รายงานการประชุม

การจัดการความรู้เรื่อง การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่

ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐

วันพุธที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐  ณ ห้องประชุมบานชื่น

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายชื่อผู้เข้าประชุม

๑.  นางอนัญญา คูอาริยะกุล รองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ

๒.  นางวิมล อ่อนเส็ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓.  นางศศิธร ชิดนายี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔.  นางสาวอลิษา ทรัพย์สังข์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๕.  นางสาวเสาวลักษณ์ เนตรชัง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๖.  นางสาวนัยนา อินโชติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗.  นางประภาพร มโนรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘.  นางภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๙. นางสาวอัญชรี เข็มเพชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๑๐. นางสาวสิตานันท์ ศรีใจวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๑๑. นายสืบตระกูล ตันตลานุกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๑๒. นางสาวสุปราณี หมื่นยา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๑๓. นายอิทธิพล แก้วฟอง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๔. นายภราดร ล้อธรรมมา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๑๕. นายนพรัตน์ สวนปาน พยาบาลวิชาชีพ

๑๖. นางผ่องศรี พุทธรักษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๑๗. นางสาวนันทกาญน์ ปักษี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๑๘. นางสาวดาราวรรณ ดีพร้อม พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๙. นายวีระยุทธ อินพะเนา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๒๐. นางสาวจิระภา สุมาลี พยาบาลวิชาชีพชำนาญกา

๒๑. นายทิฏฐิ ศรีวิสัย พยาบาลวิชาชีพ

๒๒. นางวาสนา ครุฑเมือง ผู้ช่วยเลขานุการ

๒๓. นายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์ เลขานุการ

ร้อยละของจำนวนผู้เข้าประชุม     ๑๐๐

ประธานที่ประชุม   นางอนัญญา คูอาริยะกุล

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑   เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

ประธานแจ้งเรื่องสืบเนื่องจากระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ สกอ.กำหนดให้วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดพระบรมราชชนกดำเนินการเรื่องการจัดการความรู้ โดยในปีการศึกษา ๒๕๖๐ คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ กำหนดประเด็นจัดการความรู้ที่ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย โดยให้อาจารย์แต่ละคนเลือกประเด็นการจัดการความรู้ตามความสนใจ  การจัดการความรู้เรื่อง “การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่” ถือว่าเป็นประเด็นหนึ่งที่พบว่าผลงานบทความวิชาการมีจำนวนน้อยไม่เป็นไปตามมาตรฐาน สภาการพยาบาล กล่าวคือ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๗   – ๒๕๕๙ วิทยาลัยมีจำนวนบทความวิชาการ เฉลี่ยย้อนหลัง ๓ ปี คิดเป็นร้อยละ ๓.๗๘ ซึ่งเกณฑ์กำหนดไว้อย่างน้อยร้อยละ ๑๐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อจำนวนปีที่สภาการพยาบาลจะรับรองในปี พ.ศ.๒๕๖๑ รวมทั้งบ่งบอกถึงคุณภาพทางวิชาการของอาจารย์ต่ำกว่ามาตรฐานอันจะส่งผลต่อคุณภาพของนักศึกษาที่จะสำเร็จเป็นพยาบาลวิชาชีพต่อไปในอนาคต แต่เมื่อวิเคราะห์จุดแข็งด้านอาจารย์มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขา และมีทักษะด้านการทำผลงานวิจัยซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาการเขียนบทความวิชาการทำให้มีความง่ายในการแก้ไขปัญหา อีกทั้งในการจัดประชุมกำหนดประเด็นการจัดการความรู้ของอาจารย์ด้านการวิจัย อาจารย์ให้ความสนใจในประเด็นการพัฒนาการเขียนบทความเพื่อการตีพิมพ์ เผยแพร่มากที่สุด ดังนั้นจึงขอให้ทุกคนช่วยกันจัดการความรู้ของกลุ่มงานเพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีต่อไป

ประธานทบทวนความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ เพื่อใช้ในการดำเนินงานพัฒนานักศึกษา กลุ่มงานกิจการนักศึกษา ใช้กระบวนการจัดการความรู้ ๗ ขั้นตอน มาประกอบใช้การจัดทำ KM ดังนี้

๑.การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่ากลุ่มงาน มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้ความรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้างอยู่ในรูปแบบใดและอยู่ที่ใคร โดยคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯได้กำหนดประเด็นบ่งชี้ความรู้ที่องค์กรจำเป็นต้องมีและวิเคราะห์รูปแบบและแหล่งความรู้ที่มีอยู่ โดยความรู้ที่จำเป็นขององค์กรเป็นเรื่องการเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ เนื่องจากเห็นว่าผลงานบทความวิชาการมีจำนวนน้อยไม่เป็นไปตามมาตรฐาน สภาการพยาบาล กล่าวคือ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๗   – ๒๕๕๙ วิทยาลัยมีจำนวนบทความวิชาการ เฉลี่ยย้อนหลัง ๓ ปี คิดเป็นร้อยละ ๓.๗๘ ซึ่งเกณฑ์กำหนดไว้อย่างน้อยร้อยละ ๑๐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อจำนวนปีที่สภาการพยาบาลจะรับรองในปี พ.ศ.๒๕๖๑

๒.การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นการรวบรวม/สกัดความรู้ ทั้งความรู้ชัดแจ้ง (Explicit  Knowledge) จากเอกสาร หรือความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในตัวบุคคลจากภายในและ/หรือภายนอก โดยอาศัยเครื่องมือ/วิธีการต่างๆ ในการสร้างและแสวงหาความรู้ที่เหมาะสม เช่น การรวบรวมกฎระเบียบ คู่มือ มาตรฐานการปฏิบัติงาน การถอดความรู้จากตัวบุคคล เช่น การประชุมระดมสมอง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน เป็นต้น โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร ในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

๓.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต โดยมอบหมายให้อาจารย์อดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์ ผู้รับผิดชอบงานจัดการความรู้ดำเนินการแบ่งชนิดและประเภทของความรู้ เพื่อจัดทำระบบให้ง่ายและสะดวกต่อการค้นหาและใช้งาน     เรื่อง การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกำหนดแนวทางการเขียนบทความวิชาการต่อไป

๔.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐานปรับปรุง เนื้อหาให้สมบูรณ์ จากการประชุมพิจารณาร่วมกัน หรือตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญในองค์ความรู้นั้น และจัดทำรูปแบบและ “ภาษา” ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร รวมทั้งเรียบเรียงปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย และตรงกับความต้องการ

๕.การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ในช่วงเดือนมิถุนายน ๒๕๖๑

๖.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ มีเครื่องมือหลากหลาย ประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ในช่วงเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๑

๗.การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อแก้ปัญหา ปรับปรุง หรือพัฒนางาน เพื่อให้ดีขึ้นกว่าเดิม เมื่อปฏิบัติตามแล้วมีปัญหาตรงไหน มีจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ผู้ปฏิบัติก็แจ้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อให้กลุ่มงานนำไปพิจารณา ปรับปรุงงาน เกิดระบบการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ นำความรู้ไปใช้ เกิดการเรียนรู้มีประสบการณ์ใหม่ๆ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง ในช่วงเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๑

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๒  รับรองรายงานการประชุม

-

ระเบียบวาระที่ ๓  เรื่องสืบเนื่อง

-

ระเบียบวาระที่ ๔  เรื่องหารือที่ประชุม

การกำหนดแนวปฏิบัติ “การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่”  มีประเด็นดังนี้

๔.๑ ขั้นตอนการเตรียม

มติที่ประชุม ดังนี้

๔.๑.๑ การเลือกเรื่องหรือประเด็น ควรตรงกับความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความสนใจของผู้เขียน มีความทันสมัย อยู่ในขอบข่ายที่สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ง่าย เพื่อให้สามารถสอดแทรกความคิดเห็นของผู้เขียนได้อย่างเหมาะสม และควรมีการทบทวนเรื่องหรือประเด็นที่จะเขียนจากแหล่งเผยแพร่ต่างๆว่ามีการเสนอในแง่มุมใดบ้าง  มีแง่มุมใดที่ยังไม่มีการกล่าวถึง ซึ่งผู้เขียนจะสามารถหยิบยกมากล่าวถึงเพื่อชี้นำว่ามีความสำคัญและน่าสนใจ

๔.๑.๒ การกำหนดวัตถุประสงค์การเขียนบทความวิชาการ ควรตอบคำถามตามหลัก ๕ W ๑ H ในการกำหนดทิศทางของการเขียนและรูปแบบการนำเสนอ ประกอบด้วย Who   “จะเขียนให้ใครอ่าน” เพื่อทราบกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้วิเคราะห์ความต้องการ คุณค่าหรือประโยชน์ ที่ผู้อ่านจะได้รับ  What “จะเขียนเรื่องอะไร”  Where “จะเขียนเพื่อเผยแพร่ที่ไหน” เพื่อคัดเลือกวารสารที่จะเผยแพร่พร้อมทั้งทบทวนแนวทางการเขียน  ศึกษาแนวทางและเทคนิคการเขียนให้สอดคล้องกับรูปแบบวารสารนั้นๆ When “เวลาที่จะนำบทความลงเผยแพร่เมื่อใด” เพื่อพิจารณาช่วงเวลาที่นำเสนอที่ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน Why “จะนำเสนอเรื่องนี้ไปทำไม”เพื่อทบทวนวัตถุประสงค์ของผู้เขียนต้องการให้เกิดอะไร How “จะนำเสนอเรื่องนี้อย่างไร” (ซึ่งมีรายละเอียดในขั้นตอนการเขียนโครงเรื่อง) โดยแต่ละคำตอบจะมีความเชื่อมโยง สอดคล้องและต่อเนื่องกันเพื่อผู้เขียนจะไม่ได้หลงประเด็น

๔.๑.๓ การเขียนโครงเรื่องของบทความวิชาการ ควรจัดลำดับความคิดให้เป็นหมวดหมู่ หรือเป็นขั้นตอนตามลำดับความสำคัญ และมีความสัมพันธ์ของเนื้อหา เพื่อให้มีขอบเขตของเรื่อง ที่ชัดเจน ครบถ้วนและไม่ซ้ำซ้อนกัน ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

๑) ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมเนื้อหาทั้งที่เป็นความรู้  ข้อเท็จจริง และประสบการณ์ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะเขียนจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่หลากหลาย เช่น หนังสือ  บทความ วารสาร ข้อมูลการสัมภาษณ์ การสังเกต เป็นต้น หลังจากนั้นใช้วิธีการบันทึกข้อมูลแบบสรุปความ หรือสังเคราะห์

๒) จัดหมวดหมู่ประเด็น เป็นการวิเคราะห์แนวคิดหรือประเด็นที่จะเขียนบทความวิชาการให้กระจ่าง โดยการแยกแยะประเด็นในแง่มุมต่างๆตามแนวคิดเดียวกันหรือใกล้เคียงกันให้อยู่พวกเดียวกัน หรือกำหนดขอบเขตเป็นหัวข้อหลัก หัวข้อย่อย โดยอาจเขียนในรูปแบบผังมโนทัศน์ (concept  mapping)

๓) จัดลำดับความคิดให้เป็นระบบตามวิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตามลำดับ เช่นจากประเด็นที่กว้างๆหรือทั่วไปสู่เรื่องประเด็นเฉพาะ  จากเรื่องเฉพาะไปสู่เรื่องกว้างๆ ตามความสำคัญของเนื้อหาลดหลั่นลงมา ตามเหตุการณ์หรือระยะเวลาตามลำดับการเกิดก่อน-หลัง ตามการตั้งประเด็นคำถาม แล้วตอบคำถาม ขยายความ ยกตัวอย่าง ทีละประเด็น  ทั้งนี้ขึ้นวิธีการลำดับเนื้อหาขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การเขียนและขอบเขตเนื้อหา

๔.๒ ขั้นตอนการลงมือเขียนบทความ

มติที่ประชุม ดังนี้

ควรเรียบเรียงความรู้จากประสบการณ์และสิ่งที่ค้นคว้ามาตามโครงเรื่องที่กำหนด ด้วยถ้อยคำภาษาและลีลาชักจูงในผู้อ่านชวนติดตาม ทั้งนี้รูปแบบการเขียนขึ้นอยู่กับประเภทของบทความ   ผู้เขียนต้องการนำเสนอ และส่วนประกอบการเขียนบทความขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละแหล่งตีพิมพ์ โดยทั่วไปประกอบด้วย ๓ ส่วนคือ ส่วนนำ เนื้อหา และส่วนท้าย

๔.๓ ขั้นตอนการตีพิมพ์

มติที่ประชุม ดังนี้

๔.๓.๑ การเลือกแหล่งตีพิมพ์ เผยแพร่  ผู้เขียนควรพิจารณาความเหมาะสมของบทความว่าตรงกับผู้อ่านเป็นใคร รวมทั้งควรพิจารณาตามตัวชี้วัดหนึ่งทางด้านคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา เช่น ตีพิมพ์ในในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ระดับนานาชาติ  การตีพิมพ์บทความวิชาการใน วารสารทางวิชาการที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ การประเมินคุณภาพวารสารจาก Impact และ Ranking

๔.๓.๒  ศึกษาเงื่อนไขของแหล่งตีพิมพ์ เผยแพร่ ได้แก่ ความยาวของเนื้อหา  อักษรที่พิมพ์ รูปแบบอ้างอิง ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ ระยะเวลาของกระบวนการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ จากวารสาร หรือเว็บไซต์ของวารสาร

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่นๆ

ปิดการประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.

นัดประชุมครั้งต่อไป :  -

ลงชื่อ  ………………………………………………..

(นายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์)

บันทึกรายงานการประชุม

ลงชื่อ   ……………………………………………………

(นางอนัญญา  คูอาริยะกุล)     ตรวจรายงานการประชุม