินทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเบิกจ่ายเงิน และตอบข้อซักถามปัญหาการเบิกจ่ายเงินในกรณีที่ผู้เบิกสงสัย ไม่เข้าใจ เพื่อจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
-นายสืบตระกูล ตันตลานุกูล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เสนอว่า ควรจัดทำแบบฟอร์มตัวอย่างเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของกระบวนการเบิกจ่ายเงิน พร้อมกับคำอธิบายประกอบ โดยจัดทำเป็นคู่มือ โดยแสดงวิธีการเขียนให้ถูกต้อง เพื่อให้ผู้เบิกจ่ายได้ศึกษาเป็นตัวอย่าง เพื่อจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
- นางสาวนัดดา กอบแก้ว หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป เสนอว่า ควรจัดประชุม หรืออบรมเกี่ยวกับการเขียนเอกสารที่จะต้องใช้ประกอบการเบิกจ่ายเงิน โดยให้บุคลากรของหน่วยงานที่สนใจเข้ารับฟัง หรือเข้ารับการอบรม เพื่อรับทราบหลักเกณฑ์หรือระเบียบของการเขียนเอกสาร วิธีการในข้อนี้จะช่วยให้บุคลากรทุกท่านที่จะเป็นผู้เบิกจ่ายเงิน สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ
- นางสาวจุฑามาศ ประเสริฐ ได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและจากการเข้าประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนงานการเงินและบัญชี งานพัสดุ งานควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงวิทยาลัยในเครือข่ายภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 18/20 มกราคม 2560 ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์นั้น ผู้ตรวจสอบภายในได้ชี้แจงถึงรายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 หมวด ๒ ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ส่วนที่ ๑ ค่าใช้จ่ายของส่วนราชการที่จัดการฝึกอบรม มีใจความดังนี้
ข้อ ๘ โครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรมที่ส่วนราชการจัดหรือจัดร่วมกับหน่วยงานอื่น
ต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายตามระเบียบนี้ ให้ส่วนราชการที่จัดการฝึกอบรมเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมได้ ดังต่อไปนี้
(๑) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้และการตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม
(๒) ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิด – ปิด การฝึกอบรม
(๓) ค่าวัสดุ เครื่องเขียนและอุปกรณ์
(๔) ค่าประกาศนียบัตร
(๕) ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์
(๖) ค่าหนังสือสําหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
(๗) คาใช่ ้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร
(๘) ค่าเช่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการฝึกอบรม
(๙) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
(๑๐) ค่ากระเป๋าหรือสิ่งที่ใช้บรรจุเอกสารสําหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
(๑๑) ค่าของสมนาคุณในการดูงาน
(๑๒) ค่าสมนาคุณวิทยากร
(๑๓) ค่าอาหาร
(๑๔) ค่าเช่าที่พัก
(๑๕) ค่ายานพาหนะ
ค่าใช้จ่ายตาม (๑) ถึง (๙) ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ตามความจําเป็น เหมาะสมและประหยัด
ค่าใช้จ่ายตาม (๑๐) ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินอัตราใบละ ๓๐๐ บาท
ค่าใช้จ่ายตาม (๑๑) ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง แห่งละไม่เกิน ๑,๕๐๐ บาท
ค่าใช้จ่ายตาม (๑๒) ถึง (๑๕) ให้เบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์และอัตราตามที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้
ข้อ ๙ การฝึกอบรมบุคคลภายนอกให้จัดได้เฉพาะการฝึกอบรมในประเทศเท่านั้น
ข้อ ๑๐ บุคคลที่จะเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมตามระเบียบนี้ ได้แก่
(๑) ประธานในพิธีเปิดหรือพิธีปิดการฝึกอบรม แขกผู้มีเกียรติ และผู้ติดตาม
(๒) เจ้าหน้าที่
(๓) วิทยากร
(๔) ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
(๕) ผู้สังเกตการณ์
รายละเอียดดังกล่าวเป็นเพียงเนื้อหาบางส่วนที่ได้จากการค้นคว้าและการประชุม หากต้องการรายละเอียดมากกว่านี้ค้นหาได้จากเว็บไซด์ www.thaidental.net/web/data/userfiles/files/57-59_22555.pdf
การจัดการความรู้ เรื่องการเร่งรัดการเบิกจ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบ
มติที่ประชุม รับทราบและกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่าย คือ
- จัดประชุมหรืออบรมเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินให้บุคลากรในหน่วยงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- จัดทำแบบฟอร์มตัวอย่างเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายและทำ Work Flow ในแต่ละเรื่อง
- ให้บริการ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเบิกจ่ายที่ถูกต้องแก่บุคลากรในหน่วยงาน
- งานการเงินทำการตรวจสอบเอกสารให้เป็นไปตามระเบียบก่อนส่งอีกครั้ง
- เมื่อไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ให้งานการเงินทำบันทึกรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นเสนอต่อผู้บริหาร
และได้นำไปเผยแพร่ในเว็บบอร์ดของวิทยาลัย เพื่อให้บุคลากรได้ศึกษาและนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติในการเบิกจ่ายเพื่อให้เกิดความถูกต้องตามระเบียบและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
วาระที่ 5. เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ไม่มี
วาระที่ 6. เรื่องอื่น ๆ
ไม่มี
เลิกประชุมเวลา 16.30 น.
(นางสาวจุฑามาศ ประเสริฐ)
ผู้จดรายงานการประชุม
(นางสาวดุจเดือน เขียวเหลือง)
ผู้ตรวจรายงานการประชุม
ในกรณีที่ผู้ยืมเงินประมาณการค่าใช้จ่ายและยืมเงินเกินความจำเป็น โดยนำเงินสดมาส่งคืนภายหลังเป็นจำนวนมาก หากปฏิบัติบ่อยครั้งแสดงถึงเจตนาจงใจนำเงินราชการไปใช้ก่อนนั้น มีบางกรณีที่อาจารย์ผู้รับผิดชอบยืมเงินไปราชการเป็นกลุ่ม แต่พอภึงเวลาไปราชการจริง มีผู้ที่ยกเลิกการเดินทางไปราชการในครั้งนั้นซึ่งอาจจะติดภาระกิจอื่น ป่วย เวลาจ่ายจริงก็ต้องตัดค่าใช้จ่ายในการไปราชการของคนนั้นออก ทำให้จำนวนเงินที่ยืมมานั้นเกินและนำเงินสดไปคืนจำนวนมาก ดังนั้นก่อนเดินทางถ้ามีการยืนยันจำนวนคนที่ไปแล้วควรมีการบันทึกขอคืนเงินยืมที่เกินความจำเป็นนั้นก่อน พอจะเป็นไปได้ไหม
เห็นด้วยในประเด็นของการยืนยันจำนวนผู้ร่วมเดินทางก่อนการไปราชการ เพื่อควบคุมจำนวนเงินที่ยืมให้มีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง นอกจากนั้นแล้วในขั้นตอนของการเขียนบันทึกยืมเงินไปราชการ ควรได้รับการตรวจสอบเบื้องต้นจากเจ้าหน้าที่งานการเงินเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการยืมเงินแต่ละครั้งด้วย
เห็นด้วยกับการจัดอบรมและการจัดทำคู่มือ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขออนุมัติยืมเงิน, การส่งใช้เงิน, บทลงโทษ และระเบียบที่เกี่ยวข้องให้แก่บุคลากรของวิทยาลัยหรือผู้ยืมเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากร จะได้ลดการผิดพลาดด้านเอกสาร
จะเห็นว่าบางกรณีเกิดจากเจ้าหน้าที่การเงินปฏิบัติไม่ถูกต้อง บางกรณีเกิดจากผู้ยืมเงินปฏิบัติไม่ถูกต้อง บางกรณีเกิดจากกระบวนการปฏิบัติงานไม่ชัดเจนและ ไม่เอื้อต่อการทำงาน ทำให้ผู้ยืมได้รับเงินล่าช้า ซึ่งส่งผลต่อผลการดำเนินงานที่ผู้ยืมอาจต้องสำรองเงินส่วนตัวไปก่อน หรืออาจต้องเลื่อนระยะเวลาการจ่ายเงินให้ผู้เกี่ยวข้อง ฉะนั้นควรหาแนวทางแก้ไข ให้ผู้ปฏิบัติทุกฝ่ายดำเนินการได้ถูกต้องและเกิดประสิทธิภาพ ซึ่งปัญหาหลาย ๆ ด้าน อาจใช้แนวทางแก้ปัญหาแบบเดียวกันได้
การปฏิบัติงานด้านเงินยืมทดรองจ่าย เจ้าหน้าที่การเงินต้องเข้าใจว่าผู้ยืมต้องนำเงินที่ได้รับไปทดรองจ่ายในการดำเนินงานที่ยังไม่สามารถเบิกจากเงินงบประมาณหรือเงินรายได้ ฉะนั้นเพื่อให้ผู้ยืมสามารถปฏิบัติงานได้ทันเวลา เจ้าหน้าที่การเงินควรทำงานให้เป็นปัจจุบัน และหาแนวทางการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ส่วนหนึ่งที่เป็นเหตุทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า คือ การเขียนกิจกรรมโครงการที่ไม่สอดคล้องตามระเบียนหรือหลักเกณฑ์การเบิกจ่าย ทำให้ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ เป็นเหตุให้ต้องปรับแก้หรือปรับแผนงาน/โครงการ และการอนุมัติการเบิกจ่ายจึงล่าช้าไปด้วย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ผู้ปฏิบัติขาดความรู้ความเข้าใจในสาระปลีกย่อยที่แต่สำคัญ ดังนั้น วิธีการแก้ไขที่ควรกระทำ คือ ผู้รู้ นั้นก้หมายถึง เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ต้องรวบรวมข้อมูลปัญหาหรืออุปสรรคที่พบบ่อย และนำเสนอข้อมูลคืนสู่ผู้ปฏิบัติ พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจน จริงจัง เข้าถึงปัญหาและการปฏิบัตินั้นๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาต่อยอดไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนสืบไป
เห็นด้วยกับแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่าย เพื่อให้บุคลากรได้ศึกษาและนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติในการเบิกจ่ายเพื่อให้เกิดความถูกต้องตามระเบียบ ลดข้อผิดพลาดของเอกสารและนำไปสู่การปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน นอกจากนี้การจัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนเอกสารที่จะต้องใช้ประกอบการเบิกจ่ายเงินให้แก่บุคลากรทุกคน เนื่องจากระเบียบการเบิกจ่ายมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการเบิกจ่ายเงิน การจัดประชุมปีละ 1 ครั้ง จะช่วยให้บุคลากรทุกคนรับทราบหลักเกณฑ์หรือระเบียบของการเขียนเอกสาร ทำให้การเบิกจ่ายเงินทำได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ
ในการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า ส่วนมากเกิดจากหลักฐานที่ใช้ประกอบการเบิกจ่ายไม่ถูกต้องตามระเบียบราชการ ทำให้ดำเนินการเบิกจ่ายล่าช้า จะเป็นการดีมากถ้างานการเงินมีคู่มือ หรือแนวปฏิบัติให้สำหรับบุคลากรได้ศึกษาเพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้ถูกต้อง รวมถึงควรมีการจัดประชุมเพื่อทบทวนหรือให้ความรู้ใหม่แก่บุคลากรอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้งเพื่อให้มีการ update ความรู้ด้านการเบิกจ่ายให้เป็นปัจจุบัน
ควรจัดประชุมเพื่อทบทวนเพื่อให้ความรู้แก่อาจารย์ ้ข้าราชการ และบุคลากรสายสนับสนุนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งพร้อมยกตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา และแนวทางการพัฒนา หรือข้อปฏิบัติ หลักฐานการเบิกจ่ายที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมให้เป็นไปตามระเบียบปัจจุบัน
ควรมีการจัดทำแบบฟอร์มตัวอย่างเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายและทำ Work Flow ในแต่ละเรื่องใหชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้จริง ถูกต้องตรงกันทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ และมีการจัดประชุมชีิแจงแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ทดสอบการแสดงความคิดผ่านสมาร์ทโฟน
ควรมีการประชุมชี้แจง ให้ความรู้แก่คณาจารย์ในเรื่องระเบียบการเบิกจ่าย ตลอดจนระเบียบทางการเงินที่เกี่ยวข้องและที่เป็นปัจจุบันให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรให้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงานไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด
สิ่งที่น่าจะต้องทำความเข้าใจมากที่สุดคือเรื่องงานทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าระบียบที่เกี่ยวข้องต่างๆ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบควรสรุปประเด็นปัญหาที่บ่อยมากที่สุดจนถึงน้อยที่สุดแล้วจัดทำเป็นคู่มือเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียเวลาการปฏิบัติงานหลักอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดทำโครงการ รายละเอียดของกำหนดการเขียนอย่างไรจึงจะสามารถเบิกได้ตามระเบียบ ควรมีตัวอย่างให้ดูด้วยจะยิ่งดีมาก และควรมีการอัพเดทข้อมูลหรือชี้แจงเป็นระยะๆ เมื่อพบว่าเกิดปัญหาที่เหมือนกันซ้ำๆ
เห็นด้วยกับ อ.ภราดร เรื่อง การจัดประชุมเพื่อทบทวนเพื่อให้ความรู้แก่อาจารย์ ้ข้าราชการ และบุคลากรสายสนับสนุนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พร้อมยกตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา และแนวทางการพัฒนา หรือข้อปฏิบัติ หลักฐานการเบิกจ่ายที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมให้เป็นไปตามระเบียบปัจจุบัน และขอเพิ่มเติมเรื่องการจัดทำแนวทางอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และจัดทำเป็น note เก็บไว้ในไลน์กลุ่มงานการเงินที่เรามีอยู่แล้ว เพื่อจะได้เปิดดูได้ง่าย
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจตรงกัน ถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน ง่ายต่อการปฏิบัติเพื่อความมีประสิทธิภาพตามที่คาดหวัง อย่างไรก็ตาม หากมีแบบฟอร์มร่างแบบบันทึก รายงานต่างๆ เกี่ยวกับงานการเงินที่สอดคล้องกับ work Flow ที่ีสามารถเพิ่มเติม ปรับแก้ข้อมูล และ download ใช้ได้เลย จะเป็นการอำนวยความสะดวก ลดเวลา และอุปสรรคในเรื่องของรูปแบบเอกสาร รวมถึงภาษาที่เขียนให้มีความถูกต้อง
การมีแบบฟอร์มข้องกับทางการเงินที่สั้น กระชับ เข้าใจง่าย และ มีข้อมูลที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการเบิกจ่ายน่าจะช่วยให้งานรวดเร็วขีึ้นเพราะ อาจารย์เกี่ยวข้องกับการเงินไม่บ่อยนัก
แนวปฏิบัติโดยการจัดอบรมและการจัดทำคู่มือ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขออนุมัติยืมเงิน, การส่งใช้เงิน และระเบียบที่เกี่ยวข้องให้แก่บุคลากรของวิทยาลัยหรือผู้ยืมเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากร ปีละ 1 ครั้งจะทำให้บุคคลากรมความเข้าใจในขั้นตอนและกระบวนการทางการเงิเพิ่มมากขึ้น และลดความผิดพลาดในกระบวนการที่เกิดขึ้นได้