สรุปการจัดการความรู้ ประเด็น “การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ”
สรุปการจัดการความรู้
ประเด็น “การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ”
กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๓.๓๐ น
………………………………………………………………………………………………………………..
๑.รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม
๑. ดร.อนัญญา คูอาริยะกุล รองฯ กลุ่มงานวิจัยฯ (ประธาน)
๒. ดร.ดุจเดือน เขียวเหลือง รองฯ กลุ่มงานวิชาการ
๓. นายไพทูรย์ มาผิว รองฯ กลุ่มงานอำนวยการฯ
๔. ดร.สุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์
๕. นางวิมล อ่อนเส็ง
๖. นางสาวนัยนา อินธิโชติ
๗. ดร.ศศิธร ชิดนายี
๘. ดร.ปฐพร แสงเขียว
๙. นางมณฑา อุดมเลิศ
๑๐. ดร.ประภาพร มโนรัตน์
๑๑. นายนภดล เลือดนักรบ
๑๒. นางภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย
๑๓. นายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์
๑๔. ดร.นิศารัตน์ นาคทั่ง
๑๕. นางสาววิไลวรรณ บุญเรือง
๑๖. นางสาวอัญชรี เข็มเพชร
๑๗. นางสาวดวงดาว เทพทองคำ
๑๘. ดร.เสาวลักษณ์ เนตรชัง
๑๙. นายบุญฤทธิ์ ประสิทธิ์นราพันธุ์
๒๐. นางวาสนา ครุฑเมือง
๒๑. ดร.สิตานันท์ ศรีใจวงศ์
๒๒. นางสาวนัยนา แก้วคง
๒๓. นางสาวจิราพร วิศิษฎ์โกศล
๒๔. นายสืบตระกูล ตันตลานุกุล
๒๕. นางอรุณรัตน์ พรมมา
๒๖. นางสาวสุปราณี หมื่นยา
๒๗. นายภราดร ล้อธรรมมา
๒๘. นางจิราพร ศรีพลากิจ
๒๙. นางสาวพัชชา สุวรรณรอด
๓๐. นางสายฝน วรรณขาว
๓๑. นางผ่องศรี พุทธรักษ์
๓๒. นางสาวนันทกาญจน์ ปักษี
๓๓. นางสาวอลิษา ทรัพย์สังข์
๓๔. นางสาวดาราวรรณ ดีพร้อม
๓๕. นางสาววิภาวรรณ นวลทอง
๓๖. นายวีรยุทธ อินพะเนา
๓๗. นางสาวจิระภา สุมาลี
๓๘. นายทิฎฐิ ศรีวิสัย
๓๙. นายนพรัตน์ สวนปาน
รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม ไม่มี
เริ่มประชุม ๑๓. ๐๐ น.
๒. วาระเรื่องแจ้ง
ประธานแจ้งว่า ให้นำเสนอแนวปฏิบัติที่ได้นำไปใช้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่ข้อสรุปสู่แนวปฏิบัติที่ดี
ดร.ประภาพร มโนรัตน์ ได้นำเสนอแนวปฏิบัติในการดำเนินงานการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติในการประชุมจัดการความรู้ที่ผ่านมาในวันที่27 ธันวาคม รวม ๙ แนวปฏิบัติเป็นบันไดสู่ความสำเร็จ และทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้รอบ๒ หลังการนำไปใช้ในวันที่ ๑๗กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ได้ข้อสรุปดังเดิมนำขึ้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายผลในWeb Blog ของKM สู่ทั้งองค์กร แล้ว เกิดการนำไปประยุกต์ใช้ในวงกว้าง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนการการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้คณาจารย์เกิดการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติจากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติ9ประการ
๒.เพื่อให้คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติจากการประยุกต์ใช้ตามแนวปฏิบัติ9ประการ
๓. เพื่อสร้างข้อสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีจากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติ9ประการ สู่การนำไปประยุกต์ใช้ในปีถัดไป ปีงบประมาณ๒๕๖๑
๔.สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้มีดังนี้
๑. ดร.ศศิธร ชิดนายี ได้ให้ความเห็นว่า การตีพิมพ์นานาชาติ ต้องปฏิบัติตามข้อคอมเม้นอย่างเคร่งครัดเพรามีประสบการณ์ไม่ทำตามที่วารสารให้ดำเนินการส่งIRBเลยปรับไม่รับผลงาน ต้องเปลี่ยนไปลงวารสารใหม่
๒. ดร.ปฐพร แสงเขียว ได้ให้ความเห็นว่าทำให้เกิดการเริ่มต้นงานตีพิมพ์เผยแพร่ได้ง่ายขึ้นและกำลังดำเนินการระหว่างกระบวนการเขียนเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่
๓. ดร.ประภาพร เห็นด้วยและสามารถใช้แนวปฏิบัติดังกล่าวจนได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร
๔ . อ.สืบตระกูล ตันตลานุกูล ให้เน้นเรื่องIRB ต้องผ่านไม่งั้นจะวารสารจะไม่รับตีพิมพ์
๕.อ.อลิษา ทรัพย์สังข์ ให้เน้นการCitationวารสารที่จะตีพิมพ์ด้วยเพื่อเพิ่มImpact factorให้วารสารที่เราจะตีพิมพ์ เขาจะรับของเราสูงถ้าCitationวารสารของเขา
ทุกคนเห็นด้วยกับการใช้แนวปฏิบัติที่สรุปไว้ในการKM ครั้งที่1 ให้เพิ่มเติม 2ข้อคือ ต้องมีการCitationงานของวารสารที่จะนำไปลงตีพิมพ์ จะทำให้ได้ตอบรับตีพิมพ์สูง และ ต้องผ่านIRB และดังนั้นจึงเสนอแนวปฏิบัตินี้เผยแพร่ต่อไป
สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับและนำมาสรุปเป็นแนวปฏิบัติในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ ได้ดังนี้
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติและนานาชาติ
๑.วางแผนการตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ได้รับทุนวิจัย โดยคาดการณ์ว่าจะตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติหรือนานาชาติในวารสารใด หรือเมื่อต้องการตีพิมพ์ผลงานวิจัยให้เลือกลงวาสารที่ต้องการงานวิจัยประเภทเดียวกับของเรา
๒. ศึกษารูปแบบการเขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการตามที่วารสารนั้นๆกำหนด (บทนิพนธ์ต้นฉบับ)
๓. ให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆอ่าน วิพากษ์ให้ก่อนเป็นการส่วนตัว (หากมีผู้ยินดีอ่านให้ฟรีและเป็นผู้ใกล้ชิดหรือเครือข่ายงาน) จะได้มุมมองในการปรับเขียนงานให้ดียิ่งขึ้นก่อนส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับไปให้บรรณาธิการของวารสารที่ต้องการตีพิมพ์
๔. ให้มีการตรวจสอบหรือปรับการเขียนบทคัดย่อและบทความวิจัยที่เป็นภาษาอังกฤษโดยผู้เชียวชาญก่อน เพื่อให้มีความชัดเจนด้านภาษาอังกฤษถูกต้อง
๕. ทำการส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับตามหลักเกณฑ์ ระเบียบของวารสารนั้นๆอย่างเคร่งครัด เช่น ต้องเป็นสมาชิกวารสารก่อน หรือ ส่งต้นฉบับให้ครบทุกชุดและตามเงื่อนไขที่ระบุ
๖. กรณีส่งแล้วและให้ปรับปรุงแก้ไขนั้น ให้รีบดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามที่เสนอแนะ และส่งกลับคืนภายในเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด และแสดงให้เห็นว่ามีการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะโดยการขีดเส้นใต้หรือใส่แถบสี ให้ทางวารสารเห็นได้ชัดว่าได้ดำเนินการแล้ว สำหรับในประเด็นที่ไม่สามารถแก้ได้ให้เขียนชี้แจงไปว่าทำไม่ไม่แก้ไข ติดขัดในประเด็นใด นักวิจัยสามารถอธิบายแนวคิดของตนเองได้
๗. ส่งผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ครั้งละ1วารสารเท่านั้น หากไม่ได้รับการตอบรับในวารสารฉบับนั้นแล้ว จึงจะสามารถส่งวารสารไปลงยังวารสารอื่นต่อไปได้
๘. นักวิจัยต้องถือปฏิบัติในจริยธรรมของนักวิจัยอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และไม่ไม่ส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับไปหลายๆวารสารในเวลาเดียวกัน
๙. หาแหล่งตีพิมพ์ผลงานในวารสารได้โดยเข้าร่วมประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติที่มีการคัดเลือกผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารด้วย
๑๐. ให้มีการCitationวารสารที่จะนำไปขอตีพิมพ์ จะทำให้โอกาสรับตีพิมพ์สูง
๑๑.ให้งานวิจัยที่ตีพิมพ์ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (IRB)เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของวารสารและได้ตีพิมพ์
…………………………………………………….
ดร.ประภาพร มโนรัตน์
ผู้บันทึกและรับผิดชอบการจัดการความรู้กลุ่มงานวิจัยฯ
๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐
ผลงานวิจัยที่จะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ควรมีการวางแผนตั้งแต่แรกโดยให้ความสำคัญกับการผ่านคณะกรรมการการวิจัยในมนุษย์ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่กองบรรณาธิการแต่ละแห่งจะพิจารณาก่อนจะให้มีการตีพิมพ์ รวมทั้งการแสวงหาแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ควรปฏิบัติตามจรรยาบรรณาของนักวิจัย ไม่ควรส่งไปหลายแห่งในเวลาเดียวกัน และมีควรปรับปรุงตามเงื่อนไขกองบรรณาธิการให้ข้อเสนอแนะ
นอกจากแนวปฏิบัติทั้ 11 ข้อดังกล่าวที่จะช่วยให้การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติสำเร็จได้แล้ว สิ่งที่ควรคำนึงถึงอีกอย่างหนึ่งก็คือ การดูทิศทางของวารสารในฉบับที่จะตีพิมพ์ หรือ Theme ของวารสารที่เราต้องการจะตีพิมพ์ เนื่องจากบางวารสาร จะมีการกำหนด Theme ในการออกแต่ละฉบับว่าจะมุ่งเน้นในประเด็นไหน หากเรื่องที่จะส่งตีพิมพ์เข้าประเด็นก็มีโอกาศที่จะได้รับการตอบรับในการตีพิมพ์เผยแพร่สูง
การผลิตผลงานวิจัยเป็น Competency ของอาจารย์พยาบาลและพยาบาลวิชาชีพ การมีแนวทางที่ชัดเจนในการตีพิมพ์ผลงานวิจัย จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้วิจัยเผยแพร่ผลงานวิจัยแก่ผู้อ่าน และเป็นประโยชน์ในการพัฒนาวิชาชีพต่อไป
การเขียนผลงานวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ถึงแม้จะเขียนยาก มีปัญหา อุปสรรค และใช้เวลานานในการผลิต แต่ถ้านักวิจัยทุ่มเททั้งกำลังกายและกำลังใจในการ
เขียน มีเทคนิคที่ดี ประกอบกับการมีทุนในการสนับสนุนเต็มที่ ก็จะได้ผลงานที่ดีมีคุณภาพและทรงคุณค่าเพื่อเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและหน่วยงาน อีกทั้งยังเป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางแก่ผู้ที่สนใจต่อไป ซึ่งความรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ดีในการเขียนผลงานวิจัยจะช่วยให้นักวิจัยทำงานตีพิมพ์ด้วยความสุขและประสบผลสำเร็จได้ในที่สุด
ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพในหลายๆเรื่อง บางครั้งขาดการนำไปเผยแพร่ เนื่องจากผู้วิจัยไม่ทราบแนวทางในการหาแหล่งตีพิมพ์ หรือ นักวิจัยบางคนอาจคิดว่าการตีพิมพ์ระดับนานาชาติเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ดังนั้น การที่มีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย ถือเป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้นักวิจัยนั้นมีมีแนวปฏิบัติส่งผลให้มีกำลังใจที่จะผลิตผลงานวิจัยที่ดี มีคุณภาพ และพร้อมเผยแพร่ผลงานวิจัย ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมต่อไป
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาตินั้นควรเลือกวารสารในสาขาที่ตรงกับสาขาที่ดำเนินงานวิจัย และลองค้นหาบทความที่มีลักษณะใกล้เคียงกับบทความของนักวิจัยที่จะขอตีพิมพ์ เพื่อนำมาพิจารณาแนวทางเกี่ยวกับวิธีการเขียน รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา รูป กราฟ ตาราง เพื่อสร้างความมั่นใจในการส่งผลงานตีพิมพ์และพิจารณาโอกาสการตอบรับของวารสาร
การผลิตผลงานวิจัยและได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติและนานาชาติ นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะสำหรับอาจารย์ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาตนเองของอาจารย์ ตลอดจนการเรียนการสอน และของสถาบัน แต่ด้วยนักวิจัยหน้าใหม่อาจจะยังไม่ค่อยเชี่ยวชาญหรือกว้างขวางในการทำวิจัยและเผยแพร่มากนัก การมีแนวปฏิบัติที่ดี และการจัดทำคู่มือในส่วนของขั้นตอนในการการทำวิจัยและเผยแพร่ เพื่อเป็นเครื่องมือนำทางให้อาจารย์ได้ใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป
ฐานข้อมูลวารสาร online ที่อาจารย์สามารถเข้าสมัครสมาชิก และสามารถส่งผลงานเพื่อตีพิมพ์ได้ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/index/user/register
สามารถ key คำว่า ThaiJo
ซึ่งสามารถเปิดดูผลงานวิชาการที่วารสารได้ตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว รวมทั้งสามารถดูได้ว่าวารสารอยู่ในฐานข้อมูลใด
แนวปฏิบัติข้อที่ 2 ศึกษารูปแบบการเขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการตามที่วารสารนั้นๆกำหนด และข้อที่ 5 การส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับตามหลักเกณฑ์ ระเบียบของวารสารนั้นๆอย่างเคร่งครัด เป็นเรื่องสำคัญที่สามารถปฏิบัติตามได้ไม่ยาก จากประสบการณ์การเป็นผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความวิชาการนั้นพบข้อบกพร่องในส่วนของรูปแบบต่างๆ ที่เป็นข้อกำหนดของวารสารนั้นๆค่อนข้างมาก เช่น รูปแบบการอ้างอิงทั้งในเนื้อหาและรายการอ้างอิง รูปแบบของบทคัดย่อ การกำหนดคำสำคัญต่างๆ แต่ละวารสารจะกำหนดไว้ชัดเจน ผู้วิจัยควรตระหนักและปฏิบัติตามเพื่อความถูกต้องและรวดเร็วดีต่อทั้งผู้วิจัยและกองบรรณาธิการของวารสาร
การเลือกวารสารในการตีพิมพ์ควรเลือกในสาขาที่ตรงกับสาขาที่ดำเนินงานวิจัย และควรลองค้นหาบทความที่มีลักษณะใกล้เคียงกับบทความของนักวิจัยที่จะขอตีพิมพ์ เพื่อนำมาพิจารณาแนวทางเกี่ยวกับวิธีการเขียน รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา รูป กราฟ ตาราง เพื่อสร้างความมั่นใจในการส่งผลงานตีพิมพ์และพิจารณาโอกาสการตอบรับของวารสาร
จากสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับและนำมาสรุปเป็นแนวปฏิบัติในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ เป็นแนวที่สามารถช่วยให้นักวิจัยมือใหม่ที่ยังขาดประสบการณ์ในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ ได้มีการเตรียมการและการวางแผนเพื่อให้ผลงานได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
นอกจากผลงานจะมีคุณภาพแล้วการจะตีพิมพ์ในวารสารใดก็ตามต้องยึดตามแบบฟอร์มหรือเงื่อนไขข้อตกลงของวารสารนั้นอย่างเคร่งครัดและต้องติดตามแก้ไขหรือชี้แจงถ้ามีข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งทั้งสองประการนี้ต้องวางแผนไว้ตั้งแต่เริ่มจะทำผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการว่าจะทำเรื่องอะไรจะเผยแพร่ที่ไหนแล้วจึงดำเนินการไปพร้อมๆกัน
การตีพิมพ์งานวิจัย ผู้ที่จะตีพิมพ์ จะต้องวางแผน ศึกษา รายละเอียด วิธีการ ขั้นตอน ของวารสารนั้นๆ ที่จะตีพิมพ์ รวมทั้งเตรียมค่าใช้จ่าย สำหรับลงวารสาร ถ้าเป็นระดับชาติ อาจมีค่าใช้จ่าย ถึง 5000 บาท และเรื่องที่จะได้รับการพิจารณา ก่อนคือ บทความ ที่มีเนื้อหา ที่ทันสมัย
การถอดบทเรียน เรื่อง การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติและนานาชาติ จากประสบการณ์ของผู้ที่ปฏิบัติจริงถือวาเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่จะให้ดียิ่งขึ้น อยากจะให้มีการนำข้อมูลที่ได้มาจัดร้อยเรียงเป็นกระบวนการจากเริ่มต้น-สิ้นสุดกระบวนการ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่ต้องการจะตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยที่ตนเองมีในวารสารระดับชาติและนานาชาติ จะต้องเริ่มจากจุดใด และต้องทำอย่างไรตามลำดับจนสิ้นสุดกระบวนการ
โดยส่วนตัวยังไม่มีประสบการณ์การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ แต่เห็นด้วยกับแนวปฏิบัติที่ระบุว่านักวิจัยต้องถือปฏิบัติในจริยธรรมของนักวิจัยอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และไม่ไม่ส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับไปหลายๆวารสารในเวลาเดียวกัน และจากองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในเวทีของวิทยาลัยเป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่ออาจารย์ในบทบาทของนักวิจัยและเป็นการจุดประกายให้กับนักวิจัยหน้าใหม่ด้วย และเห็นว่าตนเองควรจะต้องขับเคลื่อนและพัฒนาผลงานวิจัยให้เกิดในฐานะที่อยู่ในวงการวิชาการ แล้วต่อยอดนำไปสู่การตีพิมพ์เผยแพร่ในโอกาสต่อไป
จากผลงานวิจัยเรื่อง แนวทางการส่งสริมการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารของคณาจารย์และนักวิจัย มหาวทิยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ของลัคนา พูลเจริญ (2558) พบว่า ความคิดเห็นต่อความต้องการการส่งเสริมการตีพิมพ์ เผยแพร่บทความวิจัยในวารสาร มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่องค์กรควรสร้างแรงจูงใจเพื่อชักจูงให้ บุคคลในองค์กรปฏิบัติงานให้ได้ผลผลิตทั้งปริมาณ และคุณภาพ ควรมีศูนย์ ส่งเสริมสนับสนุนตรวจสอบบทความและดำเนินการส่งตีพิมพเ์ผยแพร่ องค์กร ควรมีที่ปรึกษาเมื่อมีปัญหาในการเขียนบทความภาษาต่างประเทศ และแนวทางการส่งเสริมการตีพิมพเ์ผยแพร่บทความวิจัยควรปรับกลไกการส่งเสริมให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เพิ่มข้ึนและ การสร้างแรงจูงใจในด้านผลลัพธ์จากการทำงานที่เหมาะสมและเท่าเทียมกัน
เห็นด้วยอย่างยิ่งเรื่อง IRB เพราะเป็นส่วนสำคัญในการที่วารสารจะใช้พิจารณาว่าจะรับตีพิมพ์หรือไม่ หากเป็นไปได้ วิทยาลัยฯ อาจค่อยๆพัฒนาเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการ IRB ของวิทยาลัยเอง เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกต่อไป อาจใช้เวลาในการพัฒนาบุคลากรและพัฒนางานบ้าง แต่จะมีประโยชน์อย่างมาก
จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศที่ไปนำเสนอผลงานวิจัยในเวทีระดับชาติและนานาชาติตลอดจนการตีพิมพ์ในวารสารที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ได้ประเด็นแลกเปลี่ยนกันว่าสิ่งสำคัญที่สุดของพวกเขาและที่ตรงกับความคิดเห็นของข้าพเจ้าคือ ความรักในงานวิจัยอยากทำอยากเขียนและอยากตีพิมพ์เผยแพร่ อย่างน้อยพวกเราจะสร้างผลงานปีละไม่น้อยกว่า1เรื่องและเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย แม้จะไม่มีการสนับสนุนใดก็ตาม แต่การสนับสนุนนั้นเราก็ต้องการเพราะเป็นกำลังใจและทำให้เราได้รังสรรค์งานออกแบบวิจัยและทำวิจัยและได้ไปนำเสนองานวิจัยเพื่อแลกเปลี่ยนและได้ประเด็นทำต่อและมีเครือข่ายวิจัยเพิ่มขึ้น…การสนับสนุนไปนำเสนอผลงานวิจัยเป็นสิ่ีงสำคัญสำหรับพวกเราเพราะเราได้เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และกำลังใจในการสร้างและผลิตผลงานวิจัย
จากการสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับและนำมาสรุปเป็นแนวปฏิบัติในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติในวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมานั้น ถือว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดี โดยผู้วิจัยทุกท่านทั้งผู้ที่เชี่ยวชาญทางด้านวิจัยอยู่แต่เดิมแล้ว หรือนักวิจัยรุ่นใหม่นั้นจะสามารถนำสรุปนี้มาปรับเป็นแนวทางในการวางแผนการทำงานด้านวิจัย ทั้งการตีพิมพ์เผยแพร่ หรือการเน้นย้ำเรื่องการลอกเลียนผลงานวิชาการของบุคคลอื่น เพื่อเพิ่มความตระหนักและเตือนย้ำในแนวทางต่างๆที่ดีดังกล่าว จะทำให้ผู้วิจัยได้เตรียมความพร้อมทั้งเตรียมการวิจัยและการวางแผนในการดำเนินการวิจัยต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จากประสบการณของการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศพบว่าในการจัดส่งงานวิจัยหรือบทความวิชาการหรือบทความวิจัยนั้น ผู้เขียนจะต้องศึกษาวัตถุประสงค์และขอบเขตของงานวิจัยที่วารสารนั้นๆ ให้ชัดเจน อย่างเช่น วารสารที่เน้น mixed method หากงานของเราเป็น Quantitaive หรือ Qualitative method อย่างใดอย่างหนึง โอกาสที่จะโดน reject ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ค่า impact fator ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่เราควรให้ความสนใจ เนื่องจาก Impact Factor เป็นการวัดค่าความถี่ของการอ้างอิงบทความวารสารในแต่ละปี โดยเป็นความถี่ที่บทความในวารสารนั้นได้รับการอ้างถึง หรือถูกนำไปใช้ Impact Factor จึงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ช่วยในการประเมินคุณภาพ เปรียบเทียบ และจัดอันดับวารสาร และยังสามารถใช้ในการบ่งบอกถึงคุณภาพของบทความวิจัยที่ตีพิมพ์นั้นๆ ด้วย ดังนั้นค่าของ impact factor ที่ยอมรับได้ควรมากกว่า 0.024 หากงานวิจัยของเราได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่มี ค่า Impact factor สูง ๆ นั่นหมายถึงงานวิจัยหรือบทความของเราก็มีโอกาสได้รับการนำไปใช้ในการอ้างอิงค่อนข้างสูง ซึ่งแสดงว่างงานวิจัยของเรามีคุณภาพ
ความสำคัญของการนำเสนอผลงานวิจัยทั้งในระดับชาติและนานาชาติคือการเผยแพร่ความรู้ใหม่ เพื่อให้เกิดการใช้ผลการวิจัย อาจจะเป็นการนำเสนอเพื่อเป็นการยืนยันผลการนำเสนอของงานที่มีความคล้ายคลึงกันเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชนอย่างแท้จริง นอกจากนี้การเผยแพร่ผลงาน/การนำเสนอในการประชุมวิชาการนานาชาติ/การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ ยังเป็นการนำเสนอองค์ความรู้ไปยัง audience ที่มีความสนใจเรื่อง/ประเด็นเดียวกัน เป็นการขยายเครือข่ายของผู้ที่สนใจในองค์ความรู้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามการเผยแพร่ผลงานมีประเด็นที่ต้องใส่ใจคือ การนำเสนอผลงานในกลุ่มที่เข้ามาหาผลประโยชน์จากแวดวงวิชาการโดยการจัดทำวารสารที่ขาดผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถตรวจสอบผลงานได้ตรงตามสาขาความเชียวชาญ (เช่น วารสารที่ขาดผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในสาขาที่วารสารนั้น claimไว้ หรือผู้เชียวชาญที่อ้างอิงไว้สามารถอ่านงานวิชาการได้หลากหลายสาขามาก – ซึ่งไม่นาจะเป็นไปได้ในเรื่องความน่าเชื่อถือ) หรือแม้การประชุมวิชาการที่จัดประชุมโดยองค์กรที่แสวงหาผลกำไร ไม่ได้จัดโดยองค์กรทางวิชาการ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เราพึงระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อและไม่ตกหลุ่มพลางของการนำเสนอ/เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
การสำเสนอผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศเป็นความท้าทายสำหรับนักวิจัย และเมื่อได้รับการตีพิมพ์ นับได้ว่าเป็นการรับรองคุณภาพอย่างหนึ่งของผลงานวิจัย แต่ความยาก อยู่ที่การเขียนอย่างไรให้เป็นที่ยอมรับของวารสารที่จะต้องลงผลงาน
ดังนั้นนักวิจัยต้องศึกษาวิธีการเขียนให้ละเอียด เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดด้วย
การส่งเสริม กระตุ้น ช่วยเหลือ ให้เกิดการตีพิมพ์เผยแพร่ เป็นเรื่องสำคัญ แต่การ
สนับสนุน กระตุ้น ให้เกิดงานวิจัยที่ดี มีคุณค่า สำคัญด้วยเช่นกัน จึงเป็นความรับผิดชอบร่วม ของทั้งอาจารย์ประจำและ ผู้บริหาร ต่อกระบวนการดังกล่าว
แนวปฏิบัติข้อ ๙. หาแหล่งตีพิมพ์ผลงานในวารสารได้โดยเข้าร่วมประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติที่มีการคัดเลือกผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารด้วย มีข้อพึงระวังดังนี้
1.หากการนำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการนั้น มีการทำเอกสารสืบเนื่องหลังการนำเสนอ ก็จะไม่สามารถนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดใดได้อีก
2. หากไม่มีการดำเนินการตามข้อ 1 แต่ใช้การคัดเลือกงานไปตีพิมพ์ในวารสาร ถ้างานของเราไม่ได้รับคัดเลือกไปตีพิมพ์ (เพราะคงไม่สามารถตีพิมพ์ทุกเรื่องที่ไปนำเสนอได้) ก็จะทำให้เสียโอกาสในการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นๆ เพราะได้นำไปเผยแพร่ในการประชุมไปแล้ว
นักวิจัยต้องระวังและติดตามสอบถามทีมผู้จัดการประชุมวิชาการเกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่ด้วย
สิ่งสำคัญในการเตรียมบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ลงวารสาร ควรวางแผนเรื่องการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยไว้ล่วงหน้าตั้งแต่เริ่มทำโครงร่างวิจัย เนื่องจากการยื่นเรื่องเพื่อขอตีพิมพ์ส่วนใหญ่ต้องใช้งบประมาณ และควรศึกษาเกณฑ์การขอตีพิมพ์ล่วงหน้าเนื่องจากวารสารบางแหล่งต้องมีการสมัครเป็นสมาชิกก่อนจึงจะได้รับการพิจารณารับตีพิมพ์ และควรศึกษาประเภทของวารสารว่าสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยที่ทำหรือไม่ วารสารที่เลือกตีพิมพ์ควรเป็นวารสารที่ได้รับการรับรองในระดับชาติ และมีค่าคะแนน Impact factor สูงๆ หรือได้รับการรับรองตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษา (สามารถหาข้อมูลรายชื่อวารสารได้ที่ http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/index.html )
ส่วนการเตรียมต้นฉบับที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ ควรกำหนดโครงเรื่องและขอบเขตของเนื้อหา รวมถึงจำนวนหน้าตามที่วารสารที่สนใจกำหนดไว้ หากมีโอกาสได้อ่านบทความวิจัยในวารสารที่จะตีพิมพ์ก็จะช่วยให้เตรียมต้นฉบับได้ง่ายขึ้น ควรเขียนเนื้อหาที่เชื่อมโยงกันทั้งเรื่องและเน้นส่วนสำคัญที่ต้องการเสนอให้ผู้อ่านและใช้หลักการอ้างอิงตามระบบที่วารสารกำหนด หลังจากส่งบทความวิจัยแล้วควรติดตามกับบรรณาธิการเป็นระยะๆ เพราะหากมีการแก้ไขจะมีการส่งต้นฉบับกลับมา ควรรีบแก้ไขหรือหากมีข้อสงสัยควรติดต่อกลับไปยังบรรณาธิการให้เข้าใจตรงกัน
จากประสบการณ์การตีพิมพ์ผลงานในระดับชาติเห็นว่า ผู้ทำวิจัยควรทุ่มเทกับงานวิจัยที่ดำเนินการให้มีคุณภาพ เพื่อให้งานวิจัยเป็นที่ยอมรับ นอกจากนี้ควรมีการศึกษาวารสารที่จะตีพิมพ์ด้วยว่ามีแนวปฏิบัติในการเขียนอย่างไร และเน้นไปที่ theme ใด ซึ่งการดำเนินการตามข้อกำหนดของวารสารนั้นจะทำให้โอกาสตอบรับการตีพิมพ์จากวารสารมีโอกาสสูง
“การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ” ควรมีการศึกษาวารสารที่จะตีพิมพ์ด้วยว่ามีแนวทางในการเขียนอย่างไร นอกจากนี้ควรติดตาม ความก้าหน้าของการส่งบทความ และแก้ไขบทความแก่บรรณาธิการวารสารอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้บทมีความสมบูรณ์ และพร้อมจะตีพิมพ์ในวารสารฉบับที่ผู้เขียนบทความต้องการ ได้ทันเวลา
งานวิจัย ที่มีความคิดริเริ่ม (Originality) และมีความแปลกใหม่ เป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพและมีผลงานวิจัยดี ชื่อเรื่องตรงกับผลงาน การแสดงผลการวิจัยที่แสดงโดยใช้รูปไดอะแกรม ตาราง กราฟ ควรมีความชัดเจต สวยงาม ถูกต้องน่าเชื่อถือ เพราะเป็นส่วนที่สำคัญที่มองเห็นได้ง่าย ต้นฉบับควรเตรียมให้ตรงกับคำแนะนำของวารสารที่จะส่ง เขียนในแต่ละส่วนที่อย่างชัดเจน กระชับ หนักแน่น เข้นข้น เรียงลำดับอย่างถูกต้องสมเหตุสมผล เนื้อหาสัมพันธ์กลมกลืนไปด้วยกัน อ่านแล้วได้ความรู้ใหม่
ผู้ส่งบทความวิจัยไปตีพิมพ์วารสารควรปฏิบัติตามคำแนะนาผู้เขียน (Author Guide) อย่างเคร่งครัด ในการส่งผลงานวิจัยลงตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ เนื่องจาก เป็นสิ่งที่ทางกองบรรณาธิการมองถึงความตั้งใจและใส่ใจในการขอตีพิมพ์ผลงาน หากผู้เขียนละเลยคำแนะนำส่วนนี้อาจมีโอกาสถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ได้ง่ายๆนะคะ
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติควรมีการศึกษาแนวปฏิบัติในการเขียนวารสาร และหลักเกณฑ์ในการตีพิมพ์ เผยแพร่ ของวารสารที่จะตีพิมพ์ให้ชัดเจน และภายหลังจากส่งผลงานแล้วควรติดตามกับบรรณาธิการของวารสารเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ปรับแก้ผลงานที่จะลงตีพิมพ์ได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์และทันเวลา
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ ควรมีการวางแผนการดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ที่สำคัญคือการเขียนเรียบเรียงบทความวิจัย บทความวิชาการให้ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์และเป็นไปตามคำแนะนำในการเตรียมพิมพ์ต้นฉบับ การติดต่อประสานกับกองบ.ก ในการขอตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งต้องติดต่อประสานงานล่วงหน้าอย่างน้อย3-6 เดือน เพื่อจะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ทันเวลาที่กำหนด
การตีพิมพ์เผยแพร่เป็นสิ่งสำคัญที่จะเพิ่มคุณค่าและก่อให้เกิดประโยขน์ในวงกว้างสำหรับการศึกษาวิจัย ดังนั้น การเขียนบทความวิจัยต้องเขียนให้กระชับและสื่อถึงเรื่องที่ศึกษา รวมไปถงผลการศึกษาและการอภิปรายผลที่ชัดเจนเห็นถึงข้อค้นพบใหม่ถามบริบทของพื้นที่ในศึกษา อันจะก่อให้เกิดการนำไปใช้และการนำไปศึกษาต่อไป
จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่มีประสบการณ์สูงในการการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ มีความเห็นที่สำคัญอันหนึ่งว่าการเลือกวารสาร หรือเวทีประชุมวิชาการเพื่อการเผยแพร่ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาให้ชัดเจนว่างานวิจัยที่ส่งไปสอดคล้องกับหัวข้อที่การประชุมหรือวารสารนั้นๆ ต้องการ เพราะแม้ว่าจะเป็นวิจัยที่ดีเพียงใด ถ้าไม่ตรงกับหัวข้อการประชุมก็ไม่มีโอกาสได้รับการคัดเลือกค่ะ
มีข้อแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการตีพิมพ์บทความในวารสารมาแชร์
1.บางวารสารเป็น open access ซึ่งไม่ให้ความสำคัญกับกระบวนการ peer review เสี่ยงที่จะไม่อยู่ในฐานข้อมูลที่ยอมรับ ให้พึงระวังและสังเกตชื่อวารสารให้ดี เพราะมักตั้งชื่อเลียนแบบวารสารชื่่อดัง
2.ผลงานที่จะตีพิมพ์นอกจากจะต้องมีคุณภาพแล้ว ต้องระวังการผิดจริยธรรมในเรื่อง plagiarism, fabrication, falsification และ infringement
3.การใช้ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) นักวิจัยควรใช้ academic e-mail ซึ่งเป็นไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน ไม่ควรใช้ public e-mail
ผู้สนใจการประเมินคุณภาพผลงานตีพิมพ์สามารถติดตามอ่านได้จากบทความของคุณรุจเรขา เรื่อง “การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ : ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต” จาก http://http://rescom.trf.or.th/display/keydefault.aspx?id_colum=2966)
บทความวิจัยมีความสำคัญต่อนักวิจัย และต่อแวดวงวิชาการ เช่นเดียวกับรายงานการวิจัย นักวิจัย
ที่เขียนบทความวิจัยได้อาศัยบทความวิจัยของนักวิจัยอื่นในการสร้างผลงานของตน และจากการเขียน
บทความวิจัยก็ได้นำเสนอความรู้ความคิดใหม่ๆ รวมทั้งได้ตรวจสอบความคิดของตนไปด้วยในขณะเดียวกัน
นอกจากนี้บทความวิจัยนั้นยังมีส่วนช่วยจุดประกายความคิดให้นักวิจัยได้สร้างผลงานใหม่สืบเนื่องต่อกันไป
ด้วย ดังนั้นบทความวิจัยจึงเป็นเอกสารทางวิชาการที่มีคุณค่ามากสำหรับนักวิชาการทุกคน โดยเฉพาะนักวิจัย
และมีบทบาทสำคัญยิ่งในฐานะที่เป็นตัวเชื่อมความรู้ในอดีตกับความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยในการสร้างเสริม
องค์ความรู้ทางวิชาการ
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอาจารย์ทุกท่าน ควรมีการศึกษาแนวทางในการเขียนบทความวิจัยตามวารสารนั้นให้เข้าใจและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการมีแนวทางในการปฏิบัติการตีพิมพ์ผลงานถือเป็นสิ่งที่ดีสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ทำให้สามารถมีแนวทางในการสร้างผลงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น
ผลการวิจัยที่น่าสนใจและอาจได้รับการพิจารณาตีพิมพ์จากวารสารต่างๆ ตามที่ศึกษามักจะลักษณะดังนี้
1. งานวิจัยที่ทามีความคิดริเริ่ม(originality)และมีความแปลกใหม่ (novelty) วิธีการดำเนินการวิจัยมีคุณภาพและผลการวิจัยน่าสนใจ
2. ชื่อเรื่องวิจัย (title)เป็นที่น่าสนใจต่อบรรณาธิการ (editor)และผู้อ่านพิจารณา(reviewer)
3. ไดอะแกรม ตาราง กราฟ ฯลฯ ชัดเจนสวยงามถูกต้องและน่าเชื่อถือ เพราะเป็นส่วนที่ทำให้ช่วยให้เข้าใจผลการวิจัยได้ง่ายขึ้น
5. เตรียมต้นฉบับตรงตามคำแนะนำ (instruction for author) ของวารสาร
6. เขียนในแต่ละส่วนได้อย่างชัดเจน (clear) กระชับ (concise) หนักแน่น (solid) เข้มข้น (strong)
เรียงลำดับอย่างถูกต้องและสมเหตุผล (right and logical order)
7. เนื้อหาสัมพันธ์ กลมกลืนไปด้วยกัน (coherent) และอ่านแล้วลื่นไหล (smooth)
8. อ่านแล้วได้ความรู้ใหม่ (new knowledge) ทฤษฎีใหม่ (new theory)มโนทัศน์หรือความคิดใหม่ (new concept or idea)
อ้างอิงจากhttps://technology.kku.ac.th/wp-content/ITFilesD/IT010D.pdf
การเผยแพร่ผลงานวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการ บางคนมองว่าเป็นเรื่องที่ทำยาก แต่ถ้าหากผู้วิจัยสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนของวารสารที่ต้องการตีพิมพ์และเผยแพร่นั้น ก็จะทำให้ลดขั้นตอนในการปฏิบัติลง และทำให้ผู้วิจัยมีกำลังใจในการลงตีพิมพ์มากขึ้น
เทคนิคการเลือกวารสารเพื่อตีพิมพ์ผลงานวิจัย โดยเฉพาะวารสาร
ระดับนานาชาติ ซึ่งมีแนวทางสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. ทบทวนการใช้วารสาร โดยพิจารณาจากวารสารที่เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการ มีการใช้บ่อยเป็นประจำ ในการติดตามการพัฒนาหรือความก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการในสาขาวิชานั้นๆ
2. พิจารณาขอบเขตเนื้อหาของวารสารต่อความสนใจของผู้อ่าน
- หากกำ หนดกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้อ่านหรือผู้ใช้วารสารในวงกว้าง บทความเข้าถึงง่าย ใช้ศัพท์เฉพาะสาขาไม่มาก เข้าใจง่าย ให้เลือกวารสารที่มุ่งเน้นขอบเขตเนื้อหาแนวกว้างเป็นสากล
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติและนานาชาติ จำเป็นที่ต้องมีการวางแผนที่ดีตั้งแต่เริ่มทําวิจัย ประเด็นที่ทําวิจัยต้องมีความทันสมัยและมีความสําคัญที่จะต้องค้นหาต่อด้วยการทําวิจัย,มีการวางแผนที่จะตีพิมพ์เกี่ยวกับเรื่อง
อะไร และศึกษาวิธีการเขียนบทความวิจัยในวารสารที่สนใจ ในเนื้อหาจะต้องมีการเขียนดําเนินการวิจัยตามกรอบแนวคิด/ทฤษฎีและระเบียนวิจัยที่
กําหนดไว้โดยมีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และข้อมูลที่ได้ต้องมีคุณภาพที่น่าเชื่อถือเพื่อส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติต่อไป