• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

แนวปฏิบัติที่ดีด้านการส่งเสริมสุขภาพ : การบูรณาการกับการเรียนการสอน

บทสรุป ความรู้ที่ได้รับจากการบริการวิชาการและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพ

?????????????? ความรู้ที่ได้รับจากโครงการการบูรณาการการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคทางการ พยาบาลกับการบริการวิชาการและการวิจัย เรื่อง สุขอนามัยดี ชื่นชีวีผู้สูงวัย วันที่ 13 ธันวาคม 2556 และ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ณ โรงเรียนวัดนาทะเล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้มและวัดดอนไชย ?ตำบลชัยจุมพล ?อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ นักศึกษามีการบริการวิชาการ ๒ กลุ่ม กลุ่มที่ 1ให้บริการวิชาการวันที่ 13 ธันวาคม 2556 จำนวน 51 คน กลุ่มที่ 2ให้บริการวิชาการวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 โดยให้บริการวิชาการแก่วัยเด็กและวัยผู้สูงอายุ เรื่องที่ให้บริการวิชาการเป็นเรื่องการส่งเสริมสุขภาพสุขวิทยาส่วนบุคคล ได้แก่ การล้างมือ การแปรงฟันและการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ความรู้ที่ได้รับจากการไปบริการวิชาการสำหรับอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล สรุปได้เป็น?3 ด้าน ดังนี้

  1. ด้านการจัดการเรียนการสอน
  2. ด้านการส่งเสริมสุขภาพ
  3. ด้านการจัดการเรียนการสอน

1. ด้านการจัดการเรียนการสอน

1.1 ด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา ความรู้ที่ได้รับจากการไปบริการวิชาการ คือ

การได้ศึกษาเรียนรู้กระบวนการทำงานเป็นทีม และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของนักศึกษาในการนำความรู้รายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลไปใช้ เช่น พัฒนาการของนักศึกษาในการนำข้อมูลการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลจากที่เคยให้แก่ผู้รับบริการที่เจ็บป่วยวัยผู้ใหญ่และวัยผู้สูงอายุบนหอผู้ป่วย มาใช้บริการส่งเสริมสุขภาพแก่วัยเด็กและวัยผู้สูงอายุในชุมชน ?ซึ่งมีพฤติกรรมที่การเรียนรู้ที่แตกต่างจากวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่อยู่บนหอผู้ป่วย ปกตินักศึกษาจะมีประสบการณ์ในการให้บริการสุขภาพหรือปฏิบัติการพยาบาลกับผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ แต่การบริการวิชาการได้มีการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในการให้บริการวิชาการเป็นกลุ่มวัยเด็กและวัยผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชน ซึ่งอาจมีการเจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัวแต่ไม่ได้เข้ารับการรักษาโดยการนอนโรงพยาบาล การเพิ่มพูนประสบการณ์นอกเหนือจากการฝึกบนหอผู้ป่วย ทำให้นักศึกษาต้องมีการปรับตัว มีการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะทำให้นักศึกษามีวิธีการถ่ายถอดความรู้แก่เด็กวัยเรียนมากขึ้น ?การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาสามารถทำให้อาจารย์ได้แนวคิดในการนำมาสอนนักเรียนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในปีการศึกษาต่อๆไป ซึ่งอาจารย์ในภาควิชาเห็นว่า การออกแบบโดยการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนครั้งนี้บรรลุตามลักษณะการเรียนรู้และวัตถุประสงค์ของรายวิชา คือการดูแลภาวะสุขภาพของบุคคลทุกช่วงวัย?

๑.๒ ด้านการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์? การออกแบบการเรียนการสอนโดยการบูร-

ณาการวิชาการ ทำให้ได้แนวคิดว่า ควรมีการส่งเสริมให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมด ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างจากที่นักศึกษาเคยได้รับ ?อาจทำให้นักศึกษาสามารถเกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้นได้? แนวคิดการจัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษามีการสร้างสรรค์ประยุกต์ความรู้ สร้างสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนจะทำให้นักศึกษามีการวางแผน ?การสร้างระบบการทำงานเป็นทีม (ดวงดาว เทพทองคำ, วิภาวรรณ นวลทอง, สุปราณี หมื่นยา, พิศิษฐ์ พวงนาคและนภดล เลือดนักรบ. (2556). การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนโดยนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 บนพื้นฐานการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ด้วยปัญญา. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์.) การวางเป้าหมายในสิ่งที่จะทำ ขั้นตอนการทำงาน การสรุปผลงาน การทดลองนำมาใช้ก่อนการไปให้บริการวิชาการจริง ?ซึ่งควรจะมีการทดสอบกระบวนการดังกล่าวเป็นการศึกษาวิจัยโดยมีกรอบแนวคิดทฤษฎีรองรับ การศึกษาดังกล่าวจะสามารถตรวจสอบได้ว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ในกระบวนการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน หรือรูปแบบการบริการวิชาการด้านส่งเสริมสุขภาพแก่กลุ่มคนแต่ละช่วงวัยต่อไป

ความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการนำมาลำดับขั้นตอนเพื่อการวางแผนในการสอนนักศึกษาต่อไป ดังนี้

๑) การออกแบบโดยการบูรณาการ การเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ ควรมีการให้นักศึกษาสร้างชิ้นงาน นำนวัตกรรมมาใช้หรือออกแบบนวัตกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนา

๒) วัตถุประสงค์การเรียนรู้รายวิชาหรือหัวข้อเรื่องในการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการควรมีความ

สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนหรือความต้องการของหน่วยงาน/องค์กร ที่จะไปบริการวิชาการ การดำเนินการจึงมีการสำรวจความต้องการหัวข้อเรื่องที่จะมีการบริการวิชาการกับครูโรงเรียนวัดนาทะเลและการบริการวิชาการสำหรับวัยผู้สูงอายุในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้ม ต.ชัยจุมพล อ.ลับแล

จ.อุตรดิตถ์ ด้วย

????????? ๓) ประเด็นการเรียนรู้ในการกำหนดให้นักศึกษา ควรมีการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเลือกในหัวข้อที่ตนเองสนใจ โดยอาจารย์กำหนดแนวคิดไว้กว้างๆ เพราะความสนใจจะเป็นแรงจูงใจเบื้องต้นในการเรียนรู้

????????? ๔) เมื่อนักศึกษาเลือกประเด็นหรือหัวข้อเรื่องที่ตนเองมีความสนใจแล้ว แนะแนวทางให้นักศึกษาได้มีการทบทวนความรู้ในประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเองที่ผ่านมา สร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการบริการวิชาการออกมาเป็นชิ้นงานเพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายในการไปให้บริการวิชาการ

????????? ๕)? เป็นที่ปรึกษาให้นักศึกษา ให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่นักศึกษาในการแสวงหา/ทางเลือก ด้วยกระตุ้นให้นักศึกษาคิด วิเคราะห์และนำมาไตร่ตรองอย่างเป็นระบบ ช่วยนักศึกษาประเมินผลงานของนักศึกษาที่ผ่านการสร้างสรรค์มาแล้ว ก่อนการนำไปใช้ ตอบคำถามนักศึกษา ให้ข้อมูลเพื่อคลี่คลายปัญหา เสริมสร้างความมั่นใจให้แก่นักศึกษาก่อนนำไปใช้ในสถานการณ์จริง (ตามสรุปแนวทางการจัดการเรียนการสอนฯแนบท้าย)

? 2. ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ผลจากการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ม.4และม.5 ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ พบประเด็นความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการส่งเสริมสุขภาพช่วงวัยเด็กและวัยผู้สูงอายุ ดังนี้

?????????? 2.1 การบริการวิชาการวัยเด็ก มีแนวคิดในการส่งเสริมหลายๆด้าน? วัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการ

การดูแลและการปรับตัวต่างๆ ซึ่งวัยเด็กก็สามารถแยกออกเป็นช่วงวัยต่างๆอีก ในการให้การส่งเสริมสุขภาพในช่วงวัยเด็กของโรงเรียนวัดนาทะเล ให้การส่งเสริมสุขภาพหัวข้อ คือ การล้างมือ การดูแลความสะอาดปากและฟัน จากทฤษฎีรายวิชาหลักการและเทคนิคทางการพยาบาล บทที่ 1 สุขวิทยาส่วนบุคคล และวิชาปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคทางการพยาบาล ให้การส่งเสริมทั้ง 2 เรื่อง การล้างมือ การดูแลความสะอาดปากและฟัน เนื่องจากเป็นการส่งเสริมสุขวิทยาเบื้องต้น หากขาดการดูแลจะส่งผลให้เกิดภาวการณ์เจ็บป่วยได้? การล้างมือ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้วัยเด็กมีพฤติกรรมที่รักษาความสะอาด เข้าใจหลักในการล้างมือและสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องซึ่งจะส่งผลให้ลดการเกิดเชื้อโรคและคาดว่าจะทำให้การเจ็บป่วยลดลง? การดูแลความสะอาดปากและฟัน เป็นการส่งเสริมการรักษาช่องปากเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค? ป้องกันฟันผุ? เนื่องจากฟันเป็นอวัยวะที่สำคัญในการช่วยเคี้ยวอาหารก่อนการกลืน และการสุขภาพของช่องปากดีก็ยังบ่งบอกถึงพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของบุคคลด้วย

??????????2.2?? การบริการวิชาการวัยผู้สูงอายุ เป็นวัยที่มีการเสื่อมของโครงสร้างร่างกายและสภาพ

จิตใจตามระยะเวลาในการใช้งานตลอดชีวิต ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีการเกิดโรคต่างๆได้ง่ายขึ้น ทั้งโรคที่เกิดแบบเฉียบพลันและโรคเรื้อรังต่างๆ อนาคตต่อไปของประเทศไทยสังคมผู้สูงอายุจะมีขนาดขยายมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพของวัยผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเพื่อเป็นการป้องกันเบื้องต้นก่อน จากการศึกษาสถิติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้ม ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. 2556 จำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด? 250 คน ผู้สูงอายุเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 15.38 ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงที่ทีมสุขภาพต้องให้การดูแล การส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุที่ให้บริการวิชาการคือ (๑)การล้างมือ เป็นการส่งเสริมความสะอาดเบื้องต้นเพื่อป้องกันและการแพร่กระจายของเชื้อโรค? (๒)การดูแลความสะอาดปากและฟันเป็นการส่งเสริมสุขอนามัยในช่องปากทำให้วัยผู้สูงอายุมีสุขภาพปากและฟันที่สะอาดลดการติดเชื้อในช่องปากด้วย (๓)การส่งเสริมสุขภาพเรื่องโรคเรื้อรัง คือ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โดยการให้สุขศึกษาแก่วัยผู้สูงอายุ เปิดโอกาสให้ซักถามและแจกเอกสารความรู้เพิ่มเติมแก่วัยผู้สูงอายุ?

????????? ????????? การให้บริการวิชาการวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ เกิดจากการนำความรู้จากทฤษฎีและความรู้จากภาคปฏิบัติในการฝึก ๒ แผนก คือแผนกอายุรกรรมและแผนกศัลยกรรมมาผนวกความรู้และนำมาให้บริการวิชากรแก่วัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ เพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้จากการใช้ทฤษฎีและการปฏิบัติมารวมเป็นความรู้ที่จะส่งเสริมสุขภาพวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ที่สามารถสื่อสารและเล็งเห็นความสำคัญให้วัยเด็กและวัยผู้ใหญ่นำไปปฏิบัติได้จริง

?????????????????? การบริการวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ณ โรงเรียนวัดนาทะเลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้มและวัดดอนไชย ?ตำบลชัยจุมพล ?อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ทำให้วัยเด็กเกิดความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพ โดยการล้างมือ การทำความสะอาดปากและฟัน สามารถบอกถึงผลดีและผลกระทบหรือผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้หากไม่ปฏิบัติตาม วัยผู้สูงอายุสามารถบอกหลักการปฏิบัติการล้างมือ การทำความสะอาดปากและฟันได้ ทราบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดหรือป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้มและรงเรียนวัดนาทะเล ทราบเกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพของวัยเด็กและวัยผู้สูงอายุ สามารถนำข้อมมูลไปจักกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพได้ต่อไป อาจารย์และนักศึกษาได้ความรู้จากการบริการวิชาการ โดยแนวคิดความรู้ที่ได้รับของนักศึกษาจะปรากฏในแบบบันทึกสิ่งที่นักศึกษาได้รับ ซึ่งกระบวนการการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรการกับบริการวิชาการนี้ คณาจารย์ในภาควิชาเห็นว่าควรนำไปเป็นข้อมูลในการวิจัยต่อไป

แนวปฏิบัติที่ดีในการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพ

  1. มีการวางแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินการและมีการ

เตรียมการล่วงหน้าที่ทันเวลา

1.1?? การประชุมเพื่อสรุปแนวคิด (concept) ในการบูรณาการระหว่างอาจารย์ผู้สอน

1.2?? การกำหนดเป็นแผนปฏิบัติราชการของภาควิชาฯ และของวิทยาลัยฯ

1.3?? การประชุมวางแผนการดำเนินโครงการตามแผนที่กำหนด เพื่อ ออกแบบการบูรณาการส่งเสริมสุขภาพให้เหมาะสมกับกลุ่มคน ช่วงวัย ตลอดจนการวางแผนคิดค้น สร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษาเกิดความสร้างสรรค์ทางปัญญา โดยอาจารย์นำผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ประเมินผลการเรียนการสอนโดยการทำวิจัยครั้งต่อไปเกิดเป็นวงจรเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

  1. การดำเนินการตามแผนที่กำหนด โดยความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องภายนอก

2.1 ประสานงานเพื่อความเข้าใจในการบูรณาการด้านการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน ระหว่างหน่วยงาน หรือ องค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ วัด โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้นำชุมชน อาสาสมัครชุมชน

  1. มีการประเมินผลการดำเนินงานและวางแผนในการดำเนินการครั้งต่อไปเพื่อให้เป็นวงจรคุณภาพและ

เพื่อความยั่งยืนด้านการส่งเสริมสุขภาพ จากการบูรณาการครั้งนี้ ได้ยกตัวอย่างการประเมินผลการดำเนินการดังนี้

ผลกระทบเมื้อสิ้นสุดการดำเนินงาน

๑.????? กลุ่มเป้าหมาย (เด็กวัยเรียนและครู)

-????????? พึงพอใจในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการเกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนโดยกิจกรรมมีการดำเนินการแบบต่อเนื่องเป็นเวลา ๓ ปี

-????????? นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลของตนเองมากยิ่งขึ้น

-????????? ครูมีความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขวิทยาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยเรียน

-????????? รู้สึกมีคุณค่าในตนเองที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนให้ดีขึ้น

-????????? ครูได้รับแนวทางความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน

-????????? การจัดกิจกรรมของวิทยาลัยฯส่งผลให้โรงเรียนเทศบาลหัวดงได้รับรางวัลเด็กสุขภาพฟันดีระดับอำเภอจากการประกวดสุขภาพดี สร้างความภาคภูมิใจให้กับบุคลากรภายในโรงเรียน

๒.????? กลุ่มนักศึกษาพยาบาลศาสตร์

-????????? พึงพอใจในกิจกรรมบริการวิชาการและเกิดทักษะในกระบวนการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน

-????????? มีความมั่นใจในการดูแลและส่งเสริมสุขวิทยาส่วนบุคคลให้แก่ผู้อื่นมากยิ่งขึ้น จากการได้รับประสบการณ์จริง

-????????? มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานในการให้บริการแก่ชุมชนและสามารถร่วมงานกับเครือข่ายภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-????????? ได้รับประสบการณ์จริงในการให้บริการวิชาการทำให้นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ มีการพัฒนาทางด้านความคิด การทำงานเป็นทีมและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

?3.????? กลุ่มอาจารย์

? -??พึงพอใจในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการที่ได้จัดและเกิดทักษะในกระบวนการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้กับนักศึกษา

? -??มีเครือข่ายในการดูแลและส่งเสริมสุขวิทยาส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น

??-??เกิดการพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญการทำงานจากประสบการณ์ที่ได้รับจริงของการบริการวิชาการร่วมกับภาคีเครือข่ายมากยิ่งขึ้น

?-? ได้ประเด็นความรู้ในการบริการวิชาการการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้กับนักศึกษาและยังเป็นแนวทางการพัฒนาการจัดการบริการวิชาการในครั้งต่อไป

แนวทางการนำไปใช้จากการบูรณาการ

? ๑.??การให้บริการวิชาการสามารถทำได้กับบุคคลทุกช่วงวัย ทุกเวลาและทุกสถานที่

? ๒.??การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนควรมีการจัดกิจกรรมที่ดึงความสนใจเด็กวัยนี้เนื่องจากเด็กวัยนี้มีความสนใจใฝ่รู้มาก

? ๓.?ควรนำผลการจัดกิจกรรมไปเผยแพร่ที่อื่นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติเช่นกัน

? ๔.?นำประสบการณ์ที่ได้รับไปเผยแพร่เพื่อให้ผู้อื่นรับทราบและปฏิบัติตามจนเกิดเป็นความเคยชิน

? ๕.?ปฏิบัติทุกครั้งตามความเหมาะสมเพื่อให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อไป

??????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ?ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล

???????????????????????????????????????????????????????????????????????? วันที่??12 พฤษภาคม 2557

การจัดการความรู้เรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในรายวิชาภาคปฏิบัติ?

Blogged under KM ของ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช by Nopparat on วันเสาร์ 6 กันยายน 2014 at 3:17 am

การใช้แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learningของภาควิชาฯ จากผลการประชุม วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๗? แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learningของภาควิชาฯ มีดังนี้

๑)? จัดทำ มคอ. ในรายวิชาที่รับผิดชอบสอน กำหนดกิจกรรม การเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

๒) จัดทำแผนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

๓) ดำเนินการสอนตามแผนที่กำหนด

๔) ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน

๕) สรุปผลการจัดการเรียนการสอน

๖) นำผลการจัดการเรียนการสอนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

และได้มีการติดตามผลการนำ AL ไปใช้ในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย ในนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ ซึ่งจัดการเรียนการสอน ๓ มี.ค. ? ๒๓ พ.ค. ๕๗

ซึ่งมีวิธีการจัดการเรียนการสอนดังต่อไปนี้

๑.กำหนดกิจกรรมในการเรียนการสอน ใน มคอ.๔ วิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย

ดังนี้

กิจกรรมการเรียนการสอน ผลการนำไปใช้
-????????? กรณีศึกษา(โดยอาจารย์มอบหมายนักศึกษา 2คน ต่อ กรณีศึกษา 1 case ) -นักศึกษาได้เรียนรู้ การใช้กระบวนการพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพในวัยทำงาน

-นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากทฤษฎีไปใช้กับผู้รับบริการในสถานการณ์จริง

-????????? การวิเคราะห์บทความ(โดยมอบหมายให้นักศึกษาไปค้นคว้าบทความวิชาการ/บทความวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับกรณีศึกษาของตนเอง) -นักศึกษาได้ฝึกการค้นคว้าด้วยตนเองจากหลายแหล่ง

-นักศึกษาอ่านและสรุปสาระสำคัญและนำไปประยุกต์ใช้

-????????? บันทึกการเรียนรู้ -นักศึกษาได้ใช้บันทึกการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสะท้อนการเรียนรู้ ในเรื่องการทำงานและความรู้สึกในการดูแลกรณีศึกษา
-????????? การประชุมปรึกษาทางการพยาบาล -นักศึกษาได้มีโอกาสแสดงความคิดในเชิงวิชาการ และแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม

- นักศึกษารู้จักเปิดใจรับฟังความคิดของผู้อื่น

ปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

๑.????? นักศึกษาไม่สามารถให้กิจกรรมพยาบาลกับกรณีศึกษา ตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากรณีศึกษายุติการเข้าร่วมกิจกรรมกะทันหัน

แนวทางแก้ไข

อ.อดุลย์ เสนอให้นักศึกษาชี้แจงทำความเข้าใจถึงขั้นตอนและกิจกรรมการให้บริการ ตลอดจนระยะเวลาการฝึกงานของนักศึกษา

อ.อัญชรี? เสนอให้เปลี่ยนกรณีศึกษาในกรณีศึกษาที่ไม่พร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรม

๒. นักศึกษาบางส่วนขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

แนวทางแก้ไข

อ.บุญฤทธิ์ เสนอให้หาสาเหตุของการขาดความกระตือรือร้นเป็นรายบุคคล เพื่อหาแนวทางแก้ไขให้เหมาะสมกับนักศึกษา

อ.วิมล เสนอหากต้องให้เสริมแรงทางบวกควรทำในกลุ่มใหญ่ หากต้องการตักเตือนควรเรียกมาเตือนเป็นรายบุคคล

อ.วิไลวรรณ เสนอให้ทำข้อตกลงในการเรียนการสอน

อ.นพรัตน์ มีการติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ

ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

๑.????? ผู้สอนต้องมีความสามารถในการชี้แนะให้กำลังใจสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในเรื่องอ่านและวิเคราะห์บทความวิชาการ/วิจัย

๒.????? การมีอัตราส่วนผู้สอนและผู้เรียนเท่ากับ ๑:๗ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง

๓.????? ผู้สอนมีเทคนิคในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล เลือกใช้วิธีการเข้าถึงผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม

อ.ดร.ประภาพร เสนอ ควรมีการเตรียมชุมชนก่อนนักศึกษาลงฝึกปฏิบัติ

อ.อิทธิพล เสนอ อาจารย์ผู้สอนควรมีการประเมินผลการสอนร่วมกันระหว่างที่ดำเนินการสอน

อ.จิระภา เสนอ? ควรมีการเตรียมความพร้อมผู้เรียนเรื่อง วิธีการเรียนการสอนแบบ Active Learning

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

๑.????? ผู้สอนต้องมีความสามารถในการชี้แนะให้กำลังใจสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในเรื่องอ่านและวิเคราะห์บทความวิชาการ/วิจัย

๒.????? การมีอัตราส่วนผู้สอนและผู้เรียนเท่ากับ ๑:๗ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง

๓.????? ผู้สอนมีเทคนิคในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล เลือกใช้วิธีการเข้าถึงผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม

๔.????? ควรมีการเตรียมชุมชนก่อนนักศึกษาลงฝึกปฏิบัติ

๕.????? อาจารย์ผู้สอนควรมีการประเมินผลการสอนร่วมกันระหว่างที่ดำเนินการสอน

๖.????? ควรมีการเตรียมความพร้อมผู้เรียนเรื่อง วิธีการเรียนการสอนแบบ Active Learning

แนวปฏิบัติที่ดี : การบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ

Blogged under KM -ของ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สุงอายุ by Naiyana Kaewkhong on วันศุกร์ 29 สิงหาคม 2014 at 6:46 am

สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้

ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

แนวปฏิบัติที่ดี : การบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ

(ปรับปรุง ครั้งที่ ๒)

ขั้นตอนการดำเนินการ

ขั้นที่ ๑ สร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในคำสำคัญร่วมกัน

การบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพให้มีประสิทธิภาพนั้น??????????? การสร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในคำสำคัญร่วมกัน ๒ คำ คือ ๑) การสร้างเสริมสุขภาพ และ ๒) การบูรณาการ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะช่วยลดช่องว่างของความไม่เข้าใจหรือความไม่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างมีเป้าหมายและทิศทางเดียวกัน

๑.๑. การสร้างเสริมสุขภาพ

องค์ประกอบที่สำคัญที่ควรสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจน ได้แก่ ความหมาย พฤติกรรมที่แสดงถึงการสร้างเสริมสุขภาพ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ และแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพในแต่ละช่วงวัย ดังนี้

๑.๑.๑ การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก (world health organization [WHO]) คือ ?กระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลในการควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น?

๑.๑.๒ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (health-promoting behavior) ตามกรอบแนวคิด Health Promotion Model ของ Pender อันประกอบด้วย ๖ พฤติกรรม ดังนี้

๑) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (health responsibility)

๒) กิจกรรมทางกาย (physical activity)

๓) โภชนาการ (nutrition)

๔) สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (interpersonal relations)

๕) การเจริญทางจิตวิญญาณ (spiritual growth)

๖) การจัดการกับความเครียด (stress management)

๑.๑.๓ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตามกรอบแนวคิด Health Promotion Model ของ Pender อันได้แก่ ๑) ลักษณะเฉพาะและประสบการณ์ของบุคคล เช่น พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องหรือเคยทำแล้วมาในอดีต ปัจจัยส่วนบุคคลทั้งด้านกาย จิต สังคมและวัฒนธรรม และ ๒) ความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม เช่น การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค????????????????? การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรม อิทธิพลระหว่างบุคคลและจากสถานการณ์

๑.๑.๔ แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพในแต่ละช่วงวัย โดยกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพตามช่วงวัย ควรให้ความสำคัญกับประเด็นแต่ละช่วงวัย ดังนี้

๑) วัยผู้สูงอายุ? กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ จะได้ผลดี? เมื่อมีผู้นำกลุ่มที่ดีที่ได้มาจากกลุ่มผู้สูงอายุเอง? การทำกิจกรรมควรทำเป็นกลุ่ม? การได้รับความช่วยเหลือที่ดี และแรงสนับสนุนจากคนในครอบครัว และจากสังคม? การทำกิจกรรมกลุ่มควรคำนึงความเหมาะสมด้วย เช่น กิจกรรมที่ไม่โลดโผน? เพราะส่วนใหญ่วัยนี้ จะมีปัญหาเรื่องของข้อเข่าเสื่อม และกิจกรรมที่เหมาะสมกับเพศทั้งชายและหญิง

๒) วัยผู้ใหญ่ กิจกรรมควรคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล ข้อจำกัดเรื่องของช่วงเวลาในการทำกิจกรรม ตลอดจน ภาระหน้าที่อื่นๆ

๓) วัยเรียน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ควรมีผู้นำของกลุ่มเด็กเอง เช่น อสม.น้อยในโรงเรียนเพื่อให้เด็กมีส่วนร่วม รวมถึงกิจกรรมควรเป็นกิจกรรมที่ชักจูงให้เด็กเข้าร่วมได้ ไม่น่าเบื่อ เช่น แสดงละครส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น

๑.๒ การบูรณาการ

องค์ประกอบที่สำคัญที่ควรสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจน ได้แก่ ความหมาย รูปแบบการบูรณาการ แนวทางการบูรณาการ การประเมินผลลัพธ์ของการบูรณาการ

๑.๒.๑ การบูรณาการ ตามความหมายศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานหมายถึง การทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน โดยรวมหรือผสมผสานส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน

๑.๒.๒ รูปแบบการบูรณาการ (สิริพัชร์?เจษฎาวิโรจน์, 2546 อ้างในวารุณี คงมั่นกลาง, 2553)

๑) การบูรณาการเชิงเนื้อหาสาระ?เป็นการผสมผสานเชื่อมโยงเนื้อหาสาระ ในลักษณะการหลอมรวมกันโดยการตั้งเป็นหน่วย (Unit)?หรือหัวเรื่อง (Theme)

๒) การบูรณาการเชิงวิธีการ เป็นการผสมผสานวิธีการสอนแบบต่างๆ เข้าในการสอน? โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายวิธี การสนทนา????????????????????? การอภิปราย การใช้คำถาม การบรรยาย การค้นคว้าและการทำงานกลุ่ม การไปศึกษานอกห้องเรียนและการนำเสนอข้อมูล เป็นต้น

๓) การบูรณาการความรู้กับกระบวนการเรียนรู้?โดยออกแบบการเรียนรู้ให้มีทั้งการให้ความรู้และกระบวนการไปพร้อมๆ กัน?เช่น?กระบวนการแสวงหาความรู้?กระบวนการแก้ปัญหา?และกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด เป็นต้น

๔) การบูรณาการความรู้?ความคิดกับคุณธรรม โดยเน้นทั้งพุทธิพิสัยและจิตพิสัยเป็นการเรียนที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมๆ กัน? เพื่อที่นักเรียนจะได้เป็น ?ผู้มีความรู้ คู่คุณธรรม ?

๕) การบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติ?เน้นการปฏิบัติจริง ควบคู่ไปพร้อมๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

๖)การบูรณาการความรู้ในสถานศึกษากับชีวิตจริงของผู้เรียน?พยายามให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียน?เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นคุณค่าและความหมายในสิ่งที่เรียน

๑.๒.๓ แนวทางการบูรณาการ ในที่นี้จะเน้นการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ ดังนั้น แนวทาง ก็คือ การกําหนดให้นักศึกษานําความรู้จากในชั้นเรียนไปจัดทําเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพกับผู้ป่วยจริง

๑.๒.๔ การประเมินผลลัพธ์ของการบูรณาการ นอกจากจะต้องประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชาที่บูรณาการที่ควรเกิดขึ้นกับนักศึกษาแล้ว ยังต้องประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพต่อผู้เรียน ผู้สอน ผู้ป่วย/ผู้รับบริการ/ผู้ดูแล และสถาบัน เช่น

- ผู้เรียน เกิดสมรรถนะนักสร้างเสริมสุขภาพอะไรบ้าง

- ผู้สอน มีองค์ความรู้ใหม่ อันจะนำไปสู่ความเชี่ยวชาญในการสร้างเสริมสุขภาพหรือไม่ อะไรบ้าง

- ผู้ป่วย/ผู้รับบริการ/ผู้ดูแล มีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพหรือไม่ อย่างไร

- สถาบัน การบูรณาการช่วยประหยัดงบประมาณและเวลาในการดำเนินการหรือไม่อย่างไร และได้องค์ความรู้ที่นำไปปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาให้มีความเหมาะสมและตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้นหรือไม่ อย่างไร

ขั้นที่ ๒ การพิจาณารายวิชาที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

การพิจารณาความสอดคล้องของรายวิชาในการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะความสอดคล้องด้านเป้าประสงค์ที่ต้องการ จะมีส่วนช่วยให้มองเห็นความเป็นไปได้ของการดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้หรือไม่ อย่างไร ความคล่องตัวเป็นอย่างไร เกิดความคุ้มค่าในการดำเนินการหรือไม่อย่างไร

ขั้นที่ ๓ การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

การวางแผนการการบูรณาการการเรียนการสอนทางการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ ควรเริ่มต้นด้วยการออกแบบหรือระบุการวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมการวัดและประเมินผลของการบูรณาการดังกล่าวไว้ใน ?รายละเอียดของรายวิชา ???????????ทั้งมคอ. ๓ และ ๔? ดังนี้

๓.๑ ทบทวนวัตถุประสงค์ และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา ตลอดจน? การพิจารณาผลลัพธ์เพิ่มเติมของการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น สมรรถนะนักสร้างเสริมสุขภาพ ?โดยพิจารณาความสอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติ ๒ กรณี คือ

กรณี ๑ วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา??????????????? อาจสะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ แต่ไม่ชัดเจนให้พิจารณาปรับปรุงหรือเพิ่มเติมข้อความของวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้นั้นๆ ให้สะท้อน การสร้างเสริมสุขภาพ

กรณี ๒ วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา???????????? ไม่สะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ให้พิจารณาเพิ่มวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาให้สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ โดยคำนึงถึงคำสำคัญ ?(key word) คือ ความหมาย และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ (บุคคลวัยสูงอายุ) เมื่อสิ้นสุดการฝึกภาคปฏิบัติ นักศึกษาสามารถ

๑. ใช้กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้สูงอายุ

ได้อย่างเหมาะสม

๒. ให้การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้

๓. ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหา

สุขภาพได้

๔. แสดงความก้าว หน้าในทักษะทางการพยาบาล

ในการวิเคราะห์ปัญหา อภิปรายทางการพยาบาล

และอื่นๆ ที่เกี่ยว ข้องกับการพยาบาลได้

๕. คิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้

โดยอาศัยหลักวิชาการอย่างมีเหตุผล

๖.? ร่วมปฏิบัติงานกับทีมสุขภาพและบุคลากรอื่นๆ

ได้อย่างเหมาะสม

เมื่อพิจารณาแล้ว ไม่มีวัตถุประสงค์ข้อใด สะท้อนหรือสอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ อาจพิจารณาเพิ่มเติม คือ ?วางแผนและจัดกิจกรรมสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพหรือญาติในการควบคุมและดูแลปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุได้? เป็นต้น

๓.๒ วางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ/ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพตามบริบทหรือสถานการณ์จริงในคลินิกและชุมชน ซึ่งสามารถยกตัวอย่างให้เห็นชัดระหว่างการปฏิบัติการเพื่อการดูแลและการสร้างเสริมสุขภาพ ดังตารางต่อไปนี้

ปัญหาสุขภาพ กิจกรรมการดูแล กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ
การฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล

ผู้ป่วยมีแผล Colostomy

การทำแผล Colostomy ??????????แบบ wet dressing ให้กับผู้ป่วย การเตรียมผู้ป่วยก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล ดังนี้

๑. การสอนและสาธิตผู้ป่วย/ญาติในการทำแผล Colostomy แบบ wet dressing

๒. การเป็นโค้ช (coach) ให้ผู้ป่วย/ญาติในการทำแผล Colostomy

กิจกรรมทั้ง ๒ ล้วนเป็นการเพิ่มศักยภาพของผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเอง เมื่อกลับไปอยู่บ้าน ซึ่งสอดรับกับความหมายการสร้างเสริมสุขภาพ

ปัญหาสุขภาพ กิจกรรมการดูแล กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ
การติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยสูงอายุในชุมชน

ผู้ป่วยสูงอายุแขนขาซีกซ้ายอ่อนแรง และติดเกร็ง มีแผลกดทับ

๑. การช่วยผู้ป่วยออกกำลังกาย แบบ Passive exercise

๒. การทำแผล แบบ wet dressing

๑. การสอนและสาธิตญาติผู้ป่วยสูงอายุในการทำแผลและ Passive exercise แบบ Coaching (เป็นโค้ชสอน)

๒. ร่วมกับญาติในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการดูแล ป้องกันหรือแก้ปัญหาสุขภาพ โดยกระตุ้นให้พิจารณาถึงภูมิปัญญา/วัสดุท้องถิ่นที่มีอยู่ มาดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาสุขภาพ

๓.๓ วางแผนการพัฒนาผลการเรียนรู้ (Learning Outcome [LO]) ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (domain) ควรมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกันระหว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการสอน และกิจกรรมการวัดประเมินผล โดยยึดหลักตามกรอบแนวคิด ?OLE Alignment? (Outcome-Learning activity-Evaluation activity Alignment)

ขั้นที่ ๔ การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพตามแผนที่วางไว้นั้น ควรมีการเตรียมการและดำเนินการแบบมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ????????????ทั้งนักศึกษา ผู้สอน ผู้ป่วย ผู้ดูแล และชุมชน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมแบบภาคีเครือข่าย ระดับท้องถิ่นหรือประชาชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดการดำเนินการแบบคล่องตัว ยังทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งด้านกระบวนการและผลลัพธ์การดำเนินการเรียนการสอนและการสร้างเสริมสุขภาพ

๔.๑ ด้านนักศึกษา ก่อนให้นักศึกษาดำเนินกิจกรรมตามแผน จำเป็นต้องทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างกระจ่างชัดในประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ และความแตกต่างระหว่างมิติการดูแล ซึ่งจะทำเกิดความเชื่อมั่น ลดความเครียดต่อการปฏิบัติของนักศึกษาได้

๔.๒ ด้านผู้ป่วยและผู้ดูแล จำเป็นต้องพบปะเป็นระยะๆ อย่างความเหมาะสม??????????? เพื่อสร้างสัมพันธภาพและความร่วมมือในการดำเนินการ เพื่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ

๔.๒ ด้านเครือข่ายความร่วมมือในส่วนของชุมชน ควรพิจารณา ดังนี้

๑) เครือข่ายความร่วมมือหลักที่สำคัญ ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เป็นต้น

๒) เครือข่ายความร่วมมือ ส่วนองค์กรในชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น โรงเรียน สถานบริการสุขภาพในท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันและเสริมความเข้มแข็งของดำเนินงานและผลลัพธ์ยั่งยืน

ขั้นที่ ๕ การวัดและประเมินผล

๕.๑ การวัดและประเมินผล นอกจากประเมินผู้เรียนตามวัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ ของรายวิชาแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของผู้รับบริการ/ประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน ยังต้องประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพต่อผู้เรียน ผู้สอน ผู้ป่วย/ผู้รับบริการ/ผู้ดูแล และสถาบัน ดังนี้

๕.๑.๑ ผู้เรียน ประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามรายวิชา และประเมินสมรรถนะนักสร้างเสริมสุขภาพ

๕.๑.๒ ผู้สอน ประเมินความเชี่ยวชาญในการสร้างเสริมสุขภาพ

๕.๑.๓ ผู้ป่วย/ผู้รับบริการ/ผู้ดูแล ประเมินพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

๕.๑.๔ ชุมชน ประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชน

๕.๑.๕ สถาบัน ประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสถาบัน เช่น ความคุ้มค่าของการดำเนินการ มีองค์ความรู้ที่นำไปปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีความเหมาะสมและตอบสนองความต้องการของประชาชน

๕.๒ การวัดและประเมินผล ควรประเมิน ดังนี้

๕.๒.๑ การประเมินแบบ Formative evaluation เป็นการประเมินผลขณะที่กำลังมีการดำเนินการอยู่เป็นระยะๆ อย่างเหมาะสม แล้วนำผลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทันเวลา

๕.๒.๒ การประเมินแบบ Summative evaluation เป็นการประเมินเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานแล้ว เพื่อตรวจสอบผลลัพธ์หรือประสิทธิผลที่เกิดขึ้น สามารถกระทำได้ ดังนี้

ระยะแรก ให้ระบุการวัดความรู้เกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือการวัดความตระหนักในความรับผิดต่อสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หรือวัดทักษะการจัดการปัญหาสุขภาพ ภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น

ระยะหลัง ให้ระบุการวัดเพิ่มในประเด็นการแสดงพฤติกรรมหรือการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการวัดดังกล่าว อาจวัดเป็นระยะๆ เช่น ทุก ๑ สัปดาห์ หรือ ๒ สัปดาห์ หรือ ๑ เดือนหลังดำเนินการเสร็จสิ้น เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

คณาจารย์ประจำภาควิชา

การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ผู้ถอดบทเรียน

๒๔ มีนาคม ๒๕๕๗

การรวบรวมความรู้ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning

Blogged under KM -ของ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สุงอายุ by Naiyana Kaewkhong on วันศุกร์ 29 สิงหาคม 2014 at 6:41 am

สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้

ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning

(ปรับปรุง ครั้งที่ ๒)

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิบัติกิจกรรมหรือกระทำใดๆ ด้วยตนเอง อย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ เช่น ได้คิด ได้ทำ ได้ค้นคว้า ได้แก้ปัญหา ได้สร้างสรรค์อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลง

ขั้นตอนการดำเนินการ

๑. ขั้นเตรียมการ เป็นขั้นตอนการวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุซึ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning outcome) ของรายวิชา ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สอน ????????????????????โดยประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา มีดังนี้

๑.๑ ทำความเข้าใจผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการหลังเสร็จสิ้นการสอน

๑.๒ ศึกษาและเลือกรูปแบบหรือเทคนิควิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหา/สาระความรู้ และกระตุ้นให้ผู้เรียนมีกระตือรือร้นหรือใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา โดยทำความเข้าใจในรูปแบบหรือเทคนิควิธีการที่เลือกอย่างกระจ่างชัด

๑.๓ เตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ เช่น ใบงาน สถานการณ์การเรียนรู้ ข้อคำถาม รูปภาพ เสียง วีดีทัศน์ เป็นต้น โดยจุดเน้นที่สำคัญของสื่อนั้นๆ ควรเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ ของผู้เรียน

๑.๔ วางแผน จัดลำดับ และแบ่งช่วงกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ ??????????????????ซึ่งหมายความรวมถึงรูปแบบการเรียนการสอนบางกรณีมีความจำเป็นต้องมอบหมายงานหรือความรับผิดชอบแก่ผู้เรียนก่อนที่จะมีการเรียนการสอนตามเวลาที่กำหนด ก็จำเป็นต้องหาเวลาพบผู้เรียนเพื่อกระทำการดังกล่าว พร้อมการชี้แจงและทำความเข้าใจกับผู้เรียนอย่างกระจ่างชัด

๑.๕ กรณีมีการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ควรพิจารณาอย่างเหมาะสม มีเป้าหมาย??????????? มีความลงตัว เช่น จำนวนกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มต้องมีจำนวนผู้เรียนเท่าๆ กันหรือไม่ จำเป็นต้องการกระจ่ายเด็กเก่งเด็กอ่อนหรือไม่ เป็นต้น

๒. ขั้นสอน เป็นขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ๒ ขั้นตอน ดังนี้

๒.๑ ขั้นนำสู่บทเรียน ควรเริ่มต้นด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่กระตุ้นหรือเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ อันจะนำไปสู่การเกิดความรู้สึกนึกคิด (feeling) หรือความตื่นตัวของผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่เนื้อหาความรู้ เช่น ข้อคำถามสะท้อนคิด รูปภาพ สถานการณ์ที่เกิดจริง เสียง วีดีทัศน์ เกม เป็นต้น

๒.๒ ขั้นสอนเนื้อหา ประเด็นที่สำคัญ คือ ผู้สอนจะต้องลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลงอย่างเหมาะสม องค์ประกอบที่ควรพิจารณา มีดังนี้

๒.๒.๑ รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning มีดังนี้

๑) การใช้กรณีศึกษา (Case Study) เป็นวิธีการหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักวิเคราะห์สถานการณ์แวดล้อมของกรณีศึกษาที่กำหนดขึ้น ซึ่งการใช้กรณีศึกษานี้ จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียน??????????????????????? ร่วมพิจารณา อภิปราย แสดงความรู้สึก เพื่อสรุปปัญหา แนวคิด และแนวทางแก้ปัญหา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหา และสภาพความเป็นจริงที่ลึกซึ้ง พัฒนาความคิดทักษะการแก้ปัญหา ?????????????การประยุกต์ใช้หรือเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่สถานการณ์

๒) การใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยผู้สอนแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสม (จำนวนกลุ่มและจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่ครูต้องการสอน) สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม เรียกว่า Home Group จะแยกกันไปศึกษาหัวข้อที่ผู้สอนจะมอบหมายให้ร่วมกับสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ เรียกว่า Expert Group จากนั้นสมาชิกทุกคนของกลุ่ม จะกลับไปกลุ่มของตน (Home Group) และเล่าความรู้ที่ตนเองได้ศึกษาให้เพื่อนในกลุ่มฟัง จากนั้นผู้สอนอาจจะให้ตัวแทนของกลุ่มสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนเข้าด้วยกัน

๓) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) เป็นวิธีการหนึ่ง?????????????????????????? ที่มีเป้าประสงค์ให้ผู้เรียนรู้ชัดว่า บุคคลที่อยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ นั้นเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร โดยผู้เรียน?????????? สวมบทบาทเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในสถานการณ์นั้น และสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เจตคติ ??????????คือ การอภิปรายหลังการแสดง และการให้ความอิสระแก่นักศึกษาในการสร้างสรรค์และกำกับการแสดงบทบาทสมมุตินั้นๆ

๔) การเรียนรู?เป็นทีม (Team-based learning [TBL]) เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นการร่วมมือกันในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ การทำงานด้วยกันเป็นทีมเล็กตามความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน สมาชิกภายในทีมมีหน้าที่รับผิดชอบและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน โดยกระบวนการเรียนรู้แบบทีม แบ่งเป็น ๓ ระยะ คือ

ระยะที่ ๑ ก่อนเข้าชั้นเรียน เป็นการมอบหมายงานให้ผู้เรียนอ่านหนังสือก่อนเข้าห้องเรียนประมาณ ๑ สัปดาห์ ตามที่อาจารย์ผู้สอนกำหนดหัวข้อและ scope เนื้อหาที่ชัดเจน

ระยะที่ ๒ ในชั้นเรียน เป็นการประยุกต์เนื้อหาที่อ่านมาในห้องเรียน โดยแบ่งเป็น ๓ ช่วง ช่วงแรก คือ การทำแบบทดสอบรายบุคคล ช่วงที่ ๒ เมื่อผู้เรียนทำ Test เสร็จแล้วให้เข้ากลุ่ม โดยผู้สอนจะแจกข้อสอบชุดเดิม และให้ผู้เรียนในกลุ่มช่วยกันหาคำตอบและตอบคำถามที่เป็นความคิดเห็นรวมของทีม โดยที่ผู้เรียนสามารถทราบคำตอบแบบทันที

ระยะที่ ๓ หลังจากได้ทำแบบฝึกหัดแบบกลุ่มแล้ว ผู้เรียนจะได้ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ Case ผู้ป่วย โดยให้ผู้เรียนร่วมกันทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเน้นให้ใช้ความรู้จากการอภิปรายและหนังสือเพื่อแก้ปัญหา หลังจากนั้นกลุ่มจะอภิปรายคำตอบและเหตุผล โดยผู้สอนจะทำกระบวนการกลุ่มการอภิปรายร่วมกันในห้องเรียน หลังสิ้นสุดการเรียนการสอนแบบ TBL ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาในหัวข้อที่กำหนด สามารถใช้แนวคิดของการเรียนในการแก้ปัญหาและการคิด และพัฒนาทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กลุ่มและทักษะระหว่างบุคคล

๕) การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning) เป็นการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนทำงานกันเป็นกลุ่มๆ ละ ๔-๖ คน คละความสามารถ และเพศ สมาชิกแต่ละคนรับผิดชอบในการเรียนรู้จากเอกสารหรืองานที่ผู้สอนมอบหมาย และช่วยเหลือสมาชิกอื่นๆ ให้เรียนรู้ไปด้วยกัน ทุกคนมีความรับผิดชอบงานของตนเองและงานส่วนรวมร่วมกัน วิธีการแบบนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ทุกบทเรียน ทุกวัตถุประสงค์ใช้ในการสอนตั้งแต่ทักษะพื้นฐานจนถึงการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและบูรณาการกับเทคนิควิธีการสอนแบบต่างๆ ที่เหมาะสม

๖) การเรียนรู้แบบการวิเคราะห์กรณีศึกษา (Case study analysis)???????????????? เป็นการจัดการเรียนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษารายงานกรณีศึกษา โดยการอ่านและวิเคราะห์กรณีศึกษา?????????? ให้ละเอียด ขีดเส้นใต้ข้อความที่เห็นว่ามีความสำคัญ จากนั้นให้ผู้เรียนนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น??????????????????? เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาภายในกลุ่ม สรุปผลการวิเคราะห์ และนำเสนอต่อกลุ่มใหญ่

๗) การเรียนรู้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning: PBL) เป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ปัญหา??????????????????????????? เป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนมีการตัดสินใจที่ดี มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถเรียนรู้การทำงานเป็นทีม ใฝ่รู้ และมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยประเด็นหนึ่งที่สำคัญจะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้แบบ PBL คือ Scenario หรือ Trigger ซึ่งควรมีการพัฒนาและตรวจอย่างมีประสิทธิภาพก่อนนำไปใช้จริง

๒.๒.๒ เทคนิคหรือวิธีการกระตุ้นผู้เรียนให้มีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน??????????? อย่างต่อเนื่อง มีดังนี้

๑) การใช้เกม (Games) เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสนุก ตื่นเต้น มีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะแก้ปัญหา สื่อสาร การฟัง ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ผู้สอนสามารถใช้เกมในการเสริมแรง ทบทวน สอนข้อเท็จจริง ทักษะ และมโนทัศน์ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนสนใจบทเรียน อีกทั้งยังใช้เป็นการประเมินผลการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการได้ด้วย ตัวอย่างเกม เช่น การจับคู่ การทายคำ ปริศนาอักษรไขว้ ใบ้คำ เป็นต้น

๒) การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) เป็นกลวิธีที่จัดให้มีขึ้น???????????????? ด้วยเจตนาร่วมกันที่จะพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยนำข้อปัญหา และแง่คิดต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นมากล่าวให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็น หรือช่วยขบคิดเกี่ยวกับข้อปัญหานั้น เพื่อหาข้อสรุป ทุกคนมีส่วนร่วมในการพูด ออกความเห็นอย่างเท่าเทียมกัน

๓) การตั้งคำถามหรือใช้คำถามกระตุ้น

(๑) การใช้ ๕ คำถามของนักปราชญ์ ได้แก่ ๑) หมายความว่าอย่างไร ๒) อะไร ๓) ทำไม ๔) อย่างไร และ ๕) สรุปหรืออธิบายเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่ เพื่อกระตุ้นและสร้างให้ผู้เรียนรู้จักคิด และช่างสงสัย คิดหาคำตอบ และอธิบาย

(๒) การใช้คำถามตามวิธีการของโสเครติส (Socratic Method) เป็นการสนทนาที่มีการใช้คำถามนำเป็นชุดแบบต่อเนื่องเป็นเครื่องสำคัญเพื่อเข้าถึงความรู้หรือความจริงที่มีอยู่ ซึ่งคำถามที่ใช้ต้องเป็นสิ่งที่ผู้เรียนมีประสบการณ์มาแล้ว

๔) การสร้างแผนผังความคิด หรือผังมโนทัศน์ (Concept mapping) เป็นการกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนสร้างแผนผังความคิดหรือผังมโนทัศน์ขึ้น เพื่อนำเสนอหรือสื่อความหมาย ความเข้าใจ หรือความคิดรวบยอดอย่างเชื่อมโยง โดยใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบของแผนภูมิใยแมงมุม (Spider chart) แผนภูมิองค์กร (Organization chart) หรือแผนผังสาย (flow diagram) ทั้งนี้รูปแบบของ Concept Mapping ที่มีประโยชน์มาก สำหรับการเรียนการสอนมักจะเป็นรูปแบบที่เรียงลำดับตามความสำคัญ (Hierarchical organization) ที่วางความคิดรวบยอดทั่วไป และกว้างๆ กว่าอันอื่น ไว้ด้านบน แล้วจึงค่อยวางความคิดรวบยอดที่มีความชัดเจนและชี้เฉพาะมากขึ้น เป็นลำดับลงมาที่ด้านล่าง

๕) เพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) คือ การจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนด โดยเริ่มต้นให้คิดคนเดียว ๒-๓ นาที (Think) จากนั้นให้นำความคิดไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนอีกคน ๓-๕ นาที (Pair) และสุดท้ายจึงนำเสนอความคิดเห็นนั้นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)

๖) การโต้วาที (student debates) คือ การจัดกิจกรรมโดยแบ่งผู้เรียนเป็น ๒ ฝ่าย และให้ผู้เรียนแต่ละฝ่ายได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่มว่าถูกต้องเหมาะสมที่สุด โน้มน้าวชักจูงใจให้ผู้ฟังเกิดการยอมรับ และในขณะเดียวกันก็ต้องคอยโต้แย้งหักล้างเหตุผลและการนำเสนอของอีกฝ่ายไปพร้อมกัน

๗) การใช้สื่อวีดีทัศน์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาความรู้ และมีความรุกเร้าประสาทสัมผัสการรับรู้ต่างๆ ของผู้เรียน

๘) การสร้างเงื่อนไขให้มีผลกระทบต่อผู้เรียน ทั้งด้านบวกและลบ เช่น ???????????การแบ่งกลุ่มแข่งขันตอบปัญหาชิงรางวัล หรือให้คะแนนสะสม ถือว่าเป็นกลอุบายให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกระทำด้วยตัวเอง

๓. ขั้นประเมินผล นอกจากการประเมินผลย่อย (formative assessment) ซึ่งเป็นการประเมินผลระหว่างเรียนตลอดเวลา และเป็นฐานของการประเมินที่นำไปสู่การประเมินผลรวมเพื่อตัดสินผล (summative assessment) แล้ว ประเด็นที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม คือ การประเมินบรรยากาศการเรียนรู้ของผู้เรียนภายในห้องเรียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนให้รู้เท่าทันบรรยากาศการเรียนรู้ที่ลดถอยลงหรือตื่นตัว โดยใช้วิธีสำรวจหรือตรวจจับ ด้วยสายตาและความรู้สึก (Scan) กรณีพบว่า บรรยายการเรียนรู้เริ่มเฉื่อยชา อาจพิจารณากระตุ้นหรือขั้นเวลาการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ ด้วยกิจกรรมสันทนาการ เช่น เกม เพลงประกอบจังหวะ เป็นต้น

คณาจารย์ประจำภาควิชา

การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ผู้ถอดบทเรียน

๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๗

แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by 193097 on วันอังคาร 18 มีนาคม 2014 at 6:37 am

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

๑.???? ขั้นเตรียม

๑.๑ วางแผนร่วมกันในการจัดการเรียนการสอน เช่น การจัดทำ มคอ. เป็นต้น

๑.๒ เตรียมสถานที่ สื่อการเรียนการสอน โสต เอกสารการเรียนการสอน แหล่งเรียนรู้

๑.๓ วางแผนการวัดและประเมินผล

๑.๔ ออกแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning ได้แก่

๑.๔.๑ การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนดคนเดียว ๒-๓ นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนอีกคน ๓-๕ นาที (Pair) และนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)

๑.๔.๒ การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดกลุ่มๆ ละ ๓-๖ คน

๑.๔.๓ การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led review sessions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูจะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหา

๑.๔.๔ การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนำเกมเข้าบูรณาการในการเรียนการสอน ซึ่งใช้ได้ทั้งในขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน, การสอน, การมอบหมายงาน, และหรือขั้นการประเมินผล

๑.๔.๕ การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to videos) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ ๕-๒๐ นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม

๑.๔.๖ การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student debates) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่ม

๑.๔.๗ การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student generated exam questions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว

๑.๔.๘ การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย (Mini-research proposals or project) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่อิงกระบวนการวิจัย โดยให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้, วางแผนการเรียน, เรียนรู้ตามแผน, สรุปความรู้หรือสร้างผลงาน, และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรืออาจเรียกว่าการสอนแบบโครงงาน(project-based learning) หรือ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(problem-based learning)

๑.๔.๙ การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด

๑.๔.๑๐ การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียน

๑.๔.๑๑ การเรียนรู้แบบการเขียนจดหมายข่าว (Write and produce a newsletter) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันผลิตจดหมายข่าว อันประกอบด้วย บทความ ข้อมูลสารสนเทศ ข่าวสาร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วแจกจ่ายไปยังบุคคลอื่นๆ

๑.๔.๑๒ การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิด เพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันของกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ

๑.๔.๑๓ การใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยผู้สอนแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสม (จำนวนกลุ่มและจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่ครูต้องการสอน) สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม เรียกว่า Home Group จะแยกกันไปศึกษาหัวข้อที่ผู้สอนจะมอบหมายให้ร่วมกับสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ เรียกว่า Expert Group จากนั้นสมาชิกทุกคนของกลุ่ม จะกลับไปกลุ่มของตน (Home Group) และเล่าความรู้ที่ตนเองได้ศึกษาให้เพื่อนในกลุ่มฟัง จากนั้นผู้สอนอาจจะให้ตัวแทนของกลุ่มสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนเข้าด้วยกัน

๑.๔.๑๔ การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) เป็นวิธีการหนึ่งที่มีเป้าประสงค์ให้ผู้เรียนรู้ชัดว่า บุคคลที่อยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ นั้นเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร โดยผู้เรียน สวมบทบาทเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในสถานการณ์นั้น และสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เจตคติ คือ การอภิปรายหลังการแสดง และการให้ความอิสระแก่นักศึกษาในการสร้างสรรค์และกำกับการแสดงบทบาทสมมุตินั้นๆ

๑.๔.๑๕ การเรียนรู?เป็นทีม (Team-based learning [TBL]) เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นการร่วมมือกันในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ การทำงานด้วยกันเป็นทีมเล็กตามความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน สมาชิกภายในทีมมีหน้าที่รับผิดชอบและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน

๑.๔.๑๖ Didactic Method: วิธีการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความกระฉับกระเฉงในการสอน (Active teacher) และออกแบบการเรียนการสอนที่สร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน ทำให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความกระปรี้กระเปร่า (active learner) เกิดความคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) และเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long learning)

VARK Learning style: เป็น sensory Model ประกอบด้วย V: Visual เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการเห็นข้อมูล การสังเกตผู้อื่นปฏิบัติ และ/หรือ การเห็นภาพ กราฟ ที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ A: Aural or Auditory เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการฟังเช่น ฟังจากเทป จากเรื่องเล่าของผู้อื่น จากการพูดคุย การฟังกลุ่มอภิปราย R: Read or Write เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการอ่านหรือเขียน โดยการอ่านจากหนังสือ ตำรา อินเทอร์เน็ตในรูปอักษร การเขียนรายงาน การทำแบบฝึกหัดต่าง ๆ K: Kinesthetic เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการลงมือปฏิบัติ ชอบฝึกหัด สนุกที่จะลงมือทำ อาจเป็นในรูปสถานการณ์จำลองเสมือนจริง หรือสถานการณ์จริง รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนแตกต่างกันไป บางคนชอบดู บางคนชอบฟัง บางคนชอบอ่านหรือเขียน หรือบางคนชอบเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ

๒. ขั้นดำเนินการสอน

๒.๑ ขั้นนำ

????????? ๒.๑.๑ ทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียน

????????? ๒.๑.๒ เชื่อมโยงประสบการณ์เดิม

????????? ๒.๑.๓ การใช้สื่อและวีดีทัศน์

????????? ๒.๑.๔ เร่งเร้าประสาทความรู้สึกต่างๆ อันจะนำไปสู่การเกิดความรู้สึกนึกคิด (feeling) หรือความตื่นตัวของผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่เนื้อหาความรู้ เช่น ข้อคำถามสะท้อนคิด รูปภาพ สถานการณ์ที่เกิดจริง เสียง วีดีทัศน์ เกม เป็นต้น

๒.๒ ขั้นสอน

????????? ๒.๒.๑ กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ เกิดการเรียนรู้โดยวิธีการต่างๆ ได้แก่ ใช้ VARK style เป็นต้น

????????? ๒.๒.๒ เน้นการมีส่วนร่วมหรือใช้คำถามกระตุ้น

????????? ๒.๒.๓ สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด คิด ฟังหรือเขียนอย่างลุ่มลึกทำให้ผู้เรียนจัดระบบความรู้ด้วยตนเอง

????????? ๒.๒.๔ เน้นทักษะการคิดขั้นสูง

????????? ๒.๒.๕ ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้

๒.๓ ขั้นสรุป

????????? ๒.๓.๑ ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสรุปแนวคิดหรือประเด็นที่ได้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้

๒.???? วัดและประเมินผล

๓.๑ ประเมินผลตามสภาพจริง

๓.๒ ประเมินโดยมีเกณฑ์ประเมินล่วงหน้า

????????????????????????????????????????????????????????? กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์

การจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning?

Blogged under KM ของ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช by Nopparat on วันพฤหัส 13 มีนาคม 2014 at 3:18 am

การจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning?

ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

Active Learning คือกระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้โดยการอ่าน, การเขียน, การโต้ตอบ, และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์, การสังเคราะห์, และการประเมินค่า ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า Active Learning คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป(Bonwell, 1991) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน 2 ประการคือ 1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์, และ 2) แต่ละบุคคลมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน(Meyers and Jones, 1993) โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้(receive) ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้

(co-creators)( Fedler and Brent, 1996)

แนวคิด/หลักการจัดการเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบใฝ่เรียนที่นํามาใช้

๑. การมีส่วนร่วม (participation) อย่างตื่นตัว (active) ของผู้เรียน

๒. การมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) และร่วมมือร่วมใจ (co-operation) ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (share and learning)

๓. การทํากิจกรรมเพื่อพัฒนาทั้งสมองซีกซ้ายและขวา หรือพัฒนาพหุปัญญา (multiple intelligences)

๔. การคิด (thinking) ซึ่งกระตุ้นด้วยการถาม (inquiry)

๕. การนําความรู้ไปใช้และประยุกต์ใช้ (application)

และจากการประชุมของภาควิชาฯ ครั้งที่ ๑ ได้ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบ AL ของภาควิชาฯ คือ

การจัดการเรียนแบบ AL พบว่ามีหลายรูปแบบแล้วแต่จะเลือกตามความสมในบริบทของแต่ละบุคคล? ส่วนในเรื่องการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนแบ่งเป็น ๒ ส่วนดังนี้ดังนี้

๑. บทบาทของครู

- การเตรียมตัวให้พร้อมที่จะสอนหรือศึกษาขอบเขตและกรอบในการทำงาน

- ศึกษาผู้เรียน วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง

- จัดระบบการเรียนการสอน ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด

- สร้างความเข้าใจรูปแบบการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน

- เตรียมความพร้อมทรัพยากร สื่อการเรียนรู้ต่างๆ ที่สนับสนุนการเรียนรู้

- ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนและพัฒนางาน

- ประเมินผล-สรุปผลและนำมาปรับปรุง

๒. บทบาทผู้เรียน

- ทบทวนความรู้ อ่านบทเรียนและหรือทำการบ้านที่ได้รับมอบหมายมาล่วงหน้า

- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนไปแล้ว

- เตรียมใจที่จะเรียนอย่างสนใจ

- เตรียมกายให้พร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

- ผู้เรียนต้องมีความพร้อมที่จะเรียน และอยู่กับปัจจุบัน

- ขณะเรียน สิ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศ AL ได้นั้น ผู้เรียนจะต้องไม่ออกไปนอกห้องบ่อย พยายามนั่งแถวหน้า ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับเด็กโตๆ ที่มีโอกาสได้เลือกที่นั่งเอง และมักจะไม่เลือกนั่งแถวหน้า นอกจากนี้ ต้องพยายามเป็นผู้ฟังที่ Active คือ ตื่นตัวตลอดเวลาว่าใครพูดอะไร ไม่ว่าจะเป็นครูหรือเพื่อนร่วมชั้น และต้องมีส่วนร่วมในการสนองตอบต่อการพูดคุยนั้น และสุดท้ายต้องจดบันทึกสม่ำเสมอ

และได้แนวปฏิบัติของภาควิชาฯ จากการประชุมครั้งที่ ๒ คือ

๑)????? จัดทำ มคอ. ในรายวิชาที่รับผิดชอบสอน กำหนดกิจกรรม การเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

๒)????? จัดทำแผนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

๓)????? ดำเนินการสอนตามแผนที่กำหนด

๔)????? ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน

๕)????? สรุปผลการจัดการเรียนการสอน

๖)????? นำผลการจัดการเรียนการสอนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

และได้มีการติดตามผลการนำ AL ไปใช้ในบางรายวิชาที่ภาควิชาฯ รับผิดชอบ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ประเด็นการจัดการเรียนการสอนแบบ AL ในภาควิชาฯ วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗

๑. อาจารย์: บุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์

รูปแบบการเรียนการสอน: Jigsaw Learning

รายวิชา: ภาคทฤษฎีการพยาบาลอนามัยครอบครัวและชุมชน ๑

รายละเอียด: เป็นการการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีการออกแบบการเรียนการสอนที่ แบ่งกลุ่มนักศึกษาตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย เรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการของครอบครัวตามช่วงวัย โดยศึกษาอย่างละเอียด (Expert) และจากนั้นจัดให้มีการนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มและสรุปรวมสาระสำคัญของเนื้อหาทั้งบท

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษามีผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗๐

๒. อาจารย์: อรรถพล ยิ้มยรรยง

รูปแบบการเรียนการสอน: Cooperative Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนที่มีการให้นักศึกษาได้มีการเรียนรู้โดยแบ่งเป็นระบบในการตรวจร่างกาย (Systemic Review) โดยมอบหมายให้นักศึกษาแต่ละคนทบทวนรวมถึงศึกษารายละเอียดของการตรวจร่างกายในระบบที่ได้รับผิดชอบและนักศึกษาแต่ละคนจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและกัน

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาสามารถตรวจร่างกายตามระบบได้บรรลุวัตถุประสงค์ของรายวิชา

จากการผลวิจัยของ ทรงศักดิ์ สองสนิทและคณะ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยอาศัยพื้นฐานการเรียนรู้แบบโครงงาน ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (๒๕๕๒) ซึ่งอธิบายประกอบด้วยขั้นตอนการสอน ๔ ขั้นตอนคือ ขั้นเตรียม ขั้นศึกษาเนื้อหา ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้? พบว่า นักเรียนในกลุ่มทดลอง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนและระดับความพึงพอใจของผู้เรียน

๓. อาจารย์: จิระภา? สุมาลี

รูปแบบการเรียนการสอน: Role Play Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนที่มีการให้นักศึกษาได้มีการเรียนรู้ ดังนี้

๑.????? ให้นักศึกษาจำคู่แสดงบทบาทสมมุติเกี่ยวกับการให้การพยาบาลผู้ป่วยในเรื่อง ?การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด?

๒.????? ให้นักศึกษาได้วิพากษ์การแสดงบทบาทสมมุติดังกล่าวเพื่อสรุปประเด็นการเรียนรู้

๓.????? Post-Test เรื่อง การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด

ผลการเรียนการสอน: คะแนนทดสอบหลังเรียนดีขึ้น และจากการถอดบทเรียนนักศึกษาสะท้อนว่า มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น เห็นรูปชัดเจน และสามารถจดจำและใช้เทคนิคในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดได้ดีขึ้น

๔. อาจารย์: วิมล? อ่อนเส็ง และสายฝน? ชมคำ

รูปแบบการเรียนการสอน: Concept Mapping Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติหลักการและเทคนิคทางการพยาบาล

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษามีการเรียนรู้ในเรื่องการสรุปสาระสำคัญหรือประเด็นสำคัญของการเรียนรู้ขณะฝึกภาคปฏิบัติบนวอร์ด ลงบน Mind Map เมื่อมีการเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งเมื่อฝึกภาคปฏิบัติเสร็จสิ้น นักศึกษาจะสามารถรวบรวมConceptต่างๆตามกรอบแนวคิดของแต่ละคน

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาสามารถรวบรวมและสรุปแนวคิด (Concept)ตามระบบต่างๆได้ดีขึ้น

๕. อาจารย์: กันตวิชญ์? จูเปรมปรี

รูปแบบการเรียนการสอน: Case Study Learning

รายวิชา: มนุษย์และพฤติกรรมสุขภาพ

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนที่มีการแบ่งกลุ่มนักศึกษา ออกเป็นกลุ่มเพื่อออกไปศึกษากรณีศึกษาในประเด็นหัวข้อ ?พฤติกรรมการทำมาหากิน? หลังจากนั้นให้นักศึกษาเข้ากลุ่มย่อยเพื่อทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกรณีศึกษาของแต่ละกลุ่ม

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาสามารถเข้าใจความเป็นปัจเจกบุคคลของแต่ละคนได้ว่าแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะเห็นได้จากการศึกษาจากกรณีศึกษาของเพื่อนในกลุ่มที่แตกต่างกัน

จากการศึกษาวิธีการสอนแบบกรณีศึกษา (case study)ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมวิทยาเบื้องต้นเรื่องวัฒนธรรม ของ ชูวิทย์ ไชยเบ้า ระบุว่าการสอนแบบกรณีศึกษา(case study)เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนการสอน โดยให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในสภาพจริง หรือแก้ปัญหาที่สร้างขึ้นในเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งในการแก้ปัญหาผู้เรียนจะต้องวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินปัญหา ตัดสินใจหาแนวทางปัญหา แล้วรายงานสาเหตุและแนวทางในการแก้ปัญหาต่อกลุ่ม ซึ่งการสอนทำได้โดยให้ผู้เรียนอ่านกรณีจากเอกสารหรือชมภาพยนตร์ ชมการแสดงบทบาทสมมติ หรือการฟังเทปบันทึกเสียง ครูอาจเล่ากรณีให้ฟังแบบเล่านิทานก็ได้ ข้อสำคัญครูต้องใช้สื่อต่างๆประกอบการเล่า เช่น ภาพ แล้วติดภาพเหล่านั้นไว้เป็นขั้นตอนให้ผู้เรียนกลับมาศึกษาเพิ่มเติมได้ในภายหลัง เพราะมิฉะนั้นจะเกิดการลืมและทำความยุ่งยากให้กับการศึกษาในขั้นวิเคราะห์ นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์และมองภาพในการศึกษาได้อย่างชัดเจน ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่าย ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ไปในทางที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้สรุปไว้ในงานวิจัยนี้ว่าผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน (http://eduweb.kpru.ac.th/pdf/rs15.pdf)

๖. อาจารย์: วิไลวรรณ? บุญเรือง

รูปแบบการเรียนการสอน: Case Study Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนโดยการมอบหมายให้นักศึกษาทั้งกลุ่มเลือก Case Study โดยนักศึกษาทุกคนในกลุ่มต้องเรียนรู้กรณีศึกษาร่วมกัน จากนั้นให้นักศึกษาทั้งกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ และวางแผนทางการพยาบาลให้กับกรณีศึกษา

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาทุกคนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคของกรณีศึกษามากขึ้นจากการได้ลงฝึกปฏิบัติและให้การพยาบาลกับกรณีศึกษาจริง

๗. อาจารย์: ชลธิชา? จับคล้าย

รูปแบบการเรียนการสอน: Brain Storming Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการพยาบาลอนามัยครอบครัวและชุมชน ๑

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอน โดยขณะที่มีการ Conference Journal นักศึกษาแต่ละคน จะมีการแสดงความคิดเห็นและเรียนรู้แบบระดมความคิดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่ม โดยแบ่งตาม K A P

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาทุกคนมีความเข้าใจเกี่ยวกับ Journal และมีการแลกเปลี่ยนแนวคิดของแต่ละคน

๘. อาจารย์: อิทธิพล? แก้วฟอง

รูปแบบการเรียนการสอน: Community Base Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการพยาบาลอนามัยครอบครัวและชุมชน ๒

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษาลงพื้นที่ศึกษาชุมชนเกี่ยวกับประเด็นด้าน การประเมินชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูล การวินิจฉัยชุมชน และการจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ มีความกระตือรือร้นเพิ่มขึ้นจากการได้ลงศึกษาพื้นที่จริง

๙. อาจารย์: นพรัตน์? สวนปาน

รูปแบบการเรียนการสอน: Brain Storming Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการพยาบาลอนามัยครอบครัวและชุมชน ๑

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอน โดยขณะที่มีเน้นให้นักศึกษาแต่ละคนได้ถอดบทเรียนจาการเรียนรู้ ซึ่งจะมีการแสดงความคิดเห็นและเรียนรู้แบบระดมความคิดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่ม

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาสามารถสรุปสาระสำคัญของประเด็นที่ฝึกภาคปฏิบัติออกเป็น Mind Mapping

๑๐. อาจารย์: อดุลย์? วุฒิจูรีพันธ์

รูปแบบการเรียนการสอน: Case Study Learning

รายวิชา: ภาคทฤษฎีการพยาบาลอนามัยครอบครัวและชุมชน ๑

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอน โดยจัดให้มีกรณีศึกษาให้นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาระดับบุคคล ครอบครัว และให้นักศึกษา SOAPE ในขณะเรียนในห้องเรียนก่อนลงภาคปฏิบัติจริง

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาสามารถแยกแยะปัญหาแต่ละระดับได้

๑๑. อาจารย์: ดร.ประภาพร?? มโนรัตน์

รูปแบบการเรียนการสอน: Didactic Teaching

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนโดยใช้วีดีทัศน์เป็นตัวกระตุ้นการนำเข้าสู่บทเรียน ร่วมกับการอภิปรากลุ่มย่อย และการทำ World Cafe

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษามีผลการสอบผ่านมากกว่า ๙๐ % สามารถวิเคราะห์วัตถุประสงค์การเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และนักศึกษาตื่นเต้น มีความสนใจเรียน

ข้อเสนอแนะ : ควรมีจำนวนอาจารย์ผู้ช่วยสอนให้เพียงพอกับจำนวนกลุ่มนักศึกษา(๑:๑๕)

และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์ในภาควิชาฯที่จัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning สามารถสรุปแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช ดังนี้

ด้านการเตรียมการสอน

o การเตรียมตัวสอนและวางแผนการสอน

-? วางแผนร่วมกันระหว่างผู้รับผิดชอบรายวิชา และผู้สอนในการจัดทำ มคอ. ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)? แผนการจัดการเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

-? การเตรียมสื่อการสอนการโดยใช้ ใบงาน,กรณีศึกษา, สถานที่, เอกสารประกอบการสอน, แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

-?? การวางแผนการประเมินผลที่สอดคล้องกันระหว่างวัตถุประสงค์รายวิชา และกิจกรรมการเรียนการสอน

ด้านการดำเนินการสอน

ขั้นนำ

ผู้สอนเป็นผู้เตรียมสถานการณ์อย่างที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิด กับผู้เรียน แล้วใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดและตอบคำถาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้สอนอาจจะเตรียมสื่อต่าง ๆ มาช่วยก็ได้ เช่น วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพพจน์เด่นชัดขึ้น

ขั้นสอน

ผู้สอนใช้สื่อการสอนการเช่น ?ใบงาน,กรณีศึกษา, แหล่งเรียนรู้ในชุมชน มาเป็นโจทย์สถานการณ์กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ โดยอาจจะ สั่งไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้การนำเสนอกรณีตัวอย่าง อาจจะใช้สื่อที่เตรียมมาหรืออาจจะใช้เป็นบทบาทสมมุติหรือสถานการณ์จำลองก็ ได้ โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน แบบ AL อันประกอบด้วย

๑. สร้างการมีส่วนร่วมของผู้เรียน

๒. ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียน

๓. ส่งเสริมการเรียนรู้ความทางสติปัญญา (IQ) ควบคู่ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)

๔. กระตุ้นการคิดวิเคราะห์

๕. ส่งเสริมการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ขั้นสรุป

ผู้เรียนช่วยกันสรุปแนวคิดหรือประเด็นที่ได้ ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชา

ด้านการวัดและประเมินผลการสอน

o? การประเมินตามสภาพจริง

-?? ปรับระบบการประเมินการเรียนการสอน เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์จริง

-?? ประเมินผลและแจ้งให้ผู้เรียนทราบตามที่ระบุไว้ใน มคอ./ Course Syllabus

o? การประเมินตามกรอบ TQF

o? การประเมินโดยอาจารย์ผู้สอน

o? การประเมินโดยนักศึกษา

อ้างอิง

ไชยยศ เรื่องสุวรรณ. Active Learning. [ออนไลน์] เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://www.drchaiyot.com

(ค้นเมื่อ 11 มกราคม 2557)

ทรงศักดิ์ สอนสนิท, จรัญ แสนราช และพิสุทธา อารีราษฎร์.(2552).การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ

ร่วมมือโดยอาศัยพื้นฐานการเรียนรู้แบบโครงงาน ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์.

วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 : ธันวาคม 2552

นิวัติ จันทราช.(2554).ผลของการใช้วิธีการเรียนแบบกรณีศึกษาในรายวิชา MGT 351 พฤติกรรมองค์การ

และการพัฒนาองค์การ.คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางนา.

วรพรรณ กระต่ายทอง.(2550). การสอนทฤษฎีโดยใช้รูปแบบการสอนกรณีศึกษาดีกว่าการบรรยายธรรมดา

จริงหรือ. [ออนไลน์] เข้าถึงข้อมูลได้จาก 202.29.15.37/pdf/rs14.pdf (ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2556 )

C.C. Bonwell, J.A. Eison, ?Active Learning: Creating Excitement in the Classroom.?

ERIC Digest.Washington D.C.: ERIC Clearinghouse on Higher Education,

1991.

แนวทางการปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by paitoon on วันพุธ 12 มีนาคม 2014 at 3:44 pm

สรุปแนวทางการปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ฉบับปรับปรุง ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗

สรุปแนวทางการปฏิบัติ

เรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning?

(ปรับปรุง ครั้งที่ ๑ จากการประชุม KM ภาควิชา วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗)

ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิบัติกิจกรรมหรือกระทำใดๆ ด้วยตนเอง อย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ เช่น ได้คิด ได้ทำ ได้ค้นคว้า ได้แก้ปัญหา ได้สร้างสรรค์อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลง

ขั้นตอนการดำเนินการ

๑. ขั้นเตรียมการ เป็นขั้นตอนการวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุซึ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning outcome) ของรายวิชา ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สอน โดยประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา มีดังนี้

๑.๑ ทำความเข้าใจผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการหลังเสร็จสิ้นการสอน

๑.๒ เลือกรูปแบบหรือเทคนิควิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหา/สาระความรู้ และกระตุ้นให้ผู้เรียนมีกระตือรือร้นหรือใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา

๑.๓ เตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ เช่น ใบงาน สถานการณ์การเรียนรู้ ข้อคำถาม รูปภาพ เสียง วีดีทัศน์ เป็นต้น โดยจุดเน้นที่สำคัญของสื่อนั้นๆ ควรเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ ของผู้เรียน

๑.๔ วางแผน จัดลำดับ และแบ่งช่วงกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ ซึ่งหมายความรวมถึงรูปแบบการเรียนการสอนบางกรณีมีความจำเป็นต้องมอบหมายงานหรือความรับผิดชอบแก่ผู้เรียนก่อนที่จะมีการเรียนการสอนตามเวลาที่กำหนด ก็จำเป็นต้องหาเวลาพบผู้เรียนเพื่อกระทำการดังกล่าว พร้อมการชี้แจงและทำความเข้าใจกับผู้เรียนอย่างกระจ่างชัด

๑.๕ กรณีมีการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ควรพิจารณาอย่างเหมาะสม มีเป้าหมาย มีความลงตัว เช่น จำนวนกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มต้องมีจำนวนผู้เรียนเท่าๆ กันหรือไม่ จำเป็นต้องการกระจ่ายเด็กเก่งเด็กอ่อนหรือไม่ เป็นต้น

๒. ขั้นสอน เป็นขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ๓ ขั้นตอน ดังนี้

๒.๑ ขั้นนำสู่บทเรียน ควรเริ่มต้นด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่กระตุ้นหรือเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ อันจะนำไปสู่การเกิดความรู้สึกนึกคิด (feeling) หรือความตื่นตัวของผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่เนื้อหาความรู้ เช่น ข้อคำถามสะท้อนคิด รูปภาพ สถานการณ์ที่เกิดจริง เสียง วีดีทัศน์ เกม เป็นต้น

๒.๒ ขั้นสอนและประเมินผลแบบ Active learning ประเด็นที่สำคัญ คือ ผู้สอนจะต้องลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลงอย่างเหมาะสม องค์ประกอบที่ควรพิจารณา มีดังนี้

๒.๒.๑ รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning มีดังนี้

๑) การใช้กรณีศึกษา (Case Study) เป็นวิธีการหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักวิเคราะห์สถานการณ์แวดล้อมของกรณีศึกษาที่กำหนดขึ้น ซึ่งการใช้กรณีศึกษานี้ จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนร่วมพิจารณา อภิปราย แสดงความรู้สึก เพื่อสรุปปัญหา แนวคิด และแนวทางแก้ปัญหา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหา และสภาพความเป็นจริงที่ลึกซึ้ง พัฒนาความคิดทักษะการแก้ปัญหา การประยุกต์ใช้หรือเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่สถานการณ์

๒) การใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยผู้สอนแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสม (จำนวนกลุ่มและจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่ครูต้องการสอน) สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม เรียกว่า Home Group จะแยกกันไปศึกษาหัวข้อที่ผู้สอนจะมอบหมายให้ร่วมกับสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ เรียกว่า Expert Group จากนั้นสมาชิกทุกคนของกลุ่ม จะกลับไปกลุ่มของตน (Home Group) และเล่าความรู้ที่ตนเองได้ศึกษาให้เพื่อนในกลุ่มฟัง จากนั้นผู้สอนอาจจะให้ตัวแทนของกลุ่มสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนเข้าด้วยกัน

๓) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) เป็นวิธีการหนึ่งที่มีเป้าประสงค์ให้ผู้เรียนรู้ชัดว่า บุคคลที่อยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ นั้นเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร โดยผู้เรียน สวมบทบาทเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในสถานการณ์นั้น และสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เจตคติ คือ การอภิปรายหลังการแสดง และการให้ความอิสระแก่นักศึกษาในการสร้างสรรค์และกำกับการแสดงบทบาทสมมุตินั้นๆ

๔) การเรียนรู?เป็นทีม (Team-based learning [TBL]) เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นการร่วมมือกันในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ การทำงานด้วยกันเป็นทีมเล็กตามความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน สมาชิกภายในทีมมีหน้าที่รับผิดชอบและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน โดยกระบวนการเรียนรู้แบบทีม แบ่งเป็น ๓ ระยะ ?คือ

ระยะที่ ๑ ก่อนเข้าชั้นเรียน เป็นการมอบหมายงานให้ผู้เรียนอ่านหนังสือก่อนเข้าห้องเรียนประมาณ ๑ สัปดาห์ ตามที่อาจารย์ผู้สอนกำหนดหัวข้อและ scope เนื้อหาที่ชัดเจน

ระยะที่ ๒ ในชั้นเรียน เป็นการประยุกต์เนื้อหาที่อ่านมาในห้องเรียน โดยแบ่งเป็น ๓ ช่วง ช่วงแรก คือ การทำแบบทดสอบรายบุคคล ช่วงที่ ๒ เมื่อผู้เรียนทำ Test เสร็จแล้วให้เข้ากลุ่ม โดยผู้สอนจะแจกข้อสอบชุดเดิม และให้ผู้เรียนในกลุ่มช่วยกันหาคำตอบและตอบคำถามที่เป็นความคิดเห็นรวมของทีม โดยที่ผู้เรียนสามารถทราบคำตอบแบบทันที

ระยะที่ ๓ หลังจากได้ทำแบบฝึกหัดแบบกลุ่มแล้ว ผู้เรียนจะได้ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ Case ผู้ป่วย โดยให้ผู้เรียนร่วมกันทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเน้นให้ใช้ความรู้จากการอภิปรายและหนังสือเพื่อแก้ปัญหา หลังจากนั้นกลุ่มจะอภิปรายคำตอบและเหตุผล โดยผู้สอนจะทำกระบวนการกลุ่มการอภิปรายร่วมกันในห้องเรียน หลังสิ้นสุดการเรียนการสอนแบบ TBL ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาในหัวข้อที่กำหนด สามารถใช้แนวคิดของการเรียนในการแก้ปัญหาและการคิด และพัฒนาทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กลุ่มและทักษะระหว่างบุคคล

๕) การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning) เป็นการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนทำงานกันเป็นกลุ่มๆ ละ ๔-๖ คน คละความสามารถ และเพศ สมาชิกแต่ละคนรับผิดชอบในการเรียนรู้จากเอกสารหรืองานที่ผู้สอนมอบหมาย และช่วยเหลือสมาชิกอื่นๆ ให้เรียนรู้ไปด้วยกัน ทุกคนมีความรับผิดชอบงานของตนเองและงานส่วนรวมร่วมกัน วิธีการแบบนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ทุกบทเรียน ทุกวัตถุประสงค์ใช้ในการสอนตั้งแต่ทักษะพื้นฐานจนถึงการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและบูรณาการกับเทคนิควิธีการสอนแบบต่างๆ ที่เหมาะสม

๖) การเรียนรู้แบบการวิเคราะห์กรณีศึกษา (Case study analysis) เป็นการจัดการเรียนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษารายงานกรณีศึกษา โดยการอ่านและวิเคราะห์กรณีศึกษาให้ละเอียด ขีดเส้นใต้ข้อความที่เห็นว่ามีความสำคัญ จากนั้นให้ผู้เรียนนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น??????????????????? เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาภายในกลุ่ม สรุปผลการวิเคราะห์ และนำเสนอต่อกลุ่มใหญ่

๗) การเรียนรู้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning: PBL) เป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ปัญหาเป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนมีการตัดสินใจที่ดี มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถเรียนรู้การทำงานเป็นทีม ใฝ่รู้ และมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยประเด็นหนึ่งที่สำคัญจะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้แบบ PBL คือ Scenario หรือ Trigger ซึ่งควรมีการพัฒนาและตรวจอย่างมีประสิทธิภาพก่อนนำไปใช้จริง

๒.๒.๒ เทคนิคหรือวิธีการกระตุ้นผู้เรียนให้มีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง มีดังนี้

๑) การใช้เกม (Games) เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสนุก ตื่นเต้น มีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะแก้ปัญหา สื่อสาร การฟัง ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ผู้สอนสามารถใช้เกมในการเสริมแรง ทบทวน สอนข้อเท็จจริง ทักษะ และมโนทัศน์ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนสนใจบทเรียน อีกทั้งยังใช้เป็นการประเมินผลการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการได้ด้วย ตัวอย่างเกม เช่น การจับคู่ การทายคำ ปริศนาอักษรไขว้ ใบ้คำ เป็นต้น

๒) การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) เป็นกลวิธีที่จัดให้มีขึ้น ด้วยเจตนาร่วมกันที่จะพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยนำข้อปัญหา และแง่คิดต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นมากล่าวให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็น หรือช่วยขบคิดเกี่ยวกับข้อปัญหานั้น เพื่อหาข้อสรุป ทุกคนมีส่วนร่วมในการพูด ออกความเห็นอย่างเท่าเทียมกัน

๓) การตั้งคำถามหรือใช้คำถามกระตุ้น

(๑) การใช้ ๕ คำถามของนักปราชญ์ ได้แก่ ๑) หมายความว่าอย่างไร ๒) อะไร ๓) ทำไม ๔) อย่างไร และ ๕) สรุปหรืออธิบายเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่ เพื่อกระตุ้นและสร้างให้ผู้เรียนรู้จักคิด และช่างสงสัย คิดหาคำตอบ และอธิบาย

(๒) การใช้คำถามตามวิธีการของโสเครติส (Socratic Method) เป็นการสนทนาที่มีการใช้คำถามนำเป็นชุดแบบต่อเนื่องเป็นเครื่องสำคัญเพื่อเข้าถึงความรู้หรือความจริงที่มีอยู่ ซึ่งคำถามที่ใช้ต้องเป็นสิ่งที่ผู้เรียนมีประสบการณ์มาแล้ว

๔) การสร้างแผนผังความคิด หรือผังมโนทัศน์ (Concept mapping) เป็นการกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนสร้างแผนผังความคิดหรือผังมโนทัศน์ขึ้น เพื่อนำเสนอหรือสื่อความหมาย ความเข้าใจ หรือความคิดรวบยอดอย่างเชื่อมโยง โดยใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบของแผนภูมิใยแมงมุม (Spider chart) แผนภูมิองค์กร (Organization chart) หรือแผนผังสาย (flow diagram) ทั้งนี้รูปแบบของ Concept Mapping ที่มีประโยชน์มาก สำหรับการเรียนการสอนมักจะเป็นรูปแบบที่เรียงลำดับตามความสำคัญ (Hierarchical organization) ที่วางความคิดรวบยอดทั่วไป และกว้างๆ กว่าอันอื่น ไว้ด้านบน แล้วจึงค่อยวางความคิดรวบยอดที่มีความชัดเจนและชี้เฉพาะมากขึ้น เป็นลำดับลงมาที่ด้านล่าง

๕) เพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) คือ การจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนด โดยเริ่มต้นให้คิดคนเดียว ๒-๓ นาที (Think) จากนั้นให้นำความคิดไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนอีกคน ๓-๕ นาที (Pair) และสุดท้ายจึงนำเสนอความคิดเห็นนั้นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)

๖) การโต้วาที (student debates) คือ การจัดกิจกรรมโดยแบ่งผู้เรียนเป็น ๒ ฝ่าย และให้ผู้เรียนแต่ละฝ่ายได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่มว่าถูกต้องเหมาะสมที่สุด โน้มน้าวชักจูงใจให้ผู้ฟังเกิดการยอมรับ และในขณะเดียวกันก็ต้องคอยโต้แย้งหักล้างเหตุผลและการนำเสนอของอีกฝ่ายไปพร้อมกัน

๗) การใช้สื่อวีดีทัศน์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาความรู้ และมีความรุกเร้าประสาทสัมผัสการรับรู้ต่างๆ ของผู้เรียน

๘) การสร้างเงื่อนไขให้มีผลกระทบต่อผู้เรียน ทั้งด้านบวกและลบ เช่น การแบ่งกลุ่มแข่งขันตอบปัญหาชิงรางวัล หรือให้คะแนนสะสม ถือว่าเป็นกลอุบายให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกระทำด้วยตัวเอง

๙) การประเมินและการสร้างบรรยายการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสำรวจหรือตรวจจับ ด้วยสายตาและความรู้สึก (Scan) กรณีพบว่าบรรยายการเรียนรู้เริ่มเฉื่อยชา อาจพิจารณากระตุ้นหรือขั้นเวลาการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ ด้วยกิจกรรมสันทนาการ เช่น เกม เพลงประกอบจังหวะ เป็นต้น

Active Learning : แนวทางการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by dao on วันพุธ 12 มีนาคม 2014 at 10:40 am

???????? Active Learning : แนวทางการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

????????????? องค์ความรู้ที่ได้จาการแลกเปลี่ยนความรู้และจากผลงานทางวิชาการ? โดย การนำแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์มาใช้ในการปฏิบัติ

????????????????????????????????? อาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล? วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

????????????????????? การศึกษา เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ, 2552) จากบทบัญญัติความหมายของการศึกษาในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ สามารถที่จะศึกษาและทำความเข้าใจได้ว่า สถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้น ต้องมีการจัดการศึกษาที่มีการผสมผสานกันทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ ส่งเสริม ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ต่อไปในอนาคต

?????????????????? วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ เป็นสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา มีพันธกิจหลักคือการผลิตบัณฑิตพยาบาล เป็นพยาบาลวิชาชีพ เพื่อให้บริการสุขภาพแก่ประชาชน การจัดการศึกษาด้านวิชาการจึงมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมีอัตลักษณ์บัณฑิตของวิทยาลัยฯ นับตั้งแต่ผู้เรียนหรือนักศึกษาพยาบาลเข้าสู่เส้นทางการศึกษาวิชาชีพการพยาบาล

?????????????????? ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษานับแต่เริ่มแรกหรือเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาวิชาทางการพยาบาล หรือเรียกได้ว่า เป็นวิชาพื้นฐานทางการพยาบาล ดังนั้น สิ่งใดๆ ก็ตามถ้ามีฐานที่แข็งแรง เสมือนรากไม้ที่หยั่งลึกสร้างความมั่นคงให้แก่ลำต้นและกิ่งก้านสาขาได้ฉันใด วิชาพื้นฐานทางการพยาบาลก็เช่นเดียวกันย่อมมีความสำคัญในการที่สร้างนักศึกษาพยาบาลให้มีความรู้ความสามารถและเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีคุณภาพทั้งทางด้านวิชาการ คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพได้ฉันนั้น เมื่อข้อสรุปเป็นดังข้างต้น อาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล จึงได้ให้ความสำคัญในการออกแบบลักษณะการจัดการเรียนการสอน และได้นำแผนงาน/โครงการ การปฏิบัติราชการของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ นโยบายของกลุ่มงานวิชาการ และแนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของกลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ มาเป็นแนวทางในการจัดการความรู้และการจัดการเรียนการการสอนแบบบูรณาการ 3 ด้านด้วยกันคือ ด้านการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านบริการวิชาการและด้านการวิจัย ในรายวิชา ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล เพื่อพัฒนานักศึกษาให้ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งในและนอกสถาบันการศึกษา โดยการจัดการศึกษาแบบเน้นพัฒนาการเรียนรู้ (Active Learning) ?ที่ผ่านกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ของอาจารย์ในภาควิชาฯ ซึ่งมีผลสรุปการสังเคราะห์ความรู้จากแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ อาทิ ผลงานวิจัย บทความและตำรา ได้ ดังนี้

การศึกษาแบบเน้นพัฒนาการเรียนรู้ (Active Learning)

จากการศึกษาแบบเน้นพัฒนาการเรียนรู้ ?(Active Learning) มีความหมายดังต่อไปนี้

???????? Active Learning หมายถึง กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟัง การจัดกิจกรรมเป็นการจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบและการวิเคราะห์ปัญหา และการให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่า

??????? Active Learning หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการร่วมมือระหว่างผู้เรียน วิธีการสอนแบบบรรยายของผู้สอนจะลดลง และเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น และอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการพูด การเขียน การอภิปราย

???????Active Learning หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการลงมือกระทากิจกรรมที่หลากหลายและใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้กระทำ

????????? สรุปความหมายของ Active learning คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบเสริมสร้างกิจกรรมการเรียนรู้หรือใช้วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติมากกว่าการฟังบรรยายจากผู้สอน ทั้งนี้ประสบการณ์ที่เกิดจากการเรียนรู้จะสามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าในสิ่งที่ได้เรียนรู้ได้

?หลักการของการเรียนรู้แบบ Active Learning

????????? 1. ผู้สอนลดบทบาทในการสอนและการให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรง แต่มุ่งเน้นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน

????????? 2.? จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและท้าทาย เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและเกิดความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม

???????? 3.? จัดสภาพการเรียนรู้แบบร่วมมือ ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันและระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

????????? 4. พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร และทักษะการคิดรูปแบบต่างๆ

?หลักการของ active learning อธิบายว่า โดยทั่วไป ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้จากการอ่านร้อยละ 10 ร้อยละ 20 จากการได้ยิน ร้อยละ 30 จากการได้เห็น ร้อยละ 50 จากการได้เห็นและได้ยิน ร้อยละ 70 จากการที่ผู้เรียนสามารถพูดและเขียนสรุปได้ และร้อยละ 90 หากได้ลงมีปฏิบัติ ตามรูปภาพ

??

ภาพที่ 1 แสดงร้อยละของการเรียนรู้แบบ Passive Learning และ Active Learning ?อ้างอิงจาก http://mathsimulationtechnology.wordpress.com/2012/02/16/active-learning-passive-teaching/

??????????จากผลร้อยละของรูปแบบการเรียนรู้ ทำให้มีการคิดและสร้างสรรค์รูปแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีการกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ยกตัวอย่างเช่น ? McKinney (2008) ได้เสนอรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ดี ได้แก่

1. การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนดคนเดียว 2-3 นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนอีกคน 3-5 นาที (Pair) และนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)

2. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดกลุ่มๆ ละ 3-6 คน

3. การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led review sessions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูจะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหา

4. การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนำเกมเข้าบูรณาการในการเรียนการสอน ซึ่งใช้ได้ทั้งในขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน, การสอน, การมอบหมายงาน, และหรือขั้นการประเมินผล

5. การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to videos) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ 5-20 นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม

6. การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student debates) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่ม

7. การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student generated exam questions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว

8. การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย (Mini-research proposals or project) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่อิงกระบวนการวิจัย โดยให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้, วางแผนการเรียน, เรียนรู้ตามแผน, สรุปความรู้หรือสร้างผลงาน, และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรืออาจเรียกว่าการสอนแบบโครงงาน(project-based learning) หรือ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(problem-based learning)

9. การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด

10. การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียน

11. การเรียนรู้แบบการเขียนจดหมายข่าว (Write and produce a newsletter) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันผลิตจดหมายข่าว อันประกอบด้วย บทความ ข้อมูลสารสนเทศ ข่าวสาร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วแจกจ่ายไปยังบุคคลอื่นๆ

12. การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิด เพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันของกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคนอื่นได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

????????? จากการศึกษาและการสนทนาของอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล ได้มีการเลือกรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ตามแนวคิดของ McKinney (2008) ?มาใช้ในการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล โดยใช้รูปแบบดังนี้

1. การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share)

2. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group)

3. การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led review sessions)

5. การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to videos)

8. การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย (Mini-research proposals or project)

9. การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies)

12. การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping)

????????? อย่างไรก็ตามในรูปแบบของ McKinney (2008) ?อาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลได้นำกระบวนการอื่นที่มีรูปแบบแนวคิดที่มีความคล้ายคลึงกันผสมผสานไปในรูปแบบของ McKinney ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ใช้กระบวนการเล่าประสบการณ์ (Story telling) และ การสะท้อนคิด (Reflective thinking) เข้าไปในรูปแบบที่ 1. การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) เป็นต้น

????????? ผลการศึกษาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบ Active Learning พบว่ามีผลทั้งทางด้านบวกคือทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สอดคล้องกับการศึกษาของสุภาพร กฤตยาพรนุพงศ์ (2550) ?เรื่อง ตัวแบบวิเคราะห์การถดถอยแบบ OLS และพหุคูณ แบบลำดับวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบ Active Learning ในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 64 คน พบว่า คุณภาพและปริมาณการเรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้น ทำให้ผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น? และ การศึกษาของ วรวรรณ เพชรอุไร เรื่อง ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้แบบแอคทีฟในรายวิชา อย.341 การแปรรูปยาง ?(Achievement of Teaching by Active Learning Method in RI 341 Rubber Processing) ?กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ จำนวน 38 คน ผลการศึกษาสรุปว่า นักศึกษาที่เคยสอบไม่ผ่านการประเมินในภาคการศึกษาที่ 1/2554 มีผลการเรียนดีขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ กล่าวคือสามารถสอบผ่านการการประเมินครั้งนี้ทุกคน และจากการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาพบว่าการเรียนแบบ Activelearning โดยใช้กิจกรรมที่หลากหลายในการเรียนการสอน นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมต่างๆ เป็นอย่างดี มีความกระตือรือร้น และมีความสนใจที่อยากจะร่วมกิจกรรมมากกว่าการสอนแบบบรรยายเพียงอย่างเดียว

????????? จากรายงานผลการศึกษาของการนำรูปแบบ Active Learning ไปใช้ในการวิจัยและมีผลการศึกษาออกมาทางบวกนั้น ผลการศึกษาในบทความวิชาการมีการอภิปรายถึงข้อด้อยของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning ว่า ผู้ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในการนำรูปแบบ Active Learning ไปใช้อย่างแท้จริง คิดว่า การลดบทบาทของการเป็นผู้สอนและปล่อยให้ผู้เรียนศึกษาอย่างอิสระ ผู้สอนเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกและบริหารจัดการหลักสูตร การที่มุ่งเน้นเฉพาะให้ผู้เรียนเกิดกระตือรือร้น ตื่นตัวในกิจกรรม อาจไม่ได้ทำให้ผู้เรียนเกิดการรู้คิดเสมอไป (R.E.Mayer,2004 อ้างในสุระ บรรจงจิต ,2551) ดังนั้นการเรียนรู้แบบ Active Learning แต่ผลลัพธ์การเรียนรู้ทำให้เกิดความจำระยะสั้น จะทำให้ผู้เรียนไม่สามารถจำหรือเก็บข้อมูลไว้ในสมองส่วนของความจำได้ไม่เกิน 7 ข้อมูล และข้อมูลระยะสั้นจะถูกลืมไปภายใน 30 วินาทีหากไม่มีการทบทวนซ้ำ ส่วนความจำระยะยาวนั้นที่อาจมีกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning มาก่อนเป็นพื้นฐานนั้น ทำให้เกิดแนวความคิดในการเรียนรู้แขนงใหม่ เรียกว่า Constructivist หรือการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ทางปัญญา (Construcionism) ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่สร้างข้อมูลใหม่ให้มีความจำระยะยาวด้วยการนำข้อมูลที่ได้รับจากกระบวนการของ Active Learning ที่ได้รับความจำระยะสั้นมาผสมผสานกับข้อมูลที่มีอยู่เดิม ดังนั้นผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างความรู้ที่ได้รับมาใหม่มาประกอบกับประสบการณ์ที่เคยได้รับ

????????? สาระความรู้ที่ได้จากการสนทนาจัดการความรู้ของอาจารย์ในภาควิชาฯ โดยการศึกษาองค์ความรู้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning จากแหล่งอ้างอิงทำให้เกิดแนวคิดในการเรียนรู้สู่การปฏิบัติด้วยการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนด้านการส่งเสริมสุขภาพ การบริการวิชาการและการวิจัยและการติดตามประเมินผลการนำรูปแบบไปใช้ต่อไป

อ้างอิง

ชานินท์ ศรียาภัย, นาวาตรี. ?การพัฒนาการศึกษาแบบ Active Learning ของสถาบันวิชาการทหารเรือ

??????????????? ชั้นสูง?เอกสารวิจัยโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ, ๒๕๔๖.

ไชยยศ เรื่องสุวรรณ. Active Learning. สืบค้นจาก http://www.drchaiyot.com เมื่อ 25 กรกฎาคม

????????????? ?2552.

ประกิต รำพึงกุล, นาวาตรี. ?การจัดการศึกษาแบบ Active Learning สำหรับโรงเรียนนายเรือ?, เอกสารวิจัย?โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ, ๒๕๔๘.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๔๓.

วรวรรณ เพชรอุไร.รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน/การวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง ผลสัมฤทธิ์จากการ

????????????? เรียนรู้แบบแอคทีฟในรายวิชา อย.341 การแปรรูปยาง.สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์????

????????????? คณะ?วิศวะกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.๒๕๕๕

สุภาพร กฤตยากรนุพงศ์.ตัวแบบการถดถอยแบบ OLS และแบบพหุคูณ แบบลำดับในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มี

????????????? ผลต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบActive Learning.ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต?

????????????? สาขา? คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศิลปกร.๒๕๕๑.

สุระ? บรรจงจิตร. วารสารนายเรือ.?Active Learning: ดาบสองคม?,ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑มกราคม-มีนาคม

?????????????? ๒๕๕๑, หน้า๓๕-๔๑.

C.C. Bonwell, J.A. Eison, ?Active Learning: Creating Excitement in the Classroom.??

?????????????? ERIC Digest.Washington D.C.: ERIC Clearinghouse on Higher Education,?

?????????????? 1991.

P.A. Kirschner, J. Sweller, R.E. Clark, ?Why Minimal Guidance During Instruction?

????????????? Does Not?Work: An Analysis of the Failure of Constructivist, Discovery,?

????????????? Problem-Based,

McKinney,K. Sociology Through Active Learning. Pine Forge Pr, 2008. San?

?????????????? Francisco : Jossey-?Bass, 1993.

หมายเหตุ : การนำแนวทางปฏิบัติที่ดีของวิทยาลัยฯ มาใช้ในการปฏิบัติงานจริง? ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล มีรายงานขั้นตอนการปฏิบัติ ปรากฏในหลักฐานของภาควิชาฯ โดยจะส่งมอบแก่กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ ต่อไปพร้อมกับรายการอื่นๆ ตามบันทึกข้อความที่ 0203/0912/พิเศษ วันที่ 10? มีนาคม 2557

Active Learning : แนวทางการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by dao on วันพุธ 12 มีนาคม 2014 at 10:27 am

Active Learning : แนวทางการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ
องค์ความรู้ที่ได้จาการแลกเปลี่ยนความรู้และจากผลงานทางวิชาการ
โดย การนำแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์มาใช้ในการปฏิบัติ

อาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

การศึกษา เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ, 2552) จากบทบัญญัติความหมายของการศึกษาในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ สามารถที่จะศึกษาและทำความเข้าใจได้ว่า สถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้น ต้องมีการจัดการศึกษาที่มีการผสมผสานกันทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ ส่งเสริม ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ต่อไปในอนาคต
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ เป็นสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา มีพันธกิจหลักคือการผลิตบัณฑิตพยาบาล เป็นพยาบาลวิชาชีพ เพื่อให้บริการสุขภาพแก่ประชาชน การจัดการศึกษาด้านวิชาการจึงมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมีอัตลักษณ์บัณฑิตของวิทยาลัยฯ นับตั้งแต่ผู้เรียนหรือนักศึกษาพยาบาลเข้าสู่เส้นทางการศึกษาวิชาชีพการพยาบาล
ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษานับแต่เริ่มแรกหรือเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาวิชาทางการพยาบาล หรือเรียกได้ว่า เป็นวิชาพื้นฐานทางการพยาบาล ดังนั้น สิ่งใดๆ ก็ตามถ้ามีฐานที่แข็งแรง เสมือนรากไม้ที่หยั่งลึกสร้างความมั่นคงให้แก่ลำต้นและกิ่งก้านสาขาได้ฉันใด วิชาพื้นฐานทางการพยาบาลก็เช่นเดียวกันย่อมมีความสำคัญในการที่สร้างนักศึกษาพยาบาลให้มีความรู้ความสามารถและเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีคุณภาพทั้งทางด้านวิชาการ คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพได้ฉันนั้น เมื่อข้อสรุปเป็นดังข้างต้น อาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล จึงได้ให้ความสำคัญในการออกแบบลักษณะการจัดการเรียนการสอน และได้นำแผนงาน/โครงการ การปฏิบัติราชการของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ นโยบายของกลุ่มงานวิชาการ และแนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของกลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ มาเป็นแนวทางในการจัดการความรู้และการจัดการเรียนการการสอนแบบบูรณาการ 3 ด้านด้วยกันคือ ด้านการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านบริการวิชาการและด้านการวิจัย ในรายวิชา ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล เพื่อพัฒนานักศึกษาให้ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งในและนอกสถาบันการศึกษา โดยการจัดการศึกษาแบบเน้นพัฒนาการเรียนรู้ (Active Learning) ที่ผ่านกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ของอาจารย์ในภาควิชาฯ ซึ่งมีผลสรุปการสังเคราะห์ความรู้จากแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ อาทิ ผลงานวิจัย บทความและตำรา ได้ ดังนี้
การศึกษาแบบเน้นพัฒนาการเรียนรู้ (Active Learning)
จากการศึกษาแบบเน้นพัฒนาการเรียนรู้ (Active Learning) มีความหมายดังต่อไปนี้
Active Learning หมายถึง กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟัง การจัดกิจกรรมเป็นการจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบและการวิเคราะห์ปัญหา และการให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่า
Active Learning หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการร่วมมือระหว่างผู้เรียน วิธีการสอนแบบบรรยายของผู้สอนจะลดลง และเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น และอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการพูด การเขียน การอภิปราย

Active Learning หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการลงมือกระทากิจกรรมที่หลากหลายและใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้กระทำ
สรุปความหมายของ Active learning คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบเสริมสร้างกิจกรรมการเรียนรู้หรือใช้วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติมากกว่าการฟังบรรยายจากผู้สอน ทั้งนี้ประสบการณ์ที่เกิดจากการเรียนรู้จะสามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าในสิ่งที่ได้เรียนรู้ได้

หลักการของการเรียนรู้แบบ Active Learning
1. ผู้สอนลดบทบาทในการสอนและการให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรง แต่มุ่งเน้นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน
2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและท้าทาย เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและเกิดความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม
3. จัดสภาพการเรียนรู้แบบร่วมมือ ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันและระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
4. พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร และทักษะการคิดรูปแบบต่างๆ

หลักการของ active learning อธิบายว่า โดยทั่วไป ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้จากการอ่านร้อยละ 10 ร้อยละ 20 จากการได้ยิน ร้อยละ 30 จากการได้เห็น ร้อยละ 50 จากการได้เห็นและได้ยิน ร้อยละ 70 จากการที่ผู้เรียนสามารถพูดและเขียนสรุปได้ และร้อยละ 90 หากได้ลงมีปฏิบัติ ตามรูปภาพ

ภาพที่ 1 แสดงร้อยละของการเรียนรู้แบบ Passive Learning และ Active Learning อ้างอิงจาก http://mathsimulationtechnology.wordpress.com/2012/02/16/active-learning-passive-teaching/

จากผลร้อยละของรูปแบบการเรียนรู้ ทำให้มีการคิดและสร้างสรรค์รูปแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีการกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ยกตัวอย่างเช่น McKinney (2008) ได้เสนอรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ดี ได้แก่
1. การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนดคนเดียว 2-3 นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนอีกคน 3-5 นาที (Pair) และนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)
2. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดกลุ่มๆ ละ 3-6 คน
3. การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led review sessions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูจะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหา
4. การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนำเกมเข้าบูรณาการในการเรียนการสอน ซึ่งใช้ได้ทั้งในขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน, การสอน, การมอบหมายงาน, และหรือขั้นการประเมินผล
5. การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to videos) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ 5-20 นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม
6. การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student debates) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่ม
7. การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student generated exam questions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว
8. การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย (Mini-research proposals or project) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่อิงกระบวนการวิจัย โดยให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้, วางแผนการเรียน, เรียนรู้ตามแผน, สรุปความรู้หรือสร้างผลงาน, และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรืออาจเรียกว่าการสอนแบบโครงงาน(project-based learning) หรือ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(problem-based learning)
9. การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด
10. การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียน
11. การเรียนรู้แบบการเขียนจดหมายข่าว (Write and produce a newsletter) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันผลิตจดหมายข่าว อันประกอบด้วย บทความ ข้อมูลสารสนเทศ ข่าวสาร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วแจกจ่ายไปยังบุคคลอื่นๆ
12. การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิด เพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันของกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคนอื่นได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
จากการศึกษาและการสนทนาของอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล ได้มีการเลือกรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ตามแนวคิดของ McKinney (2008) มาใช้ในการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล โดยใช้รูปแบบดังนี้
1. การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share)
2. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group)
3. การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led review sessions)
5. การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to videos)
8. การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย (Mini-research proposals or project)
9. การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies)
12. การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping)
อย่างไรก็ตามในรูปแบบของ McKinney (2008) อาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลได้นำกระบวนการอื่นที่มีรูปแบบแนวคิดที่มีความคล้ายคลึงกันผสมผสานไปในรูปแบบของ McKinney ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ใช้กระบวนการเล่าประสบการณ์ (Story telling) และ การสะท้อนคิด (Reflective thinking) เข้าไปในรูปแบบที่ 1. การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) เป็นต้น
ผลการศึกษาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบ Active Learning พบว่ามีผลทั้งทางด้านบวกคือทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สอดคล้องกับการศึกษาของสุภาพร กฤตยาพรนุพงศ์ (2550) เรื่อง ตัวแบบวิเคราะห์การถดถอยแบบ OLS และพหุคูณ แบบลำดับวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบ Active Learning ในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 64 คน พบว่า คุณภาพและปริมาณการเรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้น ทำให้ผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น และ การศึกษาของ วรวรรณ เพชรอุไร เรื่อง ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้แบบแอคทีฟในรายวิชา อย.341 การแปรรูปยาง (Achievement of Teaching by Active Learning Method in RI 341 Rubber Processing) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ จำนวน 38 คน ผลการศึกษาสรุปว่า นักศึกษาที่เคยสอบไม่ผ่านการประเมินในภาคการศึกษาที่ 1/2554 มีผลการเรียนดีขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ กล่าวคือสามารถสอบผ่านการการประเมินครั้งนี้ทุกคน และจากการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาพบว่าการเรียนแบบ Activelearning โดยใช้กิจกรรมที่หลากหลายในการเรียนการสอน นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมต่างๆ เป็นอย่างดี มีความกระตือรือร้น และมีความสนใจที่อยากจะร่วมกิจกรรมมากกว่าการสอนแบบบรรยายเพียงอย่างเดียว
จากรายงานผลการศึกษาของการนำรูปแบบ Active Learning ไปใช้ในการวิจัยและมีผลการศึกษาออกมาทางบวกนั้น ผลการศึกษาในบทความวิชาการมีการอภิปรายถึงข้อด้อยของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning ว่า ผู้ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในการนำรูปแบบ Active Learning ไปใช้อย่างแท้จริง คิดว่า การลดบทบาทของการเป็นผู้สอนและปล่อยให้ผู้เรียนศึกษาอย่างอิสระ ผู้สอนเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกและบริหารจัดการหลักสูตร การที่มุ่งเน้นเฉพาะให้ผู้เรียนเกิดกระตือรือร้น ตื่นตัวในกิจกรรม อาจไม่ได้ทำให้ผู้เรียนเกิดการรู้คิดเสมอไป (R.E.Mayer,2004 อ้างในสุระ บรรจงจิต ,2551) ดังนั้นการเรียนรู้แบบ Active Learning แต่ผลลัพธ์การเรียนรู้ทำให้เกิดความจำระยะสั้น จะทำให้ผู้เรียนไม่สามารถจำหรือเก็บข้อมูลไว้ในสมองส่วนของความจำได้ไม่เกิน 7 ข้อมูล และข้อมูลระยะสั้นจะถูกลืมไปภายใน 30 วินาทีหากไม่มีการทบทวนซ้ำ ส่วนความจำระยะยาวนั้นที่อาจมีกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning มาก่อนเป็นพื้นฐานนั้น ทำให้เกิดแนวความคิดในการเรียนรู้แขนงใหม่ เรียกว่า Constructivist หรือการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ทางปัญญา (Construcionism) ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่สร้างข้อมูลใหม่ให้มีความจำระยะยาวด้วยการนำข้อมูลที่ได้รับจากกระบวนการของ Active Learning ที่ได้รับความจำระยะสั้นมาผสมผสานกับข้อมูลที่มีอยู่เดิม ดังนั้นผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างความรู้ที่ได้รับมาใหม่มาประกอบกับประสบการณ์ที่เคยได้รับ
สาระความรู้ที่ได้จากการสนทนาจัดการความรู้ของอาจารย์ในภาควิชาฯ โดยการศึกษาองค์ความรู้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning จากแหล่งอ้างอิงทำให้เกิดแนวคิดในการเรียนรู้สู่การปฏิบัติด้วยการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนด้านการส่งเสริมสุขภาพ การบริการวิชาการและการวิจัยและการติดตามประเมินผลการนำรูปแบบไปใช้ต่อไป
อ้างอิง
ชานินท์ ศรียาภัย, นาวาตรี. ?การพัฒนาการศึกษาแบบ Active Learning ของสถาบันวิชาการทหารเรือ
ชั้นสูง?เอกสารวิจัยโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ, ๒๕๔๖.
ไชยยศ เรื่องสุวรรณ. Active Learning. สืบค้นจาก http://www.drchaiyot.com เมื่อ 25 กรกฎาคม
2552.
ประกิต รำพึงกุล, นาวาตรี. ?การจัดการศึกษาแบบ Active Learning สำหรับโรงเรียนนายเรือ?, เอกสารวิจัย
โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ, ๒๕๔๘.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๔๓.
วรวรรณ เพชรอุไร.รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน/การวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง ผลสัมฤทธิ์จากการ
เรียนรู้แบบแอคทีฟในรายวิชา อย.341 การแปรรูปยาง.สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะ
วิศวะกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.๒๕๕๕
สุภาพร กฤตยากรนุพงศ์.ตัวแบบการถดถอยแบบ OLS และแบบพหุคูณ แบบลำดับในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มี
ผลต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบActive Learning.ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศิลปกร.๒๕๕๑.
สุระ บรรจงจิตร. วารสารนายเรือ.?Active Learning: ดาบสองคม?,ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑มกราคม-มีนาคม
๒๕๕๑, หน้า๓๕-๔๑.
C.C. Bonwell, J.A. Eison, ?Active Learning: Creating Excitement in the Classroom.? ERIC Digest.Washington D.C.: ERIC Clearinghouse on Higher Education, 1991.
P.A. Kirschner, J. Sweller, R.E. Clark, ?Why Minimal Guidance During Instruction Does Not
Work: An Analysis of the Failure of Constructivist, Discovery, Problem-Based,
McKinney,K. Sociology Through Active Learning. Pine Forge Pr, 2008. San Francisco : Jossey-
Bass, 1993.

แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติงานของนักศึกษา โดยเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กลยุทธไดแดคติค ในรูปแบบ VARK Learning Style และ Dale?s learning Pyramid เป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอน

Blogged under KM ของ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ by wanwadee on วันพุธ 12 มีนาคม 2014 at 2:21 am

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติงานของนักศึกษา โดยเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กลยุทธไดแดคติค ในรูปแบบ VARK Learning Style และ Dale?s learning Pyramid เป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอน

ขั้นเตรียมการ

๑.? มอบหมายคณาจารย์ในภาควิชาฯ ทุกคนทบทวนแนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต? และลักษณะรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ ๑ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งจุดเด่นและอุปสรรค แนวทางการพัฒนา เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๖?

๒. คณาจารย์ในภาควิชาฯ ทบทวนความรู้ร่วมกันเกี่ยวกับ Didactic method ที่ใช้รูปแบบการเรียน แบบ VARK learning style และ ปิรามิดการเรียนรู้ของ Dale (Dale?s learning pyramid) มาเป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอนซึ่งจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของ Active learning

แนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับ Didactic method, VARK learning style และ ?ปิรามิดการเรียนรู้ของ Dale (Dale?s learning pyramid) สรุปได้ดังนี้

Didactic Method: วิธีการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความกระฉับกระเฉงในการสอน (Active teacher) และออกแบบการเรียนการสอนที่สร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน ทำให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความกระปรี้กระเปร่า (active learner) เกิดความคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) และเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long learning)

VARK Learning style: เป็น sensory Model ประกอบด้วย V: Visual เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการเห็นข้อมูล การสังเกตผู้อื่นปฏิบัติ และ/หรือ การเห็นภาพ กราฟ ที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ A: Aural or Auditory เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการฟังเช่น ฟังจากเทป จากเรื่องเล่าของผู้อื่น จากการพูดคุย การฟังกลุ่มอภิปราย R: Read or Write เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการอ่านหรือเขียน โดยการอ่านจากหนังสือ ตำรา อินเทอร์เน็ตในรูปอักษร การเขียนรายงาน การทำแบบฝึกหัดต่าง ๆ K: Kinesthetic เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการลงมือปฏิบัติ ชอบฝึกหัด สนุกที่จะลงมือทำ อาจเป็นในรูปสถานการณ์จำลองเสมือนจริง หรือสถานการณ์จริง รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนแตกต่างกันไป บางคนชอบดู บางคนชอบฟัง บางคนชอบอ่านหรือเขียน หรือบางคนชอบเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ อย่างไรก็ตามพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่อาจชอบรูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้เช่น เห็นและทำ ?ฟัง อ่านและเขียน เป็นต้น เรียกว่า Multimodals

Dale?s learning pyramid เป็นรูปปิรามิดฐานกว้าง แบ่งการเรียนรู้เป็นแบบ Traditional passive and Teaming active โดยแบบ Teaming active เป็นส่วนที่อยู่ในฐานกว้าง โดยฐานกว้างที่สุดเรียงตามลำดับไปแคบที่สุดสู่แบบTraditional passive ดังนี้ Teaching others/Immediate use, Practice by doing, discussion group, Demonstration, Audio-visual, Reading, and lecture ซึ่งมีอัตราความคงทนในการเรียนรู้เท่ากับ 90%, 75%, 50%, 30%, 20%, 10% และ 5% ตามลำดับ

๓. คณาจารย์ในภาควิชา ฯ ร่วมกันออกแบบการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยจัดทำตาราง Matrix กิจกรรมการเรียนการสอนตามเป้าหมายรายวิชา ในแผนกที่นักศึกษาจะขึ้นฝึกปฏิบัติได้แก่ แผนกฝากครรภ์ ห้องคลอดและหลังคลอด ที่ครอบคลุม VARK learning style ได้แก่ทักษะการเห็น การฟัง การอ่าน/เขียน และการลงมือปฏิบัติให้ครบถ้วน สรุปเป็นตาราง Matrix และ จัดประสบการณ์ในภาคปฏิบัติที่เน้นแบบ Teaming active มากกว่า Traditional passive ได้แก่ จัดให้มีการอภิปรายกลุ่ม (Discussion group), การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Practice by doing) และ การสอนผู้อื่นหรือการนำไปปฏิบัติทันทีทันใด (Teach others/Immediate use)? ในทุกแผนกตามรูปแบบปิรามิดการเรียนรู้ของเดล เพื่อเพิ่มอัตราความคงทนในการเรียนรู้ให้ได้ร้อยละ ๙๐ ตัวอย่างตาราง Matrix ได้แก่

แผนกที่ฝึก กิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่ครอบคลุม VARK learning style and Dale?s learning Pyramid
V:Visual A:Aural R:Read/Write K:Kinesthetic
? ? ? ? ?

?

๔. คณาจารย์ในภาควิชาร่วมกันสรุปผลดำเนินการจัดทำ ตาราง Matrix มอบให้ผู้รับผิดชอบรายวิชาดำเนินการต่อไป

๕. ผู้รับผิดชอบรายวิชานำผลการออกแบบการเรียนการสอนร่วมกันของคณาจารย์ในภาควิชาฯ ลงในรายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ. ๔) ของรายวิชาอย่างครบถ้วน

ขั้นดำเนินการ

?โดยการเตรียมความพร้อมนักศึกษาตามแนวปฏิบัติที่ดีของวิทยาลัยและคณาจารย์ที่นิเทศภาคปฏิบัติแต่ละแผนกที่นักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติ วางแผนการนิเทศตามที่ได้ออกแบบการเรียนการสอนแบบ Active learning ไว้อย่างครบถ้วน

ขั้นสรุปและประเมินผล?

ภายหลังดำเนินการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสิ้นสุด คณาจารย์ในภาควิชาตระหนักว่าการจัดทำตาราง Matrix โดยใช้รูปแบบ VARK learning style and Dale?s learning pyramid มาเป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอน ช่วยทำให้สามารถตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะของผู้เรียนในทุกด้าน ได้แก่ การเห็น การฟัง การอ่าน/เขียน และการลงมือปฏิบัติ อีกทั้งเป็นการเน้นปิรามิดการเรียนรู้แบบ Teaming active ที่ทำให้ผู้สอนสามารถออกแบบให้การจัดการเรียนการสอนที่ช่วยเพิ่มอัตราความคงทนต่อการเรียนรู้ในรายวิชา การดำเนินการดังกล่าวจัดได้ว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ทำให้ผู้สอนเป็น Active teacher และผู้เรียนเป็น Active learner ได้อย่างแท้จริง ทำให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป และสมควรให้มีการนำไปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับรายวิชาภาคปฏิบัติ ได้แก่ ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๒ หรือรายวิชาทฤษฎี ได้แก่ การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ และ ๒ ต่อไป

ž??????? ?

อ้างอิงความรู้เกี่ยวกับ VARK learning style and Dale?s learning pyramid From Training/ course manual arranged by The Fontys UAS Team, Fontys University of Applied Science, The Netherlands 2013

หน้าก่อนหน้าหน้าต่อไป
Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro