รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2559 ณ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2559
ณ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
**************************************************
รายนามผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. นางสาว วรรณวดี เนียมสกุล????????? ??พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ??????? ????????? ประธาน
2. นางสาว สุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์?????? ??พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
3. นางสาวจิราพร วิศิษฎ์โกศล???????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
4.นางภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
5. นางผ่องศรี พุทธรักษ์???????????? ?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
6. นางสาวพัชชา สุวรรณรอด?? ????????? ?พยาบาลวิชาชีพ
7. นางสาวสุกัญญา ม่วงเลี้ยง???????????? ??พยาบาลวิชาชีพ?????????????????????? ??? ????????? เลขานุการ
ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็น ร้อยละ 100
เปิดการประชุมเวลา 13.30 น.
ประธานการประชุม นางสาววรรณวดี เนียมสกุล????????? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน
1. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัย
วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2558 โดยประเด็นความรู้และเป้าหมาย การจัดการความรู้ ยังคงเป็นประเด็นเดิม ซึ่งต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2557 คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ?กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน? สำหรับอาจารย์พยาบาล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ขององค์ความรู้ในประเด็นดังกล่าวและมีการติดตามการนำแนวปฏิบัติที่ได้ไปใช้เพื่อนำมาปรับปรุงแนวปฏิบัติที่ดีให้มีความครอบคลุมต่อไป
2. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ของภาควิชา
ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2558 โดยใช้ประเด็นเดิมที่ต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2557 คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ?กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน? ดังนั้น ภาควิชาการ จึงยึดถือตามประเด็นการจัดการความรู้และเป้าหมายของภาควิชาเดิม คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะขอความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประสบการณ์ตามประเด็นดังกล่าวเมื่อนำแนวปฏิบัติที่ดีที่ปรับปรุงเพิ่มเติมไปเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ไปใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงายการประชุม
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ
1. การจัดการความรู้ของภาควิชา
ประธานได้ดำเนินการขอความร่วมมือคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ได้ร่วมกันแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ จากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน มาใช้ในการจัดการเรียนการ สำหรับ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 เรื่อง การรวบรวมข้อมูลจากการซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่โดยการแสดงละคร บทบาทสมมติ การเป็นพยาบาลวิชาชีพในแผนกฝากครรภ์และหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ปีการศึกษา 2558 โดยอาจารย์ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะของตนเองอย่างกว้างขวาง สามารถถอดบทเรียน ดังนี้
1.1 สรุปผลการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดี ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน? พบว่า ขั้นตอนการดำเนินการ ประกอบด้วย ??3 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นแสดงละคร และ 3)? ขั้นสรุปและประเมินผล และในแต่ละขั้นตอนย่อยๆ ของขั้นตอนหลักนั้น โดยภาพรวม อาจารย์ผู้ร่วมสอนแบบ Didactic ที่ใช้ละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน เห็นว่า มีความชัดเจน เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดีได้ (แนวปฏิบัติที่ดี: การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน [สรุปแนวปฏิบัติที่ดีวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙)
1.2 รายละเอียดข้อค้นพบปลีกย่อยเพิ่มเติมจาก ข้อ 1 ในขั้นที่ 1 : เตรียมการ พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการแสดงบทบาทสมมติคือการมีใบงานที่ชัดเจนที่ชี้แจงบทบาทของผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพและผู้แสดงเป็นหญิงตั้งครรภ์ การมีคู่มืออาจารย์ประกอบการดำเนินการ การเตรียมชุดคำถามสำหรับการซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่อย่างครอบคลุมและพบว่าการกำหนดประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตให้มีความหลากหลายมากขึ้นเพื่อให้นักศึกษาผู้แสดงบทบาทเป็นพยาบาลวิชาชีพได้ฝึกทักษะการตั้งคำถามเกี่ยวกับการแท้งหรือการผ่าตัดคลอดอย่างละเอียด ซึ่งในส่วนนี้ คณาจารย์ในภาควิชาฯ ได้ร่วมกันแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตจนได้ประวัติการแท้งและผ่าตัดคลอดและนำไปใช้ในการสอนในช่วง Preclinic แผนกฝากครรภ์ก่อนฝึกปฏิบัติจริง พบว่านักศึกษาผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพสามารถซักประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตได้หลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตามในขั้นตอนที่ 3 คือขั้นสรุปและประเมินผล ช่วงของการสะท้อนคิดภายหลังจากแสดงละครโดยการให้นักศึกษาเขียนบรรยายความรู้สึกที่มีต่อการแสดงละครบทบาทสมมติยังมีสิ่งที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถประเมินการเรียนรู้จากการแสดงละครว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่โดยในขั้นตอนที่ 3 ควรมีการกำหนดรูปแบบการสะท้อนคิดเชิงสร้างสรรค์ในหัวข้อเดียวกันให้เป็นกรอบรูปแบบเดียวกันเป็นแบบฟอร์มให้แก่นักศึกษา กล่าวคือผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพ (RN) ชื่นชมตนเองอย่างไรบ้างและควรเติมเต็มในเรื่องใด ผู้แสดงเป็นหญิงตั้งครรภ์ (Preg.) ชื่นชมตนเองอย่างไรบ้างและควรเติมเต็มในเรื่องใด นักศึกษาผู้สังเกตการณ์ชื่นชมผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพ (RN) และ ผู้แสดงเป็นหญิงตั้งครรภ์ (Preg.) ในประเด็นใด และควรเติมเต็มในเรื่องใดบ้างดังแบบฟอร์มสะท้อนคิดจากการชมละครที่กำหนดให้ดังนี้
แบบฟอร์มสะท้อนคิดจากการชมละคร
คำชี้แจง: ภายหลังชมละครบทบาทสมมติเสร็จสิ้นให้นศ. เขียนสะท้อนคิดเชิงสร้างสรรค์ว่ารู้สึกชื่นชมหรือต้องการเติมเต็มในประเด็นใดแก่ผู้แสดงบทบาทที่ได้รับลงในช่องว่างที่กำหนดให้ ทั้งนี้ให้ประเมินตามบทบาทที่ได้รับของตนเอง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ (RN), หญิงตั้งครรภ์ (Preg.) หรือผู้สังเกตการณ์ (observer)
ข้าพเจ้า นางสาว/นาย……………………………………….รับผิดชอบแสดงบทบาทเป็น…………………………………ขอสะท้อนคิดเชิงสร้างสรรค์ต่อการชมละครบทบาทสมมติดังต่อไปนี้
RN??????????????????????????????????????????????????????????? RN
Preg.???????????????????????????????????????????????????????? Preg
นอกจากนี้ควรมีการติดตามและประเมินผลจากการฝึก Pre-Clinic ANC สู่การนำไปฝึกปฏิบัติจริงที่ Word มากน้อยเพียงใดโดยการจัดทำแบบสอบถามหลังการฝึกภาคปฏิบัติในแผนกฝากครรภ์ และในการจัดทำแผนนิเทศครั้งต่อไปควรเพิ่มเติมการแสดงบทบาทสมมุติการออกกำลังกายตามไตรมาสของหญิงตั้งครรภ์โดยให้สวมชุดจำลองการตั้งครรภ์ และร่วมกันพิจารณาว่าท่าการออกกำลังกายท่าใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไตรมาสต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้และสามารถนำไปให้คำแนะนำด้านการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามไตรมาสต่อไป
มติที่ประชุม รับรองการสรุปผลการถอดบทเรียนเพิ่มเติม และให้นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ สำหรับนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559ต่อไป
ปิดการประชุมเวลา 15.30 น.
ลงชื่อ???..????????…………………..ผู้บันทึกรายงานการประชุม
(นางสาวสุกัญญา ม่วงเลี้ยง)
พยาบาลวิชาชีพ
ลงชื่อ???…………………………….?????.ผู้ตรวจรายงานการประชุม
(นางสาววรรณวดี เนียมสกุล)
หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
จากวิชาภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ได้มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ?กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน? ซึ่งสามารถทำให้นักศึกาษาเข้าใจหญิงตั้งครรภ์ และสามารถนำไปปฏิบัติใช้จริงในหอผู้ป่วย และควรมีการนำไปปรับปรุงตามข้อเสนอแนะในมติที่ประชุมต่อไปคะ
การเรียนการสอนแบบ didactic ที่สำคัญมากอีกขั้นตอนหนึ่งคือขั้นสรุปและประเมินผล เพราะจะเห็นผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการสอนในวิธีนี้ได้อย่างชัดเจน การที่เรามีกรอบหัวข้อที่ให้ผู้เรียนสะท้อนคิด จะทำให้เราทราบว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ซึ่งทำให้เราประเมินผลสัมฤทธิ์ได้ตรงจุดยิ่งขึ้น
การประเมินผลภายหลังการจัดการเรียนการสอนแบบละครควรมีรูปแบบที่ชัดเจนเพื่อให้ทั้งผุ้เรียนและผู้สอนบรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอน ทำให้เกิดความรุ้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนอย่างครอบคลุม
วิธีการสอนโดยใช้การแสดงละคร (Dramatization) เป็นวิธีที่เหมาะสมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Didactic method มากอีกวิธีหนึ่งเพราะ
1. ทำให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จริง
2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน
3. นักเรียนได้ฝึกทักษะต่าง ๆ เช่น ทักษะการพูด การเขียน การแสดงออก การจัดการ การแสวงหาความรู้ และการทำงานเป็นกลุ่มเป็นต้น
การเรียนการสอนให้นักศึกษาได้รับรับรู้ความรู้สึกที่ผู้ป่วยประสบน่าจะช่วยให้นักศึกษา ให้เข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยได้ดีขึ้นและการปฏิบัติการพยาบาลจะคำนึงความเป็นมนุษย์มากขึ้น
กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ช่วยให้นักศึกษา ให้เข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยได้ดีขึ้น และเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะของตนเองทำให้ทั้งผุ้เรียนและผู้สอนบรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอน
วิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การแสดงละคร (Dramatization) เป็นวิธีการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์จริงในการเรียนรู้ เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน แต่การวัดและการประเมินผลยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ดังนั้นเพื่อให้การเรียนรู้ของผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ ควรจัดทำรูปแบบการประเมินผลที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น
การจัดการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนตื่นตัวเรียนรู้ ผ่านการคิดวิเคราะห์ตลอดเวลา เป็นสุดยอดของการเรียนรู้ที่ผ่านประสบการณ์ของผู้เรียนเองจะทำให้เข้าใจเรื่องราว จำได้และจำนาน ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบนี้Active learning จะต้องอาศัยการตื่นตัวและจัดปัจจัยเอื้อของการเรียนรู้ให้เป็นเชิงบวกสุขสนุกกับการเรียนจะช่วยให้เกิดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ที่คุณภาพ
การเรียนรู้ด้วยการให้ผู้เรียนแสดงละคร ผู้เรียนได้รับความรู้จากประสบการณ์เทียบเคียงสถานการณ์จริง ทำให้จดจำได้ยาวนานขึ้น สร้างความตระหนักในการรับรู้ถึงความรู้สึกผู้อยู่ในเหตุการณ์ได้ดี สนุกในการเรียน หากนำไปใช้จัดการเรียนการสอนอาจต้องใช้เวลา และวางแผนการจัดการเรียนที่เหมาะสม