• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

12/03/2013

การบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การวิจัย และการส่งเสริมสุขภาพ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ถอดบทเรียนการเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM )

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

เรื่อง การบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การวิจัย และการส่งเสริมสุขภาพ

ณ ห้องประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ?วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๖

ผู้เข้าร่วมประชุม
๑. นางสาวสิตานันท์ ????? ศรีใจวงศ์ ????????????????? ประธาน
๒. นางสาววรรณวดี?????? เนียมสกุล
๓. นางสาวศศมน ???????? ศรีสุทธิศักดิ์
๔. นางภิญญารัช ???????? บรรเจิดพงศ์ชัย
๕. นางสาวอรทัย ???????? แซ่ตั้ง

๖. นางสาวดาราวรรณ ?? ดีพร้อม
๗. นางสาวจิราพร ??????? วิศิษฐ์โกศล ??????????????? เลขานุการ

๘. นางสาวพัชชา ????????? สุวรรณรอด??????????????? ผู้ช่วยเลขานุการ

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ

๑.?? คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยฯ ได้กำหนดประเด็นในการจัดการความรู้ให้สอดคล้องกับพันธกิจของวิทยาลัยฯ ด้านวิชาการ ๒ เรื่อง ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ และการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน

๒.?? แนวทางในการดำเนินงานเพื่อการจัดการความรู้เรื่อง? การบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการและการส่งเสริมสุขภาพและการวิจัย ภาควิชาควรมีการทบทวนประสบการณ์เดิมเพื่อเสริมการบริหารจัดการใหม่ ตามขั้นตอนดังนี้

๒.๑ การแสวงหาความรู้
๒.๒ การวิเคราะห์ความรู้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา
๒.๓ การสังเคราะห์ความรู้
๒.๔ นำข้อมูลลง web blog ของวิทยาลัยฯและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
๒.๕ สรุปและจัดระเบียบความรู้

๒.๖ การแสดงผลงาน
๒.๗ การประยุกต์ใช้ความรู้

?

?

วาระที่ ๒ ?รับรองรายงานการประชุม และเรื่องสืบเนื่อง

?????????????????? ไม่มี

วาระที่ ๓ เรื่องพิจารณา

๓.๑ การแสวงหาข้อมูล

ในขั้นตอนนี้ได้ให้อาจารย์ทุกท่านเสนอประสบการณ์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการส่งเสริมสุขภาพ การวิจัย และการบริการวิชาการ สรุปได้ดังนี้

การบูรณาการ หมายถึง การนำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ? ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกันให้กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน จนมีความสมบูรณ์ครบถ้วนในตัวเอง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน

การวิจัย หมายถึง? กระบวนการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่ต้องการศึกษา? มีการเก็บรวบรวมข้อมูล? การจัดระเบียบ ข้อมูล? การวิเคราะห์และการตีความหมายผลที่ได้จากการวิเคราะห์? ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบอันถูกต้อง

???????????????????????????? การบริการวิชาการ หมายถึง การให้บริการทางวิชาการแก่ทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน อันก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการแก่สังคม โดยอาศัยความรู้และความสามารถทางวิชาการตลอดจนการสร้างหรือเสริมประสบการณ์ในการประยุกต์วิชาการให้เหมาะสมกับสังคมไทยและการเรียนการสอนในวิทยาลัย

การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการซึ่งทำให้ประชาชน สามารถเพิ่มการควบคุมสุขภาพ และทำให้สุขภาพดีขึ้น การจะบรรลุถึงสภาวะสุขสบาย ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคมได้ ปัจเจกชน หรือกลุ่มบุคคลจะต้องสามารถที่จะพอใจในสิ่งที่ตนปรารถนา และที่จะปรับเปลี่ยน ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม

การประเมินผลในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ?? การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการนั้นเป็นการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการได้คิดและปฏิบัติจริงตามความสนใจ ความถนัดของตนเอง เรียนรู้ทั้งแบบเรียนคนเดียวและเรียนเป็นกลุ่มจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ของตนเองและเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม (บูรณาการ) ดังนั้นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ดังกล่าวจึงต้องสอดคล้องกับสภาพจริง นั่นคือการที่จะต้องนำลักษณะที่สำคัญของการประเมินผลตามสภาพจริงมาใช้จึงจะเหมาะสมกับการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งน่าจะมีการประเมินความสามารถในด้านต่างๆ ดังนี้ การประเมินด้านกระบวนการคิด กระบวนการวางแผน กระบวนการทำงาน กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ (การวิจัยอย่างง่าย) กระบวนการกลุ่ม กระบวนการประเมินผล คุณธรรมจริยธรรม ความตั้งใจ ความใส่ใจ คุณภาพของผลงานโดยใช้วิธีการ เครื่องมือประเมินที่หลากหลาย ต่อเนื่องตลอดเวลาตามกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีการสังเกตใช้แบบตรวจสอบรายการ ใช้แบบประมาณค่า การบันทึกการปฏิบัติงาน การประเมินคุณภาพชิ้นงานและอาจมีการประเมินด้านความรู้ควบคู่กันไปด้วย โดยการประเมินจะกระทำร่วมกันทั้งผู้สอนและผู้เรียน ซึ่งผลการประเมินเหล่านี้ควรจะเป็นส่วนหนึ่งของการนำมาปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วย

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

?๑) เพื่อพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนของการอาชีวศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยจัดทำ? คู่มือและแนวทางในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับสถานศึกษา ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและปรับวิธีการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ????????????????????????????????????????????????????

๒) เพื่อพัฒนาให้ครู อาจารย์ในสถานศึกษา ให้สามารถจัดแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการและพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการเนื้อหา? วิชาต่าง ๆ? มาเพิ่มประสิทธิภาพการนำไปประกอบอาชีพตามต้องการ?????? ?????????????? ?????????????????????????????????????????????????????????????????

๓) เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาวิชาชีพแบบองค์รวม มีความสามารถทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการต่าง ๆ? ทักษะในประกอบอาชีพได้ครบวงจรในแต่ละชั้นปีรวมทั้งมีคุณธรรมจริยธรรม???

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ? ?หมายถึง? การจัดการเรียนรู้โดยการเชื่อมโยงเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องจากศาสตร์ต่าง ๆ? ของรายวิชาเดียวกันหรือรายวิชาต่าง ๆ? มาใช้ในการ จัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่าง ๆ ?มาใช้ในชีวิตจริงได้? สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management) หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่าง ๆ? ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม? สามารถนำความรู้? ทักษะ? และเจตคติไป?? สร้างงาน? แก้ปัญหา? และใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง??????????????????????????????????????????????? ????????

เหตุผลในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ??????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ๑) สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั้นจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ? ผสมผสานกันทำให้ผู้เรียนที่เรียนรู้ศาสตร์เดี่ยว ๆ? มาไม่สามารถนำความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาได้ ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะช่วยให้สามารถนำความรู้? ทักษะจากหลาย ๆ? ศาสตร์?? มาแก้ปัญหาได้กับชีวิตจริง???????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ?????????????????? ๒) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการทำให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่าง ๆ? เข้าด้วยกันทำให้เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้? (Transfer? of? learning)? ของศาสตร์ต่าง ๆ???? เข้าด้วยกันทำให้ผู้เรียนมองเห็นประโยชน์ของสิ่งที่เรียนและนำไปใช้จริงได้????????????????????? ??????????????????????????????????????

๓) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรจึงทำให้ลดเวลาในการเรียนรู้เนื้อหาบางอย่างลงได้ แล้วไปเพิ่มเวลาให้เนื้อหาใหม่ ๆ? เพิ่มขึ้น??????????????????????????????

๔) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะตอบสนองต่อความสามารถในหลาย ๆ? ด้านของผู้เรียนช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติ ?แบบพหุปัญญา? (Multiple intelligence)????????????? ?????????? ??????????????????

๕) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน(Constructivism) ที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน

อาจารย์ในภาควิชาแสดงความคิดเห็นว่า หากมีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการจะต้องมีเวลาในการบริหารจัดการและจะต้องมีรูปแบบการวัดละประเมินผลที่ชัดเจน ภาพวิชามีแผนในการบูรณาการการเรียนการสอนกับในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก ๑ และการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ แต่ช่วงเวลาที่สอน กับจังหวะบางช่วงไม่เอื้อหนุน??? อีกทั้งลักษณะรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ นั้นค่อนข้างยาก? และการบูรณาการควรจัดทำในรายวิชาภาคปฏิบัติของนศ.ปีที่ ๓ ได้แก่รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก ๑ เนื่องจากมีการฝึกที่แผนกฝากครรภ์ ๒ สัปดาห์ แผนกหลังคลอด ๒ สัปดาห์ และแผนกห้องคลอด ๔ สัปดาห์ ในรายวิชานี้มีเวลาพอที่นักศึกษาจะสามารถเข้าไปบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพได้

?????????????????? ชุมชนที่ภาควิชาเลือกในการบริการวิชาการเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพได้แก่ ชุมชนนาโปร่ง เพราะเป็นชุมชนต้นแบบของวิทยาลัยฯ

?????????????????? ในการจัดทำโครงการบริการวิชาการกับการส่งเสริมสุขภาพและการจัดการเรียนการสอน ควรมีการจัดทำงานวิจัยเพื่อเป็นการประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรมและจะได้นำผลงานวิจัยนั้นมาพัฒนารูปแบบในปีการศึกษาต่อไป

???? ???? ๓.๒การวิเคราะห์ความรู้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา และการสังเคราะห์ความรู้
? ???????????????? แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การวิจัยและการส่งเสริมสุขภาพ

???????????????????????????? ๑) ?การต่อยอดงานที่มีความสนใจและชำนาญ จะทำให้เกิดงานบริการที่มีคุณภาพและจะเป็นการสร้างเครือข่าย โดยในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ได้มีการสำรวจพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของสตรีวัยเจริญพันธ์ในชุมชนนาโปร่งพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการตรวจเต้านมด้วยตนเองยังมีจำนวนน้อย ดังนั้นควรมีการจัดทำโปรแกรมการอบรมความรู้และทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธ์

๒) การบริการวิชาการเน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน/องค์กร ?โดยทางภาควิชาได้เปิดโอกาสให้นักศึกษา ผู้นำชุมชน? อสม. อาจารย์ และผู้มีประสบการณ์ แสดงความคิดเห็นในการพัฒนารูปแบบโปรแกรมของการส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

?๓) การบูรณาการการบริการวิชาการเข้ากับการเรียนการสอน ต้องมีหลักฐานประกอบด้วย ประมวลการสอน และการสรุปผลว่าได้อะไรจากการบริการวิชาการเพื่อมาพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

๔) การบูรณาการการบริการวิชาการกับงานวิจัยต้องมีหลักฐานเป็นงานวิจัย การประเมินผล และการสร้างความยั่งยืนได้

๕) การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนนั้นการดำเนินงานบริการวิชาการต้องอยู่ในรูปแบบของการมีส่วนร่วม และผลลัพธ์ที่ได้ต้องสร้างให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ (ความเข้มแข็ง) ซึ่งในการจัดทำโปรแกรมนี้เน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย เน้นการสอนแบบ coaching และสาธิตย้อนกลับ หลังจากนั้นควรแจกคู่มือการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และจะต้องมีการติดตามประเมินความรู้และทักษะอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินถึงความยั่งยืนขององค์ความรู้

๖) จัดทำโปรแกรมการอบรมความรู้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ เนื่องจากมีระยะเวลาในการฝึก 8 สัปดาห์ ควรจัดให้บริการวิชาการเพื่อการส่งเสริมสุขภาพในขณะที่ฝึกแผนกฝากครรภ์ และควรจัดในวันพฤหัสบดีเนื่องจากไม่มีการฝึกปฏิบัติบนคลินิก

๗) มีการจัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างอาจารย์ และนักศึกษา และผู้นำชุมชน?

๘) การเลือกวิชาที่นำมาบูรณาการกับการวิจัยควรเป็นวิชาที่มีการปฏิบัติจริง นักศึกษาจะเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และเรียนรู้ระเบียบวิธีการวิจัยควบคู่ไปพร้อม ๆ กัน

๙) การบูรณาการควรบูรณาการทั้งเนื้อหาและกระบวนการ คือ การวิจัยและวิธีการสอนจะใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนการสอน และการเดินเนื้อเรื่องจะใช้องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพเข้ามา

๑๐) การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการทางวิชาการแก่สังคมสามารถทำได้โดย

การนำผลงานจากการเรียนการสอนมาพัฒนาต่อยอดและนำไปเป็นองค์ความรู้ในการบริการทางวิชาการแก่สังคม และใช้การวิจัยควบคู่ในการพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง

๓.๓ นำข้อมูลลง web blog ของวิทยาลัยฯและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
????????? มติที่ประชุมมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบรายวิชาออกแบบรายวิชาให้สอดคลอดพันธกิจอื่นๆ และมอบหมายให้หัวหน้าโครงการวิจัยดำเนินการเขียนโครงร่างการวิจัยเสนอเพื่อขอรับทุนการวิจัยจากวิทยาลัยฯ

ปิดการประชุม เวลา ๑๖.๐๐ น.

…………………………………………

(นางสาวสิตานันท์ ศรีใจวงศ์)

??? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

06/09/2012

การจัดการองค์ความรู้เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติปีการศึกษา ๒๕๕๕

การเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM )

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ

ณ ห้องประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ครั้งที่ ๒ วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๕

ผู้เข้าร่วมประชุม
๑. นางสาวสิตานันท์ ????? ศรีใจวงศ์ ????????????????? ประธาน
๒. นางสาววรรณวดี?????? เนียมสกุล
๓. นางสาวศศมน ???????? ศรีสุทธิศักดิ์
๔. นางภิญญารัช ???????? บรรเจิดพงศ์ชัย
๕. นางสาวอรทัย ???????? แซ่ตั้ง

๖. นางสาวดาราวรรณ ?? ดีพร้อม

๗. นางสาวพัชชา????????? สุวรรณรอด

๘. นางสาวชลธิชา???????? จับคล้าย
๙. นางสาวจิราพร ??????? วิศิษฐ์โกศล ??????????????? เลขานุการ

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.

วาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ

๑.?? คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยฯ ได้แจ้งนโยบายเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ซึ่งอ.ศศิธรได้แจกเอกสารให้กับอาจารย์ทุกคนได้รับทราบแล้ว

๒.????? ผลการจัดการความรู้ในภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์เรื่อง มีประเด็นดังนี้

  1. ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประชุมกลุ่มย่อยระหว่างอาจารย์ผู้ร่วมสอนและร่วมนิเทศเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง
  2. อาจารย์ผู้นิเทศควรดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด และหากติดภารกิจอื่นๆ ควรติดตามผลการเรียนรู้ของนักศึกษาเพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียนและจะได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  3. ในการฝึกภาคปฏิบัติ กลุ่มงานวิชาการได้จัดกลุ่มนักศึกษาตาม GPA โดยคละนักศึกษาที่เรียนดี ปานกลาง และอ่อน แต่อาจารย์นิเทศควรให้โอกาสนักศึกษาที่เรียนอ่อนในการทำกิจกรรมหรือร่วมแสดงความคิดเห็นก่อน เพื่อเป็นการกระตุ้นความคิดของผู้เรียน
  4. ควรตรวจชิ้นงานและส่งกลับให้กับนักศึกษาตรงเวลา และจะต้องสะท้อนกลับให้กับนักศึกษาเพื่อพัฒนาการฝึกปฏิบัติงานต่อไป
  5. ควรกระตุ้นให้นักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำได้แสดงความคิดเห็น
  6. ควรพิจารณาถึงพัฒนาการของผู้เรียนเป็นหลักในการนิเทศ และหากนักศึกษารายใดที่มีปัญหาควรมีการส่งต่อให้กับอาจารย์นิเทศแผนกต่อไป
  7. ควรมีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติ ได้แก่
  • มอบหมายให้ศึกษา VCD และคู่มือในเรื่องการตรวจรก ทำคลอดกับหุ่นไฟฟ้า การตรวจร่างกายทารก และการอาบน้ำทารกแรกเกิด
  • ควรมีการจัดให้สังเกตการณ์คลอดก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติจริง
  • ควรมีการ check out lab การทำคลอด การตรวจรก การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด
  1. ควรติดตามประเมินผลการฝึกปฏิบัติทุกสัปดาห์และวางแผนการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับนักศึกษา
  2. ควรให้นักศึกษาบันทึก reflextive ทุกวัน เพื่อพัฒนาและสะท้อนถึงกระบวนการคิดของนักศึกษา
  3. ควรสอดแทรกการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์แก่นักศึกษาทุกแผนกเนื่องจากเป็นอัตลักษณ์ของบัณฑิตของ สบช.
  4. ควรจัดการเรียนการสอนเน้นบูรณาการกับการบริการวิชาการ การวิจัยและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต

วาระที่ ๒ ?การสังเคราะห์ความรู้

จากความคิดเห็นใน web blog พบว่ามีจำนวน ๗ ความคิดเห็นดังนี้

๑.????????????????? ความเห็นของอ.อรทัย แซ่ตั้ง ? มีนาคม 13, 2012 at 9:01 am อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่าจาก การพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์วรรณพร ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วพบ.พุทธชินราช ซึ่งที่ผ่านมานศ.วพบ. พุทธชินราชสอบเครือข่ายภาคเหนือรายวิชาผดุงครรภ์และมารดาทารกอยู่ระดับต้น ของเครือข่าย จึงได้พูดคุยสอบถาม พบว่า ที่วพบ.พูทธชินราชนั้นมีการเตรียมนักศึกษาด้านความรู้ไปพร้อมๆกับการฝึก ปฏิบัติ ซึ่งในการวางแผนสำหรับการฝึกภาคปฏิบัติของนศ. จะมีการจัดให้กลุ่มนศ. ร่วมกับการจัดอาจารย์นิเทศในการติดตามประเมินผลการฝึกของกลุ่มนศ. โดยหนึ่งกล่มมีอาจารย์หนึ่งคนที่ตามนศ.ฝึกทั้งแผนกห้องคลอด ฝากครรภ์และหลังคลอด ซึ่งการจัดการฝึกแบบนี้ในช่วงแรกก็มีปัญหาและอุปสรรค์อยู่บ้างแต่พบว่าได้ผล ที่ดีต่อนศ. ซี่งมีส่วนทำให้การสอบเครือข่ายภาคเหนือได้ผลดี ซึ่งเป็นอีกแนวหนึ่งที่อาจนำมาพิจารณาให้เหมาะสมกับบริบทของวพบ. อุตรดิตถ์ได้ เพิ่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติต่อไป

๒.????????????????? ความเห็นของอาจารย์ศศมน ? มีนาคม 16, 2012 at 5:17 pm อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่าที่ อ.อรทัย Post แนวคิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอ.วรรณพร ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ที่ทางภาควิชาต้องนำมาพูดคุย แลกเปลี่ยน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติตอไป

แต่อาจารย์และอ.วรรณวดี เคยพูดคุยกันว่า การที่อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญใน field เช่น ANC LR หรือ PP อาจารย์มีความเป็น specialist สูง จะสามารถถ่ายทอด ให้ความรู้ให้แก่นศ. ได้มาก เนื่องจากอาจารย์เป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ในด้านนั้น ๆ ค่อนข้างสูล อาจทำให้นศ. ได้เรียนรู้เนื้อหาใน field นั้น ๆ ได้อย่างลึกซึ้ง มีความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้ดี เป็นประเด็นระหว่าง special area training VS non-specific training

๓.????????????????? ความเห็นของอาจารย์สิตานันท์ ? มีนาคม 17, 2012 at 10:50 am อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่าจากการที่เคยได้เข้าร่วมการประชุมการจัดการองค์ความรู้ของเครือข่ายภาค เหนือ ทางวิทยาลัยพยาบาลพะเยา จะแบ่งการฝึกตามพัฒนาการของผู้เรียน โดยช่วงภาคการศึกษาที่ ๑ ของปี ๓ นักศึกษาจะเรียนทฤษฎีเกี่ยวกับการพยาบาลในแผนกฝากครรภ์อย่างเดียว และจัดการฝึกแบบ study day และฝึกภาคปฏิบัติแผนก ANC ก่อน และภาคการศึกษาที่ ๒ จะเรียนภาคทฤษฎีของแผนกห้องคลอดและหลังคลอด ซึ่งอาจารย์เชื่อว่าความรู้ที่แผนกฝากครรภ์เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้แผนก ต่างๆ

๔.????? ความเห็นของอาจารย์อ.วิมล ? มีนาคม 18, 2012 at 9:46 pm อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่า

เห็น ด้วยกับอ.อรทัย? และสิ่งที่จะช่วยเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้จากภาคปฏิบัติหรือจากประสบการณ์ ตรงได้ดีขึ้น ครูหรือพยาบาลพี่เลี้ยงที่สอนข้างเตียงมีบทบาทสำคัญยิ่งที่จะช่วยเชื่อมโยง ความรู้จากทฤษฎีในตำรากับสิ่งที่พบในผู้ป่วย

๕.????????????????? ความเห็นของอาจารย์อ.จิราพร ? มีนาคม 19, 2012 at 9:49 am อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่าเห็น ด้วยกับความคิดเห็นของอาจารย์ทุกท่านนะคะ ที่มีแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่หลากหลายแนวทาง แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ การมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ประโยชน์มากที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นดิฉันคิดว่าการพัฒนาการเรียนการสอนภาคปฏิบัติควรจะพัฒนา ควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี เพื่อให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติได้ และการพัฒนาด้านการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือการฝึกให้ นักศึกษาคิดวิเคราะห์กรณีศึกษาให้มากขึ้น และภาคทฤษฎีนักศึกษาสามารถฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ได้จากการทำแบบฝึกหัด และทำข้อสอบค่ะ

๖.????????????????? ความเห็นของอาจารย์อ.สุธีรา ? มีนาคม 19, 2012 at 1:50 pm อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่าไม่ว่าจะเป็นการจัดกลุ่มนศ. ร่วมกับการจัดอาจารย์นิเทศในการติดตามประเมินผลการฝึกของกลุ่มนศ. โดยหนึ่งกล่มมีอาจารย์หนึ่งคนที่ตามนศ.ฝึกทั้งแผนกห้องคลอด ฝากครรภ์และหลังคลอด ซึ่งพบว่าได้ผลที่ดีต่อนศ.?หรือการใช้อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญใน field เช่น ANC LR หรือ PP ซึ่งอาจารย์มีความเป็น specialist สูง จะสามารถถ่ายทอด ให้ความรู้ให้แก่นศ. ได้มากนั้นขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้สอน และการบริหารจัดการเนื่องจากการนิเทศนักศึกษาอาจารย์จำเป็นต้องบันทึกการ เรียนรู้และพฤติกรรมของนักศึกษาแต่ละคนอยู่แล้ว เมื่อนักศึกษาย้าย ward อาจารย์นิเทศward ต่อไปก็สามารถทราบความก้าวหน้าของนักศึกษาได้เช่นกัน

๗.????????????????? ความเห็นของอาจารย์อ.อิทธิพล ? มีนาคม 19, 2012 at 10:42 pm อาจารย์แสดงความคิดเห็นว่า สำหรับการที่อาจารย์มีความเชี่ยวชาญ แล้วได้มีการติวหรือถ่ายทอดความรู้ให้กับ นศ. โดยเฉพาะขณะฝึกจะทำให้นักศึกษาเห็นภาพชัดขึ้นและจะจำเนื้อหาได้ดี

ระเบียบวาระที่ ๓ สรุปประเด็นความรู้ที่ได้

จากผลของการสังเคราะห์ความคิดเห็นจากการประชุมและจากความคิดเห็นใน web blog ??????ทำให้สรุปแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ดังนี้

๑.??????? ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประชุมกลุ่มย่อยระหว่างอาจารย์ผู้ร่วมสอนและร่วมนิเทศเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง (ทุกรายวิชา)

๒.??????? อาจารย์ผู้นิเทศควรดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด และหากติดภารกิจอื่นๆ ควรติดตามผลการเรียนรู้ของนักศึกษาเพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียนและจะได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง (ทุกรายวิชา)

๓.??????? ในการฝึกภาคปฏิบัติ กลุ่มงานวิชาการได้จัดกลุ่มนักศึกษาตาม GPA โดยคละนักศึกษาที่เรียนดี ปานกลาง และอ่อน แต่อาจารย์นิเทศควรให้โอกาสนักศึกษาที่เรียนอ่อนในการทำกิจกรรมหรือร่วมแสดงความคิดเห็นก่อน เพื่อเป็นการกระตุ้นความคิดของผู้เรียน ( ป. มารดา ๑ และ ๒)

๔.??????? ควรตรวจชิ้นงานและส่งกลับให้กับนักศึกษาตรงเวลา และจะต้องสะท้อนกลับให้กับนักศึกษาเพื่อพัฒนาการฝึกปฏิบัติงานต่อไป (ทุกรายวิชา)

๕.??????? ควรกระตุ้นให้นักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำได้แสดงความคิดเห็น (ทุกรายวิชา)

๖.??????? ควรพิจารณาถึงพัฒนาการของผู้เรียนเป็นหลักในการนิเทศ และหากนักศึกษารายใดที่มีปัญหาควรมีการส่งต่อให้กับอาจารย์นิเทศแผนกต่อไป (ทุกรายวิชา)

๗.??????? ควรมีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติ ได้แก่

  • มอบหมายให้ศึกษา VCD และคู่มือในเรื่องการตรวจรก ทำคลอดกับหุ่นไฟฟ้า การตรวจร่างกายทารก และการอาบน้ำทารกแรกเกิด ( ป. มารดา ๑)
  • ควรมีการจัดให้สังเกตการณ์คลอดก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติจริง (มารดา ๑)
  • ควรมีการ check out lab การทำคลอด การตรวจรก การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ( ป. มารดา ๑)

๘.??????? ควรติดตามประเมินผลการฝึกปฏิบัติทุกสัปดาห์และวางแผนการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับนักศึกษา (ทุกรายวิชา)

๙.??????? ควรให้นักศึกษาบันทึก reflextive ทุกวัน เพื่อพัฒนาและสะท้อนถึงกระบวนการคิดของนักศึกษา ( ป. มารดา ๑ และ ๒)

๑๐.??? ควรสอดแทรกการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์แก่นักศึกษาทุกแผนกเนื่องจากเป็นอัตลักษณ์ของบัณฑิตของ สบช.(ทุกรายวิชา)

๑๑.??? ควรจัดการเรียนการสอนเน้นบูรณาการกับการบริการวิชาการ การวิจัยและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต (มารดา ๑ , ป. มารดา ๑)

๑๒.??? อาจารย์ควรบันทึกการ เรียนรู้และพฤติกรรมของนักศึกษาแต่ละคนในขณะฝึกและส่งต่อให้กับอาจารย์นิเทศคนต่อไป (ทุกรายวิชา)

๑๓.??? หากเป็นไปได้ควรจัดให้อาจารย์หนึ่งคนตามนิเทศนศ.ทั้งแผนกห้องคลอด ฝากครรภ์และหลังคลอด ( ป. มารดา ๑ และ ๒)

ปิดประชุมเวลา? ๑๖.๓๐ น.

สิตานันท์ ศรีใจวงศ์

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

18/07/2012

KM เพื่อการพัฒนา ต่อเนื่อง

เรียนเชิญอาจารย์ และผู้สนใจทุกท่าน ร่วมแสดงความคิดเห็นในเว็บ blog? ครับ

12/03/2012

การจัดการความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

เรื่อง การจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ

การจัดการความรู้ เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ

29/06/2011

KM สูติศาสตร์

เชิญ ชวนอาจารย์ ให้ความคิดเห็น

หน้าก่อนหน้า
Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro