รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช ประจำเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๘ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น. ณ ห้อง ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
ประจำเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๘
วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
******************************************************
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม
๑. นางวิมล??????????????? อ่อนเส็ง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๒. ดร.ดุจเดือน??????????? เขียวเหลือง?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. ดร.ประภาพร????????? มโนรัตน์????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๔. ดร.ปฐพร?????????????? แสงเขียว???????? วิทยาจารย์ชำนาญการ
๕. นายอดุลย์????????????? วุฒิจูรีพันธุ์??????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นายบุญฤทธิ์??????????? ประสิทธ์นราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๗.นางอัญชรี?????????????? เข็มเพชร????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๘.น.ส.วิไลวรรณ? ????????? บุญเรือง?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๙. นายอิทธิพล??????????? แก้วฟอง????????? พยาบาลวิชาปฏิบัติการ
๑๐. นางสาวชลธิชา?????? จับคล้าย????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๑. นายอรรถพล???????? ยิ้มยรรยง???????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๒.นางสายฝน??????????? ชมคำ???????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๓.นายกันตวิชญ์???? จูเปรมปี?????????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๔.นายนพรัตน์?????? สวนปาน????????????? พยาบาลวิชาชีพ
ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.
ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน
ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้
วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2557 โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย???? การจัดการความรู้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinkingเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ โดยใช้ Reflective thinking ซึ่งภาควิชาได้มีการจัดอบรมเตรียมความพร้อมอาจารย์? 3-4 กรกฎาคม? 2558?โดย ดร.เชษฐา แก้วพรม และ ขอให้มีการสรุปความรู้ร่วมกัน
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงานการประชุม
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ
การจัดการความรู้ของภาควิชาฯได้ดังนี้
แนวปฏิบัติที่ดี
1.ทบทวน LO ในรายวิชาที่รับผิดชอบ การสอนแบบ Reflective สามารถตอบ LO ในDomain ใด
2.จัดประชุมชี้แจงอาจารย์ผู้ร่วมสอนในรายวิชา ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking เพื่อทำความเข้าใจ โดยใช้แนวคิดของ Gibbs ประกอบด้วย
1.การคิดทบทวนประสบการณ์ ( Description)
2.การทบทวนความคิดความรู้สึก( Feelings)
3.การประเมินผลกระทบของเหตุการณ์( Evaluation )
4.การวิเคราะห์เหตุการณ์( Analysis)
5.การสร้างความเข้าใจใหม่( Conclusion )
6.การวางแผนการนำความรู้ใหม่ไปใช้ในอนาคต( Action plan )
3.อาจารย์ฝึกสะท้อนคิด เพื่อทำความเข้าใจการเรียนการสอน? แบบ Reflective thinking
- ซ้อมฝึกกำหนดประเด็น /ตั้งคำถาม
4.อาจารย์ฝึกตรวจชิ้นงานการสะท้อนคิด และให้คะแนน เพื่อทำความเข้าใจก่อน การประเมินชิ้นงานของนักศึกษา
5.กรณีนักศึกษาไม่สามารถตั้งคำถาม ตามระดับ(Bloom Taxanomy) อาจารย์อาจต้องมีเวลา ในการเตรียมนักศึกษาในการฝึกตั้งคำถาม อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก่อนทำ Reflective thinking
6.อาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาต้องมีการชี้แจงการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking กับนักศึกษา รวมทั้งแบบประเมินการเขียนสะท้อนคิด (Reflective writing)
7.การทำ Reflective writingของนักศึกษา จากประสบการณ์ของ ดร.เชษฐา แก้วพรม พบว่านักศึกษาพยาบาลใช้เวลาในการเขียน ทั้ง 6 ขั้นตอนของ Gibbs? ใช้เวลา 4 ชั่วโมง?? อาจารย์ต้องออกแบบงานให้เหมาะสมกับเวลาที่สอน เช่น ในการฝึก 4 สัปดาห์ อาจให้นักศึกษาทำ Reflective writing สัปดาห์ละ
1 ครั้ง
8.หลังจาก นักศึกษาทำ Reflective writing อาจารย์ต้องมีการให้ข้อมูลย้อนกลับนักศึกษาทุกครั้ง เพื่อพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดในระดับที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันอาจารย์ต้องให้กำลังใจนักศึกษาในการทำงานเพื่อเป็นการเสริมแรงในการเรียนรู้……………………………………………
มติที่ประชุม รับทราบ และขอให้นำไปปรับใช้ในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 เพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีต่อไป
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.
|
ได้มีโอกาสเข้ารับการประชุม อบรมเนื้อหาเกี่ยวกับ Reflective thinking ทำให้ได้รับความรู้และแนวทางการสะท้อนคิดที่เป็นระบบ และได้นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ หัวข้อการจัดบริการสุขภาพและสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งตนได้จัดเตรียมสื่อที่เกี่ยวข้องแล้วนำไปทดลองใช้ ผลพบว่านศ.ทั้ง class ให้ความสนใจ มีการสรุปเรื่องราวจากการดูคลิปได้ มีการสะท้อนอารมณ์และความรู้สึก ตลอดจนทัศนคติที่มีต่อผู้สูงอายุได้ดี อีกทั้งเชื่อมโยงการนำความรู้จากการบรรยายในชั้นไปสู่การนำไปปฏิบัติให้เกิดความรู้ ตลอดจนการแตกความคิดของนศ.ว่าหากตนต้องพบกรณีศึกษาในลักษณะดังกล่าว ตนจะใช้บทบาทการเป็นพยาบาลผู้สูงอายุอย่างไร และสอดแทรกเนื้อหาการเป็นผู้พิทักษ์สิทธิในผู้สูงอายุ คิดว่าวิธีนี้เป็นวิธีการสอนที่ดี มีประสิทธิภาพ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หาดแต่ผู้สอนจะต้องจัดเตรียมสื่อและตนเองให้พร้อม ……อ.
วาสนา ครุฑเมือง
ได้เข้าฟังบรรยายเฉพาะครึ่งเช้าวันแรก ได้แนวคิดบ้าง เห็นภาพชัดด้วยผู้บรรยายยกตัวอย่างเป็นรูปธรรม เสียดายไม่มีโอกาสได้ฟังตลอดการอบรม
แต่มีความเห็นว่า การสะท้อนคิด เหมาะกับการพยาบาลทุกสาขา เพราะเป็นการคิดเชิงเหตุผล สะท้อนความคิดความรู้สึก เหมือนช่วยตรวจสอบยืนยันความเข้าใจ
หากเข้าใจวิธีการมากกว่านี้ คาดว่าจะนำไปใช้ในการสอนภาคปฏิบัติได้ดีขึ้น
มีประสบการณ์ในการทำ Reflective thinking ในรายวิชามนุษย์กับพฤติกรรมสุขภาพ ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นพบว่า นักศึกษา ไม่สามารถตั้งคำถาม ตามระดับ(Bloom Taxanomy)ได้ จากการทบทวนการรวบรวมองค์ความรู้ของภาควิชาฯทำให้ได้ข้อมูลในการเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีโดยในการเตรียมนักศึกษาในการฝึกตั้งคำถาม อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก่อนทำ Reflective thinking เป็นแนวทางปฎิบัติที่ดีต่อไป