รายงานการประชุมการจัดการความรู้  ครั้งที่ ๓ / ๒๕๕๙

กลุ่มงานกิจการนักศึกษา  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

ณ ห้องรองผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจการนักศึกษา

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาวนัยนา        อินธิโชติ            รองฯ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา    (ประธาน)

๒.นางสาววราภรณ์     ยศทวี                หัวหน้าฝ่ายพัฒนานักศึกษา        (เลขานุการ)

๓.นางนิศารัตน์           นาคทั่ง              งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

๔.นางผ่องศรี             พุทธรักษ์            งานพัฒนานักศึกษา

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม ไม่มี

เริ่มประชุม ๑๕. ๓๐ น.

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

ประธานแจ้งเรื่อง   สืบเนื่องจากงานการประกันคุณภาพการศึกษา ในการดำเนินงานปีการศึกษา ๒๕๕๙ นั้น  แต่ละกลุ่มงานต้องมีการการจัดการความรู้เกี่ยวกับงานของแต่ละกลุ่มงาน  ซึ่งในปีการศึกษาที่ผ่านมา กลุ่มงานกิจการนักศึกษาได้ดำเนินการจัดการความรู้เรื่อง ”การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาอย่างเป็นระบบ”   ซึ่งได้จัดทำเป็นแนวปฏิบัติและนำมาใช้ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ ต่อไป และจากการดำเนินงานของการพัฒนานักศึกษา ทางกลุ่มงานพบว่า ได้พัฒนานักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา โดยการส่งเสริมให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี นำความรู้ด้านการประกันคุณภาพไปใช้ในการจัดกิจกรรมที่ดำเนินการโดยนักศึกษา จากกิจกรรมต่อไปนี้  1) กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์  2) กิจกรรมกีฬาหรือการส่งเสริมสุขภาพ  3 ) กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม  4)กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม  5 ) กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งการพัฒนานักศึกษาในแต่ละปีที่ผ่านมาได้พัฒนาครบทุกด้านทั้ง ๕ กิจกรรมโดยส่วนใหญ่มุ่งเน้น)กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมและกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม   ซึ่งจะส่งผลให้บัณฑิตเป็นคนดี มีคามสุข  ดังนั้น ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ กลุ่มงานกิจการนักศึกษาจึงวางแผนดำเนินการการจัดการความรู้ เรื่อง “การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา”

ดังนั้นจึงขอให้ทุกคนช่วยกันกำหนดประเด็นที่กลุ่มงานน่าจะนำมาสู่การจัดการความรู้ของกลุ่มงานเพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนานักศึกษา

ประธานทบทวนความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ เพื่อใช้ในการดำเนินงานพัฒนานักศึกษา กลุ่มงานกิจการนักศึกษา ใช้กระบวนการจัดการความรู้ ๗ ขั้นตอน มาประกอบใช้การจัดทำ KM ดังนี้

๑.การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่ากลุ่มงาน มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้ความรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้างอยู่ในรูปแบบใดและอยู่ที่ใคร

๒.การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นการรวบรวม/สกัดความรู้ ทั้งความรู้ชัดแจ้ง (Explicit  Knowledge) จากเอกสาร หรือความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในตัวบุคคลจากภายในและ/หรือภายนอก โดยอาศัยเครื่องมือ/วิธีการต่างๆ ในการสร้างและแสวงหาความรู้ที่เหมาะสม เช่น การรวบรวมกฎระเบียบ คู่มือ มาตรฐานการปฏิบัติงาน การถอดความรู้จากตัวบุคคล เช่น การประชุมระดมสมอง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน เป็นต้น

๓.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต

๔.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ปรับปรุง เนื้อหาให้สมบูรณ์ จากการประชุมพิจารณาร่วมกัน หรือตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญในองค์ความรู้นั้น

๕.การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

๖.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ มีเครื่องมือหลากหลาย ประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้

๗.การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อแก้ปัญหา ปรับปรุง หรือพัฒนางาน เพื่อให้ดีขึ้นกว่าเดิม เมื่อปฏิบัติตามแล้วมีปัญหาตรงไหน มีจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ผู้ปฏิบัติก็แจ้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อให้กลุ่มงานนำไปพิจารณา ปรับปรุงงาน เกิดระบบการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ นำความรู้ไปใช้ เกิดการเรียนรู้มีประสบการณ์ใหม่ๆ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

มติที่ประชุม รับทราบ

ประธานให้ที่ประชุมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับ “การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา”    ระบบการ

วาระที่ ๒. เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา

มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ ลงวันที่  ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙

วาระที่ ๓. เรื่องสืบเนื่อง

ไม่มี

วาระที่ ๔. เรื่องเพื่อพิจารณา

๑. ประธานเสนอ ให้ดำเนินการตาม ขั้นตอนที่ ๑. การบ่งชี้ความรู้  และ ขั้นตอนที่ ๒.การสร้างและแสวงหาความรู้  ขอให้ช่วยกันกำหนดว่า เราจำเป็นต้องใช้ความรู้ เกี่ยวกับเรื่ง ความหมายของจิตอาสา / จิตสาธารณะ และแนวทางการพัฒนานักศึกษาให้มรจิตอาสา/จิตสาธารณะ  ขอให้อาจารย์เสนอ ความหมายของจิตอาสา / จิตสาธารณะ

อ. วราภรณ์ เสนอว่า เราต้องทบทวนความรู้เกี่ยวกับ “จิตอาสา”   ” เป็นงานที่เกิดจากผู้ที่มีความเอื้อเฟื้อ เสียสละเวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น หรือสังคมให้เกิดประโยชน์และความสุขมากขึ้น

อ. นิศารัตน์ เสนอว่า เป็นงานใดๆ ก็แล้วแต่ที่ทําให้เกิดประโยชน์ในทางบวก ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เราควรทําทังสิ้น

คนที่จะเป็ นอาสาสมัครหรือเป็นคนมีจิตอาสาได้นั้น ไม่ได้จํากัดวัย  การศึกษา  เพศ อาชีพ ฐานะ หรือ ข้อจํากัด ใดๆ หากแต่ต้องมีจิตใจ เป็ น “จิตอาสา” ที่อยากจะช่วยเหลือผู้อี่น หรือสังคมเท่านั้น

อ. นัยนา เสนอว่า เป็นจิตสํานึกเพื่อส่วนรวม ความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของในสิ่งทีเป็นสาธารณะ ในสิทธิและหน้าที่ทีจะดูแลและบํารุงรักษาร่วมกัน เช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำการดูแลรักษา สาธารณะสมบัติ ที่เป็นของส่วนรวม โดยให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าตลอดจนช่วยดูแลรักษาให้ความช่วยเหลือผู้ทุกข์ได้ยาก หรือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือเท่าที่จะทําได้  ตลอดจนร่วมมือกระทําเพื่อช่วยกันแก้ปัญหา

แนวทางการสร้างจิตอาสา/จิตสาธารณะ

อ. นิศารัตน์ เสนอว่า  ต้องสร้างวินัยในตนเองของนักศึกษา และสร้างสำนึกในการให้ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม

อ. นัยนา เสนอว่า ต้องสร้างให้นักศึกษาตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม และต้องยึดหลักธรรมในการดําเนินชีวิต

อ. วราภรณ์ เสนอว่า   ต้องมีความรับผิดชอบการกระทําของตนเอง   ไม่ให้เกิดผลกระทบและเกิดความเสียหายต่อส่วนรวม  รวมทั้งต้อง มีบทบาทช่วยสังคมในการรักษาประโยชน์ของส่วนรวม เพื่อแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สังคม ซึ่งถือว่า     เป็นความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

แนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเอง

๑. ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนหาความรู้

๒. รู้จักการออกกําลังกายเพือสุขภาพให้แข็งแรงสมบรูณ์

๓. มีความประหยัดรู้จักความพอดี

๔. ประพฤติตัวให้เหมาะสม ละเว้นการกระทําที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย

๕. ทํางานที่ได้รับมอบหมายให้สําเร็จ

๖. มีความรับผิดชอบ ตรงเวลา สามารถพึ่งพาตนเองได้

แนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม

๑. มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว เช่น เชื่อฟังพ่อแม่ ช่วยเหลืองานบ้าน   ไม่ทําให้พ่อแม่เสียใจ

๒. มีความรับผิดชอบต่อสถาบันการศึกษา  ครูอาจารย์ เช่น ตั้งใจเล่าเรียน เชื่อฟังคําสั่งสอนของครูอาจารย์  ปฏิบัติตามกฎระเบียบวินัยของสถาบัน  ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของสถาบัน

๓. มีความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่น  เช่น  ให้ความช่วยเหลือ   ให้คําแนะนํา   ไม่เอาเปรียบ  เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

๔. มีความรับผิดชอบในฐานะพลเมือง เช่น ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม ปฏิบัติตามกฎหมาย รักษาสมบัติของส่วนรวม ให้ความร่วมมือต่อสังคมในฐานะพลเมืองดี

สิ่งสำตัญ . ผู้มีจิตอาสา ควรจะต้องมีการสื่อสารที่ดี   คิดดี   คิดทางบวก : (Positive thinking)  มีวจีกรรมที่ดี ฝึกขอบคุณ  ฝ กแสดงความยินดี   ฝึกให้กําลังใจ   ฝึกชื่นชมผู้ที่มีจิตอาสาหรือจิตสาธารณะ

ประธานสรุป ในวันนี้ขั้นตอนที่ ๑. ได้ดำเนินการการบ่งชี้ความรู้ และขั้นตอนที่ ๒.การสร้างและแสวงหาความรู้  เกี่ยวกับ “จิตอาสา”   ซี่งในการประชุมครั้งต่อไปจะดำเนินการจัดการความรู้ในขั้นตอนต่อไป

วาระที่ ๕. เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา

ไม่มี

วาระที่ ๖. เรื่องอื่น ๆ

ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.

ลงชื่อ …………………………………………….ผู้บันทึกการประชุม

(นางสาววราภรณ์   ยศทวี)

ลงชื่อ ……………………………………………….ประธานการประชุม

(นางสาวนัยนา  อินธิโชติ)