• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

รายงานการประชุม การจัดการความรู้เรื่อง การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันพฤหัส 19 กรกฎาคม 2018 at 1:48 pm

รายงานการประชุม

การจัดการความรู้เรื่อง การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่

ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐

วันพุธที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐  ณ ห้องประชุมบานชื่น

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายชื่อผู้เข้าประชุม

๑.  นางอนัญญา คูอาริยะกุล รองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ

๒.  นางวิมล อ่อนเส็ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓.  นางศศิธร ชิดนายี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔.  นางสาวอลิษา ทรัพย์สังข์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๕.  นางสาวเสาวลักษณ์ เนตรชัง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๖.  นางสาวนัยนา อินโชติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗.  นางประภาพร มโนรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘.  นางภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๙. นางสาวอัญชรี เข็มเพชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๑๐. นางสาวสิตานันท์ ศรีใจวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๑๑. นายสืบตระกูล ตันตลานุกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๑๒. นางสาวสุปราณี หมื่นยา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๑๓. นายอิทธิพล แก้วฟอง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๔. นายภราดร ล้อธรรมมา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๑๕. นายนพรัตน์ สวนปาน พยาบาลวิชาชีพ

๑๖. นางผ่องศรี พุทธรักษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๑๗. นางสาวนันทกาญน์ ปักษี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๑๘. นางสาวดาราวรรณ ดีพร้อม พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๙. นายวีระยุทธ อินพะเนา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๒๐. นางสาวจิระภา สุมาลี พยาบาลวิชาชีพชำนาญกา

๒๑. นายทิฏฐิ ศรีวิสัย พยาบาลวิชาชีพ

๒๒. นางวาสนา ครุฑเมือง ผู้ช่วยเลขานุการ

๒๓. นายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์ เลขานุการ

ร้อยละของจำนวนผู้เข้าประชุม     ๑๐๐

ประธานที่ประชุม   นางอนัญญา คูอาริยะกุล

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑   เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

ประธานแจ้งเรื่องสืบเนื่องจากระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ สกอ.กำหนดให้วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดพระบรมราชชนกดำเนินการเรื่องการจัดการความรู้ โดยในปีการศึกษา ๒๕๖๐ คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ กำหนดประเด็นจัดการความรู้ที่ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย โดยให้อาจารย์แต่ละคนเลือกประเด็นการจัดการความรู้ตามความสนใจ  การจัดการความรู้เรื่อง “การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่” ถือว่าเป็นประเด็นหนึ่งที่พบว่าผลงานบทความวิชาการมีจำนวนน้อยไม่เป็นไปตามมาตรฐาน สภาการพยาบาล กล่าวคือ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๗   – ๒๕๕๙ วิทยาลัยมีจำนวนบทความวิชาการ เฉลี่ยย้อนหลัง ๓ ปี คิดเป็นร้อยละ ๓.๗๘ ซึ่งเกณฑ์กำหนดไว้อย่างน้อยร้อยละ ๑๐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อจำนวนปีที่สภาการพยาบาลจะรับรองในปี พ.ศ.๒๕๖๑ รวมทั้งบ่งบอกถึงคุณภาพทางวิชาการของอาจารย์ต่ำกว่ามาตรฐานอันจะส่งผลต่อคุณภาพของนักศึกษาที่จะสำเร็จเป็นพยาบาลวิชาชีพต่อไปในอนาคต แต่เมื่อวิเคราะห์จุดแข็งด้านอาจารย์มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขา และมีทักษะด้านการทำผลงานวิจัยซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาการเขียนบทความวิชาการทำให้มีความง่ายในการแก้ไขปัญหา อีกทั้งในการจัดประชุมกำหนดประเด็นการจัดการความรู้ของอาจารย์ด้านการวิจัย อาจารย์ให้ความสนใจในประเด็นการพัฒนาการเขียนบทความเพื่อการตีพิมพ์ เผยแพร่มากที่สุด ดังนั้นจึงขอให้ทุกคนช่วยกันจัดการความรู้ของกลุ่มงานเพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีต่อไป

ประธานทบทวนความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ เพื่อใช้ในการดำเนินงานพัฒนานักศึกษา กลุ่มงานกิจการนักศึกษา ใช้กระบวนการจัดการความรู้ ๗ ขั้นตอน มาประกอบใช้การจัดทำ KM ดังนี้

๑.การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่ากลุ่มงาน มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้ความรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้างอยู่ในรูปแบบใดและอยู่ที่ใคร โดยคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯได้กำหนดประเด็นบ่งชี้ความรู้ที่องค์กรจำเป็นต้องมีและวิเคราะห์รูปแบบและแหล่งความรู้ที่มีอยู่ โดยความรู้ที่จำเป็นขององค์กรเป็นเรื่องการเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ เนื่องจากเห็นว่าผลงานบทความวิชาการมีจำนวนน้อยไม่เป็นไปตามมาตรฐาน สภาการพยาบาล กล่าวคือ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๗   – ๒๕๕๙ วิทยาลัยมีจำนวนบทความวิชาการ เฉลี่ยย้อนหลัง ๓ ปี คิดเป็นร้อยละ ๓.๗๘ ซึ่งเกณฑ์กำหนดไว้อย่างน้อยร้อยละ ๑๐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อจำนวนปีที่สภาการพยาบาลจะรับรองในปี พ.ศ.๒๕๖๑

๒.การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นการรวบรวม/สกัดความรู้ ทั้งความรู้ชัดแจ้ง (Explicit  Knowledge) จากเอกสาร หรือความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในตัวบุคคลจากภายในและ/หรือภายนอก โดยอาศัยเครื่องมือ/วิธีการต่างๆ ในการสร้างและแสวงหาความรู้ที่เหมาะสม เช่น การรวบรวมกฎระเบียบ คู่มือ มาตรฐานการปฏิบัติงาน การถอดความรู้จากตัวบุคคล เช่น การประชุมระดมสมอง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน เป็นต้น โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร ในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

๓.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต โดยมอบหมายให้อาจารย์อดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์ ผู้รับผิดชอบงานจัดการความรู้ดำเนินการแบ่งชนิดและประเภทของความรู้ เพื่อจัดทำระบบให้ง่ายและสะดวกต่อการค้นหาและใช้งาน     เรื่อง การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกำหนดแนวทางการเขียนบทความวิชาการต่อไป

๔.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐานปรับปรุง เนื้อหาให้สมบูรณ์ จากการประชุมพิจารณาร่วมกัน หรือตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญในองค์ความรู้นั้น และจัดทำรูปแบบและ “ภาษา” ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร รวมทั้งเรียบเรียงปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย และตรงกับความต้องการ

๕.การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ในช่วงเดือนมิถุนายน ๒๕๖๑

๖.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ มีเครื่องมือหลากหลาย ประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ในช่วงเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๑

๗.การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อแก้ปัญหา ปรับปรุง หรือพัฒนางาน เพื่อให้ดีขึ้นกว่าเดิม เมื่อปฏิบัติตามแล้วมีปัญหาตรงไหน มีจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ผู้ปฏิบัติก็แจ้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อให้กลุ่มงานนำไปพิจารณา ปรับปรุงงาน เกิดระบบการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ นำความรู้ไปใช้ เกิดการเรียนรู้มีประสบการณ์ใหม่ๆ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง ในช่วงเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๑

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๒  รับรองรายงานการประชุม

-

ระเบียบวาระที่ ๓  เรื่องสืบเนื่อง

-

ระเบียบวาระที่ ๔  เรื่องหารือที่ประชุม

การกำหนดแนวปฏิบัติ “การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่”  มีประเด็นดังนี้

๔.๑ ขั้นตอนการเตรียม

มติที่ประชุม ดังนี้

๔.๑.๑ การเลือกเรื่องหรือประเด็น ควรตรงกับความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความสนใจของผู้เขียน มีความทันสมัย อยู่ในขอบข่ายที่สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ง่าย เพื่อให้สามารถสอดแทรกความคิดเห็นของผู้เขียนได้อย่างเหมาะสม และควรมีการทบทวนเรื่องหรือประเด็นที่จะเขียนจากแหล่งเผยแพร่ต่างๆว่ามีการเสนอในแง่มุมใดบ้าง  มีแง่มุมใดที่ยังไม่มีการกล่าวถึง ซึ่งผู้เขียนจะสามารถหยิบยกมากล่าวถึงเพื่อชี้นำว่ามีความสำคัญและน่าสนใจ

๔.๑.๒ การกำหนดวัตถุประสงค์การเขียนบทความวิชาการ ควรตอบคำถามตามหลัก ๕ W ๑ H ในการกำหนดทิศทางของการเขียนและรูปแบบการนำเสนอ ประกอบด้วย Who   “จะเขียนให้ใครอ่าน” เพื่อทราบกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้วิเคราะห์ความต้องการ คุณค่าหรือประโยชน์ ที่ผู้อ่านจะได้รับ  What “จะเขียนเรื่องอะไร”  Where “จะเขียนเพื่อเผยแพร่ที่ไหน” เพื่อคัดเลือกวารสารที่จะเผยแพร่พร้อมทั้งทบทวนแนวทางการเขียน  ศึกษาแนวทางและเทคนิคการเขียนให้สอดคล้องกับรูปแบบวารสารนั้นๆ When “เวลาที่จะนำบทความลงเผยแพร่เมื่อใด” เพื่อพิจารณาช่วงเวลาที่นำเสนอที่ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน Why “จะนำเสนอเรื่องนี้ไปทำไม”เพื่อทบทวนวัตถุประสงค์ของผู้เขียนต้องการให้เกิดอะไร How “จะนำเสนอเรื่องนี้อย่างไร” (ซึ่งมีรายละเอียดในขั้นตอนการเขียนโครงเรื่อง) โดยแต่ละคำตอบจะมีความเชื่อมโยง สอดคล้องและต่อเนื่องกันเพื่อผู้เขียนจะไม่ได้หลงประเด็น

๔.๑.๓ การเขียนโครงเรื่องของบทความวิชาการ ควรจัดลำดับความคิดให้เป็นหมวดหมู่ หรือเป็นขั้นตอนตามลำดับความสำคัญ และมีความสัมพันธ์ของเนื้อหา เพื่อให้มีขอบเขตของเรื่อง ที่ชัดเจน ครบถ้วนและไม่ซ้ำซ้อนกัน ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

๑) ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมเนื้อหาทั้งที่เป็นความรู้  ข้อเท็จจริง และประสบการณ์ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะเขียนจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่หลากหลาย เช่น หนังสือ  บทความ วารสาร ข้อมูลการสัมภาษณ์ การสังเกต เป็นต้น หลังจากนั้นใช้วิธีการบันทึกข้อมูลแบบสรุปความ หรือสังเคราะห์

๒) จัดหมวดหมู่ประเด็น เป็นการวิเคราะห์แนวคิดหรือประเด็นที่จะเขียนบทความวิชาการให้กระจ่าง โดยการแยกแยะประเด็นในแง่มุมต่างๆตามแนวคิดเดียวกันหรือใกล้เคียงกันให้อยู่พวกเดียวกัน หรือกำหนดขอบเขตเป็นหัวข้อหลัก หัวข้อย่อย โดยอาจเขียนในรูปแบบผังมโนทัศน์ (concept  mapping)

๓) จัดลำดับความคิดให้เป็นระบบตามวิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตามลำดับ เช่นจากประเด็นที่กว้างๆหรือทั่วไปสู่เรื่องประเด็นเฉพาะ  จากเรื่องเฉพาะไปสู่เรื่องกว้างๆ ตามความสำคัญของเนื้อหาลดหลั่นลงมา ตามเหตุการณ์หรือระยะเวลาตามลำดับการเกิดก่อน-หลัง ตามการตั้งประเด็นคำถาม แล้วตอบคำถาม ขยายความ ยกตัวอย่าง ทีละประเด็น  ทั้งนี้ขึ้นวิธีการลำดับเนื้อหาขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การเขียนและขอบเขตเนื้อหา

๔.๒ ขั้นตอนการลงมือเขียนบทความ

มติที่ประชุม ดังนี้

ควรเรียบเรียงความรู้จากประสบการณ์และสิ่งที่ค้นคว้ามาตามโครงเรื่องที่กำหนด ด้วยถ้อยคำภาษาและลีลาชักจูงในผู้อ่านชวนติดตาม ทั้งนี้รูปแบบการเขียนขึ้นอยู่กับประเภทของบทความ   ผู้เขียนต้องการนำเสนอ และส่วนประกอบการเขียนบทความขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละแหล่งตีพิมพ์ โดยทั่วไปประกอบด้วย ๓ ส่วนคือ ส่วนนำ เนื้อหา และส่วนท้าย

๔.๓ ขั้นตอนการตีพิมพ์

มติที่ประชุม ดังนี้

๔.๓.๑ การเลือกแหล่งตีพิมพ์ เผยแพร่  ผู้เขียนควรพิจารณาความเหมาะสมของบทความว่าตรงกับผู้อ่านเป็นใคร รวมทั้งควรพิจารณาตามตัวชี้วัดหนึ่งทางด้านคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา เช่น ตีพิมพ์ในในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ระดับนานาชาติ  การตีพิมพ์บทความวิชาการใน วารสารทางวิชาการที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ การประเมินคุณภาพวารสารจาก Impact และ Ranking

๔.๓.๒  ศึกษาเงื่อนไขของแหล่งตีพิมพ์ เผยแพร่ ได้แก่ ความยาวของเนื้อหา  อักษรที่พิมพ์ รูปแบบอ้างอิง ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ ระยะเวลาของกระบวนการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ จากวารสาร หรือเว็บไซต์ของวารสาร

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่นๆ

ปิดการประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.

นัดประชุมครั้งต่อไป :  -

ลงชื่อ  ………………………………………………..

(นายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์)

บันทึกรายงานการประชุม

ลงชื่อ   ……………………………………………………

(นางอนัญญา  คูอาริยะกุล)     ตรวจรายงานการประชุม

การประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง Reflective Thinking

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันจันทร์ 9 เมษายน 2018 at 11:44 am

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง Reflective Thinking

วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.

ณ ห้องประชุมบานชื่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายนามผู้เข้าประชุม

๑.      นายบุญฤทธิ์                ประสิทธิ์นราพันธุ์     พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒.      นางสาวสุดารัตน์           ไชยประสิทธิ์           พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓.      นางสาวปฐพร              แสงเขียว              พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๔.      นางสาวดุจเดือน           เขียวเหลือง            พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๕.      นายนภดล                 เลือดนักรบ            พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๖.      นางสาววิไลวรรณ          บุญเรือง               พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗.      นางสาวดวงดาว           เทพทองคำ            พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘.      นางผ่องศรี                 พุทธรักษ์              พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๙.      นางสาวจิราพร            วิศิษฎ์โกศล            พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๑๐. นายอิทธิพล                แก้วฟอง                พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๑. นายกันตวิชญ์              จูเปรมปรี              พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๒. นางสายฝน                วรรณขาว             พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

รายนามผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

๑. นางสาวพัชชา            สุวรรณรอด              พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ  (ไปราชการ)

ผู้เข้าร่วมการประชุม คิดเป็นร้อยละ  ๙๒.๓

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ประธานการประชุม หัวหน้าภาควิชา กลุ่มการพยาบาล ๒

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

๑. แนวทางเกี่ยวกับ Reflective Thinking ที่วิทยาลัยนั้นใช้ประกอบด้วย ๒ แนวทาง ประกอบด้วย

๑.๑ Reflective Thinking ตามแนวคิดของ อ.ดร.ดุจเดือน  เขียวเหลือง จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ ประกอบด้วย ๗ ขั้นตอน ได้แก่

๑) อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น

๒) อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์

๓) บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ

๔) เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย

๕) จัดลำดับความคิดและสรุปแนวคิดรวบยอด

๖) นำข้อสรุปไปปฏิบัติ

๗) สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม

๑.๒ Reflective Thinking ตามแนวคิดของ อ.ดร.เชษฐา  แก้วพรม จากวิทยาลัยพยาบาล                        บรมราชชนนี แพร่ ประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน ได้แก่

๑) การอธิบายประสบการณ์

๒) การทบทวนความคิดความรู้สึก

๓) การวิเคราะห์เหตุการณ์

๔) การสร้างความรู้ความเข้าใจ

๕) การวางแผน การนำความรู้ไปใช้ในอนาคต

มติที่ประชุม :

๑. กระบวนการ Reflective  7 ขั้นตอน

ผู้เขียนได้สังเคราะห์กระบวนการสะท้อนคิดจากแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 16 คน และนำขั้นตอนในกระบวนการสะท้อนคิดที่มีคะแนนรวมเกินร้อยละ 50 ของจำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดมาเรียบเรียงตามลำดับขั้นตอนตามความเหมาะสมกับการนำไปใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลได้ 7 ขั้นตอนดังนี้คือ

๑) อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น (describe experience)

เป็นการอธิบายสภาพและบริบทของสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ชัดเจนด้วยมุมมองง่ายๆโดยใช้ความคิดที่เกิดขึ้นในขณะนั้นตอบคำถามตนเองว่าเกิดอะไรขึ้น  เกิดได้อย่างไร  มีผลกระทบกับใครบ้าง

2)  อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์  (feeling)

เป็นการอธิบายความรู้สึกของตนเองต่อสถานการณ์นั้นโดยการตอบคำถามว่า ฉันคิดและรู้สึกอย่างไรบ้างถ้าเป็นฉันจะทำอย่างไร ?  เป็นการประเมินและวิเคราะห์ความรู้สึกของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นทั้งด้านบวกและด้านลบ

3) บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อ ที่สนับสนุนการกระทำ (theoretical)

เป็นการบอกหรืออธิบายว่ามีปัจจัยต่างๆ เช่น แหล่งความรู้ แนวคิด ทฤษฎี ความเชื่อ คุณค่า ใดบ้างที่สนับสนุนการกระทำของตนเองและสนับสนุนการกระทำที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น

4) เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย  (various perspective)

เป็นการค้นหาทางเลือกที่หลากหลายมีเหตุผลและเป็นไปได้โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นทำความเข้าใจและเปิดใจรับฟังแนวคิดเห็นอื่นๆโดยปราศจากอคติและแสดงความคิดเห็นโต้แย้งทางวิชาการอย่างมีเหตุผล

5) จัดลำดับความคิดและสรุปแนวคิดรวบยอด  (conceptualization)

เป็นการจัดระเบียบและลำดับประเภทของการรับรู้ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงและทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิมรวมทั้งสามารถสรุปเป็นแนวคิดรวบยอดได้

6) นำข้อสรุปไปปฏิบัติ (experiment)

เป็นการเปรียบเทียบข้อดีและข้อด้อยและผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นตามมาของแต่ละแนวทางได้หลากหลายแง่มุมและสรุปแนวทางที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์นั้นได้อย่างมีเหตุมีผลและน่าเชื่อถือ

7) สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม (reflect learning/new experience)

เป็นการเทียบเคียงมุมมองใหม่กับความรู้ที่มีอยู่เดิมรวมถึงเป็นการสร้างความรู้ใหม่ที่เชื่อมโยงจากความรู้หรือประสบการณ์เดิมนอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เกิดการรู้ด้วยตนเองว่าตนเองได้เปลี่ยนแปลงความรู้ความคิดความเชื่อคุณค่าและจริยธรรมไปจากเดิมหรือไม่อย่างไร

๒. ปัจจัยเอื้อของการสะท้อนคิด

ด้านผู้สอน

- มีความตระหนักรู้

- มีความจริงใจ

- ตรงไปตรงมา

- เปิดใจกว้าง

- ศรัทธากระบวนการเรียนรู้

- เสริมแรงให้กำลังใจนักศึกษา

ด้านผู้เรียน

- ซื่อสัตย์กล้าหาญ (ความรู้สึกภายใน)

- มุ่งมั่นพยายาม

- ตระหนักรู้ตนเอง

- สนุกกับความคิด

- รับฟังคำตอบหลากหลาย (เปิดใจกว้าง)

- ห้อยแขวนการตัดสินใจ

๓. ปัจจัยความสำเร็จของการสะท้อนคิด

- สร้างบรรยากาศความไว้วางใจ โดยไม่ถูกคุกคาม ไม่ถูกบังคับ และมีสุนทรียสนทนา

- ในด้านของแหล่งความรู้

- การเสริมแรงทางบวก

- การรับฟังอย่างตั้งใจ

โดยสรุปเป็นขั้นตอนดังนี้ แนวปฎิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอน แบบReflective

3.เลือกประเด็น/เนื้อหาที่ทำการสะท้อนคิด โดยมีขั้นตอนดังนี้

กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม
ขั้นที่ 1 อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น 1.ผู้สอนกำหนดสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน

2.ผู้เรียนศึกษาหรืออ่านทำความเข้าใจสถานการณ์ที่ผู้สอนกำหนดให้

3.ผู้เรียนอธิบายสถานการณ์นั้น โดยบอกสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ บอกสิ่งที่เป็นสาระสำคัญในสถานการณ์ และบอกสิ่งที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์

ขั้นที่ 2 อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ 1.ผู้เรียนอธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ เช่น ฉันคิดและรู้สึกอย่างไรบ้างกับสถานการณ์นี้?” ถ้าเป็นฉันจะทำอย่างไร? อธิบายความรู้สึกของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นทั้งด้านบวกและด้านลบ
กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม
ขั้นที่ 3 บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ 1.ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจความหมายของคำว่า แนวคิด หลักการ และความเชื่อ เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันสามารถสื่อสารได้ชัดเจน

2.ให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อของตนเองที่มีอยู่หรือที่เคยเรียนมาว่ามีอะไรบ้าง

3.ให้ผู้เรียนนำเสนอ

แนวคิด/หลักการ/ความเชื่อ

สนับสนุนความคิดของ

ตนเองที่มีอยู่หรือที่เคย

เรียนมาว่ามีอะไรบ้าง ที่

เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้น

ขั้นตอนที่ 4 เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย 1.ให้ผู้เรียนนำเสนอแนวคิด หลักการ ความคิดความเชื่อของตนเอง

2.ผู้เรียนฟังการนำเสนอของสมาชิกกลุ่ม

3. ผู้ฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือตั้งคำถามโต้แย้ง คัดค้าน ท้าทาย และสะท้อนคิดกับบุคคลอื่นในกลุ่มอย่างเหมาะสม

4. ผู้สอนเอื้อให้เกิดบรรยากาศการยอมรับและเคารพศักดิ์ศรีของสมาชิกในกลุ่ม  และทำให้ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยและไว้วางใจในการแสดงความคิดเห็น

กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม
ขั้นตอนที่ 5 จัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอด 1. ฝึกให้ผู้เรียนจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอดอย่างง่ายจากเกมส์ทายชื่อเพลง

2. ให้ผู้เรียนได้จัดลำดับความคิดให้เป็นหมวดหมู่และสรุปความคิดรวบยอดด้วยตนเอง

3. ให้ผู้เรียนนำเสนอผลการจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอดของตนเอง และเปรียบเทียบว่าเหมือนหรือแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร

ขั้นตอนที่ 6 นำข้อสรุปไปปฏิบัติ 1.ให้ผู้เรียนร่วมอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทางซึ่งมีแนวคิดทฤษฎีสนับสนุนอย่างมีเหตุมีผล

2.สรุปแนวทางที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์นั้น

3.ให้ผู้เรียนประเมินผลลัพธ์ที่ตามมาของแนวทางนั้นในหลายๆ แง่มุม

ขั้นตอนที่ 7 สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม 1. ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง (self-evaluation) ว่าการเรียนรู้ของตนเองในการเรียนรู้แต่ละครั้งนั้นเป็นอย่างไร มีข้อดี ข้อปรับปรุงพัฒนาอย่างไร

2.ให้ผู้เรียนสะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม และเทียบเคียงมุมมองใหม่ (new perspective) กับความรู้ที่มีอยู่เดิม

โดยให้ผู้เรียนตอบคำถามดังนี้

-เหตุการณ์นี้มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานในอนาคตอย่างไร

-ประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเองด้านความรู้อย่างไร

-ประสบการณ์ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเอง ด้านความคิด ความเชื่อ คุณค่า และจริยธรรมในวิชาชีพอย่างไร

การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไทยพุทธในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันจันทร์ 4 กันยายน 2017 at 9:09 am

การสังเคราะห์งานวิจัย

เรื่อง การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไทยพุทธในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท

:กรณีศึกษาบ้านนาโปร่ง ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์


โดย

ดร.ประภาพร  มโนรัตน์และคณะ

จากการสังเคราะห์งานวิจัยเรื่อง การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไทยพุทธในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท :กรณีศึกษาบ้านนาโปร่ง ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ได้ดำเนินการโดย  ดร.ประภาพร มโนรัตน์ และคณะ ซึ่งได้ทำการวิจัยในกลุ่มผู้สูงอายุไทยที่นับถือศาสนาพุทธ ในพื้นที่ชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท (Suburban) ไว้อย่างน่าสนใจ นับได้ว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ควรได้ขยายความเผยแพร่ผลการศึกษาออกไปในวงกว้างในหลายรูปแบบเพื่อให้ได้มีการนำองค์ความรู้จากข้อค้นพบไปใช้ประโยชน์เป็นแนวทางการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกลุ่มนี้

ในการสังเคราะห์ครั้งนี้พบว่า นักวิจัยให้ความสำคัญกับสภาวการณ์สังคมผู้สูงอายุและผู้สูงอายุในพื้นที่ที่มีแนวโน้มต้องเผชิญกับการปรับตัวสูงในสังคม อันหมายถึง ผู้สูงอายุเหล่านั้นจะปรับตัวดูแลสุขภาพตนเองอย่างไร ในสภาวการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ไทยพุทธอันเป็นผู้สูงอายุส่วนใหญ่ของประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า เลือกศึกษาในกลุ่มผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาพุทธ  ในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบทที่มีลักษณะบริบทชุมชนกำลังเปลี่ยนจากความเป็นชนบทสู่สังคมเมืองที่ความสัมพันธ์กันของคนในชุมชนเปลี่ยนไป เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กันลดลงทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน ผู้สูงอายุจะต้องเผชิญกับการปรับตัวสูง จะโดดเดี่ยวและอยู่ลำพังมากขึ้น และที่สำคัญการพึ่งตนเองทางสุขภาพอาจเป็นไปไม่ดีเท่าที่ควรจากปัจจัยในหลายๆด้าน ที่คุกคาม  ทั้งด้านความเสื่อมตามธรรมชาติของผู้สูงอายุเองและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ไม่เหมาะสม จะมีผลต่อการมีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยในพื้นที่ศึกษาหมู่บ้านนาโปร่ง ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีผู้สูงอายุร้อยละ13 ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุนับถือศาสนาพุทธร้อยละ98.5 และมีจุดมุ่งหมายศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไทยพุทธ บ้านนาโปร่ง จังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้วิธีการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่สร้างขึ้นเองโดยมีข้อคำถามรวมข้อมูลทั่วไปแล้วจำนวน 50 ข้อ ซึ่งเหมาะสมกับกลุ่มผู้สูงอายุ  และผ่านการตรวจสอบคุณภาพความตรงตามเนื้อหา (Validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิและหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability)โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 ไปรวบรวมข้อมูลโดยเข้าสัมภาษณ์ด้วยตนเอง

โดยประชากรที่ศึกษาคือ ผู้สูงอายุ บ้านนาโปร่ง ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง สัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 80 คน (เป็นผู้สูงอายุกลุ่มที่มี ADL ≥ 12 คะแนนขึ้นไปทุกคนอันหมายถึงผู้สูงอายุที่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง)

สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นผู้วิจัยมีขั้นตอนการดำเนินงานที่เน้นการสร้างความเข้าใจและชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการวิจัยและการพิทักษ์สิทธิ์ของผู้ให้ข้อมูลทั้งในระดับตัวผู้ให้ข้อมูลและผู้เกี่ยวข้องโดยมีการประสานระหว่างหน่วยงานผู้ทำวิจัยกับหน่วยงานสุขภาพคือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพที่รับผิดชอบด้านสุขภาพประชาชนในพื้นที่ทำวิจัยและหน่วยงานด้านการปกครองในพื้นที่คือกำนันและผู้ใหญ่บ้านประจำพื้นที่ศึกษา นอกจากนี้การเข้าถึงผู้ให้ข้อมูลเน้นการสร้างสัมพันธภาพด้วยการเยี่ยมบ้านก่อนทั้งในรูปแบบรายบุคคลและเยี่ยมเป็นรายกลุ่มในแต่ละแวกโดยมีตัวแทนชุมชนที่คุ้นเคยกับผู้ให้ข้อมูลร่วมกิจกรรมด้วยเพื่อสร้างความไว้วางใจจนอยากให้ข้อมูลที่แท้จริงอันจะส่งผลต่อคุณภาพการวิจัย แล้วนำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ได้แก่ การแจกแจงความถี่   ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ซึ่งผลจากการวิจัยพบดังนี้

1.ผู้สูงอายุไทยพุทธบ้านนาโปร่งส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 70-79 ปีร้อยละ 52.5 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 78.8 สถานภาพสมรส คู่ ร้อยละ 53.8 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 53.8 มีรายได้อยู่ในช่วง 1,000-5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 42.5 รายได้มาจากเบี้ยผู้สูงอายุ ร้อยละ 93.7 มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง ร้อยละ 52.5 จำนวนบุตรเฉลี่ย 1-3 คน ร้อยละ 60 ผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ด้วยเฉลี่ย 1-3 คน ร้อยละ 48.7และอาศัยอยู่กับบุตร ร้อยละ 65

2.ผู้สูงอายุไทยพุทธบ้านนาโปร่ง มีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.95, ơ = 0.38 ) โดยพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองสูงสุดด้าน อโรคยาอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.43, ó = 0.57) รองลงมาคือด้านอบายมุขและด้านอารมณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.40, ó = 0.77 และ µ = 4.20, ó = 0.62 ตามลำดับ) ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองต่ำที่สุด คือ ด้านการออกกำลังกาย อยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.06, ó = 0.97)

3.ความคิดเห็นของผู้สูงอายุไทยพุทธต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง(จากคำถามปลายเปิด) พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความคิดเห็นสอดคล้องไปในทางเดียวกันมากที่สุดในประเด็นความรับผิดชอบต่อสุขภาพ โดยมีความเห็นว่าการดูแลสุขภาพเป็นเรื่องของตนเองที่จะต้องคงไว้เพื่อสุขภาพดี  วิธีการดูแลสุขภาพตนเองที่ปฏิบัติเป็นประจำคือการไปตรวจสุขภาพตามแพทย์นัด เมื่อเจ็บป่วยเบื้องต้นรีบรักษาและหลีกเลี่ยงสาเหตุที่จะทำให้เจ็บป่วยเช่นไม่ดื่มของมึนเมาหรือสูบบุหรี่ และพยายามทำใจให้สบายไม่เครียด ปล่อยวาง ทำงานบ้าน ไปวัดทำบุญเพื่อการพึ่งตนเองทางสุขภาพ ดังผู้สูงอายุท่านหนึ่งบอกว่า “..สุขภาพเป็นของเรา ไม่มีขายแล้ว ต้องทำเอา..ก็หมั่นไปหาหมอตามนัด ไม่สบายก็รีบรักษาจะได้หายไวไว..เหล้าบุหรี่ก็ไม่เอา ไม่ยุ่ง..อย่าเครียด ต้องปล่อยวาง ..ไปวัดทำบุญ สบายใจดี ไม่ป่วยก็ไม่เป็นภาระกับใครให้ลำบากใจ”

นอกจากนี้ผู้วิจัยได้อภิปรายผลและเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้อย่างน่าสนใจว่า จากผลการศึกษา พบว่าผู้สูงอายุไทยพุทธมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ=3.95, ơ=0.38) อาจเนื่องจากผู้สูงอายุบ้านนาโปร่งได้รับการกระตุ้นให้ตื่นตัวในการดูแลสุขภาพตนเองด้วยหลายโครงการสร้างสุขภาพดี รวมถึงมีนักศึกษาพยาบาลเข้าเยี่ยมบ้านดูแลกลุ่มวัยสูงอายุและวัยทำงานบ้านนาโปร่งอย่างต่อเนื่องตลอด4ปีอันสืบเนื่องจากข้อตกลงความร่วมมือสร้างชุมชนสุขภาวะ(MOU)ระหว่างบ้านนาโปร่ง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่อนดินแดง และเทศบาลตำบลท่าเสา และโรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา ตั้งแต่ปีพ.ศ.2555 จึงส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในทางบวกและยังไปสอดคล้องกับความคิดเห็นที่ได้จากคำถามปลายเปิดที่ผู้สูงอายุตอบในประเด็นการดูแลสุขภาพตนเองไปในทางเดียวกันว่าเป็นความรับผิดชอบของตนเองที่ต้องดูแลสุขภาพ แต่มีประเด็นที่ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตและให้ความคิดเห็นว่าพฤติกรรมการดูแลตนเองแม้จะอยู่ในระดับมากแต่ยังมีค่าคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลตนเองน้อยอาจต่ำลงได้เมื่อเวลาผ่านไปเสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมดูแลตนเองในระดับปานกลาง ควรต้องมีการเร่งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีค่าคะแนนเฉลี่ยการดูแลสุขภาพตนเองในระดับที่มากขึ้นจากเดิม  โดยเน้นการเร่งพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำได้แก่ออกกำลังกาย อยู่ในระดับปานกลาง (µ=3.06, ơ=0.97)รองลงมาคือ ด้านอาหาร  อยู่ในระดับมาก (µ=3.44, ơ=0.61) ซึ่งอาจเนื่องมาจากวัยและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่ไม่มีความคล่องตัวเหมือนคนหนุ่มสาวกิจกรรมที่ผู้สูงอายุทำจึงเป็นการออกกำลังที่กระทำอยู่ในบ้าน ซึ่งผู้สูงอายุบางคนก็อาศัยการทำงานบ้านเป็นการออกกำลังกาย ดังผลการศึกษาที่พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุตอนปลายอายุ70-79ปี (ร้อยละ42.5) สำหรับการดูแลตนเองด้านอาหารนั้น(µ=3.44, ơ=0.61) แม้จะอยู่ในระดับมากแต่ค่าคะแนนเฉลี่ยยังไม่สูงมากเท่าที่ควรจึงควรเน้นให้มีมาตรการส่งเสริมให้มีการดูแลตนเองไม่เพียงด้านการออกกำลังกายเท่านั้นยังต้องเร่งรัดให้มีการส่งเสริมด้านอาหารด้วย

ส่วนผลการวิจัยที่พบในเชิงบวกที่โดดเด่นคือ ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองสูงสุดด้าน อโรคยาอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.43, ó = 0.57) รองลงมาคือด้านอบายมุขและด้านอารมณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.40, ó = 0.77และ µ = 4.20, ó = 0.62 ) ผู้วิจัยได้อภิปรายให้มุมมองว่า อาจเนื่องมาจากคุณลักษณะข้อมูลทางประชากรที่โดดเด่นของผู้สูงอายุกลุ่มนี้ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุตอนปลายและเป็นเพศหญิง ยังอยู่กับคู่ของตนเองและอาศัยอยู่กับบุตร และมีสมาชิกครอบครัวอาศัยอยู่ร่วมกัน1-3คน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยด้านการผ่านประสบการณ์ชีวิตที่ยาวนานและเกิดการตกผลึกทางความคิดและการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวหนุนเสริมการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ดังที่พรทิพย์  มาลาธรรมและคณะ (2552) ทำการศึกษาพบว่า แรงสนับสนุนจากครอบครัวของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ และครอบครัวเป็นแรงสนับสนุนทางสังคมที่สำคัญในสังคมไทย ดังนั้นการดำเนินงานส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุยังควรสงวนจุดเด่นให้คงต่อไปด้วยด้วยการส่งเสริมในด้านที่ดีอยู่แล้วควบคู่กันไปด้วย

ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่อนดินแดง ชุมชนบ้านนาโปร่ง เทศบาลตำบลท่าเสา และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง  ควรเร่งรัดให้มีการส่งเสริม การดูแลตนเองของผู้สูงอายุด้านการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องที่เน้นการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสมกับวัยและบริบทผู้สูงอายุ  ตลอดจนส่งเสริมการดูแลตนเองด้านอาหารเพื่อสุขภาพตามวัยและบริบทผู้สูงอายุ

ผลการวิจัยเรื่องความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โพ.สต.ป่าเซ่า อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by Ananya Kooariyakul on วันพฤหัส 24 สิงหาคม 2017 at 4:21 pm

ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

นางอนัญญา คูอาริยะกุล* นางฉลองรัตน์ มีศรี**

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปี พ.ศ. 2558 จำนวน 200 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง โดยใช้สูตร KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .72 และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson,s correlation)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ มีความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับดี และ
มีพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับปานกลาง
2. ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ผลการวิจัยครั้งนี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์และวางแผนการจัดกิจกรรม หรือโครงการร่วมกันระหว่างวิทยาลัยพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อให้ประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่อไป

สรุปการจัดการความรู้ ประเด็น “การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ”

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันจันทร์ 21 สิงหาคม 2017 at 2:02 pm

สรุปการจัดการความรู้

ประเด็น “การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ”

กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ เวลา  ๑๓.๐๐ – ๑๓.๓๐ น

………………………………………………………………………………………………………………..

๑.รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑.      ดร.อนัญญา           คูอาริยะกุล       รองฯ กลุ่มงานวิจัยฯ    (ประธาน)

๒.      ดร.ดุจเดือน           เขียวเหลือง       รองฯ กลุ่มงานวิชาการ

๓.      นายไพทูรย์            มาผิว             รองฯ กลุ่มงานอำนวยการฯ

๔.      ดร.สุดารัตน์           ไชยประสิทธิ์

๕.      นางวิมล               อ่อนเส็ง

๖.      นางสาวนัยนา         อินธิโชติ

๗.      ดร.ศศิธร              ชิดนายี

๘.      ดร.ปฐพร              แสงเขียว

๙.      นางมณฑา            อุดมเลิศ

๑๐.  ดร.ประภาพร         มโนรัตน์

๑๑.  นายนภดล            เลือดนักรบ

๑๒.  นางภิญญารัช         บรรเจิดพงศ์ชัย

๑๓.  นายอดุลย์             วุฒิจูรีพันธุ์

๑๔.  ดร.นิศารัตน์           นาคทั่ง

๑๕.  นางสาววิไลวรรณ     บุญเรือง

๑๖.  นางสาวอัญชรี        เข็มเพชร

๑๗.  นางสาวดวงดาว       เทพทองคำ

๑๘.  ดร.เสาวลักษณ์        เนตรชัง

๑๙.  นายบุญฤทธิ์          ประสิทธิ์นราพันธุ์

๒๐.  นางวาสนา            ครุฑเมือง

๒๑.  ดร.สิตานันท์          ศรีใจวงศ์

๒๒.  นางสาวนัยนา         แก้วคง

๒๓.  นางสาวจิราพร        วิศิษฎ์โกศล

๒๔.  นายสืบตระกูล        ตันตลานุกุล

๒๕.  นางอรุณรัตน์          พรมมา

๒๖.  นางสาวสุปราณี       หมื่นยา

๒๗.  นายภราดร            ล้อธรรมมา

๒๘.  นางจิราพร            ศรีพลากิจ

๒๙.  นางสาวพัชชา         สุวรรณรอด

๓๐.  นางสายฝน            วรรณขาว

๓๑.  นางผ่องศรี             พุทธรักษ์

๓๒.  นางสาวนันทกาญจน์ ปักษี

๓๓.  นางสาวอลิษา         ทรัพย์สังข์

๓๔.  นางสาวดาราวรรณ   ดีพร้อม

๓๕.  นางสาววิภาวรรณ    นวลทอง

๓๖.  นายวีรยุทธ            อินพะเนา

๓๗.  นางสาวจิระภา        สุมาลี

๓๘.  นายทิฎฐิ              ศรีวิสัย

๓๙.  นายนพรัตน์           สวนปาน

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม ไม่มี

เริ่มประชุม ๑๓. ๐๐ น.

๒. วาระเรื่องแจ้ง

ประธานแจ้งว่า ให้นำเสนอแนวปฏิบัติที่ได้นำไปใช้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่ข้อสรุปสู่แนวปฏิบัติที่ดี

ดร.ประภาพร มโนรัตน์ ได้นำเสนอแนวปฏิบัติในการดำเนินงานการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติในการประชุมจัดการความรู้ที่ผ่านมาในวันที่27 ธันวาคม รวม ๙ แนวปฏิบัติเป็นบันไดสู่ความสำเร็จ และทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้รอบ๒ หลังการนำไปใช้ในวันที่ ๑๗กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ได้ข้อสรุปดังเดิมนำขึ้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายผลในWeb Blog ของKM สู่ทั้งองค์กร แล้ว เกิดการนำไปประยุกต์ใช้ในวงกว้าง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนการการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้คณาจารย์เกิดการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติจากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติ9ประการ

๒.เพื่อให้คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติจากการประยุกต์ใช้ตามแนวปฏิบัติ9ประการ

๓. เพื่อสร้างข้อสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีจากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติ9ประการ สู่การนำไปประยุกต์ใช้ในปีถัดไป ปีงบประมาณ๒๕๖๑

๔.สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้มีดังนี้

๑. ดร.ศศิธร ชิดนายี ได้ให้ความเห็นว่า การตีพิมพ์นานาชาติ ต้องปฏิบัติตามข้อคอมเม้นอย่างเคร่งครัดเพรามีประสบการณ์ไม่ทำตามที่วารสารให้ดำเนินการส่งIRBเลยปรับไม่รับผลงาน ต้องเปลี่ยนไปลงวารสารใหม่

๒. ดร.ปฐพร แสงเขียว ได้ให้ความเห็นว่าทำให้เกิดการเริ่มต้นงานตีพิมพ์เผยแพร่ได้ง่ายขึ้นและกำลังดำเนินการระหว่างกระบวนการเขียนเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่

๓. ดร.ประภาพร เห็นด้วยและสามารถใช้แนวปฏิบัติดังกล่าวจนได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร

๔ . อ.สืบตระกูล ตันตลานุกูล ให้เน้นเรื่องIRB ต้องผ่านไม่งั้นจะวารสารจะไม่รับตีพิมพ์

๕.อ.อลิษา ทรัพย์สังข์ ให้เน้นการCitationวารสารที่จะตีพิมพ์ด้วยเพื่อเพิ่มImpact factorให้วารสารที่เราจะตีพิมพ์ เขาจะรับของเราสูงถ้าCitationวารสารของเขา

ทุกคนเห็นด้วยกับการใช้แนวปฏิบัติที่สรุปไว้ในการKM ครั้งที่1 ให้เพิ่มเติม 2ข้อคือ ต้องมีการCitationงานของวารสารที่จะนำไปลงตีพิมพ์ จะทำให้ได้ตอบรับตีพิมพ์สูง  และ ต้องผ่านIRB และดังนั้นจึงเสนอแนวปฏิบัตินี้เผยแพร่ต่อไป

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับและนำมาสรุปเป็นแนวปฏิบัติในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ ได้ดังนี้

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติและนานาชาติ

๑.วางแผนการตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ได้รับทุนวิจัย โดยคาดการณ์ว่าจะตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติหรือนานาชาติในวารสารใด หรือเมื่อต้องการตีพิมพ์ผลงานวิจัยให้เลือกลงวาสารที่ต้องการงานวิจัยประเภทเดียวกับของเรา

๒. ศึกษารูปแบบการเขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการตามที่วารสารนั้นๆกำหนด (บทนิพนธ์ต้นฉบับ)

๓. ให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆอ่าน วิพากษ์ให้ก่อนเป็นการส่วนตัว (หากมีผู้ยินดีอ่านให้ฟรีและเป็นผู้ใกล้ชิดหรือเครือข่ายงาน) จะได้มุมมองในการปรับเขียนงานให้ดียิ่งขึ้นก่อนส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับไปให้บรรณาธิการของวารสารที่ต้องการตีพิมพ์

๔. ให้มีการตรวจสอบหรือปรับการเขียนบทคัดย่อและบทความวิจัยที่เป็นภาษาอังกฤษโดยผู้เชียวชาญก่อน เพื่อให้มีความชัดเจนด้านภาษาอังกฤษถูกต้อง

๕. ทำการส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับตามหลักเกณฑ์ ระเบียบของวารสารนั้นๆอย่างเคร่งครัด เช่น ต้องเป็นสมาชิกวารสารก่อน หรือ ส่งต้นฉบับให้ครบทุกชุดและตามเงื่อนไขที่ระบุ

๖. กรณีส่งแล้วและให้ปรับปรุงแก้ไขนั้น ให้รีบดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามที่เสนอแนะ และส่งกลับคืนภายในเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด  และแสดงให้เห็นว่ามีการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะโดยการขีดเส้นใต้หรือใส่แถบสี  ให้ทางวารสารเห็นได้ชัดว่าได้ดำเนินการแล้ว   สำหรับในประเด็นที่ไม่สามารถแก้ได้ให้เขียนชี้แจงไปว่าทำไม่ไม่แก้ไข ติดขัดในประเด็นใด นักวิจัยสามารถอธิบายแนวคิดของตนเองได้

๗. ส่งผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ครั้งละ1วารสารเท่านั้น หากไม่ได้รับการตอบรับในวารสารฉบับนั้นแล้ว จึงจะสามารถส่งวารสารไปลงยังวารสารอื่นต่อไปได้

๘. นักวิจัยต้องถือปฏิบัติในจริยธรรมของนักวิจัยอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และไม่ไม่ส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับไปหลายๆวารสารในเวลาเดียวกัน

๙. หาแหล่งตีพิมพ์ผลงานในวารสารได้โดยเข้าร่วมประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติที่มีการคัดเลือกผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารด้วย

๑๐. ให้มีการCitationวารสารที่จะนำไปขอตีพิมพ์ จะทำให้โอกาสรับตีพิมพ์สูง

๑๑.ให้งานวิจัยที่ตีพิมพ์ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (IRB)เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของวารสารและได้ตีพิมพ์

…………………………………………………….

ดร.ประภาพร มโนรัตน์

ผู้บันทึกและรับผิดชอบการจัดการความรู้กลุ่มงานวิจัยฯ

๑๖ สิงหาคม  ๒๕๖๐

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๕ / ๒๕๖๐ งานพัฒนานักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันศุกร์ 18 สิงหาคม 2017 at 4:24 pm

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๕ / ๒๕๖๐

งานพัฒนานักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๑๗ สิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๖๐ เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.

ณ ห้องประชุมบานชื่น

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑.      ดร.อนัญญา           คูอาริยะกุล       รองฯ กลุ่มงานวิจัยฯ    (ประธาน)

๒.      ดร.ดุจเดือน           เขียวเหลือง       รองฯ กลุ่มงานวิชาการ

๓.      นายไพทูรย์            มาผิว             รองฯ กลุ่มงานอำนวนการฯ

๔.      ดร.สุดารัตน์           ไชยประสิทธิ์

๕.      นางวิมล               อ่อนเส็ง

๖.      นางสาวนัยนา         อินธิโชติ

๗.      ดร.ศศิธร              ชิดนายี

๘.      ดร.ปฐพร              แสงเขียว

๙.      นางมณฑา            อุดมเลิศ

๑๐.  ดร.ประภาพร         มโนรัตน์

๑๑.  นายนภดล            เลือดนักรบ

๑๒.  นางภิญญารัช         บรรเจิดพงศ์ชัย

๑๓.  นายอดุลย์             วุฒิจูรีพันธุ์

๑๔.  ดร.นิศารัตน์           นาคทั่ง

๑๕.  นางสาววิไลวรรณ     บุญเรือง

๑๖.  นางสาวอัญชรี        เข็มเพชร

๑๗.  นางสาวดวงดาว       เทพทองคำ

๑๘.  ดร.เสาวลักษณ์        เนตรชัง

๑๙.  นายบุญฤทธิ์          ประสิทธิ์นราพันธุ์

๒๐.  นางวาสนา            ครุฑเมือง

๒๑.  ดร.สิตานันท์          ศรีใจวงศ์

๒๒.  นางสาวนัยนา         แก้วคง

๒๓.  นางสาวจิราพร        วิศิษฎ์โกศล

๒๔.  นายสืบตระกูล        ตันตลานุกุล

๒๕.  นางอรุณรัตน์          พรมมา

๒๖.  นางสาวสุปราณี       หมื่นยา

๒๗.  นายภราดร            ล้อธรรมมา

๒๘.  นางจิราพร            ศรีพลากิจ

๒๙.  นางสาวพัชชา         สุวรรณรอด

๓๐.  นางสายฝน            วรรณขาว

๓๑.  นางผ่องศรี             พุทธรักษ์

๓๒.  นางสาวนันทกาญจน์ ปักษี

๓๓.  นางสาวอลิษา         ทรัพย์สังข์

๓๔.  นางสาวดาราวรรณ   ดีพร้อม

๓๕.  นางสาววิภาวรรณ    นวลทอง

๓๖.  นายวีรยุทธ            อินพะเนา

๓๗.  นางสาวจิระภา        สุมาลี

๓๘.  นายทิฎฐิ              ศรีวิสัย

๓๙.  นายนพรัตน์           สวนปาน

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม ไม่มี

เริ่มประชุม ๑๓. ๐๐ น.

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

อ.นัยนา  อินธิโชติ แจ้งเรื่อง ทบทวนแนวทางการจัดการความรู้เรื่อง “การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา” จากการประชุมกลุ่มงานกิจการศึกษาที่ผ่านมา ขั้นตอนที่ ๑. ได้ดำเนินการการบ่งชี้ความรู้ และขั้นตอนที่ ๒.การสร้างและแสวงหาความรู้  เกี่ยวกับ “จิตอาสา”   และได้แนวทางในการพัฒนาเกี่ยวกับพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเอง และพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม โดยพัฒนานักศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารที่ดี คิดดี คิดทางบวก: (Positive thinking) มีการพูดที่ดี ฝึกขอบคุณ ฝึกแสดงความยินดี ฝึกให้กําลังใจ   ฝึกชื่นชมผู้ที่มีจิตอาสาหรือจิตสาธารณะ ขั้นตอนที่๓ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ และขั้นตอนที่ ๔ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ทำให้ได้แนวปฏิบัติ ๒ เรื่อง  คือ ๑) แนวปฎิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา  และ ๒)  แนวปฎิบัติการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา   ซึ่งจะได้ดำเนินการขั้นตอนที่ ๕.การเข้าถึงความรู้ และขั้นตอนที่ ๖ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และได้สรุปเป็นแนวปฎิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา มีดังนี้

๑.      การเป็นตัวแบบที่ดีทางด้านจิตอาสา

๒.      การจัดการเรียนรู้ต้องผ่านกระบวนการการปฏิบัติ ( Action learning)

๓.      การสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นการเรียนรู้จิตอาสา โดยทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกร่วม (Empathy)

๔.      มุ่งเน้นการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมอง (Transformation of learning) ของผู้เรียน

๕.      การจัดการเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสะท้อนตนเอง ( Self – reflection) มุ่งให้เห็นความคิดและความรู้สึกของตนเอง

๖.      ผู้สอนต้องสร้างความเข้าใจให้ชัดเจนว่าการมีจิตอาสานั้นจะต้องไม่เป็นการเบียดเบียนตนเองหรือบุคคลรอบข้าง

อ.อดุลย์ สอบถามว่าผลของการพัฒนานักศึกษา เป็นอย่างไรบ้าง

อ.นัยนา อินธิโชติ แจ้งว่า จากการพัฒนาพบว่านักศึกษามีความเข้าใจ และมีทักษะด้านจิตอาสามากขึ้น

จากการสังเกตพบว่านักศึกษาอาสาช่วยเหลืองาน ยกตัวอย่างเช่น ค่ายกล้าอาสา ครั้งที่ ๕๑ ที่ดอยก่อเมิง                 รัฐฉาน “ค่ายแรกบนแผ่นดินรัชกาลที่ ๑๐” กิจกรรมที่ดำเนินการมี เลี้ยงอาหารน้อง ให้ความรู้สุขภาพ     ตรวจสุขภาพชาวบ้าน มอบหมวกไหมพรม ขนม ครีมทาผิว ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๙

อ.ดร.นิศารัตน์ เสนอว่า จากการนิเทศนักศึกษาขณะฝึกปฏิบัติงาน พบว่า นักศึกษามีจิตอาสา ช่วยเหลือ               พี่ๆ พยาบาล ช่วยดูแลผู้ป่วยที่ไม่มีญาติ แต่ไม่ครบทุกคน

อ.ดร.ปฐพร เสนอว่า จากการนิเทศนักศึกษาขณะฝึกปฏิบัติงาน พบว่า นักศึกษามีจิตอาสา ช่วยเหลือเพื่อนๆที่ไม่เข้าใจในการปฏิบัติงานดี แต่ไม่ครบทุกคน

อ.ดร.ประภาพร เสนอว่า จากการที่พบลูกๆ ในชั้นปี พบว่า ลูกๆ ช่วยเหลือกันดี โดยเฉพาะลูกที่มีปัญหาเรื่องการเรียน

อ.นัยนา อินธิโชติ เสนอว่า จริงๆ แล้วแนวปฎิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษาที่งานพัฒนานักศึกษาได้จัดทำขึ้นนั้น เป็นแนวทางที่ดี ที่ควรพัฒนาต่อไป

มติที่ประชุม รับทราบ

วาระที่ ๒. เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา

มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๔/๒๕๕๙ ลงวันที่  ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

วาระที่ ๓. เรื่องสืบเนื่อง ไม่มี

วาระที่ ๔. เรื่องเพื่อพิจารณา  ไม่มี

วาระที่ ๕. เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา  ไม่มี

วาระที่ ๖. เรื่องอื่น ๆ   ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๔.๓๐ น.

ลงชื่อ ……………………………………………….ผู้บันทึกการประชุม

(นางสาวนัยนา  อินธิโชติ)

ผังกระบวนงานการยืมเงิน-คืนเงิน กองทุนบานชื่น

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันศุกร์ 18 สิงหาคม 2017 at 4:12 pm

ผังกระบวนงาน ( Work Flow)  การยืมเงิน-คืนเงิน กองทุนบานชื่น


ที่ ผังกระบวนการ ระยะเวลา รายละเอียดของงาน ผู้รับผิดชอบ
1 ผู้ยืมเงินส่งใบขอยืมเงิน ก่อนวันที่ต้องใช้เงิน อย่างน้อย  3 วัน 1.1 ผู้ยืมเงินส่งใบขอยืมเงินที่อนุมัติแล้ว - ผู้ยืมเงิน
2 ตรวจสอบใบขอยืมเงิน 1 วัน 2.1 เจ้าหน้าที่รับใบยืมเงินที่อนุมัติแล้ว

2.2 ตรวจสอบความถูกต้อง

- คุณนัดดา

กอบแก้ว

3 จ่ายเงินยืม 1 วัน 3.1 เจ้าหน้าที่จ่ายเงินยืมให้แก่ผู้ยืมเงิน

3.2 จัดทำบัญชี

- คุณนัดดา

กอบแก้ว

4 ขออนุมัตเบิกเงิน 5 วัน 4.1 ผู้ยืมเงินส่งหลักฐานขอเบิกเงิน  ตามระเบียบทางราชการ

- ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ

- ค่าจ้างเหมาบริการ

- พัสดุ

4.2 รับเช็คตามเอกสารที่ขอเบิก

4.3 ส่งเงินยืมคืนกองทุนบานชื่น ตามแบบฟอร์มที่กำหนด

4.4 นำเงินคืนให้แก่บัญชีกองทุนบานชื่น

- ผู้ยืมเงิน

- คุณนงคราญ

เยารัตน์

- ผู้ยืมเงิน

- ผู้ยืมเงิน

- คุณนัดดา

กอบแก้ว

กระบวนงานการยืม-คืนเงินราชการ

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันศุกร์ 18 สิงหาคม 2017 at 4:09 pm

ผังกระบวนงาน ( Work Flow)  การยืมเงินราชการ

ที่ ผังกระบวนการ ระยะเวลา รายละเอียดของงาน ผู้รับผิดชอบ
1 ผู้ยืมเงินส่งสัญญายืมเงิน ก่อนวันเดินทาง/วันที่ต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ หรือ ไม่น้อยกว่า 7 วันทำการแล้วแต่กรณี 1.1 ผู้ยืมเงินส่งสัญญาการยืมเงิน จำนวน 3 ฉบับ ให้การเงินก่อนวันเดินทางไปราชการ/วันที่ต้องการใช้เงิน - ผู้ยืมเงิน
2

รับสัญญาการยืมเงิน

ทุกวัน 2.1 งานการเงินรับสัญญายืมเงินจากผู้ยืมเงิน - งานการเงิน
3

ตรวจสอบสัญญาการยืมเงิน

1 วัน 3.1 งานการเงินตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ของสัญญายืมเงินและเอกสารประกอบสัญญาการยืมเงิน

- ถูกต้อง : ส่งเพื่อควบคุมเงินในระบบควบคุมงบประมาณ

- ไม่ถูกต้อง  ; ส่งคืนผู้ยืมเงินเพื่อดำเนินการแก้ไข

3.2 งานการเงิน  ส่งสัญญาการยืมเงินให้ผู้ตรวจสอบ  เพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาอนุมัติ

- งานการเงิน

- ผู้ตรวจสอบ

4 ควบคุมเงินในระบบควบคุมงบประมาณ 1-3 วัน ขึ้นอยู่กับผู้เซ็นต์สั่งจ่าย 4.1 งานการเงินควบคุมเงินในระบบควบคุมงบประมาณ

4.2 เขียนเช็คเสนอผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็ค 2 ใน 3 ท่าน

- งานการเงิน

- งานการเงิน

5

จ่ายเงินยืม

ผู้ยืม

- ก่อนวันเดินทาง 3 วันทำการ

1 วัน

5.1 งานการเงินจ่ายเงินยืมให้แก่ผู้ยืมเงิน

5.2 ผู้ยืมเงินรับสัญญายืมเงินที่จ่ายแล้วกับงานการเงิน เพื่อควบคุมการส่งหลักฐานการเบิกจ่ายหรือเงินเหลือจ่าย(ผู้ยืมเงินจะได้สัญญายืมเงินแผ่นสีเหลือง)

5.3 งานการเงินลงทะเบียนคุมลูกหนี้

- งานการเงิน

- ผู้ยืมเงิน

- งานการเงิน

ผังกระบวนงาน ( Work Flow) การคืนเงินยืมราชการ


ที่

ผังกระบวนการ

ระยะเวลา

รายละเอียดของงาน

ผู้รับผิดชอบ

1

ส่งคืนสัญญายืมเงิน

ทุกวัน

1.1 ผู้ยืมเงินส่งคืนหลักฐานการเบิกจ่ายเงินพร้อมด้วยสัญญาการยืมเงิน จำนวน 1 ฉบับ

1.2 งานการเงินลงทะเบียนคุมลูกหนี้

- ผู้ยืมเงิน

- งานการเงิน

2

รับหลักฐานการจ่ายและ/หรือเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี)

ตามกำหนดในสัญญายืมเงิน

2.1 งานการเงินรับหลักฐานการจ่ายเงินและ/หรือเงินเหลือจ่าย(ถ้ามี)  เพื่อชดใช้เงินยืม จากผู้ยืมเงินตามกำหนดในสัญญาการยืมเงิน ดังนี้

1. เดินทางไปราชการ (ภายในประเทศ) ภายใน 10 วัน นับจากวันที่กลับมาถึง (ตามระเบียบ 15 วัน)

2. เดินทางไปราชการ (ต่างประเทศ) ภายใน 15 วัน นับจากที่กลับมาถึง (ตามระเบียบ 30 วัน)

3. ยืมเงินเป็นค่าใช้จ่ายอื่น ภายใน 20 วัน นับจากวันที่แล้วเสร็จ

2.2 งานการเงิน  ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ของหลักฐานการจ่ายปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมาย  ระเบียบ  ข้อบังคับของทางราชการ

2.3 หากมีผู้ยืมเงินไม่ส่งหลักฐานและ/หรือเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี) เพื่อชดใช้เงินยืมตามกำหนดในสัญญาการยืมเงิน งานการเงินจะดำเนินการ ดังนี้

1. ออกหนังสือเรียกให้ชดใช้เงินยืมภายใน 7 วัน นับจากวันที่ลงนามหนังสือ

2. หากผู้ยืมเงินไม่ปฏิบัติตามข้อ 1 งานการเงินจะรายงานผู้อำนวยการ  เพื่อพิจารณาสั่งการให้หักเงินเดือน  ค่าจ้าง  เบี้ยหวัด  บำเหน็จบำนาญ  หรือเงินอื่นใดที่ผู้ยืมเงินพึงได้รับจากทางราชการ  เพื่อชดใช้จำนวนเงินที่ยืมไปจนครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในสัญญาการยืมเงิน

- งานการเงิน

- ผู้ยืมเงิน

- งานการเงิน

- งานการเงิน

ผู้ยืมเงินส่งสัญญายืมเงิน

แนวทางเอกสารหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายการฝึกอบรม

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันศุกร์ 18 สิงหาคม 2017 at 4:02 pm

แนวทางเอกสารหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายการฝึกอบรม

ตามระเบียบค่าใช้จ่ายฝึกอบรม  2549   และที่แก้ไขเพิ่มเติม หมวด 2 ส่วนที่  1 ข้อ  8  และโครงการที่ได้รับอนุมัติ

หลักฐานประกอบดังต่อไปนี้

รายการ หลักฐานประกอบการเบิกจ่าย
1. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้และการตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม

2. ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิด-ปิด การฝึกอบรม

3.ค่าวัสดุ เครื่องเขียนและอุปกรณ์

4. ค่าประกาศนียบัตร

5. ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์

6. ค่าหนังสือสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม

7.ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร เช่น อินเตอร์โรงแรม

8. ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆในการฝึกอบรม

- เอกสารฉบับจริงดำเนินการตามระเบียบพัสดุ
9. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม - ใบสำคัญรับเงินพร้อมสำเนาบัตรประชาชน  หรือใบเสร็จรับเงิน

- ลายเซ็นผู้เข้าร่วมอบรม

10. ค่ากระเป๋าหรือสิ่งที่ใช้บรรจุเอกสารสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม***เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินใบละ 300  บาท - เอกสารฉบับจริงดำเนินตามระเบียบพัสดุ
11. ค่าของสมนาคุณในการดูงาน***เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินแห่งละ 1,500  บาท - เอกสารฉบับจริงดำเนินตามระเบียบพัสดุ
12. ค่าตอบแทนวิทยากร - ใบสำคัญรับเงินสำหรับวิทยากร

- หนังสือเชิญ

- หนังสือตอบรับกรณีหน่วยงานตอบกลับในนามหน่วยงาน (ยกเว้นเอกชน)

- สำเนาบัตรประชาชน(ถ้ามี)

13.  ค่าอาหาร - ใบสำคัญรับเงินพร้อมสำเนาบัตรประชาชน  หรือใบเสร็จรับเงิน

- ลายเซ็นผู้เข้าร่วมอบรม

14. ค่าเช่าที่พัก - ใบเสร็จรับเงิน

- Folio

***โครงการ/กิจกรรม***

15. ค่ายานพาหนะ

กรณีใช้รถยนต์ราชการ

- ใช้โครงการ/กิจกรรมฉบับจริง

-  ใบขออนุมัติใช้รถยนต์ราชการ

-  ใบเสร็จค่าน้ำมัน

-  หนังสือขออนุญาตเดินทางไปราชการและออกนอกเขตจังหวัด/หนังสือ

ขออนุมัติเดินทางไปราชการ

-  ใบเสร็จค่าทางด่วน

กรณีเดินทางโดยเครื่องบิน

กรณีเช่ายานพาหนะ

กรณีเดินทางโดยรถส่วนตัว

ค่าชดเชยการใช้พาหนะส่วนตัวกม.ละ 4 บาท (สำหรับวิทยากร)

กรณีเดินทางค่าพาหนะรับจ้าง/รถไฟ/รถประจำทาง

-  ใบเสร็จ

-  กากบัตรโดยสาร(บอดิ้งพาส)

-  เอกสารฉบับจริงดำเนินการตามระเบียบพัสดุ

- หนังสือขออนุมัติเดินทางไปราชการโดยรถยนต์ส่วนตัวจากต้นสังกัด (กรณีส่วนราชการ)

- แนบระยะทางตามการคำนวณของกรมทางหลวง

-   ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน(บก.111)

การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันศุกร์ 18 สิงหาคม 2017 at 3:41 pm

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) กลุ่มงานวิชาการ

เรื่อง การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑

…………………………………………………………..

จากการที่กลุ่มงานวิชาการได้ระบุประเด็นการจัดการความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ ตามกระบวนการจัดการความรู้ดังนี้

. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) โดยกลุ่มงานวิชาการได้กำหนดประเด็นบ่งชี้ความรู้ที่องค์กรจำเป็นต้องมี และวิเคราะห์รูปแบบและแหล่งความรู้ที่มีอยู่ โดยความรู้ที่จำเป็นขององค์กรเป็นเรื่องการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ เนื่องจากเห็นว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะการเรียนรู้ทันกับกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ ๒๑ ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคม ผู้สอนจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ ๒๑ ที่เปลี่ยนไป โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ เพื่อผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ

๒. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) จากแหล่งต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั้งภายในและภายนอก เพื่อจัดทำเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๙

. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) เป็นการแบ่งชนิดและประเภทของความรู้ เพื่อจัดทำระบบให้ง่ายและสะดวกต่อการค้นหาและใช้งาน โดยกลุ่มงานวิชาการได้มีการสังเคราะห์ความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชากลุ่มวิชาชีพพยาบาล กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ ในบทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน

. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) เป็นการจัดทำรูปแบบและ “ภาษา” ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร รวมทั้งเรียบเรียงปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย และตรงกับความต้องการ

. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) คือ ความสามารถในการเข้าถึงความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ในเวลาที่ต้องการ โดยการพิจารณาว่าเราสามารถนำความรู้มาใช้งานได้ง่ายหรือไม่ หรือทำอย่างไรเพื่อจะให้เข้าถึงความรู้ได้

๖. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) โดยเฉพาะความรู้ในรูปแบบ Tacit Knowledge ที่จะต้องทำให้มีการถ่ายทอดออกมา โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน web blog KM ของวิทยาลัยฯ

. การเรียนรู้ (Learning) เป็นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ ซึ่งเป็นการเรียนรู้โดย

อาจารย์ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์มีการแลกเปลี่ยน ในวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ ซึ่งสามารถสรุปแนวปฏิบัติเกี่ยวกับบทบาทและลักษณะครู/ผู้เรียน ในศตวรรษที่ ๒๑ ได้ดังนี้

บทบาทและลักษณะครูในศตวรรษที่ ๒๑

๑.      ครูผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนตัวเองสู่การเป็นครูยุคThailand ๔.๐ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็น active learner  โดยอาจใช้แนวคิดการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

๒.      ครูต้องรู้บทบาทและมีคุณลักษณะที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงบทบาทที่เหมาะสม และ
ได้เรียนรู้จริง โดยจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เรียนรู้จากชีวิตจริง  มีการให้กำลังใจและกล่าวชื่นชมนักศึกษาเพื่อเสริมพลังบวก

๓.      ครูต้องเป็นนักสร้างแรงบันดาลใจ เพราะแรงบันดาลใจนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้เรียนในยุคปัจจุบันที่จะนำพาไปสู่การเรียนรู้ การคิด การออกแบบ การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆได้ดี

๔.      ครูต้องมีการสร้างบรรยากาศหรือสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างรอบด้าน เพื่อให้ผู้เรียน
เกิดความสนใจและรู้สึกผ่อนคลายซึ่งจะส่งผลต่อการรับรู้

๕.      ครูต้องเปลี่ยนจากการสอนไปสู่การเป็น coach จากถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้อำนวยการสร้างความรู้ เปลี่ยนจากการเป็นผู้รู้เป็นผู้เรียนรู้ และเปลี่ยนจากครูผู้รอบรู้วิชาเป็นผู้กำกับการเรียนรู้ของศิษย์

๖. ครูควรจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อกระตุ้นการคิดและให้นักศึกษาสร้างความรู้ด้วยตนเองได้ เช่น การจัดการเรียนสอนแบบสะท้อนคิด การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการทางพยาบาลในคิดค้นนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพ การจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง  การจัดการเรียนการสอนที่มีการใช้สื่อ หรือการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเทคโนโลยีซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจและเข้าถึงการเรียนมากขึ้น ซึ่งถือเป็นความท้าทายสำหรับครูรุ่นใหม่ยุคดิจิตอล

บทบาทและลักษณะผู้เรียน ในศตวรรษที่ ๒๑

๑.      มีทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

๒.      เป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง  ซึ่งการที่นักศึกษาจะสามารถสร้างความรู้ได้ นักศึกษาต้องมีความรู้พื้นฐานมากพอสมควร

๓.      ทบทวนประสบการณ์ตนเองและพัฒนาตนเองให้ต่อเนื่อง

อดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์

ผู้สรุปแนวปฏิบัติ

หน้าก่อนหน้าหน้าต่อไป
Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro