สรุปการจัดการความรู้ ประเด็น “การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ” กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น
สรุปการจัดการความรู้
ประเด็น “การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ”
กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น
………………………………………………………………………………………………………………..
๑. รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม
๑. ดร.ศศิธร ชิดนายี รองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิจัยฯ ประธาน
๒. ดร.ประภาพร มโนรัตน์ ผู้รับผิดชอบการจัดการความรู้ของกลุ่มงานวิจัยฯ และเลขานุการ
๓. ดร.ปฐพร แสงเขียว
๔. นายนภดล เลือดนักรบ
๕. นางมณฑา อุดมเลิศ
๖. นางสาวนัยนา อินธิโชติ
๗. นางภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย
๘. นางสายฝน วรรณขาว
๙. นางสาวอัญชรี เข็มเพชร
๑๐. นางวิมล อ่อนเส็ง
๒. วาระเรื่องแจ้ง
ประธานแจ้งว่า จากการกำหนดประเด็นการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อน กลุ่มงานและวิทยาลัยให้เป็นองค์กรการจัดการเรียนรู้นั้น สำหรับกลุ่มงานวิจัยฯ ได้กำหนดประเด็น เรื่อง การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ ทั้งนี้เนื่องจากการวิเคราะห์พบว่าอาจารย์ยังมีการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ระดับปานกลางและผลงานการตีพิมพ์ ระดับนานาชาติ น้อย (จนเกือบไม่มี) ซึ่งวิทยาลัยมีผู้ที่มีประสบการณ์การเผยแพร่ผลงานระดับชาติและนานาชาติมาบ้างแล้ว จึงดำเนินการตามขั้นตอนของการจัดการความรู้ ดังนี้
๑.การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือ สำคัญ คือ การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ
๒. การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ กลุ่มงานวิจัยฯ ได้ประชาสัมพันธ์และกำหนดวันที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กัน จึงให้ผู้ที่มีประสบการณ์ มีองค์ความรู้ (Tacit knowledge) แลกเปลี่ยนความรู้ให้กับคณาจารย์ภายในกลุ่มงาน และให้ค้นหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ
๓. การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วนให้เหมาะกับการใช้งานของตน ในส่วนนี้อาจารย์ที่มีประสบการณ์ได้นำความรู้ที่มาปรับปรุงและสร้างความรู้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้คณาจารย์เกิดการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ
๒.เพื่อให้คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ
๓. เพื่อสร้างข้อสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในระยะที่1 สู่การนำไปประยุกต์ใช้ในปีงบประมาณ๒๕๖๐
๔.สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้มีดังนี้
๑. อาจารย์นภดล เลือดนักรบ ได้ให้ความเห็นว่า การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการระดับชาติหรือนานาชาตินั้น จะต้องเลือกวารสารที่เขาตรงหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเราและศึกษารูปแบบการเขียนก่อนSubmitบทความ และได้กล่าวว่า การเลือกไปนำเสนอผลงานควรเลือกการประชุมวิชาการที่มีการคัดเลือกผลงานตีพิมพ์ในวารสารด้วย จะได้ประโยชน์ และให้ผู้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษeditภาษาอังกฤษให้ถูกต้องที่สุด ป้องกันการปฏิเสธการตีพิมพ์จากภาษาไม่ดี
๒. ดร.ปฐพร แสงเขียว ได้ให้ความเห็นว่าการจะเขียนให้ได้รับการตอบรับ ต้องอ่านบทความจากวาสารให้มากโดยเฉพาะวาสารที่จะลงตีพิมพ์ เพื่อให้รู้สไตล์การเขียนและเขียนได้ตรงกับรูปแบบและสไตล์ของวารสารนั้นๆจะทำให้ได้รับการตอบรับมากขึ้นเป็นไปได้สูง และเรื่องการคัดลอกผลงานผู้อื่นให้ฝึกกับInternetได้มีการสอนเขียนแบบเทียบเคียงกันเป็นคู่ขนานแต่ไม่ได้คัดลอกเลียนแบบ
๓. ดร.ประภาพร มโนรัตน์ ได้ให้ความเห็นว่าเห็นด้วยกับทุกท่านที่แบ่งปันความรู้ เพิ่มเติมในแง่ของการวางแผนเป็นระบบตั้งแต่การได้รับทุนวิจัยคิดยาวถึงวารสารที่จะตีพิมพ์ ศึกษาแนวการเขียนบทความของวาสารนั้นๆ และเคร่งครัดในระเบียบของวาสารและทำตามขั้นตอนของวาสารหรือการประชุมนั้นๆ
๔. ดร.ศศิธร ชิดนายี ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การตีพิมพ์ระดับนานาชาติ เราควรร่วมกันเขียนกับ๔นักวิจัยที่มีประสบการณ์การตีพิมพ์อยู่แล้วเช่น ดร.อัสนี ที่ วพบ.พุทธชินราช มีผลงานตีพิมพ์หลายฉบับ โดยทำงานร่วมกับอาจารย์ในอเมริกา ในประเด็น เรื่อง มะเร็งเต้านม และ การตีพิมพ์ ในประเด็นหลัก เพื่อให้แสดงถึงความเชียวชาญนอกจากนี้การตีพิมพ์ในวารสารระดับ SJR ISI Scopus การตีพิมพ์ประเภท Systematic revicw จะได้รับการ accept เร็วกว่า และ อาจารย์ศศิธร นำเสนอการตีพิมพ์เผยแพร่จากเอกสารของ วช. ที่สามารถ Download ได้
๕.อาจารย์วาสนา ครุฑเมือง ได้ให้ความเห็นว่า การได้อ่านงานบทความวิจัยของนักวิจัยที่ตีพิมพ์บ่อยจะช่วยทำให้เขียนได้ดีขึ้น
๖.อาจารย์มณฑา อุดมเลิศ ได้ให้ความเห็นว่า การคัดลอกเลียนแบบผลงาน หรือการที่จะเขียนให้ไม่ไปทับซ้อนที่เรียกว่าคัดลอกนั้นก็ยาก ต้องอ่านมากและฝึกฝน
สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับและนำมาสรุปเป็นแนวปฏิบัติในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ ได้ดังนี้
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติและนานาชาติ
๑.วางแผนการตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ได้รับทุนวิจัย โดยคาดการณ์ว่าจะตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติหรือนานาชาติในวารสารใด หรือเมื่อต้องการตีพิมพ์ผลงานวิจัยให้เลือกลงวาสารที่ต้องการงานวิจัยประเภทเดียวกับของเรา
๒. ศึกษารูปแบบการเขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการตามที่วารสารนั้นๆกำหนด (บทนิพนธ์ต้นฉบับ)
๓. ให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆอ่าน วิพากษ์ให้ก่อนเป็นการส่วนตัว (หากมีผู้ยินดีอ่านให้ฟรีและเป็นผู้ใกล้ชิดหรือเครือข่ายงาน) จะได้มุมมองในการปรับเขียนงานให้ดียิ่งขึ้นก่อนส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับไปให้บรรณาธิการของวารสารที่ต้องการตีพิมพ์
๔. ให้มีการตรวจสอบหรือปรับการเขียนบทคัดย่อและบทความวิจัยที่เป็นภาษาอังกฤษโดยผู้เชียวชาญก่อน เพื่อให้มีความชัดเจนด้านภาษาอังกฤษถูกต้อง
๕. ทำการส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับตามหลักเกณฑ์ ระเบียบของวารสารนั้นๆอย่างเคร่งครัด เช่น ต้องเป็นสมาชิกวารสารก่อน หรือ ส่งต้นฉบับให้ครบทุกชุดและตามเงื่อนไขที่ระบุ
๖. กรณีส่งแล้วและให้ปรับปรุงแก้ไขนั้น ให้รีบดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามที่เสนอแนะ และส่งกลับคืนภายในเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด และแสดงให้เห็นว่ามีการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะโดยการขีดเส้นใต้หรือใส่แถบสี ให้ทางวารสารเห็นได้ชัดว่าได้ดำเนินการแล้ว สำหรับในประเด็นที่ไม่สามารถแก้ได้ให้เขียนชี้แจงไปว่าทำไม่ไม่แก้ไข ติดขัดในประเด็นใด นักวิจัยสามารถอธิบายแนวคิดของตนเองได้
๗. ส่งผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ครั้งละ1วารสารเท่านั้น หากไม่ได้รับการตอบรับในวารสารฉบับนั้นแล้ว จึงจะสามารถส่งวารสารไปลงยังวารสารอื่นต่อไปได้
๘. นักวิจัยต้องถือปฏิบัติในจริยธรรมของนักวิจัยอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และไม่ไม่ส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับไปหลายๆวารสารในเวลาเดียวกัน
๙. หาแหล่งตีพิมพ์ผลงานในวารสารได้โดยเข้าร่วมประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติที่มีการคัดเลือกผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารด้วย
คณาจารย์กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์
ดร.ประภาพร มโนรัตน์ ผู้รับผิดชอบการจัดการความรู้กลุ่มงานวิจัยฯ
๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๙
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยเป็นการนำองค์ความรู้ที่นักวิจัยได้ค้นพบมาเผยแพร่เพื่อการใช้ประโยชน์ในวงกว้างและเกิดการนำไปใช้พัฒนาต่อยอดองค์ความรู็ให้เกิดประโยชน์กว้างขวางมากขึ้น ดังนั้นการรับบทความวิจัยลงตีพิมพ์ในวารสารทั้งระดับชาติและนานาชาติจึงต้องผ่านการกลั่นกรองจากวารสารโดยผู้ทรงคุณวุฒิ..หากบทความวิจัยหรือนิพนธ์ต้นฉบับนั้น มีคุณภาพตามหลักเกณฑ์ จะได้รับการตอบรับและตีพมพ์ในวารสารนั้นๆ จึงแสดงให้เห็นว่า คุณภาพบทความมีความสำคัญ จะมีคุณภาพได้แค่ไหนไม่ใช่เพียงแค่เขียนเก่ง แต่ต้องมาจากความจริงตั้งแต่การออกแบบการวิจัยตั้งแต่การเสนอโครงร่างและได้รับการอนุมัติทุน ดังนั้นนักวิจัยพึงตระหนักตั้งแต่จดปากกาเขียนโครงร่างวิจัยขอทุน ออกแบการวิจัยให้ชัดเจนถูกต้องตามหลักระเบียบวิธีวิจัย จะส่งผลให้การเขียนบทนิพนธ์ต้นฉบับมีคุณภาพ
การส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร หากทางวารสารส่งกลับคืนให้มีการแก้ไข นักวิจัยพึงรู้ไว้ว่าเป็นสัญญาณที่ดีจะได้รับการตีพิมพ์ ดังนั้นจึงควรรีบอ่านและแก้ตามทุกประเด็น..หากมีบางประเด็นนักวิจัยไม่เห็นด้วยและไม่ต้องการแก้ ก็ย่อมได้ ให้ชี้แจงแนวคิดของตนที่จะคงไว้ เพื่อขยายความให้ทางวาสารเข้าใจในเหตุผลของเราซึ่งเป็นนักวิจัย ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ดีกว่าเปลี่ยนตามทั้งที่ไม่เข้าใจหรือไม่เห็นด้วย จึงแบ่งปันมาณ โอกาสนี..
ความรู้ในการคัดเลือกวารสารวิชาการสำหรับการตีพิมพ์ผลงานวิจัย จึงเป็นสิ่งสำหรับคณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และนักวิจัย เพื่อจะได้ทราบกลยุทธ์ในการสืบค้นวารสาร แนวทางการประเมินคุณภาพของวารสาร และการพิจารณาคัดเลือกวารสารระดับนานาชาติ เพื่อเตรียมต้นฉบับและจัดส่งตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของตนเองได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารทางวิชาการ ถือเป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้
ในแวดวงวิชาการหรือวิชาชีพ (สุดาว เลิศวิสุทธิ์ไพบูลย์, 2558)
“นักวิจัยต้องถือปฏิบัติในจริยธรรมของนักวิจัยอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น…” ประเด็นนี้ขอแสดงความคิดเห็นร่วมว่า ปัจจุบันมีโปรแกรมการตรวจการคัดลอกงานวิจัยของผู้อื่นเป็นของตนเอง (phagiarism check)ค่อนข้างแพร่หลาย และเมื่อมีการตรวจจับได้อาจนำความเสียหายมาซึ่งชื่อเสียงแก่ผู้กระทำได้ นักวิจัยต้องเขียนให้เป็นภาษาเขียนของตนเอง (paraphrasing) จากประเด็นดังกล่าวมีกรณีของนักวิจัยที่ไม่มีเจตนาคัดลอกงานวิจัยเพียงแต่ยัง paraphrase ข้อความเดิมและมีการปรับเป็นภาษาของตนเองไม่มากพอ ทำให้ตรวจสอบพบหลายจุด มากเกินกว่าร้อยละของโปรแกรมที่จับได้ และอาจนำปัญหามาสู่นักวิจัยได้ภายหลังหากไม่มีการตรวจสอบคุณภาพก่อนส่งตีพิมพ์
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยผลงานวิชาการระดับชาติและนานาชาติ จากประสบการณ์ที่ได้พยายามผลักดันมา สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งคือตั้งแต่ก่อนเริ่มทำผลงานวิชาการ ควรคำนึงว่าจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหน และสามารถนำไปตีพิมพ์ในวารสารใด เพื่อที่จะสามารถศึกษาวิธีการเขียน นอกจากนี้วารสารต่างๆที่มี impact factor สูงส่วนใหญ่จะมีผู้รอคิวนานจึงต้องวางแผนช่วงเวลา วารสารจะเน้นภาษาอังกฤษที่ถูกต้องบางแห่งหาก Abstract ไม่ถูกต้อง จะ reject ทันที
-การเผยแพร่ในวารสารต่างประเทศ ที่พบคือบางฉบับ การส่งเรื่องที่เป็นเฉพาะในประเทศไทยจะถูก reject เพราะไม่สามารถนำไปใช้กับที่อื่นๆได้ แต่บางฉบับจะสามารถนำไปใช้ได้….
จาก อ.ศศิธร ชิดนายี
การเขียนตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารควรจำต้องมีการ วางแผนที่ดี ตั้งแต่เริ่มต้นคือ 1) ประเด็นที่ทําวิจัย 2) เลือกวารสารที่ต้องการจะตีพิมพ์ 3) ลงมือเขียน และ
4) ส่งตีพิมพ์ในวารสารที่เลือกไว้ ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นการส่ง submit online นอกจากนี้ การใช้ software มาช่วยเรื่อง references เช่น references manager และ Endnote จะช่วยให้สะดวกและลดความกังวลใจได้
จากการศึกษาและทบทวนเกี่ยวกับประสบการณ์การตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารต่างประเทศ ของรองศาสตราจารย์ดร. อารีวรรณ กลั่นกลิ่น กลุ่มวิชาการพยาบาลพื้นฐาน คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวว่า “สิ่งที่ผู้วิจัยต้องมี คือ การเตรียมความพร้อมในการเขียน และข้อมูลหรือประสบการณ์ ซึ่งมีการเตรียมตัวอยู่ 2 แบบ คือ 1. Gathering Style เริ่มจากการตั้งเป้าหมาย ตั้งกำหนดเวลา การปรับ work style และ 2. hunter style การเป็นนักแสวงหา มีลักษณะสนใจใฝ่รู้ในประเด็นต่าง ๆ แต่ต้องมีความชัดเจน , ต้องดูความชอบของตนเอง, ในการเขียนต้องมี outline เพื่อให้ง่ายในการเขียน จากนั้นจึงลงมือเขียน และตรวจสอบการเขียน โดยขั้นตอนในการเริ่มการเขียน มี 3 ขั้นตอนคือ 1. define the work 2.Do the thinking และ 3. basic of writing ซึ่งสิ่งสำคัญในการเขียนบทความวิชาการ/งานวิจัย คือ การ plagiarism ส่วนอุปสรรคในการตีพิมพ์นั้น อาจจะเป็นการขาดความมั่นใจ กลัวการถูกวิจารณ์ตําหนิ ขาดความเข้าใจในกรอบแนวคิด ขาดการฝึกฝนประสบการณ์ และไม่มีสมาธิในการเขียน เป็นต้น” ซึ่งสามารถนำมาเป็นแนวทางสำหรับผู้วิจัยท่านอื่นๆได้
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ควรมีระบบการวางแผนจัดการที่มีคุณภาพ หนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญคือการติดต่อประสานงานกับวารสารที่จะขอตีพิมพ์ที่มีวัตถุประสงค์ตรงกับบทความฯของเราที่จะตีพิมพ์ มี impact factor ที่เข้าเกณฑ์มาตรฐาน สิ่งสำคัญมากอีกประการหนึ่งคือการจัดการกับบทความฯของเราซึ่งเป็นผู้นิพนธ์ต้นฉบับให้มีความถูกต้องชัดเจน มีความน่าเชื่อถือ มีการอ้างอิงบทความผู้อื่นอย่างถูกต้องและคำนึงถึงเรื่องplagiarism ทุกขั้นตอนในการเรียบเรียงบทความฯ ควรเขียนและดำเนินการอย่างอย่างมีคุณภาพ เนื่องจากปัจจุบันมีระบบที่สามารถตรวจจับได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพสู่ระดับชาติและระดับนานาชาติได้
ในปัจจุบันนี้ นอกจากผู้วิจัยจะต้องมีความรู้ความสามารถที่จะทำงานวิจัยที่มีความถูกต้องเหมาะสมทั้งในระเบียบวิธีวิจัย การวิเคราะห์ผลและการนำเสนอผล ที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือนำไปประยุกต์ได้แล้ว ยังต้องมีความรู้ความสามารถในการเขียนบทความวิชาการ เพื่อให้งานวิจัยของตนได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่อีกด้วย ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ผู้วิจัยจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเขียนบทความวิชาการและการตีพิมพ์ ซึ่งถ้าเป็นผลงานที่จะถืออยู่ในเกณฑ์ดีเด่นจะต้องมีข้อกำหนดด้านคุณภาพด้านการเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในระดับชาติและ/หรือนานาชาติ ซึ่งการเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับวงวิชาการหรือวิชาชีพระดับนานาชาติ ก็ต้องมีการตีพิมพ์ผลงานในระดับนานาชาตินั่นเอง
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ สำหรับนักวิจัยที่ยังมีประสบการณ์ในการทำวิจัยน้อย คิดว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายและเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่การมีแนวทาง และเทคนิคต่างๆ ให้นักวิจัยสามารถปฏิบัติตามนั้น ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก และเป็นสิ่งที่ทำให้นักวิจัยมือใหม่เกิดความมั่นใจมากยิ่งขึ้นในการนำผลงานวิจัยของตน ไปเผยแพร่และตีพิมพ์ระดับชาติและนานาชาติ
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ สำหรับนักวิจัยหน้าใหม่ถือเป็นเวทีแห่งการสั่งสมประสบการณ์ที่ช่วยเปิดมุมมอง แนวคิด และเรียนรู้หลากหลายทักษะ เช่น ทักษะการเลือกระเบียบวิธีวิจัย การเขียนและเรียบเรียงบทความ ทักษะภาษาอังกฤษ รวมทั้งการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารที่เหมาะสมกับวิจัยเรื่องนั้นๆ
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ควรวางแผนเตรียมการเรื่องตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารไว้ล่วงหน้าตั้งแต่วางแผนทำวิจัย และศึกษาข้อมูลวารสารที่สนใจ เป็นวารสารที่ได้รับการรับรองในระดับใด ตรงตามเกณฑ์ที่ต้องการหรือไม่ หัวข้อเรื่องที่ทำวิจัยและระเบียบวิธีวิจัยสอดคล้องกับแนวทางของวารสารที่ต้องการหรือไม่ การสมัครตีพิมพ์ในวารสารจะต้องใช้งบประมาณเท่าไร ค่าสมัครเป็นสมาชิกของวารสารเท่าไร เพื่อวางแผนของบประมาณไว้ล่วงหน้า เมื่อส่งส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ควรมีการติดตามผลจากบรรณาธิการของวารสารเป็นระยะๆ ถ้ามีการแก้ไข ผู้เขียนควรรีบดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ(reviewer) ของวารสาร และส่งตามเวลาที่วารสารกำหนด และติดตามผลการตอบกลับ ซึ่งอาจจะมีการส่งกลับมาให้แก้ไขอีกครั้ง ทั้งนี้ผู้เขียนจะต้องให้กำลังใจตนเองในการแก้ไขเพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการรับรอง
ในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในแหล่งต่างๆ ผู้วิจัยควรรัดกุมและควบคุมผลงานของตนเองในเรื่องคุณภาพ ควรวางแผนงานของตนในทุกกระบวนการ หลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงานผู้อื่น ควรหาที่ปรึกษาที่จะช่วยชี้แนะทั้งในเรื่องสาระหลัก ตลอดจนระเบียบวิธีวิจัย เมื่อต้นฉบับมีคุณภาพแล้วก็ต้องวางแผนต่อในเรื่องการเลือกแหล่งเพื่อเผยแพร่ผลงานซึ่งแหล่งการเผยแพร่นั้น ผู้วิจัยก็ต้องเข้าใจและต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของแหล่งนั้นๆให้ชัดเจน
องค์ความรู้ที่เกิดจากการวิจัยหากได้เผยแพร่ถึงกลุ่มเป้าหมายที่เชื่อว่าจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง งานวิจัยนั้นจึงนับได้ว่ามีคุณค่า การเตรียมเพื่อการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ ผู้เขียนควรศึกษาแนวทางการเขียน เงื่อนไข และข้อกำหนดอื่นไว้ล่วงหน้า วารสารแต่ละเล่มนั้นถ้าได้อ่านผลงานในวารสารนั้นบ่อยๆ จะเห็นได้ว่าต้องการสื่ออะไร กับผู้อ่านแบบไหน ดังนั้นสไตล์การเขียนก็จะบ่งบอกถึงสิ่งที่เราต้องนำมาเตรียมบทความของเรา ความสำคัญของการเผยแพร่ผลงานประการหนึ่งคือ การมีจริยธรรมของผู้เขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่ส่งบทความเดียวกันไปยังหลายวารสาร เพราะบทความหรือผลงานแต่ละเรื่อง วารสารแต่ละเล่มจะมีผู้เชี่ยวชาญอ่านผลงาน ซึ่งต้องใช้เวลา หากต้องการส่งหลายๆ วารสารควรกำหนดประเด็นของบทความใหม่ จัดเตรียม และส่งไปยังวารสารเล่มอื่น จึงนับได้ว่ามีจริยธรรม
นักวิชาการและนักวิจัยต่างก็ต้องการให้ผลงานของตนเองได้รับการเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง เพื่อประโยชน์ในหลายๆด้านทั้งต่อตนเอง ต่อหน่วยงาน และค่อสังคม นักวิจัยจึงต้องมีการเตรียมตัวที่ดี มีเครือข่ายที่กว้างขวาง รู้จักการจัดทำผลงานให้ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานที่จะส่งตีพิมพ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งงานวิจัยหรือผลงานวิชาการ แม้จะจัดทำได้ดีเพียงใดแต่ถ้าไม่ได้รับการตีพิมพ์ก็จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด จึงควรเห็นความสำคัญและศึกษาเรื่องการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานให้ดีและลึกซึ้ง
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการระดับชาติหรือนานาชาตินั้น ควรเลือกวารสารที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเราและศึกษารูปแบบการเขียนก่อนSubmitบทความ และได้กล่าวว่า การเลือกไปนำเสนอผลงานควรเลือกการประชุมวิชาการที่มีการคัดเลือกผลงานตีพิมพ์ในวารสารด้วย จะได้ประโยชน์ และให้ผู้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษeditภาษาอังกฤษให้ถูกต้องที่สุด
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการในแหล่งต่างๆ จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายสำหรับผู้ทำวิจัย เนื่องจากคุณภาพและมาตรฐานของวารสารแต่ละเล่มจะแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ระดับง่ายจนถึงยากมากและใช้เวลาในการพิจารณาหลายเดือนถึงเป็นปี แต่อย่างไรก็ตามหากผลงานวิจัยที่ได้ทำนั้นมีคุณภาพและมีผลการวิจัยที่ดี รวมทั้งทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้ใหม่ (new knowledge) ทฤษฎีใหม่ (new theory) มโนทัศน์หรือความคิดใหม่ (new concept or idea) ก็จะทำให้มีการตอบรับจากวารสารวิชาการเหล่านั้นได้
การเผยแพร่ผลงานวิจัย เป็นงานที่สำคัญ ที่จะช่วยให้งานวิชาการ ที่เจ้าของผลงานได้ใช้เวลา พลังงานในการทำ ได้มีการเผยแพร่ ข้อมูล และ มีโอกาสที่ได้นำงานวิจัยนั้นไปใช้ประโยชน์ที่กว้างขวางมากขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีการเรียนรู้ร่วมกัน