รายงานการประชุมการจัดการความรู้ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
รายงานการประชุมการจัดการความรู้ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๓๐ ? ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
**************************************************
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม
๑. นางวิมล??????????????? อ่อนเส็ง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๒. ดร.ดุจเดือน??????????? เขียวเหลือง?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. ดร.ประภาพร????????? มโนรัตน์????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๔. ดร.ปฐพร?????????????? แสงเขียว???????? วิทยาจารย์ชำนาญการ
๕. นายอดุลย์????????????? วุฒิจูรีพันธุ์??????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นายบุญฤทธิ์??????????? ประสิทธิ์นราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๗.นางอัญชรี?????????????? เข็มเพชร????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๘.น.ส.วิไลวรรณ? ?????????บุญเรือง?????????พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๙. นายอิทธิพล??????????? แก้วฟอง????????? พยาบาลวิชาปฏิบัติการ
๑๐.นางสายฝน??????????? วรรณขาว???????????? พยาบาลวิชาชีพ
ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์
เปิดประชุมเวลา ๑๕.๓๐ น.
ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน
ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้
วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย???? การจัดการความรู้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinkingเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ โดยใช้ Reflective thinking ซึ่งภาควิชาฯได้มีการจัดอบรมเตรียมความพร้อมมาเป็นระยะเวลา ๑ ปี และมีการนำไปใช้ในระยะ ๑ เทอมการศึกษา และจากการนำไปใช้เห็นว่าควรมีการทบทวนเพื่อพัฒนาปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงานการประชุม
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ
การจัดการความรู้ของภาควิชาฯได้ดังนี้
ขั้นที่ ๑ การแสวงหาความรู้
สร้างความเข้าใจ/ความกระจ่างในประเด็นสำคัญ โดยทบทวนความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน โดยมอบหมายให้อาจารย์ในภาควิชาฯ ที่มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน(อาจารย์ที่ผ่านการอบรมระยะสั้นตามหลักสูตร Reflective thinking) และมอบหมายให้อาจารย์ทุกคนในภาควิชาฯ ไปศึกษาเพิ่มเติม และนำเสนอในที่ประชุมภาควิชา
ขั้นที่ ๒ การวิเคราะห์ความรู้ โดยจัดเสวนาคณาจารย์ในภาควิชาเพื่อวิเคราะห์ความรู้ เช่น ความสอดคล้องตามการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑? ความสอดคล้องตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ? ความเป็นไปได้ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ขั้นที่ ๓ การสังเคราะห์ความรู้ ภาควิชาได้มีการสังเคราะห์ความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทางการพยาบาล? บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน? ปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน
ขั้นตอนที่ ๔ การสังเคราะห์ความรู้ ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะจากผู้มีประสบการณ์ตรง(tacit knowledge) ภาควิชาได้เชิญวิทยากรผู้มีประสบการณ์ตรงในการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์แก่คณาจารย์ในภาควิชา
ขั้นตอนที่ ๕ การสรุปประเด็นสาระที่ได้เพื่อนำมาเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (ที่ได้จากการสังเคราะห์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจากผู้มีประสบการณ์ตรง) ภาควิชาได้จัดเสวนาคณาจารย์เพื่อจัดทำแนวปฏิบัติที่ในการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน ดังนี้
๑.ทบทวน Learning?? Outcome ในรายวิชาที่รับผิดชอบ ที่สามารถใช้การสอนแบบ Reflective และจะสามารถตอบ LO ใน Domain ใดบ้าง
๒.จัดประชุมชี้แจงอาจารย์ผู้ร่วมสอนในรายวิชา ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking เพื่อทำความเข้าใจ โดยใช้แนวคิดของ Gibbs ประกอบด้วย
การคิดทบทวนประสบการณ์ ( Description)
การทบทวนความคิดความรู้สึก( Feelings)
การประเมินผลกระทบของเหตุการณ์( Evaluation )
การวิเคราะห์เหตุการณ์( Analysis)
การสร้างความเข้าใจใหม่( Conclusion )
การวางแผนการนำความรู้ใหม่ไปใช้ในอนาคต( Action plan)
๓.อาจารย์ฝึกสะท้อนคิด เพื่อทำความเข้าใจการเรียนการสอน? แบบ Reflective thinking
ได้แก่ ฝึกการกำหนดประเด็น / ตั้งคำถาม?? , ฝึกเขียนบันทึกการสะท้อนคิด , ฝึกการชี้ประเด็นการสะท้อนคิด
๔.อาจารย์ฝึกตรวจชิ้นงานการสะท้อนคิด และให้คะแนน เพื่อทำความเข้าใจก่อน การประเมินชิ้นงาน(Reflective writing)ของนักศึกษา
๕.กรณีนักศึกษาไม่สามารถตั้งคำถาม ตามระดับ(Bloom Taxanomy) อาจารย์อาจต้องมีเวลา ในการเตรียมนักศึกษาในการฝึกตั้งคำถาม อย่างน้อย ๒ ชั่วโมง ก่อนทำ Reflective thinking
๖.อาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาต้องมีการชี้แจงการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking กับนักศึกษา รวมทั้งแบบประเมินการเขียนสะท้อนคิด (Reflective writing)
๗.การทำ Reflective writingของนักศึกษา จากประสบการณ์ของ ดร.เชษฐา แก้วพรม พบว่านักศึกษาพยาบาลใช้เวลาในการเขียน ทั้ง ๖ ขั้นตอนของ Gibbs? ใช้เวลา ๔ ชั่วโมง?? อาจารย์ต้องออกแบบงานให้เหมาะสมกับเวลาที่สอน เช่น ในการฝึก ๔ สัปดาห์ อาจให้นักศึกษาทำ Reflective writing สัปดาห์ละ๑ ครั้ง
๘.ในการให้ข้อมูลย้อยกลับไม่ควรรอเป็นสัปดาห์ เพราะจะทำให้นักศึกษาลืมเหตุการณ์ที่ผ่านมา ไม่สามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ได้
๙.หลังจาก นักศึกษาทำ Reflective writing อาจารย์ต้องมีการให้ข้อมูลย้อนกลับนักศึกษาทุกครั้ง เพื่อพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดในระดับที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันอาจารย์ต้องให้กำลังใจนักศึกษาในการทำงานเพื่อเป็นการเสริมแรงในการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ ๖ การดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ดำเนินการ ภาควิชาได้ดำเนินการคัดเลือกรายวิชาที่จะใช้วิธีการสอนแบบสะท้อนคิด เพื่อนำไปทดลองใช้จำนวน ๓ รายวิชา
ผลที่ได้จากการเรียนรู้
ผลการประเมินจากอาจารย์ผู้สอน
๑.นักศึกษาคิดว่ามีประโยชน์ทำให้ทบทวนการทำงานในแต่ละวัน และทำอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาในครั้งต่อไป
๒. นักศึกษาได้ความรู้เพิ่มขึ้นจากคำถามที่ตนเองตั้ง และหาคำตอบด้วยตนเองเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่เข้าใจ
๓. นักศึกษาได้ฝึกตนเองในการจัดความคิดให้เป็นระบบ
ผลการประเมินจากนักศึกษา
๑.อาจารย์กำหนดประเด็นให้นักศึกษาเขียนช่วยให้นักศึกษามีขอบเขตในการเขียนบันทึกสะท้อนคิด
๒.ทำให้นักศึกษาได้กลับมามองตนเอง(Self awareness)ว่ามีจุดอ่อนในการทำงานในเรื่องใดและจะต้องพัฒนาตนเองในด้านใด
๓.นักศึกษาคิดว่าตัวเองคิดเป็นระบบ เป็นขั้นตอน เพิ่มมากขึ้น ไม่เหมือนกับการเขียนบันทึกในวิชาอื่นๆที่สะท้อนแค่ความรู้สึก
๔.ฝึกให้นักศึกษาต้องค้นคว้าความรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา ไม่เหมือนในห้องเรียนที่อาจารย์จะมีคำตอบให้ในห้องเรียน
๕.การเขียนบันทึกสะท้อนคิดช่วยให้อาจารย์ได้เข้าใจความรู้สึกของนักศึกษาและรู้ว่านักศึกษายังไม่รู้หรือไม่เข้าใจความรู้ในประเด็นอะไร
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
๑. จำนวนผู้เรียนไม่มากเกินไป ไม่ควรเกิน ๘ คน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทุกคนในกลุ่ม
๒. ผู้สอนควรมีความชัดเจนในวิธีการเขียนสะท้อนคิดตามระดับ?Bloom?s Taxonomy
๓. ผู้สอนควรแนะนำแหล่งค้นคว้าหลักแก่ผู้เรียน เช่น ตำราในห้องสมุด
ข้อเสนอแนะ
- ควรใช้การเรียนการสอนแบบ Reflective Thinking ในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ เพราะสัดส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษาจะมีความเหมาะสม และจัดการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสอนได้ดีกว่า
- หากต้องการใช้ในการเรียนการสอนภาคทฤษฎีที่มีนักศึกษาเป็นจำนวนมาก ควรอาสาสมัครอาจารย์ที่มีประสงค์จะจัดการเรียนการสอนเพื่อสะท้อนคิด (ควรใช้ผู้สอนเป็นกลุ่ม โดยคำนวณสัดส่วนผู้สอนต่อนักศึกษาให้เหมาะสม) เพื่อให้สามารถประเมินผลและสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ภายในระยะเวลา และเกิดความท้าทายต่อการทดลองวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดจนเสร็จสิ้นภาคการศึกษา (โดยที่ไม่ burn out ก่อนสิ้นภาคการศึกษา)
มติที่ประชุม รับทราบ และขอให้นำไปปรับใช้ในรายปฏิบัติการพยาบาลวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน ๑ และ ๒ วิชาปฏิบัติการพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพ ?วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีต่อไป
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.
|
การสะท้อนคิดเป็นการเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการ ทำให้นักศึกษามีเวลาทบทวนกระบวนการคิด การแก้ปัญหาของโจทย์ปัญหาที่เจอในช่วงฝึก ซึ่งทุกคนจะบรรยายโดยการเขียนบรรยานและนำเสนอในช่วงConference เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ตาม Bloom’s Taxonomy
การสะท้อนคิดเป็นการเรียนรู้ที่ช่วยให้นักศึกษาได้ทบทวนเหตุการณ์ที่ได้กดระทำลงไปแล้วกระตุ้นให้ผูเรียนสืบค้นเพิ่มเติม
การให้นักศึกษาสะท้อนความคิดออกมาภายหลังจากการเขียน Reflective writing อาจารย์อาจใช้คำถามกับนักศึกษาเพื่อตรวจสอบว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง ถามภายใต้บรรยากาศที่อบอุ่นเป็นกันเอง โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นทีละคน โดยที่อาจารย์อย่าพึ่งด่วนสรุป ให้รอ และเป็นผู้ฟัง ฟังนักศึกษาจนครบทุกคน อาจพูดล้อมวง แล้วอาจารย์จึงช่วยให้นักศึกษาช่วยกันสรุปออกมาเป็นประเด็น จากนั้นอาจารย์ค่อยเสริมให้ครบถ้วนหากนักศึกษาหลุดประเด็นที่สำคุญในครั้งนั้น จะช่วยเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
การฝึกให้สะท้อนคิดในรายวิชาภาคปฏิบัติ ทำให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ตรงมาสะท้อนคิด ทำให้ผู่เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี และจำนวนผู้เรียนมีน้อยทำให้ผู้สอนสามารถกระตุ้นการคิดผูเรียนได้อย่างที้วถึง
การสะท้อนคิดสามารถนำไปใช้ในประเด็นกฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นได้ดี โดยใช้ใบงานกำหนดสถานการณ์การปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลด้านการรักษาพยาบาลเบื้องต้นแล้วให้นักศึกษาเขียนสะท้อนคิด แล้วนำมาเรียนรู้ในกลุ่มย่อยในแต่ละสถานการณ์ในใบงาน หลังจากนั้นให้นักศึกษาเวียนฐานการเรียนในแต่ละสถานการณ์ที่ไม่ซ้ำกัน ในท้ายชั่วโมงให้ตัวแทนแต่ละสถานการณ์มานำเสนอหน้าชั้นเรียน ผู้สอนชี้ประเด็นเพิ่มเติม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนักศึกษาเกิดความกระตือรือร้นในการเรียน ความสนใจในกรณีศึกษาและช่วยการวิเคราะห์ อภิปรายในแต่ละกรณีศึกษานั้นๆ ทำให้บรรยากาศการเรียนเกิดความตื่นตัว นักศึกษามุ่งความสนใจติดตามเรื่องราวในแต่ละกรณีศึกษา และนักศึกษาเกิดความตระหนักและระมัดระวังตนเองในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีำมากขึ้น
การสะท้อนคิด ควรฝึกให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตั้งแต่เข้่าเรียนในชั้นปีแรก และเริ่มต้นในรายวิชาภาคทฤษฎี เพื่อให้เกิดการต่อยอดการเรียนรู้ไปสู่การฝึกภาคปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งจากการถ่ายทอดประสบการณ์ของผู้นิเทศในการฝึกภาคปฏิบัติ พบว่า การเรียนรู้แบบสะท้อนคิด ทำให้นักศึกษามีความตื่นตัวในการเรียนรู้และเป็นการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติของผู้เรียนได้
การสะท้อนคิดเป็นการเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการ ที่ดึงให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ทำให้ผู้เรียนมีความตื่นตัว มีความกระตือรือร้นในการเรียนหรือประเด็นที่อภิปรายกันได้เป็นอย่างดี
การสะท้อนคิด เป็นการเรียนรู้ที่กระตุ้นให้นักศึกษาได้คิด วิเคราะห์ เกี่ยวกับสถานการณ์และการเรียนรู้ที่เกิดจากการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งผู้สอนควรมีการชี้ประเด็นเพิ่มเติมในประเด็นที่ผู้เรียนวิเคราะห์ไม่ครอบคลุม เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น
นักศึกษาควรฝึกให้ใช้การสะท้อนคิดอย่างสมำเสมอ เพราะ จะช่วยพัฒนาทักษะทางปัญญา ฝึกการคิดอย่างมีวิจารญาณ ทั้งยังช่วยให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง อันเป็นสมมรรถนะสำคัญ ของการเรียนรู้ในสังคมยุค4G
ความจริงการสะท้อนคิดอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยและครูไทยมานาน โดยเฉพาะครูประถมศึกษาที่สอนเะด็กเล็ก ครูจะใช้คำถามสะท้อนคิดตลอดทั้งวัน เนื่องจากเด็กเล็กเองก็จะถามคำถามทั้งวัน จนครูผู้ปกครองตอบไม่ไหว เลยต้องสะท้อนกลับมั่งกันทั้งวัน แต่ด้วยวิถีรีบเร่งแห่งสังคม ยุคใหม่เปลี่ยนไปจากเดิม การสะท้อนคิดที่รอฟังคำตอบเพื่อสรุปสู่การเรียนรู้ก็หายไป ดังนั้นประเด็นการเริ่มต้นด้วยคำถามแต่ไม่เคยได้ใส่ใจต่อคำตอบเพื่อสร้างข้อสรุปสู่ความเข้าใจ จึงไม่ใช่หลักของการสะท้อนคิด แง่คิดตรงนี้เช่นกันการสระท้อนคิดในการจัดการศึกษาพยาบาลจะต้องมุ่งให้ครบกระบวนการและเวลา ท่าทีของผู้จัดการเรียนรู้ต้องแง่บวกด้วย จะช่วยให้สามารถการจัดการเรียนรู้สะท้อนคิดสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้
การสอนแบบ reflective จะประสบผลสำเร็จ ผู้สอนควรชี้ประเด็นเพิ่มเติม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนักศึกษาเกิดความกระตือรือร้นในการเรียน ความสนใจในกรณีศึกษาและช่วยการวิเคราะห์ อภิปรายในแต่ละกรณีศึกษานั้นๆ ทำให้บรรยากาศการเรียนเกิดความตื่นตัว นักศึกษามุ่งความสนใจติดตามเรื่องราวในแต่ละกรณีศึกษามากขึ้น
การเรียนรู้แบบสะท้อนคิด เป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดข้อสงสัยจากปัญหาที่ตนเองได้ประสพและต้องศึกษาค้นคว้าแก้ไขปัญหาด้วยตนเองโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และนำเอาองค์ความรู้ที่ได้จากการสืบค้นมาวิเคราห์ร่วมกับปัญหาที่เกิดขึ้นในตนเองหรือจากงานที่ตนเองทำ และนำมาประยกต์ใช้ ถือว่าเป็นวิธีการเรียรู้ด้วยตนเองที่ดีอย่างหนึ่ง แต่ต้องฝึกบ่อยๆที่สำคัญคือ ครูผู้สอนควรเน้นให้เด็กเกิดกระบวนการคิดที่อิสระ แล้วครูต้องชี้แนวทางได้
การสอนแบบสะท้อนคิด ทำให้ผู้เรียนใช้สติ สมาธิในการรวบรวมประสบการณ์ ความรู้ สู่กระบวนการคิดเพื่อถ่ายทอดที่ผ่านการประมวลมาแล้ว ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการคิดอย่างมีเป้าหมาย หากผู้เรียนได้ฝึกต่อเนื่องจนเกิดเป็นนิสัย จะช่วยในการดำรงชีวิตในสังคมในทางที่ถูกต้อง ทั้งนี้ผู้สอน จะต้องมีกระบวนการคิดที่ดีและชัดเจนด้วย เพื่อการสะท้อนผลการคิดของผู้เรียนได้
การเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด บทบาทผู้สอนก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนได้สะท้อนคิดในระดับที่ลึกซึ้งแค่ไหน เพราะระดับการรับรู้และกระบวนทัศน์ของผู้เรียนไม่เท่ากัน เช่น ในขณะที่ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนได้สะท้อนคิดด้วยวิธีการเดียวกันแต่ผู้เรียนบางคนจะมีระดับการสะท้อนคิดที่ลึกซึ้งมากกว่าอีกคนหนึ่งเนื่องจากผู้เรียนคนนั้นมีประสบการณ์ตรงกับเหตุการณ์นั้นมาก่อน
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสะท้อนคิดผู้สอนควรตั้งคำถามมาตรฐานที่สามารถประยุกต์ใช้ในการสอนได้หลายสถานการณ์ อาจทำได้โดยการให้ข้อมูล แล้วตั้งคำถามเพื่อให้นักศึกษาสะท้อนคิด จากนั้นจึงเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อให้นักศึกษาได้คิดเพิ่มเติม ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยเน้นผู้เรียนให้มีลักษณะของการรับฟังข้อมูลแบบไม่ตัดสิน รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างได้ มองสถานการณ์เดียวกันด้วยมุมมองที่หลากหลาย