รายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๔ / ๒๕๕๙ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๔ / ๒๕๕๙
กลุ่มงานกิจการนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้องรองผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจการนักศึกษา
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม
๑. นางสาวนัยนา อินธิโชติ รองฯ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา (ประธาน)
๒.นางสาววราภรณ์ ยศทวี หัวหน้าฝ่ายพัฒนานักศึกษา (เลขานุการ)
๓.นางนิศารัตน์ นาคทั่ง งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
๔.นางผ่องศรี พุทธรักษ์ งานพัฒนานักศึกษา
รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม ไม่มี
เริ่มประชุม ๑๕. ๐๐ น.
วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
ประธานแจ้งเรื่อง ทบทวนแนวทางการจัดการความรู้เรื่อง “การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา” จากการประชุมที่ผ่านมา ขั้นตอนที่ ๑. ได้ดำเนินการการบ่งชี้ความรู้ และขั้นตอนที่ ๒.การสร้างและแสวงหาความรู้ เกี่ยวกับ “จิตอาสา” และได้แนวทางในการพัฒนาเกี่ยวกับพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเอง และพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม โดยพัฒนานักศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารที่ดี คิดดี คิดทางบวก : (Positive thinking) มีการพูดที่ดี ฝึกขอบคุณ ฝึกแสดงความยินดี ฝึกให้กําลังใจ ฝึกชื่นชมผู้ที่มีจิตอาสาหรือจิตสาธารณะ
มติที่ประชุม รับทราบ
วาระที่ ๒. เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๙
วาระที่ ๓. เรื่องสืบเนื่อง
ไม่มี
วาระที่ ๔. เรื่องเพื่อพิจารณา
๑. ประธานเสนอ ให้ดำเนินการการจัดการความรู้เรื่อง “การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา” ตามขั้นตอนที่ ๓. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ ในฐานะที่เป็นอาจารย์ สามารถจัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีจิตอาสาได้อย่างไร
อ. วราภรณ์ เสนอว่า การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตอาสาสามารถทําได้ทุกช่วงวัย ผู้สอน เป็นหัวใจสําคัญในการปลูกฝังคุณลักษณะจิตอาสาที่สามารถพัฒนาพร้อมกัน สําหรับแนวทางการเรียนรู้จําเป็นนําองค์ความรู้เชิงทฤษฎีมาปรับประยุกต์ให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียนในปัจจุบัน เริ่มจากตัวผู้สอนเองที่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและค่อยๆ ขยายไปสู่การพัฒนาผู้เรียน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องพัฒนาไปให้ถึงระบบคิดของผู้เรียนมากกว่าการให้ทํากิจกรรมโดยปราศจาก
ความคิด ควรมุ่งเน้นการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมอง (Transformation of learning) ของผู้เรียน ทําให้เห็นว่าผู้เรียนแต่ละคนมีศักยภาพที่จะช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมส่วนรวมได้ ไม่สําคัญว่าจะเรียนเก่งสอบได้คะแนนดีหรือไม่ การปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมอง จะทําให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาจิตอาสาอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง
อ. นัยนา เสนอว่า การพัฒนาจิตอาสาสามารถสอดแทรกได้ในทุกกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น การช่วยเหลือเพื่อนที่เรียนไม่เข้าใจ ก็เป็ นจิตอาสาชนิดหนึ่ง หรือการประหยัดน้ำ ไฟฟ้ า การจัดทําโครงการจิตอาสาที่ออกไปนอกวิทยาลัย เป็นรูปแบบหนึ่งของการพัฒนาและการพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องเชื่อมโยงเข้าวิถีชีวิตของผู้เรียนในแต่ละชุมชนท้องถิ่น รวมทั้ง ผู้สอนต้องสร้างความเข้าใจให้ชัดเจนว่าการมีจิตอาสานั้นจะต้องไม่เป็นการเบียดเบียนตนเองหรือบุคคลรอบข้างด้วย มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา สิ่งใดที่เกินกําลังที่เราจะทําได้เพียงคนเดียวต้องรู้จักสร้างแนวร่วมหรือเครือข่ายมาช่วยให้สําเร็จ
อ. นิศารัตน์ เสนอว่า การเป็ นตัวแบบที่ดีทางด้านจิตอาสาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อผู้สอนแสดงพฤติกรรมใดๆ ออกมาอย่างสม่าเสมอ แม้ไม่ต้องสอนโดยวาจา แต่เป็นการสอนโดยการกระทํา ผู้เรียนจะมีแนวโน้มแสดงพฤติกรรมนั้นด้วย การพัฒนาลักษณะนี้เป็นการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยกระบวนการซึมซับ การสังเกต การเลียนแบบพฤติกรรม และควรใช้ควบคู่กับการสะท้อนคิด(reflection)ของผู้เรียน นอกจากนี้ การสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นการเรียนรู้จิตอาสา โดยทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกร่วม(Empathy) ความเห็นอกเห็นใจ เอาใจผู้อื่นมาใส่ใจตนเอง เพื่อรับรู้ความรู้สึก และตอบสนองโดยการแสดงพฤติกรรมจิตอาสาอย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งภาษาพูดและภาษากาย
อ. ผ่องศรี เสนอว่า การจัดการเรียนรู้ต้องผ่านกระบวนการการปฏิบัติ (action learning) โดยการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมจิตอาสาตามความเหมาะสมด้วยตนเอง โดยไม่จําเป็นต้องจัดทําเป็นโครงการเฉพาะกิจขึ้น แต่ควรบูรณาการไปในทุกกิจกรรมการเรียนรู้และที่สําคัญจะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการปฏิบัติต่อเพื่อนและผู้สอน การจัดการเรียนรู้ต้องเปิ ดโอกาสให้ผู้เรียนสะท้อนตนเอง (self – reflection) มุ่งให้เห็นความคิดและความรู้สึกของตนเอง เมื่อได้ช่วยเหลือผู้อื่นหรือทําประโยชน์ต่อส่วนรวม รวมทั้งการกําหนดแนวทางสําหรับพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่มีจิตอาสาต่อไป
สรุปแนวปฎิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา มีดังนี้
๑. การเป็นตัวแบบที่ทางด้านจิตอาสา
๒. การจัดการเรียนรู้ต้องผ่านกระบวนการการปฏิบัติ (action learning)
๓. การสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นการเรียนรู้จิตอาสา โดยทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกร่วม(Empathy)
๔. มุ่งเน้นการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมอง(Transformation of learning) ของผู้เรียน
๕.การจัดการเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสะท้อนตนเอง (self – reflection) มุ่งให้เห็นความคิดและความรู้สึกของตนเอง
๖.ผู้สอนต้องสร้างความเข้าใจให้ชัดเจนว่าการมีจิตอาสานั้นจะต้องไม่เป็นการเบียดเบียนตนเองหรือบุคคลรอบข้าง
ประธานขอให้เสนอแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสา ควรทำอย่างไร
อ. นิศารัตน์ เสนอว่า กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์เป็นกิจกรรมที่ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เน้นให้ความสําคัญทั้งความรู้ และคุณธรรมจริยธรรม จัดกิจกรรมโดยให้นักศึกษาได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ออกแบบกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างหลากหลายรูปแบบ
อ. นัยนา เสนอว่า ต้องจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสํานึกให้แก่นักศึกษาในการบําเพ็ญตนให้เป็ นประโยชน์ต่อครอบครัว สถาบันการศึกษา ชุมชน สังคมและประเทศชาติ รวมทั้งจัดกิจกรรมให้นักศึกษามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ตามความถนัดและความสนใจ
อ. วราภรณ์ ให้ความเห็นว่า กิจกรรมในลักษณะกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมอาสาพัฒนาหรือกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม โดยนักศึกษาดําเนินการด้วยตนเองในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม ความเสียสละต่อสังคม และมีจิตสาธารณะ เป็นกิจกรรมที่ผู้ปฏิบัติกิจกรรม ปฏิบัติด้วยความสมัครใจทำเพื่อผู้อื่นและสังคม โดยการจัดกิจกรรมต้องเน้นให้นักสศึกษาร่วมกันวิเคราะห์กิจกรรม ร่วมกันสํารวจสภาพและปัญหา ร่วมวางแผนการจัดกิจกรรม ร่วมปฏิบัติกิจกรรม ร่วมสรุปและประเมินผลการจัดกิจกรรม และร่วมรายงานผล พร้อมทั้งเผยแพร่ผลการจัดกิจกรรม
สรุปแนวปฎิบัติการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา มีดังนี้
๑. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองตามความถนัดและความสนใจเ ต็มตามศักยภาพ
๒. จัดกิจกรรมโดยให้นักศึกษาได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ออกแบบกิจกรรมอย่างหลากหลายรูปแบบ
๓. จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสํานึกให้แก่นักศึกษาในการบําเพ็ญตนให้เป็ นประโยชน์ต่อครอบครัว สถาบันการศึกษา ชุมชน สังคม
๔. จัดกิจกรรมในลักษณะกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมอาสาพัฒนาหรือกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม
๕. รูปแบบกิจกรรมต้องเน้นให้นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์ สํารวจสภาพและปัญหา วางแผนการจัดกิจกรรม ร่วมปฏิบัติกิจกรรม ร่วมสรุปและประเมินผลการจัดกิจกรรม
ประธานสรุปว่า การดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับ “การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา” ในขั้นตอนที่๓ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ และขั้นตอนที่ ๔ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ทำให้ได้แนวปฏิบัติ 2 เรื่อง คือ ๑) แนวปฎิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา และ ๒) แนวปฎิบัติการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา ซึ่งจะได้ดำเนินการขั้นตอนที่ ๕.การเข้าถึงความรู้ และขั้นตอนที่ ๖ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ โดยจะนำไปประชาสัมพันธ์เผยแพร่ไว้ใน Web board KM ของวิทยาลัย เพื่อให้อาจารย์จากกลุ่มงานอื่นและผู้สนใจได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ต่อไป
มติที่ประชุม รับทราบ
วาระที่ ๕. เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ไม่มี
วาระที่ ๖. เรื่องอื่น ๆ
ไม่มี
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.
ลงชื่อ …………………………………………….ผู้บันทึกการประชุม
(นางสาววราภรณ์ ยศทวี)
ลงชื่อ ……………………………………………….ประธานการประชุม
(นางสาวนัยนา อินธิโชติ)
แนวปฏิบัติที่กลุ่มงานจัดทำขึ้นนี้ มีความเป็นรูปธรรม และควรได้นำไปใช้เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ แล้วนำมาพิจารณาร่วมกันอีกครั้ง หากมีสิ่งใดที่สมควรปรับก็จะได้ดำเนินการปรับเพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่สมบูรณ์ เหมาะสม และเป็นไปได้มากที่สุด
แนวปฏิบัติที่จัดทำนี้สามารถนำไปเป็นแนวประยุกต์ใช้ได้ในการส่งเสริมและปลูกฝังคุณลักษณะจิตอาสาให้กับนักศึกษาได้ทั้งในกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งได้ทั้งในทฤษฎีและปฏิบัติ และกิจกรรมพัฒนานักศึกษาอื่นๆ เช่นกิจกรรมครอบครัวเสมือน หรือกิจกิจกรรมพัฒนานักศึกษาด้านอื่นๆได้ โดยสามารถสอดแทรกเข้าไปได้ในทุกๆกิจกรรมที่ผู้สอนหรือผู้จัดโครงการได้กำหนดขึ้น
แนวปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับจิตอาสา สามารถทำให้นักศึกษามีแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองตามความถนัดและความสนใจอย่างเต็มตามศักยภาพ อันจะส่งผลให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ และมีจิตที่อยากทำประโยชน์แก่สังคมต่อไป
แนวปฏิบัติที่กลุ่มงานกิจการนักศึกษาได้จัดทำขึ้น ใช้เป็นแนวทง ทั้งในกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนานักศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะจิตอาสา
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษาที่กลุ่มงานกิจการนักศึกษาได้จัดทำขึ้น สามารถนำไปปฎิบัติได้จริงในการพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะจิตอาสา แต่อย่างไรก็ตาม ครู ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นผู้มีจิตอาสาด้วย
แนวปฏิบัตินี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ทั้งในด้านการเรียนการสอน และกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการมีจิตสาธารณะ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งในการที่จะส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดคุณลักษณะในการมีจิตสาธารณะ ได้นั้นก็ควรการส่งเสริมให้นักศึกษาควรรับรู้ความสามารถของตนเอง และเกิดแรงจูงใจในการมีจิตสาธารณะ และการมีต้นแบบด้านติตอาสา ซึ่งอาจจะเป็นอาจารย์ บุคคลากรในวิทยาลัย ศิษย์เก่า หรือนักศึกษาด้วยกันเอง และควรได้รับการสนับสนุนพฤติกรรมจิตอาสาอย่างต่อเนื่องค่ะ
จากการศึกษารููปแบบการขัดเกลาทางสังคมเพื่อเสริมสร้างจิตอาสาในชุมชน พบว่าใช้ การขัดเกลาทางสังคมผ่านนสถาบันต่าง ๆ คือ 1) ครอบครัว ได้แก่ การอบรม/สั่งสอนด้วยวาจา การทำตนให้เห็นเป็นแบบอย่าง การลงโทษ การสร้างแรงจูงใจด้วยการให้รางวัล สร้างกฎเกณฑ์/ข้อตกลงร่วมกัน การให้เรียนรู้ด้วยตนเอง 2)ศาสนา ได้แก่ การอบรม/สั่งสอนด้วยวาจา สร้างกฎเกณฑ์/ข้อตกลงร่วมกัน การให้เรียนรู้ด้วยตนเองและ 3)สถาบันการศึกษา ได้แก่ การอบรม/สั่งสอนด้วยวาจาการลงโทษ การให้รางวัล การทำใหเ้ห็นเป็นแบบอย่าง สร้างกฎเกณฑ์/ข้อตกลงร่วมกัน การให้เรียนรู้ด้วยตนเองและ พบว่า วิธีการที่ทุกสถาบันได้ใช้มากที่สุดคือ การอบรม/สั่งสอนด้วยวาจา และวิธีการทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง รวมถึงวิธีการลงโทษ ทั้งวาจา (ดวงทิพย์ อันประสิทธ์ิ,2555) เป็นแนวทางที่จะนำมาใช้พัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะจิตอาสาได้ดี