การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) กลุ่มงานวิชาการ
เรื่อง การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑
…………………………………………………………..
จากการที่กลุ่มงานวิชาการได้ระบุประเด็นการจัดการความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ ตามกระบวนการจัดการความรู้ดังนี้
๑. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) โดยกลุ่มงานวิชาการได้กำหนดประเด็นบ่งชี้ความรู้ที่องค์กรจำเป็นต้องมี และวิเคราะห์รูปแบบและแหล่งความรู้ที่มีอยู่ โดยความรู้ที่จำเป็นขององค์กรเป็นเรื่องการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ เนื่องจากเห็นว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะการเรียนรู้ทันกับกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ ๒๑ ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคม ผู้สอนจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ ๒๑ ที่เปลี่ยนไป โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ เพื่อผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ
๒. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) จากแหล่งต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั้งภายในและภายนอก เพื่อจัดทำเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๙
๓. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) เป็นการแบ่งชนิดและประเภทของความรู้ เพื่อจัดทำระบบให้ง่ายและสะดวกต่อการค้นหาและใช้งาน โดยกลุ่มงานวิชาการได้มีการสังเคราะห์ความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชากลุ่มวิชาชีพพยาบาล กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ ในบทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน
๔. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) เป็นการจัดทำรูปแบบและ “ภาษา” ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร รวมทั้งเรียบเรียงปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย และตรงกับความต้องการ
๕. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) คือ ความสามารถในการเข้าถึงความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ในเวลาที่ต้องการ โดยการพิจารณาว่าเราสามารถนำความรู้มาใช้งานได้ง่ายหรือไม่ หรือทำอย่างไรเพื่อจะให้เข้าถึงความรู้ได้
๖. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) โดยเฉพาะความรู้ในรูปแบบ Tacit Knowledge ที่จะต้องทำให้มีการถ่ายทอดออกมา โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน web blog KM ของวิทยาลัยฯ
๗. การเรียนรู้ (Learning) เป็นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ ซึ่งเป็นการเรียนรู้โดย
อาจารย์ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์มีการแลกเปลี่ยน ในวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ ซึ่งสามารถสรุปแนวปฏิบัติเกี่ยวกับบทบาทและลักษณะครู/ผู้เรียน ในศตวรรษที่ ๒๑ ได้ดังนี้
บทบาทและลักษณะครูในศตวรรษที่ ๒๑
๑. ครูผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนตัวเองสู่การเป็นครูยุคThailand ๔.๐ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็น active learner โดยอาจใช้แนวคิดการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
๒. ครูต้องรู้บทบาทและมีคุณลักษณะที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงบทบาทที่เหมาะสม และ
ได้เรียนรู้จริง โดยจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เรียนรู้จากชีวิตจริง มีการให้กำลังใจและกล่าวชื่นชมนักศึกษาเพื่อเสริมพลังบวก
๓. ครูต้องเป็นนักสร้างแรงบันดาลใจ เพราะแรงบันดาลใจนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้เรียนในยุคปัจจุบันที่จะนำพาไปสู่การเรียนรู้ การคิด การออกแบบ การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆได้ดี
๔. ครูต้องมีการสร้างบรรยากาศหรือสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างรอบด้าน เพื่อให้ผู้เรียน
เกิดความสนใจและรู้สึกผ่อนคลายซึ่งจะส่งผลต่อการรับรู้
๕. ครูต้องเปลี่ยนจากการสอนไปสู่การเป็น coach จากถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้อำนวยการสร้างความรู้ เปลี่ยนจากการเป็นผู้รู้เป็นผู้เรียนรู้ และเปลี่ยนจากครูผู้รอบรู้วิชาเป็นผู้กำกับการเรียนรู้ของศิษย์
๖. ครูควรจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อกระตุ้นการคิดและให้นักศึกษาสร้างความรู้ด้วยตนเองได้ เช่น การจัดการเรียนสอนแบบสะท้อนคิด การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการทางพยาบาลในคิดค้นนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพ การจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง การจัดการเรียนการสอนที่มีการใช้สื่อ หรือการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเทคโนโลยีซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจและเข้าถึงการเรียนมากขึ้น ซึ่งถือเป็นความท้าทายสำหรับครูรุ่นใหม่ยุคดิจิตอล
บทบาทและลักษณะผู้เรียน ในศตวรรษที่ ๒๑
๑. มีทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
๒. เป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งการที่นักศึกษาจะสามารถสร้างความรู้ได้ นักศึกษาต้องมีความรู้พื้นฐานมากพอสมควร
๓. ทบทวนประสบการณ์ตนเองและพัฒนาตนเองให้ต่อเนื่อง
อดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์
ผู้สรุปแนวปฏิบัติ
การส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องส่งเสริมตามลักษณะของการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้สอนต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนจาก การสอนแบบเดิม (Traditional learning) ผู้สอนจะเป็นผู้ป้อนความรู้ประสบการณ์ให้ผู้เรียนในลักษณะของครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher center) (University of Washington, 2012; Mc Mahon and Wendy, 2013) ดังนั้น รูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ควรเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้สอนอย่างสิ้นเชิง โดยที่ไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้ แต่จะทำบทบาทเป็นติวเตอร์ หรือโคช ที่จะเป็นผู้จุดประกาย และสร้างความสนุกสนานในการเรียนรวมทั้งเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียน (Facilitators) ในชั้นเรียน โดยการมุ่งเน้นการสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเองตามทักษะความรู้ความสามารถ และสติปัญญาของแต่ละบุคคล (individualized competency) ตามอัตราความสามารถทางการเรียนของแต่ละคน จากประสบการณ์ที่ผู้สอนจัดให้อาจผ่านทางสื่อเทคโนโลยีที่หลากหลายในปัจจุบัน จะเป็นการกระตุ้นการอยากรู้อยากเรียนของผู้เรียนได้
การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะใน ศตวรรษที่ 21 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ
4 C (Critical Thinking – การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่ ซึ่งขอนำเสนอวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบทีม (Team-based Learning) ที่เป็นวิธีการเรียนแบบร่วมมือ ที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีการติดต่อสื่อสาร และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รวมทั้งกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
การพัฒนาการเรียนในศตวรรษที่ 21 ควรให้ความสำคัญกับการใช้กระบวนการ Transformative Learning ต้องเปลี่ยนแปลงทั้งโลกทัศน์ (Affective
Attributes) ความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Attributes) และพฤติกรรม (Psychomotor Attributes) คือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างครบถ้วนในทุกด้าน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงทั้งเนื้อทั้งตัว(Holistic Change) เพื่อให้การเรียนรู้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในได้อย่างแท้จริง
ครูและนักเรียนต้องมีทักษะในการพูดคุย/ประชุมกันแบบสุนทรียสนทนา
(Dialogue) การใช้สถานการณ์จริงในการเรียนรู้ การเรียนในลักษณะ learning by doing การใช้ Appreciate feedback
การฟังTED Talk เป็นการเปิดความรู้ใหม่ๆให้กับตัวเอง โดยผู้ที่เป็น speaker จะเป็นคนที่มีประสบการณ์ตรงและเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น อีกทั้งยังสามารภฝึกภาษาไปในตัว เนื่องจากมีSubtitle หลายภาษา โดยสามารถโหลดApp TED ได้จากทุกระบบปฏิบัติการ ตอบสนองThailand 4.0
การเรียนการสอนและทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่21 ไม่เพียงแต่จะมุ่งเน้นในเรื่องของสาระในเนื้อหาวิชาเท่านั้น แต่การเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา(Content หรือ Subject Matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรม ที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เป็นการเรียนการสอนที่ไม่ได้ละทิ้งทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีอยู่เดิม แต่เป็นการเพิ่มการเรียนรู้ที่สามารถศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ผ่านเทคโนโลยีเพื่อให้ทันยุคทันสมัย เพียงแต่อาจารย์ผู้สอนเลือกที่จะจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไรที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่เพิ่มขึ้นมาในศตวรรษที่ 21 ได้ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเลือกตามความถนัด ตามความสนใจ สุดท้ายแล้วผู้เรียนต้องนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงอยู่ของชีวิตได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพต่อไป
ทักษะด้านการอ่าน และ เขียนภาษาอังกฤษเป็นทักษะหนึ่งที่มีความสำคัญในปัจจุบันจึงควรมีการวางแผนและพัฒนาทักษะในด้านนี้ทั้งในหลักสูตรและกิจกรรม
กรรมเสริมหลักสูตร โดยต้องหารูปแบบการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนการปรับทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ เช่น การบูรณาการกับวิชาอื่นๆในหลักสูตร จัดกิจกรรมให้นักศึกษามีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น
ผู้เรียนจะมีลักษณะผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ และสามารถแสดงบทบาทของของตนเองเกี่ียวกับทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)การเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง และการทบทวนประสบการณ์ตนเองและพัฒนาตนเองให้ต่อเนื่องได้ดีนั้น ผู้มีส่วนสำคัญในการสร้างและพัฒนาลักษณะดังกล่าวคือครูผู้สอน นอกจากการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายรูปแบบเพื่อกระตุ้นการคิดและให้นักศึกษาสร้างความรู้ด้วยตนเองได้แล้ว ครูต้องรู้บทบาทและมีคุณลักษณะที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงบทบาทที่เหมาะสม และเห็นด้วยว่าครูต้องเป็นนักสร้างแรงบันดาลใจที่ดี เพราะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้เรียนในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆได้ดีขึ้นอย่างมาก “ครูคือต้นแบบ” “ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ”
จากการอบรม ICT ได้รับความรู้ว่าสิ่งสำคัญที่จะเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีการพัฒนาทักษะการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ได้แก่ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้ส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนนอกห้องเรียน ให้นักศึกษาได้มีพื้นที่ในการส่งเสริมการเรียนรู้ (Learning area) และการพัฒนาผู้สอนให้มีการออกแบบการเรียนการสอน (course Design) เพื่อพัฒนาความหลากหลายในการจัดการเรียนการสอน การสร้างบรยากาศในการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาเพื่อกระตุ้นความสนใจ และพัฒนาการเรียนรู้ในนักศึกษา โดยมีการขับเคลื่อนการใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการพัฒนาซึ่งนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากประการหนึ่งในกระบวนเรียนการสอน บทบาทของสื่อการเรียนการสอนนับเป็นตัวกลางหรือเครื่องมือ และเป็นช่องทางในการนำข้อมูล ข้อมูลความรู้ (Information) ของผู้สอนไปสู่ผู้เรียนให้เข้าใจความหมายได้ตรงกัน เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือการเรียนการสอนบรรลุผลสำเร็จ
หากกล่าวถึงศตวรรษที่ 21 ถือเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายความสามารถของอาจารย์ผู้สอน เพราะเป็นยุคที่ต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ สามารถรับรู้ได้เพียงแค่คลิกที่ปลายนิ้ว าจารย์ผู้สอนจำเป็นต้องปรับแนวทางการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะชีวิต ทักษะการคิด และทักษะทางด้านไอที อย่างถูกต้องและเหมาะสม
The Flipped Classroom หรือ การจัดการเรียนรู้แบบ “พลิกกลับ” คือวิธีการเรียนแนวใหม่ที่พลิกจากการเรียนในตำราการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ คือ เริ่มจากาจารย์ผู้สอน สอนในห้องเรียน ให้นักเรียนกลับไปทำการบ้านส่ง มาเปลี่ยนเป็นการจัดการเรียนรู้แบบพลิกกลับนั้น คือ ให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองผ่าน “เทคโนโลยี” ที่ครูจัดหาให้ก่อนเข้าชั้นเรียน และมาทำกิจกรรมโดยมีครูคอยแนะนำในชั้นเรียนแทน จะเน้นให้ผู้เรียนได้เห็นและปฏิบัติจากประสบการณ์จริง ทำให้ผู้เรียนมีการจดจำและเกิดทักษะการเรียนรู้ได้ดีกว่าที่จะเรียนแบบเดิม ๆ
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ อาจจะนำวิธีการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-based learning: CBL) เป็นหนึ่งในรูปแบบการสอนแนว active learning ให้ผู้เรียนได้ครบทั้งด้านเนื้อหาวิชา และทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสอนรูปแบบนี้จะทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ในรูปแบบการเรียนการสอนแบบ CBL ต้องประเมิน 3 ด้าน ดังนี้
ด้านความรู้, ด้านทักษะ, ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์นจำเป็นจะต้องประเมินจากผู้สอนและผู้เรียนด้วยกันเอง ซึ่งจะเป็นการประเมินรอบด้าน
จากแนวคิดของพระมหาจิตติพงษ์ มมร. อีสาน วิธีออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์มีทักษะใช้หลักการว่าต้องมีการเรียนรู้แบบผู้เรียนร่วมกันสร้างความรู้เอง คือ เรียนรู้โดยการสร้างความรู้และเรียนรู้เป็นทีม
จะเห็นได้ว่าทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมเป็นหัวใจสำหรับทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 แต่ทักษะนี้ยังต้องมีทักษะอื่นมาประกอบและส่งเสริม อันได้แก่ทักษะอีก 3 ด้าน คือ ด้านสารสนเทศ(information) ด้านสื่อ (media) และด้านดิจิทัล (digital literacy)
จากการศึกษาเรื่องการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษ ที่ 21 พบว่าบทบาทของครูเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง คือไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้ แต่บทบาทเป็นติวเตอร์หรือเป็นโค้ช หรือเป็นผู้จุดประกาย โดยการตั้งคำถามยุแหย่ให้เด็กคิด สร้างความสนุกสนานในการเรียน และเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียน ครูจะเน้นช่วยให้นักเรียนเข้าใจหลักการ ไม่ใช่ท่องจำ หัวใจคือครูเน้นทำหน้าที่ช่วยแนะนำการเรียนของเด็ก ไม่ใช่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ครูเปลี่ยนจากบทบาทปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนทั้งชั้น เป็นมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนเป็นรายคน
ได้ค้นคว้าแนวคิด วิธีการจัดการเรียนการสอนต่างๆเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ และนำมาสู่การลงมือและทดลองปฏิบัติกับนักศึกษาชั้นปีที่ ๔ ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ (ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยในชุมชน)อย่างจริงจัง ผลพบว่านักศึกษาค้นพบและประเมินตนเองว่าเกิดทักษะจากการได้ดูแลผู้สูงอายุเจ็บป่วยที่บ้าน เช่น การเข้าถึงชุมชน การคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างเป็นระบบ ทักษะทางคลินิก การเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม การประสานงาน การสื่อสารและการจูงใจ การจัดเก็บข้อมูลและการเลือกใช้ข้อมูลทางสุขภาพ การสร้างเสริมพลังอำนาจด้านสุขภาพ ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนักศึกษาระบุว่าเกิดจากการที่ครูผู้สอนได้ออกแบบการเรียนการสอนให้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง กระตุ้นให้คิดโดยนักศึกษาเองและเป็นการนำทฤษฎีสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
การสอนในศตวรรษที่21 นั้นมีสิ่งแตกต่างที่เห็นชัดคือการสอนให้เหมาะกับบริบทของคนยุคใหม่ที่เรียกว่ายุค4.0 แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยล้าสมัยและใช้ได้ทุกยุคทุกสมัยคือ การจัดการเรียนรู้ที่ผู้สอนต้องมีหัวใจความเป็นมนุษย์นั่นเอง..แล้วคุณครูจะมีสุขกับการสอน เด็กๆก็จะรักการเรียนรู้และสุขกับการเรียน
จากประสบการณ์จัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาแก้ไขปัญหาผู้ป่วยอย่างสร้างสรรค์ คือ การนำพานักศึกษาลงเรียนรู้ตามสภาพจริงที่กระตุ้นอารมณ์และความรู้สึก ภายใต้กระบวนการ Nursing Process และการสะท้อนคิด และเพิ่มโจทย์ที่ท้ายทาย โดยการสร้างนวัตกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพ จากผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนดังกล่าว พบว่า นักศึกษาเกิดความตระหนักรู้ในตนเอง เกิดการพินิจพิเคราะห์อย่างรอบคอบ และเกิดการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยกรณีศึกษาตามสภาพจริง
บทบาทของผู้สอนในยุคการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ข้าพเจ้าเห็นด้วยตามที่ประชุมแจ้งโดยครูต้องเป็นครูยุคThailand ๔.๐ ครูต้องรู้บทบาทที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงบทบาทที่เหมาะสม ครูต้องเป็นนักสร้างแรงบันดาลใจ ครูต้องสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างรอบด้าน ครูต้องเปลี่ยนจากการสอนไปสู่การเป็น coach และรวมถึงครูควรจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายรูปแบบ ส่วนบทบาทและลักษณะผู้เรียน ในศตวรรษที่ ๒๑ นั้นสิ่งสำคัญคือ การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) และเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง รวมถึงผู้เรียนสามารถทบทวนประสบการณ์ตนเองและพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่อง โดยการทบทวนตนเองนั้นสามารถนำหลักของการสะท้อนคิด Reflective thinking มาใช้เพื่อฝึกการคิดทบทวนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
พิจารณาจากหัวข้อแนวปฏิบัติที่ตั้งขึ้น “การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21″ กับผลลัพธ์การถอดบทเรียนจาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตนเองคิดว่า ยังไม่เห็นแนวปฏิบัติว่า จะดำเนินการอย่างไร หรือมีจุดเริ่มอย่างไร และมีเส้นทางดำเนินการต่อเนื่อง จนถึงจุดจบอย่างไร ดังนั้น อยากให้ KM ต่อ ภายใต้การคิดแนวคำถามที่ชัดเจน ตรงประเด็นและหัวข้อเรื่อง เป็นต้น
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ ให้ประสบความสำเร็จน่าจะกระทำได้โดยการแปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น ผู้สอนที่ต้องเปลี่ยนเป็นผู้อำนวยความรู้ จัดกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องออกจากความเคยชินหรือ Comfort Zone ของตัวเองให้ได้ และต้องมีลักษณะที่สามารถชื่นชมและเรียนรู้การจัดการเรียนรู้แบบใหม่ๆ แบบที่ไม่คุ้นเคยได้ โดยต้องมีความเชื่อมั่นในตัวผู้เรียนว่าเป็นผู้ที่มีศักยภาพและมีความพร้อมจะเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยอาศัยการเอื้ออำนวยของผู้สอน ส่วนด้านผู้เรียนต้อง เปลี่ยนการเรียนรู้ให้มีลักษณะของผู้เรียนแบบ Self directed learner (ต้องระเบิดจากข้างใน) เป็นผู้ที่ริเริ่มแสวงหาความรู้โดยการใช้เหตุผลในเชิงวิเคราะห์ อาศัยข้อมูลเปลี่ยนแปลงรอบด้าน ทันสมัย และใช้ความคิดสร้างสรรค์ ผลของการเรียนรู้ควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาตนเองให้เป็นสามารถชื่นชมสิ่งที่เป็นความดี ความงาม และรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง ชุมชน สังคม ในฐานะที่เป็นพลเมืองโลก
การมีทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)เป็นลักษณะของผู้เรียนที่สำคัญในศตวรรษที่ ๒๑ ประการหนึ่ง ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่จะช่วยส่งเสริม Creative Thinking มีหลายวิธี ได้แก่ 1.การระดมสมอง(Brainstorming) เป็นเทคนิคเพื่อรวบรวมทางเลือกและการแก้ปัญหา โดยให้โอกาสในการคิดอย่างอิสระที่สุดและไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ใดๆระหว่างการคิด เพราะการวิพากษ์วิจารณ์จะเป็นการขัดขวางความคิดสร้างสรรค์ 2.การปลูกฝังความกล้าที่จะทำสิ่งสร้างสรรค์ เป็นเทคนิคที่ใช้การตั้งคำถามง่ายๆเพื่อให้คิด โดยจัดให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น 3. การสร้างความคิดใหม่ เป็นอีกเทคนิคหนึ่งโดยใช้การแจกแจงวิธีการในการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งมาให้ได้ 10 วิธีการ จากนั้นก็แบ่ง 10 วิธีการที่ได้ออกเป็นวิธีการย่อยๆลงไปอีก เพื่อให้ได้ทางเลือกหรือคำตอบที่ดีที่สุด 4. การตรวจสอบความคิด เป็นเทคนิคที่ใช้การค้นหาความคิดหรือแนวทางที่ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ โดยการตรวจสอบความคิดของแนวทางที่ใช้ในการแก้ปัญหานี้ที่ผ่านมา
การเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ การสอนคิด เป็นวีธีการหนึ่งที่จะช่วยให้นักศึกษาเกิดการคิดไตร่ตรอง (Reflective Thinking) ซึ่ง การจะเป็นครูสอนคิดได้ต้องมีทักษะที่ดี 3 ด้าน คือ 1. การถามอย่างเป็นระบบ (systematic questioning) สามารถใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิดและเชื่อมโยงได้ 2. การสื่อสาร (communication) สามารถสื่อสารให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายมีทักษะที่ดีในการแสดงความสนใจปฏิกิริยาตอบรับของนักศึกษา และ 3. การกระตุ้นให้มีส่วนร่วม (facilitation)
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้คำถาม มีดังนี้
1. ขั้นวางแผนการใช้คำถาม ครูควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อวัตถุประสงค์ใด รูปแบบประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2. ขั้นเตรียมคำถาม ครูควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์
3. ขั้นการใช้คำถาม ครูสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้นๆ
4. ขั้นสรุปและประเมินผล
4.1 การสรุปบทเรียนครูอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนก็ได้
4.2 การประเมินผล ครูและนักศึกษาร่วมกันประเมินผล การเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อนคิด(Reflective Thinking) มาร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ทางภาควิชาได้ทดลองมามาใช้ พบว่า คนที่ต้องการการพัฒนาด้วย คือผู้สอน ซึ่งเป็นคนที่มีสำคัญมาก ในกระบวนการดังกล่าว
การพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องพัฒนาให้เกิดความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness), ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy), ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy),ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)และความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy) ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มากขึ้นกว่าเดิม
การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะใน ศตวรรษที่ 21 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม นอกจากพัฒนาผู้เรียนให้มี 3R คือ การอ่าน การเขียนและคณิตศาสตร์ ยังต้องพัฒนา 4Cคือ Critical Thinking – การคิดวิเคราะห์, Communication-การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถพัฒนาได้ด้วยการเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อนคิด(Reflection)เนื่องจากการที่ผู้เรียนมีโอกาสได้สะท้อนคิดด้วยตนเองนั้น เป็นการฝึกการสังเกต การคิดวิเคราะห์ จัดระบบความคิด เพื่อให้สื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจ ต้องเป็นผู้ที่ช่างสังเกต เชื่อมโยงความรู้ เป็นนักคิดและมีการตั้งคำถามที่ดีโดยใช้เหตุผลในการอ้างอิง
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนต้องไม่นําสาระที่มีในตํารามาบอกหรือบรรยายให้ผู้เรียนจดจําแล้วนําไปสอบวัดความรู้ บทบาทของผู้สอนจะกลายเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้และอํานวยความสะดวกในการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทํา โดยมีประเด็นคําถามเป็นตัวกระตุ้นสร้างแรงบันดาลใจให้อยากเรียน เกิดการกระตือรือร้นที่จะสืบค้น รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาสนับสนุน
นักศึกษาที่ได้รับการพัฒนาให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ (LO)ตาม มคอ.๒ ทั้ง ๖ ด้าน จำนวน ๓๔ ข้อในหลักสูตร ๒๕๕๕ หรือ ๒๖ ข้อ ในหลักสูตร ๒๕๖๐ได้นั้นถือว่านักศึกษาได้มีการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21แล้ว โดยวิธีการพัฒนานั้นจะต้องมีการเรียนการสอนที่แตกต่างจากเดิมซึ่งเน้นความรู้มาเป็นเน้นการสร้างความรู้
ดังนั้นควรสอนโดยการให้ลงมือปฏิบัติ (Learning by Doing) เพื่อกระตุ้น (Inspire) ให้นักศึกษาเกิดความสนใจในการเรียนรู้สามารถสร้างความรู้และแบ่งปัน (Share) ความรู้ และนอกจากการสอนแล้วการประเมินผลจะต้องสอดคล้องกับวิธีการสอนด้วยคือต้องมุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนมากกว่าการมุ่งผลการสอนที่เป็นการวัดความรู้
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 สิ่งสำคัญคือครูต้องมีการปรับเปลี่ยนบทบาทตนเอง เน้นให้ผู้เรียนเป็น active learner โดยใช้กลวิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย และให้โอกาสผู้เรียนได้แสดงออกถึงศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด ดังหลักการจัดการศึกษาที่ว่า “ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ”
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ ตามกระบวนการจัดการความรู้ ในส่วน
ครูซึ่งต้องมีการสร้างบรรยากาศหรือสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างรอบด้าน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและรู้สึกผ่อนคลาย อีกประการหนึ่งคือสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกสนาน หรือรู้สึกมีความสุขซึ่งจะส่งผลต่อการรับรู้ และความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้น
ครูเป็นบุคคลที่สังคมให้ความสำคัญและยกย่อง ครูเป็นบุคคลสำคัญในการจัดกระบวนการเรียนรู้เป็นบุคคลที่ส่งเสริมและสร้างสรรค์การเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีคุณภาพ คุณภาพของผู้เรียนขึ้นอยู่กับคุณภาพของครู
บทบาทของครูในศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนบทบาทใหม่จากเคยเป็นผู้สอนผู้ให้ความรู้มาเป็น
๑. ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก(facilitator)
๒. ครูเป็นผู้แนะแนวทาง (guide/coach)
๓. ครูเป็นผู้ร่วมเรียน/ผู้รวมศึกษา (co-learningco-Investigator)
ลักษณะของครูในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ตามลักษณะ E-Teacher ดังนี้
๑. Experience มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้แบบใหม่
๒. Extended มีทักษะการแสวงหาความรู้
๓. Expended มีความสามารถในการถ่ายทอดหรือขยายความรู้ของตนสู่นักเรียนผ่านสื่อเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔.Exploration มีความสามารถในการเสาะหาและคัดเลือกเนื้อหาความรู้หรือเนื้อหาที่ทันสมัย เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนผ่านทางสื่อเทคโนโลยี
๕.Evaluation เป็นนักประเมินที่ดี มีความบริสุทธิ์และยุติธรรม และสามารถใช้เทคโนโลยีในการประเมินผล
๖.End-User เป็นผู้ที่ใช้เทคโนโลยี (user) อย่างคุ้มค่า และใช้ได้อย่างหลากหลาย
๗.Enabler สามารถใช้เทคโนโลยีสร้างบทเรียน
๘.Engagement ต้องร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันผ่านสื่อเทคโนโลยีจนพัฒนาเป็นเครือข่ายความร่วมมือ เช่น เกิดชุมชนครูบน web
๙.Efficient and Effective สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งในฐานะที่เป็นผู้ผลิตความรู้ ผู้กระจายความรู้ และผู้ใช้ความรู้ (ดร.อ่องจิต เมธยะประภาส(๒๕๕๗))
แต่สิ่งที่สำคัญคือ ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นผู้สอนในศตวรรษที่ 21
ครูในศตวรรษที่ 21 จะต้องสนใจในเทคโนโลยีต่าง ๆ มีการปรับการเรียนการสอนอย่างบูรณาการมีนวัตกรรม ICT ที่มีคุณสมบัติทางด้านเทคโนโลยีโดยใช้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ยุคใหม่ (Social Network ) มาสนับสนุนการเรียนรู้และเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กยุคใหม่ด้วย นอกจากนี้สถานศึกษาต้องมีความพร้อมสูงจัดแหล่งเรียนรู้ด้วยระบบ E-Classroom , E-Learning,E-Library เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการจัดการห้องเรียน ห้องสมุด การเรียนการสอน และสื่อสังคมสมัยใหม่สามารถยกระดับสู่คุณภาพสถานศึกษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการเรียนรู้ที่ตองไมใชสถานการณสมมติในหองเรียน แตตองออกแบบการเรียนรูใหไดเรียนในสภาพที่ใกลเคียงชีวิตจริงที่สุด และควรเปนบริบทหรือสภาพแวดลอมในขณะเรียนรู เกิดการสั่งสมประสบ การณใหม เอามาโตแยงความเชื่อหรือคานิยมเดิม ทําใหละจากความเชื่อเดิมหันมายึดถือความเชื่อ หรือคานิยมใหม ที่เรียกวากระบวนทัศนใหม ทําใหเปนคนที่มีความคิดเชิงกระบวนทัศนที่ชัดเจน และเกิดการเรียนรูเชิงกระบวนทัศนใหมได ทั้งนี้จําเปนตองมีความสามารถในการรับรูขอมูลหลักฐานใหม และนํามาสังเคราะหเปนความรูเชิงกระบวนทัศนใหม ขอสําคัญสําหรับคนที่จะเรียนรูไดตองเกิดประเด็นคําถามอยากรูกอนจึงจะอยากเรียน ไมใชครูอยากสอนเพียงฝายเดียวแตนักเรียนยังไมมีประเด็นที่อยากรู เพราะฉะนั้นการเรียนการสอนควรคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้น
ขอสําคัญของการเรียนรู้ในศรรตวรรษที่ 21 สําหรับคนที่จะเรียนรูไดตองเกิดประเด็นคําถามอยากรูกอนจึงจะอยากเรียน ไมใชครูอยากสอนเพียงฝายเดียวแตนักเรียนยังไมมีประเด็นที่อยากรู เพราะฉะนั้นการเรียนการสอนควรคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดอีกประการหนึ่งคือสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกสนาน หรือรู้สึกมีความสุขซึ่งจะส่งผลต่อการรับรู้ และความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้นขึ้น
การให้การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนแปลงทัศนะของผู้สอน (perspectives) จากกระบวนทัศน์แบบดั้งเดิม (tradition paradigm) ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ (new paradigm) ที่ให้โลกของนักเรียนและโลกความเป็นจริงเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่ไปไกลกว่าการได้รับความรู้แบบง่ายๆ ไปสู่การเน้นพัฒนาทักษะและทัศนคติ — ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะองค์การ ทัศนคติเชิงบวก ความเคารพตนเอง นวัตกรรม ความสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสาร ทักษะและค่านิยมทางเทคโนโลยี ความเชื่อมั่นตนเอง ความยืดหยุ่น การจูงใจตนเอง และความตระหนักในสภาพแวดล้อม และเหนืออื่นใด คือ ความสามารถใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์ (the ability to handle knowledge effectively in order to use it creatively) ถือเป็นทักษะที่สำคัญจำเป็นสำหรับการเป็นนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายในการที่จะพัฒนาเรียนเพื่ออนาคต ให้นักเรียนมีทักษะ ทัศนคติ ค่านิยม และบุคลิกภาพส่วนบุคคล เพื่อเผชิญกับอนาคตด้วยภาพในทางบวก (optimism) ที่มีทั้งความสำเร็จและมีความสุข
การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นการศึกษาที่ท้าทายทั้งตัวผู้เรียนและตััวผู้สอนเพราะต้องมีการพัฒนาตนเองทั้งในด้านการเตรียมตัวเรียนและการเตรียมตัวสอน เนื่องจากต้องมีการใช้สื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการดึงดูดผู้เรียน ที่ต้องมีการเน้นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่เน้นการเข้าสังคม การใช้เทคโนโลยี การมีใจอาสาและการสรรค์สรา้งนวัตกรรม เพราะเฉพาะนั้นครูต้องเป็นตัวแบบและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เปลี่ยนจากการได้รับความรู้แบบง่ายๆ ไปสู่การเน้นพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะ ทัศนคติ ค่านิยมและบุคลิกภาพส่วนบุคคลเพื่อเผชิญกับอนาคตด้วยภาพในทางบวก (optimism) ที่มีทั้งความสำเร็จและมีความสุข เหนืออื่นใด คือ ความสามารถใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์ (the ability to handle knowledge effectively in order to use it creatively)
ปัจจัยสำคัญด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ๕ ประการคือ
• Authentic learning
• Mental model building
• Internal motivation
• Multiple intelligence
• Social learning
หน้าที่ครู ไม่เน้นสอนสาระวิชา แต่เน้นสร้างแรงบันดาลใจ และอำนวยความสะดวกในการเรียนแบบลงมือทำของผู้เรียน ตองใชการสอนหลายรูปแบบ เพื่อสนองความตองการ หรือความสนใจของนักเรียนแตละคน
การสอน เป็นการสอนเชิงสหวิทยาการ คือ เนนผูเรียนเปนสําคัญ โดยตองสนใจวาผู้เรียนแสดงความเปนตัวของตนเอง และแสดงตอผูอื่นอยางไร สรางโอกาสที่จะประยุกตทักษะเชิงบูรณาการขามสาระเนื้อหา และสรางระบบการเรียนรูที่เนนสมรรถนะเปนฐาน (Competency-based) สรางนวัตกรรมและวิธีการเรียนรูในเชิงบูรณาการที่มีเทคโนโลยีเปนตัวเกื้อหนุน การเรียนรูแบบสืบคน และวิธีการเรียนจากการใชปญหาเปนฐาน (Problem-based) เพื่อการสรางทักษะขั้นสูงทางการคิดแบบมีวิจารณญาณ
ห้องเรียน ต้องเปลี่ยนจาก “ห้องเรียนที่ครูสอนหน้าชั้น” มาเป็น “ห้องเรียนที่ผู้เรียนลงมือทำเป็นทีม” การออกแบบห้องเรียนจึงต้องเปลี่ยนไป จากแบบ classroom เป็นแบบ studio (ห้องทำงาน) เพราะผู้เรียนต้องเรียนโดยการ “ทำงาน” หรือเรียนโดยลงมือทำ
ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมี การพัฒนา เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 จึงได้มีการพัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น ทักษะสำคัญ ที่เด็กและเยาวชนควรมี เพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 4C โดย 3R ได้แก่ 1) Reading (การอ่าน) 2) การเขียน(Writing) 3)คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ 4 C ได้แก่ 1) Critical Thinking การคิดวิเคราะห์ 2) Communication การสื่อสาร 3) Collaboration การร่วมมือ 4) Creativity ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่
จากคำกล่าว รมช.ศึกษาธิการ “การศึกษาในยุค Thailand 4.0” มีความหมายมากกว่าการเตรียมความพร้อมของคนหรือให้ความรู้กับคนเท่านั้น แต่เป็นการเตรียมมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ กล่าวคือ นอกจากให้ความรู้แล้ว ต้องทำให้เขาเป็นคนที่รักที่จะเรียน มีคุณธรรม และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย นั่นก็คือการสร้างคนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นทักษะในการคิดวิเคราะห์เป็นหลัก ดังนั้นอาจารย์ควรมีวิธีการสอนที่แตกต่างออกไปจากเดิมเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดได้
ศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนมีสื่อที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพตามกระบวนการของระบบ สำหรับผลผลิตที่จะได้รับว่าผู้เรียนมีคุณภาพหรือไม่ บทบาทของครูที่ยังคงสำคัญเสมอไม่ว่าจะศตวรรษใดคือการสอนให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและมีความเป็นมนุษย์ ครูต้องให้ความสำคัญกับเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมก้น (no one left behind)
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่21 สิ่งสำคัญที่ผู้เรียนควรเริ่มคือการฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเอง ฝึกการตั้งคำถามที่น่าสนใจเพื่อถามผู้สอน แต่สำหรับสิ่งที่ผู้สอนต้องพัฒนาคือ ต้องมีความรู้พื้นฐานที่แน่น พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ จัดระบบความรู้จัดการความรู้ สร้างแรงจูคงใจให้ผู้เรียน และมีความรู้จริงพร้อมที่จะถ่ายทอด
การศึกษาในยุค Thailand 4.0 มีความหมายมากกว่าการเตรียมความพร้อมด้านความรู้เท่านั้น แต่เป็นการเตรียมมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ โดยมีการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนและมีแผนในการเตรียมความพร้อมของคนทุกด้าน ให้สามารถมีชีวิตที่ดี อยู่รอดในสังคม และทำมาหากินเป็น โดยเฉพาะในส่วนของนักเรียนนักศึกษาต้องสอนให้มี “ความรู้คู่คุณธรรม และมีทักษะในศตวรรษที่ 21″
การปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรูของผู้เรียนเพื่อใหบรรลุผลลัพธที่สําคัญและจําเปนตอตัวผู้เรียนอยางแทจริงมุงไปที่ใหผู้เรียนสรางองคความรูดวยตนเองไปสูการเรียนรูเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยมีครูเปนผูอํานวยความสะดวกชวยใหผู้เรียนไดสืบคนรวบรวมความรูจากแหลงอางอิงที่เชื่อถือไดจะทําใหผู้เรียนมีทักษะการเทาทันสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี ไมถูกชวนเชื่อ หรือชักจูงแบบไมมีเหตุผล สรางกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรูกับกลุมเพื่อน นําไปสูการไดคําตอบที่มีทฤษฎีความรูรองรับเกิดจินตนาการสรางกระบวนการพัฒนางานที่เปนประโยชนตอการดํารงชีวิตของตนและคนในสังคม