รายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๙ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายงานการประชุมการจัดการความรู้? ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๙
กลุ่มงานกิจการนักศึกษา? วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๐๐ ? ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้องรองผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจการนักศึกษา
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม
๑. นางสาวนัยนา????? ??อินธิโชติ??????????? รองฯ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา??? (ประธาน)
๒.นางสาววราภรณ์???? ยศทวี? ???????????? ?หัวหน้าฝ่ายพัฒนานักศึกษา??????? (เลขานุการ)
๓.นางนิศารัตน์?????????? นาคทั่ง??? ??????????งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
๔.นางสาวพัชชา? ???????สุวรรณรอด ???????งานทุนการศึกษา
๕. นางสาวสุกัญญา???? ม่วงเลี้ยง???????? งานพัฒนานักศึกษา
รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม ไม่มี
เริ่มประชุม ๑๕. ๐๐ น.
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
-
วาระพิจารณาและหารือ
ประธานติดตามผลการดำเนินการใช้กรบวนการ PDCA ไปใช้ในการทำงานของงานพัฒนานักศึกษาและงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม? ขอให้ทุกคนช่วยกันเสนอประเด็นเพื่อกำหนดเป็นประเด็นการจัดการความรู้ ?การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาอย่างเป็นระบบ?? ที่ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีมติดังนี้
สรุปแนวปฏิบัติการนำระบบคุณภาพ PDCA ไปใช้ในการจัดกิจรรมพัฒนานักศึกษา
PDCA Cycle ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
P = Plan??????? หมายถึง การวางแผน
D = Do????????? หมายถึง การปฏิบัติตามแผน
C = Check????? หมายถึง การตรวจสอบ
A = Action????? หมายถึง การดำเนินการให้เหมาะสม
การวางแผน? (Plan: P) เป็นส่วนประกอบของวงจรที่มีความสำคัญ เนื่องจากการวางแผนจะเป็นจุดเริ่มต้นของงานและเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การทำงานในส่วนอื่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล การวางแผนเป็นการหาองค์ประกอบของปัญหา โดยวิธีการระดมความคิด การเลือกปัญหา การหาสาเหตุของปัญหา การหาวิธีการแก้ปัญหา การจัดทำตารางการปฏิบัติงาน การกำหนดวิธีดำเนินการ การกำหนดวิธีการตรวจสอบและประเมินผล ในขั้นตอนนี้สามารถนำเครื่องมือเบื้องต้นแห่งคุณภาพอื่นๆ มาใช้งานร่วมด้วย เช่น Flowchart, Brainstorming ฯลฯ ในขั้นนี้ดำเนินการดังนี้
1. ตระหนักและกำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไข หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยสมาชิกแต่ละคนร่วมมือ และประสานกันอย่างใกล้ชิดในการระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน เพื่อที่จะร่วมกัน? ทำการศึกษาและวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขต่อไป
2. เก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับการวิเคราะห์และตรวจสอบการดำเนินงานหรือหาสาเหตุ ของปัญหา เพื่อใช้ในการปรับปรุง หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งควรจะวางแผนและดำเนินการเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ ระเบียบ เข้าใจง่าย และสะดวกต่อการใช้งาน เช่น ตารางตรวจสอบ แผนภูมิ แผนภาพ หรือแบบสอบถาม เป็นต้น
3. อธิบายปัญหาและกำหนดทางเลือก วิเคราะห์ปัญหา เพื่อใช้กำหนดสาเหตุของความบกพร่อง ตลอดจนแสดงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งนิยมใช้วิธีการเขียนและวิเคราะห์แผนภูมิหรือแผนภาพ เช่น แผนภูมิก้างปลา แผนภูมิพาเรโต และแผนภูมิการควบคุมเป็นต้น เพื่อให้สมาชิกทุกคนในทีมงานคุณภาพเกิดความเข้าใจในสาเหตุและปัญหาอย่างชัดเจน แล้วร่วมกันระดมความคิด (Brainstorm) ในการแก้ปัญหา โดยสร้างทางเลือกต่างๆ ที่เป็นไปได้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา เพื่อมาทำการวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกที่เหมาะสมที่สุดมาดำเนินงาน
4. เลือกวิธีการแก้ไขปัญหา หรือปรับปรุงการดำเนินงาน โดยร่วมกันวิเคราะห์ และวิจารณ์ทางเลือกต่างๆ ผ่านการระดมความคิด และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิก เพื่อตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุดในการดำเนินงานให้สามารถบรรลุตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะต้องทำวิจัยและหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือกำหนดทางเลือกใหม่ที่มีความน่าจะเป็นในการแก้ปัญหาได้มากกว่าเดิม
สรุปเทคนิคการวางแผนที่ดีควรตอบคำถามต่อไปนี้
๑. ?มีอะไรบ้างที่ต้องทำ
๒. ใครทำ
๓. มีอะไรต้องใช้บ้าง
๔. ระยะเวลาในการทำงานแต่ละขั้นตอนเป็นเท่าใด
๕. ลำดับการท างานเป็นอย่างไร ควรทำอะไรก่อน อะไรหลัง
.๖. ?เป้าหมายในการกระทำครั้งนี้คืออะไร
การปฏิบัติตามแผน (Do: D) เป็นการลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ในตารางการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ สมาชิกกลุ่มต้องมีความเข้าใจถึงความสำคัญและความจำเป็นในแผนนั้นๆความสำเร็จของการนำแผนมาปฏิบัติต้องอาศัยการทำงานด้วยความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสมาชิก ตลอดจนการจัดการทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานตามแผนนั้นๆ ในขั้นตอนนี้ขณะที่ลงมือปฏิบัติจะมีการตรวจสอบไปด้วย หากไม่เป็นไปตามแผนอาจ จะต้องมีการปรับแผนใหม่ และเมื่อแผนนั้นใช้งานได้ก็นำไปใช้เป็นแผนและถือปฏิบัติต่อไป
สรุปเทคนิคขั้นตอนการปฏิบัติ
๑. ทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรก จะได้ไม่ต้องแก้ไขหรือรับผลเสียจากการกระทำที่ผิดพลาด
๒. ตรวจสอบทุกขั้นตอน หากพบข้อบกพร่องให้รีบแก้ไขก่อนที่ความเสียหายจะขยายเป็นวงกว้าง
การตรวจสอบ (Check: C) หมายถึงการตรวจสอบดูว่าเมื่อปฏิบัติงานตามแผน หรือการแก้ปัญหางานตามแผนแล้ว ผลลัพธ์เป็นอย่างไร สภาพปัญหาได้รับการแก้ไขตรงตามเป้าหมายที่กลุ่มตั้งใจหรือไม่ การไม่ประสบผลสำเร็จอาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น ไม่ปฏิบัติตามแผน ความไม่เหมาะสมของแผน? การเลือกใช้เทคนิคที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น
สรุปเทคนิคขั้นตอนการตรวจสอบ
๑. ตรวจสอบวิธีการและระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติจริง ว่าทำได้ตามแผนหรือไม่
๒. ตรวจสอบผล ที่ได้ว่าได้ตามเป้าหมายหรือไม่
๓.ตรวจสอบว่ามีข้อมูลอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นบ้าง
๔. รวบรวมและบันทึกข้อมูลที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และปรับปรุงให้ดีต่อไปสิ่งที่จะสามารถรู้ได้ว่าผลกับแผนที่ตั้งไว้แตกต่างกันอย่างไร
การดำเนินการให้เหมาะสม (Action : A) เป็นการกระทำภายหลังที่กระบวนการ 3 ขั้นตอนตาม
วงจรได้ดำเนินการเสร็จแล้ว ขั้นตอนนี้เป็นการนำเอาผลจากขั้นการตรวจสอบ C) มาดำเนินการให้เหมาะสมต่อไป
สรุปเทคนิคขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสม
๑. หลังจากตรวจสอบแล้ว ถ้าเราทำได้ตามเป้าหมาย ให้รักษาความดีนี้ไว้
๒. ?หากตรวจสอบแล้ว พบว่ามีข้อผิดพลาดไม่ว่าในขั้นตอนใดๆ ก็ตาม ให้หาสาเหตุและแก้ไขสาเหตุ
๓. ?หาทางปรับปรุง เพื่อให้การปฏิบัติครั้งต่อไปดีขึ้นกว่าเดิม
ที่ประชุมมีความเห็นว่า การดำเนินการและข้อสรุปจากผลการดำเนินการ?การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาอย่างเป็นระบบโดยใช้กระบวนการ PDCA?? ?น่าจะนำมาใช้ในการปฏิบัติงานของทุกงานในกลุ่มงาน? จึงขอให้ทุกงานนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน และสรุปผลการใช้? เพื่อนำไปกำหนดเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการทำงานของกลุ่มงานต่อไป
ระเบียบวาระที่ ๒ ?รับรองรายงานการประชุม
ไม่มี
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา
ไม่มี
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.
ลงชื่อ ………….วราภรณ์? ยศทวี………ผู้บันทึกการประชุม
(นางสาววราภรณ์?? ยศทวี)
ลงชื่อ ……………..นัยนา? อินธิโชติ ……..ประธานการประชุม
(นางสาวนัยนา? อินธิโชติ)
PDCA ยังคงเป็นระบบการทำงานที่ดีและมีประโยชน์มาก เพราะช่วยพัฒนาทั้งผลของงานและพัฒนาทั้งกระบวนการทำงาน อย่างไรก็ตามความร่วมแรงร่วมใจในทุกๆขั้นตอนคือส่วนสำคัญที่จะทำให้กระบวนการ PDCA ดำเนินไปได้ด้วยดี
การใช้กระบวนการ PDCA ในการทำงาน ทำให้งานเป็นระบบมากขึ้น ลดปัญหาที่เกิดขึ้น หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคุญสำหรับผู้ที่ทำงานการบริหารโครงการต่างๆ ทั้งนี้ฝ่ายพัฒนานักศึกษาได้ฝึกกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบให้กับผู้นำนักศึกษาเพื่อให้มีทักษะในการทำงานอย่างเป็นระบบ
การทำงานเป็นทีเป็นการทำงานร่วมกันของสมาชิกที่มากกว่า 1 คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำอะไรแล้วทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน การทำงานเป็นทีมมีความสำคัญในทุกองค์กรการทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงานการทำงานเป็นทีมมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดี
การนำกระบวนการPDCA ไปใช้ในการทำงาน ทำให้เราได้วางแผนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการปรับปรุงกระบวนการทำงานและติดตามงาน โดยทำให้การทำงานเป็นทีมหรือการทำงานในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น
กระบวนการPDCAยังคงเป็นกระบวนการที่สำคัญที่ใช้ในการทำงานเพราะจะทำให้มีการพัฒนางานให้ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำกระบวนการPDCAยังทำให้เกิดกระบวนการกลุ่มที่มีคุณภาพ ซึ่งทำให้เราสามารถสอนและให้คำปรึกษาในทีมสภานักศึกษาให้เกิดกระบวนการทำงานที่มีคุณภาพ
กระบวนการ PDCA เป็นการที่ทำให้เราทำงานอย่างมีระบบ สามารถใช้ได้กับทุกงาน ขอยกตัวอย่างการทำงานของนักศึกษาที่นำ PDCA มาใช้ในการทำนวตกรรมในรายวิชา ซึ่งนศ. Plan เป็นการวางแผนว่าจะทำนวตกรรม มีการทบทวนวรรณกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งนวตกรรม Do นำแนวคิดที่ได้มาจัดทำนวตกรรมฉบับร่าง Check แล้วนำนวตกรรมฉบับร่างนั้นไปผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ กลับมาปรับปรุง นำไปทดลองใช้ กลับมาปรับปรุง Action นำนวตกรรมนั้นกลับไปใช้แล้วรายงานผล เพื่อปรับปรุุงนวตกรรมให้ดีต่อไป ซึ่งช่วยให้นักศึกษามีกระบวนการทำงานอย่างมีระบบ