การรวบรวมความรู้ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning
สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้
ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning
(ปรับปรุง ครั้งที่ ๒)
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิบัติกิจกรรมหรือกระทำใดๆ ด้วยตนเอง อย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ เช่น ได้คิด ได้ทำ ได้ค้นคว้า ได้แก้ปัญหา ได้สร้างสรรค์อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลง
ขั้นตอนการดำเนินการ
๑. ขั้นเตรียมการ เป็นขั้นตอนการวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุซึ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning outcome) ของรายวิชา ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สอน ????????????????????โดยประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา มีดังนี้
๑.๑ ทำความเข้าใจผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการหลังเสร็จสิ้นการสอน
๑.๒ ศึกษาและเลือกรูปแบบหรือเทคนิควิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหา/สาระความรู้ และกระตุ้นให้ผู้เรียนมีกระตือรือร้นหรือใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา โดยทำความเข้าใจในรูปแบบหรือเทคนิควิธีการที่เลือกอย่างกระจ่างชัด
๑.๓ เตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ เช่น ใบงาน สถานการณ์การเรียนรู้ ข้อคำถาม รูปภาพ เสียง วีดีทัศน์ เป็นต้น โดยจุดเน้นที่สำคัญของสื่อนั้นๆ ควรเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ ของผู้เรียน
๑.๔ วางแผน จัดลำดับ และแบ่งช่วงกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ ??????????????????ซึ่งหมายความรวมถึงรูปแบบการเรียนการสอนบางกรณีมีความจำเป็นต้องมอบหมายงานหรือความรับผิดชอบแก่ผู้เรียนก่อนที่จะมีการเรียนการสอนตามเวลาที่กำหนด ก็จำเป็นต้องหาเวลาพบผู้เรียนเพื่อกระทำการดังกล่าว พร้อมการชี้แจงและทำความเข้าใจกับผู้เรียนอย่างกระจ่างชัด
๑.๕ กรณีมีการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ควรพิจารณาอย่างเหมาะสม มีเป้าหมาย??????????? มีความลงตัว เช่น จำนวนกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มต้องมีจำนวนผู้เรียนเท่าๆ กันหรือไม่ จำเป็นต้องการกระจ่ายเด็กเก่งเด็กอ่อนหรือไม่ เป็นต้น
๒. ขั้นสอน เป็นขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ๒ ขั้นตอน ดังนี้
๒.๑ ขั้นนำสู่บทเรียน ควรเริ่มต้นด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่กระตุ้นหรือเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ อันจะนำไปสู่การเกิดความรู้สึกนึกคิด (feeling) หรือความตื่นตัวของผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่เนื้อหาความรู้ เช่น ข้อคำถามสะท้อนคิด รูปภาพ สถานการณ์ที่เกิดจริง เสียง วีดีทัศน์ เกม เป็นต้น
๒.๒ ขั้นสอนเนื้อหา ประเด็นที่สำคัญ คือ ผู้สอนจะต้องลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลงอย่างเหมาะสม องค์ประกอบที่ควรพิจารณา มีดังนี้
๒.๒.๑ รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning มีดังนี้
๑) การใช้กรณีศึกษา (Case Study) เป็นวิธีการหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักวิเคราะห์สถานการณ์แวดล้อมของกรณีศึกษาที่กำหนดขึ้น ซึ่งการใช้กรณีศึกษานี้ จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียน??????????????????????? ร่วมพิจารณา อภิปราย แสดงความรู้สึก เพื่อสรุปปัญหา แนวคิด และแนวทางแก้ปัญหา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหา และสภาพความเป็นจริงที่ลึกซึ้ง พัฒนาความคิดทักษะการแก้ปัญหา ?????????????การประยุกต์ใช้หรือเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่สถานการณ์
๒) การใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยผู้สอนแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสม (จำนวนกลุ่มและจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่ครูต้องการสอน) สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม เรียกว่า Home Group จะแยกกันไปศึกษาหัวข้อที่ผู้สอนจะมอบหมายให้ร่วมกับสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ เรียกว่า Expert Group จากนั้นสมาชิกทุกคนของกลุ่ม จะกลับไปกลุ่มของตน (Home Group) และเล่าความรู้ที่ตนเองได้ศึกษาให้เพื่อนในกลุ่มฟัง จากนั้นผู้สอนอาจจะให้ตัวแทนของกลุ่มสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนเข้าด้วยกัน
๓) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) เป็นวิธีการหนึ่ง?????????????????????????? ที่มีเป้าประสงค์ให้ผู้เรียนรู้ชัดว่า บุคคลที่อยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ นั้นเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร โดยผู้เรียน?????????? สวมบทบาทเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในสถานการณ์นั้น และสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เจตคติ ??????????คือ การอภิปรายหลังการแสดง และการให้ความอิสระแก่นักศึกษาในการสร้างสรรค์และกำกับการแสดงบทบาทสมมุตินั้นๆ
๔) การเรียนรู?เป็นทีม (Team-based learning [TBL]) เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นการร่วมมือกันในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ การทำงานด้วยกันเป็นทีมเล็กตามความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน สมาชิกภายในทีมมีหน้าที่รับผิดชอบและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน โดยกระบวนการเรียนรู้แบบทีม แบ่งเป็น ๓ ระยะ คือ
ระยะที่ ๑ ก่อนเข้าชั้นเรียน เป็นการมอบหมายงานให้ผู้เรียนอ่านหนังสือก่อนเข้าห้องเรียนประมาณ ๑ สัปดาห์ ตามที่อาจารย์ผู้สอนกำหนดหัวข้อและ scope เนื้อหาที่ชัดเจน
ระยะที่ ๒ ในชั้นเรียน เป็นการประยุกต์เนื้อหาที่อ่านมาในห้องเรียน โดยแบ่งเป็น ๓ ช่วง ช่วงแรก คือ การทำแบบทดสอบรายบุคคล ช่วงที่ ๒ เมื่อผู้เรียนทำ Test เสร็จแล้วให้เข้ากลุ่ม โดยผู้สอนจะแจกข้อสอบชุดเดิม และให้ผู้เรียนในกลุ่มช่วยกันหาคำตอบและตอบคำถามที่เป็นความคิดเห็นรวมของทีม โดยที่ผู้เรียนสามารถทราบคำตอบแบบทันที
ระยะที่ ๓ หลังจากได้ทำแบบฝึกหัดแบบกลุ่มแล้ว ผู้เรียนจะได้ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ Case ผู้ป่วย โดยให้ผู้เรียนร่วมกันทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเน้นให้ใช้ความรู้จากการอภิปรายและหนังสือเพื่อแก้ปัญหา หลังจากนั้นกลุ่มจะอภิปรายคำตอบและเหตุผล โดยผู้สอนจะทำกระบวนการกลุ่มการอภิปรายร่วมกันในห้องเรียน หลังสิ้นสุดการเรียนการสอนแบบ TBL ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาในหัวข้อที่กำหนด สามารถใช้แนวคิดของการเรียนในการแก้ปัญหาและการคิด และพัฒนาทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กลุ่มและทักษะระหว่างบุคคล
๕) การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning) เป็นการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนทำงานกันเป็นกลุ่มๆ ละ ๔-๖ คน คละความสามารถ และเพศ สมาชิกแต่ละคนรับผิดชอบในการเรียนรู้จากเอกสารหรืองานที่ผู้สอนมอบหมาย และช่วยเหลือสมาชิกอื่นๆ ให้เรียนรู้ไปด้วยกัน ทุกคนมีความรับผิดชอบงานของตนเองและงานส่วนรวมร่วมกัน วิธีการแบบนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ทุกบทเรียน ทุกวัตถุประสงค์ใช้ในการสอนตั้งแต่ทักษะพื้นฐานจนถึงการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและบูรณาการกับเทคนิควิธีการสอนแบบต่างๆ ที่เหมาะสม
๖) การเรียนรู้แบบการวิเคราะห์กรณีศึกษา (Case study analysis)???????????????? เป็นการจัดการเรียนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษารายงานกรณีศึกษา โดยการอ่านและวิเคราะห์กรณีศึกษา?????????? ให้ละเอียด ขีดเส้นใต้ข้อความที่เห็นว่ามีความสำคัญ จากนั้นให้ผู้เรียนนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น??????????????????? เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาภายในกลุ่ม สรุปผลการวิเคราะห์ และนำเสนอต่อกลุ่มใหญ่
๗) การเรียนรู้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning: PBL) เป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ปัญหา??????????????????????????? เป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนมีการตัดสินใจที่ดี มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถเรียนรู้การทำงานเป็นทีม ใฝ่รู้ และมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยประเด็นหนึ่งที่สำคัญจะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้แบบ PBL คือ Scenario หรือ Trigger ซึ่งควรมีการพัฒนาและตรวจอย่างมีประสิทธิภาพก่อนนำไปใช้จริง
๒.๒.๒ เทคนิคหรือวิธีการกระตุ้นผู้เรียนให้มีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน??????????? อย่างต่อเนื่อง มีดังนี้
๑) การใช้เกม (Games) เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสนุก ตื่นเต้น มีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะแก้ปัญหา สื่อสาร การฟัง ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ผู้สอนสามารถใช้เกมในการเสริมแรง ทบทวน สอนข้อเท็จจริง ทักษะ และมโนทัศน์ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนสนใจบทเรียน อีกทั้งยังใช้เป็นการประเมินผลการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการได้ด้วย ตัวอย่างเกม เช่น การจับคู่ การทายคำ ปริศนาอักษรไขว้ ใบ้คำ เป็นต้น
๒) การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) เป็นกลวิธีที่จัดให้มีขึ้น???????????????? ด้วยเจตนาร่วมกันที่จะพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยนำข้อปัญหา และแง่คิดต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นมากล่าวให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็น หรือช่วยขบคิดเกี่ยวกับข้อปัญหานั้น เพื่อหาข้อสรุป ทุกคนมีส่วนร่วมในการพูด ออกความเห็นอย่างเท่าเทียมกัน
๓) การตั้งคำถามหรือใช้คำถามกระตุ้น
(๑) การใช้ ๕ คำถามของนักปราชญ์ ได้แก่ ๑) หมายความว่าอย่างไร ๒) อะไร ๓) ทำไม ๔) อย่างไร และ ๕) สรุปหรืออธิบายเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่ เพื่อกระตุ้นและสร้างให้ผู้เรียนรู้จักคิด และช่างสงสัย คิดหาคำตอบ และอธิบาย
(๒) การใช้คำถามตามวิธีการของโสเครติส (Socratic Method) เป็นการสนทนาที่มีการใช้คำถามนำเป็นชุดแบบต่อเนื่องเป็นเครื่องสำคัญเพื่อเข้าถึงความรู้หรือความจริงที่มีอยู่ ซึ่งคำถามที่ใช้ต้องเป็นสิ่งที่ผู้เรียนมีประสบการณ์มาแล้ว
๔) การสร้างแผนผังความคิด หรือผังมโนทัศน์ (Concept mapping) เป็นการกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนสร้างแผนผังความคิดหรือผังมโนทัศน์ขึ้น เพื่อนำเสนอหรือสื่อความหมาย ความเข้าใจ หรือความคิดรวบยอดอย่างเชื่อมโยง โดยใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบของแผนภูมิใยแมงมุม (Spider chart) แผนภูมิองค์กร (Organization chart) หรือแผนผังสาย (flow diagram) ทั้งนี้รูปแบบของ Concept Mapping ที่มีประโยชน์มาก สำหรับการเรียนการสอนมักจะเป็นรูปแบบที่เรียงลำดับตามความสำคัญ (Hierarchical organization) ที่วางความคิดรวบยอดทั่วไป และกว้างๆ กว่าอันอื่น ไว้ด้านบน แล้วจึงค่อยวางความคิดรวบยอดที่มีความชัดเจนและชี้เฉพาะมากขึ้น เป็นลำดับลงมาที่ด้านล่าง
๕) เพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) คือ การจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนด โดยเริ่มต้นให้คิดคนเดียว ๒-๓ นาที (Think) จากนั้นให้นำความคิดไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนอีกคน ๓-๕ นาที (Pair) และสุดท้ายจึงนำเสนอความคิดเห็นนั้นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)
๖) การโต้วาที (student debates) คือ การจัดกิจกรรมโดยแบ่งผู้เรียนเป็น ๒ ฝ่าย และให้ผู้เรียนแต่ละฝ่ายได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่มว่าถูกต้องเหมาะสมที่สุด โน้มน้าวชักจูงใจให้ผู้ฟังเกิดการยอมรับ และในขณะเดียวกันก็ต้องคอยโต้แย้งหักล้างเหตุผลและการนำเสนอของอีกฝ่ายไปพร้อมกัน
๗) การใช้สื่อวีดีทัศน์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาความรู้ และมีความรุกเร้าประสาทสัมผัสการรับรู้ต่างๆ ของผู้เรียน
๘) การสร้างเงื่อนไขให้มีผลกระทบต่อผู้เรียน ทั้งด้านบวกและลบ เช่น ???????????การแบ่งกลุ่มแข่งขันตอบปัญหาชิงรางวัล หรือให้คะแนนสะสม ถือว่าเป็นกลอุบายให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกระทำด้วยตัวเอง
๓. ขั้นประเมินผล นอกจากการประเมินผลย่อย (formative assessment) ซึ่งเป็นการประเมินผลระหว่างเรียนตลอดเวลา และเป็นฐานของการประเมินที่นำไปสู่การประเมินผลรวมเพื่อตัดสินผล (summative assessment) แล้ว ประเด็นที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม คือ การประเมินบรรยากาศการเรียนรู้ของผู้เรียนภายในห้องเรียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนให้รู้เท่าทันบรรยากาศการเรียนรู้ที่ลดถอยลงหรือตื่นตัว โดยใช้วิธีสำรวจหรือตรวจจับ ด้วยสายตาและความรู้สึก (Scan) กรณีพบว่า บรรยายการเรียนรู้เริ่มเฉื่อยชา อาจพิจารณากระตุ้นหรือขั้นเวลาการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ ด้วยกิจกรรมสันทนาการ เช่น เกม เพลงประกอบจังหวะ เป็นต้น
คณาจารย์ประจำภาควิชา
การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
ผู้ถอดบทเรียน
๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
การจัดการเรียนการสอนแบบ active learning มีผลดีต่อนักศึกษาที่ทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียน ซึ่งที่ผ่านมาได้นำวิธีการอภิปรายกลุ่มไปใช้ในการสอนรายวิชาการวิจัยทางการพยาบาล โดยแบ่งกลุ่มและให้นักศึกษาศึกษารายงานวิจัย และร่วมกันอภิปรายตามใบงานที่กำหนด ทำให้นักศึกษามีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกัน ทำให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น
การจัดการเรียนแบบ Active learning เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการเรียนการสอนทางพยาบาลศาสตร์ ทำให้นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์และมีความกระตือรือร้นและตั้งใจในการเรียนมากขึ้น ได้นำวิธีการสอนโดยการใช้ ๕ คำถามของนักปราชญ์ ได้แก่ ๑) หมายความว่าอย่างไร ๒) อะไร ๓) ทำไม ๔) อย่างไร และ ๕) สรุปหรืออธิบายเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่ เพื่อกระตุ้นและสร้างให้ผู้เรียนรู้จักคิด และช่างสงสัย คิดหาคำตอบ และอธิบาย ทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ดี เข้าใจและสามารถคิดหาเหตุผลและคิดวิเคราะห์ได้ดี
การสอนแบบ active learning ผู้สอนควรตั้งคำถาม ที่เป็น power question และกระตุ้นคิด เมื่อนักศึกษาแสดงความคิดเห็นผู้สอนควรฝึกทักษะในการช้อนประเด็นและชูให้นักศึกษารวมความสนใจมาในประเด็นที่ focus และสรุปถอดบทเรียนอาจใช้ mind map เป็นเครื่องมือ จะช่วยให้นักศึกษา ตกผลึกความคิด และสรุปเป็น concept เพื่อนำไปใช้ได้ นอกจากนี้ก่อนจัดการสอน แบบ active ควรเตรียมนักศึกษาถึงวิธีการเรียนรู้แบบ active โดยอาจเตรียมในช่วงการปฐมนิเทศ หรือ เตรียมก่อนเลื่อชั้นปีเพื่อให้นักศึกษามีเครื่องมือที่จะใช้ในการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แบบ active ควรวางแผนประเมินที่หลากหลายวิธี และหลากหลายระยะ เนื่องจากจะมีกระบวนการกลุ่มเข้ามามีบทบาทด้วย ควรวางแผนให้หลากหลาย และรอบคอบ
จากการศึกษาดูงานที่ McMaster University พบว้า PBL เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนที่ส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนได้ตั้งแต่การสื่อสารกับบุคคลอื่นๆเช่น ผู้ป่วยและญาติ บุคลากรในสายวิชาชีพ ความรู้ด้านวิชาชีพ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทั้งนี้สิ่งสำคัญคือ การที่ต้องเปลี่ยนแนวคิดของผู้สอนให้มีความเชื่อว่าการสอนที่เน้นเฉพาะเนื้อหานั้นผ฿้เรียนรับได้ไม่หมด และไม่สามารถนำไปใช้ได้ ควรจัดให้ผู้เรียนเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ การคิดเป็นสิ่งสำคัญมากกว่า
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ถือเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้นักศึกษาอาจให้ความสนใจมากขึ้นกว่าการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมที่เน้นการบรรยายโดยผู้สอนอย่างเดียว ซึ่งบางครั้งอาจารย์ผู้สอนบางท่านอาจมีรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active learning อยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้เข้าถึงความหมายและรูปแบบที่แท้จริง ดังนั้นจึงควรมีการวางแผนในการจัดการเรียนการสอนของแต่ละรายวิชาอื่นให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันของวิทยาลัย เพื่อให้เกิดนโยบายด้านการจัดการเรียนการสอนที่จะเป็นทิศทางเดียวกันขององค์กรต่อไป
การเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นการเรียนการสอนที่เน้นความมีส่วนร่วมและบทบาทในการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าการบรรยายและผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนอกห้องเรียน ดังนั้นผู้สอนควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อช่วยพัฒนาการเรียนการสอนและให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนแบบ active learning มีรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย และมีเทคนิคหรือวิธีการกระตุ้นผู้เรียนให้มีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง อาจารย์ผู้สอนสามารถนำรูปแบบมาใช้ในรายวิชาที่รับผิดชอบดำเนินตามขั้นตอน ตั้งแต่ ขั้นเตรียมการ ขั้นสอน และขั้นประเมินผล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา ทำให้นักศึกษามีความสนใจในการเรียนมากขึ้นจากการเรียนในรูปแบบของการบรรยายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning มีหลายเทคนิคที่ให้ผู้สอนได้เลือกใช้ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงลักษณะของรายวิชา ความสัมพันธ์ของเนื้อหา และขนาดของกลุ่มผู้เรียน เพื่อการเรียนการสอนนั้นๆเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
Active learning เป็นกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ หรือ การลงมือทำซึ่ง ? ความรู้ ?ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้โดยการอ่าน, การเขียน, การโต้ตอบ, และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์, การสังเคราะห์, และการประเมินค่า ดังนั้นผู้สอนควรมีการวางแผนเกี่ยวกับเวลาในจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของเนื้อหา และกิจกรรม
การจัดการเรียนแบบ active learning เป็นวิธีการที่ดี ทำให้ผู้เรียนได้เกิดการคิดวิเคราะห์ ภายใตัการเตรียมความพร้อมของผู้สอนซึ่งจะต้องวางแผนกระบวนต่างๆให้ดี โดยใช้วิธีการสอนในหลากหลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่นำมาใช้ในการสอนคือการอภิปรายกลุ่มในการสอนภาคปฏิบัติซึ่งคิดว่ามีความเหมาะสม กลุ่มผู้เรียนไม่มากเกินไป 7-8 คน ทำให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนอย่างเต็มที่ ทั่วถึงกันต่อประเด็นที่เรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ต่อได้ หากแต่ถ้ากลุ่มผู้เรียนมีจำนวนมากเกินไป ผู้สอนต้องหาวิธีการที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนให้ทั่วถึงซึ่งก็ถือว่าท้าทายผู้สอน ผู้สอนก็ต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลาทั้งศาสตร์และศิลปะในการสอน
การประเมินผลที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนแบบactive learningนั้นควรเป็นแบบการประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียนของผู้เรียน (formative assessment)ไม่ควรเป็นการประเมินผลสุดท้ายอย่างเดียว และควรประเมินผลโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เพราะจะทำให้ผู้สอนได้ติดตามและรู้กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนและช่วยเหลือได้ทันเมื่อเกิดปัญหา และให้โอกาสผู้เรียนได้มีการพัฒนาตนเองด้วย
จากประสบการณ์การใช้การสอน Active learning โดยใช้วิธี เพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) โดยจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนด โดยเริ่มต้นให้คิดคนเดียว ๒-๓ นาที (Think) จากนั้นให้นำความคิดไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนอีกคน ๓-๕ นาที (Pair) และสุดท้ายจึงนำเสนอความคิดเห็นนั้นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)ซึ่งกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจและกระตือร้อร้นในการเรียนมากขึ้น และสามารถพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักศึกษาได้ดี
การใข้แผนผังความคิดหรือผังมโนทัศน์ (Concept mapping) ในการจัดการเรียนการสอน เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียน นำเสนอความรู้ที่ได้เรียนในแต่ละชั่วโมง ออกมา ซึ่งก่อนจะเขียนแผนผังความคิด ผู้เรียนจะต้องสรุปเนื้อหาสที่เรียนและวางแผนการเชื่อมโยงเนื้อหาแล้วจังสกัดออกมาเป็นหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย แล้วเชื่อมโยงออกมา สร้างแผนผังความคิดหรือผังมโนทัศน์ขึ้น จะช่วยพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ การคิดวิเคราะห์ และการสรุปเนื้อหาสำคัญ
สิ่งสำคัญเมื่อจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning แล้วควรประเมินผลตามสภาพจริง เมื่อจัดกิจกรรมต่างๆแล้ว ควรมีการประเมินผลย่อย (formative assessment) ซึ่งเป็นการประเมินผลระหว่างเรียนตลอดเวลา และและควรนำไปสู่การประเมินผลรวมเพื่อตัดสินผล (summative assessment)ให้ผู้เรียนด้วย
ที่ใช้บ่อยคือการให้วิเคราะห์กรณีศึกษาซึ่งสามารถกระตุ้นผู้เรียนได้ดีและทั่วถึงในการร่วมแสดงความคิดเห็นและผู้สอนยังประเมินผู้เรียนได้เป็นรายบุคคล
ที่สำคัญสามารถใช้ได้กับทุกหัวข้อการสอนและจำนวนผู้เรียนที่ไม่มีข้อจำกัด
การจัดการเรียนการสอนที่จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเรียน ประสบการณ์หนึ่งที่ควรกระทำ คือ การสร้างสถานการณ์หรือจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนมีอารมณ์ร่วม (feeling) ซึ่งการกระทำดังกล่าว จะช่วยนำพาผู้เรียนได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์การเรียนรู้นั้นๆ เกิดอารมรณ์และความรู้สึกต่อสถานการณ์ จากนั้นจะก่อเกิดการคิดแตกหน่อต่อยอดที่จะปรับปรุงและพัฒนาการกระทำเพื่อพัฒนาสถานการณ์นั้นๆ ให้ดียิ่งขึ้น และสิ่งที่ครู/ผู้สอนควรกระทำต่อมา คือ การให้ผู้เรียนนั้นได้ บอกเล่าและเขียนความรู้สึกหรือความคิดนั้นๆ พร้อมให้โอกาสให้ผู้เรียนได้ share กับคนอื่น เช่น เทคนิค 1-2-4-all, think-pair-share เป็นต้น ซึ่งสิ่งดังกล่าวที่กล่าวมา อาจเรียกได้ว่า การเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด (reflection)
จากประสบการณ์สอนที่ให้นักศึกษาทำ Concept mapping พบว่า สามารถช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และอย่างเป็นระบบได้จริง อีกทั้งยังง่ายต่อการนำมาทบทวนซ้ำด้วย
จากประสบการณ์ที่เคยสังเกตการสอนแบบ TBL คิดว่าเป็นการสอนที่น่าสนใจมากวิธีหนึ่ง การสอนวิธีนี้ทำให้นักศึกษามีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าชั้นเรียน และกระตุ้นให้นักศึกษามีการตื่นตัวขณะเข้าเรียน
จากประสบการณ์ในการสอนรายวิชาภาคปฏิบัติBCPN และรายวิชาภาคปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพฯ ที่ให้นักศึกษาทำ Concept mapping พบว่า สามารถช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบได้เป็นอย่างดี และง่ายต่อการนำมาทบทวนซ้ำ และการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning นั้นจะมีหลากหลายเทคนิคที่ให้ผู้สอนได้เลือกใช้ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงลักษณะของรายวิชา ความสัมพันธ์ของเนื้อหา และขนาดของกลุ่มผู้เรียน เพื่อการเรียนการสอนนั้นๆเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
โทรศัพท์อัจฉริยะ (Smart Phone) เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยการสืบค้นข้อมูล การนัดหมายส่งงาน สิ่งสำคัญ App ต่างๆ สามารถนำมาประยุกต์กับการเรียนการสอนได้ด้วยเช่นกัน
จากประสบการณ์การสอนวิชาการพยาบาลครอบครัวชุมชน 1 เรื่องอนามัยโรงเรียน การจัดการเรียนรู้แบบ Active learning นั้นควรมีลักษระสำคัญดังนี้
1.Active Learning เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำหรือปฏิบัติด้วยตนเองด้วยความกระตือรือร้น
2.Construct เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ค้นพบสาระสำคัญหรือองค์การความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
3.Thinking เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิด ผู้เรียนได้ฝึกวิธีคิดในหลายลักษณะ
4.Happiness เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข
5.Participation เป็นกิจกรรมที่เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
การจัดการเรียนการสอนแบบ active learning นั้นสามารถกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ในทักษะด้านปัญญา learning how to learn รววมถึงทักษะการแก้ไขปัญหา
กลยุทธ์ที่ช่วยกระตุ้นการเรียนแบบ active learning คือการจัดกิจกรรมการเรียนที่เน้นการมีส่วมร่วมของผู้เรียนให้มากที่สุด ควรเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ และสนุก เช่น การโต้วาทีในประเด็นที่กำหนด การเขียน Reflective journal เพื่อสะท้อนความรู้สึก ความรู้ที่ได้รับ และการนำไปใช้ ในสถานการณ์ต่าง ๆ