รายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๕ / ๒๕๖๐ งานพัฒนานักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๕ / ๒๕๖๐
งานพัฒนานักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.
ณ ห้องประชุมบานชื่น
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม
๑. ดร.อนัญญา คูอาริยะกุล รองฯ กลุ่มงานวิจัยฯ (ประธาน)
๒. ดร.ดุจเดือน เขียวเหลือง รองฯ กลุ่มงานวิชาการ
๓. นายไพทูรย์ มาผิว รองฯ กลุ่มงานอำนวนการฯ
๔. ดร.สุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์
๕. นางวิมล อ่อนเส็ง
๖. นางสาวนัยนา อินธิโชติ
๗. ดร.ศศิธร ชิดนายี
๘. ดร.ปฐพร แสงเขียว
๙. นางมณฑา อุดมเลิศ
๑๐. ดร.ประภาพร มโนรัตน์
๑๑. นายนภดล เลือดนักรบ
๑๒. นางภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย
๑๓. นายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์
๑๔. ดร.นิศารัตน์ นาคทั่ง
๑๕. นางสาววิไลวรรณ บุญเรือง
๑๖. นางสาวอัญชรี เข็มเพชร
๑๗. นางสาวดวงดาว เทพทองคำ
๑๘. ดร.เสาวลักษณ์ เนตรชัง
๑๙. นายบุญฤทธิ์ ประสิทธิ์นราพันธุ์
๒๐. นางวาสนา ครุฑเมือง
๒๑. ดร.สิตานันท์ ศรีใจวงศ์
๒๒. นางสาวนัยนา แก้วคง
๒๓. นางสาวจิราพร วิศิษฎ์โกศล
๒๔. นายสืบตระกูล ตันตลานุกุล
๒๕. นางอรุณรัตน์ พรมมา
๒๖. นางสาวสุปราณี หมื่นยา
๒๗. นายภราดร ล้อธรรมมา
๒๘. นางจิราพร ศรีพลากิจ
๒๙. นางสาวพัชชา สุวรรณรอด
๓๐. นางสายฝน วรรณขาว
๓๑. นางผ่องศรี พุทธรักษ์
๓๒. นางสาวนันทกาญจน์ ปักษี
๓๓. นางสาวอลิษา ทรัพย์สังข์
๓๔. นางสาวดาราวรรณ ดีพร้อม
๓๕. นางสาววิภาวรรณ นวลทอง
๓๖. นายวีรยุทธ อินพะเนา
๓๗. นางสาวจิระภา สุมาลี
๓๘. นายทิฎฐิ ศรีวิสัย
๓๙. นายนพรัตน์ สวนปาน
รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม ไม่มี
เริ่มประชุม ๑๓. ๐๐ น.
วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
อ.นัยนา อินธิโชติ แจ้งเรื่อง ทบทวนแนวทางการจัดการความรู้เรื่อง “การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา” จากการประชุมกลุ่มงานกิจการศึกษาที่ผ่านมา ขั้นตอนที่ ๑. ได้ดำเนินการการบ่งชี้ความรู้ และขั้นตอนที่ ๒.การสร้างและแสวงหาความรู้ เกี่ยวกับ “จิตอาสา” และได้แนวทางในการพัฒนาเกี่ยวกับพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเอง และพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม โดยพัฒนานักศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารที่ดี คิดดี คิดทางบวก: (Positive thinking) มีการพูดที่ดี ฝึกขอบคุณ ฝึกแสดงความยินดี ฝึกให้กําลังใจ ฝึกชื่นชมผู้ที่มีจิตอาสาหรือจิตสาธารณะ ขั้นตอนที่๓ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ และขั้นตอนที่ ๔ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ทำให้ได้แนวปฏิบัติ ๒ เรื่อง คือ ๑) แนวปฎิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา และ ๒) แนวปฎิบัติการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา ซึ่งจะได้ดำเนินการขั้นตอนที่ ๕.การเข้าถึงความรู้ และขั้นตอนที่ ๖ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และได้สรุปเป็นแนวปฎิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา มีดังนี้
๑. การเป็นตัวแบบที่ดีทางด้านจิตอาสา
๒. การจัดการเรียนรู้ต้องผ่านกระบวนการการปฏิบัติ ( Action learning)
๓. การสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นการเรียนรู้จิตอาสา โดยทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกร่วม (Empathy)
๔. มุ่งเน้นการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมอง (Transformation of learning) ของผู้เรียน
๕. การจัดการเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสะท้อนตนเอง ( Self – reflection) มุ่งให้เห็นความคิดและความรู้สึกของตนเอง
๖. ผู้สอนต้องสร้างความเข้าใจให้ชัดเจนว่าการมีจิตอาสานั้นจะต้องไม่เป็นการเบียดเบียนตนเองหรือบุคคลรอบข้าง
อ.อดุลย์ สอบถามว่าผลของการพัฒนานักศึกษา เป็นอย่างไรบ้าง
อ.นัยนา อินธิโชติ แจ้งว่า จากการพัฒนาพบว่านักศึกษามีความเข้าใจ และมีทักษะด้านจิตอาสามากขึ้น
จากการสังเกตพบว่านักศึกษาอาสาช่วยเหลืองาน ยกตัวอย่างเช่น ค่ายกล้าอาสา ครั้งที่ ๕๑ ที่ดอยก่อเมิง รัฐฉาน “ค่ายแรกบนแผ่นดินรัชกาลที่ ๑๐” กิจกรรมที่ดำเนินการมี เลี้ยงอาหารน้อง ให้ความรู้สุขภาพ ตรวจสุขภาพชาวบ้าน มอบหมวกไหมพรม ขนม ครีมทาผิว ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๙
อ.ดร.นิศารัตน์ เสนอว่า จากการนิเทศนักศึกษาขณะฝึกปฏิบัติงาน พบว่า นักศึกษามีจิตอาสา ช่วยเหลือ พี่ๆ พยาบาล ช่วยดูแลผู้ป่วยที่ไม่มีญาติ แต่ไม่ครบทุกคน
อ.ดร.ปฐพร เสนอว่า จากการนิเทศนักศึกษาขณะฝึกปฏิบัติงาน พบว่า นักศึกษามีจิตอาสา ช่วยเหลือเพื่อนๆที่ไม่เข้าใจในการปฏิบัติงานดี แต่ไม่ครบทุกคน
อ.ดร.ประภาพร เสนอว่า จากการที่พบลูกๆ ในชั้นปี พบว่า ลูกๆ ช่วยเหลือกันดี โดยเฉพาะลูกที่มีปัญหาเรื่องการเรียน
อ.นัยนา อินธิโชติ เสนอว่า จริงๆ แล้วแนวปฎิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษาที่งานพัฒนานักศึกษาได้จัดทำขึ้นนั้น เป็นแนวทางที่ดี ที่ควรพัฒนาต่อไป
มติที่ประชุม รับทราบ
วาระที่ ๒. เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๔/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
วาระที่ ๓. เรื่องสืบเนื่อง ไม่มี
วาระที่ ๔. เรื่องเพื่อพิจารณา ไม่มี
วาระที่ ๕. เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา ไม่มี
วาระที่ ๖. เรื่องอื่น ๆ ไม่มี
ปิดประชุมเวลา ๑๔.๓๐ น.
ลงชื่อ ……………………………………………….ผู้บันทึกการประชุม
(นางสาวนัยนา อินธิโชติ)
กระบวนการพัฒนาจิตอาสาในนักศึกษามีหลากหลายรูปแบบสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญได้แก่เจตคติต่อจิตอาสา การได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อ การรับรู้ความสามารถแห่งตน การสนับสนุนจากครอบครัว และลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน (สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง, ) ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในแนวปฏิบัติที่ประกาศมาอาจต้องเพิ่มรายละเอียดของแต่ละข้อ เพื่อให้เห็นแนวปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้น
การพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะจิตอาสา เป็นสิ่งที่สถาบันการศึกษาควรปลูกฝังแก่ผู้เรียน ทั้งกิจกรรมในหลักสูตรและกิจกรรมนอกหลักสูตร เพื่อหล่อหลอมพฤติกรรมดังกล่าวให้เป็นพฤติกรรมที่พึงกระทำ โดยการกล่าวยกย่องชมเชยเพื่อพบนักศึกษาปฏิบัติตนได้เหมาะสมทั้งในขณะกำัลงแสดงพฤติกรรมนั้นๆเช่น การช่วยเหลืออาจารย์โดยไม่ต้องรอให้ร้องขอ การอาสาทำงานเพื่อส่วนร่วมเช่นการออกค่ายอาสา หรือนำเรื่องราวการแสดงออกของนักศึกษาที่ประสบ ชื่นชมในขณะสอนในห้องเรียน ทำให้นักศึกษารู้สึกว่าสิ่งที่ตนได้กระทำเป็นสิ่งที่ดีในสังคม
การพัฒนานักศึกษาให้นักศึกษามีจิตอาสาอาจไม่จำเป็นต้องจัดทำเป็นโครงการ แต่อาจสอดแทรกไปในทุกกิจกรรมในชั้นเรียนหรือกิจกรรมเสริมหลักสูตรต่างๆ ตลอดจนสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นการเรียนรู้จิตอาสา อาทิเช่น ครูแสดงเป็นตัวอย่างที่ดีในการเป็นจิตอาสา เป็นต้น
การสร้างจิตสาอาสา เป็นจิตที่เกิดขึ้นด้วยตนเองเป็นสำคัญ การอบรมสั่งสอน หรือปลูกฝัง ถ้าใจไม่ยอมรับ จิตสาอาสาก็ไม่เกิดอย่างแท้จริง การสร้างจิตสาอาสาต้องเริ่มให้นักศึกษาเห็นความสำคัญจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี อาจเริ่มต้นปลูกฝังผ่านกิจกรรมต่างๆ ตามความสมัครใจก่อน แล้วค่อยขยายเป็นกิจกรรมใหญ่ และจุดเน้นหลักๆอีกประการหนึ่งคือ การมีแบบอย่างที่ดี และการที่นักศึกษาได้รับการดูแลและปฏิบัติจากผู้ที่มีจิตอาสา เพื่อให้ได้ซึมซับและเกิดจิตอาสาขึ้นด้วยใจตนเอง
สิ่งสำคัญในการพัฒนานักศึกษาให้มีจิตอาสานั้น ต้องพัฒนาเกี่ยวกับการเสียสละและมองประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ควรปลูกฝังให้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
การมีจิตอาสา เป็นคุณลักษณะพื้นฐานของผู้ที่จะเป็นพยาบาล การพัฒนานักศึกษาให้มีจิตอาสาจึงเป็นเรื่องที่สมควรจะส่งเสริม เพื่อที่จะสร้างพยาบาลให้มีคุณภาพตามคุณลักษณะและภาพลักษณ์ตามที่สังคมคาดหวังกับวิชาชีพพยาบาล
การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตอาสาสามารถทำได้ทุกช่วงวัย โดยที่ผู้สอนเป็นหัวใจสำคัญในการปลูกฝังคุณลักษณะจิตอาสาที่สามารถพัฒนาพร้อมกัน สำหรับแนวทางการจัดการเรียนรู้จำเป็นต้องนำองค์ความรู้เชิงทฤษฎีมาปรับประยุกต์ให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียนในปัจจุบัน เริ่มจากตัวผู้สอนเองที่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและค่อยๆ ขยายไปสู่การพัฒนาผู้เรียน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องพัฒนาไปให้ถึงระบบคิดของผู้เรียนมากกว่าการให้ทำกิจกรรมโดยปราศจากความคิด
จิตอาสาในนักศึกษาพยาบาล ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่พึงมีในตัวนักศึกษา เปรียบเสมือนสิ่งที่นักศึกษาได้เรียนรู้ในเรื่องของความเสียสละ และการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม หากเราเริ่มปลูกฝังนักศึกษาตั้งแต่ในขณะที่เรียน จะส่งผลให้บัณฑิตที่จบออกไปนั้นเป็นบุคคลที่มีคุณภาพไม่เพียงแต่เฉพาะความรู้ที่มีคุณภาพ แต่การที่มีความรู้ควบคู่กับการมีจิตอาสา นั้นจะทำให้บัณฑิตที่จบออกไปมีคุณภาพอย่างสมบูรณ์
การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษานั้น ควรจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์เป็นกิจกรรมที่ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้ และคุณธรรมจริยธรรม จัดกิจกรรมโดยให้ผู้เรียนคิดสร้างสรรค์ออกแบบกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างหลากหลายรูปแบบ เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในลักษณะจิตอาสา
ในฐานะของครูผู้สอนมีความคิดเห็นว่าการพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษานั้น การเป็นตัวแบบที่ดีทางด้านจิตอาสาอย่างสม่ำเสมอของครูผู้สอนมีความสำคัญมาก เพราะการพัฒนาลักษณะนี้เป็นการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยกระบวนการซึมซับ การสังเกต การเลียนแบบพฤติกรรม และควรให้มีการสะท้อนผลตนเองของนักศึกษาร่วมกับมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลจากการปฏิบัติเพื่อให้ได้คิดและพัฒนาหรือปรับให้เป็นพฤติกรรมที่ยั่งยืนของตนเองได้ต่อไป
แนวปฎิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา ในการสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นการเรียนรู้จิตอาสา โดยทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกร่วม (Empathy) ความเห็นอกเห็นใจ เอาใจผู้อื่นมาใส่ใจตนเอง เพื่อรับรู้ความรู้สึก และตอบสนองโดยการแสดงพฤติกรรมจิตอาสาอย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งภาษาพูดและภาษากายนั้น สามารถมาปรับมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักศึกษา จะช่วยสามารถประเมิน LO ได้
การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษานั้น ควรเริ่มจากตัวผู้สอนเองที่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและค่อยๆ ขยายไปสู่การพัฒนาผู้เรียน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องพัฒนาไปให้ถึงระบบคิดของผู้เรียนมากกว่าการให้ทำกิจกรรมโดยปราศจากความคิด อย่างไรก็ตามต้องถือเป็นหลักการว่าการพัฒนาจิตอาสาสามารถสอดแทรกได้ในทุกกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น การช่วยเหลือเพื่อนที่ทำการบ้านไม่ได้ก็เป็นจิตอาสาชนิดหนึ่ง หรือการประหยัดน้ำ ไฟฟ้า เป็นต้น
แนวทางที่สำคัญในการสร้างจิตอาสายังมีอีกหลายประการ ถ้ ดังนี้
1. สร้างวินัยในตนเอง ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในระบบประชาธิปไตย รู้ถึงขอบเขตของสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม
2. ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ตระหนักเสมอว่าตนเอง คือส่วนหนึ่งของสังคมต้องมีความรับผิดชอบ ในการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องของส่วนรวม ทั้งต่อประเทศชาติ และโลกใบนี้
3. ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม ให้ถือว่าเป็นปัญหาของตนเอง เช่นกันอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องช่วยกันแก้ไข
4. ยึดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต เพราะหลักธรรมหรือคำสั่งสอนในทุกศาสนาที่นับถือ สอนให้คนทำ ความดีทั้งสิ้น ถ้าปฏิบัติได้จะทำให้ตนเองมีความสุข นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมด้วย ทำให้เราสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
การมีจิตอาสา เป็นเรื่องอาจารย์ทุกคน ควรช่วยกันปลุกฝังนักศึกษา โดยเริ่มจาก การมีความคิด เชิงบวก เช่นมีเกมส์ ให้นักศึกษาช่วยกัน หา คำตอบ “แดดออกดีอย่าง” ให้ทุกคนช่วยกันคิด ก็จะช่วยให้ได้คำตอบเชิงบวก ออกมาครับ
จิตอาสาเป็นการแสดงออกที่ไม่ต้องการเงื่อนไข เกิดมากจากใจโดยแท้จริงของบุคคลนั้นๆ การที่จะพัฒนานักศึกษาให้เป็นบุคคลที่มีคุณลักษณะจิตอาสานั้นสามารถทำได้ตลอดเวลา เริ่มจากจุดเล็กๆน้อยๆในชีวิตประจำวัน และต่อยอดไปสู่ในระดับที่กว้างใหญ่ขึ้นในระดับวิชาชีพ ซึ่งในวิชาชีพพยาบาลก็จะช่วยหล่อหลอมโดยอัตโนมัติแต่ทั้งนี้จุดที่จะเป็นต้นแบบให้กับนักศึกษาได้เป็นอย่างดีก็ย่อมมาจากต้นแบบที่ดีซึ่งก็คือครูเพราะครูจะอยู่ในกลุ่มที่จะต้องเป็นตัวอย่างให้กับนักศึกษา ดังนั้นก่อนที่พัฒนานักศึกษาหรือพัฒนาไปพร้อมๆกันก็ต้องมาให้ครูกระตุ้นและบ่มเพาะลักษณะจิตอาสานี้ให้เกิดในช่วงชีวิตของการเป็นนักศึกษา ควรเน้นการสร้างวินัยในตนเอง ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ และการรู้หน้าที่ของตนเอง ซึ่งตนเองก็จะเป็นอีกคนหนึ่งที่จะช่วยนำพานักศึกษาทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิตเพื่อให้มีคุณลักษณะนี้ค่ะ
จิตอาสาเป็นคุณธรรมประการหนึ่งที่สังคมปรารถนาให้ผู้คนยึดถือ ฉนั้นครูผู้สอนควรส่งเสริมให้นักศึกศึกษามีจิตอาสาที่เกิดจากภายในและเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ด้วยการเสริมปัจจัยทางจิตด้วยการรับรู้ความสามารถของตนและแรงจูงใจอาสา (ธิดาชนก วงค์พิทักษ์, 2556)
การพัฒนาคุณลักษณะด้านจิตอาสา เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และต้องทำอย่างต่อเนื่อง อาจารย์ทั่วไปก็มีส่วนช่วยได้มาก เช่น เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงออกเรื่องจิตอาสา ให้คำชมเชยเมื่อนักศึกษาแสดงออกเรื่องการมีจิตอาสา เพื่อให้เขาเห้นว่าทำสิ่งที่ดีและอาจารย์มองเห็น ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการเรียนในชั้นเรียน ในช่วงการฝึกภาคปฏิบัติในแหล่งฝึก หรือการใช้ชีวิตประจำวันทั่วๆไป
จุดเริ่มต้นของกระบวนการสร้างจิตอาสาในนักศึกษาพยาบาล ตนเองคิดว่า จะต้องเริ่มสร้างจากภายในตัวตนของบุคคล โดยสิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้ คือ การนำพานักเรียนสู่การเรียนรู้จากสภาพจริง ภายใต้สถานการณ์ที่ช่วยสะกิดและสะเทือนอารมณ์ และใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดการสะท้อนคิด โดยถ้านักศึกษาสะท้อนคิดในทางบวก ก็ให้ส่งเสริม ชื่นชม แต่ถ้าสะท้อนออกมาในแง่ลบ ก็ควรค่อยขัดดเกลาหรือชี้ให้เห็นอีกมุม เป็นต้น
การมีจิตอาสาเป็นพื้นฐานของแต่ละบุคคลที่ถูกปลูกฝังมาอย่างต่อเนื่องในนักศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องเกิดได้เป็นอัตโนมัติซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนหรือสภาพแวดล้อมต้องเป็นบรรยากาศที่ส่งเสริมการเกิดสำหรับครูสิ่งที่สำคัญการสอนด้วยการทำเป็นแบบอย่าง
การสร้างจิตอาสาให้กับนักศึกษาที่ยั่งยืนอีกทางหนึ่งคือ ครูเป็นต้นแบบที่ดีที่สุด
เพราะครูคือChanged Agentของลูกศิษ๋ย์
จากการหาความหมายของคำว่า “จิตอาสา” คือ จิตที่ไม่นิ่งดูดายต่อสังคม หรือความทุกข์ยากของผู้คน และปรารถนาเข้าไปช่วย ไม่ใช่ด้วยการให้ทาน ให้เงิน แต่ด้วยการสละเวลา ลงแรงเข้าไปช่วย ด้วยจิตที่เป็นสุขที่ได้ช่วยผู้อื่น จะเน้นว่า ไม่ใช่แค่ทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นอย่างเดียว แต่เป็นการพัฒนา “จิตวิญญาณ” ของเราด้วย ส่วน “อาสาสมัคร” เป็นงานที่เกิดจากผู้ที่มี จิตอาสา ซึ่งมีความหมายอย่างมาก กับสังคมส่วนรวม เป็นผู้ที่เอื้อเฟื้อ เสียสละ เวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น หรือ สังคมให้เกิด ประโยชน์และความสุขมากขึ้น (เครือข่ายจิตอาสา, 2559)
แนวทางการพัฒนานักศึกษาเพื่อให้มีจิตอาสา ควรเริ่มจากการสร้างความตระหนักให้นักศึกษาเป้นผู้ที่คิดเป็น ตระหนักถึงความสำคัญของตนเองในบทบาทของการเป็นสมาชิกในกลุ่มย่อย สังคม ชุมชน หรือพลเมืองโลก การมีจิตอาสาควรเริ่มจากการริเริ่มคิดด้วยตนเอง เนื่องจากการอุทิศเสียสละตนไม่สามารถจะทำให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้ ถ้าไม่สามารถคิดเองเป็น การให้นักศึกษาได้เห็นแบบอย่างที่ดีและเรียนรู้จากต้นแบบอาจจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ เกิดจิตสำนึกในการมอง คิด และทำประโยชน์เพื่อคนอื่น
ลดส่วนของตัวเอง เพิ่มการมองเพื่อคนอื่น น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
Transformation of learning (TL)เป็นแนวปฏิบัติที่สำคัญประการหนึ่งที่จะมุ่งไปสู่การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มุ่ง TL นั้นจะต้องคำนึงถึงสิ่งทีาสำคัญ 5 ประการได้แก่1.ความร่วมมือ(Collaboration) โดยมองการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคม เปรียบเทียบกับการเรียนรู้ของผู้อื่น ไม่เอาตนเป็นที่ตั้งเพียงฝ่ายเดียว 2.เรียนอย่างลึก(DeepLearning) ทำความเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างส่วนต่างๆในเนื้อหารายวิชา 3.ไตร่ตรองสะท้อนคิด (Reflection) เพื่อเชื่อมโยงความรู้ใหม่ให้เข้ากับความรู้เดิมและประสบการณ์ชีวิต 4.ความผูกพัน (Engagement) เรียนรู้ผ่านการสานเสวนาหรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
5.เอื้ออาทร (Caring) รับฟังและทำความเข้าใจผู้อื่นเพื่อเรียนรู้ความเหมือนและความต่างของการเรียนรู้ (วิจารณ์ พานิช, 2558) ดังน้นการออกแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่ง TL จะเน้นการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างครู นักศึกษา เพื่อน และสิ่งแวดล้อม
จิตอาสาเป้นคุณลักษณะที่ควรปลูกฝังให้กับนักศึกษา สามารถพัฒนาได้หลายวิธี ทั้งในรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมนักศึกษา รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันของนักศึกษาด้วย
การพัฒนานักศึกษา ควรมองทั้งระบบ ทั้งการเรียนการสอน กิจกรรมนักศึกษา รวมทั้งสิ่งแวดล้อม สิ่งสนับสนุน ที่เอื้อต่อการพัฒนาของนักศึกษา
การพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะของบุคคลที่มีจิตอาสานั้น ควรเริ่มตั้งแต่การเป็นตัวแบบ ซึ่งตัวแบบที่นักศึกษาจะพบเจอมากที่สุดคืออาจารย์ เมื่ออาจารย์แสดงพฤติกรรมออกมาอย่างสม่ำเสมอ นักศึกษาก็จะมีแนวโน้มแสดงพฤติกรรมนั้นด้วย เป็นการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยกระบวนการสังเกตและเกิดการเลียนแบบพฤติกรรม นอกจากนี้ควรให้นักศึกษาได้ลงมือทำกิจกรรมจิตอาสาด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเป็นรูปแบบของโครงการก็ได้ แต่ควรบูรณาการกับกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งอาจารย์ต้องเป็นผู้ที่กระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความรู้สึกร่วม (Empathy) เกิดความเห็นอกเห็นใจ เพื่อรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น และแสดงออกถึงพฤติกรรมในลักษณะของจิตอาสาโดยไม่ใช่การบังคับ และต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสะท้อนตัวเอง มองกลับมายังความคิดและความรู้สึกของตัวเองเมื่อได้ช่วยเหลือผู้อื่นหรือทำประโยชน์ต่อส่วนรวม และพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่มีจิตอาสาต่อไป
การพัฒนานักศึกษาให้มีจิตอาสานั้น สิ่งสำคัญอยู่ที่ตัวนักศึกษาเอง ซึ่งครูมีส่วนช่วยในการพัฒนานักศึกษาได้โดยมีการปลูกฝังให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ นอกจากนี้การเป็นแบบอย่างที่ดีของครูในการมีจิตอาสา ซึ่งจะทำให้นักศึกษาได้เห็นรูปแบบและซึมซับสิ่งเหล่านี้เข้าไปในตัวนักศึกษาได้
“การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา” ในขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ต้องผ่านกระบวนการการปฏิบัติ ( Action learning) มีส่วนสำคัญในการสร้างคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้นักศึกษาได้สัมผัสถึงความรู้สึกที่แท้จริงของการกระทำของจิตอาสา การให้ ความภาคภูมิใจ
ในตนเอง ความเสียสละ ความปิติซึ่งเมื่อเกิดขึ้นในบุคคลแล้ว จะสามารถส่งต่อถึงบุคคลอื่น และส่งผลให้นักศึกษามีคุณลักษณะจิตอาสาเกิดขึ้นอย่างแท้จริง
การพัฒนาจิตอาสา ผู้สอน เป็นหัวใจสำคัญในการปลูกฝังคุณลักษณะจิตอาสาที่สามารถพัฒนาพร้อมกัน สำหรับแนวทางการเรียนรู้จำเป็นนำองค์ความรู้เชิงทฤษฎีมาปรับประยุกต์ให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียนในปัจจุบัน เริ่มจากตัวผู้สอนเองที่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและค่อยๆ ขยายไปสู่การพัฒนาผู้เรียน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องพัฒนาไปให้ถึงระบบคิดของผู้เรียนมากกว่าการให้ทำกิจกรรมโดยปราศจากความคิด ดังนั้นกิจกรรมที่พัฒนานักศึกษาจึงควรเกิดจากความคิดของนักศึกษาโดยที่ไม่ปิดกั้นความคิดของนักศึกษา
สิ่งสำคัญของจิตอาสา คือการเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ความรู้ และการติดต่อสื่อสาร การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม ทำงานทุกอย่างเป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่มุ่งหวังผลตอบแทนในรูปของอามิส สินจ้าง หรือรางวัล ตลอดจนการอุทิศกาย กำลังใจ และเวลาให้แก่ส่วนรวม
จิตอาสา เป็นลักษณะเด่นของวิชาชีพพยาบาล เพราะจิตอาสา คือจิตที่พร้อมจะสละเวลา แรงกาย และสติปัญญา เพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นจิตที่ไม่นิ่งดูดายเมื่อพบ เห็นปัญหาหรือความทุกข์ยากเกิดขึ้นกับผู้คน เป็นจิตที่มีความสุขเมื่อได้ทำความดีและเห็นน้ำตาเปลี่ยนเป็นรอยยิ้ม เป็นจิตที่เปี่ยมด้วย “บุญ” คือความสงบเย็นและพลังแห่งความดี ดังนั้นเราจึงควรปลูกฝังให้นักศึกษาพยาบาลมีจิตอาสา
เพื่อให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการมีจิตอาสาและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ต้องผ่านกระบวนการการปฏิบัติ ( Action learning) มีส่วนสำคัญในการสร้างคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้นักศึกษาได้สัมผัสถึงความรู้สึกที่แท้จริงของคำว่า “จิตอาสา” มีแบบอย่างที่ดีจากครูและรุ่นพี่
การพัฒนาจิตอาสาในนักศึกษา ควรเกิดจากตัวนักศึกษาเองที่จะพัฒนาหรือจะปรับเปลี่ยนทัศนคติ ดังนั้นการจัดกิจกรรมที่จะทำให้นักศึกษษเกิดการเป้นจิตอาสาที่ดีควรเริ่มจากในสิ่งที่นักศึกษาอยากจะทำ การที่คนเราทำอะไรด้วยความเต็มจะไม่มีคำว่าเหนื่อยหรือว่าเสียเวลา และวควรมีการเสริมแรงหรือสะท้อนให้นักศึกษาเห็นถึงที่นักศึกษาทำในเชิงบวกและสอดแทรกกิจกรรมอื่นๆที่นักศึกษาจะทำได้เช่น การใช้สมรรถนะของนักสึกษาในการออกช่วยเหลือประชาชน หรือ การทำความดีร่วมในการประหยัดน้ำประหยัดไฟในสถาบัน แต่ทุกกระบวนการต้องเกิดจากสิ่งที่นักศึกษาคิดเองซึ่งต้องหากระบวนการหรือเทคนิกมาบ่มเพาะนักศึกษาให้นักศึกษษไม่เกิดความรู้สึกว่าถูกอบรม เป็นต้น เมื่อนักศึกษารู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของนักศึกษาก็จะเกิดความรักและอยากที่จะทำกิจกรรมดีๆต่อไปจนเป็นนิสัย
จิตอาสานั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากความสมัครใจ เมื่อคนเราเกิดความพึงพอใจในสิ่งที่ทำ มันก็จะทำให้สิ่งเหล่านั้นออกมาดีเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นแนวความคิดที่ดีมีประโยชน์ต่อทั้งตนเองและคนรอบข้าง ถือว่าเป็นการจุดกระแสให้คนอื่นๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วยค่ะ
การเป็นตัวแบบที่ดีและเป็นวัฒนธรรมองค์กรจะช่วย สร้างความยั่งยืนของการมีจิตอาสาของนักศึกษา การจะพัฒนาคุณลักษณะการมีจิตอาสาของนักศึกษาควรมีกระบวนการดำเนินการ เพื่อที่บอกได้ว่าคุณลักษณะที่ต้องการนี้เป็นผลที่งอกงามมาจากการดำเนินการดังที่กล่าว
งานจิตอาสา สามารถทำในในโรงพยาบาล สามารถ สร้างสภาพแวดล้อมและกิจกรรมใหม่ ๆ ให้กับเด็กป่วยเนื่องจากคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม ๆ นานๆ ความกระตือรือร้นคงที่ และยังมีแนวโน้มลดลง ถ้ามีคนใหม่เข้ามาจะเกิดสภาพแวดล้อมใหม่ ทำให้มีแรงกระตุ้น คนนอกเข้ามาจะทำให้มีความกระตือรือร้นมากขึ้น ยังจะทำให้โรงพยาบาลเชื่อมโยงกับสังคมในมิติอื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่เป็นแค่สถานที่ให้บริการทางการแพทย์เท่านั้น สามารถเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าไปมีบทบาทสนับสนุนในนามอาสาสมัครจิตอาสาได้
การพัฒนาจิตอาสาให้แก่ผู้เรียนนั้นควรพัฒนาทุกขั้นตอนให้ผู้เรียนมีจิตอาสา ซึ่งปัจจุบันการมีจิตอาสาค่อนข้างลดน้อยลง อาจเนื่องจากสังคมที่เปลี่ยนไปแต่ในฐานนะอาจารย์พยาบาลจะทำอย่างไรให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสาได้ ซึ่งจิตอาสานั้นเป้นสิ่งสำคัญของวิชาชีพพยาบาล ดังนั้นผู้สอนจะต้องใส่ใจและให้ความสำคัญต่อผู้เรียนเพื่อพัฒนาให้เกิดจิตอาสาต่อไป
จิตอาสา เริ่มต้นได้ที่การพัฒนาภายในตน (intuitive learning)การพัฒนาภายในตนสามารถที่จะเปลี่ยนความคิด(mind set) ให้มีจิตนึกถึงสรรพสิ่งว่ามีความเกี่ยวข้องกัน เรียกว่า “มีจิตใหญ่” เมื่อเกิดจิตใหญ่ จะสามารถปฏิบัติต่อสรรพสิ่งรอบตัวได้อย่างแท้จริง ยั่งยืน เพราะพฤติกรรมเกิดจากจิตสำนึกใหม่ สามารถที่จะมีจิตอาสาในทุกกรณี intuitive, awakening, wisdom เป็นคำที่พัฒนาได้ ละเอียด ปราณีต และมีคุณค่ามากสำหรับการเกิดมาได้เป็นมนุษย์และมีจิตอาสาต่อสิ่งรอบๆ ตัว
การพัฒนานักศึกษาให้มีจิตอาสานั้นควรเริ่มที่การส่งเสริมทั้งในภายในและภายนอกของตัวเอง ซึ่งสามารถพัฒนาได้จากการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดศักยภาพในตัวนักศึกษาเอง และสิ่งสำคัญคือการส่งเสริมจากภายนอกนั่นก็คือสิ่งแวดล้อมภายในสถานศึกษา โดยเฉพาะอาจารย์ที่ควรเป็นต้นแบบด้านการมีจิตอาสาด้วยเช่นกัน
การศึกษาในยุค Thailand 4.0 มีความหมายมากกว่าการเตรียมความพร้อมด้านความรู้เท่านั้น แต่เป็นการเตรียมมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ โดยมีการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนและมีแผนในการเตรียมความพร้อมของคนทุกด้าน ให้สามารถมีชีวิตที่ดี อยู่รอดในสังคม และทำมาหากินเป็น โดยเฉพาะในส่วนของนักเรียนนักศึกษาต้องสอนให้มี “ความรู้คู่คุณธรรม และมีทักษะในศตวรรษที่ 21″
การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตอาสา แนวทางการเรียนรู้จำเป็นนำองค์ความรู้เชิงทฤษฎีมาปรับประยุกต์ให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียนในปัจจุบัน เริ่มจากตัวผู้สอนเองที่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและค่อยๆ ขยายไปสู่การพัฒนาผู้เรียน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องพัฒนาไปให้ถึงระบบคิดของผู้เรียน การพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องเชื่อมโยงเข้าวิถีชีวิตของผู้เรียนในแต่ละชุมชนท้องถิ่น การจัดการเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสะท้อนตนเอง (self – reflection) มุ่งให้เห็น
ความคิดและความรู้สึกของตนเองเมื่อได้ช่วยเหลือผู้อื่นหรือทำประโยชน์ต่อส่วนรวม รวมทั้งการกำหนดแนวทางสำหรับพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่มีจิตอาสาต่อไป