• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

รายงานการประชุมภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by dao on วันอังคาร 10 มีนาคม 2015 at 9:19 am

รายงานการประชุมภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล?

ครั้งที่? 6/2557? วันที่ 19 ธันวาคม 2558

?

รายชื่ออาจารย์เข้าประชุม

  1. นางสาวดวงดาว เทพทองคำ???????????? ประธานการประชุม
  2. นายนภดล เลือดนักรบ
  3. นางสาวศิราวัลย์ เหรา
  4. นางสาวสุปราณี หมื่นยา??????????????????? เลขานุการ
  5. นางสาววัชราภรณ์ คำฟองเครือ????????? ผู้ช่วยเลขานุการ

?

เปิดประชุมเวลา 13.30 น.

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

เรื่องที่ 1 การจัดการความรู้โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

????????? เรื่องที่?2 สืบเนื่องการดำเนินโครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

?ระเบียบวาระที่?2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 5/2557

-????????? รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 5/2557 ไม่มีการแก้ไข

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง

????????? 3.1 จากการประชุมครั้งที่ 5/2557 เดือนพฤศจิกายน 2557? หน้า 3 ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องหารือ เกี่ยวกับการประสานงานจากวิทยากรที่บรรยายในโครงการเตรียมความพร้อมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ที่กำหนดไว้ในร่างกำหนดการ วันที่ 23 ธันวาคม 2557 เดิมคือการวางแผนประสานงานกับวิทยากรจากต่างจังหวัดเพื่อบรรยายเรื่องคุณธรรมจริยธรรมกับการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

????????? มติที่ประชุม: นิมนต์พระปลัดอนุชิต อธิปัญโญ รองเจ้าอาวาสวัดใหญ่ท่าเสา อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

ระเบียบวาระทีที 4 เรื่องหารือ

????????? 4.1 หารือที่ประชุมเรื่องการจัดการความรู้ในประเด็น แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยการวางแผนที่จะมีการจัดการความรู้เป็นระยะนับตั้งแต่ขั้นเตรียมการ? ขั้นสอน และขั้นประเมินผล ซึ่งจะเป็นการจัดการความรู้แบบวิเคราะห์การดำเนินการในรายวิชาทฤษฎีหลักการและเทคนิคการพยาบาล ตลอดจนการวางแผนในโครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์และการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาในวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล สอบถามความคิดเห็นจากที่ประชุม

????????? มติที่ประชุม: เห็นด้วยที่จะมีการจัดการความรู้โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาลภาคทฤษฎี ทดลอง และภาคปฏิบัติ โดยในการประชุมครั้งนี้ ในระเบียบวารที่ 5 เรื่องอื่นๆ? จะเป็นการจัดการความรู้ร่วมกันระหว่างอาจารย์ในภาควิชาฯ เพื่อเป็นการวิเคราะห์และเชื่อมโยงจากการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ภาคทดลอง วิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล ไปยังการวางแผนในโครงการการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ต่อไป และเพื่อสรุปเป็นขั้นประเมินผลอีกครั้งเมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอน

ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ

????????? 5.1 การจัดการความรู้เรื่อง แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

ขั้นตอนการดำเนินการ

?? 1.1ขั้นเตรียมการ อาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ ?มีการวางแผนการจัดการเรียนกาสอน

เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้คู่กับแนวคิดการเอื้ออาทรต่อผู้อื่นด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ทำความเข้าใจผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการหลังเสร็จสิ้นการสอน

????1.2?? ศึกษาและเลือกรูปแบบหรือเทคนิควิธีการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหา/สาระความรู้และกระตุ้นให้

ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นหรือใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา โดยทำความเข้าใจในรูปแบบหรือเทคนิควิธีการที่เลือกอย่างกระจ่างชัด? ในปีการศึกษา 2557 ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลได้นำวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ในรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาลและวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลเลือกวิธีการ VARK learning style มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฏี ใช้วิธีการสาธิตและสาธิตย้อนกลับ (Demonstration-Return Demonstration Method) ในการเรียนภาคทดลองในห้องปฏิบัติการ และการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ก่อนการเรียนภาคปฏิบัติ และใช้วิธีการศึกษาจากสถานการณ์จริง (authentic learning) ในการเรียนภาคปฏิบัติที่หอผู้ป่วย

????????1.3 เตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ โดยแบ่งเป็นภาคทฤษฎี ภาคทดลอง? การเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกภาคปฏิบัติในโครงการและการฝึกภาคปฏิบัติดังนี้

การเรียนการสอน/กิจกรรมเสริมหลักสูตร รูปแบบ/เทคนิควิธีการสอน สื่อ/อุปกรณ์
1. หลักการและเทคนิคการพยาบาล (ทฤษฎี) VARK learning style -VCD /เครื่องเสียง/ปากกา/กระดาษ/เอกสารประกอบการสอน
2. หลักการและเทคนิคการพยาบาล (ทดลอง) Demonstration-Return Demonstration Method -หุ่นจำลอง

-วัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์

-อาจารย์ผู้สอน

-แบบประเมินผล

3. โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ Panel Discussion

Game

Cooperative Learning

Team based Learning

Case Study analysis

-วิทยากร

-อาจารย์ภาควิชาฯ

-นักศึกษา

-อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นเกม

-ผู้ป่วยกรณีศึกษา

การเรียนการสอน/กิจกรรมเสริมหลักสูตร รูปแบบ/เทคนิควิธีการสอน สื่อ/อุปกรณ์
3. โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ Group Discussion

Story Telling

-รายงานผู้ป่วย (chart)

-VCD

4. ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล Case study

Authentic learning

-อุปกรณ์บนหอผู้ป่วย

-สถานการณ์บนหอผู้ป่วย

-อาจารย์/นักศึกษา

-ผู้ป่วยกรณีศึกษา/ผู้ดูแลผู้ป่วย

-พยาบาลและทีมสหวิชาชีพ

????????? 1.4 วางแผน จัดลำดับและแบ่งช่วงกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ โดยอาจารย์ภาควิชาฯ มีการระบบการวางแผน จัดลำดับ และแบ่งช่วงกิจกรรม โดยการแจ้งระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมตามแผนที่ภาควิชาฯวางไว้ มอบให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบแต่ละรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรดำเนินการให้เรียบร้อย

????????? 1.5 การแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย เห็นว่าในแผนจัดการศึกษาการแบ่งกลุ่มนักศึกษาได้กำหนดไว้แล้วขอให้อาจารย์พิจารณาความเรียบร้อยอีกครั้ง สำหรับกลุ่มในการเรียนภาคทดลอง อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มผู้เรียนจำนวนเฉลี่ย 10 -11 คน/กลุ่ม และมีการกระจายนักศึกษาที่มีผลการเรียนที่อยู่ในระดับดี ปานกลาง และพอใช้

2. ขั้นสอน อาจารย์ในภาควิชา ฯ เห็นควรดำเนินตามขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยขั้นตอน ขั้นนำสู่บทเรียน? ขั้นสอนเนื้อหา และขั้นประเมินผล

3. ขั้นประเมินผล? ในแต่ละการออกแบบการสอน จะกำหนดการประเมินผลไว้และจะต้องมีความสอดคล้องกับกิจกรรมการสอนและการออกแบบการเรียนรู้

????????? มติที่ประชุม : ?เห็นตามที่จัดการความรู้ร่วมกัน

ปิดการประชุม : 16.45 น.

????????????????????????????????????????????????????????? ????????? ………..สุปราณี หมื่นยา…………

?? ?????????????????????????????????????????????????????? ???????????? ? (นางสาวสุปราณี หมื่นยา)

?????????????????????????????????????????????????????????????????????????ผู้บันทึกรายงานการประชุม

????????????????????????????????????????????????????????? ????????? ……….ดวงดาว เทพทองคำ……

????????????????????????????????????????????????????????? ??????????? ?(นางสาวดวงดาว เทพทองคำ)

??????????????????????????????????????????????? ????? ??? ??????? ?หัวหน้าภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ

สรุปการจัดการความรู้

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by dao on วันอังคาร 10 มีนาคม 2015 at 9:10 am

?

สรุปการจัดการความรู้

แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อการพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิต

การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์? (Humanistic care)

โดย ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล

ขั้นตอนการดำเนินการ

1.ขั้นเตรียม

?????????? จากการประชุมการจัดการความรู้ในขั้นเตรียมการ อาจารย์ได้มีการศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์? เพื่อการวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างมีเป้าหมายสรุปได้ดังนี้นับตั้งแต่จัดการเรียนการสอนวิชาทางการพยาบาลที่มีการเน้นหรือการกล่าวถึง ?ความเอื้ออาทร? มากขึ้น ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา กระทรวงสาธารณสุขได้นำการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มาเป็นแนวคิดหลักในการบริการสุขภาพแก่ประชาชน และสถาบันพระบรมราชชนก ได้กำหนดให้ การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์เป็นอัตลักษณ์ของบัณฑิต ของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ? การเตรียมการของอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล จึงต้องทำความเข้าใจคำนิยามที่สถาบันพระบรมราชชนกกำหนดไว้ ความว่า

?การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ หมายถึง การให้บริการที่เป็นมิตร มีความรัก ความเมตตา ใส่ใจในปัญหาและความทุกข์ของผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง ให้บริการตามปัญหาและความต้องการ ของผู้รับบริการที่เป็นจริง? โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้รับบริการเป็นหลัก?? เมื่อทำความเข้าใจแล้วอาจารย์ในภาควิชาได้หารือร่วมกันในการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ในการจัดการเรียนการสอน?จากคำนิยามและการทำความกระจ่างชัดในนิยามจะนำไปสู่การวางแผนการจัดการเรียนการสอนในขั้นสอนและการประเมินผล

?????????? 1.1 ?การทำความเข้าใจกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการหลังเสร็จสิ้นการสอน เนื่องด้วยการพัฒนาบัณฑิตให้มีอัตลักษณ์การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์เป็นการพัฒนาที่มีความเป็นนามธรรมค่อนข้างสูงเพราะการประเมินพฤติกรรมการบริการสุขภาพต้องอาศัยการสังเกตจากสถานการณ์จริง ผลลัพธ์การเรียนรู้เพื่อให้ได้นักศึกษาพยาบาลที่มีหัวใจการบริการด้วยความเป็นมนุษย์จึงต้องมีผลลัพธ์เป็นรูปธรรมที่คาดเดาได้ว่านักศึกษาจะเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมสามารถดูแลเพื่อนมนุษย์อย่างมนุษย์ดูแลซึ่งกันและกันได้

???????? 1.2 การศึกษาและเลือกรูปแบบและเทคนิควิธีแบบ Active Learning ที่ใช้ในการสอนเพื่อพัฒนา

นักศึกษาสามารถใช้ได้หลากหลายวิธีซึ่งภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลได้นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรในโครงการการเตรียมความพร้อมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มีอยู่ด้วยกัน อาทิ VARK learning style, Demonstration ?Return Demonstration Method ,Game, Panel Discussion, Case study, Authentic Learning เป็นต้น โดยรูปแบบทั้งหมดมีแกนกลางการเรียนรู้ที่สำคัญคือ การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (Humanistic care) อาจารย์จะใช้รูปแบบหลากหลายวิธีเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจแบบลึกซึ้งให้แก่นักศึกษาโดยมี ความเชื่อว่ารูปแบบหรือเทคนิควิธีแบบ Active learning จะเป็นเครื่องมือในการทำให้นักศึกษาเข้าใจอย่างแท้จริงและสามารถนำไปใช้หรือแสดงออกเป็นพฤติกรรมได้

?????????? 1.3 การเตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมการสนับสนับการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย ข้อค้นพบจากการจัดการความรู้คือ การเตรียมสื่อสามารถสร้างสรรค์จากแนวคิดของผู้เรียนและผู้สอนตลอดจนการเตรียมจากสถานการณ์จริงที่ใช้สอน ซึ่งสถานการณ์จริงจะเป็นโจทย์ที่สำคัญในการให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์และสื่อโดยใช้สถานการณ์จริงซึ่งประกอบด้วยสถานที่ บุคคล เหตุการณ์ เวลา ที่เกิดขึ้นในเวลานั้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้นักศึกษาเรียนรู้คำว่า ?การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์? ได้ดีที่สุดในทัศนะของอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ

?????????? 1.4 การวางแผนและการมีระบบเปรียบเสมือนแผนที่ที่จะทำให้การจัดการเรียนการสอนมีเป้าหมายและสร้างความกระจ่างชัดให้แก่ผู้เรียน

?????????? 1.5 การแบ่งกลุ่มนักศึกษาที่มีความเหมาะสม คำว่าเหมาะสมไม่ได้หมายถึง นักศึกษาที่มีผลการเรียนดีอยู่กลุ่มเดียวกัน แต่กลุ่มที่เหมาะสมในการเรียนรู้การพัฒนาตนเองให้มีหัวใจความเป็นมนุษย์คือการเรียนรู้ในกลุ่มที่มีธรรมชาติของผู้เรียนแตกต่างกัน ผลการเรียนต่างกัน ความสามารถเฉพาะบุคคลต่างกัน ความแตกต่างระหว่างบุคคลจะทำให้เป็นการเรียนรู้ว่ามนุษย์มีความแตกต่างกัน การเข้าใจมนุษย์คือส่วนประกอบที่สำคัญในการบริการสุขภาพแบบเข้าใจในบุคคลและการเอาใจเขามาใส่ใจเรา

?

2. ขั้นสอน

?????????? 2.1 ขั้นนำสู่บทเรียน การสอนนักศึกษาด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ที่ภาควิชาฯ นำมาใช้จะเริ่มต้นด้วยการสื่อด้วยภาพ ซึ่งอาจจะเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว เช่น ดิวิดีประกอบการเรียน เรื่องแม่จ๋าอย่างร้องไห้ ในการสอนนักศึกษา เรื่อง หลักการและเทคนิคการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ภาพยนตร์ประกอบเพลง(music video) การดูแลสุขภาพด้วยความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันของสองสามีภรรยาที่สื่อโดยนักร้องที่มีชื่อเสียงในสังคม การนำเข้าสู่เข้าบทเรียนด้วยวิธีการที่สื่อด้วยภาพจะทำให้นักศึกษาได้รับรู้ทางประสาทจากการมองเห็น (Visual) การได้ฟังเสียง (Auditory/Audio) ที่จะนำไปสู่อารมณ์ความรู้สึกและการนึกคิดได้ง่าย

?????????? 2.2 การสอนเนื้อหา จะเป็นการผสมผสานกันทั้งหมด ขึ้นอยู่กับวิธีการหรือรูปแบบที่เลือกใช้ แต่การผสมผสานจะต้องมาจากการวางแผนแบบมีลำดับขั้นตอนไว้แล้วนับแต่แรก หากขาดการวางแผนที่ดีจะทำให้การสอนไม่มีเข็มมุ่งที่ชัดเจนและอาจทำให้นักศึกษาเกิดความสับสนได้

????????? 2.2.1 การสอนเนื้อหาที่ภาควิชาฯ นำมาใช้เพื่อพัฒนานักศึกษามีหัวใจความเป็นมนุษย์ประกอบด้วย VARK learning style, Demonstration-Return Demonstration Method, Panel Discussion Game,? Cooperative Learning,? Team based Learning,?? Case Study analysis Group Discussion, Story Telling,? Case study? Authentic learning แต่ละรูปแบบจะแยกใช้ตามวิชา 2 วิชา 1 กิจกรรมเสริมหลักสูตร คือ วิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล (ทฤษฎี-ทดลอง) วิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล และโครงการการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยภาควิชาฯ ได้จัดการความรู้ร่วมกันและพบว่าทั้งหมดนี้เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและเป็นรูปแบบที่เหมาะสมต่อการพัฒนานักศึกษาให้มีหัวใจความเป็นมนุษย์ได้

3. ขั้นประเมินผล

????????? การประเมินผลการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning เพื่อการพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิต

การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์? (Humanistic care) มีการกำหนดไว้ในการประเมินผลของการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยผ่านการวิเคราะห์และการสังเคราะห์จากประสบการณ์การจัดการเรียนการด้วยวิธีเดียวกันติดต่อกันเป็นระยะเวลา 7 ปี ข้อสรุปพบว่าการประเมินผลที่สำคัญในการที่จะประเมินได้ว่านักศึกษามีการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ได้มากน้อยเพียงไดอยู่ที่การสังเกตพฤติกรรมบริการสุขภาพในสถานการณ์จริงประกอบกับความรู้ที่เป็นทฤษฎีที่ผ่านการถ่ายทอดโดยการเขียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนควบคู่กัน แต่ข้อสรุปนี้ควรจะมีการศึกษาวิจัยเพื่อการอ้างอิงตามหลักวิชาการต่อไป

คณาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ

6 มีนาคม 2558

รายงานการประชุม การจัดการจัดการความรู้ (Knowledge Management)เรื่อง แนวปฏิบัติที่ดีในการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด (Reflective Thinking)ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

Blogged under KM ของ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช by kantich on วันจันทร์ 9 มีนาคม 2015 at 2:37 am

รายงานการประชุม การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๓๐ ? ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้องประชุม ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

******************************************************

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. ดร.ดุจเดือน???????????? เขียวเหลือง?????? ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒. นางวิมล??????????????? อ่อนเส็ง?????????? ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓. ดร.ประภาพร?????????? มโนรัตน์????????? ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔. ดร.ปฐพร?????????????? แสงเขียว???????? ????????? วิทยาจารย์ชำนาญการ

๕. นายอุดลย์????????????? วุฒิจูรีพันธุ์??????? ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นางสาววิไลวรรณ????? บุญเรือง??????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗. นางสาวอัญชรี?????????????????? เข็มเพชร?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘. นายบุญฤทธิ์??????????? ประสิทธิ์นราพันธุ์????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๙. นายอิทธิพล??????????? แก้วฟอง??????????????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๐. นายกันตวิชญ์???????? จูเปรมปรี????????????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๑. นางสาวชลธิชา?????? จับคล้าย?????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๒. นายอรรถพล???????? ยิ้มยรรยง????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๓. นายนพรัตน์????????? สวนปาน?????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๔. นางสาวสายฝน?????? ชมคำ?????????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์ หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

๑.๑ ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้

แผนการดำเนินการจัดการความรู้ (KM) เรื่องแนวปฏิบัติที่ดีในการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

มติ? รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง

-ไม่มี-

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา

-ไม่มี-

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่นๆ

ขั้นเตรียมการ

๑. มอบหมายคณาจารย์ในภาควิชาฯ ทุกคนทบทวนความรู้เรื่อง Reflective Thinking และมอบหมายให้อาจารย์ในภาควิชานำความรู้มาถ่ายทอดให้กับคณาจารย์ในภาควิชาได้รับทราบแนวทางของแต่คน ?พร้อมทั้งทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งจุดเด่นและอุปสรรคของการเรียนการสอนที่อาจารย์แต่ล่ะท่านได้นำแนวทางไปปฏิบัติ เพื่อนำมาเป็นแนวทางและปรับปรุงพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนเรื่อง Reflective Thinking ของภาควิชาต่อไป

๒. คณาจารย์ในภาควิชาฯ รับฟังการบรรยายความรู้เรื่อง Reflective Thinking โดย อ.ดร.ดุจเดือน? เขียวเหลือง ?ผู้มีประสบการณ์ วิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเพื่อสร้างเสริมความสามารถ ในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลสําหรับนักศึกษาพยาบาล The Development of the Thought Reflection Learning Model to Enhance Ethical Decision-Making in Nursing for Student Nurses และ อ.บุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์ ?ได้ผ่านการอบรม Reflective Thinking ที่?? The University of North Carolina at Chapel Hill? โดยสรุปแนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเรียนรู้ เรื่อง Reflective Thinking เป็นแนวปฏิบัติของภาควิชาได้ดังนี้

ความหมายของการสะท้อนคิด

การสะท้อนคิด? คือการใช้กระบวนการในการคิดและพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างพินิจพิเคราะห์? ละเอียดรอบคอบ? มีเหตุผล? ใช้ประสบการณ์? ความคิด? ความเชื่อหรือองค์ความรู้ที่ยึดถือกันอยู่เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้? หรือทำให้เกิดข้อสรุปใหม่ที่จะใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา???????? ในสถานการณ์อื่นๆอย่างเหมาะสม (Sherwood, G. & Horton-Deutsch, 2012)

Reflective Thinking เป็นวิธีการใช้ในกระบวนการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และมีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง และพบว่านักศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเป็นพยาบาลที่มีความรู้ความสามารถและมีความเป็นพยาบาลที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ (Humanize Care)

การพัฒนา/สร้างให้เกิดการคิดใหม่เป็นสิ่งสำคัญโดยต้องใช้กระบวนการดังนี้

  1. การสะท้อนคิดเป็นกุญแจสำคัญทางกลยุทธ์ในการช่วยให้พยาบาลมีความคิดที่จะพัฒนางาน
  2. การตั้งคำถามที่ให้เกิดการพัฒนา
  3. ต้องระลึกอยู่เสมอว่าไม่มีอะไรที่จะไม่สามารถพัฒนาได้
  4. การใช้กระบวนการสะท้อนคิดจะบูรณาการทั้งความรู้และประสบการณ์ที่จะเกิดแนวทางใหม่ในการทำงานที่ดีขึ้น

กรอบการตั้งคำถามของ Reflective thinking มี 5 คำถาม ดังนี้

  1. What stands out for you in this case/story/situation? คุณได้เรียนรู้อะไรจากกรณีศึกษา/เรื่องเล่า/สถานการณ์ นี้
  2. What are you concerned about in this situation? อะไรที่คุณตระหนักเกี่ยวกับสถานการณ์นี้
  3. What assumptions are we making? สมมติฐานอะไรที่พวกเราตั้งขึ้น
  4. What else can it be? คุณมีทางเลือกอื่นๆ อีกหรือไม่
  5. What do you already know that can help you in this situation? คุณวางแผนอะไรสำหรับ

สถานการณ์นี้

ตัวอย่างกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเหตุการณ์โดยกระบวนการสะท้อนคิด

อธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น (Describe what happen)

Case story? บรรยายเหตุการณ์การเจ็บป่วยทั้งด้านอาการความเจ็บป่วยและวิถีชีวิต ซึ่งสามารถที่จะส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเชิงลึกนอกจากเชิงกว้างเพื่อให้เกิดการตัดสินใจอย่างตรึกตรอง (sense making) ในบริบทของเหตุการณ์นั้นๆ ไม่ด่วนสรุปด้วยความคิดเห็นของตนเอง

ทดสอบความรู้สึก (Examine feelings)

: What stands out for you in this case/story/situation? คุณได้เรียนรู้อะไรจากกรณีศึกษา/เรื่องเล่า/สถานการณ์ นี้

ประเมินเหตุการณ์นั้นทั้งทางบวกและทางลบ (Evaluate positive and negative of the event)

: What are you concerned about in this situation? อะไรที่คุณตระหนักเกี่ยวกับสถานการณ์นี้

วิเคราะห์และทำความเข้าใจอย่างไตร่ตรอง (Analyze to determine sense-making)

: What assumptions are we making? สมมติฐานอะไรที่พวกเราตั้งขึ้น

กำหนดทางเลือกที่จะทำอย่างอื่นได้อีกหรือไม่ (Ask what else could you have done?

: What else can it be? คุณมีทางเลือกอื่นๆ อีกหรือไม่

กำหนดแบบแผนแนวทางการปฏิบัติในอนาคต (Set action plan for future occurrences)

: What do you already know that can help you in this situation? คุณวางแผนอะไรสำหรับสถานการณ์นี้

ความสำคัญของการนำการจัดการเรียนรู้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล

ทีคแมน? กล่าวว่า? การสะท้อนคิดเป็นสิ่งแรกสุดที่ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล? เนื่องจากการ??? สะท้อนคิดจำเป็นต้องมีการตั้งคำถามและการตอบคำถามเป็นหัวใจสำคัญตลอดกระบวนการพยาบาล? ฉะนั้นวิธีการฝึกหัดการสะท้อนคิดที่ดีที่สุดคือ? การฝึกตั้งคำถามและการฝึกตอบคำถามด้วยมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย? พร้อมทั้งพัฒนาตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

การนำรูปแบบไปใช้ในการจัดการเรียนรู้

1.ผู้เรียนควรมีพื้นฐานในวิชาชีพพยาบาลในระดับที่มากพอควร? เพราะความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล? ต้องใช้การบูรณาการความรู้ในศาสตร์ของวิชาชีพพยาบาลเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ? ผู้เรียนควรมีความรู้พื้นฐานทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในรายวิชาต่างๆในการพยาบาล? เช่น แนวคิดพื้นฐานทางการพยาบาล? การพยาบาลมารดาทารก การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค?? การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพ? สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช และการพยาบาลครอบครัวและชุมชน? เป็นต้น? ถ้าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในเรื่องเหล่านี้? จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลตามวัตถุประสงค์ของรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น? ดังนั้นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้จึงเหมาะสมที่จะใช้กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป

2.รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ มุ่งเน้นการสร้างเสริมความสารมารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพาบาล? โดยนำแนวคิดของการสะท้อนคิดมาประยุกต์ใช้ในการจัดกระบวนการการเรียนรู้??????????? จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะศึกษาแนวคิดการสะท้อนคิด เทคนิคและกระบวนการเรียนรู้และการประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิดเพิ่มเติมให้มีความเข้าใจ? เนื่องจากการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเป็นกระบวนการที่ต้องใช้พลังความคิดและเวลาในการคิดใคร่ครวญ? ทั้งในการตั้งคำถาม? การตอบคำถาม? การให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ? การจินตนาการหาทางเลือกที่หลากหลาย? การสังเคราะห์ทางเลือกใหม่ที่ได้เหมาะสม? ดังนั้นเพื่อนำไปสู่เป้าหมายสุดท้ายของการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด? ผู้สอนต้องเอื้อให้ผู้เรียนกล้าตั้งคำถามตามความเป็นจริง? มีการอภิปรายอย่างหลากหลาย? และเป็นกันเอง? และให้การสะท้อนกลับให้ผู้เรียนถาม/ตอบคำถามในระดับที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน??????? และเรียนรู้การเชื่อมโยงความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ

3.การเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด? ผู้เรียนต้องมีการอ่านและแสวงหาข้อมูลอย่างกว้างขวาง? มีความตระหนักรู้ในตนเอง? สนใจและไวต่อข้อมูลและความรู้สึกที่ผุดออกมาจากสภาพแวดล้อมภายในตนเองและภายนอกตนเอง? พร้อมทั้งพร้อมที่จะเผชิญกับความรู้สึกเหล่านี้? ด้วยวิธีการที่สร้างแปลกใหม่แตกต่างไปจากเดิม? และหลากหลาย

4.รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้? ผู้สอนมีการกำหนดตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาให้ผู้เรียนสะท้อนคิด? ดังนั้นการสะท้อนคิดบางครั้งอาจจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกสับสน? เจ็บปวดและเป็นทุกข์ได้จึงจำเป็นต้องกระตุ้นและให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนความคิด? และจิตใจแก่ผู้เรียนที่พึ่งหัดสะท้อนคิด

5.การจัดการเรียนรู้โดยการสะท้อนคิดนั้นมีจำนวนผู้เรียนไม่มากนัก? ดังนั้นผู้สอนควรมีความยืดหยุ่นต้องให้เวลาผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนคนอื่นๆและต้องไม่ปล่อยให้ผู้เรียนสะท้อนคิดเพียงลำพัง? จึงจะทำให้การสะท้อนคิดมีคุณภาพ

6.ในทุกๆครั้งก่อนการสอนแบบการสะท้อนคิดผู้สอนควรมีเทคนิคและวิธีการในการฝึกการเรียนรู้?????????? ในเรื่อง? การอยู่ในปัจจุบันขณะ (here and now) เนื่องจากก่อนการทำกิจกรรมต่างๆผู้เรียนควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีสติ? และอยู่กับปัจจุบัน เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมนั้นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ? และมีประสิทธิผล

จากการประชุมอาจารย์ในภาควิชาฯ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีอาจารย์ที่นำไปใช้เสนอแนะดังนี้

อ.อดุลย์ ไปปรับใช้ ในการเรียนการสอน วิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 กิจกรรม เขียนบันทึกการเรียนรู้ ด้วยสะท้อนคิด ผู้สอนได้อธิบายเป้าหมายการเขียนบันทึกการเรียนรู้ ,วิธีการเขียน ,การประเมินผล แก่นักศึกษาในชั่วโมงแรกการฝึกงาน ผลการดำเนินงาน พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ เข้าใจและสามารถเขียนบันทึกการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดได้ถูกต้อง น.ศ.มีการสืบค้น หาข้อมูล จากตำรา เว็บไซด์ต่างๆ???? ข้อเสนอแนะต่อการนำไปใช้? หากให้นักศึกษาเขียนบันทึกการเรียนรู้ แบบสะท้อนคิดทุกวัน ร่วมกับภาระงานที่ได้หมายหมายอื่นๆ ทำให้ช่วงระยะหลังๆ นักศึกษาเริ่มกลับไปเขียน บัรทึกการเรียนรู้ในรูปแบบเดิม (ไม่มีการค้นคว้าเพิ่มเติม ) ดังนั้นควรเขียนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง น่าจะมีความเหมาะสม

อ.บุญฤทธิ์ ได้ทดลองใช้กระบวนการ Reflective Thinking กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 โดยเริ่มใช้กระบวนการสะท้อนคิดการฝึกงาน โดยใช้ การเขียนบันทึกสะท้อนคิด ตามขั้นตอนการวินิจฉัยชุมชน ทั้ง 5 ขั้นตอน? ??ซึ่งการสะท้อนคิดในขั้นตอนต่างๆ จากประสบการณ์ ไม่ควรให้นักศึกษาเขียนทุกวัน เพราะ นักศึกษาต้องใช้เวลาในการเขียน? อาจเป็นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง? ผลงานที่ได้ยังพบว่า นักศึกษายังสะท้อนคิดในระดับความรู้สึกทั่วไป? ยังไม่นำไปสู่การนำไปใช้ในครั้งต่อไป และขาดทฤษฎีอ้างอิงในการทำกิจกรรมกับชุมชน ?ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า? อาจารย์ยังตั้งคำถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิดยังไม่ดีเท่าที่ควร อาจต้องพัฒนาทักษะส่วนนี้สำหรับอาจารย์ รวมทั้งต้องเตรียมนักศึกษาให้เข้าใจ Reflective Thinking

แนวปฏิบัติ

แนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเรียนรู้ เรื่อง Reflective Thinking เป็นแนวปฏิบัติของภาควิชา เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักในด้านของอาจารย์ผู้สอน ด้านนักศึกษา และด้านของการจัดการเรียนการสอนได้ดังนี้

องค์ประกอบหลักของการสะท้อนคิด

ด้านครูผู้สอน

1.ครูควรสร้างแรงจูงใจ ใช้คำถามปลายเปิด กระตุ้นให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างต่อเนื่อง

2.ครูควรจะสะท้อนคิดนักศึกษา? ทั้งแบบกลุ่ม บุคคล ขึ้นอยู่กับหัวข้อ หรือสถานการณ์ที่ต้องการตามความเหมาะสม

3.คุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอนในการเรียนแบบสะท้อนคิด ครูต้องเป็นผู้ฟังที่ดี? เปิดใจ เป็นกันเองกับนักศึกษา เป็นที่ปรึกษาไว้วางใจได้? ต้องมีความอดทน? ควบคุมอารมณ์ได้ดี ไม่ออกคำสั่ง สอนให้นักศึกษามีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส? ไม่ตำหนินักศึกษา? ต้องนิ่ง ไม่ชี้นำแต่ควรตั้งคำถามที่เป็นเหตุเป็นผลกัน

กล้าและเก่ง กระตุ้นการเรียนอยู่เสมอ

4.ครูควรทำงานเป็นทีม ไม่ปัดภาระให้คนใดคนหนึ่ง

5.ครูควรมีการเสริมแรงโดยการชื่นชมนักศึกษาเมื่อนักศึกษาทำได้

6.ครูควรเป็นกัลยาณมิตร

7.ครูควรเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล

8.ครูต้องสามารถเชื่อมโยงความรู้ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับนักศึกษาได้อย่างเหมาะสม

9.ครูควรมีการมอบหมายงานล่วงหน้าเพื่อให้นักศึกษามีเวลาเตรียมตัวและคิดวิเคราะห์? และติดตามการสะท้อนคิดอย่างสม่ำเสมอ

10.ครูควรเป็นคนช่างสังเกต? เปิดใจให้นักศึกษาได้ระบายความรู้สึก ควรไวต่อความรู้สึก

ด้านนักศึกษา

1.จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้? ต้องเข้าใจในลักษณะวิธีการเรียนการสอนโดยการสะท้อนคิด? และมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนรู้

2.ต้องฝึกการคิดวิเคราะห์? ต้องมีการวางแผนที่ดี? แบ่งเวลาในการเขียนให้เหมาะสม

3.ต้องเข้าใจ? สรุปประเด็นและเขียนสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

4.มีอิสระในการเขียน? มีความกระตือรือร้น? และมีทักษะการตั้งคำถามที่ดี

5.มีการเรียนรู้จากสภาพการจริง? เรียนรู้ตรงกับความต้องการ? ความสนใจและความถนัดของตน

6.นำสื่อต่างๆมาใช้ในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม

7.กล้าแสดงความคิดเห็น? มีการสังเกตที่ดี? มีความรับผิดชอบ? มีวินัย? และตรงต่อเวลา

8.มีการใช้ความคิด? ความสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้

9.มีความสุขในการเรียนการสอน

ด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน

1.ใช้การวิเคราะห์กรณีศึกษา? การประชุมกลุ่ม? การสนทนาเป็นรายบุคคล

2.ใช้บันทึกการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน? เช่น journal? writing? หรือ learning log สามารถนำไปใช้ในการสะท้อนคิดนักศึกษาทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ? การสะท้อนคิดโดยการเขียนบันทึก? ควรให้เวลาในการสะท้อนคิดอย่างเหมาะสม ไม่สั้นจนเกินไป? เช่นควรให้นักศึกษาลองฝึกเขียนในสัปดาห์แรก? จากนั้น ควรสะท้อนการคิดในสัปดาห์ถัดไป

3.ในการสะท้อนคิดสามารถทำในช่วงการทำ pre-post conference? จะช่วยให้นักศึกษาได้มีการเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนการสอน

การวัดและประเมินผล

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้? ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดในครั้งนี้? เป็นการประเมินความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล? และพฤติกรรมการสะท้อนคิดครอบคุลมทั้งการวัดก่อน? การติดตามผลระหว่างการจัดการเรียนรู้? และการวัดผลภายหลังการจัดการเรียนรู้? ประกอบด้วย

1.ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการใช้รูปแบบ? โดยใช้แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ? จริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพพยาบาล? นำคะแนนจากผลการสอบทั้ง 2 ครั้ง? มาเปรียบเทียบเพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียน

2.ประเมินความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลทั้งก่อนการใช้รูปแบบ? ระหว่างการใช้รูปแบบ? และหลังการใช้รูปแบบ? โดยใช้แบบประเมินความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล? ซึ่งประเมินโดยผู้สอน? เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล

3.ประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลระหว่างใช้รูปแบบ? โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิด? เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการสะท้อนคิด

ปิดประชุมเวลา ๑๕.๓๐ น.

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นายอรรถพล? ยิ้มยรรยง)

พยาบาลวิชาชีพ

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นายกันตวิชญ์? จูเปรมปรี)

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้ตรวจสอบรายงานการประชุม

(นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละคร เป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน

สรุปการถอดบทเรียนการจัดการความรู้

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละคร เป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน

ขั้นเตรียมการ

๑.? มอบหมายคณาจารย์ในภาควิชาฯ ทุกคนทบทวนแนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต? และลักษณะรายวิชาปฏิบัติที่ภาควิชารับผิดชอบได้แก่ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ ๑ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งจุดเด่นและอุปสรรคของการจัดกิจกรรมการเรียนในภาคปฏิบัติ เพื่อนำมาเป็นแนวทางและปรับปรุงพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๗

๒. คณาจารย์ในภาควิชาฯ รับฟังการบรรยาย การจัดการความรู้การเรียนการสอนแบบ Didactic Method เรื่องเทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละคร บรรยายโดย คุณชาล สร้อยสุวรรณ และคุณทองแสง ไชยแก้ว จากสำนักกิจกรรมกิ่งก้านใบ ในวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๘ โดยสรุปแนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบละคร (Drama) ได้ดังนี้

คำนิยาม

เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงคือกระบวนการที่ผู้สอนช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์โดยการให้ผู้เรียนแสดงละคร ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามเนื้อหาและบทละครที่ ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง ทำให้เรื่องราวนั้นมีชีวิตขึ้นมาและสามารถทำให้ผู้แสดงและผู้ชมเกิดความเข้าใจและจดจำเรื่องนั้นได้นานทั้งนี้การสอนโดยใช้ละครมีความเชื่อว่า ผู้เรียนทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้ ละครเป็นงานสัญลักษณ์ที่เน้นการตีความจากสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน ได้รู้สึก ได้สัมผัส และได้ลงมือแสดง ???? หรืออาจอนุมานได้ว่า การสอนโดยใช้การแสดงนั้นมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับการเรียนการสอนแบบPBL (Problem-based Learning)?ซึ่งการเรียนในลักษณะนี้จะเป็นการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ เป็นการเรียนรู้ที่ใช้ลักษณะของการตั้งปัญหาเป็นประเด็นนำ อันจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะค้นคว้าหาความรู้มาเพื่อขบคิดแก้ไขปัญหา หรือเรียนรู้จากปัญหาเป็นรูปแบบการเรียนอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมของผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยแต่ก็ท้าทายผู้สอนมากที่สุด

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพเรื่องราวที่ชัดเจนและสามารถจดจำเรื่องราวได้นาน

2. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน และฝึกทักษะต่าง ๆ

องค์ประกอบสำคัญ

องค์ประกอบสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของเทคนิคการสอนคือ

1. มีผู้สอนและผู้เรียน

2. มีบทละคร คือเรื่องที่มีเนื้อหาและบทพูดกำหนดไว้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ต้นจนจบ

3. มีการแสดงตามบทบาทที่กำหนด หรือการชมและสังเกตการแสดง

4. มีการอภิปรายเรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาการของผู้รับบทบาทต่างๆ

5. มีการสรุปการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้จากการแดงและชมการแสดง

6. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

กิจกรรมที่ดำเนินการประกอบการบรรยายแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. การละลายพฤติกรรมเพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยมีกิจกรรมดังนี้ คือ

1.1?? ให้ผู้เข้าร่วมการฟังบรรยายยืนเป็นรูปทรงเลขาคณิตต่างๆ เช่น วงกลม, สี่เหลี่ยม, สามเหลี่ยม

1.2?? ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกมาแนะนำตัวพร้อมท่าทางประกอบ

1.3?? ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินตามคำสั่ง เช่น เดินเร็ว, เดินช้า, เดินปานกลาง,

1.4?? ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเลียนแบบลักษณะท่าทางการเดินของบุคคลอาชีพต่างๆ เช่น ทหาร, ครู, ชาวนา ฯลฯ

1.5?? ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมบอกข่าวตามอารมณ์ เช่น โกรธ, ดีใจ, เสียใจ

1.6?? ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกสมาธิโดยการจับคู่จ้องตา และเล่นเกมส่องกระจกโดยให้จับคู่กัน คนหนึ่งเป็นกระจก อีกคนหนึ่งเป็นคนส่องโดยที่ทั้งคู่ต้องทำท่าทางเหมือนกัน

  1. ให้ผู้เข้าร่วมเขียนความต้องการของตนเองลงในกระดาษ จากนั้นให้จับคู่กันแสดงบทบาทสมมติเกี่ยวกับความต้องการของตนเองคู่ละ 1 นาที เพื่อนำเข้าสู่ทักษะกระบวนการของการสอนโดยใช้ละคร
  2. สรุป เทคนิคการสร้างละคร ได้แก่ การกำหนดโครงเรื่อง และ แก่นเรื่อง (Theme)
  3. พูดคุยซักถามข้อสงสัยระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์

สรุปความรู้ที่ได้รับ

ทักษะการทำละครแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ

1.? ทักษะภายในได้แก่ สมาธิ? จินตนาการ และความเชื่อ

2.? ทักษะภายนอก? ได้แก่

-? ร่างกายคือ? กิริยาท่าทางที่แสดงออก

-? เสียงคือ? การเปล่งเสียง, การใช้ภาษาในการสื่อสาร

โครงเรื่อง

เป็นการเล่าเรื่องลำดับเหตุการณ์อย่างมีเหตุผล เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์จะต้องส่งเสริมประเด็นหลักของเรื่องได้ชัดเจน ไม่ให้หลงประเด็น

แก่นเรื่อง(Theme)

คือประเด็นเนื้อหาสำคัญหรือแกนหลักของเรื่องที่จะนำเสนอ? ซึ่งแก่นเรื่องจะเป็นส่วนสำคัญมากในการแสดงละคร

การเขียนบทละคร

การเขียนบทนั้นให้แบ่งเป็นภาพ (ดังแสดงในภาพที่ 1)? ดังต่อไปนี้คือ

ภาพที่ 1? จุดเริ่มต้น (Start) ช่วงของการเปิดเรื่อง แนะนำเรื่องราว ปูเนื้อเรื่อง

ภาพที่ 2? การพัฒนาเรื่อง (Story) การดำเนินเรื่อง ผ่านเหตุการณ์เดียวหรือหลายเหตุการณ์ เนื้อเรื่องจะมีความซับซ้อนมากขึ้น

ภาพที่ 3? จุดสิ้นสุด (Stop) จุดจบของเรื่อง แบ่งออกเป็นแบบสมหวัง ทำให้รู้สึกอิ่มเอมใจ และแบบผิดหวัง) ทำให้รู้สึกสะเทือนใจ

หมายเหตุ ทั้งนี้ในการเขียนบทละครนั้น อาจมีมากกว่า 3 ภาพ ยกตัวอย่างเช่น ภาพที่? 4 (ต้องทำอย่างไร)? ภาพที่ 5 (ภาพฝัน)

ภาพที่1 แสดงวิธีการสร้างโครงเรื่องละคร

ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้การแสดงละคร

ข้อดี

1.? เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นสิ่งที่เรียนมีชีวิตขึ้นมา ทำให้การเรียนรู้มีความเป็นจริง และมีความหมายสำหรับผู้เรียน

2.? เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง

3.? เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น ทักษะการพูด การเขียน การแสดงออก การจัดการ การแสวงหาข้อมูลความรู้ และการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นต้น

ข้อจำกัด

1.? เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก ต้องมีการจัดเตรียมบทละคร และการแสดงที่ยุ่งยาก

2.? เป็นวิธีสอนที่ต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องแต่งกาย ประกอบการแสดง ซึ่งอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

3.? เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการแสวงหาข้อมูลที่ถูกต้องมาใช้ในการเขียนบท หากผู้สอนไม่มีข้อมูลเพียงพอ หรือไม่สามารถแสวงหาข้อมูลที่ต้องการได้ จะทำให้เรื่องราวหรือการแสดงไม่สมบูรณ์

การวัดผลประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้

วัดผลสะท้อนจากการเขียน การตอบคำถาม การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และทัศนคติ ฯลฯ

การนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาล

เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการแสดง มุ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวที่แสดง โดยที่การแสดงเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราวนั้น ๆ ได้เห็นเป็นภาพและการกระทำจริง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและจดจำเรื่องนั้นได้อย่างดีและจดจำได้นาน ดังนั้นละครที่แสดงออกมา จึงควรสะท้อนเรื่องราวความเป็นจริงนั้นให้เห็นชัดและอย่างสร้างสรรค์ แต่อย่างไรก็ตามการสร้างสรรค์นั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและความเป็นจริง

๓. คณาจารย์ในภาควิชา ฯ ร่วมกันออกแบบการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยจัดทำแบบฟอร์มคำชี้แจงนักศึกษาที่แสดงบทบาทเป็นหญิงตั้งครรภ์รายใหม่? แบบฟอร์มคำชี้แจงนักศึกษาที่แสดงบทบาทเป็นพยาบาลผู้ซักประวัติ ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ และบัตรอนามัยมารดา เพื่อมอบให้นักศึกษาที่ฝึกปฏิบัติที่แผนกฝากครรภ์

๔. ผู้รับผิดชอบรายวิชานำผลการออกแบบการเรียนการสอนร่วมกันของคณาจารย์ในภาควิชาฯ ลงในรายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ. ๓) และ Course outline ของรายวิชาอย่างครบถ้วน

ขั้นดำเนินการ

โดยการเตรียมความพร้อมนักศึกษาตามแนวปฏิบัติที่ดีและคณาจารย์ที่สอนภาคปฏิบัติ

วางแผนการดำเนินการสอนแบบละครในวันแรกของการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติ ณ แผนกฝากครรภ์ โดยแจกบทบาทให้นักศึกษาทุกคนได้แสดงทั้งบทบาทการเป็นหญิงตั้งครรภ์ และบทบาทการเป็นพยาบาลผู้ซักประวัติ ชุดตั้งครรภ์เสมือนจริง บัตรอนามัยมารดา ภายหลังสิ้นสุดการแสดงในแต่ละบทบาทอาจารย์ตรวจการลงบันทึกข้อมูลในบัตรอนามัยมารดา และตั้งคำถามสะท้อนคิดกับนักศึกษาในการแสดงแต่ละบทบาท

ขั้นสรุปและประเมินผล

การประเมินผลการแสดงบทบาทจากการสะท้อนคิดความรู้สึกที่ได้แสดงบทบาทการเป็นหญิงตั้งครรภ์และพยาบาลผู้ซักประวัติ ความถูกต้องในการลงบันทึกข้อมูลในบัตรอนามัยมารดา

ประมวลภาพการทำกิจกรรม

คณาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ผู้ถอดบทเรียน

๓๐ มกราคม ๕๘

แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL)

สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้

ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้

โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL)

จากการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) ระหว่างวันที่ 24 – 25 ธันวาคม 2557 ณ ห้องประชุมพวงชมพู วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ โดยวิทยากรผู้บรรยายคือ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวัลลี สัตยาศัย อาจารย์ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถนำมาสรุปผลการถอดบทเรียนได้ดังนี้

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิบัติกิจกรรมหรือกระทำใดๆ ด้วยตนเอง อย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ เช่น ได้คิด ได้ทำ ได้ค้นคว้า ได้แก้ปัญหา ได้สร้างสรรค์อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลง

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem?based Learning : PBL) คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา ?โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกัน เป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด

ขั้นตอนการดำเนินการ

การดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ PBL แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 ? :? ? เตรียมการ

ขั้นเตรียมการนี้ถือว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญ ซึ่งการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ ?โดยการเตรียมการที่ต้องกระทำ ได้แก่

1.? จัดทำคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL สำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้เรียน ซึ่งคู่มือควรประกอบด้วย ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers)

2.? สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดย Triggers ที่ดีควรมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน ดังต่อไปนี้

2.1? สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning) ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ

2.2 ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน

2.3? มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ

2.4 มีเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้าความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน เช่น เป็นเหตุการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน เหตุการณ์ร่วมสมัย เป็นต้น

2.5 ควรมีคำถามกระตุ้น (trigger question) เพื่อช่วยให้ tutor ใช้ในการถามกระตุ้นนักศึกษาให้คิดไปตามแนวทางหรือการอภิปรายดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้

3.? เตรียมครู/ผู้สอน ดังนี้

3.1 สร้างความเข้าใจในขั้นตอน PBL และบทบาทของครูตามเจตนารมณ์ของการเรียนรู้แบบ PBL คือ ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษา (facilitator) ดังแนวคิดที่ว่า ?Teach less learn more?

3.2 ฝึกทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างต่อเนื่อง? รอบคอบ ต่อยอด เป็นระบบ

3.3 มีสัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

4.? เตรียมผู้เรียน ดังนี้

4.1? วางแผนแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม

1) ได้สัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

2) คละเด็กเรียนเก่ง-ปานกลาง-อ่อน ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน

4.2 ฝึกทักษะการอ่านและสรุปความจากเนื้อหาที่อ่าน

4.3? สร้างความเข้าใจในขั้นตอนและบทบาทของผู้เรียนตามกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL

ขั้นที่ 2 ? :? ? การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)

ครู/ผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PBL 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ดังนี้

ระยะที่ 1 : เปิดโจทย์ปัญหา ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ? 5 ของ PBL ดังนี้

Step 1 : Clarifying ?terms ?and concepts ผู้เรียนทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์หรือสถานการณ์ ทำความเข้าใจกับศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน

Step 2 : Identify ?the ?problem ผู้เรียนระบุปัญหาของโจทย์หรือสถานการณ์

Step 3 : Analyse ?the ?problem ผู้เรียนวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ความเชื่อมโยงของปัญหา

Step 4 : Formulate ?hypotheses ผู้เรียนตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหา และจัดลำดับความสำคัญ

Step 5 : Formulate ?learning objectives ผู้เรียนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา

ระยะที่ 2 : ศึกษาหาความรู้ เป็นขั้นตอนที่ 6 ของ PBL คือ

Step 6 : Collect ?additional ?information ?outside ?the ?group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่ม โดยต่างคนต่างแยกย้ายกันศึกษาหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้

ระยะที่ 3 : ปิดโจทย์ปัญหา เป็นขั้นตอนที่ 7 ของ PBL คือ

Step 7: Synthesize and test the newly acquired and indentify information generalization and principles derived from studying this problem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน และสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต

ขั้นที่ 3 ? :? ? ประเมินผล ประกอบด้วย

1. ด้านผู้เรียน ประกอบด้วย การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ และประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนเพื่อวางแผนพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง (formative evaluation) อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้

2.? ด้านครู/ผู้สอน จะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของครู/ผู้สอนในบทบาทที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

3.? ด้านคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

4.? โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (Triggers)

คณาจารย์ประจำภาควิชา

การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ผู้ถอดบทเรียน

27 มกราคม 2558

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2/2558 วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ครั้งที่ 2/2558 วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

ณ ห้องประชุม 114

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายนามผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. นางมณฑา? ??????????? อุดมเลิศ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ??????? ประธาน

2. นางอนัญญา??????????? คูอาริยะกุล?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

3. นางสาวนัยนา????????? อินธิโชติ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

4. นางสาวเสาวลักษณ์??? เนตรชัง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

5. นายไพทูรย์???????????? มาผิว???????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

6. นางวาสนา????????????? ครุฑเมือง???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

7. นางจุฬาวรี???????????? ชัยวงค์นาคพันธ์? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

8. นางสาวศิริกาญจน์???? จินาวิน?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

9. นางฆนรส?????????????? อภิญญาลังกร??? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

10. นางสาวนัยนา???????? แก้วคง??????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

11. นางอรุณรัตน์????????? พรมมา?????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

12. นายภราดร??????????? ล้อธรรมมา?????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

13. นายสืบตระกูล ?????? ตันตลานุกุล????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ??????? เลขานุการ

รายนามผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

1. นางศศิธร?????????????? ชิดนายี?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ลาป่วย

2. นางสาววราภรณ์?????? ยศทวี???????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ไปราชการ

3. นางจิราพร????????????? ศรีพลากิจ ?????? พยาบาลวิชาชีพ? ????????????????? ลาคลอด

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็น ร้อยละ 81.25

เปิดการประชุมเวลา 13.30 น.

ประธานการประชุม นางมณฑา??????? อุดมเลิศ????????? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่

และผู้สูงอายุ

ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

1. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2557 โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย??????????????????? การจัดการความรู้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning สำหรับอาจารย์พยาบาลเพื่อให้ได้มา

ซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์แก่นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ซึ่งมติที่ประชุมกรรมการบริหารครั้งที่ 7/2557 วันที่? 30 กันยายน 2557 ได้มอบหมายการดำเนินการดังนี้ ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพใช้วิธี Humanistic care ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ใช้วิธี Didactic? method ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชใช้วิธี Reflective? thinking และภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุใช้วิธี Problem ? based Learning

2. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ของภาควิชา

ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ โดยมีประเด็นคือ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning แต่มุ่งเน้นเฉพาะเจาะจงไปที่กระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning [PBL]) สำหรับอาจารย์พยาบาลเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์แก่นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ดังนั้น ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ กำหนดประเด็นการจัดการความรู้ของภาควิชา คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning [PBL]) ซึ่งจะขอความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประสบการณ์ตามประเด็นดังกล่าว ในวาระต่อไป

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงายการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ

1. การจัดการความรู้ของภาควิชา

ประธานได้ดำเนินการขอความร่วมมือคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ได้ร่วมกันแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ เรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning [PBL])? เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีสู่การปฏิบัติและพัฒนานักศึกษาพยาบาลศาสตร์ โดยให้อาจารย์ของภาควิชาเล่าประสบการณ์ ทักษะ และความรู้ ตามประเด็นดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยความครบถ้วนของเนื้อหาผ่านแนวคำถาม ดังนี้

-? การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning [PBL]) คือ อะไร และมีความสำคัญอย่างไร

- PBL มีขั้นตอน/กระบวนการเป็นอย่างไร/เคยทำมาเป็นอย่างไร

- มีอะไรหรือปัจจัยอะไรที่สำคัญบ้างที่เป็นตัวผลักดันหรือสนับสนุนให้การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ/ล้มเหลว

จากกิจกรรมดังกล่าว อาจารย์ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะของตนเองอย่างกว้างขวาง สามารถถอดบทเรียน ดังนี้

1. ความหมาย

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning [PBL]) หมายถึง วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกัน???????????? เป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด

2. ขั้นตอนการดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ PBL แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 : เตรียมการ

ขั้นเตรียมการนี้ถือว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญ ซึ่งการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้????????????? โดยการเตรียมการที่ต้องกระทำ ได้แก่

1.? จัดทำคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL สำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้เรียน ซึ่งคู่มือควรประกอบด้วย ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers)

2.? สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดย Triggers ที่ดีควรมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน ดังต่อไปนี้

2.1? สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning)? ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ

2.2 ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ??????????????? ที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน

2.3? มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ

2.4 มีเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้า ความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน เช่น เป็นเหตุการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน เหตุการณ์ร่วมสมัย เป็นต้น

2.5 ควรมีคำถามกระตุ้น (trigger question) เพื่อช่วยให้ tutor ใช้ในการถามกระตุ้นนักศึกษาให้คิดไปตามแนวทางหรือการอภิปรายดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้

3.? เตรียมครู/ผู้สอน ดังนี้

3.1 สร้างความเข้าใจในขั้นตอน PBL และบทบาทของครูตามเจตนารมณ์ของการเรียนรู้แบบ PBL คือ ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษา (facilitator) ดังแนวคิดที่ว่า ?Teach less learn more?

3.2 ฝึกทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างต่อเนื่อง? รอบคอบ ต่อยอด เป็นระบบ

3.3 มีสัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

4.? เตรียมผู้เรียน ดังนี้

4.1? วางแผนแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม

1) ได้สัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

2) คละเด็กเรียนเก่ง-ปานกลาง-อ่อน ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน

4.2 ฝึกทักษะการอ่านและสรุปความจากเนื้อหาที่อ่าน

4.3? สร้างความเข้าใจในขั้นตอนและบทบาทของผู้เรียนตามกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL

ระยะที่ 2 : การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)

ครู/ผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PBL 3 ระยะ ??7 ขั้นตอน ดังนี้

ระยะที่ 1 : เปิดโจทย์ ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ? 5 ของ PBL ดังนี้

Step 1 : Clarifying ?terms ?and concepts ผู้เรียนทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์หรือสถานการณ์ ทำความเข้าใจกับศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน

Step 2 : Identify ?the ?problem ผู้เรียนระบุปัญหาของโจทย์หรือสถานการณ์

Step 3 : Analyse ?the ?problem ผู้เรียนวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ความเชื่อมโยงของปัญหา

Step 4 : Formulate ?hypotheses ผู้เรียนตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหา และจัดลำดับความสำคัญ

Step 5 : Formulate ?learning objectives ผู้เรียนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา

ระยะที่ 2 : ศึกษาหาความรู้ เป็นขั้นตอนที่ 6 ของ PBL คือ

Step 6 : Collect ?additional ?information ?outside ?the ?group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่ม โดยต่างคนต่างแยกย้ายกันศึกษาหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้

ระยะที่ 3 : ปิดโจทย์ปัญหา เป็นขั้นตอนที่ 7 ของ PBL คือ

Step 7: Synthesize and test the newly acquired and indentify information generalization and principles derived from studying this problem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน และสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต

ระยะที่ 3 : ประเมินผล ประกอบด้วย

1. ด้านผู้เรียน ประกอบด้วย การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ และประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนเพื่อวางแผนพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง (formative evaluation) อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้

2.? ด้านครู/ผู้สอน จะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของครู/ผู้สอนในบทบาทที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

3.? ด้านคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

4.? โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (Triggers)

มติที่ประชุม รับรองการสรุปผลการถอดบทเรียน และให้นำไปเผยแพร่ที่ web blog KM ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ www.unc.ac.th เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงกว้างต่อไป

ปิดการประชุมเวลา 16.00 น.

ลงชื่อ……………………………………………….ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นายสืบตระกูล? ตันตลานุกุล)

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ลงชื่อ……………………………………………….ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นายไพทูรย์ มาผิว)

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

ลงชื่อ……………………………………………….ผู้ตรวจรายงานการประชุม

(นางมณฑา? อุดมเลิศ)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วันที่…………./…………………../…………….

แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในรายวิชาภาคปฏิบัติ

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by Nopparat on วันพุธ 10 กันยายน 2014 at 2:16 am

แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในรายวิชาภาคปฏิบัติ

สรุปการถอดบทเรียนการจัดการความรู้

ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตแวช

ขั้นเตรียมการ

เตรียมผู้สอน

- ทำความเข้าใจการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ไปใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะวิชา ผลลัพธ์การเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล

- เข้าใจความแตกต่างระหว่างผู้เรียน รู้เทคนิคการเสริมแรงทางบวกในการเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน

เตรียมแหล่งฝึก

- ประสานผู้นำชุมชน อสม. ในการพิจารณาหากรณีศึกษาที่มีความพร้อมและยินดีให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอน

เตรียมผู้เรียน

- ชี้แจงวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning และบทบาทของผู้เรียน

- กำหนดกติกา ข้อตกลงระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

ขั้นสอน

ให้ผู้เรียนชี้แจงทำความเข้าใจถึงขั้นตอนและกิจกรรมการให้บริการ ตลอดจนระยะเวลาการฝึกงานของนักศึกษาแก่ผู้รับบริการ

ผู้สอนให้การเสริมแรงทางบวกในการฝึกปฏิบัติ เช่น รับฟังปัญหาเมื่อนักศึกษาประสบปัญหาในการปฏิบัติงาน และให้กำลังใจเมื่อนักศึกษาปฏิบัติได้ถูกต้อง

ผู้สอนใช้เทคนิคการเรียนการสอนแบบ Active Learning เช่น การใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วยตนเอง การมอบหมายกรณีศึกษาเป็นรายบุคคล การมอบหมายงานค้นคว้าด้วยตนเอง

ขั้นประเมินผล

- กำหนดคุณลักษณะผู้เรียนแบบ Active Learner

- กำหนดเกณฑ์การประเมินผลผู้เรียนตามคุณลักษณะผู้เรียนแบบ Active Learner

- ผู้สอนควรมีการประเมินผลการสอนร่วมกันระหว่างที่ดำเนินการสอน

- ผู้สอนสะท้อนกลับพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นระยะ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับทราบและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียน (หากมี)

แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบโครงการ (Project- based learning) เป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน

Blogged under KM ของ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ by patcha on วันจันทร์ 8 กันยายน 2014 at 3:58 am

แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบโครงการ (Project- based learning) เป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน

สรุปการถอดบทเรียนการจัดการความรู้

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ขั้นเตรียมการ

๑.? มอบหมายคณาจารย์ในภาควิชาฯ ทุกคนทบทวนแนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต? และลักษณะรายวิชาทฤษฎีที่ภาควิชารับผิดชอบได้แก่การพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ ๑ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งจุดเด่นและอุปสรรคของการเรียนรู้แบบโครงการที่บูรณาการกับการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตลอดจนแนวทางการพัฒนา เพื่อนำมาเป็นแนวทางและปรับปรุงพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๗

๒. คณาจารย์ในภาควิชาฯ ทบทวนความรู้ร่วมกันเกี่ยวกับ การเรียนรู้แบบโครงการ (Project-based learning) เพื่อนำมาเป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอนซึ่งจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของ Active learning โดยศึกษาจากเอกสารรายงานการวิจัยของสุนันทา สุวรรณศิลป์และการสรุปบรรยายของ อ.ดร.วรรณวดี เนียมสกุล โดยสรุปแนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบโครงการ (Project-based learning) ได้ดังนี้

การเรียนการสอนแบบโครงการเป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดหัวข้อโครงการด้วยตนเอง ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง วิเคราะห์วิจารณ์ และบูรณาการองค์ความรู้ภายในขอบเขตเรื่องที่ศึกษา ทำให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ก่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ทางสติปัญญา การพัฒนาการทางสุนทรียศาสตร์ การพัฒนาการทางสังคมและอารมณ์ การได้ฝึกเขียน เรียบเรียงความรู้ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบนำตนเองเกิดขึ้น สามารถคิดแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ โดยมีขั้นตอนทั้งหมด ๖ ขั้นตอนดังต่อไปนี้

๑) การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องการดำเนินงานตามขั้นตอน โดยผู้เรียนต้องตั้งต้นด้วยคำถามที่ว่า จะศึกษาอะไร ทำไมต้องศึกษาเรื่องดังกล่าว จากนั้นผู้เรียนต้องไปศึกษาค้นคว้า ทบทวนซึ่งจะใช้เวลาพอสมควรจึงจะได้หัวข้อจัดทำโครงการ

๒) การศึกษาเอกสารทบทวนวรรณกรรมตลอดจนพบผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เกี่ยวข้อง ปราชญ์ในเรื่องนั้น ๆ ?เพื่อให้ได้แนวคิดในการกำหนดขอบข่ายหรือเค้าโครงเรื่องที่จะศึกษา อาทิเช่น สิ่งที่จะทำ วัตถุประสงค์ ผลที่ได้รับ กระบวนการ ทรัพยากร บุคลากรที่เกี่ยวข้อง การนำเสนอ เป็นต้น

๓) การเขียนเค้าโครงการเป็นการสร้างแผนที่ความคิด โดยนำภาพของงานและภาพความสำเร็จของโครงการมาจัดทำรายละเอียดแสดงแนวคิด แผนและขั้นตอน โดยใช้การระดมสมอง การทำงานเป็นกลุ่ม ในขั้นตอนนี้ จะได้หัวข้อคือ ชื่อโครงการ ทำอะไร กับใคร เพื่ออะไร ชื่อผู้จัดทำโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ ชื่อที่ปรึกษาโครงการ ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจะเสร็จสิ้น หลักการและเหตุผล ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ กำหนดการปฏิบัติโครงการ วัน เวลา กิจกรรมดำเนินการ ผลที่คาดว่าจะได้รับ เอกสารอ้างอิง

๔) การปฏิบัติโครงการ หลังได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในโครงการ โดยระหว่างลงมือปฏิบัติตามแผนงานนั้นผู้เรียนต้องมีการสังเกต จดบันทึกว่ามีจุดเด่นหรือปัญหาอุปสรรคใดบ้าง เพื่อนำมาปรับปรุงในโอกาสต่อไป

๕) การเขียนสรุปรายงานผล ได้แก่ บทคัดย่อ ผลการศึกษา บทนำ สรุปและอภิปรายผล เอกสารที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะ เพื่อให้ผู้เรียนได้จัดระเบียบความคิดและวิธีการปฏิบัติว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ มิสิ่งใดที่ต้องการพัฒนาปรับปรุง

๖) การแสดงผลงานเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงการ เป็นการนำเสนอผลทั้งหมดให้ผู้อื่นได้รับทราบ ผลผลิตจากโครงการเป็นอะไรบ้าง ทั้งนี้อาจนำเสนอเป็นนิทรรศการหรือด้วยวาจา

๓. คณาจารย์ในภาควิชา ฯ ร่วมกันออกแบบการเรียนการสอนภาคทฤษฎีโดยจัดทำแบบฟอร์มการเขียนโครงการบริการวิชาการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ผู้คลอดและมารดาหลังคลอด ได้แก่ ชื่อโครงการ ผู้รับผิดชอบ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ขั้นตอนการดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลา สถานที่ดำเนินโครงการ งบประมาณ การประเมินผลโครงการ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และลงชื่อผู้จัดทำโครงการและผู้อนุมัติโครงการ การจัดตารางเวลาสำหรับพบอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นระยะ ๆ เพื่อมอบให้นักศึกษาในวันเปิดภาคเรียนในการปฐมนิเทศรายวิชา

๔. ผู้รับผิดชอบรายวิชานำผลการออกแบบการเรียนการสอนร่วมกันของคณาจารย์ในภาควิชาฯ ลงในรายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ. ๓) และ Course outline ของรายวิชาอย่างครบถ้วน

ขั้นดำเนินการ

โดยการเตรียมความพร้อมนักศึกษาตามแนวปฏิบัติที่ดีและคณาจารย์ที่สอนภาคทฤษฎี

วางแผนการดำเนินการสอนแบบโครงการตามที่ได้ออกแบบการเรียนการสอนแบบ Active learning ไว้อย่างครบถ้วน อาทิเช่น การชี้แจงรายละเอียดการเรียนรู้แบบโครงการ การมาพบอาจารย์ที่ปรึกษา การจัดทำโครงการตามรูปแบบและส่งโครงการตามเวลาที่กำหนด เป็นต้น

ขั้นสรุปและประเมินผล

การประเมินผลการจัดทำโครงการประกอบไปด้วยรายการประเมิน ๑๐ รายการ ได้แก่ ความเหมาะสมของโครงการที่บูรณาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการส่งเสริมสุขภาพมารดาทารก การเขียนโครงงานเหมาะสม ประโยชน์ของโครงการ ความประหยัดด้านทรัพยากรและงบประมาณในโครงการ ความรับผิดชอบในการทำงาน การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ความตรงต่อเวลาและความสม่ำเสมอในการพบอาจารย์ที่ปรึกษา การนำเสนอโครงงานและการสรุปโครงการ

อ้างอิงความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการจาก สุนันทา สุวรรณศิลป์. (๒๕๔๗). รายงานวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยโครงการในวิชาไทยศึกษาของนักศึกษาพยาบาล (ต่อเนื่อง) รุ่นที่ ๑๓. วิทยาลัยพพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี: ราชบุรี.

คณาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ผู้ถอดบทเรียน

๕ ก.ย. ๕๗

รายงานการประชุมกิจกรรมการจัดการความความรู้ การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by Naiyana Kaewkhong on วันอาทิตย์ 7 กันยายน 2014 at 9:37 am

รายงานการประชุมกิจกรรมการจัดการความความรู้

การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๐๐-๑๔.๓๐ น.

ณ ห้องประชุม บานชื่น

?????????????????????????????????????????

ผู้เข้าร่วมประชุม

๑.????? นางศศิธร???????? ????????? ชิดนายี?????????? ประธาน

๒.????? นางสาว ดุจเดือน? เขียวเหลือง

๓.????? นางสาว นัยนา อินธิโชติ

๔.????? นางสาว วรรณวดี เนียมสกุล

๕.????? นายพิศิษฐ์? พวงนาค

๖.????? นางมณฑา??????? ????????? อุดมเลิศ

๗.????? นางสาววราภรณ์????????? ยศทวี

๘.????? นางสาวเสาวลักษณ์ ?????? เนตรชัง

๙.????? นางวาสนา?????? ????????? ครุฑเมือง

๑๐.? นางสาวอลิษา????????????? ทรัพย์สังข์

๑๑.? นายวีระยุทธ???? ????????? อินพะเนา

๑๒.? นายภราดร?????? ????????? ล้อธรรมมา เลขานุการที่ประชุม

๑๓.? นางจิราพร???????????????? ศรีพลากิจ

๑๔.? นางอรุณรัตน์???? ????????? พรมมา

ระเบียบวาระที่ ๑ กำหนดประเด็น

ประธาน แจ้งเรื่องการจัดการความรู้ที่มีการกำหนดประเด็นการวิจัยตามแผนปฏิบัติการคือการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ซึ่งในวันนี้จะมีการพูดคุยกันตั้งแต่ ความหมาย ประเภทของการนำวิจัยไปใช้ประโยชน์ ประสบการณ์ที่เคยนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ แนวทางในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

ระเบียบวาระที่ ๒ แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นที่ ๑ ความหมาย ประเภทการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และประสบการณ์

ความหมายของ การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ หมายถึง การนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการ/โครงการวิจัย และรายงานการวิจัยอย่างถูกต้อง สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนถึงการนำไปใช้ จนก่อให้เกิดประโยชน์ได้จริงตามวัตถุประสงค์ และได้การรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(อ้างอิงจากคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา ๒๕๕๖ หน้า…………….)

ประเภทของการนำวิจัยไปใช้ประโยชน์

แบ่งออกเป็นด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย หมายถึง การนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบายเป็นการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยเชิงนโยบายใน การนำไปใช้ประกอบเป็นข้อมูลการประกาศใช้กฎหมาย หรือกำหนดมาตรการ กฎเกณฑ์ต่างๆ โดยองค์กร หรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
2. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพณิชย์หมายถึง การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพณิชย์ คือ งานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ หรือนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นต้น
3.การนำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการหมายถึง???? เป็นการนำผลงานการวิจัย นำไปใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนการสอน หรือสื่อการเรียนรู้ต่างๆ
4.การนำไปใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะหมายถึง ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณชนในเรื่องต่างๆทีทำให้ คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประชาชนดีขึ้น ได้แก่การใช้ประโยชน์ด้านสาธารณสุข ด้านการบริหารจัดการสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยภาคประชาชน ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ด้านวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
5.การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่หมายถึง เป็นการนำผลงานการวิจัย ไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เจาะจงพื้นที่นั้นๆ

อ.วรรณวดี

ประสบการณ์ที่ได้มีผู้นำผลงานวิจัยไปใช้ คือการนำไปเผยแพร่ให้กับโรงพยาบาลในเขตจังหวัดสุโขทัย และมีนิสิตปริญญาเอกได้นำผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ไปสังเคราะห์พร้อมกับมีการอ้างอิง แต่ปัญหาคือ เขาจะไม่มีการรับรอง

อ.ดร.ดุจเดือน? แบบนี้งานวิจัยเป็นสิ่งที่มีประโยชน์จริงๆ

สำหรับของวิทยาลัยจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีเพิ่มเติมคือ

การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้ ๓ ด้านคือ

๑.ด้านการปฏิบัติการพยาบาล

ตัวอย่าง คู่มือการตรวจครรภ์ สามารถนำไปใช้ในพยาบาลที่ปฏิบัติงาน ในแผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลศรีสังวร จังหวัดสุโขทัย โดยส่งผลให้เกิดการทบทวนทักษะและความรู้ในการตรวจครรภ์ และเกิดผลการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพสามารถตรวจคัดกรองภาวะผิดปกติจากการตั้งครรภ์ได้ทันท่วงที

๒.ด้านการศึกษาพยาบาล

ตัวอย่าง คู่มือการตรวจครรภ์ สามารถนำมาใช้ในนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๓ และทำให้นักศึกษาได้ทบทวนความรู้ในการตรวจครรภ์ มีแนวทางในการปฏิบัติงาน นักศึกษามีความเม่นยำในการตรวจครรภ์ บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ครบ KAP และช่วยลดระยะเวลาการสอน

๓.ด้านการวิจัย

เสนอให้มีการนำผลการวิจัยไปใช้ในรูปแบบอื่น ได้แก่? การนำผลการวิจัยไปอ้างอิงในงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์เรื่องใหม่? , การนำเครื่องมือในงานวิจัยใช้ประโยชน์ เช่น คู่มือการตรวจครรภ์ คู่มือผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิต แต่ต้องเป็นเครื่องมือที่ผ่านการศึกษาวิจัยและถูกวิพากษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ หลังเสร็จสิ้นการวิจัย (ไม่ใช้เครื่องมือที่อยู่ในบทที่ ๓ ของงานวิจัย) การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบแผ่นพับ? คู่มือ จุลสาร ใบปลิวความรู้? รวมทั้งบทสรุปหรือข้อเสนอแนะของการนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนางานในด้านต่างๆ

ประเด็นที่แนวทางในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ต้องมีหลักเกณฑ์

  • ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการวิจัยและรายงานการวิจัยอย่างถูกต้อง
  • สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการประยุกต์ใช้กับกลุ่มเป้าหมาย
  • มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนถึงการนำไปใช้จนก่อให้เกิดประโยชน์ได้จริงอย่างชัดเจนตามวัตถุประสงค์
  • ได้การรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

แนวทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

ให้ดูตามคู่มือการวิจัยที่มีระบุแนวทาง และ Flow chart การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

ปัญหาที่ผ่านมาต้องมีการสังเคราะห์งานวิจัย ซึ่งสามารถนำคู่มือในการวิจัยไปใช้ได้หรือไม่

มติ คือ คู่มือจะนำไปใช้ได้เมื่อมีการปรับปรุงแล้วตามผลการวิจัย โดยระบุว่าจะมีการปรับปรุงอย่างไร

เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

๑.ใบรับรองการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยระบุอย่างชัดเจนว่านำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างไร

๒.การนำผลการวิจัยไปอ้างอิงในงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์เรื่องใหม่ให้รอปรึกษาเรื่องเอกสารหลักฐานจากผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.)

ระเบียบวาระที่ ๓ สรุปประเด็นความรู้ที่ได้

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ที่ใช้หมายถึง การนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการ/โครงการวิจัย และรายงานการวิจัยอย่างถูกต้อง สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนถึงการนำไปใช้ จนก่อให้เกิดประโยชน์ได้จริงตามวัตถุประสงค์ และได้การรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประเภทของการนำวิจัยไปใช้ประโยชน์

แบ่งออกเป็นด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย หมายถึง การนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบายเป็นการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยเชิงนโยบายใน การนำไปใช้ประกอบเป็นข้อมูลการประกาศใช้กฎหมาย หรือกำหนดมาตรการ กฎเกณฑ์ต่างๆ โดยองค์กร หรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
๒. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพณิชย์หมายถึง การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพณิชย์ คือ งานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ หรือนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นต้น
๓.การนำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการหมายถึง???? เป็นการนำผลงานการวิจัย นำไปใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนการสอน หรือสื่อการเรียนรู้ต่างๆ
๔.การนำไปใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะหมายถึง ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณชนในเรื่องต่างๆทีทำให้ คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประชาชนดีขึ้น ได้แก่การใช้ประโยชน์ด้านสาธารณสุข ด้านการบริหารจัดการสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยภาคประชาชน ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ด้านวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
๕.การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่หมายถึง เป็นการนำผลงานการวิจัย ไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เจาะจงพื้นที่นั้นๆ

๖. ด้านการปฏิบัติการพยาบาล

๗. ด้านการศึกษาพยาบาล

๘. ด้านการวิจัย

ระเบียบวาระที่ ๔ สรุปแนวทางปฏิบัติ

ปิดประชุม ๑๔.๓๐ น.

????????????????.

(นายภราดร???????????????? ล้อธรรมมา)

ผู้บันทึกการประชุม

????????????????.

(นางศศิธร ชิดนายี)

ผู้ตรวจการประชุม

แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning

สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการองค์ความรู้

ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ? Active learning

?

???????? ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพมีการจัดการเรียนการสอนแบบโดยการใช้กระบวนการActive Learning ในลักษณะหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการออกแบบการเรียนการสอนแต่ละรายวิชาและแต่ละหัวข้อที่สอนในรายวิชานั้น ในปีการศึกษา ๒๕๕๖ ได้มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ในรายวิชาดังต่อไปนีh

๑. วิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล ยกตัวอย่างเช่น

????????? – บทที่ ๙ หลักการและเทคนิคการพยาบาล จัดทำการเคลื่อนไหวและฟื้นฟูร่างกาย กิจกรรมที่ใช้คือ การใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw)

????????? – บทที่ ๑๓ หลักการเทคนิคการดูแลผู้ป่วยเมื่อเสียชีวิต โดยการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ(Analysis or reactions to video)

๒. วิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล

????????? โดยจัดให้มีโครงการเตรียมความพร้อมแก่นักศึกษาก่อนการฝึกภาคปฏิบัติเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร การเตรียมความพร้อมและมีการบูรณาการกับการบริการวิชาการ กาพยาบาลขั้นพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ภายใต้โครงการ ?สุขอนามัยดี ชื่นชีวีผู้สูงวัย? โดยมีเป้าหมายในกลุ่มบุคคลทุกช่วงวัย คือ วัยเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ร่วมกับการทำวิจัย เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้ม ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

????????? สรุป: การเรียนรู้แบบ Active learning มีใช้ในวิชาหลักการฯ สรุปได้ ดังนี้

?????????????????? V = ให้นักศึกษาดูวิดีโอ

?????????????????? A = การฟังบรรยาย, การฟังเรื่องเล่าจากผู้อื่น, การพูดคุย, การฟังกลุ่มอภิปราย

?????????????????? R = การมอบหมายให้นักศึกษาอ่านก่อนการเข้าชั้นเรียน, การอ่านหนังสือนอกเวลา(พยาบาลไร้หมวก)

?????????????????? K = นักศึกษาทำกิจกรรม ฝึกหัดและลงมือปฏิบัติ ได้แก่ การทำกิจกรรมจิ๊กซอร์(Jigsaw), การแสดงบทบาทสมมติ(Role play), เขียนแผนผังความคิด(Mind mapping)

?การออกแบบการเรียนการสอนแบบ Active learning ดังนี้

๑. การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนด จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนและนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น การให้นักศึกษาแสดงความรู้สึกของตนเองก่อนฝึกภาคปฏิบัติและความต้องการหรือความคาดหวังที่ตนเองต้องการ

????????? ทฤษฎี : การพยาบาลขั้นพื้นฐาน

????????? กิจกรรมโครงการ : โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม การแสดงความรู้สึก การนำเสนอ ชื่อ ?สร้างฐานเปิดจิต คิดแบบเปิดใจ?

????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาเขียนความรู้สึกเมื่อต้องให้การพยาบาลผู้ป่วยครั้งแรก

????????? ๒. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดกลุ่มๆ ละ ๖-๗ คน

????????? ทฤษฎี : การพยาบาลในประเทศและต่างประเทศ

????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มร่วมกันทำงานเกี่ยวกับการพยาบาลในแต่ละยุค และนำเสนอ ในรูปแบบการแสดงบทบาทสมมติ

????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม โดยให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมติ (Role play)

????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและร่วมกันคิด ตัดสินใจในการบริการด้วยหัวใจ

????????? ๓. การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to video) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ แล้วให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นหรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือการร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม

????????? ทฤษฎี : การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาดูวีดีโอเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเมื่อเสียชีวิตและเขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวีดีโอ

????????? ทดลอง: การแสดงความรู้สึกของนักศึกษาแต่ละบุคคล ภายหลังจากได้ดูวีดีโอ

????????? ปฏิบัติ: การให้นักศึกษาดูวีดีโอเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยและให้แสดงความรู้สึก สิ่งที่ได้รับจากการดูวีดีโอ

???????? ๔. การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนที่ให้ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด

????????? ทฤษฎี : ๑๑ แบบแผนของกอร์ดอน

????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับ ๑๑ แบบแผนของกอร์ดอน

????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม เขียนรายงานกรณีศึกษา โดยใช้ ๑๑ แบบแผนของกอร์ดอน

????????? ปฏิบัติ: การให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและให้นำเสนอข้อมูลผู้ป่วยกรณีศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพยาบาลและนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย

????????? ๕. การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียน

????????? ทฤษฎี : การฝึกภาคปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน

????????? กิจกรรมโครงการ : กิจกรรมการบันทึกเหตุการณ์ประจำวันเกี่ยวกับการฝึกภาคปฏิบัติ

????????? ทดลอง: กิจกรรมรายบุคคล การบันทึกเหตุการณ์ประจำวันที่พบเห็น

????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการขึ้นฝึกปฏิบัติวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล

????????? ๖. การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด(Concept mapping) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิดเพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันชองกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่มแล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ

????????? ทฤษฎี : การดูแลแบบองค์รวม

????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาแต่ละคนเขียนสิ่งที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ พยาบาลไร้หมวก

????????? ทดลอง: กิจกรรมรายบุคคล เขียนตามความรู้สึกเกี่ยวกับการดูแลแบบองค์รวม จากการอ่านหนังสือพยาบาลไร้หมวก บน 1 หน้ากระดาษ A4

????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาเขียนสิ่งที่ได้รับภายใต้หัวข้อการเรียนการสอนเรื่อง การดูแลแบบองค์รวม จากหนังสือ พยาบาลไร้หมวก

????????? ๗. การใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยผู้สอนแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสม สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม เรียกว่า Home Group จะแยกกันไปศึกษาหัวข้อที่ผู้สอนจะมอบหมายให้ร่วมกับสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ เรียกว่า Expert Group จากนั้นสมาชิกทุกคนของกลุ่ม จะกลับไปกลุ่มของตน (Home Group) และเล่าความรู้ที่ตนเองได้ศึกษาให้เพื่อนในกลุ่มฟัง จากนั้นผู้สอนอาจจะให้ตัวแทนของกลุ่มสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนเข้าด้วยกัน

????????? ทฤษฎี : เทคนิคการจัดท่า การเคลื่อนไหวและการฟื้นฟูร่างกาย โดยการจับฉลากให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ ๑ เรื่อง

????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มอื่นๆ เพื่อนำความรู้ที่ได้รับแต่ละบุคคลไปเล่าสู่กันฟัง

????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มอื่น แล้วนำไปสรุปความรู้

????????? ปฏิบัติ: การให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเพื่อแยกกันไปศึกษาข้อมูลจากกลุ่มอื่น แล้วนำกลับไปเล่าในกลุ่ม จากนั้นนำเสนอภาพรวมเนื้อหาของสมาชิกกลุ่ม

????????? ๘. การแสดงบทบาทสมมุติ (Role playing) เป็นวิธีการหนึ่งที่มีเป้าประสงค์ให้ผู้เรียนรู้ชัดว่า บุคคลที่อยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ นั้นเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร โดยผู้เรียน สวมบทบาทเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในสถานการณ์นั้น และสิ่งที่สำคัญที่จะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เจตคติ คือ การอภิปรายหลังการแสดง และการให้ความอิสระแก่นักศึกษาในการสร้างสรรค์และกำกับการแสดงบทบาทสมมุตินั้นๆ

????????? ทฤษฎี : ประวัติการพยาบาล

????????? กิจกรรมโครงการ : การแสดงบทบาทสมมติภายใต้ ๖ หัวข้อ ได้แก่ การพยาบาลในยุคมืด การพยาบาลยุคกลาง การพยาบาลยุคเรเนสซองค์ การพยาบาลสมัยสุโขทัย การพยาบาลสมัยอยุธยา และการพยาบาลสมัยรัตนโกสินทร์

????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มนักศึกษาให้จับฉลากหัวข้อที่ได้รับแล้วไปศึกษา เพื่อนำเสนอในรูปแบบของการแสดงบทบาทสมมติ

????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น ๖ กลุ่ม ตามหัวข้อที่ได้รับ และเตรียมความพร้อมด้านเนื้อหาในการนำเสนอในรูปแบบของการแสดงบทบาทสมมติ

???????????? สำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพดังที่กล่าวมาพบว่า ในแต่ละรายวิชามีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย และมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ จึงสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยมีขั้นตอนการดำเนินการเป็น ๓ ระยะ ดังนี้

๑. ขั้นเตรียมการ

???? ๑.๑ ทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียน

???????? – ผู้สอนเปิดประเด็นการสอนในชั้นเรียน ด้วยการสอบถามนักศึกษาเกี่ยวกับรายวิชาที่นักศึกษาได้ศึกษามาแล้ว โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์ว่าวิชาหรือความรู้ใดมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน

??????? – นักศึกษาวิเคราะห์ความรู้เดิมที่ตนเองได้รับ

???? ๑.๒ เชื่อมโยงประสบการณ์เดิม

?????? – ผู้สอนนำสิ่งที่นักศึกษาตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ของตนเองที่ได้รับมาเชื่อมโยงและเข้าสู่ประเด็นการสอน

??? ๑.๓ เลือกใช้สื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้

????? – เตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมายและเป็นระบบ เช่น ใบงาน สถานการณ์การเรียนรู้ ข้อคำถาม รูปภาพ เสียง วีดีทัศน์ หรือตัวผู้เรียนเอง โดยมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ สื่อที่ใช้ประกอบ ควรมีเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ ของผู้เรียน

???? ๑.๔ เร่งเร้าประสาทความรู้สึกต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การเกิดความรู้สึกนึกคิด (feeling) หรือความ

ตื่นตัวของผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่เนื้อหาความรู้ เช่น ข้อคำถามสะท้อนคิด รูปภาพ สถานการณ์ที่เกิดจริง เสียง วีดีทัศน์ เกม เป็นต้น

๒. ขั้นสอน แบ่งออกเป็น ๒ ขั้นตอน ได้แก่

???? ๒.๑ ขั้นนำ โดยเริ่มต้นด้วยเทคนิคหรือวิธีการต่างๆ เช่น รูปภาพ สถานการณ์ที่เกิดจริง เสียง วีดีทัศน์ เกม ข้อคำถามสะท้อนคิด เพื่อกระตุ้นหรือเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ อันจะนำไปสู่การเกิดความรู้สึกนึกคิด (feeling) หรือความตื่นตัวของผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่เนื้อหาความรู้ที่เรียน

??? ๒.๒ ขั้นสอนเนื้อหา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning เพื่อให้เกิด

???????? ๒.๒.๑ กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ เกิดการเรียนรู้โดยวิธีการต่างๆ ได้แก่ ใช้ VARK learning style เป็นต้น

???????? ๒.๒.๒ เน้นการมีส่วนร่วมหรือใช้คำถามกระตุ้นแก่ผู้เรียน

???????? ๒.๒.๓ สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟังหรือเขียนอย่างลุ่มลึก เพื่อทำให้ผู้เรียนจัดระบบความรู้

ด้วยตนเอง

????????? ๒.๒.๔ เน้นทักษะการคิดขั้นสูงแก่ผู้เรียน โดยใช้เทคนิค ดังนี้

??????????????? – Reflective thinking (การสะท้อนคิด) หมายถึงการพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างรอบคอบโดยใช้สติและมีสมาธิ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้บุคคลได้ทบทวนและสะท้อนการกระทำของตน (Reflective Practice) ช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ นำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงตนเอง ปรับปรุงงาน และการแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

???????????? – Systemic thinking (การคิดอย่างเป็นระบบ) หมายถึง การคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มองภาพรวมที่เป็นระบบ? และมีส่วนประกอบย่อยๆ? โดยอาศัยการคิดใด รูปแบบโดยตรง? และโดยทางอ้อม

???????????? – Critical thinking (การคิดอย่างมีวิจารณญาณ) หมายถึง การพิจารณา ประเมินและตัดสินสิ่งต่างๆหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น ที่มีข้อสงสัยหรือ ข้อโต้แย้ง โดย การพยายามแสวงหาคำตอบที่มีความสมเหตุสมผล โดยการคิดวิพากษ์นั้นจะเกิดขึ้น เมื่อมีการเผชิญสถานการณ์แปลกๆ ที่ไม่คาดหวัง การพบปัญหาที่ยากๆ เกิดความสงสัยหรือเกิดข้อโต้แย้ง ในเหตุผลหรือข้ออ้างนั้น การที่ต้องการตรวจสอบ และสืบค้นความจริง

???????? ๒.๒.๕ ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ โดยผู้สอนจะต้องลดบทบาทในการให้ความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลงอย่างเหมาะสม

๓. ขั้นสรุป

????????? ๓.๑ ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสรุปแนวคิดหรือประเด็นที่ได้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้

????????? ๓.๒ ผู้สอนประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา อาจแบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ การประเมินผลย่อย (formative assessment) หรือประเมินผลรวมเพื่อตัดสินผล (summative assessment) แต่ต้องมีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนภายในห้องเรียน เช่น การแสดงจากสีหน้า ท่าทางของผู้เรียน เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนให้รู้เท่าทันบรรยากาศการเรียนรู้ที่ลดถอยลงหรือตื่นตัวของผู้เรียนได้

????????????????????????????????????คณาจารย์ประจำภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ

?????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ผู้ถอดบทเรียน

???????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ๑๒ พฤษภาคม?๒๕๕๗

หน้าก่อนหน้าหน้าต่อไป
Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro