• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by dao on วันจันทร์ 22 สิงหาคม 2016 at 9:25 am

รายงานการประชุมภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล

ครั้งที่? 1/2559? วันที่ 8 กรกฎาคม 2559

เวลา 15.30 -16.30 น. ณ ห้อง 327 อาคารเรียน 3

รายชื่ออาจารย์เข้าประชุม

  1. นางสาวดวงดาว เทพทองคำ
  2. นายนภดล เลือดนักรบ
  3. นางสาวสุปราณี หมื่นยา

เปิดประชุมเวลา 15.30 น.

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

เรื่องที่ 1 การจัดการความรู้โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

เรื่องที่ 2 แนวทางการประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนานักศึกษาด้านการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

-

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง

3.1 ผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้าร่วมโครงการการจัดการความรู้ เรื่อง ?การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ : แก่นแท้หรือแค่เปลือก ระยะที่ ๒? ที่กำหนดไว้ในร่างกำหนดการ วันที่ 17 กรกฎาคม 255๘ ?โดยนางเพ็ญลักขณา ขำเลิศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชที่ 18 ตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและผู้เข้าร่วมการประชุม คือ พยาบาลพี่เลี้ยงแหล่งฝึกทุกแห่งทั้งโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้นำประเด็นสำคัญที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มามาปรับใช้โดยนำมาเป็นหัวข้อการสะท้อนคิดในการกิจกรรมโครงการเสริมหลักสูตร ซึ่งรูปแบบการสะท้อนคิดอาจารย์นภดล เลือดนักรบ ทำหน้าที่เป็นวิทยากรดำเนินการ ทั้งนี้จะสรุปไว้ในวาระเรื่องอื่นๆ ในท้ายสุดถึงขั้นตอนสรุปการดำเนินงาน

มติที่ประชุม : รับทราบ

ระเบียบงวาระที่ ๔ เรื่องหารือที่ประชุม

4.1 หารือที่ประชุมเรื่องการจัดการความรู้ในประเด็น แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยการวางแผนที่จะมีการจัดการความรู้เป็นระยะนับตั้งแต่ขั้นเตรียมการ? ขั้นสอน และขั้นประเมินผล ซึ่งจะเป็นการจัดการความรู้แบบวิเคราะห์การดำเนินการในรายวิชาทฤษฎีหลักการและเทคนิคการพยาบาล ตลอดจนการวางแผนในโครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์และการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาในวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล

มติที่ประชุม: เห็นด้วยที่จะมีการนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ในทุกระยะ และจากการดำเนินการกิจกรรมเสริมหลักสูตรในโครงการเตรียมความพร้อมฯ โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาลภาคทฤษฎี ทดลอง และภาคปฏิบัติ โดยในการประชุมครั้งนี้ ในระเบียบวารที่ 5 เรื่องอื่นๆ? จะเป็นการจัดการความรู้ร่วมกันระหว่างอาจารย์ในภาควิชาฯ เพื่อเป็นการวิเคราะห์และเชื่อมโยงจากการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ภาคทดลอง วิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล ไปยังการวางแผนในโครงการการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ต่อไป สรุปเป็นขั้นประเมินผลอีกครั้งเมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนการ

ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ

5.1 การจัดการความรู้เรื่อง แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

ขั้นตอนการดำเนินการ

  1. ขั้นเตรียมการ อาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ ?มีการวางแผนการจัดการเรียนกาสอน

เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้คู่กับแนวคิดการเอื้ออาทรต่อผู้อื่นด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ทำความเข้าใจผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการหลังเสร็จสิ้นการสอน

1.1?? ศึกษาและเลือกรูปแบบหรือเทคนิควิธีการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหา/สาระความรู้และกระตุ้นให้

ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นหรือใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา โดยทำความเข้าใจในรูปแบบหรือเทคนิควิธีการที่เลือกอย่างกระจ่างชัด? ในปีการศึกษา 2557 ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลได้นำวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ในรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาลและวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลเลือกวิธีการ VARK learning style มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฏี ใช้วิธีการสาธิตและสาธิตย้อนกลับ (Demonstration-Return Demonstration Method) ในการเรียนภาคทดลองในห้องปฏิบัติการ และการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ก่อนการเรียนภาคปฏิบัติ และใช้วิธีการศึกษาจากสถานการณ์จริง (authentic learning) ในการเรียนภาคปฏิบัติที่หอผู้ป่วย

1.2 เตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ โดยแบ่งเป็นภาคทฤษฎี ภาคทดลอง? การเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกภาคปฏิบัติในโครงการและการฝึกภาคปฏิบัติดังนี้

การเรียนการสอน/กิจกรรมเสริมหลักสูตร รูปแบบ/เทคนิควิธีการสอน สื่อ/อุปกรณ์
1. หลักการและเทคนิคการพยาบาล (ทฤษฎี) VARK learning style -VCD /เครื่องเสียง/ปากกา/กระดาษ/เอกสารประกอบการสอน
2. หลักการและเทคนิคการพยาบาล (ทดลอง) Demonstration-Return Demonstration Method -หุ่นจำลอง

-วัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์

-อาจารย์ผู้สอน

-แบบประเมินผล

3. โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ Panel Discussion

Game

Cooperative Learning

Team based Learning

Case Study analysis

-วิทยากร

-อาจารย์ภาควิชาฯ

-นักศึกษา

-อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นเกม

-ผู้ป่วยกรณีศึกษา

การเรียนการสอน/กิจกรรมเสริมหลักสูตร รูปแบบ/เทคนิควิธีการสอน สื่อ/อุปกรณ์
3. โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ Group Discussion

Story Telling

-รายงานผู้ป่วย (chart)

-VCD

4. ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล Case study

Authentic learning

-อุปกรณ์บนหอผู้ป่วย

-สถานการณ์บนหอผู้ป่วย

-อาจารย์/นักศึกษา

-ผู้ป่วยกรณีศึกษา/ผู้ดูแลผู้ป่วย

-พยาบาล

5. การจัดการความรู้เรื่อง การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ : - อาจารย์นภดล เลือดนักรบ

-ผู้เข้าร่วมจัดการความรู้

(น.ศ.ชั้นปีที่ 4 และอาจารย์)

1.3 วางแผน จัดลำดับและแบ่งช่วงกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ โดยอาจารย์ภาควิชาฯ มีการระบบการวางแผน จัดลำดับ และแบ่งช่วงกิจกรรม โดยการแจ้งระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมตามแผนที่ภาควิชาฯวางไว้ มอบให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบแต่ละรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรดำเนินการให้เรียบร้อย

1.4 การแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย เห็นว่าในแผนจัดการศึกษาการแบ่งกลุ่มนักศึกษาได้กำหนดไว้แล้วขอให้อาจารย์พิจารณาความเรียบร้อยอีกครั้ง สำหรับกลุ่มในการเรียนภาคทดลอง อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มผู้เรียนจำนวนเฉลี่ย 12 ?13 คน/กลุ่ม และมีการกระจายนักศึกษาที่มีผลการเรียนที่อยู่ในระดับดี ปานกลาง และพอใช้

2. ขั้นสอน อาจารย์ในภาควิชา ฯ เห็นควรดำเนินตามขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยขั้นตอน ขั้นนำสู่บทเรียน? ขั้นสอนเนื้อหา และขั้นประเมินผล

3. ขั้นประเมินผล? ในแต่ละการออกแบบการสอน จะกำหนดการประเมินผลไว้และจะต้องมีความสอดคล้องกับกิจกรรมการสอนและการออกแบบการเรียนรู้ที่ต้องมีการพัฒนาให้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม

สำหรับการจัดการความรู้ในปีการศึกษานี้ได้มีการดำเนินการโดยผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีทั้งนักศึกษา อาจารย์พยาบาล ดังนั้นจึงให้ที่ประชุมได้แสดงความเห็นในการเรียนรู้ใหม่หรือความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า ความรู้ใหม่ที่ได้รับและเกิดขึ้นเป็น Explicit Knowledge คือวงจรหรือกระบวนการการจัดการความรู้ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ว่าควรจะมีการดำเนินการแบบเป็นขั้นตอน ได้แก่ ๑)?? การกำหนดความรู้ ๒)?? การสร้างและแสวงหาความรู้ ???๓)??การจัดความรู้ให้เป็นระบบ ?๔)?? การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ?และ ๕) การเรียนรู้

สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติการสะท้อนคิด สามารถสรุปได้จากกิจกรรมการดำเนินการโดยใช้ขั้นตอนดังนี้

  1. การบรรยายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะจุดสำคัญที่ต้องการให้ผู้อื่นทราบ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนักศึกษาส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อการก้าวเข้ามาสู่วิชาชีพการพยาบาล มีความพร้อมในระดับปานกลางต่อการฝึกภาพปฏิบัติ แต่ขาดความมั่นใจ รู้สึกวิตกกังวลต่อการฝึกภาคปฏิบัติเพราะเป็นการให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยครั้งแรก
  2. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน? การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในบรรยากาศนักศึกษามีการแลกเปลี่ยนในประเด็นของแรงจูงใจและที่มาของการเป็นนักศึกษาพยาบาลซึ่งส่วนใหญ่มาเพราะเหตุผลอื่นๆ มีนักศึกษาประมาณร้อยละ 25 ที่มาจากความตั้งใจแต่แรกเริ่มแต่เมื่อเข้ามาเรียนภาคทฤษฎีได้ 1 ปี นักศึกษาสามารถที่จะปรับตัวและคิดว่าตนเองน่าจะผ่านพ้นการฝึกภาคปฏิบัติไปได้ด้วยดี
  3. การประเมินวิเคราะห์ประสบการณ์ร่วมกันว่าเป็นไปในทางบวกหรือในทางลบที่แตกต่างกันอย่างไร การวิเคราะห์ประสบการณ์ของนักศึกษาจากการเรียนภาคทฤษฎีและภาคทดลอง วิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาลที่ผ่านมาใน ภาคเรียนที่ 1 คิดว่าเป็นแรงเสริมทางบวกคือองค์ความรู้ที่มีจะช่วยให้การฝึกปฏิบัติประสบความสำเร็จได้ สำหรับในทางลบคือการขาดความมั่นใจ ความวิตกกังวลกลัวว่าตนเองจะกระทำผิดและทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่จะทำให้นักศึกษาเกิดความท้อใจก่อนการฝึกภาคปฏิบัติ
  4. วิเคราะห์สถานการณ์ว่าสิ่งใดที่เกิดขึ้นที่เป็นอุปสรรคและสิ่งใดที่จะสามารถนำมาปรับให้ดีขึ้น กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์และกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่นักศึกษาได้เข้าร่วมในโครงการการเตรียมความพร้อมการพยาบาลขั้นพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยการใช้หลักการสะท้อนคิดจะทำให้นักศึกษาสามารปรับไปใช้ได้เพราะโดยส่วนใหญ่ในระหว่างเพื่อนนักศึกษามีความรู้สึกไม่แตกต่างกันและคิดว่าตนเองไม่ได้มีใครแปลกแยกออกไปจากกลุ่มที่จะไม่มีความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลแก่ผู้ป่วย
  5. สรุปการเรียนรู้ที่ได้จากสถานการณ์ จากการได้เรียนรู้พบว่านักศึกษามีความมั่นใจเพิ่มขึ้นและมีแรงจูงใจที่จะสามาระให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยได้
  6. การวางแผนในการนำไปใช้ นักศึกษาสามารถตอบได้ถึงการนำแนวทางการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ไปใช้ในการดูผู้ป่วยโดยได้แนวคิดจากกระบวนการสะท้อนคิดที่อาจารย์เป็นผู้ดำเนินการ

มติที่ประชุม : ?เห็นตามที่จัดการความรู้ร่วมกัน

ปิดการประชุม : 16.30 น.

อาจารย์ประจำภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ

……..ดวงดาว? เทพทองคำ……..

(นางสาวดวงดาว เทพทองคำ)

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง มุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบโครงการในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1

Blogged under KM ของ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ by admin on วันศุกร์ 19 สิงหาคม 2016 at 4:10 pm

การสังเคราะห์งานวิจัย

เรื่อง

มุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบโครงการในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารก

และการผดุงครรภ์ 1

โดย

อ.ดร.วรรณวดี เนียมสกุลและคณะ

จากการสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง ?มุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบโครงการในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 โดย นางสาว วรรณวดี? เนียมสกุลและคณะ นับว่าเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาการเรียนการสอนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย เนื่องจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่แสดงถึงความรู้ความสามารถของคนสมัยก่อนที่ถ่ายทอดคุณค่าของความเป็นไทยสู่ลูกหลานทั้งด้านประเพณี ความเชื่อ วัฒนธรรมอันดีงามที่เกิดคุณค่าต่อชีวิตและสุขภาพ การให้นักศึกษาพยาบาลได้ค้นคว้าความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพของมารดาและทารกตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด จะทำให้นักศึกษาได้ตระหนักและซาบซึ้งถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทยและสามารถผสมผสานให้การดูแลแก่ผู้มารับบริการได้อย่างลงตัวเหมาะสมตลอดจนเกิดความภูมิใจในตนเองที่สามารถให้การดูแลผู้มารับบริการที่คำนึงถึงกายจิตสังคมอย่างครบถ้วนภายใต้ความสอดคล้องกับบริบทไทยที่มีความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน

การศึกษามุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธิการเรียนรู้แบบโครงการในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 นับว่าเป็นประโยชน์เนื่องจากกลุ่มนักศึกษาพยาบาลกลุ่มนี้เป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่สามที่จะต้องได้รับการพัฒนาทักษะเชิงวิชาชีพ ได้แก่ การทำงานเป็นทีม การวางแผน การค้นคว้าจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย การตัดสินใจ การคิดเชิงวิเคราะห์ การสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งการเรียนรู้แบบโครงการจะเป็นการช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

สำหรับการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological study) มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจต่อมุมมองและประสบการณ์ต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบโครงการในการบริการวิชาการที่บูรณาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ ของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ ๓ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ คัดเลือกนักศึกษาผู้ให้ข้อมูลจำนวน ๑๒ คนแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกคือ นักศึกษาตัวแทนแต่ละกลุ่มจำนวน ๗ กลุ่ม ๆ ละ ๑ คน โดยในแต่ละกลุ่มคัดเลือกผู้ที่เป็นหัวหน้าโครงการ ๑ คน และสมาชิก ๑ คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ (Interview guide) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ที่มีแนวคำถามสำหรับการทำอภิปรายกลุ่มจำนวน ๖ ข้อ ผู้วิจัยนำเครื่องมือที่ได้เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๓ ท่านและปรับแก้ตามข้อเสนอแนะ การรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการทำอภิปรายกลุ่ม (focus group) กับนักศึกษาพยาบาลผู้ให้ข้อมูลโดยใช้แนวคำถามที่เตรียมไว้ การทำอภิปรายกลุ่มทำการบันทึกเทปและถอดเทปคำต่อคำ จัดทำเป็นบทสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์แก่นเนื้อหา (Thematic analysis)

ซึ่งผลจากการวิจัยสามารถตอบวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้

นักศึกษาได้จัดทำโครงการและดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น ๑๒ โครงการ ได้แก่ น้ำสมุนไพรตามธาตุเจ้าเรือนบำรุงครรภ์ สร้างเสริมสุขภาพด้วยโยคะประกอบเพลงพื้นเมือง ยำผักกูดเสริมธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ นวดเท้าคลายเจ็บครรภ์ด้วยกลิ่นน้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะกรูดนวดบรรเทาปวดมารดาระยะคลอด ลูกกลิ้งบรรเทาปวดถุงนวดสมุนไพร เมี่ยงคำสมุนไพรบำรุงร่างกายคุณแม่หลังคลอด ลูกประคบสมุนไพรกระตุ้นการไหลของน้ำนม หญิงหลังคลอดน้ำนมดีด้วยหัวปลีลุยสวนและลูกประคบสมุนไพรคลายปวดหญิงตั้งครรภ์ในระยะคลอด โดยโครงการทั้งหมดครอบคลุมมิติทางการพยาบาลทั้งสี่ด้านตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การรักษาและการฟื้นฟูสภาพ อาทิเช่น โครงการยำผักกูดเสริมธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ ช่วยส่งเสริมสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์ให้มีภาวะโภชนาการที่ดี และป้องกันโรคโลหิตจาง ทำให้สุขภาพทั้งมารดาและทารกในครรภ์แข็งแรง? โครงการสร้างเสริมสุขภาพด้วยโยคะประกอบเพลงพื้นเมือง ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั้งขณะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด เป็นต้น

จากการอภิปรายกลุ่ม (focus group) นักศึกษาที่ผ่านประสบการณ์ในการบริการวิชาการที่บูรณาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ การศึกษาโครงการ พบว่านักศึกษามีมุมมองและประสบการณ์เกี่ยวกับการบริการวิชาการที่บูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบโครงการ แบ่งได้เป็นแก่นเนื้อหาหลัก (major themes) ๓ ประการได้แก่ ๑) ความรู้สึกที่มีต่อวิธีเรียนรู้แบบโครงการ ๒) ?สมรรถนะหลากหลายที่ได้จากโครงการ และ? ๓) ความตระหนักถึงความสำเร็จและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในโครงการ

จากผลการสังเคราะห์การวิจัยครั้งนี้ จะพบว่าการเรียนการสอนที่มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำโครงการที่ผสมผสานวิถีไทย ภูมิปัญญาไทยเข้ากับรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ โดยให้นักศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม ออกแบบ เขียนโครงการด้วยความร่วมมือของกลุ่ม ทำให้นักศึกษาได้พัฒนาผลการเรียนรู้ที่มุ่งหวังตามรายวิชาทั้ง ๖ ประการได้แก่ คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ? ดังจะเห็นได้จากผลวิจัยที่พบว่านักศึกษามีความรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทที่ได้รับผิดชอบในกลุ่ม เช่น การเป็นหัวหน้ากลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม มีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความเอื้ออาทร ใช้ความรู้ความสามารถที่ได้จากค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยี และสามารถถ่ายทอดความรู้อย่างมั่นใจ มีการบริหารงบประมาณ และสร้างสัมพันธภาพกับผู้มารับบริการจนบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เมื่อนักศึกษามีความรู้ และได้ฝึกทักษะการถ่ายทอดความรู้ผ่านการบริการวิชาการที่บูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น การได้ฝึกทักษะการถ่ายทอดความรู้ที่ผสมผสานภูมิปัญญาไทยแก่สตรีที่มารับบริการที่แผนกสูติกรรม โดยออกแบบกิจกรรมในแต่ละซุ้มอย่างสอดคล้องกับวิถีไทย ทำให้นักศึกษาเกิดสมรรถนะทางวัฒนธรรมที่จะเข้าใจถึงความหลากหลายของสตรีที่มารับบริการแม้จะอาศัยอยู่ในจังหวัดเดียวกัน?? เมื่อขึ้นไปฝึกปฏิบัติบนตึกผู้ป่วยทำให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างมั่นใจและเหมาะสมกับผู้มารับบริการที่มีความต่างทางวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี

คุณประโยชน์ที่ได้จากการศึกษามุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษาในการบริการวิชาการที่บูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบโครงการรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 สามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมได้ ทั้งนี้ผู้สอนควรมีการวางแผนด้านงบประมาณเพื่อให้การจัดทำโครงการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมสามารถดำเนินไปด้วยดี ทั้งนี้เพื่อสร้างเสริมผลการเรียนรู้แก่นักศึกษาพยาบาลให้ครบถ้วนตามหลักสูตรหรือรายวิชา

สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้ ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Blogged under KM -ของ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สุงอายุ by Naiyana Kaewkhong on วันจันทร์ 1 สิงหาคม 2016 at 12:05 pm

การนำเสนอสรุปผลการจัดการความรู้

ดูการนำเสนอ ที่นี่ —> แนวปฏิบัติ PBL

แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning : กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? Based Learning : PBL)

[ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4 : 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559]

แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning : กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหา เป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4 ได้พัฒนาขึ้นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ภายใต้กระบวนการจัดการความรู้ (KM) อย่างต่อเนื่อง ภายหลังการนำไปใช้จริงในการจัดการเรียนการสอน ครั้งที่ 2 รายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 เรื่อง การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โดยแนวปฏิบัติ ฉบับปรับปรุง มีรายละเอียด ดังนี้

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองอย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ ทั้งคิด ทำ ค้นคว้า แก้ปัญหา และสร้างสรรค์การเรียนรู้อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem?based Learning : PBL) คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา ? ? ? ?โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียนโดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด

ขั้นตอนการดำเนินการ

การดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ PBL แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 ? :? ? เตรียมการ

ขั้นเตรียมการนี้ถือว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญ ซึ่งการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ ?โดยการเตรียมการที่ต้องกระทำ ภายใต้การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของผู้สอน ได้แก่

1.? จัดทำคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL สำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้เรียน โดยมีหลักการ ดังนี้

1.1 คู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

1) คู่มือสำหรับผู้เรียน ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) และ 3) แบบประเมินหรือเครื่องต่างๆ ที่สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท และการเรียนรู้แบบ PBL

2) คู่มือสำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)? ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) 3) แบบประเมินหรือเครื่องมือต่างๆ สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท/เนื้อหา และการเรียนรู้แบบ PBL และ 4) เนื้อหาสาระหลัก/ที่จำเป็น สำหรับการอธิบายเชื่อมโยงหรือตอบโจทย์ปัญหา หรือ Triggers นั้นๆ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สอนทั้งนี้เพราะผู้สอนแต่ละคนมีความความรู้ ความเข้าใจ และลุ่มลึกในเนื้อหาสาระและประสบการณ์แตกต่างกัน ดังนั้น การที่ผู้สอนร่วมกันกำหนดเนื้อหาสาระที่จำเป็นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และนำกลับไปทบทวนอย่างจริงจัง ย่อมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ชัดเจน เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง เมื่อเข้ากลุ่มกับนักศึกษา

1.2 กระบวนการให้ได้มาซึ่งคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBLที่มีคุณภาพ ต้องมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ กระบวนการจัดทำแบบมีส่วนร่วมของทีมผู้ร่วมสอน ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วม????????????? จะช่วยสร้างความกระจ่างชัดในการกระทำ หรือเกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดแจ้ง มีทิศทาง/เข็มมุ่งเดียวกัน ????????????ทั้งแนวทางการปฏิบัติเชิงระบบและรายละเอียดปลีกย่อยในคู่มือ/การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ??????????????????ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีทางหนึ่งที่นำครูเข้าสู่ความเชี่ยวชาญมีมาตรฐานในการสอน

2.? สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดย Triggers ที่ดี ควรมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน ดังต่อไปนี้

2.1? สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning) ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ

2.2 ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน

2.3? มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ

2.4 มีเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้า ความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน เช่น เป็นเหตุการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน เหตุการณ์ร่วมสมัย เป็นต้น

2.5 ควรมีคำถามกระตุ้น (trigger question) เพื่อช่วยให้ tutor ใช้ในการถามกระตุ้นนักศึกษาให้คิดไปตามแนวทางหรือการอภิปรายดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้

2.6? ตรวจสอบคุณภาพของโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสร้างมาตรฐานของเครื่องมือ สำหรับการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

3. การสร้างสื่อวีดีทัศน์ (VDO) หรือการเลือกใช้สื่อวีดีทัศน์เรื่องการเรียนรู้แบบ PBL ที่เหมาะสม สำหรับนักศึกษาเพื่อการเรียนรู้กระบวนการ ขั้นตอน หรือแนวทางการเรียนรู้แบบ PBL อันจะนำไปสู่การกำหนดบทบาทของตนเอง การเตรียมตนเอง หรือการพัฒนาตนเองสู่เส้นทางการเรียนรู้???????????? ตามกระบวนการ PBL ให้บรรลุผลลัพธ์ของการเรียนรู้ตามที่ตั้งไว้

4.? เตรียมครู/ผู้สอน ดังนี้

4.1 สร้างความเข้าใจในขั้นตอน PBL และบทบาทของครู/ผู้สอนตามเจตนารมณ์ของการเรียนรู้แบบ PBL คือ ครู/ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษา (facilitator) ดังแนวคิดที่ว่า ?Teach less learn more?

4.2 ฝึกทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างต่อเนื่อง? รอบคอบ ต่อยอด เป็นระบบ

4.3 มีสัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

5.? เตรียมผู้เรียน ดังนี้

5.1? วางแผนแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม

1) ได้สัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

2) คละเด็กเรียนเก่ง-ปานกลาง-อ่อน ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน

5.2 ฝึกทักษะการอ่านและสรุปความจากเนื้อหาที่อ่าน ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่ง และนักศึกษาต้องใช้ตลอดการเรียนรู้แบบ PBL

5.3? ประชุมทีมครูผู้สอนเพื่อสร้างความเข้าใจในขั้นตอนและบทบาทของผู้เรียนตามกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL

5.4 สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู่แบบ PBL โดยการเน้นกระบวนการเสริมพลังการเรียนรู้ (Empowerment) แก่นักศึกษา ก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งนี้เพราะการ Empowerment จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งเสริมให้นักศึกษามีอิสระในการปฏิบัติและเรียนรู้ หรือปลดปล่อยความรู้สึกที่ถูกคุกคามจากการบีบบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ สิ่งที่น่าเบื่อ เป็นสิ่งที่ดึงดูด และน่าสนใจที่เข้าไปเรียนรู้

ขั้นที่2 :? ? การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)

ครู/ผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PBL 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ดังนี้

ระยะที่ 1 : เปิดโจทย์ปัญหา ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ? 5 ของ PBL ดังนี้

Step 1 : ?Clarifying terms and concepts ผู้เรียนทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์หรือสถานการณ์ทำความเข้าใจกับศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน

Step 2 : ?Identify the problem ผู้เรียนระบุปัญหาของโจทย์หรือสถานการณ์

Step 3 : ?Analyze the problem เรียนวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความเชื่อมโยงของปัญหา

Step 4 : ?Formulate hypotheses ผู้เรียนตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหาและจัดลำดับความสำคัญ

Step 5 : ?Formulating learning objective ผู้เรียนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา

ระยะที่ 2 : ศึกษาหาความรู้ เป็นขั้นตอนที่ 6 ของ PBL คือ

Step 6 : ?Collect additional information outside the group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่มโดยต่างคนต่างแยกย้ายกันหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ โดยในขั้นตอนนี้ แม้จะเป็นการให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง แต่ครู/ผู้สอนควรมีบทบาท????????????????? ที่สำคัญ คือ การกำกับและติดตามเพื่อให้นักศึกษาดำเนินการค้นคว้าอย่างเหมาะสม มีทิศทางการ??? หาคำตอบที่ถูกต้อง ตรงประเด็น จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและน่าเชื่อถือ

ระยะที่ 3: ปิดโจทย์ปัญหาเป็นขั้นตอนที่ 7 ของ PBL คือ

Step 7 : Synthesize and test the newly acquired and identify information generalization and? principles derived from studying? this problem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่สังเคราะห์ข้อมูล????????????? ที่ได้มา เพื่อพิสูจน์สมมติฐานและสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต

ขั้นที่3 :? ? ประเมินผล ประกอบด้วย

1. ปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน เพื่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้ และควรพิจารณาประเมินให้ครอบคลุม 360 องศา โดยปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน ประกอบด้วย

1.1 ด้านผู้เรียน อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ดังนี้

1.1.1 การประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนเพื่อนำข้อมูลวางแผนพัฒนาผู้เรียนตามกระบวนการ PBL อย่างต่อเนื่อง (formative evaluation)

1.1.2 การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแบบ PBL ได้แก่ 1) ความรู้ 2) ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการทำงานเป็นทีม และ 5) ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

1.2 ด้านครู/ผู้สอน จะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของครู/ผู้สอนในบทบาทที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

1.3 ด้านคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

1.4 โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (Triggers)

2. วิธีการวัดและประเมินผล โดยทีมผู้ร่วมสอนต้องร่วมกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับรูปแบบ/กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะวิธีเชิงคุณภาพ : การสะท้อนคิด (Reflection) จากการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะรูปแบบการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หรือการเขียนการเรียนรู้ ภายใต้คำถามกระตุ้นหรือนำสู่กระบวนการสะท้อนคิด ทั้งนี้ วิธีการประเมินผลแบบการสะท้อนคิดนั้น จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบ PBLและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผ่านการถ่ายทอดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลสู่การรับรู้ของบุคคลอื่น ซึ่งการสะท้อนคิด???????????? ทั้งรูปแบบการเขียนและการพูด จะเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษา/อาจารย์/ผู้สอนได้ทบทวนและตระหนักรู้ในความรู้สึก ความคิดของตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการตระหนักรู้ดังกล่าว ????????????จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในความเป็นไปของเหตุการณ์ ความเชื่อมโยงของเหตุการณ์ ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนแบบ PBL ให้มีคุณภาพต่อไป

ผลลัพธ์หลังเรียน PBL

การเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นจุดเริ่มต้น ก่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ ดังนี้

ดูผลลัพธ์หลังเรียน PBL ที่นี่—>?ผลลัพธ์หลังเรียน PBL

คณาจารย์ประจำภาควิชา

การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ผู้ถอดบทเรียน

29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๙ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันพฤหัส 28 กรกฎาคม 2016 at 1:33 pm

รายงานการประชุมการจัดการความรู้? ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๙

กลุ่มงานกิจการนักศึกษา? วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๐๐ ? ๑๖.๓๐ น.

ณ ห้องรองผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจการนักศึกษา

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาวนัยนา????? ??อินธิโชติ??????????? รองฯ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา??? (ประธาน)

๒.นางสาววราภรณ์???? ยศทวี? ???????????? ?หัวหน้าฝ่ายพัฒนานักศึกษา??????? (เลขานุการ)

๓.นางนิศารัตน์?????????? นาคทั่ง??? ??????????งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

๔.นางสาวพัชชา? ???????สุวรรณรอด ???????งานทุนการศึกษา

๕. นางสาวสุกัญญา???? ม่วงเลี้ยง???????? งานพัฒนานักศึกษา

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม ไม่มี

เริ่มประชุม ๑๕. ๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

-

วาระพิจารณาและหารือ

ประธานติดตามผลการดำเนินการใช้กรบวนการ PDCA ไปใช้ในการทำงานของงานพัฒนานักศึกษาและงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม? ขอให้ทุกคนช่วยกันเสนอประเด็นเพื่อกำหนดเป็นประเด็นการจัดการความรู้ ?การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาอย่างเป็นระบบ?? ที่ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีมติดังนี้

สรุปแนวปฏิบัติการนำระบบคุณภาพ PDCA ไปใช้ในการจัดกิจรรมพัฒนานักศึกษา

PDCA Cycle ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

P = Plan??????? หมายถึง การวางแผน

D = Do????????? หมายถึง การปฏิบัติตามแผน

C = Check????? หมายถึง การตรวจสอบ

A = Action????? หมายถึง การดำเนินการให้เหมาะสม

การวางแผน? (Plan: P) เป็นส่วนประกอบของวงจรที่มีความสำคัญ เนื่องจากการวางแผนจะเป็นจุดเริ่มต้นของงานและเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การทำงานในส่วนอื่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล การวางแผนเป็นการหาองค์ประกอบของปัญหา โดยวิธีการระดมความคิด การเลือกปัญหา การหาสาเหตุของปัญหา การหาวิธีการแก้ปัญหา การจัดทำตารางการปฏิบัติงาน การกำหนดวิธีดำเนินการ การกำหนดวิธีการตรวจสอบและประเมินผล ในขั้นตอนนี้สามารถนำเครื่องมือเบื้องต้นแห่งคุณภาพอื่นๆ มาใช้งานร่วมด้วย เช่น Flowchart, Brainstorming ฯลฯ ในขั้นนี้ดำเนินการดังนี้

1. ตระหนักและกำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไข หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยสมาชิกแต่ละคนร่วมมือ และประสานกันอย่างใกล้ชิดในการระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน เพื่อที่จะร่วมกัน? ทำการศึกษาและวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขต่อไป

2. เก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับการวิเคราะห์และตรวจสอบการดำเนินงานหรือหาสาเหตุ ของปัญหา เพื่อใช้ในการปรับปรุง หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งควรจะวางแผนและดำเนินการเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ ระเบียบ เข้าใจง่าย และสะดวกต่อการใช้งาน เช่น ตารางตรวจสอบ แผนภูมิ แผนภาพ หรือแบบสอบถาม เป็นต้น

3. อธิบายปัญหาและกำหนดทางเลือก วิเคราะห์ปัญหา เพื่อใช้กำหนดสาเหตุของความบกพร่อง ตลอดจนแสดงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งนิยมใช้วิธีการเขียนและวิเคราะห์แผนภูมิหรือแผนภาพ เช่น แผนภูมิก้างปลา แผนภูมิพาเรโต และแผนภูมิการควบคุมเป็นต้น เพื่อให้สมาชิกทุกคนในทีมงานคุณภาพเกิดความเข้าใจในสาเหตุและปัญหาอย่างชัดเจน แล้วร่วมกันระดมความคิด (Brainstorm) ในการแก้ปัญหา โดยสร้างทางเลือกต่างๆ ที่เป็นไปได้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา เพื่อมาทำการวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกที่เหมาะสมที่สุดมาดำเนินงาน

4. เลือกวิธีการแก้ไขปัญหา หรือปรับปรุงการดำเนินงาน โดยร่วมกันวิเคราะห์ และวิจารณ์ทางเลือกต่างๆ ผ่านการระดมความคิด และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิก เพื่อตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุดในการดำเนินงานให้สามารถบรรลุตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะต้องทำวิจัยและหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือกำหนดทางเลือกใหม่ที่มีความน่าจะเป็นในการแก้ปัญหาได้มากกว่าเดิม

สรุปเทคนิคการวางแผนที่ดีควรตอบคำถามต่อไปนี้

๑. ?มีอะไรบ้างที่ต้องทำ

๒. ใครทำ

๓. มีอะไรต้องใช้บ้าง

๔. ระยะเวลาในการทำงานแต่ละขั้นตอนเป็นเท่าใด

๕. ลำดับการท างานเป็นอย่างไร ควรทำอะไรก่อน อะไรหลัง

.๖. ?เป้าหมายในการกระทำครั้งนี้คืออะไร

การปฏิบัติตามแผน (Do: D) เป็นการลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ในตารางการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ สมาชิกกลุ่มต้องมีความเข้าใจถึงความสำคัญและความจำเป็นในแผนนั้นๆความสำเร็จของการนำแผนมาปฏิบัติต้องอาศัยการทำงานด้วยความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสมาชิก ตลอดจนการจัดการทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานตามแผนนั้นๆ ในขั้นตอนนี้ขณะที่ลงมือปฏิบัติจะมีการตรวจสอบไปด้วย หากไม่เป็นไปตามแผนอาจ จะต้องมีการปรับแผนใหม่ และเมื่อแผนนั้นใช้งานได้ก็นำไปใช้เป็นแผนและถือปฏิบัติต่อไป

สรุปเทคนิคขั้นตอนการปฏิบัติ

๑. ทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรก จะได้ไม่ต้องแก้ไขหรือรับผลเสียจากการกระทำที่ผิดพลาด

๒. ตรวจสอบทุกขั้นตอน หากพบข้อบกพร่องให้รีบแก้ไขก่อนที่ความเสียหายจะขยายเป็นวงกว้าง

การตรวจสอบ (Check: C) หมายถึงการตรวจสอบดูว่าเมื่อปฏิบัติงานตามแผน หรือการแก้ปัญหางานตามแผนแล้ว ผลลัพธ์เป็นอย่างไร สภาพปัญหาได้รับการแก้ไขตรงตามเป้าหมายที่กลุ่มตั้งใจหรือไม่ การไม่ประสบผลสำเร็จอาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น ไม่ปฏิบัติตามแผน ความไม่เหมาะสมของแผน? การเลือกใช้เทคนิคที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น

สรุปเทคนิคขั้นตอนการตรวจสอบ

๑. ตรวจสอบวิธีการและระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติจริง ว่าทำได้ตามแผนหรือไม่

๒. ตรวจสอบผล ที่ได้ว่าได้ตามเป้าหมายหรือไม่

๓.ตรวจสอบว่ามีข้อมูลอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นบ้าง

๔. รวบรวมและบันทึกข้อมูลที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และปรับปรุงให้ดีต่อไปสิ่งที่จะสามารถรู้ได้ว่าผลกับแผนที่ตั้งไว้แตกต่างกันอย่างไร

การดำเนินการให้เหมาะสม (Action : A) เป็นการกระทำภายหลังที่กระบวนการ 3 ขั้นตอนตาม

วงจรได้ดำเนินการเสร็จแล้ว ขั้นตอนนี้เป็นการนำเอาผลจากขั้นการตรวจสอบ C) มาดำเนินการให้เหมาะสมต่อไป

สรุปเทคนิคขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสม

๑. หลังจากตรวจสอบแล้ว ถ้าเราทำได้ตามเป้าหมาย ให้รักษาความดีนี้ไว้

๒. ?หากตรวจสอบแล้ว พบว่ามีข้อผิดพลาดไม่ว่าในขั้นตอนใดๆ ก็ตาม ให้หาสาเหตุและแก้ไขสาเหตุ

๓. ?หาทางปรับปรุง เพื่อให้การปฏิบัติครั้งต่อไปดีขึ้นกว่าเดิม

ที่ประชุมมีความเห็นว่า การดำเนินการและข้อสรุปจากผลการดำเนินการ?การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาอย่างเป็นระบบโดยใช้กระบวนการ PDCA?? ?น่าจะนำมาใช้ในการปฏิบัติงานของทุกงานในกลุ่มงาน? จึงขอให้ทุกงานนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน และสรุปผลการใช้? เพื่อนำไปกำหนดเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการทำงานของกลุ่มงานต่อไป

ระเบียบวาระที่ ๒ ?รับรองรายงานการประชุม

ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา

ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.

ลงชื่อ ………….วราภรณ์? ยศทวี………ผู้บันทึกการประชุม

(นางสาววราภรณ์?? ยศทวี)

ลงชื่อ ……………..นัยนา? อินธิโชติ ……..ประธานการประชุม

(นางสาวนัยนา? อินธิโชติ)

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๑ / ๒๕๕๙ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันพฤหัส 28 กรกฎาคม 2016 at 1:32 pm

รายงานการประชุมการจัดการความรู้? ครั้งที่ ๑ / ๒๕๕๙

กลุ่มงานกิจการนักศึกษา? วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๓๐ ? ๑๖.๓๐ น.

ณ ห้องรองผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจการนักศึกษา

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาวนัยนา?????? ?อินธิโชติ??????????? รองฯ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา??? (ประธาน)

๒.นางสาววราภรณ์???? ยศทวี? ???????????? ?หัวหน้าฝ่ายพัฒนานักศึกษา??????? (เลขานุการ)

๓.นางนิศารัตน์?????????? นาคทั่ง??? ??????????งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

๔.นางสาวพัชชา? ???????สุวรรณรอด ???????งานทุนการศึกษา

๕. นางสาวสุกัญญา???? ม่วงเลี้ยง???????? งานพัฒนานักศึกษา

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม ไม่มี

เริ่มประชุม ๑๕. ๓๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

ประธานแจ้งเรื่อง ??สืบเนื่องจากงานการประกันคุณภาพการศึกษา? แจ้งว่า ให้แต่ละกลุ่มงานต้องมีการการจัดการความรู้เกี่ยวกับงานของแต่ละกลุ่มงาน ???เพื่อให้การปฏิบัติตามภารกิจของกลุ่มงานกิจการนักศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาความรู้ของทีมงาน? โดยอาศัยการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ????????????????ซึ่งกลุ่มงานกิจการนักศึกษาจะได้ดำเนินการ เพื่อรวบรวมความรู้ที่มีคุณค่า และดำเนินต่อการปฏิบัติงานทั้งความรู้ที่อยู่ในรูปของเอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน และความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลมาประมวลกลั่นกรองจัดเป็นระเบียบให้ทีมงานสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะน าไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) ต่อไป

ดังนั้นจึงขอให้ทุกคนช่วยกันกำหนดประเด็นที่กลุ่มงานน่าจะนำมาสู่การจัดการความรู้ของกลุ่มงานเพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีในการทำงาน

วาระเพื่อพิจารณา

ประธานขอให้ทุกคนช่วยกันเสนอประเด็นเพื่อกำหนดเป็นประเด็นการจัดการความรู้ของกลุ่มงาน มีข้อเสนอจากแต่ละงาน และสรุปประเด็นที่สนใจในการจัดการความรู้ของกลุ่มงาน ดังนี้

๑. การทำงานเป็นทีม

๒. กระบวนการกู้ยืมยืมเงินกองทุนเพื่อการศึกษา

๓. การทำงานอย่างเป็นระบบ

กลุ่มงานเสนอหัวข้อการจัดการความรู้จำนวน 3 หัวข้อ ที่ประชุมมีมติเลือกเพื่อดำเนินการจัดการความรู้ของกลุ่มงานกิจการนักศึกษา ในปีการศึกษา ๒๕๕๘ คือ? การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาอย่างเป็นระบบ

ประธานให้ที่ประชุมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการทำงานอย่างเป็นระบบ? ระบบการทำงานที่ดี ควรเป็นอย่างไร

ระบบการทำงานที่ดีนั้นควรจะเป็นอย่างไร

อ. นัยนา เสนอว่า? ?ต้องมีขั้นตอนชัดเจน สามารถระบุเป็นขั้นตอนการทำงานมาตรฐานได้ว่ามีกี่ขั้นตอนหลัก ต้องทำกิจกรรมอะไรก่อน-หลัง แต่ละขั้นตอนมีวิธีการทำงานอย่างไร แยกแยะได้ว่าอะไรเป็น input ? process ? output ของระบบ

อ. นิศารัตน์ เสนอว่า ระบบการทำงานที่ดี ควรจะสามารถทำซ้ำได้ ระบบที่ดีต้องนำมาใช้ได้อีก ถ้าเป็นงานลักษณะเดียวกันต้องสามารถใช้วิธีการทำงานที่เป็น? มาตรฐานเดียวกันได้ ให้ใครมาทำซ้ำก็จะได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด

อ. วราภรณ์ เสนอว่า ต้องสามารถทบทวนตรวจสอบได้ หากต้องมีการพิจารณาทบทวน ตรวจสอบข้อผิดพลาด ระบบที่ดีควรจะต้องสืบค้นย้อนหลังได้ สามารถนำกลับมาดูใหม่ เพื่อปรับปรุงแก้ไขในจุดบกพร่องได้

อ. สุกัญญา ?เสนอว่า ต้องประเมินผลได้ เพราะจะได้รู้ว่าผลของการทำงานเป็นอย่างไร? ดีขึ้นแล้วหรือยัง ระบบที่ดีควรจะต้องมีเกณฑ์การวัดผลประเมินผลว่าแบบไหนดีไม่ดี อะไรคือผ่านไม่ผ่าน

อ พัชชา เสนอว่า การทำงานอย่างเป็นระบบ ควรมีการนำกระบวนการ PDCA มาใช้ ก็จะทำให้มีกระบวนการทำงานที่ดี? สามารถตรวจสอบได้และวางแผนได้

ที่ประชุมกำหนดระบบการทำงานของกลุ่มงานฯ โดยเริ่มที่งานพัฒนานักศึกษาก่อน ในหัวข้อ ?การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาอย่างเป็นระบบ? ?โดยสรุปเป็นขั้นตอนการดำเนินงานโดยใช้ กระบวนการ PDCA ดังนี้

เทคนิคของ PDCA แต่ละขั้นตอน

1. เทคนิคการวางแผน P

การวางแผนที่ดี ควรตอบคำถามต่อไปนี้ได้มีอะไรบ้างที่ต้องทำใครทำมีอะไรต้องใช้บ้างระยะเวลาในการทำงานแต่ละขั้นตอนเป็นเท่าใดลำดับการทำงานเป็นอย่างไร ควรทำอะไรก่อน-หลังเป้าหมายในการกระทำครั้งนี้คืออะไร

2. เทคนิคขั้นตอนการปฏิบัติ D

ทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรก จะได้ไม่ต้องแก้ไข หรือรับผลเสียจากการกระทำที่ผิดพลาด ตรวจสอบทุกขั้นตอน หากพบข้อบกพร่องให้รีบแก้ไขก่อนที่ความเสียหาย จะขยายเป็นวงกว้าง

3. เทคนิคขั้นตอนตรวจสอบ C

ตรวจสอบวิธีการและระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติจริง ว่าทำได้ตามแผนหรือไม่ตรวจสอบผล ที่ได้ว่าได้ตามเป้าหมายหรือไม่

4. เทคนิคขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสม A

หลังจากตรวจสอบแล้ว ถ้าเราทำได้ตามเป้าหมาย ให้รักษาความดีนี้ไว้ หากตรวจสอบแล้ว พบว่ามีข้อผิดพลาดไม่ว่าในขั้นตอนใดๆ ก็ตาม ให้หาสาเหตุและแก้ไขสาเหตุหาทางปรับปรุง เพื่อให้การปฏิบัติครั้งต่อไปดีขึ้นกว่าเดิม

การใช้งานวงจร PDCA

PDCA เพื่อป้องกัน

การนำวงจร PDCA ไปใช้ ทำให้ผู้ปฏิบัติมีการวางแผน การวางแผนที่ดีช่วยป้องกันปัญหาที่ไม่ควรเกิด ช่วยลดความสับสนในการทำงาน ลดการใช้ทรัพยากรมากหรือน้อยเกินความพอดี ลดความสูญเสียในรูปแบบต่างๆการทำงานที่มีการตรวจสอบเป็นระยะ ทำให้ การปฏิบัติงานมีความรัดกุมขึ้น และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วก่อนจะลุกลาม มากยิ่งขึ้นการตรวจสอบที่นำไปสู่การแก้ไขปรับปรุง ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วไม่เกิดซ้ำ หรือลดความรุนแรงของปัญหา ถือเป็น การนำความผิดพลาดมาใช้ให้เกิดประโยชน์

PDCA เพื่อแก้ไขปัญหา

ถ้าเราประสบสิ่งที่ ไม่เหมาะสม ไม่สะอาด ไม่สะดวก ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ประหยัด เราควร แก้ปัญหาการใช้ PDCA เพื่อการแก้ปัญหา ได้แก่ การทำ C-PDCA คือ ตรวจสอบก่อน ว่ามีอะไรบ้างที่เป็นปัญหา เมื่อหาปัญหาได้ ก็นำมาวางแผนเพื่อดำเนินการตามวงจร PDCA ต่อไป

PDCA เพื่อการปรับปรุง

PDCA เพื่อการปรับปรุง คือไม่ต้องรอให้เกิดปัญหา แต่เราต้องเสาะแสวงหาสิ่งต่างๆหรือวิธีการที่ดีกว่าเดิมอยู่เสมอ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมเมื่อเราคิดว่าจะปรับปรุงอะไร ก็ให้ใช้วงจร PDCA เป็นขั้นตอนในการปรับปรุง ข้อคิดสำคัญ ต้องเริ่ม PDCA ตัวเองก่อนมุ่งไปที่คนอื่น

ที่ประชุมมีมติให้ งานพัฒนานักศึกษาและงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม? ดำเนินการจัดกิจกรรม/โครงการต่างๆ โดยใช้กระบวนการ PDCA? ในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เพื่อจะนำมาสรุปเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานของแต่ละงานต่อไป

ระเบียบวาระที่ ๒ ?รับรองรายงานการประชุม

ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา

ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.

ลงชื่อ …………..วราภรณ์ ?ยศทวี….ผู้บันทึกการประชุม

(นางสาววราภรณ์?? ยศทวี)

ลงชื่อ ……………..นัยนา? อินธิโชติ……..ประธานการประชุม

(นางสาวนัยนา? อินธิโชติ)

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2559 ณ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Blogged under KM ของ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ by admin on วันอังคาร 26 กรกฎาคม 2016 at 2:46 pm

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2559

ณ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

**************************************************

รายนามผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. นางสาว วรรณวดี เนียมสกุล????????? ??พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ??????? ????????? ประธาน

2. นางสาว สุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์?????? ??พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

3. นางสาวจิราพร วิศิษฎ์โกศล???????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

4.นางภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

5. นางผ่องศรี พุทธรักษ์???????????? ?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

6. นางสาวพัชชา สุวรรณรอด?? ????????? ?พยาบาลวิชาชีพ

7. นางสาวสุกัญญา ม่วงเลี้ยง???????????? ??พยาบาลวิชาชีพ?????????????????????? ??? ????????? เลขานุการ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็น ร้อยละ 100

เปิดการประชุมเวลา 13.30 น.

ประธานการประชุม นางสาววรรณวดี เนียมสกุล????????? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

1. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัย

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2558 โดยประเด็นความรู้และเป้าหมาย การจัดการความรู้ ยังคงเป็นประเด็นเดิม ซึ่งต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2557 คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ?กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน? สำหรับอาจารย์พยาบาล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ขององค์ความรู้ในประเด็นดังกล่าวและมีการติดตามการนำแนวปฏิบัติที่ได้ไปใช้เพื่อนำมาปรับปรุงแนวปฏิบัติที่ดีให้มีความครอบคลุมต่อไป

2. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ของภาควิชา

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2558 โดยใช้ประเด็นเดิมที่ต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2557 คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ?กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน? ดังนั้น ภาควิชาการ จึงยึดถือตามประเด็นการจัดการความรู้และเป้าหมายของภาควิชาเดิม คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะขอความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประสบการณ์ตามประเด็นดังกล่าวเมื่อนำแนวปฏิบัติที่ดีที่ปรับปรุงเพิ่มเติมไปเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ไปใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงายการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ

1. การจัดการความรู้ของภาควิชา

ประธานได้ดำเนินการขอความร่วมมือคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ได้ร่วมกันแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ จากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน มาใช้ในการจัดการเรียนการ สำหรับ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 เรื่อง การรวบรวมข้อมูลจากการซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่โดยการแสดงละคร บทบาทสมมติ การเป็นพยาบาลวิชาชีพในแผนกฝากครรภ์และหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ปีการศึกษา 2558 โดยอาจารย์ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะของตนเองอย่างกว้างขวาง สามารถถอดบทเรียน ดังนี้

1.1 สรุปผลการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดี ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน? พบว่า ขั้นตอนการดำเนินการ ประกอบด้วย ??3 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นแสดงละคร และ 3)? ขั้นสรุปและประเมินผล และในแต่ละขั้นตอนย่อยๆ ของขั้นตอนหลักนั้น โดยภาพรวม อาจารย์ผู้ร่วมสอนแบบ Didactic ที่ใช้ละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน เห็นว่า มีความชัดเจน เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดีได้ (แนวปฏิบัติที่ดี: การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน [สรุปแนวปฏิบัติที่ดีวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙)

1.2 รายละเอียดข้อค้นพบปลีกย่อยเพิ่มเติมจาก ข้อ 1 ในขั้นที่ 1 : เตรียมการ พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการแสดงบทบาทสมมติคือการมีใบงานที่ชัดเจนที่ชี้แจงบทบาทของผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพและผู้แสดงเป็นหญิงตั้งครรภ์ การมีคู่มืออาจารย์ประกอบการดำเนินการ การเตรียมชุดคำถามสำหรับการซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่อย่างครอบคลุมและพบว่าการกำหนดประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตให้มีความหลากหลายมากขึ้นเพื่อให้นักศึกษาผู้แสดงบทบาทเป็นพยาบาลวิชาชีพได้ฝึกทักษะการตั้งคำถามเกี่ยวกับการแท้งหรือการผ่าตัดคลอดอย่างละเอียด ซึ่งในส่วนนี้ คณาจารย์ในภาควิชาฯ ได้ร่วมกันแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตจนได้ประวัติการแท้งและผ่าตัดคลอดและนำไปใช้ในการสอนในช่วง Preclinic แผนกฝากครรภ์ก่อนฝึกปฏิบัติจริง พบว่านักศึกษาผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพสามารถซักประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตได้หลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตามในขั้นตอนที่ 3 คือขั้นสรุปและประเมินผล ช่วงของการสะท้อนคิดภายหลังจากแสดงละครโดยการให้นักศึกษาเขียนบรรยายความรู้สึกที่มีต่อการแสดงละครบทบาทสมมติยังมีสิ่งที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถประเมินการเรียนรู้จากการแสดงละครว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่โดยในขั้นตอนที่ 3 ควรมีการกำหนดรูปแบบการสะท้อนคิดเชิงสร้างสรรค์ในหัวข้อเดียวกันให้เป็นกรอบรูปแบบเดียวกันเป็นแบบฟอร์มให้แก่นักศึกษา กล่าวคือผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพ (RN) ชื่นชมตนเองอย่างไรบ้างและควรเติมเต็มในเรื่องใด ผู้แสดงเป็นหญิงตั้งครรภ์ (Preg.) ชื่นชมตนเองอย่างไรบ้างและควรเติมเต็มในเรื่องใด นักศึกษาผู้สังเกตการณ์ชื่นชมผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพ (RN) และ ผู้แสดงเป็นหญิงตั้งครรภ์ (Preg.) ในประเด็นใด และควรเติมเต็มในเรื่องใดบ้างดังแบบฟอร์มสะท้อนคิดจากการชมละครที่กำหนดให้ดังนี้

แบบฟอร์มสะท้อนคิดจากการชมละคร

คำชี้แจง: ภายหลังชมละครบทบาทสมมติเสร็จสิ้นให้นศ. เขียนสะท้อนคิดเชิงสร้างสรรค์ว่ารู้สึกชื่นชมหรือต้องการเติมเต็มในประเด็นใดแก่ผู้แสดงบทบาทที่ได้รับลงในช่องว่างที่กำหนดให้ ทั้งนี้ให้ประเมินตามบทบาทที่ได้รับของตนเอง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ (RN), หญิงตั้งครรภ์ (Preg.) หรือผู้สังเกตการณ์ (observer)

ข้าพเจ้า นางสาว/นาย……………………………………….รับผิดชอบแสดงบทบาทเป็น…………………………………ขอสะท้อนคิดเชิงสร้างสรรค์ต่อการชมละครบทบาทสมมติดังต่อไปนี้

ชื่นชม เติมเต็ม

RN??????????????????????????????????????????????????????????? RN

Preg.???????????????????????????????????????????????????????? Preg

นอกจากนี้ควรมีการติดตามและประเมินผลจากการฝึก Pre-Clinic ANC สู่การนำไปฝึกปฏิบัติจริงที่ Word มากน้อยเพียงใดโดยการจัดทำแบบสอบถามหลังการฝึกภาคปฏิบัติในแผนกฝากครรภ์ และในการจัดทำแผนนิเทศครั้งต่อไปควรเพิ่มเติมการแสดงบทบาทสมมุติการออกกำลังกายตามไตรมาสของหญิงตั้งครรภ์โดยให้สวมชุดจำลองการตั้งครรภ์ และร่วมกันพิจารณาว่าท่าการออกกำลังกายท่าใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไตรมาสต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้และสามารถนำไปให้คำแนะนำด้านการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามไตรมาสต่อไป

มติที่ประชุม รับรองการสรุปผลการถอดบทเรียนเพิ่มเติม และให้นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ สำหรับนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559ต่อไป

ปิดการประชุมเวลา 15.30 น.

ลงชื่อ???..????????…………………..ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นางสาวสุกัญญา ม่วงเลี้ยง)

พยาบาลวิชาชีพ

ลงชื่อ???…………………………….?????.ผู้ตรวจรายงานการประชุม

(นางสาววรรณวดี เนียมสกุล)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 ณ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Blogged under KM ของ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ by admin on วันพุธ 2 มีนาคม 2016 at 4:28 pm

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 ?ณ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ณ ห้องภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายนามผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. นางสาว วรรณวดี เนียมสกุล????????? ??พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ??????? ????????? ประธาน

2. นางสาว สุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์?????? ??พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

3. นางสาวจิราพร วิศิษฎ์โกศล???????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

4.นางภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

5. นางสาวพัชชา สุวรรณรอด?? ????????? ?พยาบาลวิชาชีพ

6. นางสาวสุกัญญา ม่วงเลี้ยง???????????? ??พยาบาลวิชาชีพ???????????????????????? ? ????????? เลขานุการ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็น ร้อยละ 100

เปิดการประชุมเวลา 14.00 น.

ประธานการประชุม นางสาววรรณวดี เนียมสกุล????????? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

1. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัย

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2558 โดยประเด็นความรู้และเป้าหมาย การจัดการความรู้ ยังคงเป็นประเด็นเดิม ซึ่งต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2557 คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน สำหรับอาจารย์พยาบาล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ขององค์ความรู้ในประเด็นดังกล่าว

2. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ของภาควิชา

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2558 โดยใช้ประเด็นเดิมที่ต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2557 คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น ภาควิชาการ จึงยึดถือตามประเด็นการจัดการความรู้และเป้าหมายของภาควิชาเดิม คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะขอความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประสบการณ์ตามประเด็นดังกล่าว

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงายการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ

1. การจัดการความรู้ของภาควิชา

ประธานได้ดำเนินการขอความร่วมมือคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ได้ร่วมกันแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ จากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน มาใช้ในการจัดการเรียนการ สำหรับ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 เรื่อง การรวบรวมข้อมูลจากการซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่โดยการแสดงละคร บทบาทสมมติ การเป็นพยาบาลวิชาชีพในแผนกฝากครรภ์และหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ปีการศึกษา 2558 โดยอาจารย์ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะของตนเองอย่างกว้างขวาง สามารถถอดบทเรียน ดังนี้

1.1 สรุปผลการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดี ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน? พบว่า ขั้นตอนการดำเนินการ ประกอบด้วย ??3 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นแสดงละคร และ 3)? ขั้นสรุปและประเมินผล และในแต่ละขั้นตอนย่อยๆ ของขั้นตอนหลักนั้น โดยภาพรวม อาจารย์ผู้ร่วมสอนแบบ Didactic ที่ใช้ละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน เห็นว่า มีความชัดเจน เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดีได้ (แนวปฏิบัติที่ดี: การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน [สรุปแนวปฏิบัติที่ดีวันที่ 8 กันยายน 2558)

1.2 รายละเอียดข้อค้นพบปลีกย่อยเพิ่มเติมจาก ข้อ 1 ในขั้นที่ 1 : เตรียมการ พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการแสดงบทบาทสมมติคือการมีใบงานที่ชัดเจนที่ชี้แจงบทบาทของผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพและผู้แสดงเป็นหญิงตั้งครรภ์ การมีคู่มืออาจารย์ประกอบการดำเนินการ การเตรียมชุดคำถามสำหรับการซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่อย่างครอบคลุมอย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้แสดงได้แสดงบทบาทสมมติได้อย่างสมจริง คือ การกำหนดประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตให้มีความหลากหลายมากขึ้นเพื่อให้นักศึกษาผู้แสดงบทบาทเป็นพยาบาลวิชาชีพได้ฝึกทักษะการตั้งคำถามเกี่ยวกับการแท้งหรือการผ่าตัดคลอดอย่างละเอียด ซึ่งในส่วนนี้ คณาจารย์ในภาควิชาฯ ได้ร่วมกันแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตจนได้ประวัตการแท้งและผ่าตัดคลอดที่ละเอียดดังนี้

ประวัติการแท้ง

ครรภ์ที่ 1 อายุครรภ์ 1 เดือนแท้งเอง เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2557 ได้รับการขูดมดลูกที่รพ.อุตรดิตถ์ หลังแท้งไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ คุมกำเนิดโดยการฉีดยาคุมกำเนิด

ประวัติการผ่าดัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง

ครรภ์ที่ 2 อายุครรภ์ครบกำหนด คลอดโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเนื่องจากทารกในครรภ์อยู่ในท่าขวาง เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2558 ที่รพ.อุตรดิตถ์ หลังผ่าตัดไม่มีอาการตกเลือดหรือติดเชื้อ หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ทารกแรกเกิดมีอาการตัวเหลืองอยู่ในตู้อบ 3 วัน ปัจจุบันสุขภาพแข็งแรงดี ได้รับนมมารดานาน 6 เดือน คุมกำเนิดด้วยวิธีการฉีดยาคุมกำเนิด

มติที่ประชุม รับรองการสรุปผลการถอดบทเรียนเพิ่มเติม และให้นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ สำหรับนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558 ต่อไป

ปิดการประชุมเวลา 16.00 น.

ลงชื่อ???..สุกัญญา ม่วงเลี้ยง????????..ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นางสาวสุกัญญา ม่วงเลี้ยง)

พยาบาลวิชาชีพ

ลงชื่อ???วรรณวดี เนียมสกุล?????.ผู้ตรวจรายงานการประชุม

(นางสาววรรณวดี เนียมสกุล)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

การบริหารงานวิจัยและการอภิปรายผลการวิจัย

Blogged under KM ของ ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล และพัฒนาวิชาชีพ by admin on วันอังคาร 1 มีนาคม 2016 at 2:48 pm

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?การบริหารงานวิจัยและการอภิปรายผลการวิจัย?

วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๐๐ ? ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ ฝ่ายวิจัย จัดการความรู้และวิเทศสัมพันธ์

กลุ่มงานวิจัยฯวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางประภาพร มโนรัตน์??????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒.นายนภดล? เลือดนักรบ? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓.นางสาวปฐพร?????????? แสงเขียง????????? วิทยาจารย์ชำนาญการ

๔.นายอรรถพล???????? ยิ้มยรรยง???????? พยาบาลวิชาชีพ (เลขานุการ)

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม

-

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

แจ้งเรื่อง การนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ เกี่ยวกับ การบริหารงานวิจัย ไปใช้

  • ? นางประภาพร? มโนรัตน์ ได้ดำเนินการนำแนวทางเทคนิคการบริหารงานวิจัยนำไปใช้มีรายละเอียดดังนี้

๑.ทำความเข้าใจขอบเขตและกระบวนการดำเนินงานการผลิตผลงานทางวิชาการ การวิจัย/งานสร้างสรรค์ ตำราที่ตนเองสนใจ

๒. เลือกประเด็นการวิจัยที่สอดคล้องกับภารกิจ วิถีชีวิตและความสนใจ

๓. มีวินัยและกำกับตนเองให้งานเป็นไปตามแผน

๔.ประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะและปรับพัฒนางานและแผน

๕.รวบรวมสรุปผลการดำเนินงานและดำเนินงานอย่างเป็นระบบ

๖. ศึกษาเรียนรู้แนวทางการจัดการจากผู้รู้ที่สำเร็จในการขับเคลื่อนงานทั้งโดยการขอคำปรึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาเอกสารของผู้ที่สำเร็จในด้านต่างๆเช่น การเขียนโครงร่าง การเบิกจ่ายต่างๆเป็นต้น

ผลการนำไปใช้

บริหารขับเคลื่อนได้ดีและเป็นระบบ? มีความสุขในการทำวิจัย

ปัญหาอุปสรรค

ภาระงานการจัดการเรียนการสอนทำให้ล้าและคิดงานไม่ออกและทำให้งานล่าช้า

ปัจจัยความสำเร็จ

ชอบและแรงบันดาลใจในการทำวิจัยและวิทยาลัยเอื้อในการทำวิจัย

สำหรับประเด็นการอภิปรายผลการวิจัยนั้น ได้ยึดหลักการอภิปรายผล โดยเน้นการอภิปรายให้เห็นผลการศึกษาของตนมีความโดดเด่นสอดคล้องและแตกต่างกับผลการศึกษาของคนอื่นอย่างไร ด้วยเหตุผลใดจะนำไปสู่แนวปฏิบัติในการดำเนินงานหรือแก้ไขปัญหาอย่างไร อีกทั้งยังเน้นว่ามีความสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของผู้รู้อย่างไร ให้เป็นเชิงประจักษ์ และไม่ทิ้งความสำคัญของการอภิปรายที่เอาข้อมูลภายในงานวิจัยที่เป็นข้อค้นพบทั้งคุณลักษณะประชากรและผลการศึกษามาสนับสนุนการอภิปรายด้วย จะทำให้เกิดสรุปองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยได้อย่างเชิงประจักษ์เกิดประโยชน์กับผู้อ่านที่มาเรียนรู้ในชิ้นงานมากขึ้น

  • ? นายนภดล เลือดนักรบ ได้ดำเนินการนำแนวทางเทคนิคการบริหารงานวิจัยนำไปใช้มีรายละเอียดดังนี้

๑.เลือกประเด็นที่สอดคล้องกับความสนใจและบูรณาการไปกับงาน

๒.วางแผนการทำวิจัยที่สอดคล้องกับงานและวิถีชีวิต

๓.เลือกทีมวิจัยที่มีคุณลักษณะบุคคลและความสนใจคล้ายกันเพื่อให้งานราบรื่นและเกิดการเรียนรู้ร่วมกันกว้างขวางขึ้น

๔.เรียนรู้จากผู้รู้ที่ให้คำปรึกษาด้านการบริหารโครงการวิจัยตลอดจนการเบิกจ่ายได้

๕.ทำงานให้เป็นระบบ

ผลการนำไปใช้

ทำวิจัยได้ตามเป้าหมายแผนที่วางไว้

ปัญหาอุปสรรค

ภาระงานการจัดการเรียนการสอนมากทำให้การดำเนินช้าบ้าง ในบางช่วง

ปัจจัยความสำเร็จ

วิทยาลัยสนับสนุนในการทำวิจัย มีศูนย์เรียนรู้วิจัย

สำหรับประเด็นการอภิปรายผลการวิจัย ได้มีหลักการอภิปรายผลคือ อภิปรายอ้างอิงแนวคิดทฤษฎี และอ้างอิงผลการศึกษาของผู้อื่น และอ้างอิงข้อค้นพบ

  • ? นางสาวปฐพร แสงเขียว ได้ดำเนินการนำแนวทางเทคนิคการบริหารงานวิจัยนำไปใช้มีรายละเอียดดังนี้

๑. เลือกประเด็นการวิจัยที่สอดคล้องกับความสนใจและความเชี่ยวชาญของตนเอง

๒. เลือกทีมวิจัยที่มีความสนใจร่วมกัน

๓.เรียนรู้แนวทางบริหารจัดการด้านที่ยังไม่เข้าใจจากผู้รู้และคู่มือวิจัย

๔.รวบรวมสรุปผลการดำเนินงานและดำเนินงานอย่างเป็นระบบ

ผลการนำไปใช้

จัดระบบการทำวิจัยของตนเองได้

ปัญหาอุปสรรค

มีภาระงานการจัดการเรียนการสอนมากทำให้เกิดการดำเนินไม่ตามแผนบ้าง ในบางช่วง

ปัจจัยความสำเร็จ

วิทยาลัยสนับสนุนในการทำวิจัย มีศูนย์เรียนรู้วิจัย

สำหรับประเด็นการอภิปรายผลการวิจัย ได้อภิปรายอ้างอิงแนวคิดทฤษฎี และอ้างอิงผลการศึกษาของผู้อื่น และอ้างอิงข้อค้นพบ

  • ? นายอรรถพล? ยิ้มยรรยงค์ ได้ดำเนินการนำแนวทางเทคนิคการบริหารงานวิจัยนำไปใช้มีรายละเอียดดังนี้

๑.เลือกประเด็นที่สอดคล้องกับความสนใจและบูรณาการไปกับงานและปรึกษาอาจารย์พี่เลี้ยง

๒.วางแผนการทำวิจัยที่สอดคล้องกับงานและวิถีชีวิต

๓.ทำงานร่วมกับทีมวิจัยที่มีความสนใจคล้ายกันและติดต่อปรึกษากันง่าย รวมถึงทำงานร่วมกับอาจารย์พี่เลี้ยง

๔.เรียนรู้จากผู้รู้หลากหลายเพื่อเพิ่มแรงบันดาลใจในการทำวิจัย

๕.ทำงานให้เป็นระบบตามแผน

ผลการนำไปใช้

ได้เรียนรู้และทำวิจัยได้ โดยในปีนี้ได้เสนอโครงร่างวิจัยที่เป็นหัวหน้าโครงการ

ปัญหาอุปสรรค

ภาระงานการจัดการเรียนการสอนมีมาก ไม่มีเวลาบางช่วง งานชะงักบ้าง

ปัจจัยความสำเร็จ

วิทยาลัยสนับสนุนในการทำวิจัยและมีอาจารย์พี่เลี้ยง มีศูนย์เรียนรู้วิจัย

สำหรับประเด็นการอภิปรายผลการวิจัย ได้อภิปรายอ้างอิงผลการศึกษาของผู้อื่น แนวคิดทฤษฎี และอ้างอิงข้อค้นพบ

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา

ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.

ลงชื่อ?????????????.

(นายอรรถพล? ยิ้มยรรยง)

เลขานุการการประชุม

ลงชื่อ???????????????.

(นางประภาพร มโนรัตน์)

หัวหน้าฝ่ายวิจัย จัดการความรู้และวิเทศสัมพันธ์

รายงานการประชุมภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๕.๐๐ น. ห้องภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Blogged under KM ของ ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล และพัฒนาวิชาชีพ by dao on วันอังคาร 1 มีนาคม 2016 at 2:37 pm

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ ครั้งที่ ๑/255๙

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ 255๙ เวลา ๑๓.00 ? 1๕.00 น.

ห้องภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายนามผู้เข้าร่วมประชุม

1. นางสาวดวงดาว เทพทองคำ???? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ??????????? ประธาน

๒. นายนภดล เลือดนักรบ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓. นางสาวสุปราณี หมื่นยา???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ????????????????? เลขานุการ

๔. นางสาววัชราภรณ์ คำฟองเครือ พยาบาลวิชาชีพ?????????????????????????????? ผู้ช่วยเลขาฯ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

เปิดประชุมเวลา?????????? ๑๓.00 น.

ประธานการประชุม?????? หัวหน้าภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

๑. สำหรับประเด็นการจัดการความรู้ที่วิทยาลัยกำหนด ให้ภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ ในประเด็น Humanize ซึ่งภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพได้ดำเนินการในหัวข้อดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ภายใต้แนวปฏิบัติที่ดี หัวข้อ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยในครั้งนี้ภาควิชาฯ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ในประเด็นเดิมเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Humanize ดังนั้นจึงนำความรู้ที่ได้รับสู่การจัดการเรียนการสอนในกิจกรรมและการจัดการเรียนการสอนในภาควิชา ได้แก่ โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สำหรับผู้เรียนพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ โครงการฝึกภาคปฏิบัติ รายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล และโครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลกับการบริการวิชาการและการวิจัย เรื่อง การส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุที่บ้าน ซึ่งขอความร่วมมือให้อาจารย์ในภาควิชามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับตามประเด็นดังกล่าว

ติที่ประชุม : รับทราบ

วาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

- ไม่มี

วาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี

วาระที่ ๔ เรื่องแจ้งเพื่อทราบจากฝ่ายต่างๆ

- ไม่มี

วาระที่ ๕ เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี

วาระที่ ๖ เรื่องอื่นๆ

๑. สรุปองค์ความรู้จากการจัดการความรู้ของภาควิชา ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘

อาจารย์ในภาควิชาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดี หัวข้อ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยใช้กระบวนการ Humanistic health care มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร ซึ่งผลของการจัดการเรียนการสอนเป็นดังนี้

๑.๑ ?โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สำหรับผู้เรียนพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ ซึ่งดำเนินการในวันที่ ๒๒ ? ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มุ่งให้นักศึกษามีความพร้อมต่อการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับสู่การปฏิบัติการพยาบาลได้ โดยรูปแบบของกิจกรรมเริ่มต้นจากการให้โอวาทเรื่อง การเตรียมความพร้อมการฝึกภาคปฏิบัติและการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และปฐมบทอัตลักษณ์บัณฑิตนำทางแนวคิด เรื่อง ?สร้างมหัศจรรย์ชีวิตด้วยการดูแลผู้ป่วยด้วยจิตเมตตา? จากนั้นมีการปรับรูปแบบกิจกรรมโดยการสอดแทรกแนวคิด การสะท้อนคิด (Reflective thinking) ภายใต้หัวข้อ ?สะท้อนคิด : พัฒนา service mind ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม? ให้มีความเชื่อมโยงกับการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เนื่องจากแนวคิดการสะท้อนคิด อาจารย์ในภาควิชาเห็นร่วมกันว่าการสะท้อนคิดเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพพยาบาล เป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีการเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฏีไปสู่การปฏิบัติได้

๑.๒ โครงการฝึกภาคปฏิบัติ รายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล ระหว่างวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ ? ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ สำหรับการสอนภาคปฏิบัติ อาจารย์สอดแทรกการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ไว้ในการปฏิบัติการพยาบาลเรื่องต่างๆ การประชุมปรึกษาทางการพยาบาล และการศึกษาผู้ป่วยกรณีศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษาในการเข้าใจปัญหาความต้องการของผู้ป่วยตามบริบทและเงื่อนไขของผู้รับบริการที่แตกต่างกัน เรียนรู้วิถีการดำเนินชีวิต บูรณาการความรู้ตามทฤษฎีกับความรู้จากชีวิตจริงในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงแนวคิดจากการทำกิจกรรมในโครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สำหรับผู้เรียนพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์อย่างต่อเนื่อง

๑.๓ โครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลกับการบริการวิชาการและการวิจัย เรื่อง การส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุที่บ้าน ที่ดำเนินการในระยะที่ ๑ วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๙ และระยะที่ ๒ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ซึ่งส่งเสริมให้นักศึกษาให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมเป็นติดตามและประเมินการให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างถูกต้องและเกิดความต่อเนื่อง ยั่งยืน โดยในการดำเนินโครงการครั้งนี้ทำให้นักศึกษาสามารถนำประสบการณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการสุขภาพกับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะเจ็บป่วย ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมความรู้และทักษะในการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในชุมชน และกลุ่มคนที่อยู่นอกเหนือการฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย

การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เป็นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ของผู้เรียน และพัฒนาสมรรถนะเชิงวิชาชีพการพยาบาล และเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางปัญญา โดยการสอนแบบบูรณาการด้ายหัวใจของความเป็นมนุษย์เป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่เป็นปฏิสัมพันธ์และเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอน ผู้เรียนและผู้รับบริการ โดยมีกระบวนการปรับทัศนคติ การสะท้อนคิดให้เข้าใจความเป็นจริงของความเป็นมนุษย์กับสังคม โดยผ่านชีวิตจริงของผู้รับบริการ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้เกิดปัญญาภายในบุคคล การทำให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ของชีวิตตามความเป็นจริง เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เป็นบรรยากาศของการเรียนรู้ ด้วยความเข้าใจความคิดและความรู้สึกของผู้เรียน เป็นการสอนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยใช้กระบวนการสอนสะท้อนให้ผู้เรียนได้คิด เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ เปิดความคิดของผู้เรียนให้คิดตามความเป็นจริง ไม่ใช้ความรู้สึกและประสบการณ์ไปตัดสิน เป็นความคิดที่มาจากมุมมองของผู้รับบริการ ลดอคติของตนเองลง เห็นความจริงชัดเจนขึ้น เกิดการคิดวิจารณญาณ (critical thinking) เข้าใจความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์มากขึ้น ผู้เรียนเกิดการยอมรับในความเป็นตัวตนของผู้รับบริการ เข้าใจและรู้ถึงปัญหาและมุมมองของชีวิตผู้รับบริการ ส่งผลทำให้เกิดการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ที่เป็นการพยาบาลแบบองค์รวม

ประธานกล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านและกล่าวปิดการประชุม

ปิดการประชุมเวลา ?????? 1๕.๐0 น.

………..สุปราณี…หมื่นยา……….

(นางสาวสุปราณี? หมื่นยา)

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

………..ดวงดาว…เทพทองคำ……..

(นางสาวดวงดาว เทพทองคำ)

หัวหน้าภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?ผลของการจัดการเรียนการสอน แบบ Reflective? วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๐๐ ? ๑๖.๓๐ น. ณ ห้อง ๓๒๔ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Blogged under KM ของ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช by admin on วันจันทร์ 29 กุมภาพันธ์ 2016 at 2:11 pm

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?ผลของการจัดการเรียนการสอน
แบบ Reflective?

วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๐๐ ? ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นายบุญฤทธิ์??????????? ประสิทธินราพันธุ์? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒.นางสาวปฐพร?????????? แสงเขียว ? ? ? ? ?วิทยาจารย์ชำนาญการ

๓. นางวิมล??????????????? อ่อนเส็ง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๔. นางประภาพร?????????????????? มโนรัตน์ ???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๕. นายอดุลย์????????????? วุฒิจูรีพันธุ์??????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๖. นางสาววิไลวรรณ????? บุญเรือง ???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๗. นางอัญชรี????????????? รัตนเสถียร?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๘. นายอิทธิพล??????????? แก้วฟอง????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๙. นางสาวชลธิชา???????? จับคล้าย????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๐. นางสาวสายฝน?????? ชมคำ???????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๑. นายอรรถพล???????? ยิ้มยรรยง???????? พยาบาลวิชาชีพ (เลขานุการ)

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาวดุจเดือน??????? เขียวเหลือง?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ไปราชการ)
ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๙๑.๗
ประธานที่ประชุม นายบุญฤทธิ์???? ประสิทธินราพันธุ์
เปิดประชุมเวลา ๑๕.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

- แจ้งเรื่อง การนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ เกี่ยวกับ ผลของการจัดการเรียนการสอน
แบบ Reflective

๑.นายบุญฤทธิ์?? ประสิทธินราพันธุ์? จัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวชุมชน ๒ มีรายละเอียดดังนี้

การจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาเขียน Reflective writing จำนวน ๔ ครั้งซึ่งหัวข้อการเขียน ได้พยาบาลปรับให้สอดคล้องกับ กระบวนการวินิจฉัยชุมชน ตามเนื้อหาสาระของรายวิชา โดยกระบวนจัดการเรียนการสอนได้มีการเตรียมดังนี้

1.อธิบายความหมายของการเรียนการสอนแบบ Reflective ให้นักศึกษาฟังว่าคืออะไร มีเป้าหมายเพื่ออะไร

2.อธิบายวิธีการเขียนตามแบบประเมิน ที่จะประเมินนักศึกษาให้นักศึกษารับทราบโดยมีตัวอย่างการเขียนที่ถูกต้อง ให้นักศึกษาฝึกให้คะแนน

3.มอบหมายหัวข้อให้นักศึกษาเขียนในแต่ละสัปดาห์

4.อาจารย์นำผลการเขียนบันทึกสะท้อนคิดของสัปดาห์ที่ผ่านมา มาแลกเปลี่ยนในสัปดาห์ต่อมา โดยสลับกับเพื่อนตรวจและให้คะแนน พร้อมทั้งให้เหตุผลของการให้คะแนน ตามเกณฑ์ใบประเมิน

ผลการจัดการเรียนดังกล่าวพบประเด็นดังนี้

1.มีนักศึกษาบางคนเขียนไม่สอดคล้องกับประเด็นหัวข้อที่มอบหมายให้(นศ.ไม่เข้าใจหัวข้อ)

2.การเขียนงานของนักศึกษาพบว่า ขั้นตอนการอธิบายความรู้สึก กับ การตั้งคำถามไม่ไปด้วยกัน

3.นักศึกษาบางคน เขียนบันทึกสะท้อนคิด สะท้อนเชิงกระบวนการคิดของนักศึกษา แต่ไม่ได้สะท้อนเนื้อหาสาระที่อาจารย์กำหนดให้

4. ขั้นกำหนดความรู้ใหม่ นักศึกษามักเรียนเป็นคำสรุป แต่มองไม่เห็นกระบวนการ เช่น จะนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

5.นักศึกษาชอบอ้างอิงจากwwwที่ไม่ใช่เชิงวิชาการ เช่น www.kapook.com ?มากกว่าตำรา หรือวารสาร

6.แบบประเมิน ควรมีการปรับให้สามารถประเมินได้สอดคล้องกับ การประเมินLO คือ rating scale 4ระดับ

ผลการประเมินจากนักศึกษา

1.นักศึกษาคิดว่ามีประโยชน์ทำให้ทบทวนการทำงานในแต่ละวัน และทำอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาในครั้งต่อไป

2.ทำให้ตนเองได้ความรู้เพิ่มขึ้นจากคำถามที่ตนเองตั้ง และหาคำตอบด้วยตนเองเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่เข้าใจ

3.เป็นการเขียนที่มีรูปแบบชัดเจนไม่ล่องลอย โดยถ้ามีการกำหนดหัวข้อให้นักศึกษาเขียน

4.ได้ฝึกตนเองในการจัดความคิดให้เป็นระบบ

5.นักศึกษาโดยส่วนใหญ่เห็นด้วยในการเขียนสะท้อนคิดสัปดาห์1 ครั้ง และมีการเขียนแบบนี้แบบต่อเนื่องในทุกรายวิชา

๒.นางสาวปฐพร? แสงเขียว จัดการเรียนการสอนในรายวิชารพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

มีรายละเอียดดังนี้

๑. รายวิชาที่นำไปใช้ การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

๒. กระบวนการจัดการเรียนการสอน

๒.๑ ด้านผู้สอน

- ทบทวนวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective Thinking

- พิจารณาเนื้อหาที่ควรจัดให้มีการสอนแบบสะท้อนคิด จำนวน ๖ ประเด็น

- ใช้การเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดที่ให้นักศึกษาเขียน Reflective Journal

- กำหนดระยะเวลาที่เขียน Reflective Journal สัปดาห์เว้นสัปดาห์ จำนวน ๖ ครั้ง

- พิจารณาปรับแบบประเมินการเขียน Reflective Journal ให้เหมาะสม ง่ายและ

สะดวกสำหรับการประเมิน

- เลือกสื่อภาพยนตร์ที่มีความสอดคล้องกับเนื้อหา เพื่อมอบหมายให้นักศึกษาชมด้วยตนเอง

ประกอบเพื่อเขียนบันทึกสะท้อนคิด ได้แก่ A Beautiful Mind (ผู้ป่วยจิตเภท)? และ As ????????? good as it gets (ผู้ป่วยย้ำคิดย้ำทำ)

๒.๒ ด้านผู้เรียน

- ทำความเข้าใจเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective Thinking และการ

ประเมินผล

- ให้ฝึกหัดการเขียน Reflective Journal และทำความเข้าใจเรื่องแบบประเมิน

๓.? ผลการนำไปใช้

- นักศึกษาสามารถเขียนบันทึกสะท้อนคิดได้ตามที่มอบหมาย

- นักศึกษาส่วนใหญ่ขาดความเข้าใจการเขียนบันทึกสะท้อนคิด ได้ตรงกับประเด็น และมีนักศึกษาส่วนน้อยที่

สามารถเขียนบันทึกสะท้อนคิดด้วยความเข้าใจ เนื่องจากผ่านการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective ? Thinking มาแล้วในรายวิชาปฏิบัติ

๔. ปัญหาและอุปสรรค

- สัดส่วนของผู้สอนต่อชิ้นงานของนักศึกษาไม่มีความเหมาะสม ใช้เวลามากในการตรวจบันทึก

๕. ข้อเสนอแนะ

- ควรใช้การเรียนการสอนแบบ Reflective Thinking ในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ เพราะสัดส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษาจะมีความเหมาะสม และจัดการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสอนได้ดีกว่า

- หากต้องการใช้ในการเรียนการสอนภาคทฤษฎีที่มีนักศึกษาเป็นจำนวนมาก ควรอาสาสมัครอาจารย์ที่มีประสงค์จะจัดการเรียนการสอนเพื่อสะท้อนคิด (ควรใช้ผู้สอนเป็นกลุ่ม โดยคำนวณสัดส่วนผู้สอนต่อนักศึกษาให้เหมาะสม) เพื่อให้สามารถประเมินผลและสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ภายในระยะเวลา และเกิดความท้าทายต่อการทดลองวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดจนเสร็จสิ้นภาคการศึกษา (โดยที่ไม่ burn out ก่อนสิ้นภาคการศึกษา)

๓.นายอดุลย์???? วุฒิจูรีพันธุ์จัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวชุมชน ๑ ?มีรายละเอียดดังนี้

การจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาเขียน Reflective writing จำนวน ๔ ครั้งซึ่งหัวข้อการเขียน ได้พยาบาลปรับให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ของรายวิชา โดยกระบวนจัดการเรียนการสอนได้มีขั้นตอนดังนี้

1.อธิบายวิธีการเขียนประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติงานภาคปฏิบัติ ด้วยวิธี Reflective แก่นักศึกษารายกลุ่ม? พร้อมแนบตัวอย่างการเขียนและเกณฑ์การให้คะแนน

2.มอบหมายหัวข้อให้นักศึกษาเขียนในแต่ละสัปดาห์ ดังนี้ การประเมินภาวะสุขภาพครอบครัว การอนามัยโรงเรียน? การอาชีวอนามัยและการให้บริการอนามัยครอบครัว

3.อาจารย์นำผลการเขียนบันทึกสะท้อนคิดของสัปดาห์ที่ผ่านมา มาแลกเปลี่ยนภายในกลุ่มสัปดาห์ต่อมา โดยมีผู้นำเสนอและเพื่อนประเมินให้คะแนนตามเกณฑ์ใบประเมิน พร้อมทั้งให้เหตุผล

ผลการจัดการเรียนดังกล่าวพบประเด็นดังนี้

ด้านผู้เรียน

1.การตั้งประเด็นคำถามของนักศึกษาบางคนเขียนไม่สอดคล้องกับประเด็นหัวข้อที่มอบหมาย , การตั้งคำถามไม่ท้าทายต่อการเรียนรู้

2.ความไม่สอดคล้อง (Alignment) ในแต่ละย่อหน้า เช่น การอธิบายความรู้สึก กับ การอธิบายประสบการณ์ , การตั้งคำถามกับการอธิบายประสบการณ์ เป็นต้น

3.ลักษณะการอธิบายประสบการณ์มี 2 ลักษณะ คือ สะท้อนเชิงกระบวนการคิดของนักศึกษา และสะท้อนเชิงเนื้อหาสาระที่อาจารย์กำหนดให้

4. นักศึกษาชอบอ้างอิงจากwwwที่ไม่ใช่เชิงวิชาการ เช่น www.kapook.com ?มากกว่าตำรา หรือวารสาร

ด้านผู้สอน

1.แบบประเมิน ควรมีการปรับให้สามารถประเมินได้สอดคล้องกับ การประเมินLO คือ ปรับ rating scale จาก 0 ? 3 คะแนน เป็น 1- 4 คะแนน

2. ความไม่ชัดเจนในการเขียนสะท้อนคิดในแต่ละหมวด (ตามระดับ Bloom’s Taxonomy)

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1. จำนวนผู้เรียนไม่มากเกินไป ไม่ควรเกิน 8 คน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทุกคนในกลุ่ม

2. ผู้สอนควรมีความชัดเจนในวิธีการเขียนสะท้อนคิดตามระดับ Bloom’s Taxonomy

3. ผู้สอนควรแนะนำแหล่งค้นคว้าหลักแก่ผู้เรียน เช่น ตำราในห้องสมุด

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา

ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.

ลงชื่อ………………………………….

(นายอรรถพล? ยิ้มยรรยง)

เลขานุการการประชุม

ลงชื่อ……………………………………….

(นายบุญฤทธิ์? ประสิทธินราพันธุ์)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัย-

ชุมชนและจิตเวช

หน้าก่อนหน้าหน้าต่อไป
Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro