การจัดการความรู้เรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในรายวิชาภาคปฏิบัติ?
การใช้แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learningของภาควิชาฯ จากผลการประชุม วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๗? แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learningของภาควิชาฯ มีดังนี้
๑)? จัดทำ มคอ. ในรายวิชาที่รับผิดชอบสอน กำหนดกิจกรรม การเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL
๒) จัดทำแผนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL
๓) ดำเนินการสอนตามแผนที่กำหนด
๔) ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน
๕) สรุปผลการจัดการเรียนการสอน
๖) นำผลการจัดการเรียนการสอนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
และได้มีการติดตามผลการนำ AL ไปใช้ในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย ในนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ ซึ่งจัดการเรียนการสอน ๓ มี.ค. ? ๒๓ พ.ค. ๕๗
ซึ่งมีวิธีการจัดการเรียนการสอนดังต่อไปนี้
๑.กำหนดกิจกรรมในการเรียนการสอน ใน มคอ.๔ วิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย
ดังนี้
กิจกรรมการเรียนการสอน | ผลการนำไปใช้ |
-????????? กรณีศึกษา(โดยอาจารย์มอบหมายนักศึกษา 2คน ต่อ กรณีศึกษา 1 case ) | -นักศึกษาได้เรียนรู้ การใช้กระบวนการพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพในวัยทำงาน
-นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากทฤษฎีไปใช้กับผู้รับบริการในสถานการณ์จริง |
-????????? การวิเคราะห์บทความ(โดยมอบหมายให้นักศึกษาไปค้นคว้าบทความวิชาการ/บทความวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับกรณีศึกษาของตนเอง) | -นักศึกษาได้ฝึกการค้นคว้าด้วยตนเองจากหลายแหล่ง
-นักศึกษาอ่านและสรุปสาระสำคัญและนำไปประยุกต์ใช้ |
-????????? บันทึกการเรียนรู้ | -นักศึกษาได้ใช้บันทึกการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสะท้อนการเรียนรู้ ในเรื่องการทำงานและความรู้สึกในการดูแลกรณีศึกษา |
-????????? การประชุมปรึกษาทางการพยาบาล | -นักศึกษาได้มีโอกาสแสดงความคิดในเชิงวิชาการ และแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม
- นักศึกษารู้จักเปิดใจรับฟังความคิดของผู้อื่น |
ปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning
๑.????? นักศึกษาไม่สามารถให้กิจกรรมพยาบาลกับกรณีศึกษา ตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากรณีศึกษายุติการเข้าร่วมกิจกรรมกะทันหัน
แนวทางแก้ไข
อ.อดุลย์ เสนอให้นักศึกษาชี้แจงทำความเข้าใจถึงขั้นตอนและกิจกรรมการให้บริการ ตลอดจนระยะเวลาการฝึกงานของนักศึกษา
อ.อัญชรี? เสนอให้เปลี่ยนกรณีศึกษาในกรณีศึกษาที่ไม่พร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรม
๒. นักศึกษาบางส่วนขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
แนวทางแก้ไข
อ.บุญฤทธิ์ เสนอให้หาสาเหตุของการขาดความกระตือรือร้นเป็นรายบุคคล เพื่อหาแนวทางแก้ไขให้เหมาะสมกับนักศึกษา
อ.วิมล เสนอหากต้องให้เสริมแรงทางบวกควรทำในกลุ่มใหญ่ หากต้องการตักเตือนควรเรียกมาเตือนเป็นรายบุคคล
อ.วิไลวรรณ เสนอให้ทำข้อตกลงในการเรียนการสอน
อ.นพรัตน์ มีการติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ
ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning
๑.????? ผู้สอนต้องมีความสามารถในการชี้แนะให้กำลังใจสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในเรื่องอ่านและวิเคราะห์บทความวิชาการ/วิจัย
๒.????? การมีอัตราส่วนผู้สอนและผู้เรียนเท่ากับ ๑:๗ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง
๓.????? ผู้สอนมีเทคนิคในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล เลือกใช้วิธีการเข้าถึงผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม
อ.ดร.ประภาพร เสนอ ควรมีการเตรียมชุมชนก่อนนักศึกษาลงฝึกปฏิบัติ
อ.อิทธิพล เสนอ อาจารย์ผู้สอนควรมีการประเมินผลการสอนร่วมกันระหว่างที่ดำเนินการสอน
อ.จิระภา เสนอ? ควรมีการเตรียมความพร้อมผู้เรียนเรื่อง วิธีการเรียนการสอนแบบ Active Learning
สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
๑.????? ผู้สอนต้องมีความสามารถในการชี้แนะให้กำลังใจสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในเรื่องอ่านและวิเคราะห์บทความวิชาการ/วิจัย
๒.????? การมีอัตราส่วนผู้สอนและผู้เรียนเท่ากับ ๑:๗ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง
๓.????? ผู้สอนมีเทคนิคในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล เลือกใช้วิธีการเข้าถึงผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม
๔.????? ควรมีการเตรียมชุมชนก่อนนักศึกษาลงฝึกปฏิบัติ
๕.????? อาจารย์ผู้สอนควรมีการประเมินผลการสอนร่วมกันระหว่างที่ดำเนินการสอน
๖.????? ควรมีการเตรียมความพร้อมผู้เรียนเรื่อง วิธีการเรียนการสอนแบบ Active Learning
การจัดการเรียนการสอนแบบ active learning เป็นการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นทำให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง นอกจากนี้ทำให้นักศึกษาเกิดแนวคิดในการบูรณาการความเดิมกับความรู้ใหม่ ทำให้นักศึกษามีการพัฒนาตนเอง
การจัดการเรียนการสอนแบบ active learning เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการร่วมมือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ในการนี้ ครูต้องลดบทบาทในการสอนและการให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงลง แต่ไปเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น และอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการพูด การเขียน การอภิปรายกับเพื่อนๆ ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งนักเรียน active learning และอาจารย์ผู้สอน active teaching
ในรายวิชาภาคปฏิบัติควรเน้นการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ให้กับนศ. เนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง นอกจากนี้ควรมีการประสานงานกันระหว่างทีมผู้สอนเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและการวัดประเมินการเรียนการสอนให้มีความเที่ยงตรงและเกิดความยุติธรรมต่อนศ.
Active learning เป็นการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง และอยากเรียนรู้มากขึ้นด้วยวิธีการที่ตนเองสนใจ ตามความแตกต่างของแต่ละคน
การเรียนการสอนแบบ Active Learning ดูเหมือนว่า ผู้สอนจะค่อนข้างสบาย (เพราะผู้เรียนต้องทำเองหมด) แต่ความจริงแล้วผู้สอนจะเหนื่อยในการเตรียมตัวค่อนข้างมากเพราะผู้สอนจะต้องเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมของผู้เรียน อาจจัดแบ่งเป็นหลากหลายมุมเรียนรู้และช่วยให้ผู้เรียนได้ความรู้จากสิ่งที่ผู้เรียนปฏิบัติ โดยการกระตุ้นให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการหาคำตอบช่วยให้ผู้เรียนคิดและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ผู้สอนเป็นผู้ให้คำปรึกษามากกว่าผู้ให้คำตอบ อีกปัจจัยสำคัญก็คือบรรยากาศในการเรียนรู้
อาจารย์และทีมผู้สอนต้องเข้าใจการเรียนการสอนแบบ active learning อย่าง
ถ่องแท้เพราะ active learning ดูเหมือนผู้เรียนจะมีส่วนร่วมค่อนข้างมาก
แต่หลักสําคัญคือการที่ผู้สอนเข้าใจconcept และเป็นผู้วิเคราะห์ วางแผน เป็นผู้รู้ใน
เรื่องนั้นๆเป็นอย่างดี ที่จะเอื้ออํานวยและดึงให้การเรียนการสอนประสพความสําเร็จโดยผู้เรียนมีส่วนร่วม
การจัดการเรียนการสอนแบบ active learning เป็นการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นทำให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มีการคิดอย่างเป็นระบบ รู้จักการสื่อสาร ประสานงาน รวมทั้งได้รับความรู้ใหม่ๆ เกิดการพัฒนาทางด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม และสุนทรีศาสตร์
ในรายวิชาภาคปฏิบัติ ผู้สอนควรมีเทคนิคในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล เลือกใช้วิธีการเข้าถึงผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนคิดและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
การสอนแบบ ACTIVE LEARNING มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความตื่นตัวในการเรียน
ผู้เรียนไม่เบื่อหน่าย ทั้งนี้ขึ้นกับผู้สอนเป็นผู้ออกแบบกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือรายกลุ่ม ผู้สอนคอยสนับสนุนโดยการจัดเตรียมแหล่งเรียนรู้ให้พร้อม ชี้แนะแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม จัดสรรเวลาในชั่วโมงไม่รบกวนนอกเวลาเรียนมากเกินไป ผู้สอนสามารถประเมินได้จากความกระตือรือร้นของผู้เรียน สีหน้าแววตา ความสนใจในงานที่ได้รับมอบหมาย
อาจารย์ผู้สอนมีส่วนช่วยในการเรียนรู้ตามแนวทางของ Active Learning ภาคปฏิบัติ ดังนี้
1. สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม และการพูดคุย อภิปรายที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้รับบริการ อาจารย์และเพื่อนในกลุ่ม
2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นพลวัต ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมรวมทั้งประเมินความสำเร็จของผู้เรียนเป็นระยะๆ
3. จัดสภาพการเรียนรู้แบบร่วมมือ ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน
4. อาจารย์ผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับในความสามารถในการแสดงออก และความคิดเของที่ผู้เรียน
การสอนแบบ Active Learning ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี ได้ฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ผู้สอนคอยชี้แจงและเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการทางปัญญาจากการได้เรียนรู้ด้วยตนเองที่ดีมาก และผู้เรียนชอบที่จะเรียนในลักษณะดังกล่าว
Active learning เป็นการจัดประสบการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์สู่การสรุปองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองเป็นหลักจากการได้รับข้อมูลจากหลายแหล่ง สำหรับการจัดประสบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนโดยเฉพาะด้านการสร้างเสริมสุขภาพก็เช่นกันเป็นกระบวนการที่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายด้านเพื่อให้ผู้เรียนเกิดพลังขับเคลื่อนความคิดของเขาสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ผู้สอนต้องการและอาจเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่มากเกินคาดหมายได้ เหล่านี้เป็นผลดีของการจัดประสบการณืเรียนรู้ให้ผู้เรียนแบบActive learning
Bonwell ได้กล่าวไว้เมื่อ ปี ค.ศ 1991 ว่าActive Learning คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป
Meyers and Jones ได้กล่าวไว้เมื่อ ปี ค.ศ.1993 ว่าActive Learning เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน 2 ประการคือ 1)การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์ และ2)แต่ละบุคคลมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
Fedler and Brent ได้กล่าวไว้เมื่อ ปี ค.ศ.1996 ว่าActive Learning นั้นผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้(receive) ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้(co-creators)
ซึ่งจากการให้ความหมายของ 3 ท่านที่กล่าวมานี้ ตรงกับการเรียนการสอนที่ภาควิชาฯที่ได้วิเคราะห์ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับ ALซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้มากขึ้น
อีกหนึ่งปัจจัยในการจัดการเรียนการสอน แบบ Active Learning ให้ประสบผลสำเร็จ นั่นคือ ครูผู้สอนควรสร้างบรรยากาศในการเรีนรู้
การนำแนวคิดด้านจิตวิทยาพัฒนาการมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนก็นับว่าสำคัญ โดยพิจารณาความเหมาะสมของระดับพัฒนาการในกลุ่มผู้เรียน ครูควรคำนึงถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้มีความสมดุลสอดคล้องกับระดับความสามารถและพัฒนาการของผู้เรียนที่จะนำไปสู่ความรับผิดชอบ การช่วยตนเอง ความสนใจ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้สำเร็จ
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ช่วยสร้างคุณลักษณะของผู้เรียนให้เป็น Active Learner กิจกรรมที่ใช้มีความหลากหลายและสอดคล้องกับจริตหรือธรรมชาติของผู้เรียน มีเป้าหมายสูงสุดเพื่อพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนให้เป็นผู้ที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต มีทักษะการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ มีความสามารถในการสื่อสารและมีทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตประจำวัน การประกอบวิชาชีพแและการเป็นพลเมืองโลกต่อไป
ข้อเสนอสำหรับ การใช้เทคนิคกาสอนแบบเน้นฝึกปฏิบัติ ผู้สอนวางแผนและออกแบบกิจกรรมที่เน้นการฝึกทักษะ โดยจัดกิจกรรมที่ตระตุ้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะซ้าๆ อาจเป็นในลักษณะใช้โปรแกรมช่วยสอน สาหรับการฝึก โดยผู้สอนมีบทบาทให้คำแนะนา อานวยความสะดวก กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ค่อนข้างเหมาะสมกับการนำมาปรับใช้ในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยมากค่ะ เพราะเป็นการกระตุ้นด้านการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ส่วนการใช้วิธีให้รางวัลน่าจะเป็นเทคนิคที่ช่วยในการทำให้นักศึกษามีความกระตืือรือร้นทุกคนได้นะคะ
การเรียนการสอนแบบ Active Learning เหมาะกับการเรียนในวิชาที่ฝึกปฏิบัติมาก เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่ใช้ทั้งพลังกายและพลังสมองของนักศึกษาที่ทำด้วยตนเองเริ่มตั้งแต่ประเด็นของการเลือกกรณีศึกษาที่ตนเองสนใจที่จะศึกษาค้นคว้า ตลอดจนการหาทฤษฎีต่างๆที่นำมาใช้ในการให้การพยาบาลโดยการทบทวนองค์ความรู้จากฐานข้อมูลทางวิชาการ หรือบางครั้งสามารถที่จะดัดแปลงเป็นนวัตกรรมในการให้การพยาบาลได้ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง และคิดค้นสื่งใหม่ด้วยตนเองที่ชัดเจนมาก
การใช้ AL เหมาะสมกับการเรียนการสอนภาคปฏิบัติมากเนื่องจากมีจำนวน
นักศึกษากลุ่มเล็ก สามารถติดตามประเมินผลได้อย่างใกล้ชิด ทั้งผู้สอนและผู้เรียนมีโอกาสในการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง
Active learning ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมหรือเกิดการตื่นตัวในด้านต่างๆดังนี้
1. การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวทางกาย
(Physical Participation)
2. การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวทางสติปัญญา (Intellectual Participation)
3. การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวทางสังคม
(Social Participation)
4. การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวทางอารมณ์ (Emotional Participation)
เนื่องจากการเรียนแบบ al ต้องการความร่วมมือจากเป็นอย่างสูงจากผู้เรียน สิ่งแวดล้อมจึงมีความสำคัญยิ่ง ทั้งบรรยากาศการเรียน ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญ และไม่ควรละเลย