รายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๑ / ๒๕๕๙ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายงานการประชุมการจัดการความรู้? ครั้งที่ ๑ / ๒๕๕๙
กลุ่มงานกิจการนักศึกษา? วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๓๐ ? ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้องรองผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจการนักศึกษา
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม
๑. นางสาวนัยนา?????? ?อินธิโชติ??????????? รองฯ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา??? (ประธาน)
๒.นางสาววราภรณ์???? ยศทวี? ???????????? ?หัวหน้าฝ่ายพัฒนานักศึกษา??????? (เลขานุการ)
๓.นางนิศารัตน์?????????? นาคทั่ง??? ??????????งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
๔.นางสาวพัชชา? ???????สุวรรณรอด ???????งานทุนการศึกษา
๕. นางสาวสุกัญญา???? ม่วงเลี้ยง???????? งานพัฒนานักศึกษา
รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม ไม่มี
เริ่มประชุม ๑๕. ๓๐ น.
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
ประธานแจ้งเรื่อง ??สืบเนื่องจากงานการประกันคุณภาพการศึกษา? แจ้งว่า ให้แต่ละกลุ่มงานต้องมีการการจัดการความรู้เกี่ยวกับงานของแต่ละกลุ่มงาน ???เพื่อให้การปฏิบัติตามภารกิจของกลุ่มงานกิจการนักศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาความรู้ของทีมงาน? โดยอาศัยการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ????????????????ซึ่งกลุ่มงานกิจการนักศึกษาจะได้ดำเนินการ เพื่อรวบรวมความรู้ที่มีคุณค่า และดำเนินต่อการปฏิบัติงานทั้งความรู้ที่อยู่ในรูปของเอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน และความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลมาประมวลกลั่นกรองจัดเป็นระเบียบให้ทีมงานสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะน าไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) ต่อไป
ดังนั้นจึงขอให้ทุกคนช่วยกันกำหนดประเด็นที่กลุ่มงานน่าจะนำมาสู่การจัดการความรู้ของกลุ่มงานเพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีในการทำงาน
วาระเพื่อพิจารณา
ประธานขอให้ทุกคนช่วยกันเสนอประเด็นเพื่อกำหนดเป็นประเด็นการจัดการความรู้ของกลุ่มงาน มีข้อเสนอจากแต่ละงาน และสรุปประเด็นที่สนใจในการจัดการความรู้ของกลุ่มงาน ดังนี้
๑. การทำงานเป็นทีม
๒. กระบวนการกู้ยืมยืมเงินกองทุนเพื่อการศึกษา
๓. การทำงานอย่างเป็นระบบ
กลุ่มงานเสนอหัวข้อการจัดการความรู้จำนวน 3 หัวข้อ ที่ประชุมมีมติเลือกเพื่อดำเนินการจัดการความรู้ของกลุ่มงานกิจการนักศึกษา ในปีการศึกษา ๒๕๕๘ คือ? การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาอย่างเป็นระบบ
ประธานให้ที่ประชุมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการทำงานอย่างเป็นระบบ? ระบบการทำงานที่ดี ควรเป็นอย่างไร
ระบบการทำงานที่ดีนั้นควรจะเป็นอย่างไร
อ. นัยนา เสนอว่า? ?ต้องมีขั้นตอนชัดเจน สามารถระบุเป็นขั้นตอนการทำงานมาตรฐานได้ว่ามีกี่ขั้นตอนหลัก ต้องทำกิจกรรมอะไรก่อน-หลัง แต่ละขั้นตอนมีวิธีการทำงานอย่างไร แยกแยะได้ว่าอะไรเป็น input ? process ? output ของระบบ
อ. นิศารัตน์ เสนอว่า ระบบการทำงานที่ดี ควรจะสามารถทำซ้ำได้ ระบบที่ดีต้องนำมาใช้ได้อีก ถ้าเป็นงานลักษณะเดียวกันต้องสามารถใช้วิธีการทำงานที่เป็น? มาตรฐานเดียวกันได้ ให้ใครมาทำซ้ำก็จะได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
อ. วราภรณ์ เสนอว่า ต้องสามารถทบทวนตรวจสอบได้ หากต้องมีการพิจารณาทบทวน ตรวจสอบข้อผิดพลาด ระบบที่ดีควรจะต้องสืบค้นย้อนหลังได้ สามารถนำกลับมาดูใหม่ เพื่อปรับปรุงแก้ไขในจุดบกพร่องได้
อ. สุกัญญา ?เสนอว่า ต้องประเมินผลได้ เพราะจะได้รู้ว่าผลของการทำงานเป็นอย่างไร? ดีขึ้นแล้วหรือยัง ระบบที่ดีควรจะต้องมีเกณฑ์การวัดผลประเมินผลว่าแบบไหนดีไม่ดี อะไรคือผ่านไม่ผ่าน
อ พัชชา เสนอว่า การทำงานอย่างเป็นระบบ ควรมีการนำกระบวนการ PDCA มาใช้ ก็จะทำให้มีกระบวนการทำงานที่ดี? สามารถตรวจสอบได้และวางแผนได้
ที่ประชุมกำหนดระบบการทำงานของกลุ่มงานฯ โดยเริ่มที่งานพัฒนานักศึกษาก่อน ในหัวข้อ ?การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาอย่างเป็นระบบ? ?โดยสรุปเป็นขั้นตอนการดำเนินงานโดยใช้ กระบวนการ PDCA ดังนี้
เทคนิคของ PDCA แต่ละขั้นตอน
1. เทคนิคการวางแผน P
การวางแผนที่ดี ควรตอบคำถามต่อไปนี้ได้มีอะไรบ้างที่ต้องทำใครทำมีอะไรต้องใช้บ้างระยะเวลาในการทำงานแต่ละขั้นตอนเป็นเท่าใดลำดับการทำงานเป็นอย่างไร ควรทำอะไรก่อน-หลังเป้าหมายในการกระทำครั้งนี้คืออะไร
2. เทคนิคขั้นตอนการปฏิบัติ D
ทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรก จะได้ไม่ต้องแก้ไข หรือรับผลเสียจากการกระทำที่ผิดพลาด ตรวจสอบทุกขั้นตอน หากพบข้อบกพร่องให้รีบแก้ไขก่อนที่ความเสียหาย จะขยายเป็นวงกว้าง
3. เทคนิคขั้นตอนตรวจสอบ C
ตรวจสอบวิธีการและระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติจริง ว่าทำได้ตามแผนหรือไม่ตรวจสอบผล ที่ได้ว่าได้ตามเป้าหมายหรือไม่
4. เทคนิคขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสม A
หลังจากตรวจสอบแล้ว ถ้าเราทำได้ตามเป้าหมาย ให้รักษาความดีนี้ไว้ หากตรวจสอบแล้ว พบว่ามีข้อผิดพลาดไม่ว่าในขั้นตอนใดๆ ก็ตาม ให้หาสาเหตุและแก้ไขสาเหตุหาทางปรับปรุง เพื่อให้การปฏิบัติครั้งต่อไปดีขึ้นกว่าเดิม
การใช้งานวงจร PDCA
PDCA เพื่อป้องกัน
การนำวงจร PDCA ไปใช้ ทำให้ผู้ปฏิบัติมีการวางแผน การวางแผนที่ดีช่วยป้องกันปัญหาที่ไม่ควรเกิด ช่วยลดความสับสนในการทำงาน ลดการใช้ทรัพยากรมากหรือน้อยเกินความพอดี ลดความสูญเสียในรูปแบบต่างๆการทำงานที่มีการตรวจสอบเป็นระยะ ทำให้ การปฏิบัติงานมีความรัดกุมขึ้น และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วก่อนจะลุกลาม มากยิ่งขึ้นการตรวจสอบที่นำไปสู่การแก้ไขปรับปรุง ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วไม่เกิดซ้ำ หรือลดความรุนแรงของปัญหา ถือเป็น การนำความผิดพลาดมาใช้ให้เกิดประโยชน์
PDCA เพื่อแก้ไขปัญหา
ถ้าเราประสบสิ่งที่ ไม่เหมาะสม ไม่สะอาด ไม่สะดวก ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ประหยัด เราควร แก้ปัญหาการใช้ PDCA เพื่อการแก้ปัญหา ได้แก่ การทำ C-PDCA คือ ตรวจสอบก่อน ว่ามีอะไรบ้างที่เป็นปัญหา เมื่อหาปัญหาได้ ก็นำมาวางแผนเพื่อดำเนินการตามวงจร PDCA ต่อไป
PDCA เพื่อการปรับปรุง
PDCA เพื่อการปรับปรุง คือไม่ต้องรอให้เกิดปัญหา แต่เราต้องเสาะแสวงหาสิ่งต่างๆหรือวิธีการที่ดีกว่าเดิมอยู่เสมอ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมเมื่อเราคิดว่าจะปรับปรุงอะไร ก็ให้ใช้วงจร PDCA เป็นขั้นตอนในการปรับปรุง ข้อคิดสำคัญ ต้องเริ่ม PDCA ตัวเองก่อนมุ่งไปที่คนอื่น
ที่ประชุมมีมติให้ งานพัฒนานักศึกษาและงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม? ดำเนินการจัดกิจกรรม/โครงการต่างๆ โดยใช้กระบวนการ PDCA? ในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เพื่อจะนำมาสรุปเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานของแต่ละงานต่อไป
ระเบียบวาระที่ ๒ ?รับรองรายงานการประชุม
ไม่มี
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา
ไม่มี
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.
ลงชื่อ …………..วราภรณ์ ?ยศทวี….ผู้บันทึกการประชุม
(นางสาววราภรณ์?? ยศทวี)
ลงชื่อ ……………..นัยนา? อินธิโชติ……..ประธานการประชุม
(นางสาวนัยนา? อินธิโชติ)
คิดว่าการประเมินผลด้วยการ AAR หลังจัดกิจกรรมทันที สำคัญมาก เพราะเป็นการได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพจากตัวผู้ปฏิบัติเอง เป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้จากคณะผู้ดำเนินการ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้รับจากผลการประเมินโครงการหรือกิจกรรมจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม ก็จะพบว่าเป็นเหตุเป็นผลกันได้ เช่น ข้อที่ผลประเมินไม่ดี เราก็หาข้อมูลสาเหตุจากผู้ดำเนินการมาเทียบดู แบบนี้จะเป้นประโยชน์ต่อการทำงานในครั้งต่อๆไปได้มากขึ้น และเข้ากับ PDCA ด้วย
การทำงานที่ดีมีความจำเป็นต้องจัดระบบการทำงาน จากประสบการณ์เห็นว่าสิ่งสำคัญคือการวางแผน โดยเขียนรายละเอียดของหน้าที่ และความรับผิดชอบ ในงานที่ผ่านมา และหน้าที่ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้ข้อมูลและปัญหาที่เกิดขึ้น ที่ผ่านมาปัญหาไหน หรืออะไรที่ทำให้เกิดปัญหาบ่อย ๆ ก็จะทำการศึกษา และหาแนวทางแก้ไข ไม่ให้เกิดปัญหาอีก โดยจะแยกเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ และปัญหาที่มีความรุนแรง หลังจากพบปัญหาก็ต้องหาแนวทางแก้ปัญหา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซาก
ลักษณะของระบบการทำงานที่ดี
ระบบที่ดีต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (efficiency) และมีความยั่งยืน (sustainable) ซึ่งต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ
1.มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (interact with environment )
2.มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose )
3.มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)
4.มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction
ซึ่งถ้าระบบดี มีการควบคุมกำกับติดตามระบบที่ดี จะทำให้การทำงานมีประส่ิทธิภาพ
ระบบการทำงานที่ตีต้องสามารถทบทวนตรวจสอบได้ หากต้องมีการพิจารณาทบทวน ตรวจสอบข้อผิดพลาด ระบบที่ดีควรจะต้องสืบค้นย้อนหลังได้สามารถนำกลับมาดูใหม่ เพื่อปรับปรุงแก้ไขในจุดบพกพร่องได้
การทำงานที่มีระบบต้องมีการเตรียมพร้อมทั้งเชิงรุก และเชิงรับ คาดการณ์ปัญหา และเตรียมแนวทางแก้ไขไว้ทุกขั้นตอน สามารถแจกแจงกระบวนการทำงานได้ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำพ ปลายน้ำ งานจึงจะสำเร็จได้
PDCAเป็นการจัดระบบการคิดถ่ายทอดสู่การทำงานที่จะส่งผลให้เกิดความสำเร็จได้ดีดังหวัง การคิดและทำแบบนี้จะเป็นการขจัดความเสี่ยงต่อการเบี่ยงเบนออกจากเป้าหมายได้เป็นอย่างดี เสมือนการพายเรือที่มีคนคัดท้ายเรือถือหางเสือเรือที่เก่ง เรือจะมุ่งสู่ปลายทางได้ตามที่ได้คาดหวังไว้ แต่หากในทางตรงข้าม การเดินดุ่มๆเอาแรงเข้าตีถาโถมบุกหรือเฉื่อยโดยอาศัยเวลาและสถานการณ์พาไป การถึงจุดหมายปลายทางย่อมยาก ดังเรือที่ขาดหางเสือหรือคนคัดท้ายเรือที่ดีนั่นเอง